เพิ่มวงเงินค่าลดหย่อนภาษี RMF-LTF เป็น 700,000

กฎกระทรวง

ฉบับที่ 267 (พ.ศ. 2551)

ออกตามความในประมวลรัษฎากร

ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร

-----------------------------

อาศัย อำนาจตามความในมาตรา 4 แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 20) พ.ศ. 2513 และมาตรา 42 (17) แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 10) พ.ศ. 2496 อันเป็นกฎหมายที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจำกัดสิทธิและเสรีภาพของ บุคคล ซึ่งมาตรา 29 ประกอบกับมาตรา 33 และมาตรา 41 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทำได้โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังออกกฎกระทรวงไว้ ดังต่อไปนี้

ข้อ 1 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นวรรคสี่ของ ( 55 ) ของข้อ 2 แห่งกฎกระทรวง ฉบับที่ 126 (พ.ศ. 2509) ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยกฎกระทรวง ฉบับที่ 266 (พ.ศ. 2551) ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร

“ในปีภาษี 2551 หากผู้มีเงินได้มีการซื้อหน่วยลงทุนระหว่างวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2551 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2551 ให้เงินได้ตามวรรคหนึ่งเท่ากับส่วนที่ไม่เกินเจ็ดแสนบาท แต่ไม่เกินร้อยละสิบห้าของเงินได้พึงประเมิน และในกรณีที่ผู้มีเงินได้ดังกล่าวได้จ่ายเงินสะสมตามวรรคสองด้วย เมื่อรวมเงินได้กับเงินสะสมแล้วต้องไม่เกินเจ็ดแสนบาท ทั้งนี้ เงินได้ที่ได้รับยกเว้นดังกล่าว ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่อธิบดีกำหนด และให้นำความในวรรคสามมาใช้บังคับด้วย”

ข้อ 2 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นวรรคสี่ของ ( 66 ) ของข้อ 2 แห่งกฎกระทรวง ฉบับที่ 126 (พ.ศ. 2509) ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยกฎกระทรวง ฉบับที่ 266 (พ.ศ. 2551) ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร

“ในปีภาษี 2551 หากผู้มีเงินได้มีการซื้อหน่วยลงทุนในกองทุนรวมหุ้นระยะยาวระหว่างวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2551 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2551 ให้เงินได้ตามวรรคหนึ่งเท่ากับส่วนที่ไม่เกินเจ็ดแสนบาท แต่ไม่เกินร้อยละสิบห้าของเงินได้พึงประเมิน ทั้งนี้ เงินได้ที่ได้รับยกเว้นและการถือหน่วยลงทุนดังกล่าว ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่อธิบดีกำหนด และให้นำความในวรรคสามมาใช้บังคับด้วย”

ให้ไว้ ณ วันที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2551

สุชาติ ธาดาดำรงเวช
(นายสุชาติ ธาดาธำรงเวช)
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง

--------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

หมายเหตุ:- เหตุผลในการประกาศใช้กฎกระทรวงฉบับนี้ คือ เนื่องจากรัฐบาลมีนโยบายส่งเสริมให้มีการลงทุนผ่านกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยง ชีพและกองทุนรวมหุ้นระยะยาวเพิ่มมากขึ้น เพื่อเป็นการสนับสนุนการลงทุนในตลาดทุนภายในประเทศอันจะทำให้เศรษฐกิจขยาย ตัวเพิ่มขึ้น และป้องกันไม่ให้ตลาดทุนภายในประเทศได้รับผลกระทบจากวิกฤตการณ์ทางการเงิน ที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน สมควรเพิ่มวงเงินที่ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้ สำหรับเงินค่าซื้อหน่วยลงทุนในกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพและกองทุนรวมหุ้น ระยะยาวตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์กรณีที่ได้มีการลงทุนใน กองทุนทั้งสองดังกล่าวในระหว่างวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2551 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2551 จึงจำเป็นต้องออกกฎกระทรวงนี้

(ร.จ.ฉบับกฤษฎีกา เล่ม 125 ตอนที่ 130 ก วันที่ 16 ธันวาคม 2551)

การแจ้งประกันสังคม กรณีพนักงานลาออก

ผมเองทำงานด้านบัญชีและต้องรับผิดชอบในการทำเงินเดือนพนักงาน ใช้งานโปรแกรมบัญชีและโปรแกรมเงินเดือนมาหลายตัว วันนี้ขอเล่าถึงปัญหาในการจัดทำเงินเดือนพนักงานในกรณีพนักงานลาออกในส่วนที่เกี่ยวกับประกันสังคมนะครับ

โดยปกติพนักงานเข้าใหม่เมื่อคีย์ข้อมูลลงไปในโปรแกรมและระบุวันที่เข้างาน คุณก็สามารถพิมพ์รายงานนำส่งประกันสังคม สปส.1-03 และ สปส.1-03/1 ได้เลยไม่มีปัญหาอะไร ไม่จำเป็นต้องประมวลผลหรือปิดงวดก่อน แต่ในกรณีที่พนักงานลาออกนี่สิ หลายโปรแกรมที่ผมใช้เมื่อคุณคีย์บันทึกพนักงานรายวันลาออก โปรแกรมจะตัดรายชื่อของพนักงานคนนี้ออกทันที จะไม่มีการจ่ายเงินให้ในงวดนั้น ถึงแม้ว่าจะมีวันทำงานที่ยังต้องจ่ายอยู่ ซึ่งผมเองก็ต้องบอกว่า ถูกต้องแล้ว (เพื่อความปลอดภัยในการทำงานควรจะเป็นแบบนั้น) เพราะฉะนั้นถ้าในงวดการจ่ายที่มีพนักงานลาออกและยังมีค่าจ้างค้างจ่ายอยู่ การบันทึกพนักงานลาออกก็ต้องไปคีย์ในงวดการจ่ายถัดไป

ผมขอยกตัวอย่างนะครับ งวดการจ่ายค่าจ้างงวดวันที่ 15/10/2551 งวดการตัดค่าจ้างและโอทีวันที่ 21/09/2551 - 05/10/2551 นาย ก.ลาออกจากงานในวันที่ 29 กันยายน เพราะฉะนั้น นาย ก.ยังมีค่าจ้างค้างจ่ายอยู่  9 วัน (21-29 กย.) รวมทั้งโอทีด้วย ที่ต้องจ่ายให้ในวันที่ 15 ตค. ดังนั้นเมื่อยังมีค่าแรงค้างจ่ายอยู่ ผมก็ยังไม่สามารถคีย์บันทึกพนักงานลาออกในงวดนี้ได้ (15 ตค.) ต้องไปบันทึกในงวดถัดไปคืองวดการจ่ายค่าจ้างวันที่ 31 ตค. ซึ่งก็จะทำให้คุณไม่สามารถพิมพ์รายงาน สปส.6-09 (แจ้งพนักงานลาออก) ได้ในงวดนี้ ต้องไปพิมพ์ในงวดถัดไป

รายงานการนำส่งประกันสังคมกรณีพนักงานเข้าใหม่ต้องแจ้งภายใน 30 วัน แต่ในกรณีพนักงานลาออก ต้องแจ้งภายในวันที่ 15 ของเดือนถัดไป เพราะฉะนั้นถ้าดูจากที่ผมกล่าวไว้ข้างต้น พนักงานลาออกวันที่ 29 กย. รายงานแจ้งการลาออก (6-09) ต้องแจ้งภายในวันที่ 15 ตค. แต่เนื่องจากต้องรอบันทึกการลาออกในงวดถัดไป ทำให้รายงานกว่าจะพิมพ์ได้ก็ต้องเป็นงวดการจ่ายวันที่ 31 ตค. ซึ่งก็จะทำให้การส่งรายงานล่าช้ากว่าที่ประกันสังคมกำหนดไว้

ในฐานะที่ผมเป็น Outsource รับทำเงินเดือน รับทำบัญชี เพราะฉะนั้นผมควรทำงานให้ได้ตามมาตรฐานและตามกำหนดเวลา(ประกันสังคม) ปัจจุบันนี้ผมสามารถแก้ปัญหานี้ได้ โดยสามารถแจ้งพนักงานลาออกทันในวันที่ 15 ตค. (เดิมที ตั้งใจจะใช้ระบบ Manual คือนำ สปส.6-09 มาเขียนเอง) แต่ตอนหลังเมื่อทำค่าแรงในงวดกลางเดือนเสร็จก็สั่งประมวลผล แล้ววันถัดไปก็บันทึกพนักงานลาออก และสั่งประมวลผลใหม่อีกครั้ง (ที่ต้องประมวลผลเพื่อให้ระบบ update วันที่ลาออกของพนักงานซึ่งถ้าเข้าไปดูในประวัติพนักงานก็จะเห็นวันที่ลาออกพร้อมเหตุผล) เพียงแต่ว่าการทำงานค่อนข้างยุ่งยาก

แต่พอแก้ปัญหานี้ได้ ก็มาลองคิดดู มันก็แปลกดีนะครับ แจ้งพนักงานลาออกในงวดวันที่ 15 ตค. แต่ในเดือนถัดไป 15 พย.พนักงานที่แจ้งลาออกยังต้องนำส่งประกันสังคมอยู่ (หักไว้เมื่องวด 15 ตค.) ก็เลยลองมาคิดดูอีกทีว่า ที่ถูกน่าจะแจ้งลาออกในเดือน พย. อันที่จริงมันก็ไม่ได้เป็นปัญหาอะไรมากหรอกครับ เพราะประสังคมก็ไม่ได้เคร่งครัดในเรื่องนี้เท่าไหร่ถึงคุณจะแจ้งช้า หรือไม่คุณก็อาจจะแก้วันที่ลาออกให้อยู่ในกำหนดก็ได้

หมายเหตุ โปรแกรมเงินเดือนบางโปรแกรม สามารถบันทึกพนักงานลาออกระหว่างวดได้ ทางบัญชีสามารถคืนสภาพหรือเมื่อทำงานเสร็จแล้วสามารถปรับจากพนักงานลาออกระหว่างงวดไปเป็นลาออก(จริง) ได้ในภายหลัง

ขั้นตอนการยื่นแบบประกันสังคมและตัวอย่าง

1.กรณีมีพนักงานเข้าทำงานใหม่ จะต้องแจ้งขึ้นทะเบียนผู้ประกันตน แบ่งออกเป็น 2 กรณี ดังนี้

1.1 กรณีไม่เคยขึ้นทะเบียนผู้ประกันตน ให้ยื่นแบบ สปส.1-03 พร้อมแนบสำเนาบัตรประจำตัวประชาชน (พร้อมเซ็นรับรองสำเนาถูกต้อง )

1.2 กรณีเคยขึ้นทะเบียนผู้ประกันตนมาก่อน (ไม่ว่าทางประกันสังคมจะออกบัตรรับรองสิทธิให้แล้วหรือไม่ก็ตาม) ให้ยื่นแบบ สปส. 1-03/1 เท่านั้น
หมายเหตุ บุคคลที่จะขึ้นทะเบียนเป็นผู้ประกันตนต้องมีอายุไม่ต่ำกว่า 15 ปีบริบูรณ์และอายุไม่เกิน 60 ปีบริบูรณ์

หลักการนำส่ง สปส.1-03 และ สปส. 1-03/1 มีขั้นตอนดังต่อไปนี้
1. สปส. 1-03 → แนบด้วยสำเนาบัตรประจำตัวประชาชน → พร้อมเซ็นรับรองสำเนาถูกต้อง (รวมเรียกว่า 1 แผ่น)
2. สปส. 1-03/1 (รวมเรียกว่า 1 แผ่น )
3. ปะหน้าด้วย สปส.1-02 แล้วรวมจำนวนแผ่นที่นำส่งประกันสังคม
4. ส่งให้ นายจ้าง / ผู้รับมอบอำนาจ → เซ็น → พร้อมประทับตรานิติบุคคล (ถ้ามี)

2. กรณีพนักงานลาออก ให้ยื่นแบบ สปส. 6-09

3. กรณีพนักงานขอเปลี่ยนสถานพยาบาลใหม่ และหรือขอแก้ไขบัตร ให้ยื่นแบบ สปส.9-02
(ขอเปลี่ยนสถานพยาบาลใหม่ประจำปีได้ในวันที่ 1 ม.ค – 31 มี.ค ของทุกปี )

4. กรณีพนักงานประสบอุบัติเหตุเนื่องจากการทำงานให้นายจ้าง ให้ยื่นแบบ กท.16 และ กท.44

5. กรณีขอรับประโยชน์ทดแทน กองทุนประกันสังคม ให้ยื่นแบบ สปส.2-01

ข้อกำหนดของประกันสังคม

- กรณีนำส่ง สปส. 1-03 และ สปส. 1-03 / 1 ให้แจ้งการขึ้นทะเบียนผู้ประกันภายใน 30 วัน นับแต่วันที่รับลูกจ้างเข้า
ทำงาน มิฉะนั้นมีความผิดต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 6 เดือน หรือปรับไม่เกิน 20,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
- กรณีนำส่ง สปส. 6-09 ให้แจ้งการสิ้นสุดความเป็นผู้ประกันตน ตั้งแต่วันที่มีการเปลี่ยนแปลง ทั้งนี้ไม่เกินวันที่ 15
ของเดือน ถัดจากเดือนที่มีการเปลี่ยนแปลง มิฉะนั้นจะมีความผิดต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 6 เดือน หรือปรับไม่เกิน20,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

การกรอกแบบเพื่อนำส่ง สปส.1-03 และ สปส.1-03/1 มีขั้นตอนดังต่อไปนี้
ในส่วนข้อมูลนายจ้าง

1. กรอกชื่อสถานประกอบการ
2. เลขที่บัญชี ของสถานประกอบการ
3. ลำดับที่สาขา (ถ้ามี)
4. วันที่ผู้ประกันตนเข้าทำงาน (ให้กรอกวันเดือนปี ที่ผู้ประกันตนเข้าปฏิบัติงานจริง ซึ่งจะมีผลต่อการขอรับประโยชน์)
5. ประเภทการจ้าง

ข้อมูลผู้ประกันตน

- ให้กรอกข้อมูลผู้ประกันตนในลำดับที่ 1 - 6 ให้ครบถ้วนเรียบร้อย
คำแนะนำ ข้อ 6. สถานภาพครอบครัว ให้ระบุตามความเป็นจริง กรณีมีบุตรอายุไม่เกิน 6 ปี มากกว่า 2 คน ให้กรอกปี พ.ศ.เกิดเพียง 2 คน เรียงตามลำดับการเกิดก่อนหลังที่มีชีวิตอยู่

ข้อปฏิบัติผู้มีอำนาจเซ็น
- ผู้ลงชื่อรับรองข้อมูลผู้ประกันตนเป็นผู้มีอำนาจกระทำการผูกพันบริษัทหรือผู้ได้รับมอบอำนาจเท่านั้น
- ใน ( ................................. ) → ให้ลงคำนำหน้านาม ชื่อ - ชื่อสกุลให้เรียบร้อย
- วันที่ ................................ พร้อมลงวันที่ให้เรียบร้อย

ข้อมูลการเลือกสถานพยาบาล
- การเลือกสถานพยาบาลในข้อ 8 ให้ผู้ประกันตนเลือกได้ตามเอกสารรายชื่อสถานพยาบาลประกันสังคมปีปัจจุบันเท่านั้น

รายละเอียดการทำ สปส.1-03/1 มีขั้นตอนดังนี้

1.กรอกชื่อสถานประกอบการและชื่อสาขาพร้อมเลขที่บัญชี ลำดังสาขา ที่ตั้งสถานประกอบการหรือสาขา ตามที่ได้แจ้งขึ้นทะเบียนนายจ้างไว้ กรณีเป็นสำนักงานใหญ่หรือเป็นกิจการซึ่งไม่มีสาขากรุณาใส่ 000000 ลงที่ช่องลำดับที่สาขา

2.กรอกลำดับที่ เลขประจำตัวประชาชน คำนำหน้านาม ชื่อ-ชื่อนามสกุล ของผู้ประกันตนให้ชัดเจน

3.กรอก วันเดือนปี ที่ผู้ประกันตนเข้าทำงาน

4.ผู้ลงชื่อรับรองข้อมูลผู้ประกนตนเป็นผู้มีอำนาจกระทำการผูกพันบริษัทหรือผู้ได้รับมอบหมายอำนาจเท่านั้น

5.ลงชื่อ................................ นายจ้าง/ผู้รับมอบอำนาจ (ให้เซ็นชื่อนายจ้างหรือผู้ได้รับมอบอำนาจเท่านั้น)
6.ใน ( ................................. ) → ให้ลงคำนำหน้านาม ชื่อ - ชื่อสกุลให้เรียบร้อย
7.ตำแหน่ง.................. ( ให้กรอกเป็นภาษาไทยชื่อตำแหน่งเต็ม ) ** ห้ามใช้ตัวย่อหรือภาษาอังกฤษ ( PM.)

8. วันที่ ................................ พร้อมลงวันที่ให้เรียบร้อย

รายละเอียดการทำ สปส. 6-09 มีขั้นตอนดังนี้

1.กรอกชื่อสถานประกอบการและชื่อสาขาพร้อมเลขที่บัญชี ลำดับที่สาขา ที่ตั้งสถานประกอบการหรือสาขา ตามที่ได้แจ้งขึ้นทะเบียนนายจ้างไว้ กรณีเป็นสำนักงานใหญ่หรือเป็นกิจการซึ่งไม่มีสาขากรุณาใส่ 000000 ลงที่ช่องลำดับที่สาขา

2.กรอกลำดับที่ เลขประจำดัวประชาชน คำนำหน้านาม ชื่อ - ชื่อสกุล ของผู้ประกันตนให้ชัดเจน

3.กรอก วัน เดือน ปี ที่สิ้นสุดความเป็นผู้ประกันตน คือ วันที่ถัดจากวันสุดท้ายที่ผู้ประกันตนมาทำงาน เช่น ผู้ประกันตนมาทำงานวันสุดท้ายวันที่ 31 สิงหาคม 2550 ให้กรอกวันที่สิ้นสุดความเป็นผู้ประกันตนเป็นวันที่ 1 กันยายน 2550
กรณีตาย ระบุวัน เดือน ปี ที่ผู้ประกันตนตาย

4.สาเหตุการสิ้นสุดความเป็นผู้ประกันตน กรณีลาออก ให้ทำเครื่องหมาย √ ในช่องที่ 1

5.ผู้ลงชื่อรับรองการสิ้นสุดความเป็นผู้ประกันตนเป็นผู้มีอำนาจกระทำการผูกพันบริษัทหรือผู้ได้รับมอบอำนาจเท่านั้น

6.ลงชื่อ................................ นายจ้าง/ผู้รับมอบอำนาจ (ให้เซ็นชื่อนายจ้างหรือผู้ได้รับมอบอำนาจเท่านั้น)

7. ใน ( ................................. ) → ให้ลงคำนำหน้านาม ชื่อ - ชื่อสกุลให้เรียบร้อย

8. ตำแหน่ง.................. ( ให้กรอกเป็นภาษาไทยชื่อตำแหน่งเต็ม ) ** ห้ามใช้ตัวย่อหรือภาษาอังกฤษ ( PM.)

9. วันที่ ................................ พร้อมลงวันที่ให้เรียบร้อย

ลองมาตัวอย่างการกรอกแบบดูนะครับ

ตัวอย่างการกรอกแบบขึ้นทะเบียนผู้ประกันตน สปส.1-03

SPS1-03R

ตัวอย่างการกรอกแบบขึ้นทะเบียนผู้กันตน (เคยขึ้นทะเบียนมาก่อนแล้ว) สปส.1-03/1

SPS1-03.1

ตัวอย่างการกรอกหนังสือแจ้งการสิ้นสุดความเป็นผู้ประกันตน สปส.6-09

SPS6-09

ตัวอย่างการกรอกแบบขอบัตรรับรองสิทธิการรักษาพยาบาล สปส.9-02

sps9-02R

ตัวอย่างการกรอกแบบแจ้งการเปลี่ยนแปลงข้อเท็จริงผู้ประกันตน สปส.6-10

sps6-10R

สำหรับท่านใดที่สนใจใช้บริการของสำนักงานบัญชี บริการรับทำเงินเดือน เราให้บริการยื่นแบบประกันสังคมด้วย รวมถึงการจัดทำรายงานส่งกองทุนเงินทดแทน แบบแสดงเงินค่าจ้างประจำปี (กท.20ก) อ่านข้อมูลบริการเพิ่มเติมได้ที่ รับทำเงินเดือน

หมายเหตุ รูปภาพประกอบเอามาจากสำนักงานประกันสังคมจังหวัดเชียงใหม่

สิทธิประโยชน์ประกันสังคม

สิทธิประโยชน์และความคุ้มครองที่ผู้ประกันตนควรทราบ

การขึ้นทะเบียนผู้ประกันตัน

เมื่อรับพนักงานและลูกจ้างชั่วคราว เข้ามาปฏิบัติงานแล้ว จะต้องดำเนินการแจ้งการขึ้นทะเบียนผู้ประกันตนต่อสำนักงานประกันสังคม โดยให้พนักงานและลูกจ้างขึ้นทะเบียนเป็นผู้ประกันตน

(1) กรณีที่พนักงานและลูกจ้างชั่วคราวยังไม่เคยขึ้นทะเบียนประกันตน จะต้องแนบหลักฐานได้แก่

  • แบบขึ้นทะเบียนผู้ประกันตน (สปส.1-03)
  • สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนจำนวน 1 ชุด หรือสำเนาทะเบียนบ้าน
  • หนังสือเดินทาง หรือใบอนุญาตทำงานคนต่างด้าว สำหรับลูกจ้างชาวต่างประเทศ

(2) กรณีที่พนักงานและลูกจ้างชั่วคราว เคยขึ้นทะเบียนผู้ประกันตนมาแล้ว จะต้องแนบเอกสารหลักฐาน ได้แก่

  • แบบขึ้นทะเบียนรับผู้ประกันตนเข้าทำงาน (สปส.1-03/1) หรือ (สปส.6-08)
  • สำเนาประจำตัวบัตรประชาชน จำนวน 1 ชุด

(3) ในปัจจุบันสำนักงานประกันสังคม จะให้ใช้บัตรประจำตัวประชาชน แทนบัตรประกันสังคมฉบับเดิม

บัตรรับรองสิทธิการรักษาพยาบาล

จัดทำขึ้นเพื่อให้ผู้ประกันตนที่จ่ายเงินสมทบครบ 3 เดือน ไว้ใช้แสดงตน เมื่อจะเข้ารับการรักษาพยาบาลในสถานพยาบาล ที่ระบุในบัตรทุกครั้ง โดยไม่เสียค่าใช้จ่ายแต่อย่างใด และต้องแนบหลักฐาน ได้แก่

  • แบบขอรับบัตรรับรองสิทธิการรักษาพยาบาล (สปส.9-02)
  • สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน จำนวน  1 ชุด

การเปลี่ยนแปลงบัตรรับรองสิทธิการรักษาพยาบาล เนื่องจาก

(1) เปลี่ยนสถานที่ประกอบการใหม่ หรือย้ายที่พัก

(2) ชื่อ - สกุล ไม่ถูกต้อง

(3) บัตรรับรองสิทธิสูญหาย

(4) ต้องการจะเปลี่ยนโรงพยาบาลใหม่ ผู้ประกันตนจะต้องแนบหลักฐาน ได้แก่

  • แบบขอเปลี่ยนแปลงบัตรรับรองสิทธิการรักษาพยาบาล (สปส.9-02)
  • สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน จำนวน  1 ชุด
  • ให้คืนบัตรรับรองสิทธิการรักษาพยาบาลฉบับเดิม

การลาออกของผู้ประกันตน

หน่วยงานต้นสังกัด จะต้องดำเนินการกรอกแบบแจ้งการลาออกของผู้ประกันตน (สปส.6-09) และนำส่งภายในไม่เกินวันที่ 15 ของเดือนถัดจากเดือนที่พนักงานลาออก

การขอรับสิทธิประโยชน์และความคุ้มครองจากกองทุนประกันสังคม

ตามพระราชบัญญัติ พ.ศ.2533 และแก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2537 ลูกจ้างผู้ประกันตนมีสิทธิ ได้รับสิทธิประโยชน์ และความคุ้มครอง รวม 7 กรณี

  1. เจ็บป่วย หรือประสบอันตราย (อันมิใช่เนื่องจากการทำงาน)
  2. ทุพพลภาพ (อันมิใช่เนื่องจากการทำงาน)
  3. ตาย (อันมิใช่เนื่องจากการทำงาน)
  4. คลอดบุตร
  5. สงเคราะห์บุตร
  6. ชราภาพ
  7. ว่างงาน

กรณีเจ็บป่วยหรือประสบภัยอันตราย อันมิใช่เนื่องจากการทำงาน

  • ผู้ประกันตนมีสิทธิ ได้รับประโยชน์ทดแทนกรณีเจ็บป่วย หรือประสบอันตรายที่ไม่ได้เกิดขึ้นจากการทำงาน ดังนี้
  • บริการทางการแพทย์รวมถึงค่าอวัยวะเทียม และอุปกรณ์ในการบำบัดรักษา
  • ค่าบริการทางการแพทย์กรณีทันตกรรม

ผู้มีสิทธิ...

ต้องจ่ายเงินสมทบมาแล้วไม่น้อยกว่า 3 เดือน ก่อนวันเข้ารับบริการทางการแพทย์

1 กรณีเจ็บป่วยทั่วไป

ให้ผู้ประกันตนเข้ารับการรักษาในสถานพยาบาลตามที่ระบุไว้ในบัตรรับรองสิทธิฯ หรือเครือข่ายของสถานพยาบาลนั้น โดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายใด ๆ เว้นแต่มีความต้องการสิ่งอำนวยความสะดวก เช่น ห้องผู้ป่วยพิเศษ หรือเวชภัณฑ์พิเศษ นอกเหนือจากที่แพทย์สั่ง

2 กรณีเจ็บป่วยฉุกเฉิน

ผู้ประกันตนสามารถเข้ารักษาในสถานพยาบาลตามบัตรรับรองสิทธิได้ สำนักงานประกันสังคมจะรับผิดชอบค่าใช้จ่าย ตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดภายในระยะเวลาไม่เกิน 72 ชั่วโมง (ไม่นับรวมวันหยุดราชการ) ซึ่งผู้ประกันตน หรือผู้เกี่ยวข้อง ต้องแจ้งสถานพยาบาลตามบัตรรับรองสิทธิทราบโดยเร็ว เพื่อให้รับผิดชอบการรักษาพยาบาลต่อไป สำหรับผู้ประกันตน ที่ไม่มีเงินสำรองจ่ายค่ารักษาพยาบาลที่เกิดขึ้น ในกรณีฉุกเฉินภายใน 72 ชั่วโมง ควรแสดงบัตรรับรองสิทธิต่อ สถาน พยาบาลก่อนการรักษาพยาบาล ซึ่งสถานพยาบาลที่ให้การรักษาผู้ประกันตน หรือผู้ประกันตน ที่สำรองจ่ายค่ารักษาไปก่อน สามารถเบิกค่ารักษาพยาบาลคืนจากสำนักงานประกันสังคม ตามหลักเกณฑ์ดังนี้

(ก) ผู้ป่วยนอก ปีละไม่เกิน 2 ครั้ง

  • ค่ารักษาพยาบาลไม่เกิน 300 บาทต่อครั้ง
  • ค่าตรวจวิเคราะห์จ่ายเพิ่ม จากค่ารักษาพยาบาลไม่เกิน 200 บาทต่อครั้ง
  • ค่าหัตถการแพทย์จ่ายเพิ่มจากค่ารักษาพยาบาล ไม่เกิน 200 บาทต่อครั้ง

(ข) ผู้ป่วยใน ปีละไม่เกิน 2 ครั้ง

  • ค่ารักษาพยาบาลไม่เกินวันละ 1,500 บาท
  • ค่าห้อง ค่าอาหาร ไม่เกินวันละ 700 บาท
  • ค่ารักษาพยาบาลเพิ่มกรณีที่ต้องรักษาในห้อง ICU ไม่เกินวันละ 2,000 บาท
  • กรณีผ่าตัดใหญ่ ไม่เกิน 2 ชั่วโมง 8,000 บาท เกิน 2 ชั่วโมง 14,000 บาท
  • CT Scan หรือ MRI 4,000 บาท ตามหลักเกณฑ์ที่กำหนด

กรณีอุบัติเหตุ

  • กรณีอุบัติเหตุ และไม่สามารถเข้ารักษาในสถานพยาบาลตามบัตรรับรองสิทธิ สามารถเข้ารับการรักษา กับสถานพยาบาลอื่นได้ สำนักงานประกันสังคม จะรับผิดชอบค่ารักษาพยาบาลเท่าที่จำเป็น ภายใน ระยะเวลา ไม่เกิน 72 ชั่วโมง และมีเงื่อนไขเช่นเดียวกับ กรณีฉุกเฉิน โดยผู้ประกันตน สำรองจ่าย ค่ารักษาพยาบาลไปก่อน และสามารถ เบิกคืนจากสำนักงานประกันสังคม ตามหลักเกณฑ์ ดังนี้

(1) เข้ารับการรักษาพยาบาล ในสถานพยาบาลของรัฐ

  • ผู้ป่วยนอก จ่ายเท่าที่จ่ายจริงตามความจำเป็น
  • ผู้ป่วยใน จ่ายเท่าที่จ่ายจริงตามความจำเป็น ยกเว้น ค่าห้อง ค่าอาหาร ไม่เกินวันละ 700 บาท ไม่จำกัดจำนวนครั้ง

(2) เข้ารับการรักษาพยาบาลในสถานพยาบาลของเอกชน

  • จ่ายตามหลักเกณฑ์เดียวกับกรณีฉุกเฉิน แต่ไม่จำกัดจำนวนครั้ง

(3) ค่าพาหนะ ในกรณีที่สถานพยาบาลนั้น มีความจำเป็นต้องส่งผู้ป่วยไปตรวจวินิจฉัย หรือรักษาต่อ ณ สถานพยาบาล อีกแห่งหนึ่งภายในระยะเวลา 72 ชั่วโมงแรก ผู้ประกันตนสามารถเบิกค่าพาหนะในอัตรา ดังนี

  • ค่ารถพยาบาลหรือเรือพยาบาล ไม่เกินครั้งละ 500 บาท
  • ค่าพาหนะรับจ้าง หรือพาหนะส่วนบุคคล หรือพาหนะอื่น ๆ เหมาจ่าย 300 บาทต่อครั้ง
  • หากข้ามจังหวัดจ่ายเพิ่มอีกตามระยะทางกิโลเมตรละ 90 สตางค์

ผู้มีสิทธิ...

หลักฐานที่ต้องใช้เมื่อไปสถานพยาบาล

  • บัตรรับรองสิทธิการรักษาพยาบาล
  • บัตรที่ทางราชการออกให้ มีรูปถ่ายของผู้ประกันตน เช่น บัตรประจำตัวประชาชน หรือใบอนุญาตขับขี่รถยนต์

การบริการที่ผู้ประกันตน จะได้รับจากสถานพยาบาล

สถานพยาบาลต่าง ๆ จะให้การตรวจวินิจฉัย และรักษาโรคตามมาตรฐานทางการแพทย์ รวมทั้งรับผิดชอบค่าใช้จ่าย ในกรณีที่ทางโรงพยาบาลไม่สามารถให้บริการได้ และต้องมีการส่งตัวไปรับการรักษายังสถานพยาบาลอื่น

การรับบริการจากโรงพยาบาลเครือข่าย

ในกรณีที่ผู้ประกันตนได้รับบัตรรับรองสิทธิฯ ที่ระบุชื่อสถานพยาบาล และสถานพยาบาลนั้น มีสถานพยาบาลอื่นที่เป็นเครือข่ายร่วมกัน ผู้ประกันตน สามารถเข้ารับการรักษาพยาบาลได้ ในทุกสถานพยาบาลที่อยู่ในเครือข่าย โดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายใด ๆ

วิธีการ...

ขั้นตอนการยื่นขอรับประโยชน์ทดแทน กรณีเจ็บป่วยหรือประสบอันตราย อันมิใช่เนื่องจากการทำงาน

(1) ผู้ประกันตนยื่นแบบ คำขอรับประโยชน์ทดแทนกรณีเจ็บป่วย ประสบอันตราย (สปส.2-01) ที่งานสวัสดิการ กองการเจ้าหน้าที่ พร้อมแนบหลักฐาน

  • ใบเสร็จรับเงิน
  • ใบรับรองแพทย์
  • สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน สำเนาบัตรประกันสังคม สำเนาบัตรรับรองสิทธิฯ
  • สำเนาสมุดบัญชีเงินฝากธนาคารหน้าแรก เช่น ธนาคารกรุงไทย ธนาคารกรุงศรีอยุธยา, ธนาคารกรุงเทพ, ธนาคารกสิกรไทย, ธนาคารไทยพาณิชย์ และ ธนาคารทหารไทย อย่างละ 1 ชุด

(2) สำนักงานประกันสังคม มีหนังสือแจ้งผลการพิจารณา และสั่งจ่ายเงิน และผู้ประกันตนมาขอรับด้วยตนเอง หรือมอบฉันทะ ให้บุคคลอื่นมารับแทนได้ หรือส่งธนานัติให้ผู้ประกันตน หรือโอนเข้าบัญชีธนาคารกรุงไทย สาขาต่าง ๆ ตามบัญชี ของผู้รับ ประโยชน์ทดแทน

กรณีทันตกรรม

ผู้ประกันตนมีสิทธิเบิกค่าบริการทางการแพทย์กรณีทันตกรรม เฉพาะกรณีการ ถอนฟัน อุดฟัน และขูดหินปูน ได้ครั้งละไม่เกิน 250 บาท ปีละไม่เกิน 500 บาท และมีสิทธิใส่ฟันเทียมชนิดถอดได้ฐานอคริลิก 1 - 5 ซี่ ในวงเงินไม่เกิน 1,200 บาท มากกว่า 5 ซี่ ในวงเงินไม่เกิน 1,400 บาท ภายในระยะเวลา 5 ปี ตั้งแต่วันที่ใส่ฟันเทียมชนิดถอดได้จากฐานอคริลิก

ขั้นตอนการยื่นขอรับประโยชน์ทดแทนกรณีทันตกรรม

1. ผู้ประกันตนยื่นแบบคำขอรับประโยชน์ทดแทนกรณีทันตกรรม (สปส.2-16) ที่งานสวัสดิการ กองการเจ้าหน้าที่ พร้อมแนบหลักฐาน

  • ใบเสร็จรับเงิน
  • สำเนาบัตรรับรองสิทธิฯ
  • สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน
  • สมุดบัญชีเงินฝากธนาคาร

2. สำนักงานประกันสังคม มีหนังสือแจ้งผลการพิจารณา และสั่งจ่ายเงินสด/เช็ค และผู้ประกันตนมาขอรับด้วยตนเอง หรือมอบฉันทะ ให้บุคคลอื่นมารับแทนได้ หรือส่งธนานัติให้ผู้ประกันตน หรือโอนเข้าบัญชีธนาคาร ตามบัญชีของผู้รับ ประโยชน์ทดแทน

กรณีทุพพลภาพอันมิใช่เนื่องจากการทำงาน

  • ต้องจ่ายเงินสมทบมาแล้ว ไม่น้อยกว่า 3 เดือน ก่อนวันที่คณะกรรมการแพทย์กำหนดให้ เป็นผู้ทุพพลภาพ
  • มีสิทธิรับเงินทดแทนการขาดรายได้ ในอัตราร้อยละ 50 ของค่าจ้างตลอดชีวิต
  • มีสิทธิรับค่ารักษาพยาบาลเท่าที่จ่ายจริง เดือนละไม่เกิน 2,000 บาท
  • หากผู้ทุพพลภาพตาย ผู้จัดการศพรับค่าทำศพ 30,000 บาท และทายาทรับเงินสงเคราะห์ 3 เท่าของเงินทดแทนการขาดรายได้ ถ้าส่งเงินสมทบครบ 36 เดือนขึ้นไปก่อนทุพพลภาพ และรับ 10 เท่าของเงินทดแทนการขาดรายได้ ถ้าส่งเงินสมทบครบ 36 เดือนขึ้นไปก่อนทุพพลภาพ

วิธีการ...

1. ผู้ประกันยื่นแบบคำขอรับประโยชน์ทดแทน กรณีทุพพลภาพ (สปส.2-01) ที่งานสวัสดิการ กองการเจ้าหน้าที่ พร้อมแนบหลักฐาน

  • หนังสือรับรองของนายจ้าง
  • ใบเสร็จรับเงิน (กรณีขอรับค่าอวัยะเทียม/อุปกรณ์ ฯ)
  • ใบรับรองแพทย์ระบุการทุพพลภาพ
  • สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน

2. สำนักงานประกันสังคม มีหนังสือแจ้งผลการพิจารณา และสั่งจ่ายเงินสด/เช็ค และผู้ประกันตนมาขอรับด้วยตนเอง หรือมอบฉันทะให้คนอื่นมารับแทนได้ หรือส่งธนาณัติให้ผู้ประกันตนหรือโอนเข้าบัญชีธนาคารกรุงไทยสาขาต่าง ๆ ตามบัญชีของผู้รับประโยชน์ทดแทน

กรณีตายอันมิใช่เนื่องจากการทำงาน

ผู้มีสิทธิ...

  • ผู้ประกันตนจะต้องจ่ายเงินสมทบมาแล้วไม่น้อยกว่า 1 เดือน ภายในระยะเวลา 6 เดือน ก่อนวันที่ถึงแก่ความตาย
  • ผู้จัดการศพมีสิทธิได้รับค่าทำศพ 30,000 บาท

ผู้จัดการศพ ได้แก่ บุคคลซึ่งผู้ประกันตนทำหนังสือระบุ ให้เป็นผู้จัดการศพ และได้เป็นผู้จัดการศพผู้ประกันตน หรือ
คู่สมรส บิดา มารดา หรือบุตรของผู้ประกันตน ที่มีหลักฐานแสดงว่าเป็นผู้จัดการศพผู้ประกันตน หรือบุคคลอื่นที่มีหลักฐาน แสดงว่าเป็นผู้จัดการศพผู้ประกันตน

ผู้จัดการศพ ได้แก่ บุคคลซึ่งผู้ประกันตนทำหนังสือระบุ ให้เป็นผู้จัดการศพ และได้เป็นผู้จัดการศพผู้ประกันตน หรือ
คู่สมรส บิดา มารดา หรือบุตรของผู้ประกันตน ที่มีหลักฐานแสดงว่าเป็นผู้จัดการศพผู้ประกันตน หรือบุคคลอื่นที่มีหลักฐาน แสดงว่าเป็นผู้จัดการศพผู้ประกันตน

  • เงินสงเคราะห์กรณีตาย ดังนี้
    • เงินสงเคราะห์ 1.5 เท่าของค่าจ้างรายเดือนเฉลี่ยจากค่าจ้างที่ส่งเงินสมทบครบ 3 เดือนก่อนตาย ถ้าส่งเงินสมทบครบ 36 เดือนขึ้นไปหรือ
    • เงินสงเคราะห์ 5 เท่าของค่าจ้างรายเดือน เฉลี่ยจากค่าจ้างที่ส่งเงินสมทบครบ 3 เดือนก่อนตาย ถ้าส่งเงินสมทบครบ 10 ปีขึ้นไป

วิธีการ...

1. กรณีขอรับค่าทำศพ ผู้จัดการศพยื่นแบบคำขอรับประโยชน์ทดแทนกรณีตาย (สปส.2-01) พร้อมแนบหลักฐาน

  • สำเนาทะเบียนบ้านของผู้ประกันตน
  • สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของผู้จัดการศพ
  • หลักฐานฌาปนสถาน หรือมัสยิดที่แสดงว่าเป็นผู้จัดการศพ
  • ใบมรณบัตรต้นฉบับพร้อมสำเนา

2. กรณีขอรับเงินสงเคราะห์ ผู้มีสิทธิรับเงินสงเคราะห์ ยื่นแบบขอรับประโยชน์ทดแทนกรณีตาย (สปส.2-01) พร้อมแนบหลักฐาน

  • สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน ของผู้มีสิทธิได้รับเงินสงเคราะห์
  • ทะเบียนสมรสของผู้ประกันตน และของบิดามารดา (ถ้ามี) พร้อมสำเนา
  • สูติบัตร หรือสำเนาทะเบียนบ้านของบุตร กรณีไม่มีสูติบัตร
  • หนังสือรับรองของนายจ้าง

3. สำนักงานประกันสังคม มีหนังสือแจ้งผลการพิจารณา และสั่งจ่ายเงินสด/เช็ค และผู้ประกันตนมารับด้วยตนเอง หรือมอบฉันทะให้คนอื่นมารับแทนได้ หรือส่งธนาณัติให้ผู้ประกันตน หรือโอนเข้าบัญชีธนาคารกรุงไทยสาขาต่าง ๆ ตามบัญชีของผู้รับประโยชน์ทดแทน

กรณีคลอดบุตร

ผู้มีสิทธิ...

  • ต้องจ่ายเงินสมทบมาแล้วไม่น้อยกว่า 7 เดือน ก่อนวันคลอดบุตร
  • ผู้ประกันตนมีสิทธิได้รับเงินค่าคลอดบุตรเหมาจ่าย 12,000 บาทต่อครั้ง ไม่เกิน 2 ครั้ง
  • เฉพาะผู้ประกันตนหญิง ที่มีสิทธิรับเงินสงเคราะห์การหยุดงาน เพื่อการคลอดบุตรในอัตราร้อยละ 50 ของค่าจ้างเฉลี่ย เป็นระยะเวลา 90 วัน
  • กรณีสามี - ภรรยา เป็นผู้ประกันตนทั้งคู่ ให้ใช้สิทธิฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งเบิกต่อการคลอดบุตร 1 ครั้ง หรือให้ใช้สิทธิในการเบิกจ่ายค่าคลอดบุตร รวมกันไม่เกิน 4 ครั้ง

วิธีการ...

1. ผู้ประกันตนยื่นแบบคำขอรับประโยชน์ทดแทน กรณีคลอดบุตร (สปส.2-01) พร้อมแนบหลักฐาน

  • ทะเบียนสมรสพร้อมสำเนา
  • สูติบัตรของบุตร
  • สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน
  • สำเนาสมุดบัญชีเงินฝากธนาคาร

2. สำนักงานประกันสังคม มีหนังสือแจ้งผลการพิจารณา และสั่งจ่ายเงินสด/เช็ค (ผู้ประกันตนมาขอรับด้วยตนเอง หรือมอบฉันทะให้คนอื่นมารับแทน) หรือส่งธนาณัติให้ผู้ประกันตน หรือโอนเข้าบัญชีธนาคารกรุงไทยสาขาต่าง ๆ ตามบัญชี ของผู้รับประโยชน์ทดแทน

กรณีสงเคราะห์บุตร

ผู้มีสิทธิ...

  • ต้องจ่ายเงินสมทบมาแล้ว ไม่น้อยกว่า 12 เดือน ภายในระยะเวลา 36 เดือน ก่อนเดือนที่มีสิทธิ ได้รับประโยชน์ทดแทน
  • มีสิทธิรับเงินสงเคราะห์บุตร เดือนละ 350 บาทต่อบุตร 1 คน ไม่เกิน 2 คน
  • บุตรชอบด้วยกฎหมายตั้งแต่แรกเกิดจนถึง อายุไม่เกิน 6 ปีบริบูรณ์
  • ทั้งสามี - ภรรยา เป็นผู้ประกันตน ให้ใช้สิทธิฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งเบิกก่อน

วิธีการ...

1. ผู้ประกันตนยื่นแบบคำขอรับประโยชน์ทดแทน กรณีสงเคราะห์บุตร (สปส.2-01/5) พร้อมแนบหลักฐาน

  • หนังสือรับรองของนายจ้าง
  • ทะเบียนบัตรประจำตัวประชาชน ของผู้ประกันตน/คู่สมรส
  • สำเนาบัตรประกันสังคม
  • สำเนาทะเบียนสมรส/ทะเบียนหย่าของผู้ประกันตน (กรณีจดทะเบียนหย่า)
  • สูติบัตรพร้อมสำเนา

2. สำนักงานประกันสังคม มีหนังสือแจ้งผลการพิจารณา และสั่งจ่ายให้เป็นรายเดือน โดยโอนเข้าบัญชีธนาคารกรุงไทย สาขาต่าง ๆ ตามบัญชีของผู้รับประโยชน์ทดแทน

กรณีชราภาพ

1.ผู้มีสิทธิรับเงินบำนาญชราภาพ

  • กรณีจ่ายเงินสมทบไม่น้อยกว่า 180 เดือน ไม่ว่าระยะเวลา 180 เดือน จะติดต่อกันหรือไม่ก็ตาม และ
  • มีอายุมีครบ 55 ปีบริบูรณ์ และความเป็นผู้ประกันตนสิ้นสุดลง
  • มีสิทธิรับบำนาญชราภาพ รายเดือนตลอดชีพ ในอัตราร้อยละ 15 ของค่าจ้างเฉลี่ย 60 เดือนสุดท้าย ที่ใช้เป็นฐาน ในการคำนวณเงินสมทบก่อนความเป็นผู้ประกันตนสิ้นสุดลง
  • หากจ่ายเงินสมทบเกินกว่า 180 เดือน ให้ปรับเพื่มอัตราเงินบำนาญชราภาพ จากอัตราร้อยละ 15 เพิ่มอีกร้อยละ 1 ต่อระยะเวลาการตายเงินสมทบทุก 12 เดือน

2. ผู้มีสิทธิรับเงินบำเหน็จชราภาพ

  • กรณีจ่ายเงินสมทบไม่ครบ 180 เดือน และความเป็นผู้ประกันตนสิ้นสุดลง
  • มีอายุครบ 55 ปีบริบูรณ์ หรือเป็นผู้ทุพพลภาพ หรือถึงแก่ความตาย
  • กรณีจ่ายเงินสมทบต่ำกว่า 12 เดือน ให้จ่ายเงินบำเหน็จชราภาพเท่ากับจำนวนเงินสมทบ ที่ผู้ประกันตนจ่ายสมทบ เข้ากองทุน
  • กรณีจ่ายเงินสมทบ ตั้งแต่ 12 เดือนขึ้นไป ให้จ่ายเงินบำเหน็จชราภาพเท่ากับ จำนวนเงินสมทบที่ผู้ประกันตน และนายจ้างจ่ายสมทบ เข้ากองทุนพร้อมดอกผล ตามอัตราที่สำนักงานประกันสังคมกำหนด
  • กรณีผู้รับบำนาญชราภาพ ถึงแก่ความตาย ภายใน 60 เดือน นับแต่เดือนที่มีสิทธิได้รับเงินบำนาญชราภาพ ให้จ่ายเงินบำเหน็จชราภาพ จำนวน 10 เท่า ของเงินบำนาญชราภาพ รายเดือนที่ได้รับคราวสุดท้าย ก่อนถึงแก่ความตาย

3. ผู้ประกันตน หรือผู้มีสิทธิ จะต้องยื่นคำขอรับประโยชน์แทนภายใน 1 ปี นับแต่วันที่มีสิทธิขอรับประโยชน์ทดแทน

4. ขั้นตอนการยื่นคำขอรับประโยชน์ทดแทน กรณีชราภาพ

วิธีการ...

1. ผู้ประกันตนยื่นแบบคำขอรับประโยชน์ทดแทน กรณีชราภาพ (สปส.2-01/6) พร้อมแนบหลักฐาน

  • สำนาบัตรประจำตัวประชาชนของผู้ประกันตน
  • สำเนาทะเบียนบ้านของทายาทผู้มีสิทธิ (กรณีผู้รับประโยชน์ทดแทนกรณีชราภาพ ถึงแก่ความตาย)
  • ใบมรณบัตรพร้อมสำเนา (กรณีผู้รับประโยชน์ทดแทน กรณีชราภาพถึงแก่ความตาย)

2. สำนักงานประกันสังคม มีหนังสือแจ้งผลการพิจารณา และสั่งจ่ายเงินสด/เช็ค (ผู้ประกันตนมาขอรับด้วยตนเอง หรือมอบฉันทะให้คนอื่นมารับแทน) หรือส่งธนาณัติให้ผู้ประกันตน หรือโอนเข้าบัญชีธนาคารกรุงไทยสาขาต่าง ๆ ตามบัญชีของผู้รับประโยชน์ทดแทน

หลักเกณฑ์และสิทธิประโยชน์

หลักเกณฑ์ที่จะทำให้ท่านมีสิทธิ คือ

จ่ายเงินสมทบมาแล้วไม่น้อยกว่า 6 เดือน ก่อนการว่างงาน

เงื่อนไขการเกิดสิทธิ

1. ต้องขึ้นทะเบียนผู้ว่างงานที่สำนักงานจัดหางานของรัฐ

2. มีความสามารถในการทำงาน และพร้อมที่จะทำงานที่เหมาะสมตามที่จัดหาให้

3. ต้องไม่ปฏิเสธการฝึกงาน

4. ต้องรายงานต่อเจ้าหน้าที่สำนักจัดหางาน ไม่น้อยกว่าเดือนละ 1 ครั้ง

5. ผู้ที่ว่างงานต้องไม่ถูกเลิกจ้างเนื่องจากกรณี

  • ทุจริตต่อหน้าที่
  • กระทำผิดอาญาโดยเจตนาแก่นายจ้าง
  • จงใจทำให้นายจ้างได้รับความเสียหาย
  • ฝ่าฝืนข้อบังคับ หรือระเบียบเกี่ยวกับการทำงาน หรือคำสั่งอันชอบด้วยกฎหมายในกรณีร้ายแรง
  • ละทิ้งหน้าที่เป็นเวลา 7 วัน ทำงานติดต่อกัน โดยไม่มีเหตุอันควร
  • ประมาทเลินเล่อเป็นเหตุให้นายจ้างได้รับความเสียหายอย่างร้ายแรง
  • ได้รับโทษจำคุกตามคำพิพากษา

6. ต้องมิใช่ผู้มีสิทธิได้รับประโยชน์ทดแทนในกรณีชราภาพ

7. มีสิทธิรับประโยชน์ทดแทนเริ่มตั้งแต่วันที่ 8 นับแต่วันว่างงานจากการทำงาน กับนายจ้างรายสุดท้าย

8. ไม่เป็นผู้ประกันตนโดยสมัครใจตามมาตรา 39

สิทธิที่ท่านจะได้รับประโยชน์ทดแทน

กรณีที่ถูกเลิกจ้าง

ได้รับเงินทดแทนระหว่างการว่างงานปีละไม่เกิน 180 วัน ในอัตราร้อยละ 50 ของค่าจ้างกรณีลาออกจากงาน

กรณีสมัครใจลาออก

ได้รับเงินทดแทนระหว่างการว่างงาน ปีละไม่เกิน 90 วัน ในอัตราร้อยละ 30 ของค่าจ้าง

หาก ใน 1 ปีปฏิทินมีการยื่นขอรับเงินทดแทนระหว่างการว่างงานเกินกว่า 1 ครั้ง ให้นับระยะเวลาการรับเงินทดแทน ระหว่างการว่างงานรวมกันไม่เกิน 180 วัน

เงินทดแทนการขาดรายได้จะจ่ายเป็นงวดเดือน โดยโอนเงินผ่านบัญชีธนาคารตามที่ผู้ประกนตนแจ้ง

กรณีว่างงาน

ขั้นตอนและวิธีการขอรับประโยชน์ทดแทน

ขั้นตอนและวิธีการขอรับประโยชน์ทดแทน

1. ต้องไปขึ้นทะเบียนผู้ว่างงานที่สำนักจัดหางาน กรมการจัดหางาน

2. กรอกแบบฟอร์มใบขึ้นทะเบียนผู้ประกันตนกรณีว่างงาน พร้อมด้วยหลักฐานดังนี้

  • บัตรประชาชน
  • รูปถ่าย 1 นิ้ว 1 ใบ

3. กรอกแบบคำขอรับประโยชน์ทดแทนกรณีว่างงาน พร้อมด้วยหลักฐานดังนี้

  • หนังสือรับรองการออกจากงาน หรือสำเนาแบบแจ้งการออกจากงาน (สปส 6-09) หรือ
  • หนังสือหรือคำสั่งของนายจ้างที่ให้ออกจากงาน
  • สำเนาสมุดบัญชีเงินฝากธนาคารประเภทออมทรัพย์หน้าแรกที่มีชื่อและเลขที่บัญชี

4. เจ้าหน้าที่สำนักจัดหางานทำการสัมภาษณ์/ตรวจสอบคุณสมบัติและประวัติการทำงาน

5. เจ้าหน้าที่สำนักจัดหางานทำการเลือกตำแหน่งงานว่างให้เลือก 3 แห่ง ให้ผู้ประกันตนกรณีว่างงานได้พิจารณา

6. หากยังไม่มีงานที่เหมาะสม เจ้าหน้าที่สำนักจัดหางานจะประสานงานส่งฝึกอบรมแรงงานตามความจำเป็น

7. เจ้าหน้าที่จะทำการบันทึกสถานะผู้ประกันตนกรณีว่างงานเข้าสู่ฐานข้อมูลกลาง

8. เจ้าหน้าที่สำนักงานประกันสังคมดึงข้อมูลผู้ประกันตนกรณีว่างงานขึ้นมาวินิจฉัยตามเงื่อนไขการเกิดสิทธิ

9. เมื่อคุณสมบัติครบถ้วน สำนักงานประกันสังคมทำการโอนเงินทดแทนการขาดรายได้ตามสิทธิให้ผู้ประกันตน ผ่านทางบัญชีธนาคาร

10. หากผู้ขอรับประโยชน์ทดแทนไม่พอใจคำสั่งจ่ายประโยชน์ทดแทน สามารถยื่นอุทธรณ์ได้ภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ได้รับแจ้งคำสั่ง

งวดการตัดเงินเดือนและโอที

ปัญหาในการจัดทำเงินเดือนและค่าแรง เรื่องสำคัญที่ควรนำมาพิจารณาคือ งวดการตัดเงินเดือน-ค่าแรง และงวดการตัดค่าล่วงเวลา (โอที) เพราะมีผลต่อการจัดทำเงินเดือนค่อนข้างมากและเพื่อลดความยุ่งยากในการจัดทำลง ซึ่งเกี่ยวพันกับการบันทึกบัญชีด้วย

ตามปกติเงินเดือนมักจะออกในวันสิ้นเดือน ตอนที่ผมเข้าทำงานบริษัทใหม่ในเดือนแรก ก็มักจะพบว่าได้เงินเดือนไม่ครบทั้งๆ ที่เราเข้าทำงานในวันที่ 1 ของเดือน สมมติว่าเงินเดือน 30,000 บาทนะครับ พอไปกดเงินอาจจะได้มาเพียง 20,000 บาท ถ้าเค้าให้ Siip มาด้วยก็จะพบว่า วันทำงานมีเพียง 20 วันเท่านั้น ทั้งนี้เนื่องมาจากบริษัทตัดยอดเงินถึงวันที่ 20 เท่านั้น เคยสงสัยบ้างไหม๊ครับว่า ทำไมต้องตัดวันที่ 20 แล้วทำไมต้องใช้เวลาในการจัดทำค่อนข้างนานถึง 10 วัน บัญชีทำไมถึงทำงานได้ช้าจังนะ

พอต้องมาดูแลการคิดเงินเดือนให้พนักงานถึงได้รู้ว่า ที่จริงมันมีขั้นตอนในการทำงานอยู่ บางทีก็ไม่ได้ช้าที่แผนกบัญชีนะครับ ส่วนใหญ่แล้วน่าจะช้ามาจากหน่วยงานอื่น (แผนกบุคคล) ส่งรายงานให้แผนกบัญชีค่อนข้างช้า ผมเองเคยเข้าไปตรวจสอบแล้วพบว่า ทางบุคคลทำรายงานเสร็จเรียบร้อยแล้วพร้อมส่งบัญชี แต่รอเอกสารการเขียนใบลาหยุด ลาป่วย คำขอโอที หรือเอกสารอยู่ระหว่างรอผู้มีอำนาจเซ็นต์อนุมัติอยู่ ก็เลยทำให้ไม่สามารถส่งรายงานได้ ต้องคอยตามทวง

เราลองมาดูกันนะครับว่าเวลา 10 วันในการจัดทำเงินเดือนและค่าแรง ใช้ไปในเรื่องใดบ้าง

  • ในส่วนของ 10 วันจะตรงกับวันหยุดวันอาทิตย์ประมาณ 2 วัน
  • ทางบุคคลขอเวลาในการจัดทำ 3 วัน (ประมวล,คีย์ใบขอโอที,ใบลาหยุดต่างๆ)
  • ทางบัญชีขอเวลาในการจัดทำ 3 วัน (คีย์ขอมูล,ประมวลผล,ตรวจสอบ,ทำเช็คค่าแรงพร้อมเสนอเซ็นต์)
  • นำแผ่นส่งให้ธนาคารพร้อมเช็ค 1 วันและอีก 1 วันเป็นวันเงินเดือนออก

บริษัทที่ผมเคยทำงานด้วยมีพนักงานประมาณ 500 คน ตัดค่าจ้างทุกวันที่ 23 ของเดือนทำให้เหลือเวลาทำงานอยู่เพียง 7 วัน ในจำนวน 7 วันจะตรงกับวันหยุด 1 วัน ทางบุคคลขอ 2 วัน บัญชีขอ 2 วัน ส่งแผ่นให้ธนาคารพร้อมเช็คอีก 1 วัน (ต้องส่งแผ่นก่อนวันเงินเดือนออกอย่างน้อย 1 วันและส่งไม่เกินเที่ยง) และอีก 1 วันเป็นวันเงินเดือนออก ลองมาดูตัวอย่างกันนะครับ ผมยกตัวอย่างของเดือนธันวาคม นะครับ

  • งวดการจ่ายวันที่ 30 ธค. ตัดค่าจ้างวันที่ 23 ทางบุคคลขอ 2 วันคือวันที่ 24 และ 25 ในการรวบรวมข้อมูล ดังนั้นบุคคลต้องส่งรายงานให้บัญชีในวันที่ 26 ไม่เกิน 9.00 น.
  • ทางบัญชีใช้เวลาในการประมวลผล 2 วันคือวันที่ 26 และ 27 (วันเสาร์ทำงาน) เมื่อเสร็จเรียบร้อยแล้วต้องทำเช็คไปส่งธนาคารในวันที่ 28 (ตรงกับวันอาทิตย์) ก็เลยต้องเลื่อนไปส่งวันที่ 29 ไม่เกินเที่ยงพร้อมรายงาน แผ่น Disk และเช็คค่าแรง
  • วัันที่ 30 เป็นวันเงินเดือนออก (ที่จริงต้องออกในวันที่ 31 แต่เนื่องจากตรงกับวันหยุดเลยเลื่ยนเข้ามา)

จากตัวอย่างข้างต้น ผมได้จัดทำตารางการจ่ายค่าจ้างขึ้นมา เพื่อกำหนดเวลาให้แต่ละหน่วยงานจัดส่งรายงานภายในกำหนดเวลา อย่างเช่น การเขียนใบคำขอโอที ควรเขียนและส่งก่อนทำโอที ไม่ใช่มาเขียนในตอนเช้า หรือ บางทีลางาน ตอนเช้า่มาทำงานก็ควรเขียนในทันที ไม่ใช่ 2-3 วันมาเขียน ซึ่งก็จะทำให้การสรุปข้อมูลทำได้ช้า ยิ่งถ้าเป็นบริษัทที่มีพนักงานจำนวนมาก

ข้อดีในการจัดทำตารางการตัดค่าจ้างอีกอย่างก็คือ ทำให้พนักงานเข้าใจว่าเวลาที่ใช้ในการจัดทำ 7-10 วันนะที่จริงก็ไม่ถือว่าใช้เวลามากเกินไป โดยเฉพาะถ้าเป็นโรงงานที่มีคนงานจำนวนมาก ตารางการตัดค่าจ้างและโอที ผมเห็นทางบุคคลเอาไปติดไว้ที่บอร์ด และเห็นพนักงานมาจดด้วยว่า งวดนี้มีค่าจ้างกี่วัน ตัดโอทีวันไหน

ปัจจุบันงานรับทำเงินเดือน ผมก็เอาตารางการตัดค่าจ้างและโอทีมาทำให้ลูกค้า ในช่องของรายงานที่ส่งให้บัญชี ผมก็ลงเป็นส่งรายงานให้ Outsorce แทน ในเดือนแรกๆ การส่งรายงานก็ไม่เป็นไปตามนั้นแต่หลังจากนั้นไม่เกิน 2-3 เดือน ผมก็เห็นลูกค้าผม ส่งรายงานได้ตามกำหนดเวลาตามที่เราตกลงกันไว้ (ตอนแรกก็นึกว่าจะไม่สนใจดูกันซะอีก)

ประเภทเงินได้บุคคลธรรมดา

ในการเสียภาษีจะต้องคำนวณภาษีอย่างไร?

เนื่อง จากผู้มีเงินได้ประกอบอาชีพแตกต่างกัน มีความยากง่ายหรือต้นทุนที่แตกต่างกัน เพื่อความ เป็นธรรม ในกฎหมายจึงได้แบ่งลักษณะเงินได้(พึงประเมิน) ออกเป็นกลุ่มๆ ตามความเหมาะสมเพื่อกำหนด วิธีคำนวณภาษีให้เกิดความเป็นธรรมมากที่สุด ดังนี้
1. เงินได้ประเภทที่ 1

ได้แก่ เงินได้เนื่องจากการจ้างแรงงาน ไม่ว่าจะเป็น
- เงินเดือน ค่าจ้าง เบี้ยเลี้ยง โบนัส เบี้ยหวัด บำเหน็จ บำนาญ
- เงินค่าเช่าบ้านที่ได้รับจากนายจ้าง
- เงินที่คำนวณได้จากมูลค่าของการได้อยู่บ้าน ซึ่งนายจ้างให้อยู่โดยไม่เสียค่าเช่า
- เงินที่นายจ้างจ่ายชำระหนี้ใด ๆ ซึ่งลูกจ้างมีหน้าที่ต้องชำระ
- เงิน ทรัพย์สิน หรือประโยชน์ใด ๆ บรรดาที่ได้เนื่องจากการจ้างแรงงาน เช่น มูลค่าของการได้รับประทานอาหาร เป็นต้น

2. เงินได้ประเภทที่ 2 ได้แก่ เงินได้เนื่องจากหน้าที่หรือตำแหน่งงานที่ทำ หรือจากการรับทำงานให้ ไม่ว่าจะเป็น
- ค่าธรรมเนียม ค่านายหน้า ค่าส่วนลด
- เงินอุดหนุนในงานที่ทำ เบี้ยประชุม บำเหน็จ โบนัส
- เงินค่าเช่าบ้านที่ได้รับเนื่องจากหน้าที่หรือตำแหน่งงานที่ทำ หรือจากการรับทำงานให้
- เงินที่คำนวณได้จากมูลค่าของการได้อยู่บ้าน ที่ผู้จ่ายเงินได้ให้อยู่โดยไม่เสียค่าเช่า
- เงินที่ผู้จ่ายเงินได้จ่ายชำระหนี้ใด ๆ ซึ่งผู้มีเงินได้มีหน้าที่ต้องชำระ
- เงิน ทรัพย์สิน หรือประโยชน์ใด ๆ บรรดาที่ได้เนื่องจากหน้าที่หรือตำแหน่งงานที่ทำหรือ จากการรับทำงานให้นั้น ไม่ว่าหน้าที่หรือตำแหน่งงาน หรืองานที่รับทำให้นั้นจะเป็นการประจำหรือชั่วคราว
3. เงินได้ประเภทที่ 3

ได้แก่ ค่าแห่งกู๊ดวิลล์ ค่า แห่งลิขสิทธิ์หรือสิทธิอย่างอื่น เงินปี หรือเงินได้ที่มีลักษณะ เป็นเงินรายปีอันได้มาจากพินัยกรรม นิติกรรมอย่างอื่น หรือคำพิพากษาของศาล

4. เงินได้ประเภทที่ 4 ได้แก่ ดอกเบี้ย เงินปันผล เงินส่วนแบ่งกำไร   เงินลดทุน เงินเพิ่มทุน ผลประโยชน์ที่ได้จากการโอนหุ้น ฯลฯ เป็นต้น
(ก) ดอกเบี้ยพันธบัตร ดอกเบี้ยเงินฝาก ดอกเบี้ยหุ้นกู้ ดอกเบี้ยตั๋วเงิน ดอกเบี้ยเงินกู้ยืม ไม่ว่าจะมี หลักประกันหรือไม่ ดอกเบี้ยเงินกู้ยืมที่อยู่ในบังคับต้องถูกหักภาษีไว้ ณ ที่จ่ายตามกฎหมายว่าด้วยภาษีเงินได้ปิโตรเลียมเฉพาะส่วนที่เหลือจากถูกหัก ภาษีไว้ ณ ที่จ่ายตามกฎหมายดังกล่าว หรือผลต่างระหว่างราคาไถ่ถอน กับราคาจำหน่ายตั๋วเงินหรือตราสารแสดงสิทธิในหนี้ที่บริษัท หรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล หรือนิติบุคคลอื่น เป็นผู้ออกและจำหน่ายครั้งแรกในราคาต่ำกว่าราคาไถ่ถอน รวมทั้งเงินได้ที่มีลักษณะทำนองเดียวกันกับดอกเบี้ย ผลประโยชน์หรือค่าตอบแทนอื่น ๆ ที่ได้จากการให้กู้ยืมหรือจากสิทธิเรียกร้องในหนี้ทุกชนิดไม่ว่าจะมีหลัก ประกันหรือไม่ก็ตาม
(ข) เงินปันผล เงินส่วนแบ่งของกำไร หรือ ประโยชน์อื่นใดที่ได้จากบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล กองทุนรวม หรือสถาบันการเงินที่มีกฎหมายไทยให้จัดตั้งขึ้นโดยเฉพาะสำหรับให้กู้ยืมเงิน ฯลฯ
(ค) เงินโบนัสที่จ่ายแก่ผู้ถือหุ้น หรือผู้เป็นหุ้นส่วนในบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล
(ง) เงินลดทุนของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลเฉพาะส่วนที่จ่ายไม่เกินกว่ากำไรและเงินที่กันไว้รวมกัน
(จ) เงินเพิ่มทุนของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลซึ่งตั้งจากกำไรที่ได้มาหรือรับช่วงกันไว้รวมกัน
(ฉ) ผลประโยชน์ที่ได้จากการที่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลควบเข้ากันหรือ รับช่วงกันหรือ เลิกกัน ซึ่งตีราคาเป็นเงินได้เกินกว่าเงินทุน
(ช) ผลประโยชน์ที่ได้จากการโอนการเป็นหุ้นส่วนหรือโอนหุ้น หุ้นกู้ พันธบัตร หรือตั๋วเงิน หรือ ตราสารแสดงสิทธิในหนี้ ที่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล หรือนิติบุคคลอื่นเป็นผู้ออก ทั้งนี้เฉพาะซึ่งตีราคา เป็นเงินได้เกินกว่าที่ลงทุน

เงิน ได้ประเภทที่ 4 ในหลาย ๆ กรณี กฎหมายให้สิทธิที่จะเลือกเสียภาษีโดยวิธีหักภาษี ณ ที่จ่าย แทนการนำไปรวมคำนวณกับเงินได้อื่นตามหลักทั่วไป ซึ่งจะทำให้ผู้มีเงินได้ที่ต้องเสียภาษีตามบัญชีอัตราภาษี ในอัตราที่สูงกว่าอัตราภาษี หัก ณ ที่จ่าย สามารถประหยัดภาษีได้

5. เงินได้ประเภทที่ 5 เงินได้จากการให้เช่าทรัพย์สิน เงินหรือประโยชน์อย่างอื่น ที่ได้เนื่องจาก
- การให้เช่าทรัพย์สิน
- การผิดสัญญาเช่าซื้อทรัพย์สิน
- การผิดสัญญาซื้อขายเงินผ่อนซึ่งผู้ขายได้รับคืนทรัพย์สินที่ซื้อขายนั้นโดยไม่ต้องคืนเงินหรือประโยชน์ที่ได้รับไว้แล้ว


6. เงินได้ประเภทที่ 6
ได้แก่ เงินได้จากวิชาชีพอิสระ คือวิชากฎหมาย การประกอบโรคศิลป วิศวกรรม สถาปัตยกรรม การบัญชี ประณีตศิลปกรรม หรือวิชาชีพอื่นซึ่งจะได้มีพระราชกฤษฎีกากำหนดชนิดไว้

7. เงินได้ประเภทที่ 7
ได้แก่ เงินได้จากการรับเหมาที่ผู้รับเหมาต้องลงทุนด้วยการจัดหาสัมภาระ ในส่วนสำคัญนอกจากเครื่องมือ

8. เงินได้ประเภทที่ 8
ได้แก่ เงินได้จากการธุรกิจ การพาณิชย์ การเกษตร การอุตสาหกรรม การขนส่ง การขายอสังหาริมทรัพย์ หรือการอื่นนอกจากที่ระบุไว้ในประเภทที่ 1 ถึงประเภทที่ 7 แล้ว

ที่มา..กรมสรรพากร

ผู้มีเงินได้(บุคคลธรรมดา)มีสิทธิหักลดหย่อนอะไรได้บ้าง

การหักลดหย่อน หมาย ถึง รายการต่างๆ ที่กฎหมายได้กำหนดให้หักได้เพิ่มขึ้นหลังจากได้หักค่าใช้จ่ายแล้ว เพื่อเป็นการบรรเทาภาระภาษีให้แก่ผู้เสียภาษีก่อนนำเงินได้ที่เหลือซึ่ง เรียกว่าเงินได้สุทธิไปคำนวณภาษีตามบัญชีอัตราภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา รายการหักลดหย่อนกรณีต่าง ๆ มีดังต่อไปนี้

1. การหักลดหย่อนในกรณีทั่วไป

1.1 ผู้มีเงินได้ 30,000 บาท (ไม่ว่าจะอยู่ในประเทศไทยถึง 180 วัน หรือไม่ก็ตาม)

1.2 สามีหรือภริยาของผู้มีเงินได้ 30,000 บาท
(1) สามีหรือภริยาของผู้มีเงินได้ที่มีสิทธิหักลดหย่อน จะต้องเป็นสามีหรือภริยาชอบด้วยกฎหมาย การสมรส ไม่ครบปีภาษีก็มีสิทธิหักลดหย่อนได้ เช่น จดทะเบียนสมรสระหว่างปีภาษี หรือตายในระหว่างปีภาษี ก็มีสิทธิหักลดหย่อนได้ 30,000 บาท
(2) สามีหรือภริยาของผู้มีเงินได้ที่จะนำมาหักลดหย่อนจะต้องไม่มีเงินได้พึง ประเมินหรือมีแต่ไม่ได้แยกคำนวณภาษี ตัวอย่าง สามีภริยาแต่งงานครบปีภาษีและต่างฝ่ายต่างมีเงินได้ประเภทที่ 1 กรณีดังกล่าว ภริยาสามารถแยกคำนวณภาษีต่างหากจากสามีได้โดยชอบ ทั้งสามีภริยาจึงไม่มีสิทธินำคู่สมรสมาหักลดหย่อนได้ แต่หากภริยามีเงินได้ประเภทอื่น (2-8) ให้สามีนำเงินได้ของภริยามารวมคำนวณและมีสิทธินำคู่สมรสมาหัก ลดหย่อนได้

1.3 การหักลดหย่อนบุตร ให้หักสำหรับบุตรชอบด้วยกฎหมาย หรือบุตรบุญธรรมของผู้มี เงินได้ รวมทั้งบุตรชอบด้วยกฎหมายของสามีหรือภริยาของผู้มีเงินได้ด้วย

โดยมีเงื่อนไขว่าบุตรที่เกิด ก่อนหรือ ในพ.ศ.2522 หรือที่ได้รับเป็นบุตรบุญธรรม ก่อน พ.ศ. 2522 คนละ 15,000 บาท บุตรที่เกิด หลัง พ.ศ.2522 หรือที่ได้รับเป็นบุตรบุญธรรมในหรือหลัง พ.ศ. 2522 คนละ 15,000 บาท แต่รวมกันต้องไม่เกิน 3 คน
การ นับจำนวนบุตรให้นับเฉพาะ บุตรที่มีชีวิตอยู่ตามลำดับอายุสูงสุดของบุตร โดยให้นับรวมทั้งบุตร ที่ไม่อยู่ในเกณฑ์ได้รับการหักลดหย่อนด้วย
การหักลดหย่อนสำหรับบุตร ให้หักได้เฉพาะบุตรซึ่งมีอายุไม่เกิน 25 ปี และยังศึกษาอยู่ ในมหาวิทยาลัยหรือชั้นอุดมศึกษาเฉพาะภายในประเทศให้ลดหย่อนเพื่อการศึกษาได้อีกคนละ 2,000 บาท หรือเป็น ผู้เยาว์ หรือศาลสั่งให้เป็นคนไร้ความสามารถหรือเสมือนไร้ความสามารถอันอยู่ในความ อุปการะเลี้ยงดู แต่มิให้ หักลดหย่อนสำหรับบุตรดังกล่าวที่มีเงินได้พึงประเมินในปีภาษีที่ล่วงมาแล้ว ตั้งแต่ 15,000 บาทขึ้นไป โดยเงินได้ ดังกล่าวต้องไม่ใช่เงินได้ที่ได้รับยกเว้นตามมาตรา 42 ให้ไม่ต้องรวมคำนวณเพื่อเสียภาษีเงินได้
การหักลดหย่อนสำหรับบุตรดังกล่าว ให้หักได้ ตลอดปีภาษี ไม่ว่ากรณีจะหักได้นั้นจะมีอยู่ตลอดปีภาษีหรือไม่ และในกรณีบุตรบุญธรรมนั้นให้หักลดหย่อนในฐานะบุตรบุญธรรมได้ในฐานะเดียว

1.4 เบี้ยประกันภัย ที่ผู้มีเงินได้จ่ายไปในปีภาษี สำหรับการประกันชีวิตของผู้มีเงินได้ตามจำนวนที่จ่ายจริง โดยส่วนแรกหักได้ 10,000 บาท ส่วนที่เกิน 10,000 บาท หักได้ไม่เกินเงินได้หลังจากหักค่าใช้จ่าย แต่ไม่เกิน 90,000 บาท ทั้งนี้ เฉพาะในกรณีที่กรมธรรม์ประกันชีวิตมีกำหนดเวลาตั้งแต่ 10 ปีขึ้นไป และการประกันชีวิตนั้นได้เอาประกันไว้กับผู้รับประกันภัยที่ประกอบกิจการประกันชีวิตในราชอาณาจักร
ในกรณีสามีหรือภริยาของผู้มีเงินได้มีการประกันชีวิตและความเป็นสามีภริยา ได้มีอยู่ตลอดปีภาษีให้หักลดหย่อนได้ด้วยสำหรับเบี้ยประกันที่จ่ายสำหรับการ ประกันชีวิตของสามีหรือภริยานั้นตามเกณฑ์ข้างต้น
การฝากเงินออมสินประเภทสงเคราะห์ชีวิตและครอบครัว ก็อยู่ในข่ายที่จะขอหักลดหย่อนตามเกณฑ์นี้ได้ด้วย

1.5 เงินสะสม ที่จ่ายเข้ากองทุนสำรองเลี้ยงชีพ หักลดหย่อนได้ตามจำนวนที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 10,000 บาท ส่วนที่เกิน 10,000 บาท แต่ไม่เกิน 490,000 บาท เป็นเงินที่ได้รับยกเว้นภาษี โดยนำจำนวนเงินส่วนที่เกินดังกล่าวหักจากเงินได้พึงประเมิน ก่อนหักค่าใช้จ่ายตามจำนวนที่จ่ายจริงแต่ไม่เกิน 490,000 บาท
ค่าซื้อหน่วยลงทุนในกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ หักได้ไม่เกินร้อยละ 15 ของเงินได้ และเมื่อรวมกับเงินสะสมกองทุนสำรองเลี้ยงชีพและกองทุน กบข. (ถ้ามี) แล้วไม่เกิน 500,000 บาท โดยต้องจ่ายเป็นค่าซื้อ หน่วยลงทุนในกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ ตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ที่จะได้รับยกเว้นไม่ต้องรวม คำนวณเพื่อเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ทั้งนี้ ต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข ที่อธิบดีกรมสรรพากรกำหนด
ค่าซื้อหน่วยลงทุนในกองทุนรวมหุ้นระยะยาว ในอัตราไม่เกินร้อยละ 15 ของเงินได้เฉพาะส่วนที่ไม่เกิน 500,000 บาท

1.6 ดอกเบี้ยเงินกู้ยืม จากการกู้ยืมเงินเพื่อซื้อ เช่าซื้อ หรือสร้างอาคารอยู่อาศัย โดยจำนองอาคารที่ซื้อหรือสร้างเป็นประกันการกู้ยืมนั้น ตามจำนวนเงินที่ได้จ่ายไปจริงแต่ไม่เกิน 100,000 บาท ทั้งนี้ เฉพาะดอกเบี้ยเงินกู้ยืมที่ได้จ่ายตั้งแต่ 1 มกราคม พ.ศ.2550 เป็นต้นไป โดยต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ และวิธีการดังนี้


(1) เป็นดอกเบี้ยเงินกู้ยืม สำหรับการกู้ยืมจากผู้ประกอบกิจการในราชอาณาจักรเฉพาะที่กำหนดไว้ ได้แก่ ธนาคาร บริษัทตามกฎหมายว่าด้วยการประกอบธุรกิจเงินทุน ธุรกิจหลักทรัพย์ และธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์ บริษัทประกันชีวิต สหกรณ์ นายจ้างซึ่งมีระเบียบเกี่ยวกับเงินกองทุนที่จัดสรรไว้เพื่อสวัสดิการแก่ ลูกจ้าง บรรษัทตลาดรองสินเชื่อที่อยู่อาศัยตามกฎหมายว่าด้วยบรรษัทตลาดรองสินเชื่อ ที่อยู่อาศัย กองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์เพื่อแก้ไขปัญหาในระบบสถาบันการเงินที่จัดตั้งขึ้น ตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ กองทุนรวมเพื่อแก้ไขปัญหาในระบบสถาบันการเงินที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายว่า ด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ นิติบุคคลเฉพาะกิจที่จัดตั้งขึ้นเพื่อแปลงสินทรัพย์เป็นหลักทรัพย์ที่เขารับ ช่วงสิทธิ์เป็นเจ้าหนี้เงินกู้แทนกองทุนรวมดังกล่าว กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการตามกฎหมาย ว่าด้วยบำเหน็จบำนาญข้าราชการ

(2) เป็นดอกเบี้ยเงินกู้ยืมตามสัญญากู้ยืมเงินเพื่อซื้อ เช่าซื้ออาคารพร้อมที่ดิน หรือห้องชุดในอาคารชุด หรือเพื่อสร้างอาคารใช้อยู่อาศัยบนที่ดินของตนเองหรือบนที่ดินที่ตนเองมี สิทธิครอบครอง

(3) ต้องจำนองอาคารหรือห้องชุดในอาคารชุด หรืออาคารพร้อมที่ดิน เป็นประกันการกู้ยืมเงินนั้น โดยมีระยะเวลาจำนองตามระยะเวลาการกู้ยืม

(4) ต้องใช้อาคารหรือห้องชุดในอาคารชุดตาม(3)นั้นเป็นที่อยู่อาศัยในปีที่ได้รับ ยกเว้นภาษี แต่ไม่รวมถึงกรณีลูกจ้าง ซึ่งถูกนายจ้างสั่งให้ไปปฏิบัติงานของนายจ้าง ณ ต่างถิ่นเป็นประจำหรือกรณีอาคารหรือห้องชุดดังกล่าวเกิดอัคคีภัย ภัยธรรมชาติ หรือภัยอันเกิดจากเหตุอื่น ทั้งนี้ เฉพาะที่มิใช่ความผิดของผู้มีเงินได้จนไม่อาจใช้อาคารหรือห้องชุดนั้นอยู่ อาศัยได้

(5) กรณีผู้มีเงินได้มีอาคารหรือห้องชุดในอาคารชุดตาม (3) เป็นที่อยู่อาศัยในปีที่ขอหักลดหย่อนเกินกว่า 1 แห่ง ให้หักลดหย่อนได้ทุกแห่ง สำหรับอาคารหรือห้องชุดในอาคารชุดตาม (3)

(6) ให้หักลดหย่อนได้ตลอดปีภาษี ไม่ว่ากรณีที่จะหักลดหย่อนได้นั้นจะมีอยู่ตลอดปีภาษีหรือไม่

(7) กรณีผู้มีเงินได้หลายคนร่วมกันกู้ยืม ให้หักลดหย่อนได้ทุกคนโดยเฉลี่ยค่าลดหย่อนตามส่วนจำนวนผู้มีเงินได้ แต่รวมกันต้องไม่เกินจำนวนที่จ่ายจริง และไม่เกิน 100,000 บาท

(8) กรณีสามีภริยาร่วมกันกู้ยืมโดยสามีหรือภริยามีเงินได้ฝ่ายเดียวให้หักลด หย่อนสำหรับผู้มีเงินได้เต็มจำนวนตามที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 100,000 บาท

(9) กรณีผู้มีเงินได้ซึ่งมีสิทธิหักลดหย่อนอยู่ก่อนแล้ว ต่อมาได้สมรสกัน ให้ยังคงหักลดหย่อนได้ดังนี้
(ก) ถ้าความเป็นสามีภริยา มิได้มีอยู่ตลอดปีภาษีที่ขอหักลดหย่อน ให้ต่างฝ่ายต่างหักลดหย่อนได้ตามจำนวนที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 100,000 บาท
(ข) ถ้าความเป็นสามีภริยาได้ มีอยู่ตลอดปีภาษีที่ขอหักลดหย่อน และสามีภริยายื่นรายการโดยรวมคำนวณภาษี ให้หักลดหย่อนรวมกันตามจำนวนที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 100,000 บาท
(ค) ถ้าความเป็นสามีภริยาได้ มีอยู่ตลอดปีภาษีที่ ขอหักลดหย่อน และภริยายื่นรายการโดยแยกคำนวณภาษี ให้สามีและภริยาต่างฝ่ายต่างหักลดหย่อนได้กึ่งหนึ่ของจำนวนที่จ่ายจริง แต่รวมกันไม่เกิน 100,000 บาท

(10) กรณีมีการแปลงหนี้ใหม่ด้วยการเปลี่ยนตัวเจ้าหนี้เงินกู้ยืมระหว่างผู้ให้กู้ ตาม (1) ให้ยังคงหักลดหย่อนได้ตามจำนวนที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 100,000 บาท
ดอกเบี้ยเงินกู้ยืมดังกล่าวข้างต้น ให้หมายความรวมถึง ดอกเบี้ยเงินกู้ยืมเพื่อชำระหนี้เงินกู้ยืมเพื่อซื้อ เช่าซื้อ หรือสร้างอาคารอยู่อาศัย หรือห้องชุดด้วย ทั้งนี้ เฉพาะดอกเบี้ยสำหรับเงินกู้ยืมเพื่อชำระหนี้ส่วนที่ไม่เกินกว่าหนี้ที่ค้าง ชำระนั้น
ผู้มีเงินได้ต้องมีหนังสือรับรองตามแบบที่อธิบดีกำหนด จากผู้ให้ให้กู้ยืม เพื่อเป็นหลักฐานว่าได้มีการจ่ายดอกเบี้ยสำหรับการกู้ยืมเงินเพื่อดำเนินการ ดังกล่าวนั้นด้วย


1.7 เงินสมทบ ที่ผู้ประกันตนจ่ายเข้ากองทุนประกันสังคม ตามกฎหมายว่าด้วยการ ประกันสังคมตามจำนวนที่จ่ายจริง ในกรณีสามีหรือภริยาของผู้มีเงินได้ ซึ่งเป็นผู้ประกันตนจ่ายเงินสมทบเข้ากองทุนประกันสังคม ข้างต้นและความเป็นสามีภริยาได้มีอยู่ตลอดปีภาษี ให้หักลดหย่อนได้ด้วย สำหรับเงินสมทบของสามีหรือภริยาที่จ่ายเข้ากองทุนประกันสังคมดังกล่าวตาม เกณฑ์ข้างต้น

1.8 ค่าลดหย่อนบิดามารดา กรณีผู้มีเงินได้และคู่สมรสที่มีเงินได้รวมคำนวณภาษี หรือคู่สมรสไม่มีเงินได้ อุปการะเลี้ยงดูบิดามารดาที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไป ซึ่ง มีรายได้ไม่เพียงพอต่อการเลี้ยงชีพ ผู้มีเงินได้และ คู่สมรสมีสิทธิหักลดหย่อนค่าอุปการะเลี้ยงดูบิดามารดาได้คนละ 30,000 บาท ทั้งนี้ บิดาหรือมารดาของผู้มีเงินได้หรือคู่สมรส จะต้องออกหนังสือรับรองว่าบุตรคนใดคนหนึ่งเป็นผู้อุปการะเลี้ยงดูเพียงคนเดียว

1.9 เงินสนับสนุนเพื่อการศึกษา ได้แก่ เงินที่จ่ายเป็นค่าใช้จ่ายเพื่อสนับสนุนการศึกษา มี สิทธิหักลดหย่อนได้ 2 เท่าของจำนวนเงินที่ได้จ่ายไปจริง แต่ไม่เกินร้อยละ 10 ของเงินคงเหลือหลังจากหักค่าใช้จ่ายและค่าลดหย่อนอื่น ๆ แล้ว

1.10 เงินบริจาค เมื่อหักลดหย่อนต่าง ๆ หมดแล้ว เหลือเท่าใดให้หักลดหย่อนได้อีกสำหรับ เงินบริจาค เงิน บริจาคที่หักค่าลดหย่อนได้นั้นผู้มีเงินได้ต้องบริจาคเป็นเงินให้แก่การกุศล สาธารณะ โดยหักได้ เท่าจำนวนเงินที่จ่ายจริงแต่ต้องไม่เกินร้อยละ 10 ของเงินได้หลังจากหักค่าใช้จ่ายและหักค่าลดหย่อนต่าง ๆ ข้างต้นแล้ว

การบริจาค ได้แก่
(1) การบริจาคเงินให้แก่วัดวาอาราม สภากาชาดไทย สถานพยาบาล และสถานศึกษาของทางราชการ หรือองค์การของรัฐบาล สถานศึกษาเอกชน สถานสาธารณกุศล และกองทุนสวัสดิการภายในส่วนราชการ (ต้องเป็นองค์การสถานสาธารณกุศลตามที่รัฐมนตรีประกาศกำหนดในราชกิจจานุเบกษา)
(2) การบริจาคเงินให้แก่คณะกรรมการอำนวยการจัดสร้างสวนสาธารณะเพื่อเฉลิมพระ เกียรติสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี เนื่องในวโรกาสพระชนมายุครบ 80 พรรษา
(3) การบริจาคเงินให้แก่สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรีในโครงการปลูกป่าเทิดพระเกียรติเฉลิมฉลองพระชนมายุครบ 90 พรรษา
(4) การบริจาคเงินให้แก่กองทัพอากาศในโครงการก่อสร้างพระมหาธาตุเจดีย์นภพลภูมิสิริฯ
(5) การบริจาคเงินให้แก่กองทุนเพื่อโครงการอาหารกลางวันในโรงเรียนประถมศึกษา
(6) การบริจาคเงินให้แก่กองทุนปลูกป่าถาวรเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในวโรกาสทรงครองราชย์ปีที่ 50
(7) การบริจาคเงินให้แก่โครงการอาคารเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในวโรกาสทรงครองสิริราชย์สมบัติครบ 50 ปี ณ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี จังหวัดนครราชสีมา
(8) การบริจาคเงินให้แก่โครงการสืบสานพระราชปณิธาน “กาญจนาภิเษก”
(9) การบริจาคเงินให้แก่โครงการร้อยใจช่วยเยาวชนไทยในภาวะวิกฤต
(10) การบริจาคเงินให้แก่โครงการโพธิ์ทองของชาวไทย
(11) การบริจาคเงินให้แก่โครงการปลูกป่าชายเลนถาวรเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนาง เจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถในวโรกาสทรงพระชนม์มายุ 72 พรรษา
(12) การบริจาคเงินให้แก่ส่วนราชการที่จัดขึ้นตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี
(13) การบริจาคเงินให้แก่กองทุนฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการ กองทุนส่งเสริมการจัดสวัสดิการสังคม กองทุนคุ้มครองเด็ก และกองทุนพัฒนากีฬาแห่งชาติ
(14) การบริจารเงินเพื่อการกีฬา ให้แก่การกีฬาแห่งประเทศไทยเพื่อส่งเสริมการกีฬา คณะกรรมการกีฬาจังหวัดที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายว่าด้วยการกีฬาแห่งประเทศไทย เพื่อส่งเสริมกีฬาในจังหวัด สำนักงานพัฒนาการกีฬาและนันทนาการเพื่อการจัดการแข่งขันกีฬานักเรียน หรือสมาคมกีฬาสมัครเล่น
(15) การบริจาคเงินให้แก่ส่วนราชการ เพื่อช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย วาตภัย อัคคีภัย หรือภัยธรรมาชาติอื่น
(16) การบริจาคเงินให้แก่ส่วนราชการหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล หรือนิติบุคคลอื่นเพื่อช่วยเหลือผู้ได้รับความเสียหายจากธรณีพิบัติภัย เมื่อวันที่ 26 ธันวาคม พ.ศ.2547 ในพื้นที่จังหวัดกระบี่ ตรัง พังงา ภูเก็ต ระนอง และสตูล

2. การหักลดหย่อนในกรณีสามีภริยาต่างฝ่ายต่างมีเงินได้ ถ้า ความเป็นสามีภริยาได้มีอยู่ตลอดปีภาษี การหักลดหย่อนผู้มีเงินได้และสามีหรือภริยาของผู้มีเงินได้ให้หักลดหย่อนรวม กันได้ 60,000 บาท แต่ถ้าความเป็นสามีหรือภริยามิได้มีอยู่ตลอดปีภาษี หรือภริยาแยกคำนวณเงินได้พึงประเมินประเภทที่ 1 ต่างหากจากสามี ให้ต่างฝ่ายต่างหักลดหย่อนได้ 30,000 บาท และสำหรับการหักลดหย่อนบุตรและค่าลดหย่อนดอกเบี้ยเงินกู้อื่น ๆ ให้ต่างฝ่ายต่างหักได้กึ่งหนึ่งตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้ในแต่ละกรณีเฉพาะในปี ภาษีนั้น

3. การหักลดหย่อนในกรณีผู้มีเงินได้มิได้เป็นผู้อยู่ในประเทศไทย การหักลดหย่อนผู้มีเงินได้และสามีหรือภริยาของผู้มีเงินได้ บุตร และการศึกษาของบุตรของผู้มีเงินได้

4. การหักลดหย่อนในกรณีผู้มีเงินได้ถึงแก่ความตายในระหว่างปีภาษี ให้หักลดหย่อนได้เสมือนผู้ตายมีชีวิตอยู่ตลอดปีภาษีที่ผู้นั้นถึงแก่ความตาย

5. การหักลดหย่อนในกรณีผู้มีเงินได้เป็นกองมรดกที่ยังไม่ได้แบ่ง ให้หักลดหย่อนสำหรับผู้มีเงินได้30,000 บาท

6. การหักลดหย่อนในกรณีผู้มีเงินได้เป็นห้างหุ้นส่วนสามัญ หรือคณะบุคคลที่มิใช่นิติบุคคล ให้ หัก ลดหย่อนสำหรับผู้มีเงินได้แก่ผู้เป็นหุ้นส่วนหรือบุคคลในคณะบุคคลแต่ละคนที่ อยู่ในประเทศไทยคนละ 30,000 บาท แต่รวมกันต้องไม่เกิน 60,000 บาท

ที่มา.. กรมสรรพากร

โปรแกรมเช็คแผ่นประกันสังคม

ผมเองทำงานบริษัทและมีหน้าที่จัดทำบัญชีเงินเดือนให้พนักงาน ทุกสิ้นเดือนต้องจัดพิมพ์ รายงานนำส่งภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาหัก ณ ที่จ่าย (ภงด.1) รายงานการนำส่งเงินสมทบกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ รายงานนำส่งเงินสมทบประกันสังคม สปส.1-10 (ใบหน้า) และ สปส.1-10 (ใบต่อ)

รายงานที่กล่าวมาพิมพ์มาจากโปรแกรมเงินเดือน ซึ่งนอกจากจะสามารถพิมพ์เป็นรายงานแล้ว ยังสามารถโอนข้อมูลลงแผ่นได้ด้วย แรกๆ ก็พิมพ์แล้วเอาไปนำส่ง แต่หลังๆ เริ่มขี้เกียจเพราะพนักงานที่บริษัทมีมากขึ้น อีกอย่างเปลืองกระดาษและเสียเวลาด้วย ก็เลยสอบถามไปทางประกันสังคม ซึ่งเค้าก็ยินดีที่จะรับข้อมูลเป็นแผ่น disk (เพราะเค้าเองก็ไม่ต้องไปคีย์ข้อมูล และทำให้ข้อมูลการนำส่งเงินพนักงาน update ที่ประกันสังคมได้เร็ว มีส่วนช่วยให้การทำเรื่องเบิกเงินชดเชยประกันสังคมในภายหลัง รวดเร็วตามไปด้วย เพราะไม่ต้องรอประกันสังคมตรวจสอบ)

มีบ้างบางครั้งที่เอาแผ่นไปส่งแล้ว เจ้าหน้าที่แจ้งมาว่า แผ่นเสียหรือข้อมูลไม่ตรงกับในรายงานที่พิมพ์ หรือมีพนักงานบางคนไม่ได้กรอกบัตรประชาชน หรือคีย์เลขที่บัตรประชาชนไม่ถูกต้อง ทางเจ้าหน้าที่ก็เลยให้โปรแกรมสำหรับเช็คแผ่นมาให้

ผมเองก็ใช้มาจนถึงปัจจุบัน โดยปกติโปรแกรมเงินเดือนจะไม่สามารถเช็คว่าบัตรประชาชนคีย์ถูกหรือไม่ แต่ถ้าคีย์ตัวเลขไม่ครบ 13 ตัวมันจะฟ้อง eror แต่ถ้าคุณเอาแผ่น Disk ที่ได้มาตรวจด้วยโปรแกรม SSO Media 1.1 มันจะฟ้องด้วยว่า เลขประจำตัวบัตรประชาชนไม่ถูกต้อง ถึงจะคีย์ครบ 13 ตัวก็ตาม นอกจากนี้ ถ้าคำนวณการส่งเงินสมทบไม่ถูกต้อง โปรแกรมก็จะรายงานข้อผิดพลาดด้วยเช่นกัน

ตอนแรกผมเข้าใจว่าโปรแกรม SSO Media 2.0 ที่เปิดให้ download ผ่านเว็บของประกันสังคม สามารถเอามาใช้ตรวจแผ่นได้ ผมลองเอาลงแล้ว อ่านในคู่มือก็ไม่พบว่า สามารถเอามาตรวจแผ่นได้ และก็โปรแกรม SSO Media 1.1 ก็ไม่เปิดให้ download แล้ว (แปลกจัง)

ตัวอย่างหน้าจอ SSO Media 1.1

เผื่อใครอยากได้นะครับ ผมเอามาลงไว้ คลิ๊กเพื่อดาวน์โหลด SSO Media 1.1

โปรแกรมคำนวณภาษีเงินไดุ้บุคคลธรรมดา ภงด.91 ของสรรพากร

ในช่วงต้นเดือนที่ต้องมีการยื่นแบบเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา (ภงด.91) เล่าถึงประสบการณ์ในการทำงานให้ฟัง เนื่องจากผมเองทำงานบริษัทในเครือ (มีบริษัทแม่) นโยบายส่วนใหญ่ก็มักจะเอามาจากบริษัทแม่ ผมเองทำงานอยู่แผนกบัญชี นอกจากเรื่องของการจัดทำบัญชี ปิดงบรายเดือนแล้ว แผนกบัญชีที่นี่ต้องทำบัญชีเงินเดือนให้พนักงานด้วย โดยมีพนักงานในบริษัทประมาณ 500 กว่าคน คิดดูนะครับว่า ถ้าต้องยื่นแบบ ภงด.91 ให้แล้วนี่ มันจะต้องใช้เวลาค่อนข้างมาก และในช่วงสิ้นปีที่แผนกบัญชีเองก็มีงานทำค่อนข้างมาก ต้องปิดงบประจำปี เช็ค Stock สิ้นปี มีการตรวจงบประจำปีของผู้สอบบัญชีภายนอก (External Auditor)
ผมเองก็เลยปฏิเสธที่จะไม่ยื่น ภงด.91 ให้พนักงาน โดยถือว่าแบบ ภงด.91 เป็นหน้าที่ของผู้มีเงินได้ที่จะต้องเป็นผู้จัดทำและยื่นแบบเสียภาษีเอง แต่ก็ยังมีหน้าที่ต้องพิมพ์รายงานแสดงผลการคำนวณภาษีเงินได้ประจำปีของพนักงานออกมา โดยในครั้งแรกที่ทำแบบนี้ ทางแผนกบุคคลรับที่จะเป็นคนยื่นแบบ ภงด.91 ให้พนักงานรายวันเอง ส่วนพนักงานรายเดือนต้องต้องไปยื่นแบบเสียภาษีกันเอง ทั้งนี้ผมยกเว้นในส่วนของระดับบริหาร (ผู้จัดการ) โดยผมยังคงเป็นผู้จัดทำและยื่นแบบให้
ผลจากการที่ผมทำแบบนี้ ที่จริง..งานน่าจะลดลงนะครับแต่ที่ไหนได้งานกลับมากขึ้น ผมเองต้องรับโทรศัพท์และมีพนักงานมาขอพบเพื่อสอบถามการกรอกแบบบ่อยมากโดยเฉพาะช่วงใกล้ปิดรับแบบ ทำเอาไม่เป็นอันทำงานกันเลย อีกทั้งพนักรายเดือนยังบ่นให้ได้ยินอีกว่า ทำไมยื่นแบบให้ฝ่ายบริหาร (ผู้จัดการ) ไม่ยุติธรรม
สุดท้ายในปีต่อมาผมก็ต้องยกเลิก แต่ตกลงกับทางแผนกบุคคลว่า พนักงานรายวันทางบุคคลจะเป็นผู้กรอกแบบ ภงด.91 ให้ ส่วนพนักงานรายเดือนและผู้จัดการ ทางบัญชีจะเป็นคนจัดการให้เอง
ปกติในเว็บของสรรพากรทุกปี ก็จะเปิดให้ยื่นแบบทางอินเตอร์เน็ต นอกจากนี้ยังมีโปรแกรมคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาประจำปี ให้ download ไปใช้และสามารถที่จะ save เพื่อนำไปยื่นต่อในอินเตอร์เน็ตได้อีก ซึ่งก็ประหยัดเวลาในตอนยื่นแบบทางอินเตอร์เน็ต เนื่องจากเป็นการทำงานแบบ offline
ผมเองมีโปรแกรมคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาที่ดาวน์โหลดเอาไว้ตั้งแต่ปี 2547-2550 ส่วนของปี 2551 ยังไม่เห็นสรรพากรทำออกมา ถ้ามีก็จะเอามาลงไว้ให้
  • pnd91_47vbsetup โปรแกรมคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ปี 2547
  • pnd91_48vbsetup โปรแกรมคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ปี 2548
  • pnd91_49vbsetup โปรแกรมคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ปี 2549
  • pnd91_50vbsetup โปรแกรมคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ปี 2550
  • pnd91_cal08setup โปรแกรมคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ปี 2551
  • pnd91_cal52 โปรแกรมคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ภงด.91 ปี 2552
  • pnd90_cal52 โปรแกรมคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ภงด.90 ปี 2552
  • pnd91_cal53 โปรแกรมคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ภงด.91 ปี 2553 (New)
  • pnd90_cal53 โปรแกรมคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ภงด.90 ปี 2553 (New)


สำหรับใครที่ยังไม่ได้ยื่นภาษีในปีใด ก็สามารถนำไปใช้เพื่อคำนวณภาษีย้อนหลังได้นะครับ เพราะค่าลดหย่อนในแต่ละปี ไม่เท่ากันจะได้ไม่ต้องไปเช็คอีกว่าปีไหนได้ค่าลดหย่อนเท่าไหร่
ซึ่งผมเองก็เอามาช่วยงานที่ผมรับทำให้ลูกค้า งานรับทำบัญชี รับทำเงินเดือน สำหรับลูกค้าบางรายที่ต้องการให้ช่วยคำนวณภาษีในปีก่อนๆ

สิทธิหน้าที่ของนายจ้างลูกจ้าง ตามกฎหมายแรงงาน

เวลาทำงาน

  1. ไม่เกิน 8 ชั่วโมงต่อวัน และไม่เกิน 48 ชั่วโมงต่อสัปดาห์
  2. งานอันตรายตามที่กำหนดในกฏกระทรวงไม่เกิน 7 ชั่วโมงต่อวัน และไม่เกิน 42 ชั่วโมงต่อสัปดาห์

เวลาพัก

  1. ในวันที่มีการทำงานให้นายจ้างจัดให้ลูกจ้างมีเวลาพักติดต่อกันไม่น้อยกว่าวันละ 1 ชั่วโมง ภายใน 5 ชั่วโมงแรกของการทำงาน
  2. นาย จ้างและลูกจ้างจะตกลงกันล่วงหน้าให้มีเวลาพักน้อยกว่าครั้งละ 1 ชั่วโมง ก็ได้แต่ต้องไม่น้อยกว่าครั้งละ 20 นาทีและเมื่อรวมกันแล้วต้องไม่น้อยกว่าวันละ 1 ชั่วโมง
  3. กรณี งานในหน้าที่มีลักษณะต้องทำติดต่อกันไป หรือเป็นงานฉุกเฉินโดยจะหยุดเสียมิได้ นายจ้างจะไม่จัดเวลาพักให้ลูกจ้างก็ได้ แต่ต้องได้รับความยินยอมจากลูกจ้าง

วันหยุดประจำสัปดาห์

  1. ต้องไม่น้อยกว่าสัปดาห์ละ 1 วัน โดยมีระยะห่างกันไม่เกิน 6 วัน
  2. ลูกจ้างมีสิทธิ์ได้รับค่าจ้างในวันหยุดประจำสัปดาห์ (ยกเว้นลูกจ้างรายวัน รายชั่วโมง หรือตามผลงานโดยคำนวณเป็นหน่วย)
  3. นายจ้างและลูกจ้างจะตกลงกันล่วงหน้า กำหนดให้มีวันหยุดประจำสัปดาห์วันใดก็ได้
  4. งาน โรงแรม งานขนส่ง งานในป่า งานในที่ทุรกันดาร (งานประมงงานดับเพลิง) งานอื่นตามที่กฎกระทรวงฯ กำหนด นายจ้างและลูกจ้างจะตกลงกันล่วงหน้า สะสมและเลื่อนวันหยุดประจำสัปดาห์ไปเมื่อไดก็ได้แต่ต้องอยู่ในระยะเวลา ไม่เกิน 4 สัปดาห์ติดต่อกัน
  5. กรณีวันหยุดประจำสัปดาห์ ไม่แน่นอน ให้นายจ้างประกาศวันหยุดให้ลูกจ้างทราบล่วงหน้าไม่น้อยกว่า 3 วันและแจ้งเป็นหนังสือให้พนักงานตรวจแรงงานทราบภายใน 7 วัน นับแต่วันที่ประกาศกำหนด

วันหยุดตามประเพณี

  1. ต้อง ไม่น้อยกว่าปีละ 13 วัน โดยรวมวันแรงงานแห่งชาติด้วย ถ้าวันหยุด ตามประเพณีตรงกับวันหยุดประจำสัปดาห์ ให้หยุดชดเชยในวันทำงานถัดไป
  2. ลูกจ้างมีสิทธิ์ได้รับค่าจ้างในวันหยุดตามประเพณี

วันหยุดพักผ่อนประจำปี

  1. ลูกจ้างซึ่งทำงานติดต่อกันมาครบ 1 ปี มีสิทธิหยุดพักผ่อนประจำปีไม่น้อยกว่าปีละ 6 วันทำงาน
  2. ลูกจ้างมีสิทธิ์ได้รับค่าจ้างในวันหยุดพักผ่อนประจำปี
  3. ถ้าลูกจ้างที่ทำงานยังไม่ครบ 1 ปี จะให้หยุดตามส่วนก็ได้
  4. ให้นายจ้างเป็นผู้กำหนดวันหยุดพักผ่อนประจำปีให้ลูกจ้างทราบล่วงหน้าหรือกำหนดตามที่ตกลงกัน
  5. นายจ้างและลูกจ้างจะตกลงกันล่วงหน้าสะสมและเลื่อนวันหยุดพักผ่อนประจำปีไปรวมหยุดในปีอื่นก็ได้

การลาคลอด

ลูกจ้าง ซึ่งเป็นหญิงมีครรภ์มีสิทธิลาคลอดก่อนและหลังคลอดครรภ์หนึ่งไม่เกิน 90 วัน โดยให้นับรวมวันหยุดที่มีระหว่างวันลาด้วย และให้นายจ้างจ่ายค่าจ้างแก่ลูกจ้าง ซึ่งลาคลอดเท่ากับค่าจ้างในวันทำงานตลอดระยะเวลาที่ลา แต่ไม่เกิน 45 วัน

การลาเพื่อทำหมัน

ลูกจ้าง มีสิทธิ์ลาเพื่อทำหมันได้และมีสิทธิ์ลาเนื่องจากการทำหมันตามระยะ เวลาที่แพทย์แผนปัจจุบันชั้นหนึ่งกำหนด และออกใบรับรองให้โดยลูกจ้างมีสิทธิ์ได้รับค่าจ้างในวันลานั้นด้วย

การลากิจ

ลูกจ้างมีสิทธิ์ลาเพื่อกิจธุระอันจำเป็นได้ตามข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงาน

การลาเพื่อรับราชการทหาร

ลูกจ้าง มีสิทธิ์ลาเพื่อรับราชการทหารในการเรียกพลเพื่อตรวจสอบ เพื่อฝึก วิชาทหาร หรือเพื่อทดสอบความพรั่งพร้อม โดยลาได้เท่ากับจำนวนวันที่ทางการทหารเรียก และได้รับค่าจ้างตลอดเวลาที่ลาแต่ไม่เกิน 60 วันต่อปี

การลาเพื่อฝึกอบรม

ลูกจ้าง มีสิทธิ์ลาเพื่อการฝึกอบรมหรือพัฒนาความรู้ความสามารถตามหลักเกณฑ์และวิธี การที่กำหนดในกฎกระทรวงโดยไม่ได้รับค่าจ้างในวันลานั้น

ค่าจ้าง

  1. เป็น เงินที่นายจ้างและลูกจ้างตกลงกันจ่ายเป็นค่าตอบแทนในการทำงานตาม สัญญาจ้างสำหรับระยะเวลาการทำงานปกติเป็นรายชั่วโมง รายวัน รายสัปดาห์ หรือระยะเวลาอื่น หรือจ่ายให้โดยคำนวณตามผลงานที่ลูกจ้างทำได้ในเวลาทำงานปกติของวันทำงาน และรวมถึงเงินที่นายจ้างจ่ายให้แก่ลูกจ้างในวันหยุด และวันลาที่ลูกจ้างมิได้ทำงานแต่มีสิทธิ์ได้รับตามกฎหมายคุ้มครองแรงงาน
  2. ลูกจ้างมีสิทธิ์ได้รับค่าจ้างไม่น้อยกว่าอัตราค่าจ้างขั้นต่ำ
  3. ถ้า ไม่มีการกำหนดอัตราค่าจ้างขั้นต่ำในท้องที่ใดให้ถือว่า อัตราค่าจ้างขั้นต่ำ พื้นฐานเป็นอัตราค่าจ้างขั้นต่ำของท้องที่นั้น (อัตรค่าจ้างขั้นต่ำพื้นฐาน หมายถึง อัตราค่าจ้างที่คณะกรรมการค่าจ้างกำหนดเพื่อใช้เป็นพื้นฐานในการกำหนดอัตรา ค่าจ้างขั้นต่ำ)

การทำงานล่วงเวลา และการทำงานในวันหยุด

  1. ใน กรณีที่งานมีลักษณะต้องทำติดต่อกันไป ถ้าหยุดจะ เสียหายแก่งานหรือเป็นงานฉุกเฉิน นายจ้างอาจให้ลูกจ้าง ทำงานล่วงเวลา หรือทำงานในวันหยุดเท่าที่จำเป็นก็ได้
  2. กิจการโรงแรม สถานมหรสพ งานขนส่ง ร้านขายอาหาร ร้านขายเครื่องดื่ม สโมสร สมาคม สถานพยาบาล และกิจการอื่นตามที่กระทรวงจะได้กำหนดนายจ้างจะให้ลูกจ้างทำงานใน วันหยุดเท่าที่จำเป็นก็ได้ โดยได้รับความยินยอมจากลูกจ้างเป็นคราวๆ ไป
  3. ใน กรณีที่มีการทำงานล่วงเวลาต่อจากเวลาทำงานปกติไม่น้อยกว่า สองชั่วโมง นายจ้างต้องจัดให้ลูกจ้างมีเวลาพัก ไม่น้อยกว่ายี่สิบนาที ก่อนที่ลูกจ้างเริ่ม ทำงานล่วงเวลา (ยกเว้นงานที่มีลักษณะหรือสภาพของงานต้องทำติดต่อกันไป โดยได้รับความยินยอมจากลูกจ้างหรือเป็นงานฉุกเฉิน)

ค่าล่วงเวลา ค่าทำงานในวันหยุดและค่าล่วงเวลาในวันหยุด

  1. ถ้า ทำงานเกินเวลาทำงานปกติของวันทำงาน นายจ้างต้องจ่ายค่าล่วงเวลา ไม่น้อยกว่าหนึ่งเท่าครึ่งของอัตราค่าจ้างต่อชั่วโมงในวันทำงานตามจำนวน ชั่วโมงที่ทำหรือไม่น้อยกว่าหนึ่งเท่าครึ่งของอัตราค่าจ้างต่อหน่วย ในวันทำงานตามจำนวนผลงานที่ทำได้สำหรับลูกจ้างที่ได้รับค่าจ้างตามผลงาน
  2. ถ้า ทำงานในวันหยุดเกินเวลาทำงานปกติของวันทำงานนายจ้างต้องจ่าย ค่าล่วงเวลาในวันหยุดให้แก่ลูกจ้างในอัตราสามเท่าของอัตราค่าจ้างต่อชั่วโมง ในวันทำงานตามจำนวนชั่วโมงที่ทำหรือตามจำนวนผลงานที่ทำได้สำหรับ ลูกจ้างที่ได้รับค่าจ้างตามผลงานโดยคำนวณเป็นหน่วย
  3. ถ้า ทำงานในวันหยุดในเวลาทำงานปกติ นายจ้างต้องจ่ายค่าทำงานในวันหยุด ให้แก่ลูกจ้างที่มีสิทธิได้รับค่าจ้างในวันหยุดเพิ่มขึ้นอีก 1 เท่าของค่าจ้าง ในวันทำงานตามชั่วโมงที่ทำงานในวันหยุด หรือตามจำนวนผลงานที่ทำได้ สำหรับลูกจ้างที่ได้รับค่าจ้างตามผลงานโดยคำนวณเป็นหน่วย สำหรับลูกจ้างที่ไม่มีสิทธิได้รับค่าจ้างในวันหยุดต้องจ่ายไม่น้อยกว่า 2 เท่า ของค่าจ้างในวันทำงานตามชั่วโมงที่ทำงานในวันหยุดหรือตามจำนวนผลงาน ที่ทำได้สำหรับลูกจ้างที่ได้รับค่าจ้างตามผลงานโดยคำนวณเป็นหน่วย

ค่าชดเชย

  1. ลูกจ้างมีสิทธิได้รับค่าชดเชย หากนายจ้างเลิกจ้างโดยลูกจ้างไม่มีความผิด ดังนี้
    1. ลูกจ้างซึ่งทำงานติดต่อกันครบ 120 วัน แต่ไม่ครบ 1 ปี มีสิทธิได้รับค่าชดเชยเท่ากับค่าจ้างอัตราสุดท้าย 30 วัน
    2. ลูกจ้างซึ่งทำงานติดต่อกันครบ 1 ปี แต่ไม่ครบ 3 ปี มีสิทธิได้รับค่าชดเชยเท่ากับค่าจ้างอัตราสุดท้าย 90 วัน
    3. ลูกจ้างซึ่งทำงานติดต่อกันครบ 3 ปีแต่ไม่ครบ 6 ปี มีสิทธิได้รับค่าชดเชยเท่ากับค่าจ้างอัตราสุดท้าย 180 วัน
    4. ลูกจ้างซึ่งทำงานติดต่อกันครบ 6 ปี แต่ไม่ครบ 10 ปี มีสิทธิ์ได้รับค่าชดเชยเท่ากับอัตราค่าจ้างสุดท้าย 240 วัน
    5. ลูกจ้างซึ่งทำงานติดต่อกันครบ 10 ปีขึ้นไป มีสิทธิ์ได้รับค่าชดเชยเท่ากับค่าจ้างอัตราสุดท้าย 300 วัน
  2. ใน กรณีที่นายจ้างจะเลิกจ้างลูกจ้างเพราะเหตุปรับปรุงหน่วยงาน กระบวนการผลิตการจำหน่าย หรือการบริการอันเนื่องมาจากการนำเครื่องจักรมาใช้หรือเปลี่ยนแปลงเครื่อง จักรหรือเทคโนโลยี ซึ่งเป็นเหตุให้ต้องลดจำนวนลูกจ้างลง นายจ้างต้องปฏิบัติดังนี้
    1. แจ้งวันที่จะเลิกจ้าง เหตุผลของการเลิกจ้าง และรายชื่อลูกจ้างที่จะถูกเลิกจ้าง ให้ลูกจ้างและพนักงานตรวจแรงงาน ทราบล่วงหน้าไม่ น้อยกว่าหกสิบวันก่อนวันที่จะเลิกจ้าง
    2. ถ้าไม่แจ้ง แก่ลูกจ้างที่จะเลิกจ้างทราบล่วงหน้า หรือแจ้งล่วงหน้าน้อยกว่าระยะเวลาหกสิบวัน นายจ้างต้องจ่ายค่าชดเชยพิเศษแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าแก่ลูกจ้างเท่ากับค่า จ้างอัตราสุดท้ายหกสิบวัน หรือเท่ากับค่าจ้างของการทำงานหกสิบวันสุดท้ายสำหรับลูกจ้างซึ่งได้รับค่า จ้างตามผลงานโดยคำนวณเป็นหน่วย

    ค่าชดเชยแทนการบอกกล่าวล่วงหน้านี้ ให้ถือว่านายจ้างได้จ่ายค่าสินจ้างแทน การบอกกล่าวล่วงหน้าตามกฎหมายด้วย นายจ้างต้องจ่ายค่าชดเชยพิเศษเพิ่มขึ้นจากค่าชดเชยปกติดังต่อไปนี้

    1. ลูกจ้าง ทำงานติดต่อกันครบหกปีขึ้นไป นายจ้างจะต้องจ่ายค่าชดเชย พิเศษเพิ่มขึ้นจากค่าชดเชยปกติซึ่งลูกจ้างนั้นมีสิทธิได้รับอยู่แล้ว ไม่น้อยกว่าค่าจ้างอัตราสุดท้ายสิบห้าวันต่อการทำงานครบหนึ่งปี หรือไม่น้อยกว่าค่าจ้างของการทำงานสิบห้าวันสุดท้ายต่อการทำงาน ครบหนึ่งปีสำหรับลูกจ้างซึ่งได้รับค่าจ้างตามผลงานโดยคำนวณเป็นหน่วย
    2. ค่าชดเชยพิเศษนี้รวมแล้วต้องไม่เกินค่าจ้างอัตราสุดท้ายสามร้อย หกสิบวัน หรือไม่เกินค่าจ้างของการทำงานสามร้อยหกสิบวันสุดท้าย สำหรับลูกจ้างซึ่งได้รับค่าจ้างตามผลงานโดยคำนวณเป็นหน่วย แต่รวมแล้วต้องไม่เกินค่าจ้างอัตราสุดท้ายสามร้อยหกสิบวัน
    3. เพื่อประโยชน์ในการคำนวณค่าชดเชยพิเศษ เศษของระยะเวลาทำงานที่มากกว่าหนึ่งร้อยแปดสิบวัน ให้นับเป็นการทำงานครบหนึ่งปี
  3. ในกรณีที่นายจ้างย้ายสถานประกอบกิจการไปตั้ง ณ สถานที่อื่นอันมีผลกระทบ สำคัญต่อการดำรงชีวิตตามปกติของลูกจ้างหรือครอบครัว
    1. นาย จ้างต้องแจ้งล่วงหน้าให้แก่ลูกจ้างทราบล่วงหน้าไม่น้อยกว่าสามสิบวันก่อน ย้าย ถ้าลูกจ้างไม่ประสงค์จะไปทำงานด้วย ลูกจ้างมีสิทธิ์บอกเลิกสัญญาจ้างได้โดยได้รับค่าชดเชยพิเศษไม่น้อยกว่าร้อย ละห้าสิบของอัตราค่าชดเชยปกติที่ลูกจ้างพึงมีสิทธิ์ได้รับ
    2. ถ้านายจ้างไม่แจ้งให้ลูกจ้างทราบการย้ายสถานประกอบกิจการล่วงหน้า นายจ้างต้องจ่ายค่าชดเชยพิเศษ แทนการบอกกล่าวล่วงหน้าเท่ากับค่าจ้างอัตราสุดท้ายสามสิบวัน

    ข้อยกเว้นที่นายจ้างไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย : ลูกจ้างไม่มีสิทธิได้รับค่าชดเชยในกรณีใดกรณีหนึ่ง ดังนี้

    1. ลูกจ้างลาออกเอง
    2. ทุจริตต่อหน้าที่หรือกระทำความผิดอาญาโดยเจตนาแก่นายจ้าง
    3. จงใจทำให้นายจ้างได้รับความเสียหาย
    4. ประมาทเลินเล่อเป็นเหตุให้นายจ้างได้รับความเสียหายอย่างร้ายแรง
    5. ฝ่าฝืน ข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงาน หรือระเบียบ หรือคำสั่งของนายจ้างอันชอบด้วยกฎหมายและเป็นธรรม และนายจ้างได้ตักเตือนเป็นหนังสือแล้ว เว้นแต่กรณีที่ร้ายแรง นายจ้างไม่จำเป็นต้องตักเตือน ซึ่งหนังสือเตือนนั้นให้มีผลบังคับได้ไม่เกิน 1 ปี นับแต่วันที่ลูกจ้างได้กระทำผิด
    6. ละทิ้งหน้าที่เป็นเวลา 3 วันทำงานติดต่อกัน ไม่ว่าจะมีวันหยุดคั่นหรือไม่ก็ตาม โดยไม่มีเหตุอันสมควร
    7. ได้รับโทษจำคุกตามคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุก
    8. กรณีการจ้างที่มีกำหนดระยะเวลาการจ้างไว้แน่นอน และนายจ้างเลิกจ้าง ตามกำหนดระยะเวลานั้น ได้แก่งานดังนี้
      8.1 การจ้างงานในโครงการ เฉพาะที่มิใช่งานปกติของธุรกิจหรือ การค้าของนายจ้างซึ่งต้องมีระยะเวลาเริ่มต้นและสิ้นสุดของงานที่แน่นอน
      8.2 งานอันมีลักษณะเป็นครั้งคราว ที่มีกำหนดงานสิ้นสุดหรือความสำเร็จของงาน
      8.3 งานที่เป็นไปตามฤดูกาล และได้จ้างในช่วงเวลาของฤดูกาลนั้นซึ่งจะต้องแล้วเสร็จภายในเวลาไม่เกิน 2 ปี โดยนายจ้างได้ทำสัญญาเป็นหนังสือ ไว้ตั้งแต่เมื่อเริ่มจ้าง

การใช้แรงงานหญิง

  1. ห้ามนายจ้างให้ลูกจ้างหญิงทำงานต่อไปนี้
    • งาน เหมืองแร่หรืองานก่อสร้างที่ต้องทำใต้ดิน ใต้น้ำ ในถ้ำ ในอุโมงค์ หรือปล่องในภูเขาเว้นแต่ลักษณะของงาน ไม่เป็นอันตรายต่อสุขภาพหรือ ร่างกายของลูกจ้างหญิงนั้น
    • งานที่ต้องทำบนนั่งร้านที่สูงกว่าพื้นดินตั้งแต่ 10 เมตรขึ้นไป
    • งานผลิตหรือขนส่งวัตถุระเบิดหรือวัตถุไวไฟ
    • งานอื่นตามที่กำหนดในกฎกระทรวง
  2. ห้าม นายจ้างให้ลูกจ้างหญิงที่มีครรภ์ทำงานในระหว่างเวลา 22.00น.-06.00น. ทำงานล่วงเวลาทำงานในวันหยุดหรือทำงานอย่างหนึ่งอย่างใด ดังต่อไปนี้
    • งานเหมืองแร่หรืองาน ก่อสร้างที่ต้องทำใต้ดิน ใต้น้ำ ในถ้ำ ในอุโมงค์ หรือปล่องในภูเขาเว้นแต่ลักษณะของงาน ไม่เป็นอันตรายต่อสุขภาพหรือ ร่างกายของลูกจ้างหญิงนั้น
    • งานเกี่ยวกับเครื่องจักรหรือเครื่องยนต์ที่มีความสั่นสะเทือน
    • งานขับเคลื่อนหรือติดไปกับยานพาหนะ
    • งานยก แบก หาม หาบ ทูน ลาก หรือเข็นของหนักเกิน 15 กิโลกรัม
    • งานที่ทำในเรือ
    • งานอื่นตามที่กำหนดในกฎกระทรวง
  3. พนักงาน ตรวจแรงงานมีคำสั่งให้นายจ้างเปลี่ยนเวลาทำงานหรือชั่วโมงทำงาน ของลูกจ้างหญิงที่ทำงานในระหว่างเวลา 24.00 น.- 06.00 น. ได้ตามที่เห็น สมควร ถ้าพนักงานตรวจแรงงานเห็นว่างานนั้นอาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพ และความปลอดภัยของลูกจ้างหญิงนั้น
  4. ลูกจ้างหญิงมี ครรภ์มีสิทธิขอให้นายจ้างเปลี่ยนงานในหน้าที่เดิมเป็นการ ชั่วคราวก่อนหรือหลังคลอดได้ กรณีที่มีใบรับรองแพทย์ แผนปัจจุบันชั้นหนึ่ง มาแสดงว่าไม่อาจทำงานในหน้าที่เดิมต่อไปได้
  5. ห้ามนายจ้างเลิกจ้างลูกจ้างหญิงเพราะเหตุมีครรภ์

การใช้แรงงานเด็ก

  1. ห้ามนายจ้างจ้างเด็กอายุต่ำกว่า 15 ปี เป็นลูกจ้าง
  2. กรณีที่มีการจ้างเด็กอายุต่ำกว่า 18 ปี เป็นลูกจ้าง นายจ้างต้องแจ้งต่อพนักงาน ตรวจแรงงานภายใน 15 วันนับแต่วันที่ เด็กเข้าทำงาน และแจ้งการสิ้นสุดการ จ้างเด็กนั้นต่อพนักงานตรวจแรงงานภายใน 7 วันนับแต่วันที่เด็กออกจากงาน นายจ้างต้องจัดให้มีเวลาพัก 1 ชั่วโมงต่อวันภายใน 4 ชั่วโมงแรกของ การทำงาน และให้มีเวลาพักย่อยได้ตามที่นายจ้างกำหนด
  3. ห้ามนายจ้างใช้ลูกจ้างเด็กที่มีอายุต่ำกว่า 18 ปี ทำงานในระหว่างเวลา 22.00 - 06.00 น. เว้นแต่ได้รับอนุญาตจากอธิบดี
  4. ห้ามนายจ้างใช้ลูกจ้างเด็กที่มีอายุต่ำกว่า 18 ปี ทำงานล่วงเวลา
  5. ห้ามนายจ้างให้ลูกจ้างเด็กที่มีอายุต่ำกว่า 18 ปี ทำงานต่อไปนี้
    • งานหลอม เป่า หล่อ หรือรีดโลหะ
    • งานปั๊มโลหะ
    • งานเกี่ยวกับความร้อน ความเย็น ความสั่นสะเทือน เสียงและแสง ที่มีระดับแตกต่างจากปกติอันอาจเป็นอันตรายตามที่กำหนดในกฎกระทรวง
    • งานเกี่ยวกับสารเคมีที่เป็นอันตรายตามที่กำหนดในกฎกระทรวง
    • งานเกี่ยวกับจุลชีวันเป็นพิษซึ่งอาจเป็นเชื้อไวรัส แบคทีเรีย รา หรือเชื้ออื่น ตามที่กำหนดในกฎกระทรวง
    • งานเกี่ยวกับวัตถุมีพิษ วัตถุระเบิด หรือวัตถุไวไฟ เว้นแต่งานในสถานี บริการที่เป็นเชื้อเพลิงตามที่กำหนดในกฎกระทรวง
    • งานขับหรือบังคับรถยกหรือปั้นจั่นตามที่กำหนดในกฎกระทรวง
    • งานใช้เลื่อยเดินด้วยพลังไฟฟ้าหรือเครื่องยนต์
    • งานที่ต้องทำใต้ดิน ใต้น้ำ, ในถ้ำ อุโมงค์ หรือปล่องในภูเขา
    • งานเกี่ยวกับกัมมันตภาพรังสีตามที่กำหนดในกฎกระทรวง
    • งานทำความสะอาดเครื่องจักรหรือเครื่องยนต์ที่กำลังทำงาน
    • งานที่ต้องทำบนนั่งร้านที่สูงกว่าพื้นดินตั้งแต่ 10 เมตรขึ้นไป
    • งานอื่นตามที่กำหนดในกระทรวง
  6. ห้ามนายจ้างให้ลูกจ้างเด็กที่มีอายุต่ำกว่า 18 ปี ทำงานในสถานที่ต่อไปนี้
    • โรงฆ่าสัตว์
    • สถานที่เล่นการพนัน
    • สถานที่เต้นรำ รำวง หรือ รองเง็ง
    • สถาน ที่ที่มีอาหาร สุรา น้ำชา หรือเครื่องดื่ม อย่างอื่นจำหน่ายและบริการ โดยมีผู้บำเรอสำหรับปรนนิบัติลูกจ้าง หรือโดยมีที่สำหรับพักผ่อนหลับนอน หรือมีบริการนวดให้แก่ลูกค้า
    • สถานที่อื่นตามที่กำหนดในกฎกระทรวง
  7. ห้ามนายจ้างจ่ายค่าจ้างของลูกจ้างซึ่งเป็นเด็กแก่บุคคลอื่น
  8. ห้ามนายจ้างเรียก/หรือรับ เงินประกันจากฝ่ายลูกจ้างซึ่งเป็นเด็ก
  9. ลูกจ้าง ซึ่งเป็นเด็กอายุต่ำกว่า 18 ปี มีสิทธิลาเพื่อเข้าประชุม สัมมนา รับการอบรม รับการฝึก หรือลาเพื่อการอื่นซึ่งจัดโดยสถานศึกษา หรือหน่วยงานของรัฐหรือเอกชน ที่อธิบดีเห็นชอบ และให้นายจ้าง จ่ายค่าจ้างแก่ลูกจ้างเด็กเท่ากับค่าจ้างในวันทำงานตลอดระยะเวลาที่ลา แต่ปีหนึ่งต้องไม่เกิน 30 วัน

หลักฐานการทำงาน

  1. นาย จ้างที่มีลูกจ้างตั้งแต่ 10 คนขึ้นไป ต้องจัดให้มีข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงาน เป็นภาษาไทย ปิดประกาศโดยเปิดเผย ณ สถานที่ทำงานของลูกจ้างและ ส่งสำเนาให้อธิบดีกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน
  2. ข้อ บังคับฯ ต้องระบุเรื่องต่างๆ ดังนี้ วันทำงาน เวลาทำงานปกติ เวลาพัก วันหยุดและหลักเกณฑ์การหยุด หลักเกณฑ์การทำงานล่วงเวลา และการทำงาน ในวันหยุด วันและสถานที่จ่ายค่าจ้าง ค่าล่วงเวลา ค่าทำงานในวันหยุด และค่าล่วงเวลาในวันหยุดวันลาและหลักเกณฑ์การลา วินัยและโทษ การร้องทุกข์ และการเลิกจ้าง
  3. ทะเบียนลูกจ้างต้องมีชื่อ เพศ สัญชาติ วันเดือนปีเกิด ที่อยู่ปัจจุบัน วันเริ่มจ้าง ตำแหน่งหรืองานในหน้าที่ อัตราค่าจ้าง และประโยชน์ตอบแทนอื่นๆ ที่นายจ้างตกลงจ่ายให้แก่ลูกจ้างและวันสิ้นสุดการจ้าง
  4. เอกสาร เกี่ยวกับการคำนวณค่าจ้าง ค่าล่วงเวลา ค่าทำงานในวันหยุด ต้องระบุ วันเวลาทำงาน ผลงานที่ทำได้สำหรับการจ้างตามผลงาน และจำนวนเงินที่จ่าย โดยมีลายมือชื่อลูกจ้างผู้รับเงิน

การควบคุม

  1. นายจ้างที่มีลูกจ้างรวมกันตั้งแต่ 10 คนขึ้นไป จะต้องจัดทำข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานเป็นภาษาไทย อย่างน้อยต้องมี รายละเอียดดังนี้
    • วันทำงาน เวลาทำงานปกติ และเวลาพัก
    • วันหยุดและหลักเกณฑ์การหยุด
    • หลักเกณฑ์การทำงานล่วงเวลา และการทำงานในวันหยุด
    • วันและสถานที่จ่ายค่าจ้าง ค่าล่วงเวลา ค่าทำงานในวันหยุด และค่าล่วงเวลาในวันหยุด
    • วันลาและหลักเกณฑ์การลา
    • วินัยและโทษทางวินัย
    • การร้องทุกข์
    • การเลิกจ้าง ค่าชดเชยและชดเชยพิเศษ
  2. นายจ้างต้องประกาศใช้ข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานภายใน 15 วัน นับจากวันที่มีลูกจ้างรวมกันตั้งแต่ 10 คนขึ้นไป
  3. นายจ้างต้องปิดประกาศข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานโดยเปิดเผย ณ สถานที่ ทำงานของลูกจ้าง
  4. ให้ประกาศใช้ข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานต่อไปแม้ว่านายจ้างจะมีลูกจ้าง ลดต่ำกว่า 10 คนก็ตาม

การร้องทุกข์ของลูกจ้าง

  1. ลูกจ้างเรียกร้องสิทธิของตนอันเนื่องมาจากการฝ่าฝืนกฎหมายแรงงาน ของนายจ้างได้โดย
    • ลูกจ้างนำคดีไปฟ้องศาลแรงงาน
    • ลูกจ้างยื่นคำร้องทุกข์ต่อพนักงานตรวจแรงงาน
  2. การยื่นคำร้องทุกข์ของลูกจ้างหรือทายาท
    • ยื่นคำร้องทุกข์ตามแบบที่อธิบดีกำหนด
    • ยื่นต่อพนักงานตรวจแรงงานในท้องที่ที่ลูกจ้างทำงานอยู่ หรือที่นายจ้าง มีภูมิลำเนา หรือท้องที่ที่ลูกจ้างมีภูมิลำเนาอยู่ก็ได้
  3. การพิจจารณาคำร้องทุกข์ของพนักงานตรวจแรงงาน
    • เร่งสอบสวนข้อเท็จจริงจากนายจ้าง ลูกจ้าง และพยานโดยเร็ว รวมทั้งการรวบรวมหลักฐานที่เกี่ยวข้องด้วย
    • เมื่อสอบสวนข้อเท็จจริงแล้ว ต้องมีคำสั่งให้นายจ้างจ่ายเงิน หรือยกคำร้องทุกข์ของลูกจ้างอย่างใดอย่างหนึ่ง
    • การรวบรวมข้อเท็จจริง และการมีคำสั่ง ต้องกระทำให้แล้วเสร็จ ภายใน 60 วัน นับแต่วันรับคำร้องทุกข์ไว้ดำเนินการ
    • ถ้า ไม่สามารถดำเนินการให้แล้วเสร็จภายใน 60 วัน ให้ขอขยายระยะเวลา ต่ออธิบดีหรือผู้ว่าราชการจังหวัดโดยขอขยายระยะเวลาได้ไม่เกิน 30 วัน
  4. การยุติข้อร้องทุกข์ระหว่างสอบสวนข้อเท็จจริง
    • ลูกจ้างสละสิทธิการเรียกร้องทั้งหมด
    • ลูกจ้างสละสิทธิเรียกร้องแต่บางส่วน โดยนายจ้างยินยอมจ่ายเงินบางส่วน แก่ลูกจ้าง
    • นายจ้างยินยอมจ่ายเงินทั้งจำนวน แก่ลูกจ้าง

บทกำหนดโทษ

  1. กฏหมายคุ้มครองแรงงานเป็นกฏหมายที่มีบทลงโทษทางอาญา
  2. นายจ้างผู้ใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตาม
    • ขั้นต่ำปรับไม่เกิน 5,000 บาท
    • จำคุกไม่เกิน 1 ปี หรือปรับไม่เกิน 200,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
  3. การปฏิบัติตามคำสั่งของพนักงานตรวจแรงงานคดีอาญา เป็นอันระงับ
  4. การฝ่าฝืนกฏหมาย
    • อธิบดีมีอำนาจเปรียบเทียบปรับสำหรับความผิดที่เกิดขึ้นใน กรุงเทพฯ
    • ผู้ว่าราชการจังหวัด มีอำนาจเปรียบเทียบปรับสำหรับความผิด ที่เกิดขึ้นภายในจังหวัด
    • ชำระค่าปรับภายใน 30 วัน นับเท่าวันที่ได้รับแจ้งผลคดี คดีอาญา เป็นอันเลิกกัน
    • ถ้าไม่ยอมเปรียบเทียบปรับหรือไม่ชำระค่าปรับภายในกำหนด พนักงานสอบสวน (ตำรวจ) จะดำเนินการตามขั้นตอนของกฏหมาย ต่อไป

ที่มา..กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน

การอยู่บ้านนายจ้างโดยไม่เสียค่าเช่าบ้าน

คำสั่งกรมสรรพากร

ที่ ป. 23/2533

เรื่อง  การกำหนดมูลค่าของการได้อยู่บ้านที่นายจ้างให้อยู่โดยไม่เสียค่าเช่าเป็นเงินได้ พึงประเมิน

---------------------------------------------

                เพื่อให้เจ้าพนักงานสรรพากรถือเป็นแนวทางปฏิบัติสำหรับการกำหนดมูลค่าของการ ได้อยู่บ้านที่นายจ้างให้อยู่โดยไม่เสียค่าเช่าเป็นเงินได้พึงประเมิน ตามมาตรา 39 แห่งประมวลรัษฎากร กรมสรรพากรจึงมีคำสั่งดังต่อไปนี้

                ข้อ 1 กรณีลูกจ้างได้อยู่ บ้านของนายจ้างโดยไม่เสียค่าเช่า ให้คำนวณประโยชน์เพิ่มจากการนี้เป็นเงินได้พึงประเมินในอัตราร้อยละ 20 ของเงินเดือนหรือค่าจ้างรวมทั้งเงินเพิ่มตลาดปี (ถ้ามี) โดยไม่รวมเงินโบนัสที่จ่ายเป็นรายปี

                        (1) กรณีลูกจ้างได้อยู่บ้านของนายจ้างโดยไม่เสียค่าเช่า ให้คำนวณประโยชน์เพิ่มจากการนี้เป็นเงินได้พึงประเมินในอัตราร้อยละ 20 ของเงินเดือนหรือค่าจ้างรวมทั้งเงินเพิ่มตลอดปี (ถ้ามี) โดยไม่รวมเงินโบนัสที่จ่ายเป็นรายปี

                        (2) กรณีลูกจ้างหลายคนได้บ้านของนายจ้างหลังเดียวอยู่รวมกันโดยไม่เสียค่าเช่า ให้คำนวณประโยชน์เพิ่มตามเกณฑ์ใน (1) เป็นเงินได้พึงประเมินของลูกจ้างแต่ละคน

                        (3) กรณีลูกจ้างหลายคนได้บ้านของนายจ้างหลังเดียวอยู่รวมกันโดยไม่เสียค่าเช่า ตาม (1) ไม่ว่าจะเป็นการโต้แย้งในชั้นการตรวจสอบไต่สวนหรือในชั้นอุทธรณ์ก็ตาม ให้เจ้าพนักงานประเมินทำการประเมินค่าเช่าของบ้านนั้น ๆ ว่าสมควรให้เช่าได้ตามปกติปีละเท่าใด และให้ทำบันทึกการประเมินไว้เป็นหลักฐานแล้วรายงานขอความเห็นชอบจากอธิบดี กรมสรรพากร และใหถือว่าค่าเช่าบ้านที่ได้ทำการประเมินนี้เป็นเงินได้ของลูกจ้างที่จะนำ มาทำการประเมินหรือพิจารณาชี้ขาดของเจ้าหน้าที่ผุ้พิจารณาอุทธรณ์ แล้วแต่กรณี และให้ถือเป็นเกณฑ์ในการคำนวณเงินได้ในปีภาษีต่อไปด้วย เว้นแต่มีข้อเท็จจริงหรือสภาพของบ้านเปลี่ยนแปลงไป

                        (4) กรณีลูกจ้างหลายคนได้บ้านของนายจ้างตาม (3) หลังเดียวอยู่รวมกัน ให้เฉลี่ยค่าเช่าบ้านที่ประเมินได้ตาม (3) เป็นเงินได้ของลูกจ้างแต่ละคนตามส่วนของเงินเดือนหรือค่าจ้างรวมทั้งเงิน เพิ่มตลอดปี (ถ้ามี) โดยไม่รวมเงินโบนัสที่จ่ายเป็นรายปี และให้ถือว่าค่าเช่าบ้านที่ได้ทำการประเมินนี้เป็นเงินได้ของลูกจ้างที่จะนำ มาทำการประเมินหรือพิจารณาชี้ขาดของเจ้าหน้าที่ผู้พิจารณาอุทธรณ์ แล้วแต่กรณี และให้ถือเป็นเกณฑ์ในการคำนวณเงินได้ในปีภาษีต่อไปด้วย เว้นแต่มีข้อเท็จจริงหรือสภาพของบ้านเปลี่ยนแปลงไป

                        (5) กรณีลูกจ้างได้อยู่บ้านของนายจ้างโดยไม่เสียค่าเช่าและเป็นบ้านที่นายจ้าง ได้ไปเช่าจากบุคคลอื่นมาอีกต่อหนึ่ง ให้คำนวณประโยชน์เพิ่มจากการนี้เป็นเงินได้พึงประเมินตามค่าเช่าที่นายจ้าง ได้จ่ายไปจริง

                        (6) กรณีลูกจ้างหลายคนได้บ้านของนายจ้างตาม (5) อยู่รวมกัน ให้เฉลี่ยค่าเช่าบ้านที่นายจ้างได้จ่ายไปจริงตาม (5) เป็นเงินได้ของลูกจ้างแต่ละคนตามส่วนของเงินเดือนหรือค่าจ้าง รวมทั้งเงินเพิ่มตลอดปี (ถ้ามี) โดยไม่รวมเงินโบนัสที่จ่ายเป็นรายปี

                ข้อ 2 ในกรณีนายจ้างได้ เช่าบ้านให้เป็นที่พักอาศัยของพนักงาน ซึ่งดำรงตำแหน่งระดับบริหาร โดยนายจ้างเป็นผู้ออกค่าเช่าและค่าใช้จ่ายต่าง ๆ เช่น ค่าน้ำประปา ค่าไฟฟ้า ค่าคนสวน และค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ภายในบ้าน แม้ต่อมาพนักงานผู้นั้นหรือนายจ้างจะได้ใช้บ้านดังกล่าวส่วนหนึ่งเป็นสถาน ที่ประชุมและปรึกษาหารือกิจการของนายจ้างตลอดจนการจัดงานเลี้ยงรับรองลูกค้า สำคัญ ๆ ของนายจ้างเป็นครั้งคราว ถือได้ว่าค่าเช่าบ้านและค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ที่นายจ้างจ่ายไปเป็นประโยชน์ที่พนักงานผู้นั้นได้รับทั้งสิ้น พนักงานผู้นั้นจะต้องนำประโยชน์ที่ได้รับทั้งหมดมารวมคำนวณเพื่อเสียภาษี เงินได้บุคคลธรรมดาด้วย

สั่ง ณ วันที่ 26 เมษายน พ.ศ. 2533

บัณฑิต บุณยะปานะ

อธิบดีกรมสรรพากร

อัตราค่าแรงขั้นต่ำ มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 มิถุนายน 2551

MinimumWage

คลิ๊กดู..ประกาศกระทรวงแรงงาน

มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 36 (ปรับปรุง 2550)

เรื่อง การด้อยค่าของสินทรัพย์

คำแถลงการณ์
มาตรฐานการบัญชีฉบับนี้ได้ปรับปรุงให้เป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนดขึ้นโดยมาตรฐานการบัญชีระหว่าง
ประเทศฉบับที่ 36 เรื่อง การด้อยค่าของสินทรัพย์พ.ศ. 2549 (IAS 36 (2006), “Impairment of Assets”)
มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 36 (ปรับปรุง 2550) เรื่อง การด้อยค่าของสินทรัพย์

ขอบเขต
1. มาตรฐานการบัญชีฉบับนี้ให้ถือปฏิบัติกับการบัญชีสำหรับการด้อยค่าของสินทรัพย์ทุกประเภทยกเว้น
1.1 สินค้าคงเหลือ (ดูมาตรฐานการบัญชีฉบับที่ 31 (ปรับปรุง 2550) เรื่อง สินค้าคงเหลือ)
1.2 สินทรัพย์ที่เกิดจากสัญญาก่อสร้าง (ดูมาตรฐานการบัญชีฉบับที่ 49 (ปรับปรุง 2550) เรื่อง
สัญญาก่อสร้าง)
1.3 ภาษีเงินได้รอการตัดบัญชี (ดูมาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 56 เรื่อง ภาษีเงินได้ (เมื่อมีการประกาศใช้))
1.4 สินทรัพย์ที่เกิดจากผลประโยชน์ของพนักงาน (ดูมาตรฐานการบัญชี เรื่อง ผลประโยชน์พนักงาน (เมื่อมีการประกาศใช้))
1.5 สินทรัพย์ทางการเงิน ซึ่งรวมอยู่ในขอบเขตของมาตรฐานการบัญชี เรื่อง การรับรู้และการวัดมูลค่าเครื่องมือทางการเงิน (เมื่อมีการประกาศใช้)
1.6 อสังหาริมทรัพย์เพื่อการลงทุนที่วัดมูลค่าด้วยมูลค่ายุติธรรม (ดูมาตรฐานการบัญชี เรื่องอสังหาริมทรัพย์เพื่อการลงทุน (เมื่อมีการประกาศใช้))
1.7 สินทรัพย์ชีวภาพที่เกี่ยวข้องกับกิจกรรมทางการเกษตรที่วัดมูลค่าด้วยมูลค่ายุติธรรมหักประมาณการค่าใช้จ่าย ณ จุดขาย (ดูมาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 57 เรื่อง เกษตรกรรม
(เมื่อมีการประกาศใช้))
1.8 ต้นทุนการได้มารอการตัดบัญชีและสินทรัพย์ไม่มีตัวตนที่เกิดจากสิทธิตามสัญญาของผู้รับประกันภายใต้สัญญาประกันภัยซึ่งรวมอยู่ในขอบเขตของมาตรฐานการบัญชี เรื่อง สัญญาประกันภัย (ดูมาตรฐานการบัญชี เรื่อง สัญญาประกันภัย (เมื่อมีการประกาศใช้))
1.9 สินทรัพย์ไม่หมุนเวียนที่ถือไว้เพื่อขายและการดำ เนินงานที่ยกเลิก ซึ่งถูกจัดประเภทเป็นสินทรัพย์ที่ถือไว้เพื่อขายตามมาตรฐานการบัญชีเรื่องสินทรัพย์ไม่หมุนเวียนหรือกลุ่มสินทรัพย์ที่ยกเลิก ที่ถือไว้เพื่อขาย และการดำเนินงานที่ยกเลิก (ดูมาตรฐานการบัญชี ฉบับที่
54 (ปรับปรุง 2550) เรื่อง สินทรัพย์ไม่หมุนเวียนที่ถือไว้เพื่อขายและการดำเนินงานที่ยกเลิก)

คำนิยาม
2. คำศัพท์ที่ใช้ในมาตรฐานการบัญชีฉบับนี้มีความหมายโดยเฉพาะ ดังนี้
ตลาดซื้อขายคล่อง หมายถึง ตลาดที่มีคุณสมบัติทุกข้อดังต่อไปนี้
     1) รายการที่ซื้อขายในตลาดต้องมีลักษณะเหมือนกัน
     2) ต้องมีผู้ที่เต็มใจซื้อและขายตลอดเวลา
     3) ราคาต้องเป็นที่เปิดเผยต่อสาธารณชน

วันที่ตกลงรวมธุรกิจ หมายถึง วันที่ข้อตกลงที่สำคัญระหว่างกิจการที่รวมธุรกิจกันบรรลุผล สำหรับบริษัทจดทะเบียนต้องมีการประกาศต่อสาธารณะชนด้วย สำหรับกรณีที่เป็นการครอบงำ กิจการแบบปรปักษ์ วันแรกที่ข้อตกลงที่สำคัญระหว่างกิจการที่รวมธุรกิจกันบรรลุผล คือวันที่จำนวนหุ้นของผู้ถือหุ้นในธุรกิจที่ถูกซื้อ ซึ่งยอมรับคำเสนอซื้อของผู้ซื้อมีมากเพียงพอที่จะทำให้ผู้ซื้อสามารถควบคุมผู้ถูกซื้อ

มูลค่าตามบัญชี หมายถึง ราคาของสินทรัพย์ที่รับรู้ในงบดุลหลังจากหักค่าเสื่อมราคาสะสม (หรือค่าตัดจำหน่ายสะสม)และค่าเผื่อการด้อยค่าสะสมของสินทรัพย์
หน่วยสินทรัพย์ที่ก่อให้เกิดเงินสด หมายถึง สินทรัพย์กลุ่มที่เล็กที่สุดที่สามารถระบุได้ว่าการใช้กลุ่มสินทรัพย์ดังกล่าวอย่างต่อเนื่องจะก่อให้เกิดกระแสเงินสดรับ ซึ่งโดยส่วนใหญ่เป็นอิสระจากกระแสเงินสดรับที่เกิดจากสินทรัพย์อื่นหรือกลุ่มสินทรัพย์อื่น

สินทรัพย์องค์กร หมายถึง สินทรัพย์ที่มีส่วนทำ ให้หน่วยสินทรัพย์ที่ก่อให้เกิดเงินสดที่อยู่ภายใต้การพิจารณาและหน่วยสินทรัพย์ที่ก่อให้เกิดเงินสดอื่นสามารถก่อให้เกิดกระแสเงินสดได้ในอนาคต ทั้งนี้ไม่รวมถึงค่าความนิยม

ต้นทุนในการขาย หมายถึง ต้นทุนส่วนเพิ่มที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับการจำ หน่ายสินทรัพย์หรือหน่วยสินทรัพย์ที่ก่อให้เกิดเงินสดซึ่งไม่รวมต้นทุนทางการเงินและค่าใช้จ่ายภาษีเงินได้

จำนวนที่คิดค่าเสื่อมราคา หมายถึง ราคาทุนของสินทรัพย์หรือราคาอื่นที่ใช้แทนราคาทุนในงบการเงินหักด้วยมูลค่าคงเหลือ

ค่าเสื่อมราคา(หรือค่าตัดจำหน่าย) หมายถึง การปันส่วนจำ นวนที่คิดค่าเสื่อมราคาของสินท รัพย์อย่างมีระบบ ตลอด อายุการให้ประโยชน์(1)
(1) ในกรณีของสินทรัพย์ไม่มีตัวตนจะเรียกว่าค่าตัดจำหน่ายแทนคำว่าค่าเสื่อมราคา ซึ่งมีความหมายเหมือนกัน

มูลค่ายุติธรรมหักต้นทุนในการขาย หมายถึง จำนวนที่จะได้รับจากการขายสินทรัพย์หรือหน่วยสินทรัพย์ที่ก่อให้เกิดเงินสดหักด้วยต้นทุนจากการขายสินทรัพย์นั้นโดยที่ผู้ซื้อกับผู้ขายสามารถต่อรองราคากันได้อย่างเป็นอิสระในลักษณะของผู้ที่ไม่มีความเกี่ยวข้องกัน ในขณะที่ทั้งสองฝ่ายมีความรอบรู้และเต็มใจในการแลกเปลี่ยน

ผลขาดทุนจากการด้อยค่า หมายถึง จำนวนมูลค่าตามบัญชีที่สูงกว่ามูลค่าที่คาดว่าจะได้รับคืนของสินทรัพย์ หรือหน่วยสินทรัพย์ที่ก่อให้เกิดเงินสด
มูลค่าที่คาดว่าจะได้รับคืน หมายถึง มูลค่ายุติธรรมหักต้นทุนในการขายของสินทรัพย์หรือหน่วย สินทรัพย์ที่ก่อให้เกิดเงินสดหรือมูลค่าจากการใช้ของสินทรัพย์นั้น แล้วแต่จำนวนใดจะสูงกว่า

อายุการให้ประโยชน์ หมายถึง กรณีใดกรณีหนึ่ง ต่อไปนี้
1) ระยะเวลาที่กิจการคาดว่าจะใช้ประโยชน์จากสินทรัพย์
2) จำนวนผลผลิตหรือจำนวนหน่วยในลักษณะอื่นที่คล้ายคลึงกันซึ่งกิจการคาดว่าจะได้รับจากการใช้สินทรัพย์

มูลค่าจากการใช้ หมายถึง มูลค่าปัจจุบันของกระแสเงินสดในอนาคตที่คาดว่าจะได้รับจากการใช้สินทรัพย์หรือหน่วยสินทรัพย์ที่ก่อให้เกิดเงินสด


อ่านไฟล์ฉบับเต็มคลิ๊ก

มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 54 (ปรับปรุง 2550)

เรื่อง สินทรัพย์ไม่หมุนเวียนที่ถือไว้เพื่อขายและการดำเนินงานที่ยกเลิก


คำแถลงการณ์
มาตรฐานการบัญชีฉบับนี้จัดทำ ขึ้นจากมาตรฐานการบัญชีระหว่างประเทศ ฉบับที่ 5
เรื่อง สินทรัพย์ไม่หมุนเวียนที่ถือไว้เพื่อขายและการดำเนินงานที่ยกเลิก พ.ศ. 2549 (IFRS No.5
“Non-current Assets Held for Sale and Discontinued Operations” (revised 2006))

การจัดประเภทของสินทรัพย์ไม่หมุนเวียน (หรือกลุ่มสินทรัพย์ที่ยกเลิก) เป็นสินทรัพย์ที่ถือไว้
เพื่อขาย
1. กิจการต้องจัดประเภทสินทรัพย์ไม่หมุนเวียน (หรือกลุ่มสินทรัพย์ที่ยกเลิก) เป็นสินทรัพย์ที่
ถือไว้เพื่อขายหากมูลค่าตามบัญชีที่จะได้รับคืนส่วนใหญ่มาจากการขาย มิใช่มาจากการใช้
สินทรัพย์นั้นต่อไป
การวัดมูลค่าสินทรัพย์ไม่หมุนเวียน (หรือกลุ่มสินทรัพย์ที่ยกเลิก) ที่จัดประเภทเป็นสินทรัพย์ที่
ถือไว้เพื่อขาย

การวัดมูลค่าสินทรัพย์ไม่หมุนเวียน (หรือกลุ่มสินทรัพย์ที่ยกเลิก)
2. กิจการต้องวัดมูลค่าสินทรัพย์ไม่หมุนเวียน (หรือกลุ่มสินทรัพย์ที่ยกเลิก) ที่จัดประเภทเป็น
สินทรัพย์ที่ถือไว้เพื่อขายด้วยจำนวนที่ต่ำกว่าระหว่างมูลค่าตามบัญชีกับมูลค่ายุติธรรม
หักต้นทุนในการขาย

การนำเสนอและการเปิดเผยข้อมูล
3. กิจการต้องนำเสนอและเปิดเผยข้อมูลที่ทำให้ผู้ใช้งบการเงินสามารถประเมินผลทางการเงิน
ของการดำเนินงานที่ยกเลิกและการเลิกใช้สินทรัพย์ไม่หมุนเวียน (หรือกลุ่มสินทรัพย์
ที่ยกเลิก)

วันถือปฏิบัติ
4. มาตรฐานการบัญชีฉบับนี้ให้ถือปฏิบัติกับงบการเงินสำหรับรอบระยะเวลาบัญชีที่เริ่มในหรือหลัง
วันที่ 1 มกราคม 2552 เป็นต้นไป โดยสนับสนุนให้มีการนำมาตรฐานการบัญชีฉบับนี้ไปปฏิบัติ
ก่อนเวลาที่มีผลบังคับใช้ หากกิจการปฏิบัติตามมาตรฐานการบัญชีฉบับนี้สำหรับรอบระยะเวลา
บัญชีที่เริ่มก่อนวันที่ 1 มกราคม 2552 กิจการต้องเปิดเผยข้อเท็จจริงดังกล่าวด้วย

อ่านไฟล์ฉบับเต็มคลิ๊ก

ประกาศสภาวิชาชีพบัญชี ฉบับที่ 86/2551

เรื่อง มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ ๓๖ (ปรับปรุง ๒๕๕๐) และ มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ ๕๔ (ปรับปรุง ๒๕๕๐)
_________________
อาศัยอำนาจตามมาตรา ๗ (๓) และ มาตรา ๓๔ แห่งพระราชบัญญัติวิชาชีพบัญชี พ.ศ. ๒๕๔๗
ที่กำหนดให้สภาวิชาชีพบัญชี มีอำนาจหน้าที่ในการกำหนดและปรับปรุงมาตรฐานการบัญชีเพื่อใช้เป็นมาตรฐานในการจัดทำบัญชีตามกฎหมายว่าด้วยการบัญชี และกฎหมายอื่น ทั้งนี้ มาตรฐานการบัญชีนั้นต้องได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการกำกับดูแลการประกอบวิชาชีพบัญชี และประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้ว จึงจะใช้บังคับได้

สภาวิชาชีพบัญชี โดยความเห็นชอบในการกำหนดมาตรฐานการบัญชีของคณะกรรมการกำกับดูแลการประกอบวิชาชีพในการประชุม ครั้งที่ ๙ (๑/๒๕๕๑) เมื่อวันที่ ๒๓ มิถุนายน ๒๕๕๑ จึงออกประกาศ ดังนี้

๑. ให้ยกเลิกมาตรฐานการบัญชี ตามประกาศ ก.บช. ฉบับที่ ๔๒ (พ.ศ.๒๕๔๓) เรื่อง มาตรฐานการ
บัญชี สำหรับมาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ ๓๖ เรื่อง การด้อยค่าของสินทรัพย์

๒. ให้ยกเลิกมาตรฐานการบัญชี ตามประกาศคณะกรรมการสภาวิชาชีพบัญชี ฉบับที่ ๑๐/๒๕๔๘
เรื่อง ประกาศใช้มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ ๕๒-๕๔ คือ มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ ๕๔ เรื่อง การดำเนินงานที่ยกเลิก

๓. ให้ใช้มาตรฐานการบัญชีแนบท้ายประกาศนี้แทน
๓.๑ มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ ๓๖ (ปรับปรุง ๒๕๕๐) เรื่อง การด้อยค่าของสินทรัพย์
๓.๒ มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ ๕๔ (ปรับปรุง ๒๕๕๐) เรื่อง สินทรัพย์ไม่หมุนเวียนที่ถือไว้
เพื่อขายและการดำเนินงานที่ยกเลิก

ประกาศ ณ วันที่ ๑๒ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๕๑
เกษรี ณรงค์เดช
(ศาสตราจารย์เกษรี ณรงค์เดช)
นายกสภาวิชาชีพบัญชี

ลาออกจากกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ

ตอน..เมื่อถึงเวลายื่นภาษีประจำปี (2 มี.ค. 50)

สวัสดีค่ะ.. ผู้ที่ติดตามอ่านสรรหามาเล่าทุกท่าน ช่วงนี้เป็นช่วงเวลาแห่งการยื่นแบบชำระภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาประจำปีแล้วนะ คะ  เชื่อว่าทุกท่านคงจะได้รับหนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่ายกันครบถ้วนแล้วใช่ไหมคะ และนั่นหมายความว่าเราพร้อมที่จะยื่นแบบชำระภาษีกันได้แล้วล่ะค่ะ สรรหามาเล่าฉบับนี้ขอนำสาระเกี่ยวกับภาระภาษีของสมาชิกกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ มาเล่าให้ฟังแบบทุกแง่ทุกมุมเลยค่ะ

สำหรับท่านที่ยังเป็นสมาชิกอยู่ในกองทุน  ท่านสามารถนำเงินที่จ่ายสะสมเข้ากองทุนในปีนั้นมาหักลดหย่อนได้ไม่เกิน 10,000 บาท ส่วนที่เกิน 10,000 บาท แต่ไม่เกิน 490,000 บาท จะได้รับยกเว้นไม่ต้องนำไปรวมคำนวณภาษี  แต่หากสมาชิกมีการลงทุนใน  RMF ด้วย เงินที่ได้รับยกเว้นทั้งสองกองทุนรวมกันแล้วต้องไม่เกิน 500,000 บาทค่ะ

สำหรับท่านที่สิ้นสมาชิกภาพและได้รับเงินจากกองทุน ลองพิจารณาดูว่าท่านตรงกับกรณีใดใน 3 กรณีดังนี้

กรณีแรก ถ้าท่านลาออกจากกองทุนโดยไม่ออกจากงาน  ให้ท่านนำเงินที่ได้รับจากกองทุนเฉพาะส่วนที่เป็นเงินสมทบ ผลประโยชน์ของเงินสะสม และผลประโยชน์ของเงินสมทบไปรวมคำนวณกับเงินได้ทุกประเภทเพื่อชำระภาษีเงิน ได้บุคคลธรรมดาประจำปี โดยเงินได้สุทธิจำนวน 150,000 บาทแรกได้รับยกเว้นภาษี

กรณีที่สอง ถ้าท่านลาออกจากงาน ให้ดูว่าท่านมีระยะเวลาทำงานกี่ปี หากท่านมีระยะเวลาทำงานน้อยกว่า 5 ปี ท่านมีหน้าที่เสียภาษีเช่นเดียวกับกรณีแรก  หรือถ้าท่านมีระยะเวลาทำงานตั้งแต่ 5 ปีขึ้นไป ท่าน สามารถเลือกเสียภาษีโดยนำเงินที่ได้รับจากกองทุนไปรวมคำนวณกับเงินได้ทุก ประเภทเพื่อชำระภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาประจำปีเช่นเดียวกับกรณีแรก หรือจะไม่นำไปรวมคำนวณกับเงินได้ประเภทอื่นก็ได้ ซึ่งหากท่านไม่นำไปรวมคำนวณ ให้นำเงินที่ได้รับจากกองทุนเฉพาะส่วนที่เป็นเงินสมทบ ผลประโยชน์ของเงินสะสม และผลประโยชน์ของเงินสมทบไปคำนวณภาษี โดยสามารถหักค่าใช้จ่ายได้เท่ากับ 7,000 บาท คูณจำนวนปีที่ทำงาน เหลือเท่าใดหักได้อีกร้อยละ 50 แล้วคำนวณภาษีตามอัตราภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา แต่มีข้อสังเกตว่าการคำนวณภาษีในกรณีนี้จะไม่ได้รับยกเว้นภาษีสำหรับเงินได้ สุทธิจำนวน 150,000 บาทแรก และอย่าลืมกรอกใบแนบ ภงด. 91 หรือ 90 ตามแบบของกรมสรรพากรด้วย ท่านที่ไม่คุ้นเคยกับใบแนบ ลองเข้าไปดูได้ตาม ลิงค์ นี้ได้ค่ะ การกรอกใบแนบก็เพื่อให้สรรพากรทราบว่าท่านเลือกใช้สิทธิแยกคำนวณภาษีค่ะ

กรณีที่สาม ถ้า ท่านเกษียณอายุ  ให้ดูว่าท่านเป็นสมาชิกกองทุนกี่ปี หากเป็นสมาชิกกองทุนน้อยกว่า 5 ปี  เงินที่ท่านได้รับจากกองทุนไม่เข้าข่ายได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษี จึงต้องเสียภาษีเช่นเดียวกับกรณีแรก หรือถ้าท่านเป็นสมาชิกกองทุนตั้งแต่ 5 ปีขึ้นไป ให้ดูเพิ่มเติมว่าท่านมีอายุขณะเกษียณตั้งแต่ 55 ปี ขึ้นไปหรือไม่ เพราะ เงินที่ได้รับจากกองทุนจะได้รับยกเว้นภาษีทั้งจำนวนหากท่านเป็นสมาชิกกองทุน ตั้งแต่ 5 ปี ขึ้นไป และมีอายุไม่ต่ำกว่า 55 ปีบริบูรณ์

สำหรับท่านที่อยากทราบจำนวนภาษีที่ต้องชำระ  ลองเข้าโปรแกรมช่วยคำนวณภาษีที่อยู่บนเว็บไซต์ thaipvd.com ดูก็ได้ค่ะ คลิก

สำหรับท่านที่ลาออกจากงานโดยขอคงเงินไว้ในกองทุนเดิมเพื่อรอโอนย้ายไปเข้ากองทุนของนายจ้างรายใหม่ กรณีนี้ท่านไม่มีเงินได้เกิดขึ้น  จึงยังไม่มีหน้าที่ยื่นแบบชำระภาษีจากเงินจำนวนดังกล่าว อย่างไรก็ดี หากครบ 1 ปีแล้วยังไม่มาแจ้งว่าให้โอนเงินดังกล่าวไปเข้ากองทุนใหม่  ท่านต้องรับเงินออกจากกองทุนและมีหน้าที่ชำระภาษีจากเงินจำนวนดังกล่าว ส่วนวิธีคำนวณจะเป็นอย่างไร ต้องพิจารณาว่าท่านมีอายุงาน
กี่ปี โดยพิจารณาแบบเดียวกันกับกรณีที่สอง

ถึงตอนนี้ท่านคงพร้อมที่จะยื่นแบบชำระภาษีกันแล้วใช่ไหมคะ   สรรหามาเล่าจะเสนอสาระเรื่องภาษีของสมาชิกกองทุนที่เกษียณแล้วแต่ได้รับการว่าจ้างให้ทำงานต่อมาเล่าให้ฟังในฉบับต่อๆไป  ติดตามอ่านให้ได้นะคะ.. แล้วพบกันใหม่ สวัสดีค่ะ

หมายเหตุ ในส่วนที่เป็นสีแดงคือส่วนที่ผมแก้ไขเพื่อให้สอดคล้องกับกฎหมายที่ปรับปรุงในปี 2551

ที่มาบทความ..http://www.thaipvd.com/thaipvd_v3/sunha/article05-50.shtml