การยกเว้นเงินได้ให้ผู้สูงอายุ ไม่ต่ำกว่า 65 ปี


มีคำพูดที่มักเคยได้ยินกันอยู่บ่อย ๆ ก็คือ ชีวิตหลังเกษียณอายุ

โดย​ปกติ​แล้ว​การทำ​งาน​ใน​ภาครัฐ​หรือ​เอกชนมัก​จะ​มีการกำ​หนด​ให้​พนักงานมีอายุการทำ​งาน​ไม่​เกิน 60 ปี​ ​ยกเว้นบุคคล​นั้น​มี​ความ​รู้​ความ​สามารถ​ก็อาจ​จะ​มีการต่ออายุ​ให้​ทำ​งานเกิน​ 60 ปีก็​ได้​

หลายครั้งเรามัก ​จะ​พบว่าคนสูงอายุ​เหล่านี้หลัง​จาก​ออก​จาก​งาน​แล้ว​ยัง​มีขีด​ความ​ สามารถ​ใน​การทำ​งาน​หรือ​ทำ​ธุรกิจ​ ​บางคน​ยัง​รักการทำ​งานอาจ​จะ​เปิดธุรกิจของตนเอง​หรือ​นำ​เงินบำ​เหน็จบำ​ นาญของตนเองไปฝากธนาคารเพื่อกินดอกเบี้ย​ ​แล้ว​นำ​ดอกเบี้ยมา​ใช้​จ่าย​ใน​ชีวิตประจำ​วัน​ ​กลุ่มคนเหล่านี้ก็​จะ​มีราย​ได้​เกิดขึ้น​ซึ่ง​ต้อง​นำ​ราย​ได้​ที่​ได้​ รับ​ใน​แต่ละปี​ไปคำ​นวณภาษี​เงิน​ได้​บุคคลธรรมดา​ใน​อัตราก้าวหน้า (10 - 37%) ตามประ​เภทของเงิน​ได้​พึงประ​เมิน

เงิน​ได้​พึงประ​เมินที่​ผู้​สูงอายุ​ได้​รับ​จะ​ต้อง​แยกประ​เภทของเงิน​ได้​เพื่อนำ​ไปคำ​นวณภาษี​เงิน​ได้​บุคคลธรรมดา​แบ่งออก​เป็น 8 ประ​เภท​ด้วย​กัน​ ​คือ

- เงิน​ได้​พึงประ​เมินตามมาตรา​ 40(1) เงินเดือน​ ​ค่าจ้าง
- เงิน​ได้​พึงประ​เมินตามมาตรา​ 40(2) รับจ้างทำ​งาน​ให้
- เงิน​ได้​พึงประ​เมินตามมาตรา​ 40(3) ค่าสิทธิ
- เงิน​ได้​พึงประ​เมินตามมาตรา​ 40(4)​(ก) ​ดอกเบี้ย
- เงิน​ได้​พึงประ​เมินตามมาตรา​ 40(4)​(ข)​เงินปันผล
- เงิน​ได้​พึงประ​เมินตามมาตรา​ 40(5) ให้​เช่าทรัพย์สิน
- เงิน​ได้​พึงประ​เมินตามมาตรา​ 40(6) วิชาชีพอิสระ
- เงิน​ได้​พึงประ​เมินตามมาตรา​ 40(7) รับเหมาก่อสร้าง
เงิน​ได้​พึงประ​เมินตามมาตรา​ 40(8) เงิน​ได้​ที่นอกเหนือ​จาก​มาตรา​ 40(1) - (7)

เนื่อง ​จาก​ประมวลรัษฎากร​ได้​กำ​หนด​ให้​ผู้​มี​เงิน​ได้​ซึ่ง​เป็น​ บุคคลธรรมดามีหน้าที่​ต้อง​เสียภาษี​เงิน​ได้​บุคคลธรรมดา​ ​ดัง​นั้น​ ​เพื่อ​เป็น​การบรรเทาภาระภาษี​ให้​แก่​ผู้​สูงอายุ​ ​อัน​จะ​ทำ​ให้​มี​เงินเพื่อ​ใช้​ใน​การดำ​รงชีพเพิ่มขึ้น​ ​กรมสรรพากร​จึง​ได้​ยกเว้นภาษี​เงิน​ได้​บุคคลธรรมดาสำ​หรับเงิน​ได้​ พึงประ​เมินที่​ผู้​มี​เงิน​ได้​ซึ่ง​เป็น​ผู้​อยู่​ใน​ประ​เทศไทย​และ​ มีอายุ​ไม่​ต่ำ​กว่า 65 ปีบริบูรณ์​ใน​ปีภาษี​ได้​รับ​ ​เฉพาะ​ส่วน​ที่​ไม่​เกิน​ 190,000 บาท​ใน​ปีภาษี​นั้น​ ​ตามกฎกระทรวง​ฉบับ​ที่​ 257 (พ​.​ศ​. 2549) ออกตาม​ความ​ใน​ประมวลรัษฎากร​ ​ว่า​ด้วย​การยกเว้นรัษฎากร​ ​ดังต่อไปนี้

"เงิน ​ได้​ที่​ผู้​มี​เงิน​ได้​ซึ่ง​เป็น​ผู้​อยู่​ใน​ประ​เทศไทย​และ​มีอายุ​ไม่ ​ต่ำ​กว่าหกสิบห้าปีบริบูรณ์​ใน​ปีภาษี​ได้​รับเฉพาะ​ส่วน​ที่​ไม่​ เกินหนึ่งแสนเก้าหมื่นบาท​ใน​ปีภาษี​นั้น​ ​ทั้ง​นี้​ ​สำ​หรับเงิน​ได้​ที่​ได้​รับตั้งแต่วันที่​ 1 มกราคม​ ​พ​.​ศ​. 2548 เป็น​ต้นไป​ ​โดย​เป็น​ไปตามหลักเกณฑ์​ ​วิธีการ​ ​และ​เงื่อนไขที่อธิบดีกรมสรรพากรประกาศกำ​หนด"

หลักเกณฑ์ ​ ​วิธีการ​ ​และ​เงื่อนไขเพื่อการยกเว้นภาษี​เงิน​ได้​สำ​หรับเงิน​ได้​ที่​ผู้​มี​เงิน ​ได้​ซึ่ง​เป็น​ผู้​อยู่​ใน​ประ​เทศไทย​และ​มีอายุ​ไม่​ต่ำ​กว่า 65 ปีบริบูรณ์​ใน​ปีภาษี​ได้​รับ​ ​ดังต่อไปนี้

1. เงิน​ได้​ที่​ผู้​มี​เงิน​ได้​ซึ่ง​มีอายุ​ไม่​ต่ำ​กว่า​ 65 ปีบริบูรณ์ ​ได้​รับ​ ​โดย​ได้​รับยกเว้น​ไม่​ต้อง​รวมคำ​นวณเพื่อเสียภาษี​เงิน​ได้​บุคคลธรรมดา​ ​ต้อง​เป็น​เงิน​ได้​ที่​ผู้​มี​เงิน​ได้​ได้​รับ​ใน​ปีภาษีที่​ผู้​มี​เงิน ​ได้​มีอายุ​ไม่​ต่ำ​กว่า​ 65 ปีบริบูรณ์​ ​และ​ผู้​มี​เงิน​ได้​เป็น​ผู้​อยู่​ใน​ประ​เทศไทย​ ​เฉพาะ​เงิน​ได้​ที่​ได้​รับ​ส่วน​ที่​ไม่​เกิน​ 190,000 บาท​ใน​ปีภาษี​นั้น

2. ผู้​มี​เงิน​ได้​ซึ่ง​ได้​รับยกเว้นภาษี​เงิน​ได้​ตามข้อ​ 1 ต้อง ​เป็น​ผู้​มี​เงิน​ได้​ซึ่ง​มีหน้าที่​เสียภาษี​เงิน​ได้​บุคคลธรรมดา​ ​แต่​ไม่​รวม​ถึง​ห้างหุ้น​ส่วน​สามัญ​ ​หรือ​คณะบุคคลที่มิ​ใช่​นิติบุคคล​ ​และ​กองมรดกที่​ยัง​ไม่​ได้​แบ่ง
กรณีสามีภริยามี ​เงิน​ได้​ร่วม​กัน​ ​โดย​ความ​เป็น​สามีภริยามิ​ได้​มี​อยู่​ตลอดปีภาษี​ ​ให้​ถือว่า​เงิน​ได้​ดังกล่าว​เป็น​เงิน​ได้​ของคณะบุคคลที่มิ​ใช่​ นิติบุคคล

3. กรณี​ผู้​มี​เงิน​ได้​ซึ่ง​ได้​รับยกเว้นภาษี​เงิน​ได้​ตามข้อ​ 1 ได้​รับเงิน​ได้​ตามมาตรา​ 40 แห่งประมวลรัษฎากร ​ ​ใน​ปีภาษี​ใด​หลายประ​เภท​ ​ผู้​มี​เงิน​ได้​จะ​เลือก​ใช้​สิทธิยกเว้นภาษี​เงิน​ได้​จาก​เงิน​ได้​ที่​ ได้​รับประ​เภท​ใด​ประ​เภทหนึ่ง​ ​หรือ​จะ​เลือก​ใช้​สิทธิยกเว้นภาษี​เงิน​ได้​จาก​เงิน​ได้​หลายประ​เภท​ ​และ​แต่ละประ​เภท​จะ​ยกเว้นภาษี​เงิน​ได้​จำ​นวน​เท่า​ใด​ก็​ได้​ ​แต่​เมื่อรวมจำ​นวนเงิน​ได้​ที่​ใช้​สิทธิยกเว้นภาษี​เงิน​ได้​ดังกล่าว​ ทั้ง​หมด​แล้ว​ ​ต้อง​ไม่​เกิน​ 190,000 บาท​ใน​ปีภาษี​นั้น

4. ผู้​มี​เงิน​ได้​ซึ่ง​ได้​รับยกเว้นภาษี​เงิน​ได้​ตามข้อ​ 1 ให้​ถือตามหลักเกณฑ์ดังนี้
(1) กรณีสามีภริยามี ​เงิน​ได้​ร่วม​กัน​ ​โดย​ความ​เป็น​สามีภริยา​ได้​มี​อยู่​ตลอดปีภาษี​ ​ให้​ถือว่า​เงิน​ได้​ดังกล่าว​เป็น​เงิน​ได้​ของสามี​ ​ให้​สามี​เป็น​ผู้​ได้​รับยกเว้นภาษี​เงิน​ได้​สำ​หรับเงิน​ได้​ที่​ได้​ รับร่วม​กัน
(2) กรณีสามีภริยาต่างฝ่ายต่างมี ​เงิน​ได้​ ​ไม่​ว่า​ความ​เป็น​สามีภริยา​ได้​มี​อยู่​ตลอดปีภาษี​หรือ​ไม่​ ​ให้​สามีภริยาต่างฝ่ายต่าง​ได้​รับยกเว้นภาษี​เงิน​ได้​ใน​ส่วน​ที่ตน​ได้​ รับ

5. ผู้​มี​เงิน​ได้​ที่​จะ​ได้​รับยกเว้นภาษี​เงิน​ได้​ตามข้อ​ 1 ต้อง ​แสดงรายการเงิน​ได้​และ​จำ​นวนเงิน​ได้​ที่​ได้​รับยกเว้นภาษี​เงิน​ได้​ นั้น​ ​พร้อม​กับ​การยื่นแบบแสดงรายการภาษี​เงิน​ได้​บุคคลธรรมดา

ข้อสังเกตอย่างหนึ่งก็คือ​ ​ถึง​แม้ว่ากรมสรรพากร​จะ​ยกเว้นภาษี​เงิน​ได้​ให้​กับ​ผู้​สูงอายุที่มีอายุตั้งแต่​ 65 ปีขึ้นไป​และ​มี​เงิน​ได้​ไม่​เกิน​ 190,000 บาท​ใน​ปีภาษี​นั้น​หรือ​เฉลี่ยต่อเดือน​ 15,833.33 บาท​ ​ไม่​ต้อง​เสียภาษีอากรแต่​ยัง​คง​ต้อง​ยื่นแบบแสดงรายการภาษี​เงิน​ได้​บุคคลธรรมดาทุกปี

ที่มา ผู้จัดการรายสัปดาห์
อ้างอิง กฎกระทรวง ฉบับที่ 257 http://www.rd.go.th/publish/30226.0.html

1 ความคิดเห็น: