ถูกเลิกจ้าง เพราะนำรถประจำตำแหน่งไปใช้งานส่วนตัว

​เรื่องราวเกิดขึ้นเมื่อ​ "นายเฟื่องฟู​" ​หนุ่ม​ใหญ่​ที่น่า​จะ​เฟื่องฟู​ได้​เหมือนชื่อ​ ​พี่​แกมีลูกเมีย​ ​มีหน้าที่การงานทำ​เป็น​หลักฐาน​ ​อยู่​ใน​บริษัทที่​ไม่​เล็ก​ใน​เมืองไทย​ ​แต่​ใช้​ชื่อฝรั่งตามกระ​แส​ ​นิยม​ ​ตำ​แหน่งคง​ไม่​ย่อย​เพราะ​บริษัทจัดรถ​ไว้​ให้​ใช้​อีก​ด้วย​

​ความ​เฟื่องฟูของชีวิต​นั้น​ ​จะ​ว่าง่ายก็ดู​เหมือนง่าย​ ​หากระมัดระวัง​ใน​การดำ​เนินชีวิตของเรา​ ​ทุกย่างก้าว​ ​ไม่​อยู่​ใน​ความ​ประมาท​ ​จะ​ว่ายากก็ยาก​ ​เพราะ​เส้นทางของคนเรา​ ​ไม่​ได้​โรย​ด้วย​กลีบ​ ​กุหลาบ​ ​แม้กระทั่งคนอย่างท่านขงเบ้ง​ ​ผู้​หยั่งรู้ดินฟ้ามหาสมุทรของจีน​ใน​สมัย​ "สามก๊ก" ​ก็​ ​กระอักเลือด​ ​แก้ปัญหา​ไม่​ตก​ ​ค้ำ​ชูทายาทของท่านเล่าปี่​ ​ที่​ได้​รับการฝากฝัง​ ​ให้​รุ่งเรืองปลอดภัย​ ​ไม่​ได้​ ​ช้ำ​ใจตายก่อนวัยอันควร​ ​เพราะ​ความ​ไม่​เอา​ไหนของคนรอบข้าง​ส่วน​หนึ่ง​

​นายเฟื่องฟู​ ​ก็ทำ​ท่า​จะ​ไม่​เฟื่องฟู​ ​เพราะ​ยึดถือเอา​ความ​มักง่าย​เป็น​ที่ตั้ง​ ​นำ​รถที่บริษัทมอบ​ไว้​ ​ให้​ใช้​งาน​ใน​หน้าที่​ ​พาครอบครัวไปท่องเที่ยว​ ​รถเกิดอุบัติ​เหตุ​เสียหายแยะ​ ​ยัง​ดีที่คนบนรถรอด​ ​ตาย​ ​รถ​ต้อง​เข้า​อู่ซ่อมนาน​ 2 ​สัปดาห์​ ​แน่นอนนายจ้างโกรธจัด​ ​นายเฟื่องฟู​ ​จึง​ตกงานอย่าง​ ​กะทันหัน​

​คนเรา​ส่วน​ใหญ่​ใน​สมัยนี้​หรือ​สมัยไหนก็​แล้ว​แต่​ ​เกิดเหตุผิดพลาดขึ้นมา​ ​มัก​จะ​โทษคน​อื่น​ไว้​ก่อน​ ​นายเฟื่องฟู​ ​ก็​เช่น​กัน​ ​พอตกงานก็ล้งเล้งถือว่านายจ้างทำ​กับ​ตน​ไม่​ถูก​ต้อง​ ​จะ​มา​ไล่ออก​จาก​งาน​ ​ได้​อย่างไร​ ​แบบนี้​ต้อง​ฟ้องศาล​ให้​เห็นดำ​เห็นแดง​

​ศาล​ซึ่ง​เป็น​องค์กรที่คอยค้ำ​จุนบ้านเมืองอย่างสำ​คัญ​ ​บ้านเมืองไหนศาล​ไม่​เข้มแข็ง​ ​พังเอาง่ายๆ​ ​แต่​เจ้ากรรมศาลมัก​จะ​เป็น​ที่พึ่งของคนที่คิดผิด​ ​ทำ​ผิด​อยู่​เสมอ​ ​นายเฟื่องฟู​ ​ไปที่ศาลแรงงานกลาง​ ​ยื่นฟ้องบริษัท​ผู้​เป็น​นายจ้าง​ ​อ้างว่า​ไม่​มีสิทธิ์​ไล่​ ​นายเฟื่องฟู​ ​ออก​จาก​งานแบบ​ไม่​ให้​ตั้งตัว​ ​เขา​ไม่​ ​ได้​ทำ​ผิด​ ​รถที่​เสียหาย​เป็น​เรื่องอุบัติ​เหตุ​ทั่ว​ไป​ ​เกิดขึ้น​ได้​เสมอ​ ​เรียกร้อง​ให้​บริษัทจ่ายเงินค่าชดเชย​ ​เงินค่าจ้าง​ ​ฐาน​ไม่​บอกกล่าวล่วงหน้าว่า​จะ​ไล่ออก​ ​พร้อม​กับ​ค่าจ้างค้างจ่าย​

​บริษัทตก​เป็น​จำ​เลยซะงั้นแหละ​ ​ต้อง​หาทนายสู้คดี​ ​อ้างว่า​ ​นายเฟื่องฟู​ ​ไม่​ซื่อตรงต่อหน้าที่​ ​ฝ่าฝืน​ ​ระ​เบียบ​และ​คำ​สั่งของบริษัทอย่างแรง​ ​จึง​ไล่ออก​ได้​ ​ไม่​ต้อง​จ่ายอะ​ไร​ทั้ง​นั้น​ ​ขอ​ให้​ยกฟ้อง​

​ศาลแรงงานกลางพิจารณา​แบบสบายๆ​ ​ไม่​เครียดเหมือนคดีการเมือง​ ​แล้ว​ชี้ว่า​ ​นายเฟื่องฟู​ ​นำ​รถยนต์อัน​เป็น​ทรัพย์สินของบริษัทไป​ใช้​ธุระ​ส่วน​ตัว​ ​โดย​ไม่​เกี่ยว​กับ​การทำ​งาน​แล้ว​เกิด​ ​อุบัติ​เหตุ​ ​ทำ​ให้​รถยนต์​ได้​รับ​ความ​เสียหาย​ ​บริษัท​ไม่​มีรถยนต์​ใช้​ ​เป็น​การ​ไม่​ซื่อตรงต่อการปฏิบัติ​ ​หน้าที่​ ​ถือ​เป็น​การฝ่าฝืนระ​เบียบ​และ​คำ​สั่งของบริษัท​ใน​กรณีร้ายแรง​ ​บริษัทมีสิทธิ์​เลิกจ้าง​ ​นายเฟื่องฟู​ ​ได้​ ​โดย​ไม่​ต้อง​จ่ายค่าชดเชยตาม​ ​พรบ​. ​คุ้มครองแรงงาน​ ​ปี​ 2541 ​มาตรา​ 119 (4) ​และ​ถือ​เป็น​การทำ​ผิดร้ายแรง​ ​จำ​เลย​ไม่​ต้อง​จ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าตาม​ ​กฎหมายแพ่ง​ ​มาตรา​ 583 ​ให้​บริษัทจ่ายเฉพาะค่าจ้างที่ค้างจ่าย​

​นายเฟื่องฟู​ ​ฟ้อง​แล้ว​จะ​ได้​เงินแค่หมื่นกว่าบาท​ ​ไม่​ได้​หลายแสนบาทตามที่ตั้ง​ไว้​จะ​เอามา​เป็น​ ​ทุนเดินหางาน​ใหม่​ ​จึง​เล่นเกมยาว​ ​ยื่นอุทธรณ์​ไป​ยัง​ศาลฎีกา​ ​ตามประสาของคดี​แรงงาน​

​ศาลฎีกา​เพ่งดูคดีนี้จนหน้ามืด​เล็ก​น้อย​ ​แล้ว​ชี้ขาดออกมาว่า​

​คดีนี้ศาล​ต้อง​ขบ​ให้​แตกว่า​ ​นายเฟื่องฟู​ ​ฝ่าฝืนระ​เบียบข้อบังคับ​ ​เกี่ยว​กับ​การทำ​งาน​หรือ​คำ​สั่ง​ ​อันชอบ​ด้วย​กฎหมาย​และ​เป็น​ธรรมของบริษัท​ ​เข้า​ข่ายร้ายแรง​หรือ​ไม่​ ​เมื่อดูระ​เบียบข้อ​ ​บังคับเกี่ยว​กับ​การทำ​งานของบริษัท​ ​(​ซึ่ง​บริษัทต่างๆ​ ​ต้อง​มี​ไว้​ ​ไม่​งั้นเสียงาน​และ​การต่อสู้คดี​- ​ผมขอแนะนำ​) ​เรื่องวินัย​ ​โทษทางวินัย​และ​การพนักงานข้อ​ 1.4.3 ​ระบุว่า​ "พนักงาน​ต้อง​ไม่​นำ​ ​อุปกรณ์​หรือ​ทรัพย์สินของบริษัท​ ​ฯ​ ​ไป​ใช้​นอกเหนือ​จาก​การทำ​งาน​ให้​แก่บริษัท​ ​โดย​ไม่​ได้​รับ​ ​อนุญาต​จาก​ผู้​บังคับบัญชา​"

​ศาลเห็นว่า​ ​นายเฟื่องฟู​ ​นำ​รถยนต์ที่บริษัทเช่ามา​ให้​ทำ​งานของบริษัท​ ​ขับพาลูกเมีย​ ​ของตนโจทก์​ไปเที่ยว​แล้ว​เกิดอุบัติ​เหตุ​ ​ทำ​ให้​รถยนต์​ได้​รับ​ความ​เสียหายอย่างมาก​ ​เป็น​การนำ​รถยนต์ของบริษัทไป​ใช้​ส่วน​ตัว​โดย​ไม่​ได้​ทำ​งาน​ให้​แก่บริษัท​ ​และ​ไม่​ได้​รับ​ ​อนุญาต​ ​เป็น​การ​ไม่​ซื่อตรงต่อการปฏิบัติหน้าที่​ ​อาศัยตำ​แหน่งหน้าที่นำ​รถยนต์ของบริษัท​ ​ไป​ใช้​เพื่อประ​โยชน์​ส่วน​ตัว​ ​จนก่อ​ให้​เกิด​ความ​เสียหายแก่บริษัท​ ​ทำ​ให้​ไม่​มีรถยนต์​ใช้​งานนาน​ถึง​ 2 ​สัปดาห์​ ​ถือว่าฝ่าฝืนระ​เบียบข้อบังคับเกี่ยว​กับ​การทำ​งาน​ใน​กรณีร้ายแรง​ ​บริษัท​สามารถ​ ​เลิกจ้าง​ ​นายเฟื่องฟู​ ​ได้​โดย​ไม่​ต้อง​จ่ายค่าชดเชย​ ​และ​ไม่​ต้อง​จ่ายสินจ้างแทนการบอก​ ​กล่าวล่วงหน้า​ ​ได้​เฉพาะค่าจ้างค้างจ่ายตามที่ศาลล่างว่า​ไว้​ ​กับ​ดอกเบี้ย​เท่า​นั้น​

​จำ​ไว้​นะครับ​ ​รถประจำ​ตำ​แหน่งทำ​ให้​ได้​รับ​ความ​เดือดร้อนมานัก​แล้ว​ ​โดย​เฉพาะคนที่​ ​ทำ​งาน​ใน​บริษัท​ ​ห้างร้าน​ ​ทั้ง​หลาย​ ​หรือ​ใน​รัฐวิสาหกิจ​ ​ส่วน​รถประจำ​ตำ​แหน่งของฝ่าย​ ​ข้าราชการ​นั้น​ไม่​เท่า​ไร​ ​เห็นเอา​ไปจ่ายตลาด​ ​เอา​ไป​ใช้​ส่วน​ตัว​ได้​สบาย​อยู่​แล้ว​ ​ตำ​แหน่ง​ ​ใหญ่​เท่า​ไร​ ​ยิ่งสบาย​เท่า​นั้น​แล​


จาก​คำ​พิพากษาศาลฎีกาที่​ 389/2548

ที่มา http://www.autoinfo.co.th/page/th/article_event/detail.php?id=26461

มาเปลี่ยน blogspot ให้เป็น domain name ดีกว่า

blogspot สนับสนุนการใช้ชื่อโดเมน โดยเราสามารถจดชื่อโดเมนแล้วนำมาผูกเข้ากับบล๊อคได้ แต่ถ้าจะให้ดีควรจดชื่อโดเมนผ่านระบบของ google ดีกว่า เพราะสะดวกไม่ต้องเข้าไปปรับตั้งค่าใดๆ ระบบอัตโนมัตของ google จะจัดการให้ทั้งหมด เรามาดูวิธีการตั้งค่า blogspot ให้เป็นชื่อโดเมนกันนะครับ


1.หลังจากเรา login เข้าสู่บล๊อคแล้ว ให้เลือกหัวข้อ การตั้งค่า เลือก การเผยแพร่ เลือก โดเมนที่กำหนดเอง


blogspot domain-1


2.ถ้าเรายังไม่มี Domain name เราสามารถเข้าไปป้อนชื่อโดเมนและซื้อผ่านระบบอัตโนมัตของ google ได้ ข้อดีก็คือเราไม่ต้องไปกำหนดค่าอะไรทั้งนั้น ทาง google จะเป็นคนจัดการให้เอง


ในที่นี่เรามีชื่อ Domain อยู่แล้วให้คลิ๊กเลือก เปลี่ยนเป็นการตั้งค่าขั้นสูง


blogspot domain-2


3.ป้อนชื่อ Domain ของเราลงไปและกดบันทึกการตั้งค่า เป็นอันเรียบร้อยสำหรับการกำหนดค่าใน blogspot แต่เรายังต้องเข้าไปตั้งค่าใน Domain ที่เราซื้อมาด้วย


blogspot domain-3


4.ของผมซื้อ Domain ผ่าน yahoo small business ในราคา US$1.99 (หรือประมาณ 70 บาท ถูกมากแต่ปีต่อไปจะคิดแพง คงต้องย้ายไปที่อื่น) มาดูการตั้งค่าใน yahoo domain กันนะครับ จากหน้าเว็บ yahoo small business เลือก Domain Control Panel จะเข้าสู่หน้าจอดังนี้


yahoo domain-1


5.ให้เลือก Manage Advanced DNS Settings ที่ช่อง Source ให้พิมพ์ www ลงไป และที่ช่อง Destination ให้พิมพ์ ghs.google.com


yahoo domain-2 เป็นอันเสร็จเรียบร้อย หลังจากนั้นก็รอๆๆ โดยทาง google แจ้งว่าต้องใช้เวลาในการ update DNS อย่างน้อย 24-48 ชั่วโมง (ประมาณไม่เกิน 2 วัน) แต่เท่าที่ทดสอบมาแล้ว 2 ครั้งพบว่าใช้เวลาประมาณ 2 ชั่วโมง ก็สามารถเข้าไปใช้งานได้ ทั้งนี้น่าจะแล้ว host ของแต่ละที่นะครับ


อีกเรื่องคือ Domain name ที่จะมาเอามาใช้ผูกกับ blogspot จะต้องรองรับการใช้งาน CNAME เพราะฉะนั้นก่อนจะเลือกจดทะเบียนที่ไหนลองเช็คดูก่อนนะครับ


มาลองใช้ Domain name ฟรีดูก่อนก็ได้ ถ้า work ค่อยไปจดชื่อโดเมน มีที่ให้จดโดเมนฟรีที่ www.co.cc ที่นี่รองรับ CNAME ด้วยนะครับ แต่โดเมนจะลงท้ายด้วย .co.cc นะครับ ทั้งนี้เราสามารถจดชื่อโดมนได้ไม่เกิน 2 ชื่อต่อ 1 account (เมื่อก่อนเคยให้จดได้ถึง 5 ชื่อ) มาดูวิธีการตั้งค่า CNAME ของ .CO.CC ดูนะครับ


หลังจากสมัครสมาชิกเรียบร้อยแล้วให้ Login เข้าระบบแล้วเลือก Manage Name Server เลือก Zone Recond ข้อ 2 ที่ช่อง host ให้พิมพ์ชื่อ โดเมนที่เราตั้งไว้ ที่ช่อง TTL: เลือกเป้น 1D และที่ช่อง type ให้เลือกเป็น CNAME


cocc-1


แค่นี้ก็เรียบร้อยครับ มาลองดูตัวอย่างกันนะครับ www.kiatichai.co.cc อันนี้จะเป็น blog ชื่อ http://kiatichai.blogspot.com


หมายเหตุ


1.การเปลี่ยนไปใช้ชื่อโดเมนควรเริ่มตั้งแต่เริ่มทำ Blog เพราะถ้ามาทำทีหลังจะมีปัญหากับเรื่อง PageRange ที่จะมีการลดค่าลง แล้วก็ รูป (Picture) ที่โพสไว้จะ error หา url ไม่พบ ส่วน Sitemaps เดิมก็จะไม่สามารถใช้งานได้ต้องเข้าไปแก้ไข (มันจะขึ้น error) ยกเว้น ถ้าคุณจดทะเบียนชื่อโดเมนผ่าน google ระบบของ google จะจัดการให้ทั้งหมดโดยเราไม่ต้องเข้าไปแก้ไขอะไรทั้งสิ้น


2.มีวิธีที่จะทำให้โดเมนที่จดมาใหม่ วิ่งไปที่ blog ได้ โดยการเข้าไปตั้งค่า Forward Url ดังนี้(1) เลือก Domain Control Panel (2) เลือก Forward Domain (3)ตั้งค่าให้ Destination Address เป็น url ของ Blogspot แค่นี้ก็เรียบร้อย


Forward URL


.

การทำ Sitemaps ให้ Blogspot

บอกตามตรงนะครับ ผมว่ามันไม่ค่อยจำเป็นเท่าไหร่ เพราะปกติ google จะส่ง bot เข้ามาที่เว็บเราอยู่แล้ว ไม่ว่าจะทำ sitemaps หรือไม่ทำก็ตาม แต่ถ้าคุณอยากปรับปรุง อยากลองหรืออยากให้ bot ทำงานง่ายขึ้น คำตอบสุดท้ายก็คือ ทำไว้ดีกว่าไม่ทำ


1.มาดูวิธีการทำ sitemaps ให้กับ blogspot ขั้นแรกเราต้องเข้าไปที่ google webmaster center ก่อน ที่ www.google.com/webmasters/ จากนั้นให้เลือกหัวข้อ Site in to webmaster tools


sitemaps-1


2.จากนั้นให้ login ด้วย email ที่เคยลงลงทะเบียนไว้ ตามภาพ


sitemaps-2


3.เมื่อ login เรียบร้อยแล้วจะเข้าสู่ Dashboard ที่จะให้เราป้อนที่อยู่ของ blogspot ที่เราเคยทำเอาไว้หลังจากนั้นให้กด Add Site


sitemaps-3


4.จะเข้าสู่หน้าจอถัดมา ซึ่งเราจะต้องทำการ Verify ต่ออีก กด Verify your site


sitemaps-4


5.จะเข้าสู่หน้าจอถัดมาให้เลือก Add a meta tag ดังภาพ


sitemaps-5


6.ให้ copy โค๊ตเก็บหรือจะ copy แล้วไปวางไว้ใน notepad ชั่วคราวก่อนก็ได้ แล้วให้ออกจาก webmaster tools ก่อน เพื่อจะไปที่ blogspot แล้วจะได้เติมโค๊ตนี้ลงไป ไปที่ www.blogger.com แล้ว login เข้าสู่ Blogspot จากนั้นให้กดเลือก รูปแบบ แล้ว


เลือก แก้ไข HTML หาคำว่า <head> ให้เจอแล้วแทรก code ที่ได้จากการทำข้อ 5 ลงไปต่อจากบรรทัดนี้ แล้วกด save ที่ด้านล่าง บันทึกเทมเพลท


sitemaps-6


7.กลับมาที่ google webmaster tools คลิ๊ก Add


sitemaps-7


8.จากนั้นในช่องสี่เหลี่ยมให้เลือก Add General Web Sitemap ที่ด้านข้อ 3 My Sitemap URL is ให้กรอก atom.xml หรือ rss.xml อันไหนก็ได้ดีเหมือนกัน (ย่อๆ ก็คือ atom เป็นของ google ส่วน rss มีมาก่อนคนเลยใช้มากกว่า) แล้วกด Add General Web Sitemap


sitemaps-8


9.เป็นอันเสร็จเรียบร้อย สังเกตที่ Status จะเป็น Pending อยู่ ใช้เวลาไม่นานหลังจากนั้นสถานะก็จะเปลี่ยนไปเป็น OK


sitemaps-9


.

การเปลี่ยน Theme ให้กับ Blogspot

ผมเองเปลี่ยน theme มาหลายอันแล้ว ก่อนที่จะมาลงตัวที่ theme นี้ โดยปกติทาง Blogspot เตรียม Theme ให้เราอยู่แล้วซึ่งเราสามารถเลือกได้จากเมนู เลือกเทมเพลทใหม่ (ทำไมเรียกว่าเทมพลทนะ น่าจะเรียกว่าธีม) ถ้าเราพอใจ ที่ทางบล๊อคจัดมาให้ก็จบ แต่ถ้าเราไม่พอใจ เราสามารถไปหาโหลดจาก Internet ส่วนใหญ่จะให้ download ฟรี ไฟล์นี้จะมีนามสกุลเป็น xml เมื่อได้ไฟล์มาแล้วเรามาดูขั้นตอนการเปลี่ยน theme ให้กับ blogspot กันนะครับว่าทำยังไง


1.เมื่อ login แล้วจะเข้าสู่หน้าแรก แผงควบคุม ให้เลือก รูปแบบ


blog theme-1


2.ต่อมาให้เลือก แก้ไข HTML


blog theme-2


3.แนะนำให้ทำการ Backup ธีมอันเก่าไว้ก่อน (ไม่ทำก็ได้ถ้าไม่อยากเก็บอันเก่าไว้) กด Browse เลือกไฟล์ธีมที่เรา download มาเก็บไว้ที่เครื่องของเรา ไฟล์จะมีนามสกุลเป็น xml เสร็จแล้วสั่ง อัปโหลด


blog theme-3


4.จะมีข้อความขึ้นมาว่าจะมีการลบเครื่องมือ ให้กด ยืนยันและบันทึก (เป็นเครื่องมือที่ธีมเตรียมไว้อยู่แล้ว จึงต้องลบที่มีอยู่เดิมออกไปก่อน ทั้งนี้เราสามารถเพิ่มลดได้ในภายหลัง) ต่อจากนั้นจะมีข้อความขึ้นมาว่า การเปลี่ยนแปลงของคุณถูกบันทึกแล้ว กดคลิ๊กเพื่อดูบล๊อค


blog theme-4


5.มาดูตัวอย่าง blog หลังจากอัปโหลดธีมใหม่ดูนะครับ


blog theme-5


.

คำถามบางส่วนจากการสัมมนา วิเคราะห์เจาะลึกมาตรการภาษีใหม่เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจไทย

คำถาม1 กรณีที่บริษัทประกอบธุรกิจบริการโดยใช้รถยนต์ที่ประหยัดพลังงาน รถยนต์สามารถนำไปลดภาษีได้หรือไม่
คำตอบ การประหยัดพลังงานไม่รวมยานพาหนะ

.

คำถาม2 อ้างถึงประกาศกรมที่ดินวันที่ 7 พฤษภาคม 2551 สงสัยว่า บ้านพร้อมที่ดินกรณีรีไฟเน้นซ์จะได้สิทธิค่าโอนจำนอง 0.01 หรือไม่ เนื่องจากเพื่อนไปโอนมาอาทิตย์ก่อนไม่ได้สิทธิ

คำตอบ การรีไฟเน้นซ์ไม่ใช่เป็นเรื่องของการซื้อขาย จึงไม่ได้สิทธิ

.

คำถาม3 กรณีได้รับเงินปันผลจากกองทุน LTF จะต้องคำนวณภาษีอย่างไร
คำตอบ กองทุน LTF เป็นกองทุนรวมที่จัดตั้งตามพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาด
หลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ไม่ใช่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล ตามมาตรา 39 แห่ง
ประมวลรัษฎากร จึงไม่มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้นิติบุคคล และเงินส่วนแบ่งของกำไรที่ได้รับจากกองทุนดังกล่าว ถือเป็นเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40(8) แห่งประมวลรัษฎากร ผู้ได้รับเงินส่วนแบ่งของกำไรไม่ได้รับเครดิตภาษีตามมาตรา 47 ทวิ แห่งประมวลรัษฎากร แต่หากผู้ได้รับเงินปันผลยอมให้ผู้จ่ายเงินได้นั้นหักภาษี ณ ที่จ่ายตามมาตรา 50(2) แห่งประมวลรัษฎากร ในอัตราร้อยละ 10.0 ของเงินได้ เมื่อถึงกำหนดยื่นรายการ ผู้ได้รับเงินส่วนแบ่งของกำไรได้รับยกเว้นไม่ต้องนำเงินส่วนแบ่งของกำไรดังกล่าวมารวมคำนวณเพื่อเสียภาษีเงินได้ ทั้งนี้ เฉพาะกรณีผู้ได้รับเงินส่วนแบ่งของกำไรไม่ขอรับภาษีที่ถูกหักไว้นั้นคืนหรือไม่ขอเครดิตเงินภาษีที่ถูกหักไว้นั้น ไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วน ตามพระราชกฤษฎีกาฯ(ฉบับที่ 262) พ.ศ.2536
.

คำถาม4 กรณีบิดา มารดา มีดอกเบี้ยรับคนละ 25,000 บาท และนำยื่นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาขอคืนภาษีหัก ณ ที่จ่ายที่ธนาคารหักไว้ บุตรยังจะนำบิดา มารดา มาหักลดหย่อนค่าอุปการะเลี้ยงดูบิดา มารดา ได้อีก คนละ 30,000 บาท หรือไม่
คำตอบ ได้สิทธิ เพราะบิดาและมารดาต่างฝ่ายต่างมีเงินได้ในปีภาษีนั้นไม่เกิน 30,000
บาท ต่อปี หากบิดา มารดา มีอายุหกสิบปีขึ้นไปและผู้มีเงินได้ต้องมีหลักฐานรับรองการ
อุปการะเลี้ยงดูจากบิดา มารดา ที่ผู้มีเงินได้ใช้สิทธิหักลดหย่อนค่าอุปการะเลี้ยงดู

คำถาม5 กรณีบริษัทมีทุนที่ชำระแล้ว 10 ล้านบาท และต้องการลดทุนจดทะเบียนให้เหลือ 5 ล้านบาทเพื่อใช้ประโยชน์อัตราก้าวหน้า แต่มีขาดทุนสะสม 6 ล้านบาท ถ้าลดทุนแล้วจะมีขาดทุนสะสมเกินทุน จะมีผลอะไรหรือไม่คำตอบ หากกรมพัฒนาธุรกิจการค้ายอมให้กระทำได้ ก็ได้สิทธิอัตราภาษีก้าวหน้าด้วยและผู้ถือหุ้นจะเกิดเงินได้พึงประเมินเฉพาะส่วนที่จ่ายไม่เกินกว่ากำไรและเงินที่กันไว้รวมกัน

.

คำถาม6 พ่อพิการ มีบุตร 2 คน อยู่ร่วมกันทั้ง 3 คน บุตรคนที่ 1 ใช้สิทธิหักลดหย่อนค่าอุปการะเลี้ยงดูบิดา 30,000 บาท บุตรคนที่ 2 ใช้สิทธิหักลดหย่อนบิดาพิการ 30,000 บาท สามารถแยกการหักลดหย่อน 2 คนได้หรือไม่
คำตอบ ได้ และต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่กฎหมายกำหนด

.

สรุป 19 มาตรการภาษีตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 4 มีนาคม 2551

เป็นข้อมูลสรุปจากการสัมมนา ที่จัดโดยศูนย์พัฒนาวิชาชีพบัญชี คณะบัญชี มหาวิทยาลัยกรุงเทพ  เมื่อวันที่ 17 มิถุนายน 2551
เรื่อง วิเคราะห์เจาะลึกมาตรการภาษีใหม่เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจไทย
สรุป 19 มาตรการภาษีตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 4 มีนาคม 2551
อ.รุ่งทิพย์ ธัญวงศ์ และ อ.อดิศักดิ์ สืบประดิษฐ์


ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา 7 มาตรการ
   1) ปรับเพิ่มเงินได้สุทธิที่ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาจากเดิม 100,000 บาท เพิ่มขึ้นเป็น 150,000 บาท (ตามพระราชกฤษฎีกาฯ (ฉบับที่ 470))
   2) ปรับเพิ่มวงเงินการยกเว้นและการหักค่าลดหย่อนเบี้ยประกันชีวิตจากเดิม 50,000 บาท เพิ่มขึ้นเป็น 100,000 บาท (ตามกฎกระทรวง ฉบับที่ 266 ข้อ 5 แก้ไขกฎกระทรวง ฉบับที่ 126 ข้อ 61)
   3) ปรับเพิ่มวงเงินการหักลดหย่อนเงินได้เท่าที่จ่ายเป็น
       - ค่าซื้อหน่วยลงทุนในกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ (RMF)
       - เงินสะสมเข้ากองทุนสำรองเลี้ยงชีพ
       - เงินสะสมเข้ากองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ
       - เงินสะสมเข้ากองทุนสงเคราะห์ตามกฎหมายว่าด้วยโรงเรียนเอกชน
จากเดิมรวมกันไม่เกิน 300,000 บาท เพิ่มขึ้นเป็นรวมกันไม่เกิน 500,000 บาท (ตามกฎกระทรวง ฉบับ ที่ 266 ข้อ 1 - ข้อ 4 แก้ไขกฎกระทรวง ฉบับที่ 126 ข้อ 55 , ข้อ 35 , ข้อ 43 , ข้อ 54)
   4) ปรับเพิ่มวงเงินการหักลดหย่อนเงินได้เท่าที่จ่ายเป็นค่าซื้อหน่วยลงทุนในกองทุนรวมหุ้นระยะยาว (LTF)
จากเดิมไม่เกิน 300,000 บาท เพิ่มขึ้นเป็นไม่เกิน 500,000 บาท (ตามกฎกระทรวง ฉบับที่ 266 ข้อ 6 แก้ไขกฎกระทรวง ฉบับที่ 126 ข้อ 66)
   5) เพิ่มการหักค่าลดหย่อนค่าอุปการะเลี้ยงดูคู่สมรส บิดา มารดา บุตรชอบด้วยกฎหมายหรือบุตรบุญธรรมของผู้มีเงินได้หรือคู่สมรส ซึ่งเป็นคนพิการที่ไม่สามารถช่วยเหลือตนเองได้และมีบัตรประจำตัวคนพิการ ตามพระราชบัญญัติส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ พ.ศ.2550 โดยให้หักได้ 30,000 บาทต่อ คนพิการ (กฎหมายยังไม่ออก)
   6) ยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาแก่ห้างหุ้นส่วนสามัญหรือคณะบุคคลที่ไม่ใช่นิติบุคคล ซึ่งเป็นวิสาหกิจ ชุมชนตามพระราชบัญญัติส่งเสริมวิสาหกิจชุมชน พ.ศ.2548 และมีเงินได้พึงประเมินไม่เกิน 1,200,000 บาทต่อปี ใช้สำหรับเงินได้พึงประเมินที่ได้รับตั้งแต่ปี 2551 ถึง 2553 (ตามกฎกระทรวง ฉบับที่ 266 ข้อ 7 เพิ่มเติมกฎกระทรวง ฉบับที่ 126 ข้อ 78)
   7) ให้บุคคลธรรมดา สามารถหักค่าใช้จ่ายเพื่อการได้มาซึ่งทรัพย์สินประเภทเครื่องจักรและอุปกรณ์หรือ วัสดุที่มีผลต่อการประหยัดพลังงานโดยรวมค่าติดตั้งได้ 1.25 เท่าของค่าใช้จ่าย ทั้งนี้ทรัพย์สินจะต้อง ได้มาและพร้อมใช้งานได้ภายในวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2553 (กฎหมายยังไม่ออก)

 

ภาษีเงินได้นิติบุคคล 10 มาตรการ 
  1) ปรับปรุงอัตราภาษีเงินได้นิติบุคคลสำหรับบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่มีทุนที่ชำระแล้วในวัน สุดท้ายของรอบระยะเวลาบัญชีไม่เกิน 5 ล้านบาท จากเดิมที่จัดเก็บในอัตราก้าวหน้า โดย กำไรสุทธิในส่วน 1,000,000 บาทแรก จัดเก็บในอัตราร้อยละ 15
กำไรสุทธิส่วนที่เกิน 1,000,000 บาท แต่ไม่เกิน 3,000,000 บาท จัดเก็บในอัตราร้อยละ 25 และกำไรสุทธิส่วนที่เกิน 3,000,000 บาท จัดเก็บในอัตราร้อยละ 30 เป็นการยกเว้นภาษีเงินได้สำหรับกำไรสุทธิเฉพาะส่วนที่ไม่เกิน 150,000 บาท และสำหรับกำไรสุทธิ ส่วนที่เหลือให้คงจัดเก็บในอัตราเดิม ทั้งนี้ให้มีผลบังคับใช้สำหรับกำไรสุทธิของ บริษัทหรือห้างหุ้นส่วน นิติบุคคลที่เกิดขึ้นในรอบระยะเวลาบัญชีซึ่งเริ่มในหรือหลังวันที่ 1 มกราคม พ.ศ.2551 เป็นต้นไป (ตามพระราชกฤษฎีกาฯ (ฉบับที่ 471))
   2) ให้บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล สามารถหักค่าใช้จ่ายเพื่อการได้มาซึ่งทรัพย์สินประเภท เครื่องจักร และอุปกรณ์หรือวัสดุที่มีผลต่อการประหยัดพลังงานโดยรวมค่าติดตั้งได้ 1.25 เท่าของ ค่าใช้จ่าย ทั้งนี้ ทรัพย์สินจะต้องได้มาและพร้อมใช้งานได้ภายในวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2553
   3) ให้บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล สามารถหักค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคาเบื้องต้นของทรัพย์สิน ประเภทเครื่องจักรและอุปกรณ์ที่ใช้ผลิตสินค้าหรือให้บริการ ในวันที่ได้ทรัพย์สินนั้นมาในอัตราร้อยละ 40 ของมูลค่าต้นทุน สำหรับมูลค่าต้นทุนส่วนที่เหลือให้หักตามอัตราปกติ ทั้งนี้ ทรัพย์สินจะต้องได้มา และพร้อมใช้งานได้ภายในวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2553
   4) ให้บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล สามารถหักค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคาของทรัพย์สินประเภท โปรแกรมคอมพิวเตอร์ ได้ภายในเวลา 3 รอบระยะเวลาบัญชี นับแต่วันที่ได้ทรัพย์สินนั้นมา
   5) ให้บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่มีทรัพย์สินถาวรไม่รวมที่ดินไม่เกิน 200 ล้านบาท และจ้างแรงงาน ไม่เกิน 200 คน สามารถหักค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคาเบื้องต้นของทรัพย์สินประเภทโปรแกรม คอมพิวเตอร์ ในวันที่ได้ทรัพย์สินนั้นมาในอัตราร้อยละ 40 ของมูลค่าต้นทุน สำหรับมูลค่าต้นทุนส่วนที่ เหลือให้หักภายในเวลา 3 รอบระยะเวลาบัญชี นับแต่วันที่ได้ทรัพย์สินนั้นมา
   6) ให้บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่มีทรัพย์สินถาวรไม่รวมที่ดินไม่เกิน 200 ล้านบาทและจ้างแรงงาน ไม่เกิน 200 คน สามารถเลือกหักค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคาของทรัพย์สินได้ในอัตราร้อยละ 100 ของ มูลค่าต้นทุน โดยมูลค่าต้นทุนของทรัพย์สินดังกล่าวรวมกันแล้วต้องไม่เกิน 500,000 บาทในหนึ่งรอบ ระยะเวลาบัญชี ทั้งนี้ใช้สำหรับทรัพย์สินตามมาตรา 4(5) ของ พระราชกฤษฎีกาฯ ว่าด้วยค่าสึกหรอและ ค่าเสื่อมราคาของทรัพย์สิน (ฉบับที่ 145) พ.ศ. 2527 โดยทรัพย์สินจะต้องได้มาและพร้อมใช้งานได้ ภายในวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ.2553 หมายเหตุ มาตรการที่ 2- 6 กฎหมายยังไม่ออก ให้ลดอัตราภาษีเงินได้นิติบุคคลสำหรับบริษัทที่นำหลักทรัพย์เข้าไปจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่ง ประเทศไทย ดังต่อไปนี้
  7) ลดอัตราภาษีเงินได้นิติบุคคลจากร้อยละ 30 เหลือร้อยละ 20 ของกำไรสุทธิ สำหรับบริษัทที่จดทะเบียน เข้าใหม่เป็นบริษัทในตลาดหลักทรัพย์เอ็มเอไอ (MAI) ตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาด หลักทรัพย์ เป็นเวลา 3 รอบระยะเวลาบัญชีต่อเนื่องกันนับแต่รอบระยะเวลาบัญชีแรกที่เริ่มในหรือหลัง วันที่บริษัทได้จดทะเบียนกับตลาดหลักทรัพย์เอ็มเอไอ
  8) ลดอัตราภาษีเงินได้นิติบุคคลจากร้อยละ 30 เหลือร้อยละ 25 ของกำไรสุทธิ สำหรับบริษัทที่จดทะเบียน
เข้าใหม่เป็นบริษัทในตลาดหลักทรัพย์ (SET) ตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ เป็น เวลา 3 รอบระยะเวลาบัญชีต่อเนื่องกัน ทั้งนี้บริษัทต้องยื่นคำขอจดทะเบียนหลักทรัพย์กับตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ตามกฎหมายว่า ด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ระหว่างวันที่ 1 มกราคม 2551 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2551 และได้รับ การจดทะเบียนหลักทรัพย์ภายในวันที่ 31 ธันวาคม 2552
ให้ลดอัตราภาษีเงินได้นิติบุคคลสำหรับบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่เป็นบริษัทจดทะเบียนในตลาด หลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ดังต่อไปนี้
  9) ลดอัตราภาษีเงินได้นิติบุคคลจากร้อยละ 30 เหลือร้อยละ 20 ของกำไรสุทธิ สำหรับบริษัทที่จดทะเบียน กับตลาดหลักทรัพย์เอ็มเอไอ (MAI) ทั้งนี้เฉพาะกำไรสุทธิในส่วนที่ไม่เกิน 20 ล้านบาท เป็นเวลา 3 รอบ ระยะเวลาบัญชีต่อเนื่องกันนับแต่รอบระยะเวลาบัญชีแรกที่เริ่มใน หรือหลังวันที่1 มกราคม 2551
  10) ลดอัตราภาษีเงินได้นิติบุคคลจากร้อยละ 30 เหลือร้อยละ 25 ของกำไรสุทธิ สำหรับบริษัทที่เป็นบริษัท จดทะเบียน ตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (SET) ทั้งนี้เฉพาะกำไรสุทธิในส่วนที่ไม่ เกิน 300 ล้านบาท เป็นเวลา 3 รอบระยะเวลาบัญชีต่อเนื่องกันนับแต่รอบระยะเวลาบัญชีแรกที่เริ่มในหรือ หลังวันที่1 มกราคม 2551

 

ภาษีธุรกิจเฉพาะ 1 มาตรการ

   1) ตามพระราชกฤษฎีกาฯ (ฉบับที่ 472) ให้ลดอัตราภาษีธุรกิจเฉพาะ จากเดิมที่กำหนดไว้อัตราร้อยละ 3 เป็นอัตราร้อยละ 0.1 สำหรับรายรับ ก่อนหักรายจ่ายใดๆ จากกิจการขายอสังหาริมทรัพย์เป็นทางค้าหรือหากำไร ทั้งนี้เฉพาะการจดทะเบียนสิทธิ และนิติกรรมเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์ที่ได้กระทำภายใน 1 ปี ตั้งแต่ 29 มีนาคม 2551 - 28 มีนาคม 2552

 

ค่าธรรมเนียมการจดทะเบียนอสังหาริมทรัพย์ 1 มาตรการ

   1) ตามประกาศกระทรวงมหาดไทย ให้เรียกเก็บค่าธรรมเนียมการจดทะเบียนการโอนและการจำนองอสังหาริมทรัพย์ร้อยละ 0.01 ที่ได้ กระทำตั้งแต่ 29 มีนาคม 2551 - 28 มีนาคม 2552 ที่อยู่อาศัยที่เป็นที่ดิน อาคาร หรืออาคารพร้อมที่ดิน ประเภทบ้านเดี่ยว บ้านแฝด บ้านแถว อาคารพาณิชย์ ตามกฎหมายจัดสรรที่ดิน อาคารสำนักงาน ตาม กฎหมายฯ และห้องชุด ตามกฎหมายฯ ต่อมาขยายรวมถึงอาคาร หรืออาคารพร้อมที่ดินไม่เกิน 1 ไร่ และมิใช่ ตามกฎหมายจัดสรรที่ดิน ที่ได้กระทำถึง 28 มีนาคม 2552

.

แนะนำโปรแกรมบัญชีใช้งานฟรี Formula

ที่จริงรู้มาตั้งแต่ปีก่อนแล้วว่า โปรแกรม Formula เปิดให้ใช้งานฟรี แต่ตอนนั้นเพื่อนบอกว่าสำนักงานบัญชีใช้งานโปรแกรมบัญชีฟรี แต่การใช้งานต้องใช้ผ่านระบบ online ทำให้ต้องซื้อบริการ ฟังดูแล้ว เลยไม่สนใจที่จะเอามาใช้งาน แต่ที่จริงเราสามารถใช้งานในแบบ offline ได้แบบปกติทั่วไป

 

จนกระทั้งเมื่อเดือนก่อน มีความคิดว่าจะหาโปรแกรมบัญชีสำเร็จรูปมาใช้งานแทนตัวเก่า เงื่อนไขก็คือต้องเป็นโปรแกรมบัญชีสำเร็จรูปของคนไทย เพราะจะได้ไม่มีปัญหาในเรื่องระบบภาษีมูลค่าเพิ่ม ภาษีหัก ณ ที่จ่าย เป็นต้น ผมเองใช้เวลารวบรวมข้อมูลแล้วคิดว่าโปรแกรม Prosoft myAccount น่าสนใจที่สุด ดูจาก Feature แล้ว มีระบบ Dilldown ซึ่งจะทำให้การจัดทำงบง่ายขึ้น เมื่อต้องย้อนข้อมูลจาก Trial balance กลับไปดู Transaction ซึ่งตัวอื่นๆ น่าจะไม่มี และราคาก็ไม่แพงเท่าไหร่ น่าจะไม่ถึง 20,000 บาท (ส่วนใหญ่โปรแกรมบัญชีราคาก็จะอยู่ประมาณนี้อยู่แล้ว และต้องมีครบทุกระบบ)

 

ผมเอาเอกสารโบรชัว ที่เคยได้รับแจกตอนไปสัมมนาที่ ศูนย์ประชุมอิมแพคมาดูอีกที ถึงโปรแกรมบัญชีที่แจกฟรีของ Formula  ตอนนั้น จำได้ว่าที่บู๊ตจะเอาคู่มือโปรแกรมมาขายในราคา 500 บาท แถม CD โปรแกรมบัญชี Formula

 

ตอนนี้ผมได้ทดลอง download โปรแกรมมาใช้ดูแล้ว พบว่า สามารถใช้งานได้จริง โดยทาง CrytalSoftware เปิดให้ download โปรแกรมทั้งหมด 5 รุ่น ได้แก่

1.Formula Small Biz

2.Formula Accounting Firm

3.Formula SmartBiz

4.Formula Payroll (จำกัดจำนวนพนักงานไม่เกิน 50 คน ถ้าเกินน่าจะต้อง upgrade โปรแกรมแล้วเสียเงินเพิ่ม)

5.Formula POS (ตัวนี้เห็นในเอกสารที่เคยได้รับแจกมา แจ้งว่าจะเปิดให้ download ได้ตั้งแต่วันที่ 31/03/2551 แต่ผมยังไม่เห็นเปิดให้ download ใน เว็บเลยตอนนี้)

ทุกรุ่นทำงานในแบบ Stand Alone ถ้าต้องการใช้งานบน Lan ต้อง upgrade และเสียค่าบริการเพิ่มเติม

 

แปลกนะครับ เปิดให้ download เกือบครบเลย น่าจะเป็นเพราะนโยบายของกระทรวงพาณิชย์นะครับที่ต้องการให้ธุรกิจขนาดเล็ก (ซึ่งมีจำนวนมากและส่วนใหญ่ใช้บริการสำนักงานบัญชี) ได้ใช้โปรแกรมที่มีมาตรฐาน ทางกรมพัฒนาธุรกิจ กระทรวงพาณิชย์น่าจะเป็นผู้สนับสนุนค่าใช้จ่ายโปรแกรมตัวนี้นะครับ จึงทำให้เราสามารถ download โปรแกรมมาใช้งานได้ฟรีหลายตัว ซึ่งก็น่าจะเพียงพอต่อการใช้งานของธุรกิจขนาดเล็กได้เป็นอย่างดี

 

เราลองมาดูนะครับว่าโปรแกรม small Biz, Accounting Firm กับ Smart Biz ต่างกันอย่างไร พูดง่ายๆ เลยก็คือ Small Biz + Accounting Firm = Smart Biz เพราะฉะนั้นโหลดตัว SmartBiz ไปตัวเดียวก็พอ บวกกับ payroll

 

โปรแกรม Accounting Firm จะมี GL,FA,CQ (แยกประเภท, สินทรัพย์, ระบบเช็ค)

โปรแกรม Small Biz จะมี PO,AR,SO,AP,IC,CQ,FA (ระบบซื้อ,ลูกหนี้,ระบบขาย,เจ้าหนี้,ระบบสต๊อค,ระบบเช็ค,สินทรัพย์) จะไม่มี GL ตัวเดียว

 

ไม่ต้องแปลกใจนะครับ เพราะเค้าต้องการให้ Accounting Firm ถูกใช้งานที่สำนักงานบัญชี ส่วนลูกค้าใช้ Small Biz แล้ว online ส่งข้อมูลมาเข้าที่ สำนักงานบัญชี อีกทีหนึ่ง จึงแยกโปรแกรมออกเป็น 2 ส่วน แต่ได้ข่าวจากในเว็บบอร์ดของคริสตอล มาว่าต่อไป Accounting Firm จะถูกเพิ่ม Module ทั้ง 8 ตัวของ Small Biz เข้าไปให้ครบ (ซึ่งต่อไปจำนวนรุ่นโปรแกรมก็น่าจะลดลง ไม่ต้องออกหลายมาหลายรุ่น)

 

สำหรับคนที่จะเข้าไป donwload คุณต้องเข้าไปลงทะเบียนก่อนถึงจะ download ได้นะครับ เค้าให้ donwload คู่มือที่เป็น pdf ไฟล์ รวมทั้งไฟล์มัลติมิเดีย

คลิ๊กที่นี่ http://csg.crystalthaihost.com/freedownload_detail.asp 

 

นอกจากนี้ยังสามารถเข้าไปเรียนโปรแกรมนี้ได้ที่ Digital University โดยเข้าไปที่ -> แหล่งการเรียน -> หลักสูตร -> วิธีใช้งานโปรแกรมบัญชี -> SMEs Account@Click (เป็นตัวกับ Formula แต่เรียกคนละชื่อ)

คลิ๊กที่นี่ http://app.sme.go.th/eservices/auth/1%3A11%3A1696087%3Anidle%3A77732982142879/

 

เพิ่มเติมข้อมูลพอดีไปอ่านเจอมา

- เฉพาะโปรแกรม Smartbiz จะต้องมีการต่อ Online 1 ครั้งภายใน 6 เดือนเพื่อลงทะเบียนเป็นผู้ใช้งานหลังจากนั้นก็ไม่จำเป็นต้อง online ครับ

- คู่มือโปรแกรม Smartbiz และ Formula Payroll มีจำหน่ายที่ร้านหนังสือซีเอ็คบุ๊ค

.

ขั้นตอนการสร้าง Blog

มีคนขอให้ช่วยลงวิธีการทำบล๊อค จะพยายามเขียน แล้วเอามาทะยอยลงให้นะครับ

1. มาดูวิธีการสร้างบล๊อคใหม่กันนะครับ พิมพ์ www.blogger.com ก็จะเข้าสู่เว็บของ blogger กำหนดภาษาในการแสดงผลเป็น ไทย (ปัจจุบัน google สนับสนุนการใช้งานภาษาไทย) ใส่ user name ของ gmail พร้อมรหัสผ่าน แล้วคลิ๊กที่ ลงชื่อเข้าใช้งาน

new blog-1

2. จะเข้าสู่หน้าจดถัดมาให้คลิ๊ก สร้างบล๊อคของคุณทันที

new blog-2

3. ตั้งชื่อเว็บบล๊อค จะใช้เป็นชื่ออะไรก็ได้ ภาษาไทยหรือภาษาอังกฤษก็ได้ ส่วนที่อยู่บล๊อค (URL) ต้องเป็นภาษาอังกฤษ และซ้ำกับของผู้อื่นไม่ได้ หลังพิมพ์เข้าไปแล้วให้กด ตรวจสอบความพร้อมการใช้งาน ถ้าไม่ซ้ำกับใครจะมีข้อความแจ้งมาว่า ที่อยู่บล๊อคนี้สามารถใช้ได้

new blog-3

4. เลือกแม่แบบ (theme) ที่ต้องการ สร้างให้แสดงตัวอย่างให้ดูก่อนว่าพอใจหรือไม่ ถ้าพอใจแล้วให้คลิ๊ก ดำเนินการต่อ

new blog-4

5. แค่นี้ก็เรียบร้อย บล๊อคของคุณถูกสร้างแล้วให้คลิ๊กเพื่อ เริ่มต้นการเขียนบล๊อค

new blog-5

แนะนำให้คุณทำการเขียนบทความไว้เลยในครั้งแรก จะเป็นอะไรก็ได้ถ้าไม่ได้เตรียมไว้ก่อน เช่น ยินดีต้อนรับสู่เว็บ แล้วก็สั่ง post

ทำไมต้องเขียนล่ะ อันนี้เคยเจอมากับตัวเองเลยว่า เคยสร้างบล๊อคขึ้นมาแล้วไม่ได้เขียนอะไรไว้ พอจะมาเขียนใน 2-3 วันถัดมา ปรากฎว่า เข้าบล๊อคตัวเองไม่ได้ ทาง google แจ้งหน้าเว็บบล๊อคว่า เป็น spam blog ไม่อนุญาตให้ใช้งานได้ (งงมากในตอนนั้น)

ผมก็เลยไม่ได้สนใจเรื่องนี้ พอผ่านไป 2 เดือน ทาง google แจ้งมายังหน้าเว็บบล๊อคว่า ต้องการเรียกคืนบล๊อคนี้กลับมาใช้งานอีกหรือไม่ เนื่องจาก google ตรวจสอบแล้วพบว่า ไม่ได้เป็น spam blog แต่เนื่องจากระบบตรวจสอบในขณะนั้น ตรวจสอบผิดพลาด ทั้งนี้ google จะทำการคืน blog ให้ ถ้าผมแจ้งยืนยันไปทาง mail ว่าต้องการ blog นั้นคืนมา

ตอนนี้ผมก็พอจะเข้าใจได้ว่าเนื่องจาก blogspot อนุญาตให้เปิด blog ได้ไม่จำกัดต่อ 1 email ทำให้ google ต้องมีระบบตรวจสอบเรื่อง spam blog เข้าใจว่าระบบตรวจสอบนี้คงได้รับการปรับปรุงใหม่ให้ดีขึ้นแล้ว

.

เหตุผลในการสร้าง Blog

เมื่อก่อนบอกตามตรงไม่เคยสนใจเรื่อง blog เลยนะครับ แต่ก็เคยคิดอยากทำ web อยู่เหมือนกันเพียงแต่ว่ายังไม่ได้ทำ เพราะมีความรู้สึกว่ามันยากต้องไปอบรมหรือไปเรียน เคยซื้อหนังสือการทำเว็บมาอ่าน 2-3 เล่ม (รวมหนังสือโปรแกรม Dremweaver) รู้สึกว่ามันก็ยังยากอยู่ดี

 

มีน้องที่เคยเล่นบล๊อคที่ชื่อ space ซึ่งเป็นของ microsoft เค้าบอกว่าใช้งานง่ายมาก สมัครก็งาน เคยชวนให้ไปสมัครอยู่หลายครั้ง รวมทั้งมักจะส่ง link ของเค้ามาให้ดู ส่วนใหญ่จะเป็นรูปที่น้องเค้าโพสเอาไว้ ซึ่งผมว่ามันก็สะดวกดีที่จะแจ้งให้เพื่อน ๆ เข้าไปดู แทนที่จะส่ง mail พร้อม attach รูปไปหาเพื่อน ที่สำคัญเค้าสามารถที่จะเก็บรูปไว้ใน Internet ได้ อยากดูหรืออยากส่งให้ใครเมื่อไหร่ก็ได้

 

ทำไมถึงทำ blog ขึ้นมา ผมเองมีไฟล์ที่ได้มาเกี่ยวกับเรื่องบัญชีหรือเรื่องอื่นๆ (เป็นเอกสารที่สามารถเผยแพร่ได้) ปกติก็จะเซฟเก็บไว้ที่ Notebook ไม่ก็เครื่อง Desktop ที่บ้านหรือที่ทำงาน บ่อยครั้งเวลาจะหาไฟล์แล้วมันหาไม่เจอ ไม่รู้ว่าเอาไปเก็บไว้ที่ไหนหรือไม่ก็ใช้เวลาในการหาค่อนข้างนาน

 

เคยใช้วิธีฝากไฟล์ไว้ตาม Host อยู่เหมือนกัน แต่ผมว่ามันก็ยังไม่สะดวกอยู่ดี ก็เลยเอามาลง blog นี่ละ แล้วเราควรใช้ blog ของที่ไหนดีล่ะ wordpress blogspot space ของคนไทยก็มีอีกเยอะแยะ เมื่อก่อนคิดเรื่องนี้อยู่หลายวันเหมือนกัน ก็เลยสร้าง blog ไว้ที่ blogspot กับ wordpress เพียงแต่ว่าจะใช้ของ blogspot มากกว่า เพราะมันไม่สะดวกที่จะเก็บหรือเขียนไว้หลายๆ ที่

 

ทำไมต้องเป็น blogger อยากจะบอกว่า ที่ไหนก็เหมือนกันใช้ได้ดีเหมือนกันหมด แล้วแต่ชอบ ที่เลือกน่าจะมีส่วนว่าเป็นของ google แล้วก็ขั้นตอนการติดตั้งง่ายมากใช้เวลาไม่นาน ก็สามารถที่จะ post ข้อความได้ นอกจากนี้ทาง google อนุญาตให้เปิดบล๊อคได้ไม่จำกัดต่อ 1 email (ต้องเป็น email ของ google เท่านั้น) ส่วนของ wordpress ให้เปิดได้ 1 บล๊อคต่อ 1 email (ใช้ email ของที่ไหนมาเปิดก็ได้)

 

สำหรับ blogspot เราสามารถเปลี่ยน theme ได้ เพียงแต่ว่า theme ของ blogspot จะมีน้อยมาก ถ้าเทียบกับ wordpress ส่วน theme ของ wordpress มีเยอะมาก (ดูจนเลือกไม่ถูกว่าจะเอาอันไหนดี) แต่การจะเปลี่ยน theme ได้นั้นคุณต้องมี host ของตัวเองถึงจะ upload theme ขึ้นไปใช้ได้งานได้ ถ้าคุณไม่มี host คุณก็จะสามารถใช้ theme เท่าที่มีอยู่ในเว็บของเค้าเท่านั้น

 

ดูตัวอย่าง theme ของ blogspot คลิ๊ก

7 ประเภทผู้นำที่องค์กรต้องการ

เผอิญได้ฟังเทปรายการ new dimension ของ ดร.บุญชัย แล้วผมชอบตอนนี้มาก มีจดโน๊ตย่อเอาไว้ ก็เลยเอามาลงที่นี่ เผื่อจะเข้ามาอ่านเมื่อไหร่ก็ได้ และสำหรับใครที่อยู่ในระดับผู้บริหารหรือผู้จัดการจะได้รู้ว่าตนเองอยู่ในประเภทไหนใน 7 ประเภทนี้

สำหรับผู้แต่งหรือเขียนบทความนี้คือ David Rooke และ William R.Torbert  ชื่อบทความคือ Seven Transformations of Leadership จากประสบการณ์ของผู้แต่งและจากการสำรวจแบบสอบถามผู้จัดการและผู้เชี่ยวชาญกว่า 1,000 ราย ในอเมริกาและยุโรป ที่มีอายุระหว่าง 25-55 ปี ผู้แต่งได้แบ่งผู้นำ ออกเป็น 7 ประเภท ดังนี้

1. นักฉวยโอกาส (Opportunist) มีอยู่ประมาณ 5%  มีนิสัยเอาตัวเองเป็นที่ตั้ง ไม่ฟังผู้อื่น มองโลกในแง่ร้าย ใช้เลห์เหลี่ยมกลอุบายทุกรูปแบบเพื่อให้ได้มาซื่งตำแหน่งฐานะและการยอมรับ การมีปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่นจะต้องอยู่บนพื้นฐานของผลประโยชน์อย่างเดียว มองเพื่อนร่วมงานหัวหน้าและลูกน้องเป็นเพียงวัตถุที่ต้องแสวงหาผลประโยชน์ เป็นพวกบ้าอำนาจ ไม่ยอมผู้อื่น ชอบข่มขู่ ควบคุมผู้อื่น มองโลกแคบ

2. นักการทูต (Diplomat) มีอยู่ประมาณ 12% น่าจะเป็นอีกด้านหนึ่งของนักฉวยโอกาส คือแทนที่จะควบคุมบังคับผู้อื่น แต่ใช้วิธีการบังคับการแสดงออกของตัวเองแทน ชอบเอาใจนาย ประจบนาย ชอบสร้างภาพ เป็นคนสุภาพเรียบร้อย ที่สำคัญจะไม่เอาเรื่องวุ่นวายมาบอกนาย (ถ้าบอกก็จะใช้วิธีเลี่ยง กลัวเจ้านายไม่สบายใจ) ผู้จัดการประเภทนี้จะไม่มีปัญหามากในที่ประชุม เป็นคนเงียบ ไม่บอกปัญหาซึ่งอาจสร้างความเสียหายให้กับองค์กรได้

3. ผู้ชำนาญการณ์ (Expert) มีอยู่ประมาณ 38% เป็นผู้มีความรู้ความชำนาญในเรื่องใดเรื่องหนึ่งเฉพาะ และจะควบคุมผู้อื่นด้วยความรู้จริงของตนเอง มักจะคิดว่าตัวเองเก่ง ตัวเองแน่ ตัวอย่างเช่นคนในอาชีพ นักบัญชี นักวิเคราห์การลงทุน นักวิจัยด้านการตลาด โปรแกรมเมอร์ คนประเภทนี้ จะเป็นประเภทรู้จริง ชอบการพัฒนาปรับปรุง มีประสิทธิภาพในการทำงานสูง ชอบทำงานของตัวเองให้ดีที่สุด ข้อเสียคือ มีความมั่นใจในตัวเองมากเกินไป คิดว่าตัวเองรู้มากกว่าผู้อื่น

4. ผู้จัดการ (Achiever) มีอยู่ประมาณ 30% เป็นคนที่ได้รับมอบหมายให้ทำงานใดทำงานหนึ่งได้ดีภายในเวลาที่กำหนดไว้ สามารถสร้างความสามัคคีกลมเกลียว สร้างทีมเวิค์ล สร้างบรรยากาศในการทำงาน รับฟังความคิดเห็นของลูกน้อง ทำงานกับผู้อื่นได้ดี ข้อเสียคือเป็นผู้ที่ทำงานแบบรายวันได้ดี ไม่ค่อยมีวิสัยทัศน์ไกล ไม่สามารถคิดนอกกรอบได้ กลัวการสูญเสียอำนาจ กลัวว่าจะทำงานไม่ตรงกับที่ฝ่ายบริหารต้องการ ซึ่งจะทำให้ไม่เจริญก้าวหน้าในงาน ไม่ชอบเสนอสิ่งที่อยู่นอกขอบเขตความความรับผิดชอบของตนเอง

5. ปัจเฉกบุคคล (Individualist) มีอยู่ประมาณ 10% เป็นพวกชอบทำงานคนเดียว ไม่ไว้ใจผู้อื่น แต่ก็เป็นคนที่มองโลก 2 ด้านเสมอ ชอบทำงานแบบ One man show เป็นคนทำงานเก่ง มีจิตนาการสูง เป็นผู้ผลักดันงานได้ดี เป็นคนประเภท ยอมหักไม่ยอมงอ ไม่ยอมผู้อื่น มีความเชื่อมั่นใจตัวเองสูงเกินไป ไม่ยอมให้ใครมาขัดขวางการทำงานหรือความคิดของตน พวกนี้จะสร้างศตรูไว้มาก ชอบการปะทะโต้แย้ง ชอบความขัดแย้ง มักมีปัญหากับเพื่อนร่วมงานเสมอ

6. นักวางแผน (Strategist) มีอยู่ประมาณ 4% เป็นคนที่เข้าใจองค์กรได้เป็นอย่างดี เข้าใจว่า อะไรทำได้อะไรทำไม่ได้ เป็นคนมีวิสัยทัศน์ มีความารถในการพัฒนาลูกน้อง เพื่อนร่วมงาน ให้สามารถทำงานเพื่อองค์กร สามารถรับความขัดแย้งได้ทุกรูปแบบ เป็นคนเก่ง สามารถสร้างความเปลี่ยนแปลงให้กับองค์กรได้ เห็นภาพรวมขององค์กรได้ทั้งหมด เป็นคนมีคุณธรรม

7. นักเล่นแร่แปรธาตุ (Alchemist) มีอยู่ประมาณ 1% ถือว่าเป็นผู้นำที่ดีที่สุด Great Leader พร้อมที่จะพัฒนาตัวเอง พัฒนาองค์กร และเป็นคนไม่ยอมหยุดนิ่ง สามารถปรับปรุง แก้ไข ประยุกต์ หรือสร้างใหม่ มีการทำงานแบบไร้รูปแบบที่แน่นอน ปรับเปลี่ยนได้ตลอดตามแต่ที่องค์กรมีอยู่ (คน วัตถุ สิ่งของ) รับได้ทุกสถานการณ์ ไม่มีความขัดแย้ง ไม่มีความอึดอัด เข้าได้กับทุกระดับ รู้ตัวเองอยู่ตลอดเวลา เป็นคนมีคุณธรรมสูงมาก
.

การติดตั้ง wordpress ที่ appservhosting

ต้องบอกก่อนว่า ผมใช้ wordpress ทำบล๊อคเอาไว้อีกทีหนึ่งด้วย โดยส่วนใหญ่เอาไว้เก็บไฟล์ pdf หรือ zip ไฟล์ เพราะที่ blogspot ไม่รองรับไฟล์เหล่านี้ และอยากลองใช้งาน wordpress ดู ไม่แน่ ในอนาคตอาจจะใช้เป็น blog หลักก็ได้

 

ถ้าใครเคยใช้ฟรี host หรือ host บางที่ จะมี menu ใน cpanel ซึ่งจะให้เราติดตั้ง wordpress ผ่านระบบขั้นตอนอัตโนมัติได้ ซึ่งการติดตั้งก็จะง่ายมาก แต่ที่นี่ต้องติดตั้งเองนะครับ

 

ผมเอาวิธีการติดตั้งมาลงไว้ว่า เผื่อไว้คราวหน้าถ้าต้องติดตั้งใหม่จะได้จำได้ เพราะครั้งที่แล้วกว่าจะลงได้ใช้เวลา 2 วัน อีกอย่างเผื่อให้คนอื่นๆ เอาไปใช้ได้ด้วย โดยผมติดตั้ง wordpress ไว้ที่ root แรกเลย (ไม่คิดจะลงอะไรเพิ่มแล้ว)

 

วิธีการติดตั้ง

- ให้ download โปรแกรม wordpress เวอร์ชั่นล่าสุดมาเก็บไว้ในคอมของเราก่อน ที่นี่ http://wordpress.org/ ซึ่งจะได้ zip ไฟล์มา ให้เรา unzip ไฟล์ให้เรียบร้อย

 

- เข้าไปที่ Control Panel ของ Host ที่หัวข้อ FTP Account ให้เพิ่ม User เข้าไป เพื่อที่เราจะได้ใช้ User นี้ ในการ upload ไฟล์ผ่าน FileZilla ได้

 

- ดำเนินการ upload ไฟล์ที่ unzip แล้วไปเก็บไว้ที่ host ที่ folder แรกชื่อ htdoc (ใช้ FileZilla ก็ได้เป็นฟรีแวร์ ที่นี่ http://filezilla-project.org/)

                                                                      .

- ให้เปลี่ยนชื่อไฟล์ index.html ไปเป็นชื่ออื่น ไม่อย่างนั้นจะเข้าหน้าเว็บเราเองไม่ได้ มันจะไปขึ้นหน้าเว็บ control ของระบบเดิม

 

- กำหนดค่า folder ชื่อ htdoc โดยคลิ๊กขวา เลือก สิทธิ์การเข้าแฟ้ม ให้ติ๊กถูกทุกช่อง และใส่ค่า Number Value เป็น 777

 

- เข้าไปสร้างฐานข้อมูลใน control system ของ Host ในหัวข้อย่อย add SQL database

      1.ตั้งชื่อฐานข้อมูล (ตัวอย่าง) : wordpress

      2.กำหนดชื่อ user (ตัวอย่าง) : root 

      3.กำหนดรหัสผ่าน (ตัวอย่าง) : 1234

 

- เปลี่ยนชื่อไฟล์ wp-config-sample.php ไปเป็น wp-config.php (ไฟล์นี้จะอยู่ใน folder หลักของ wordpress) แล้วให้ทำการ edit ไฟล์ โดยแก้ไขข้อมูลให้เป็นไปตามที่กำหนดไว้ข้างบน แล้วให้ upload เฉพาะไฟล์นี้ไปที่ host แก้ตามนี้

 

define('DB_NAME','wordpres') แก้เป็น define('DB_NAME','wordpres')

define('DB_USER','root') แก้เป็น  define('DB_USER','root')

define ('DB_PASSWORD','12345') แก้เป็น define ('DB_PASSWORD','12345')

 

- สั่ง install โดยเข้าไปที่ http://ชื่อโดเมนเรา.com/wp-admin/install.php (กำหนดชื่อบล๊อค ชื่อผู้ใช้ ใน wordpress)

 

- ถึงตอนนี้ เราก็สามารถใช้ wordpress ได้แล้ว

แนะนำฟรีอีเมล์ www.inbox.com


ผมเองปกติก็ใช้บริการ email ของเจ้าดังๆ อย่างเช่น hotmail gmail yahoo อยู่แล้ว ที่จริงก็ไม่น่าจะมีปัญหาอะไร แต่อยากได้ email ที่ใช้ชื่อของตัวเองได้ มันไม่สามารถลงทะเบียนได้ทั้งสามที่ หรือถ้าลงได้ก็ต้องใส่ตัวเลขต่อท้ายลงไป แล้วอีกอย่าง hotmail นี่เข้าได้บ้างไม่ได้บ้าง โฆษณาก็เยอะ แถมช้าอีกต่างหาก ส่วนที่ yahoo ถือว่าดีไม่ช้าแต่มีโฆษณา ทั้งสองที่ไม่สามารถใช้งาน POP3 ได้ ส่วนที่ gmail ถือว่าดีที่สุด เร็ว ไม่มีโฆษณา ให้พื้นที่เยอะมากถึง 6 gb. เพียงแต่ว่าผมไม่สามารถลงทะเบียนในชื่อตัวเองได้เท่านั้น

ผมก็เลยลอง serch หาฟรี email ดู มีเยอะมากนะครับ อันนี้เป็น link ที่ผมเคย serch หาที่เว็บนี้ Top 16 Free Email Service http://email.about.com/od/freeemailreviews/tp/free_email.htm

แล้วก็มาสะดุดที่ชื่อ inbox.com ผมว่า มันจำง่ายดี ดูไม่โหล พูดก็ง่าย ที่สำคัญรองรับ POP3 ด้วย ให้พื้นที่ใช้งาน 2 Gb.(5 Gb.สำหรับผู้ลงทะเบียนใน America, Cananda) พอเอามาใช้งานดูพบว่ามีบริการเสริมฟรีอีกเยอะมาก 20 กว่ารายการ แต่ผมเลือกใช้บางรายการเท่านั้นนะครับคือ Email Notifier, Web Sercurity Guard, Spyware Terminator (บวก Claim Antivirus) ที่สำคัญไม่ช้านะครับ เร็วดีแล้วก็ไม่มีโฆษณาด้วย

สำหรับท่านที่ต้องการใช้งานในส่วนของ POP3 ให้เข้าไปที่ไอคอน Settings แล้วเลือก POP3 Access ติ๊กทุกช่องที่มี รอสักพักก็จะสามารถใช้งานผ่าน Outlook ได้

อีกหัวข้อที่ต้องเข้าแก้ไขคือ Spam Option ให้เลือก Do not use spam filter เพราะค่าปกติที่ระบบตั้งจะเป็น Meddle ผมเองเคยส่ง mail จากที่อื่นมาที่ mail ใน inbox เลยทำให้รู้ว่า ระบบป้องกัน spam mail ทำงานยังไง

ถ้าไม่มี ชื่อ อยู่ใน mail address ของ inbox มันจะส่ง mail มาหาผู้ส่ง แล้วให้เรากด link เพื่อเข้าไปสู่หน้า Verify Code หลังจากนั้น มันถึงจะ add email ผู้ส่งเข้าไปให้อัตโนมัติ แล้ว mail ถึงส่งเข้ามาได้ ทั้งนี้ เพื่อป้องกัน spam mail ที่ส่งจากโปรแกรม spam ซึ่งมันจะ Verify Code ไม่ได้

ดูรูปประกอบ


มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 51 (ปรับปรุง 2550) P.2

39.1 รายการแลกเปลี่ยนขาดเนื้อหาเชิงพาณิชย์
39.2 มูลค่ายุติธรรมทั้งของสินทรัพย์ที่ได้มาและสินทรัพย์ที่นำไปแลก ไม่สามารถวัดมูลค่าได้อย่าง
น่าเชื่อถือ
กิจการต้องวัดมูลค่ารายการสินทรัพย์ที่ได้มาตามแนวทางนี้ ถึงแม้ว่ากิจการจะไม่สามารถตัดรายการ
สินทรัพย์ที่นำไปแลกเปลี่ยนได้ในทันที หากสินทรัพย์ที่ได้มาไม่ได้วัดมูลค่าโดยใช้มูลค่ายุติธรรม
กิจการต้องวัดมูลค่าสินทรัพย์นั้นโดยใช้มูลค่าตามบัญชีของสินทรัพย์ที่นำไปแลกเปลี่ยน
40. ในการกำหนดว่ารายการแลกเปลี่ยนมีเนื้อหาเชิงพาณิชย์หรือไม่ ให้กิจการพิจารณาจากขอบเขตของ
กระแสเงินสดในอนาคตที่คาดว่าจะมีการเปลี่ยนแปลงอันเป็นผลมาจากรายการดังกล่าว รายการ
แลกเปลี่ยนจะมีเนื้อหาเชิงพาณิชย์หากเข้าเงื่อนไขทุกข้อดังต่อไปนี้
40.1 ลักษณะ (ความเสี่ยง จังหวะเวลา และจำนวน) ของกระแสเงินสดจากสินทรัพย์ที่ได้รับแตกต่าง
จากลักษณะของกระแสเงินสดจากสินทรัพย์ที่นำไปแลกเปลี่ยน หรือ
40.2 รายการแลกเปลี่ยนทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในมูลค่าเฉพาะกิจการในส่วนของการดำเนินงาน
ที่ถูกกระทบจากการแลกเปลี่ยน และ
40.3 ความแตกต่างในย่อหน้าที่ 40.1 หรือ 40.2 ต้องมีนัยสำคัญเมื่อเทียบกับมูลค่ายุติธรรมของ
สินทรัพย์ที่มีการแลกเปลี่ยน
เพื่อวัตถุประสงค์ในการพิจารณาว่าการแลกเปลี่ยนเป็นการแลกเปลี่ยนเชิงพาณิชย์
มูลค่าเฉพาะกิจการในส่วนของการดำเนินงาน ที่ถูกกระทบจากการแลกเปลี่ยนต้องสะท้อนถึงกระแส
เงินสดหลังหักภาษี ผลของการวิเคราะห์ดังกล่าวอาจเห็นได้ชัดเจนโดยกิจการไม่จำเป็นต้องทำการ
คำนวณอย่างละเอียด
41. ย่อหน้าที่ 15.2 กำหนดเงื่อนไขที่กิจการจะรับรู้สินทรัพย์ไม่มีตัวตนว่าจะต้องสามารถวัดมูลค่าราคาทุน
ของสินทรัพย์ได้อย่างน่าเชื่อถือ มูลค่ายุติธรรมของสินทรัพย์ไม่มีตัวตนที่ไม่มีรายการในตลาดที่
เทียบเคียงได้จะถือว่าสามารถวัดมูลค่าอย่างน่าเชื่อถือหากเข้าเงื่อนไขข้อใดข้อหนึ่งดังต่อไปนี้
41.1 ความผันผวนของช่วงการประมาณมูลค่ายุติธรรมที่สมเหตุสมผลของสินทรัพย์นั้น ไม่มี
นัยสำคัญ
41.2 กิจการสามารถประเมินความน่าจะเป็นของประมาณการมูลค่ายุติธรรม ณ ระดับต่างๆ ได้อย่าง
สมเหตุสมผล
หากกิจการสามารถที่จะกำหนดมูลค่ายุติธรรมของสินทรัพย์ที่ได้มาหรือสินทรัพย์ที่นำไปแลกเปลี่ยนได้
อย่างน่าเชื่อถือ กิจการต้องกำหนดต้นทุนของสินทรัพย์ที่ได้มาด้วยมูลค่ายุติธรรมของสินทรัพย์ที่นำไป
แลกยกเว้นมูลค่ายุติธรรมของสินทรัพย์ที่ได้มานั้นมีหลักฐานสนับสนุนที่ชัดเจนกว่า
ค่าความนิยมที่เกิดขึ้นภายในกิจการ
42. กิจการต้องไม่รับรู้ค่าความนิยมที่เกิดขึ้นภายในเป็นสินทรัพย์
43. ในบางกรณี กิจการอาจก่อให้เกิดรายจ่ายเพื่อให้ได้มาซึ่งประโยชน์เชิงเศรษฐกิจในอนาคต แต่
รายจ่ายดังกล่าวไม่ก่อให้เกิดสินทรัพย์ไม่มีตัวตนที่เข้าเกณฑ์การรับรู้รายการตามมาตรฐานการบัญชี
ฉบับนี้ กิจการมักอ้างว่ารายจ่ายดังกล่าวเป็นส่วนสนับสนุนค่าความนิยมที่เกิดขึ้นภายในกิจการ
13
อย่างไรก็ตาม ความนิยมที่เกิดขึ้นภายในกิจการไม่มีการรับรู้เป็นสินทรัพย์เนื่องจากรายจ่ายที่เกิดขึ้น
ไม่ได้เป็นทรัพยากรที่สามารถระบุได้ (เช่น ไม่สามารถแยกออกได้หรือไม่เป็นรายจ่ายที่เกิดจากสัญญา
หรือสิทธิทางกฎหมายอื่นๆ) ภายใต้การควบคุมของกิจการ ซึ่งสามารถวัดราคาทุนได้อย่างน่าเชื่อถือ
44. ผลต่างระหว่างราคาตลาดของกิจการกับมูลค่าตามบัญชีของสินทรัพย์สุทธิที่สามารถระบุได้ ณ เวลาใด
เวลาหนึ่งอาจสะท้อนให้เห็นถึงปัจจัยหลายประการที่มีผลกระทบต่อมูลค่าของกิจการ อย่างไรก็ตาม
ผลต่างดังกล่าวไม่ได้แสดงถึงราคาทุนของสินทรัพย์ไม่มีตัวตนที่อยู่ภายใต้การควบคุมของกิจการ
สินทรัพย์ไม่มีตัวตนที่เกิดขึ้นภายใน
45. ในบางครั้ง การประเมินว่าสินทรัพย์ไม่มีตัวตนที่เกิดขึ้นภายในเข้าเกณฑ์การรับรู้รายการหรือไม่นั้นทำ
ได้ยาก เนื่องจากปัญหาในเรื่องดังต่อไปนี้
45.1 กิจการไม่สามารถระบุได้ว่ามีสินทรัพย์ที่สามารถระบุได้ที่จะก่อให้เกิดประโยชน์เชิงเศรษฐกิจใน
อนาคตหรือไม่และเมื่อใด และ
45.2 กิจการไม่สามารถกำหนดราคาทุนของสินทรัพย์ได้อย่างน่าเชื่อถือ ในบางกรณีกิจการจะไม่
สามารถแยกต้นทุนของสินทรัพย์ไม่มีตัวตนที่เกิดขึ้นภายในออกจากต้นทุนที่เกิดขึ้นเพื่อรักษา
ระดับหรือเพื่อยกระดับค่าความนิยมที่เกิดขึ้นภายใน หรือจากต้นทุนที่เกิดจากการดำเนินงาน
ประจำวันได้
ดังนั้น มาตรฐานการบัญชีฉบับนี้จึงกำหนดให้กิจการต้องนำข้อกำหนดและแนวปฏิบัติที่กำหนดไว้ใน
ย่อหน้าที่ 46 ถึง 61 มาประยุกต์กับสินทรัพย์ไม่มีตัวตนทุกรายการที่เกิดขึ้นภายในกิจการ
นอกเหนือจากข้อกำหนดทั่วไปสำหรับการรับรู้และการวัดมูลค่าเมื่อเริ่มแรกของสินทรัพย์ไม่มีตัวตน
46. ในการประเมินว่าสินทรัพย์ไม่มีตัวตนที่เกิดขึ้นภายในเข้าเกณฑ์การรับรู้รายการหรือไม่ กิจการต้องแยก
ขั้นตอนการก่อให้เกิดสินทรัพย์ดังต่อไปนี้
46.1 ขั้นตอนการวิจัย และ
46.2 ขั้นตอนการพัฒนา
คำว่า “ขั้นตอนการวิจัย” และ “ขั้นตอนการพัฒนา” มีความหมายที่กว้างกว่าคำว่า “วิจัย” และ
“พัฒนา” ตามคำนิยามที่ระบุไว้ในมาตรฐานการบัญชีฉบับนี้
47. หากกิจการไม่สามารถแยกขั้นตอนการวิจัยออกจากขั้นตอนการพัฒนาสำหรับโครงการภายในของ
กิจการที่ก่อให้เกิดสินทรัพย์ไม่มีตัวตน กิจการต้องถือว่ารายจ่ายของโครงการดังกล่าวเป็นรายจ่ายที่
เกิดในขั้นตอนการวิจัยเท่านั้น
ขั้นตอนการวิจัย
48. กิจการต้องไม่รับรู้รายจ่ายที่เกิดจากการวิจัย หรือเกิดในขั้นตอนการวิจัยของโครงการภายในเป็น
สินทรัพย์ไม่มีตัวตน แต่ต้องรับรู้เป็นค่าใช้จ่ายเมื่อรายจ่ายนั้นเกิดขึ้น
49. ในขั้นตอนการวิจัยของโครงการภายใน กิจการไม่สามารถที่จะแสดงให้เห็นว่าสินทรัพย์ไม่มีตัวตนนั้น
ได้เกิดขึ้น ซึ่งจะก่อให้เกิดประโยชน์เชิงเศรษฐกิจในอนาคตแก่กิจการ ดังนั้น กิจการต้องรับรู้รายจ่าย
ดังกล่าวเป็นค่าใช้จ่ายในทันที
14
50. ตัวอย่างของกิจกรรมการวิจัยมีดังต่อไปนี้
50.1 กิจกรรมซึ่งมุ่งที่จะให้ได้มาซึ่งความรู้ใหม่
50.2 การค้นหา การประเมินผล และการคัดเลือกขั้นสุดท้าย เพื่อนำผลการวิจัยหรือความรู้อื่นมา
ประยุกต์หรือปฏิบัติ
50.3 การค้นหาทางเลือกสำหรับวัตถุดิบ ชิ้นส่วน ผลิตภัณฑ์ ขั้นตอน ระบบ หรือบริการ และ
50.4 สูตร การออกแบบ การประเมินผล และการคัดเลือกขั้นสุดท้ายของทางเลือกที่เป็นไปได้สำหรับ
นวัตกรรมหรือสิ่งที่ดีขึ้นกว่าเดิม ไม่ว่าสิ่งนั้นจะเป็นวัตถุดิบ ชิ้นส่วน ผลิตภัณฑ์ ขั้นตอน ระบบ
หรือ บริการ
ขั้นตอนการพัฒนา
51. กิจการจะรับรู้รายจ่ายที่เกิดจากการพัฒนาหรือเกิดในขั้นตอนการพัฒนาของโครงการภายในเป็น
สินทรัพย์ไม่มีตัวตนได้ก็ต่อเมื่อกิจการสามารถแสดงว่าเป็นไปตามข้อกำหนดทุกข้อต่อไปนี้
51.1 มีความเป็นไปได้ทางเทคนิคที่กิจการจะทำสินทรัพย์ไม่มีตัวตนให้เสร็จสมบูรณ์เพื่อ
นำมาใช้ประโยชน์หรือขายได้
51.2 กิจการมีความตั้งใจที่จะทำสินทรัพย์ไม่มีตัวตนให้เสร็จสมบูรณ์และนำมาใช้ประโยชน์หรือ
ขาย
51.3 กิจการมีความสามารถที่จะนำสินทรัพย์ไม่มีตัวตนนั้นมาใช้ประโยชน์หรือขาย
51.4 กิจการสามารถแสดงให้เห็นถึงวิธีที่สินทรัพย์ไม่มีตัวตนจะก่อให้เกิดประโยชน์เชิง
เศรษฐกิจในอนาคต ตัวอย่างเช่น กิจการต้องสามารถแสดงให้เห็นว่าสินทรัพย์ไม่มีตัวตน
หรือสิ่งที่จะเกิดจากสินทรัพย์ไม่มีตัวตนนั้นมีตลาดรองรับอยู่จริง หรือหากกิจการนำ
สินทรัพย์ไม่มีตัวตนไปใช้เป็นการภายใน กิจการต้องสามารถแสดงให้เห็นถึงประโยชน์ที่
จะได้รับจากสินทรัพย์ไม่มีตัวตนนั้น
51.5 กิจการมีความสามารถในการจัดหาทรัพยากรด้านเทคนิค ด้านการเงิน และด้านอื่นได้
เพียงพอที่จะนำมาใช้เพื่อทำให้การพัฒนาเสร็จสิ้นสมบูรณ์ และนำสินทรัพย์ไม่มีตัวตนมา
ใช้ประโยชน์หรือนำมาขายได้
51.6 กิจการมีความสามารถที่จะวัดมูลค่าของรายจ่ายที่เกี่ยวข้องกับสินทรัพย์ไม่มีตัวตนที่
เกิดขึ้นในระหว่างการพัฒนาได้อย่างน่าเชื่อถือ
52. ในระหว่างขั้นตอนการพัฒนาของโครงการภายใน บางกรณีกิจการสามารถระบุสินทรัพย์ไม่มีตัวตน
และสามารถแสดงให้เห็นว่ามีความเป็นไปได้ค่อนข้างแน่ที่สินทรัพย์นั้นจะก่อให้เกิดประโยชน์เชิง
เศรษฐกิจในอนาคต ทั้งนี้เพราะขั้นตอนการพัฒนาของโครงการเป็นขั้นตอนที่ก้าวหน้ามากกว่าขั้นตอน
การวิจัย
53. ตัวอย่างของกิจกรรมการพัฒนาได้แก่
53.1 การออกแบบ การก่อสร้าง และการทดสอบแม่แบบและแบบจำลองในระหว่างขั้นตอนก่อนการ
ผลิตหรือขั้นตอนก่อนการใช้
53.2 การออกแบบเครื่องมือ โครงประกอบ แม่พิมพ์ และเบ้าที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีใหม่
15
53.3 การออกแบบ การก่อสร้าง และการดำเนินงานของโรงงานนำร่อง ซึ่งไม่ใช่ขนาดที่จะสามารถทำ
การผลิตในเชิงพาณิชย์ได้ และ
53.4 การออกแบบ การก่อสร้าง และการทดสอบวัตถุดิบ ชิ้นส่วน ผลิตภัณฑ์ ขั้นตอน ระบบ หรือ
บริการใหม่ๆ หรือที่ได้ปรับปรุงให้ดีขึ้นและเป็นทางเลือกที่ได้คัดเลือกแล้ว
54. กิจการต้องประเมินประโยชน์เชิงเศรษฐกิจในอนาคตที่คาดว่าจะได้รับจากสินทรัพย์โดยใช้ข้อกำหนด
ของมาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 36 (ปรับปรุง 2550) เรื่อง การด้อยค่าของสินทรัพย์ (เมื่อมีการ
ประกาศใช้) เพื่อแสดงให้เห็นว่าสินทรัพย์ไม่มีตัวตนจะก่อให้เกิดประโยชน์เชิงเศรษฐกิจในอนาคตได้
อย่างไร หากสินทรัพย์จะก่อให้เกิดประโยชน์เชิงเศรษฐกิจเฉพาะเมื่อต้องใช้ร่วมกับสินทรัพย์อื่น
กิจการต้องนำแนวคิดเกี่ยวกับหน่วยสินทรัพย์ที่ก่อให้เกิดเงินสดตามที่ระบุไว้ในมาตรฐานการบัญชี
ฉบับที่ 36 (ปรับปรุง 2550) เรื่อง การด้อยค่าของสินทรัพย์ (เมื่อมีการประกาศใช้) มาปฏิบัติ
55. ตัวอย่างที่แสดงให้เห็นว่ากิจการมีความสามารถในการจัดหาทรัพยากรที่จะทำให้สินทรัพย์ไม่มี
ตัวตนเสร็จสมบูรณ์ หรือทำให้กิจการสามารถใช้หรือได้รับประโยชน์จากสินทรัพย์ไม่มีตัวตน ได้แก่
แผนงานธุรกิจที่แสดงถึงทรัพยากรด้านเทคนิค ด้านการเงิน และด้านอื่นที่จำเป็นและกิจการมี
ความสามารถที่จะจัดหาทรัพยากรดังกล่าวได้อย่างแน่นอน ในบางกรณี กิจการอาจแสดงถึง
ความสามารถในการจัดหาแหล่งเงินทุนภายนอกด้วยหลักฐานที่แสดงถึงเจตจำนงที่จะให้เงินสนับสนุน
โครงการจากผู้ให้กู้
56. ตามปกติ ระบบต้นทุนของกิจการจะสามารถวัดราคาทุนของสินทรัพย์ไม่มีตัวตนที่เกิดขึ้นภายในได้
อย่างน่าเชื่อถือ ตัวอย่างเช่น เงินเดือนหรือรายจ่ายอื่นที่เกิดขึ้นเพื่อปกป้องลิขสิทธิ์หรือใบอนุญาต
หรือรายจ่ายที่เกิดขึ้นเพื่อพัฒนาโปรแกรมคอมพิวเตอร์
57. กิจการต้องไม่รับรู้รายการที่กิจการก่อให้เกิดขึ้นภายใน เช่น ตราผลิตภัณฑ์ หัวหนังสือ
ชื่อสิ่งพิมพ์ รายชื่อลูกค้า และรายการอื่นที่โดยเนื้อหาแล้วคล้ายคลึงกันเป็นสินทรัพย์ไม่มีตัวตน
58. รายจ่ายสำหรับชื่อผลิตภัณฑ์ หัวหนังสือ ชื่อสิ่งพิมพ์ รายชื่อลูกค้า และรายการอื่นที่โดยเนื้อหาแล้ว
คล้ายคลึงกัน ซึ่งกิจการก่อให้เกิดขึ้นภายในเป็นรายจ่ายที่ไม่สามารถแยกจากต้นทุนในการพัฒนาธุรกิจ
โดยรวม ดังนั้น กิจการต้องไม่รับรู้รายการดังกล่าวเป็นสินทรัพย์ไม่มีตัวตน
ราคาทุนของสินทรัพย์ไม่มีตัวตนที่เกิดขึ้นภายใน
59. ตามวัตถุประสงค์ของย่อหน้าที่ 18 ราคาทุนของสินทรัพย์ไม่มีตัวตนที่เกิดขึ้นภายใน คือ ผลรวมของ
รายจ่ายที่เกิดขึ้นนับตั้งแต่วันที่สินทรัพย์ไม่มีตัวตนเข้าเกณฑ์การรับรู้รายการตามที่กำหนดไว้ในย่อ
หน้าที่ 15 ถึง 16 และ 51 เป็นครั้งแรก ข้อกำหนดที่ระบุไว้ย่อหน้าที่ 63 ไม่อนุญาตให้กิจการนำ
รายจ่ายที่เคยรับรู้เป็นค่าใช้จ่ายกลับมาบันทึกเป็นสินทรัพย์ไม่มีตัวตน
60. ราคาทุนของสินทรัพย์ไม่มีตัวตนที่เกิดขึ้นภายในประกอบด้วยรายจ่ายที่เกี่ยวข้องโดยตรงทุกรายการที่
จำเป็นในการสร้างสรรค์ ผลิต และจัดเตรียมสินทรัพย์เพื่อให้สามารถนำมาใช้ประโยชน์ตามประสงค์
ของผู้บริหาร ตัวอย่างของต้นทุนโดยตรงดังกล่าว ได้แก่
60.1 ต้นทุนสำหรับวัตถุดิบและค่าบริการที่ใช้ในการก่อให้เกิดสินทรัพย์ไม่มีตัวตน
16
60.2 ต้นทุนผลประโยชน์ตอบแทนพนักงาน (ตามที่กำ หนดในมาตรฐานการบัญชี เรื่อง
ผลประโยชน์ของพนักงาน (เมื่อมีการประกาศใช้)) ที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับการก่อให้เกิด
สินทรัพย์ไม่มีตัวตน
60.3 ค่าธรรมเนียมในการจดทะเบียนเพื่อให้ได้มาซึ่งสิทธิตามกฎหมาย และ
60.4 ค่าตัดจำหน่ายของสิทธิบัตรและใบอนุญาตที่ก่อให้เกิดสินทรัพย์ไม่มีตัวตน
มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 33 (ปรับปรุง 2550) เรื่อง ต้นทุนการกู้ยืม ได้ให้ข้อกำหนดที่
สามารถนำดอกเบี้ยมารวมเป็นส่วนหนึ่งของราคาทุนของสินทรัพย์ไม่มีตัวตนที่เกิดขึ้นภายใน
61. ตัวอย่างต่อไปนี้ไม่ถือเป็นส่วนประกอบของราคาทุนของสินทรัพย์ไม่มีตัวตนที่เกิดขึ้นภายใน
61.1 รายจ่ายในการขาย การบริหาร และค่าใช้จ่ายทั่วไปอื่น เว้นแต่รายจ่ายดังกล่าวเกี่ยวข้องโดยตรง
กับการจัดเตรียมสินทรัพย์ให้สามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้
61.2 ความไม่มีประสิทธิภาพที่สามารถระบุได้ และขาดทุนจากการดำเนินงานเริ่มแรกที่เกิดขึ้นก่อนที่
สินทรัพย์จะสามารถให้ประโยชน์ได้ตามแผนที่วางไว้ และ
61.3 รายจ่ายในการอบรมพนักงานเพื่อนำสินทรัพย์มาใช้ในการดำเนินงาน
การรับรู้เป็นค่าใช้จ่าย
62. กิจการต้องรับรู้รายจ่ายสำหรับรายการไม่มีตัวตนเป็นค่าใช้จ่ายเมื่อเกิดขึ้น เว้นแต่จะเป็นไปตาม
ข้อใดข้อหนึ่งดังต่อไปนี้
62.1 รายจ่ายดังกล่าวเป็นส่วนหนึ่งของราคาทุนของสินทรัพย์ไม่มีตัวตน ซึ่งเข้าเกณฑ์การรับรู้
รายการ (ดูย่อหน้าที่ 12 ถึง 61)
62.2 กิจการได้รายการไม่มีตัวตนดังกล่าวมาจากการรวมกิจการ และไม่สามารถรับรู้เป็น
สินทรัพย์ไม่มีตัวตนแยกต่างหาก ในกรณีนี้กิจการต้องถือรายจ่ายที่เกิดขึ้น (ซึ่งรวมอยู่ใน
ราคาทุนของการรวมธุรกิจ) เป็นส่วนหนึ่งของค่าความนิยม ณ วันที่ซื้อ (ดูมาตรฐานการ
บัญชี ฉบับที่ 43 (ปรับปรุง 2550) เรื่อง การรวมธุรกิจ)
ค่าใช้จ่ายในอดีตที่ต้องไม่รับรู้เป็นสินทรัพย์
63. กิจการต้องไม่รับรู้รายจ่ายเกี่ยวกับรายการไม่มีตัวตนที่ได้รับรู้เมื่อเริ่มแรกเป็นค่าใช้จ่ายแล้ว เป็น
ส่วนหนึ่งของราคาทุนของสินทรัพย์ไม่มีตัวตนในภายหลัง
การวัดมูลค่าภายหลังการรับรู้รายการ
64. กิจการสามารถเลือกวิธีราคาทุนตามย่อหน้าที่ 65 หรือวิธีราคาที่ตีใหม่ตามย่อหน้าที่ 66 เป็น
นโยบายการบัญชีของกิจการ ในกรณีที่กิจการเลือกที่จะแสดงสินทรัพย์ไม่มีตัวตนด้วยราคาที่ตี
ใหม่ สินทรัพย์อื่นทุกรายการที่จัดอยู่ในประเภทเดียวกันจะต้องใช้วิธีราคาที่ตีใหม่ด้วย เว้นแต่จะ
ไม่มีตลาดซื้อขายคล่องสำหรับสินทรัพย์เหล่านั้น
17
วิธีราคาทุน
65. หลังจากที่กิจการรับรู้เป็นสินทรัพย์เมื่อเริ่มแรกแล้ว สินทรัพย์ไม่มีตัวตนต้องแสดงราคาด้วย
ราคาทุนหักค่าตัดจำหน่ายสะสมและค่าเผื่อการด้อยค่าของสินทรัพย์นั้น
วิธีตีราคาใหม่
66. หลังจากที่กิจการรับรู้เป็นสินทรัพย์เมื่อเริ่มแรกแล้ว สินทรัพย์ไม่มีตัวตนต้องแสดงด้วยราคาที่ตี
ใหม่ ราคาที่ตีใหม่หมายถึง มูลค่ายุติธรรม ณ วันที่มีการตีราคาใหม่หักด้วยค่าตัดจำหน่ายสะสมที่
คำนวณจากมูลค่ายุติธรรมนั้นและค่าเผื่อการด้อยค่าของสินทรัพย์ ในการตีราคาใหม่ตาม
มาตรฐานการบัญชีฉบับนี้ กิจการต้องกำหนดมูลค่ายุติธรรมของสินทรัพย์ไม่มีตัวตนโดยอ้างอิง
กับราคาที่ได้จากตลาดซื้อขายคล่อง นอกจากนี้การตีราคาใหม่ต้องปฏิบัติอย่างสม่ำเสมอเพื่อให้
การแสดงมูลค่าตามบัญชีของสินทรัพย์ ณ วันที่ในงบดุล ไม่แตกต่างอย่างมีสาระสำคัญจากมูลค่า
ยุติธรรมของสินทรัพย์นั้น
67. ตามปกติ ตลาดซื้อขายคล่องของสินทรัพย์ไม่มีตัวตนซึ่งมีลักษณะตามที่กำหนดไว้ในย่อหน้าที่ 2
มักไม่เกิดขึ้น แต่ในบางครั้ง ตลาดซื้อขายคล่องสำหรับสินทรัพย์ไม่มีตัวตนบางชนิดอาจเกิดขึ้นได้
ตัวอย่างเช่น ตลาดซื้อขายคล่องอาจเกิดขึ้นในบางประเทศสำหรับใบอนุญาตประกอบการรถแท็กซี่
ใบอนุญาตประกอบการประมง หรือโควต้าการผลิต ซึ่งใบอนุญาตดังกล่าวสามารถโอนเปลี่ยนมือได้
อย่างอิสระ อย่างไรก็ตาม ตลาดซื้อขายคล่องไม่สามารถเกิดขึ้นสำหรับชื่อผลิตภัณฑ์ หัวหนังสือพิมพ์
สิทธิในการเผยแพร่ดนตรี และภาพยนตร์ สิทธิบัตร หรือ เครื่องหมายการค้า เนื่องจากสินทรัพย์
ดังกล่าวมีลักษณะเฉพาะตัว ถึงแม้จะมีการซื้อขายสินทรัพย์ไม่มีตัวตนกันบ้าง แต่สัญญาที่ทำขึ้นก็เป็น
การต่อรองระหว่างผู้ซื้อกับผู้ขายแต่ละคน และการซื้อขายดังกล่าวยังค่อนข้างเกิดขึ้นไม่บ่อยด้วย
เหตุผลดังกล่าวราคาที่จ่ายเพื่อซื้อสินทรัพย์เพียงรายการเดียวอาจไม่เพียงพอที่จะใช้เป็นหลักฐาน
อ้างอิงในการกำหนดมูลค่ายุติธรรมให้กับรายการอื่น นอกจากนี้ราคาที่ซื้อขายกันก็มักจะไม่เป็นที่
เปิดเผยต่อสาธารณชน
68. หากกิจการไม่สามารถตีราคาสินทรัพย์ไม่มีตัวตนที่จัดอยู่ในประเภทเดียวกับสินทรัพย์ไม่มีตัวตนที่
ตีราคาใหม่เนื่องจากสินทรัพย์รายการนั้นไม่มีตลาดซื้อขายคล่องรองรับ กิจการต้องแสดงมูลค่า
ตามบัญชีของสินทรัพย์นั้นด้วยราคาทุนเดิมหักด้วยค่าตัดจำหน่ายสะสมและค่าเผื่อการด้อยค่า
ของสินทรัพย์
69. หากมูลค่ายุติธรรมของสินทรัพย์ไม่มีตัวตนที่ตีราคาใหม่ไม่สามารถกำหนดโดยอ้างอิงกับตลาด
ซื้อขายคล่องได้อีกต่อไป มูลค่าตามบัญชีของสินทรัพย์ไม่มีตัวตนนั้นต้องเท่ากับราคาที่ตีใหม่ ณ
วันที่มีการตีราคาครั้งล่าสุดที่อ้างอิงกับราคาตลาดซื้อขายคล่อง หักด้วยค่าตัดจำหน่ายสะสมที่
คำนวณจากราคาที่ตีใหม่ล่าสุด และค่าเผื่อการด้อยค่าของสินทรัพย์ นับจากวันที่ตีราคาครั้งล่าสุด
นั้น
70. กิจการต้องบันทึกมูลค่าตามบัญชีของสินทรัพย์ไม่มีตัวตนที่เพิ่มขึ้นจากการตีราคาใหม่โดยตรงไป
ยังส่วนของเจ้าของภายใต้บัญชี “ส่วนเกินทุนจากการตีราคาสินทรัพย์ไม่มีตัวตน” อย่างไรก็ตาม
18
หากสินทรัพย์นั้นเคยมีการตีราคาลดลงและกิจการได้รับรู้จำนวนที่ลดลงเป็นค่าใช้จ่ายในงวดก่อน
แล้ว ส่วนที่เพิ่มจากการตีราคาใหม่นี้ต้องรับรู้เป็นรายได้ไม่เกินจำนวนที่เคยลดลงของสินทรัพย์
รายการเดียวกันซึ่งได้รับรู้เป็นค่าใช้จ่ายในงวดก่อน
71. กิจการต้องรับรู้มูลค่าตามบัญชีของสินทรัพย์ไม่มีตัวตนที่ลดลงจากการตีราคาใหม่เป็นค่าใช้จ่าย
ทันที อย่างไรก็ตาม หากสินทรัพย์นั้นเคยมีการตีราคาเพิ่มขึ้นและยังมียอดคงค้างอยู่ในส่วนของ
เจ้าของ ส่วนที่ลดลงจากการตีราคาใหม่ต้องนำไปหักออกจาก “ส่วนเกินทุนจากการตีราคา
สินทรัพย์ไม่มีตัวตน” ได้ไม่เกินจำนวนซึ่งเคยตีราคาเพิ่มขึ้นของสินทรัพย์รายการเดียวกัน ส่วนที่
เกินให้รับรู้เป็นค่าใช้จ่ายทันที
อายุการให้ประโยชน์
72. กิจการต้องประเมินอายุการให้ประโยชน์ของสินทรัพย์ไม่มีตัวตนว่าจะกำหนดอายุได้หรือไม่
และถ้าสามารถกำหนดได้ อายุการให้ประโยชน์จะกำหนดจากระยะเวลาหรือจำนวนการผลิตหรือ
หน่วยวัดอื่นๆที่คล้ายคลึงกัน กิจการจะพิจารณาว่าสินทรัพย์ไม่มีตัวตนมีอายุการให้ประโยชน์ที่
ไม่ทราบแน่นอนก็ต่อเมื่อจากการวิเคราะห์ปัจจัยที่เกี่ยวข้องแล้ว ไม่พบข้อจำกัดที่สามารถคาด
ได้เกี่ยวกับระยะเวลาที่สินทรัพย์ดังกล่าวจะสามารถก่อให้เกิดกระแสเงินสดสุทธิที่กิจการจะได้รับ
73. อายุการให้ประโยชน์ของสินทรัพย์ไม่มีตัวตนที่เกิดจากการทำสัญญาหรือสิทธิทางกฎหมายอื่น
จะต้องไม่เกินอายุสัญญาหรือสิทธิทางกฎหมายอื่น แต่อาจจะสั้นกว่าได้ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับระยะเวลาที่
กิจการคาดว่าจะใช้ประโยชน์ในสินทรัพย์นั้นๆ หากสัญญาหรือสิทธิทางกฎหมายนั้นมีระยะเวลาที่
จำกัดแต่สามารถต่ออายุได้ อายุการให้ประโยชน์ของสินทรัพย์ไม่มีตัวตนนั้นต้องรวมระยะเวลาที่
ต่ออายุใหม่ เฉพาะกรณีที่มีหลักฐานสนับสนุนได้ว่ากิจการไม่มีต้นทุนที่เป็นนัยสำคัญจากการต่อ
อายุดังกล่าว
สินทรัพย์ไม่มีตัวตนที่อายุการให้ประโยชน์ทราบได้แน่นอน
ระยะเวลาในการตัดจำหน่ายและวิธีการตัดจำหน่าย
74. กิจการต้องปันส่วนจำนวนที่คิดค่าตัดจำหน่ายของสินทรัพย์ไม่มีตัวตนที่อายุการให้ประโยชน์ทราบ
ได้แน่นอนอย่างมีระบบตลอดอายุการให้ประโยชน์ของสินทรัพย์ไม่มีตัวตน กิจการต้องเริ่มตัด
จำหน่ายสินทรัพย์ไม่มีตัวตนเมื่อสินทรัพย์นั้นพร้อมที่ให้ประโยชน์ได้ เช่น เมื่อสินทรัพย์อยู่ใน
สถานที่และสภาพที่สามารถใช้งานได้ตามความประสงค์ของผู้บริหาร กิจการต้องหยุดการตัด
จำหน่ายสินทรัพย์ไม่มีตัวตน ณ วันที่กิจการจัดประเภทสินทรัพย์ดังกล่าวเป็นสินทรัพย์ที่ถือไว้เพื่อ
ขาย(หรือรวมอยู่ในกลุ่มสินทรัพย์รอจำหน่ายไว้กับสินทรัพย์ที่ถือไว้เพื่อขาย) ตามมาตรฐาน
การบัญชี เรื่อง สินทรัพย์ไม่หมุนเวียนที่ถือไว้เพื่อขายและการดำเนินงานที่ยกเลิก (เมื่อมีการ
ประกาศใช้) หรือวันที่กิจการตัดบัญชีสินทรัพย์นั้นออกจากบัญชี แล้วแต่วันใดจะถึงก่อน วิธีการ
ตัดจำหน่ายที่ใช้ต้องสะท้อนถึงรูปแบบที่กิจการคาดว่าจะได้ใช้ประโยชน์เชิงเศรษฐกิจในอนาคต
หากไม่สามารถกำหนดรูปแบบดังกล่าวได้อย่างน่าเชื่อถือ กิจการต้องใช้วิธีเส้นตรงในการตัด
จำหน่าย ค่าตัดจำหน่ายในแต่ละงวดต้องรับรู้เป็นค่าใช้จ่ายในกำไรหรือขาดทุน เว้นแต่มาตรฐาน
19
การบัญชีฉบับนี้หรือฉบับอื่นจะอนุญาตหรือกำหนดให้กิจการนำค่าตัดจำหน่ายดังกล่าวไปรวมเป็น
มูลค่าตามบัญชีของสินทรัพย์อื่นๆได้
มูลค่าคงเหลือ
75. กิจการต้องกำหนดมูลค่าคงเหลือของสินทรัพย์ไม่มีตัวตนที่อายุการให้ประโยชน์ทราบได้แน่นอน
ให้เป็นศูนย์ เว้นแต่จะเป็นไปตามข้อกำหนดข้อใดข้อหนึ่งต่อไปนี้
75.1 บุคคลที่สามให้สัญญาว่าจะซื้อสินทรัพย์ไม่มีตัวตนเมื่อสินทรัพย์นั้นสิ้นสุดอายุการให้
ประโยชน์
75.2 สินทรัพย์ไม่มีตัวตนนั้นมีตลาดซื้อขายคล่องรองรับ และเป็นไปตามเงื่อนไขทุกข้อต่อไปนี้
75.2.1 มูลค่าคงเหลือสามารถกำหนดได้โดยอ้างอิงกับราคาที่ได้จากตลาดซื้อขาย
คล่อง
75.2.2 มีความเป็นไปได้ค่อนข้างแน่ที่ตลาดซื้อขายคล่องนั้นจะมีอยู่เมื่ออายุการให้
ประโยชน์ของสินทรัพย์สิ้นสุดลง
การทบทวนระยะเวลาในการตัดจำหน่ายและวิธีการตัดจำหน่าย
76. กิจการต้องทบทวนวิธีการตัดจำหน่ายและระยะเวลาการตัดจำหน่ายสินทรัพย์ไม่มีตัวตนที่อายุการ
ให้ประโยชน์ทราบได้แน่นอนทุกงวดปีบัญชีเป็นอย่างน้อย กิจการต้องเปลี่ยนแปลงระยะเวลาใน
การตัดจำหน่ายสินทรัพย์ไม่มีตัวตนหากอายุการให้ประโยชน์ที่คาดไว้ของสินทรัพย์นั้นแตกต่าง
จากที่เคยประมาณไว้ในอดีต ในทำนองเดียวกัน กิจการต้องเปลี่ยนแปลงวิธีการตัดจำหน่าย
สินทรัพย์ไม่มีตัวตนเพื่อสะท้อนให้เห็นถึงรูปแบบที่เปลี่ยนไปหากลักษณะของรูปแบบการให้
ประโยชน์เชิงเศรษฐกิจของสินทรัพย์นั้นเปลี่ยนแปลงไป กิจการต้องถือว่าการเปลี่ยนแปลงทั้งสอง
ประเภทเป็นการเปลี่ยนแปลงประมาณการทางบัญชี ตามมาตรฐานการบัญชีฉบับที่ 39
(ปรับปรุง 2550) เรื่อง นโยบายการบัญชี การเปลี่ยนแปลงประมาณการทางบัญชี และ
ข้อผิดพลาด
สินทรัพย์ไม่มีตัวตนที่อายุการให้ประโยชน์ไม่ทราบแน่นอน
77. กิจการต้องไม่ตัดจำหน่ายสินทรัพย์ไม่มีตัวตนที่อายุการให้ประโยชน์ไม่ทราบแน่นอน
การทบทวนการประเมินอายุการให้ประโยชน์
78. กิจการต้องทบทวนอายุการให้ประโยชน์ของสินทรัพย์ไม่มีตัวตนที่ไม่ได้มีการตัดจำหน่ายทุกงวด
บัญชี เพื่อประเมินว่ายังคงมีเหตุการณ์หรือสถานการณ์ใดหรือไม่ที่สนับสนุนว่าอายุการให้
ประโยชน์ของสินทรัพย์นั้นไม่ทราบแน่นอน หากไม่มีเหตุการณ์หรือสถานการณ์ที่สนับสนุนว่า
สินทรัพย์ดังกล่าวมีอายุการให้ประโยชน์ไม่ทราบแน่นอน กิจการต้องบันทึกการเปลี่ยนแปลง
ประมาณการอายุการให้ประโยชน์ของสินทรัพย์จากสินทรัพย์ไม่มีตัวตนที่อายุการให้ประโยชน์
ไม่ทราบแน่นอนเป็นสินทรัพย์ไม่มีตัวตนที่อายุการให้ประโยชน์ทราบได้แน่นอน โดยถือเป็นการ
20
เปลี่ยนแปลงประมาณการทางการบัญชี ตามมาตรฐานการบัญชีฉบับที่ 39 (ปรับปรุง 2550)
เรื่อง นโยบายการบัญชี การเปลี่ยนแปลงประมาณการทางบัญชี และข้อผิดพลาด
การเลิกใช้และการจำหน่าย
79. กิจการต้องตัดบัญชีสินทรัพย์ไม่มีตัวตนออกจากบัญชี เมื่อ
79.1 กิจการจำหน่ายสินทรัพย์ไม่มีตัวตน หรือ
79.2 กิจการคาดว่าจะไม่ได้รับประโยชน์เชิงเศรษฐกิจในอนาคตจากการนำสินทรัพย์นั้นมาใช้
ประโยชน์หรือจำหน่าย
80. กิจการต้องรับรู้ผลต่างระหว่างจำนวนเงินสุทธิที่ได้รับจากการจำหน่ายสินทรัพย์ไม่มีตัวตน (ถ้ามี)
กับมูลค่าตามบัญชีของสินทรัพย์ไม่มีตัวตนนั้นเป็นรายการกำไรหรือรายการขาดทุนในกำไรหรือ
ขาดทุนทันทีที่เกิด (เว้นแต่มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 29 (ปรับปรุง 2550) เรื่อง สัญญาเช่า
จะกำหนดไว้เป็นอย่างอื่นสำหรับการขายและเช่ากลับคืน) กำไรจากการจำหน่ายดังกล่าวต้องไม่
จัดประเภทเป็นรายได้
การเปิดเผยข้อมูล
การเปิดเผยข้อมูลทั่วไป
81. กิจการต้องเปิดเผยข้อมูลทุกข้อต่อไปนี้ในงบการเงินสำหรับสินทรัพย์ไม่มีตัวตนแต่ละประเภท
โดยแบ่งแยกระหว่างสินทรัพย์ไม่มีตัวตนที่เกิดขึ้นภายในกับสินทรัพย์ไม่มีตัวตนประเภทอื่น
81.1 อายุการให้ประโยชน์ของสินทรัพย์ไม่มีตัวตนที่ทราบได้แน่นอนหรือไม่ทราบแน่นอน หาก
เป็นสินทรัพย์ไม่มีตัวตนที่อายุการให้ประโยชน์ทราบได้แน่นอน ให้เปิดเผยอายุการให้
ประโยชน์หรืออัตราการตัดจำหน่าย
81.2 วิธีการตัดจำหน่ายสำหรับสินทรัพย์ไม่ตัวตนที่อายุการให้ประโยชน์ทราบได้แน่นอน
81.3 มูลค่าตามบัญชีก่อนหักค่าตัดจำหน่ายสะสม และค่าตัดจำหน่ายสะสม รวมทั้งค่าเผื่อ
การด้อยค่าของสินทรัพย์ ณ วันต้นงวดและวันสิ้นงวด
81.4 รายการแต่ละบรรทัดที่แสดงในกำไรหรือขาดทุนซึ่งได้รวมค่าตัดจำหน่ายของสินทรัพย์ไม่
มีตัวตนไว้
81.5 การกระทบยอดระหว่างมูลค่าตามบัญชี ณ วันต้นงวดกับมูลค่าตามบัญชี ณ วันสิ้นงวด
ที่แสดงถึงรายการต่อไปนี้
81.5.1 จำนวนเงินของสินทรัพย์ไม่มีตัวตนที่เพิ่มขึ้น โดยแยกแสดงสินทรัพย์ไม่มี
ตัวตนที่เกิดจากการพัฒนาขึ้นภายในกิจการ สินทรัพย์ไม่มีตัวตนที่ได้มาแยก
ต่างหาก และสินทรัพย์ไม่มีตัวตนที่ได้มาพร้อมกับการรวมธุรกิจ
81.5.2 จำนวนเงินของสินทรัพย์ไม่มีตัวตนที่ได้จัดประเภทเป็นสินทรัพย์ที่ถือไว้เพื่อ
ขายหรือรวมอยู่ในกลุ่มสินทรัพย์รอการจำหน่ายตามมาตรฐานการบัญชี เรื่อง
สินทรัพย์ไม่หมุนเวียนที่ถือไว้เพื่อขายและการดำเนินงานที่ยกเลิก (เมื่อมีการ
ประกาศใช้) หรือสินทรัพย์ที่เลิกใช้หรือจำหน่ายอื่นๆ
21
81.5.3 จำนวนเงินของสินทรัพย์ไม่มีตัวตนที่เพิ่มขึ้นหรือลดลงระหว่างงวดที่เกิดจาก
การตีราคาสินทรัพย์ใหม่ ตามที่กำหนดไว้ในย่อหน้าที่ 66และ 70 ถึง 71
และที่เกิดจากการด้อยค่าของสินทรัพย์ซึ่งรับรู้หรือกลับรายการโดยตรงไปยัง
ส่วนของเจ้าของ (ถ้ามี) ตามมาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 36 (ปรับปรุง
2550) เรื่อง การด้อยค่าของสินทรัพย์ (เมื่อมีการประกาศใช้)
81.5.4 ผลขาดทุนจากการด้อยค่าของสินทรัพย์ไม่มีตัวตนที่รับรู้ในงบกำ ไร
ขาดทุนระหว่างงวด (ถ้ามี) ตามมาตรฐานการบัญชีฉบับที่ 36 (ปรับปรุง
2550) เรื่อง การด้อยค่าของสินทรัพย์ (เมื่อมีการประกาศใช้)
81.5.5 ผลขาดทุนจากการด้อยค่าของสินทรัพย์ไม่มีตัวตนที่กลับบัญชีในงบกำไร
ขาดทุนระหว่างงวด (ถ้ามี) ตามมาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 36 (ปรับปรุง
2550) เรื่อง การด้อยค่าของสินทรัพย์ (เมื่อมีการประกาศใช้)
81.5.6 ค่าตัดจำหน่ายที่รับรู้ในระหว่างงวด
81.5.7 ผลต่างของอัตราแลกเปลี่ยนสุทธิที่เกิดจากการแปลงค่างบการเงินให้เป็นสกุล
เงินที่ใช้รายงาน และการแปลงค่าผลการดำเนินงานในต่างประเทศเป็นสกุล
เงินที่ใช้รายงานของกิจการ
81.5.8 การเปลี่ยนแปลงอื่นที่เกิดขึ้นกับมูลค่าตามบัญชีในระหว่างงวด
82. กิจการต้องเปิดเผยข้อมูลทุกข้อต่อไปนี้ในงบการเงิน
82.1 มูลค่าตามบัญชีของสินทรัพย์ไม่มีตัวตนที่อายุการให้ประโยชน์ไม่ทราบแน่นอนและ
เหตุผลสนับสนุนการประเมินอายุการให้ประโยชน์ที่ไม่ทราบแน่นอน ในการให้เหตุผล
กิจการต้องอธิบายถึงปัจจัยที่มีบทบาทสำคัญในการกำหนดให้สินทรัพย์มีอายุการให้
ประโยชน์ที่ไม่ทราบแน่นอน
82.2 คำอธิบายเกี่ยวกับมูลค่าตามบัญชี และระยะเวลาการตัดจำหน่ายที่เหลืออยู่สำหรับ
สินทรัพย์ไม่มีตัวตนแต่ละรายการที่มีนัยสำคัญต่องบการเงินของกิจการ
82.3 สำหรับสินทรัพย์ไม่มีตัวตนที่ได้มาจากการอุดหนุนของรัฐบาลและรับรู้สินทรัพย์นั้นเมื่อ
เริ่มแรกด้วยมูลค่ายุติธรรม (ดูย่อหน้าที่ 38)
82.3.1 มูลค่ายุติธรรมที่รับรู้เมื่อเริ่มแรกของสินทรัพย์เหล่านั้น
82.3.2 มูลค่าตามบัญชีของสินทรัพย์เหล่านั้น และ
82.3.3 สินทรัพย์เหล่านั้นวัดมูลค่าภายหลังการรับรู้ด้วยวิธีราคาทุนหรือวิธีราคาที่ตี
ใหม่
82.4 การมีอยู่และมูลค่าตามบัญชีของสินทรัพย์ไม่มีตัวตนที่มีข้อจำกัดในการใช้ และมูลค่า
ตามบัญชีของสินทรัพย์ไม่มีตัวตนที่นำไปวางเป็นประกันหนี้สินไว้
82.5 จำนวนเงินที่กิจการผูกมัดตามสัญญาว่าจะซื้อสินทรัพย์ไม่มีตัวตน
การวัดมูลค่าสินทรัพย์ไม่มีตัวตนหลังการรับรู้รายการด้วยวิธีตีราคาใหม่
83. หากกิจการบันทึกสินทรัพย์ไม่มีตัวตนด้วยราคาที่ตีใหม่ กิจการต้องเปิดเผยข้อมูลทุกข้อต่อไปนี้
83.1 ข้อมูลต่อไปนี้โดยแสดงแยกตามประเภทของสินทรัพย์ไม่มีตัวตน
22
83.1.1 วันที่ตีราคาใหม่
83.1.2 มูลค่าตามบัญชีของสินทรัพย์ไม่มีตัวตนที่ตีราคาใหม่ และ
83.1.3 มูลค่าตามบัญชีที่ควรเป็นของสินทรัพย์ไม่มีตัวตนหากใช้วิธีราคาทุนตาม
ย่อหน้าที่ 65
83.2 จำนวนส่วนเกินทุนจากการตีราคาสินทรัพย์ไม่มีตัวตน ณ วันต้นงวดและวันสิ้นงวดโดย
แสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงในระหว่างงวด และข้อจำกัดในการนำส่วนเกินทุนนั้นมา
แบ่งปันให้กับผู้ถือหุ้น
83.3 วิธีการและข้อสมมติที่สำคัญที่ใช้ในการประมาณมูลค่ายุติธรรมของสินทรัพย์ไม่มีตัวตน
รายจ่ายเกี่ยวกับการวิจัยและพัฒนา
84. กิจการต้องเปิดเผยจำนวนรวมของรายจ่ายเกี่ยวกับการวิจัยและพัฒนาซึ่งรับรู้เป็นค่าใช้จ่ายใน
ระหว่างงวด
การปฏิบัติในช่วงเปลี่ยนแปลงและวันที่มีผลบังคับใช้
85. (ย่อหน้านี้ไม่ใช้เนื่องจากไม่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติในประเทศไทย)
86. กิจการต้องปฏิบัติตามมาตรฐานการบัญชีฉบับนี้กับ
86.1 สินทรัพย์ไม่มีตัวตนที่ได้มาพร้อมกับการรวมธุรกิจซึ่งวันที่ในสัญญาเริ่มตั้งแต่วันที่
1 มกราคม 2551 และ
86.2 สินทรัพย์ไม่มีตัวตนอื่นที่ได้มาตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2551 เป็นต้นไป กิจการต้องไม่
ปรับปรุงมูลค่าตามบัญชีของสินทรัพย์ไม่มีตัวตนที่มีอยู่แล้วก่อนวันที่ดังกล่าว อย่างไรก็
ตาม ในวันดังกล่าวกิจการต้องประเมินอายุการให้ประโยชน์ของสินทรัพย์ไม่มีตัวตนใหม่
ตามข้อกำหนดในมาตรฐานการบัญชีฉบับนี้ หากการประเมินดังกล่าวมีผลทำให้กิจการ
ต้องเปลี่ยนแปลงประมาณการอายุการให้ประโยชน์ของสินทรัพย์ กิจการต้องบันทึกการ
เปลี่ยนแปลงดังกล่าวโดยถือเป็นการเปลี่ยนแปลงประมาณการทางการบัญชีตาม
มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 39 (ปรับปรุง 2550) เรื่อง นโยบายการบัญชี การ
เปลี่ยนแปลงประมาณการทางบัญชี และข้อผิดพลาด
การปฏิบัติก่อนวันมีผลบังคับใช้
87. มาตรฐานการบัญชีฉบับนี้สนับสนุนให้กิจการซึ่งมีรายการตามที่กำหนดไว้ในย่อหน้าที่ 86 ปฏิบัติ
ตามมาตรฐานการบัญชีฉบับนี้ก่อนวันที่มีผลบังคับใช้ อย่างไรก็ตาม หากกิจการปฏิบัติตาม
มาตรฐานการบัญชีฉบับนี้ก่อนวันที่มีผลบังคับใช้ กิจการต้องปฏิบัติตามมาตรฐานการบัญชี
ฉบับที่ 43 (ปรับปรุง 2550) เรื่อง การรวมธุรกิจ และมาตรฐานการบัญชีฉบับที่ 36 (ปรับปรุง
2550) เรื่อง การด้อยค่าของสินทรัพย์ (เมื่อมีการประกาศใช้) ในเวลาเดียวกันด้วย

คลิ๊กเพื่อดูไฟล์ฉบับเต็ม

มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 51 (ปรับปรุง 2550) P.1

เรื่อง สินทรัพย์ไม่มีตัวตน
คำแถลงการณ์
มาตรฐานการบัญชีฉบับนี้ใช้แทนมาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 14 เรื่อง การบัญชีสำหรับการ
วิจัยและพัฒนา และการตีความมาตรฐานการบัญชี ลำดับที่ 4 เรื่อง การด้อยค่าของสินทรัพย์-รายจ่ายที่
กิจการในขั้นพัฒนาและกิจการที่พัฒนาแล้วบันทึกไว้เป็นสินทรัพย์
มาตรฐานการบัญชีฉบับนี้เป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนดขึ้นโดยมาตรฐานการบัญชีระหว่าง
ประเทศ ฉบับที่ 38 เรื่อง สินทรัพย์ไม่มีตัวตน (IAS NO.38, Intangible asset (December 31,2006))
โดยไม่มีข้อแตกต่าง
2
มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 51 เรื่อง สินทรัพย์ไม่มีตัวตน
ขอบเขต
1. มาตรฐานการบัญชีฉบับนี้ให้ถือปฏิบัติสำหรับการบันทึกบัญชีเกี่ยวกับสินทรัพย์ไม่มีตัวตนยกเว้น
1.1 สินทรัพย์ไม่มีตัวตนที่กำหนดไว้ในขอบเขตของมาตรฐานการบัญชีฉบับอื่น
1.2 สินทรัพย์ทางการเงินตามคำนิยามที่ระบุไว้ในมาตรฐานการบัญชี เรื่อง การรับรู้รายการและ
การวัดมูลค่าเครื่องมือทางการเงิน (เมื่อมีการประกาศใช้)
1.3 การรับรู้รายการและการวัดมูลค่าของการสำรวจและการประเมินค่าสินทรัพย์ (ดูมาตรฐาน
การบัญชี เรื่อง การสำรวจและการประเมินค่าทรัพยากรแร่ (เมื่อมีการประกาศใช้))
1.4 รายจ่ายในการพัฒนา และขุด แร่ น้ำมัน ก๊าซธรรมชาติ และทรัพยากรที่ไม่สามารถสร้างขึ้น
ใหม่ได้
คำนิยาม
2. คำศัพท์ที่ใช้ในมาตรฐานการบัญชีฉบับนี้มีความหมายโดยเฉพาะ ดังนี้
ตลาดซื้อขายคล่อง หมายถึง ตลาดที่มีคุณสมบัติทุกข้อดังต่อไปนี้
1. รายการที่ซื้อขายในตลาดต้องมีลักษณะเหมือนกัน
2. ต้องมีผู้เต็มใจซื้อและขายตลอดเวลาทำการ
3. ต้องเปิดเผยราคาต่อสาธารณชน
วันที่ตกลงรวมกิจการ หมายถึง วันที่ข้อตกลงที่สำ คัญระหว่างกิจการที่รวมธุรกิจกัน
บรรลุผล และมีการประกาศต่อสาธารณชนในกรณีของ
บริษัทจดทะเบียน สำหรับกรณีที่เป็นการครอบงำกิจการ
แบบปรปักษ์ วันแรกที่ข้อตกลงที่สำคัญระหว่างกิจการที่
รวมธุรกิจกันบรรลุผล คือ วันที่จำนวนหุ้นของผู้ถือหุ้นใน
ธุรกิจที่ถูกซื้อ ซึ่งยอมรับคำเสนอซื้อของผู้ซื้อมีจำนวนหุ้น
มากเพียงพอที่จะทำให้ผู้ซื้อสามารถควบคุม ผู้ถูกซื้อ
การตัดจำหน่าย หมายถึง การปันส่วนจำนวนที่คิดค่าตัดจำหน่ายของสินทรัพย์ไม่มี
ตัวตนอย่างมีระบบตลอดอายุการให้ประโยชน์ ของ
สินทรัพย์นั้น
สินทรัพย์ หมายถึง ทรัพยากรที่เป็นไปตามข้อกำหนดทุกข้อต่อไปนี้
1. อยู่ในความควบคุมของกิจการ ซึ่งเป็นผลมาจาก
เหตุการณ์ในอดีต
2. ก่อให้เกิดประโยชน์เชิงเศรษฐกิจในอนาคตแก่
กิจการ
3
มูลค่าตามบัญชี หมายถึง ราคาของสินทรัพย์ที่รับรู้ในงบดุลหลังจากหักค่าตัด
จำหน่ายสะสมและค่าเผื่อการด้อยค่าของสินทรัพย์
ราคาทุน หมายถึง จำนวนเงินสดหรือรายการเทียบเท่าเงินสดที่กิจการจ่ายไป
หรือมูลค่ายุติธรรมของสิ่งตอบแทนอื่นที่กิจการมอบให้
เพื่อให้ได้มาซึ่งสินทรัพย์ ณ เวลาที่ซื้อหรือสร้าง
สินทรัพย์นั้น หรือจำนวนที่กิจการรับรู้เป็นสินทรัพย์ตาม
ข้ อ กํ า ห น ด ใ น ม า ต ร ฐ า น ก า ร บั ญ ชี ฉ บั บ อื่ น เ ช่ น
มาตรฐานการบัญชี เรื่อง ผลประโยชน์ ตอบแทนของ
พนักงานโดยการให้ส่วนได้เสียในกิจการ (เมื่อมีการ
ประกาศใช้)
จำนวนที่คิดค่าตัด
จำหน่าย
หมายถึง ราคาทุนของสินทรัพย์หรือราคาอื่นที่ใช้แทนราคาทุน หัก
ด้วยมูลค่าคงเหลือ
การพัฒนา หมายถึง การนำผลของการวิจัยหรือความรู้อื่นมาใช้ในแผนงาน
หรือ การออกแบบเพื่อผลิตสิ่งใหม่หรือสิ่งที่ดีขึ้นกว่าเดิม
อย่างเป็นนัยสำคัญก่อนที่จะเริ่มผลิตหรือใช้ในเชิงพาณิชย์
ไม่ว่าสิ่งนั้นจะเป็นวัตถุดิบชิ้นส่วนอุปกรณ์ ผลิตภัณฑ์
กระบวนการ ระบบ หรือบริการ
มูลค่าเฉพาะกิจการ หมายถึง มูลค่าปัจจุบันของกระแสเงินสดที่กิจการคาดว่าจะได้รับ
จากการใช้สินทรัพย์อย่างต่อเนื่อง และจากการขาย
สินทรัพย์นั้นเมื่อสิ้นสุดอายุการให้ประโยชน์หรือที่คาดว่า
จะเกิดเมื่อมีการโอนเพื่อชำระหนี้สิน
มูลค่ายุติธรรม หมายถึง จำนวนเงินที่ผู้ซื้อและผู้ขายตกลงแลกเปลี่ยนสินทรัพย์กัน
ในขณะที่ทั้งสองฝ่ายมีความรอบรู้และเต็มใจในการ
แลกเปลี่ยน และสามารถต่อรองราคากันได้อย่างเป็น
อิสระในลักษณะของผู้ที่ไม่มีความเกี่ยวข้องกัน
รายการขาดทุนจาก
การด้อยค่า
หมายถึง จำนวนของมูลค่าตามบัญชีที่สูงกว่ามูลค่าที่คาดว่าจะ
ได้รับคืนของสินทรัพย์
สินทรัพย์ไม่มีตัวตน หมายถึง สินทรัพย์ที่ไม่เป็นตัวเงินที่สามารถระบุได้และไม่มี
กายภาพ
สินทรัพย์ที่เป็นตัวเงิน หมายถึง เงินสดหรือสินทรัพย์ที่กิจการจะได้รับเป็นจำ นวนที่
แน่นอน หรือที่สามารถทราบได้
4
การวิจัย หมายถึง การสำรวจตรวจสอบที่วางแผนและริเริ่มเพื่อให้ได้มาซึ่ง
ความรู้ความเข้าใจใหม่ ๆ ทางด้านวิทยาศาสตร์หรือ
ทางด้านเทคนิค
มูลค่าคงเหลือของ
สินทรัพย์ไม่มีตัวตน
หมายถึง จำนวนเงินที่กิจการคาดว่าจะได้รับ ณ เวลาปัจจุบันสุทธิ
จากต้นทุนที่คาดว่าจะเกิดขึ้นจากการจำหน่ายสินทรัพย์ไม่
มีตัวตน ประหนึ่งว่าสินทรัพย์มีอายุและสภาพที่คาดว่าจะ
เป็น ณ วันสิ้นอายุการให้ประโยชน์
อายุการให้ประโยชน์ หมายถึง กรณีใดกรณีหนึ่งต่อไปนี้
1. ระยะเวลาที่กิจการคาดว่าจะมีสินทรัพย์ไว้ใช้
2. จำ นวนผลผลิตหรือจำ นวนหน่วยในลักษณะอื่นที่
คล้ายคลึงกัน ซึ่งกิจการคาดว่าจะได้รับจากสินทรัพย์
สินทรัพย์ไม่มีตัวตน
3. กิจการมักใช้ทรัพยากรหรือก่อให้เกิดหนี้สินเพื่อซื้อ พัฒนา รักษาระดับ หรือยกระดับทรัพยากรที่ไม่มี
ตัวตนต่าง ๆ เช่น ความรู้ทางวิทยาศาสตร์หรือความรู้ทางด้านเทคนิค การออกแบบ การนำระบบหรือ
กระบวนการใหม่มาปฏิบัติ สิทธิตามใบอนุญาต สินทรัพย์ทางปัญญา ความรู้ทางการตลาด และ
เครื่องหมายการค้า ซึ่งรวมถึงชื่อผลิตภัณฑ์และชื่อสิ่งพิมพ์ ตัวอย่างของรายการที่เกิดจากทรัพยากร
ข้างต้น ได้แก่ โปรแกรมคอมพิวเตอร์ สิทธิบัตร ลิขสิทธิ์ ฟิล์มภาพยนตร์ รายชื่อลูกค้า สิทธิในการ
ให้บริการสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัย ใบอนุญาตทำการประมง โควต้านำเข้าสินค้า สิทธิที่จะใช้ชื่อและ
ดำเนินธุรกิจ ความสัมพันธ์กับลูกค้าหรือกับผู้ขายสินค้า ความจงรักภักดีต่อสินค้า ส่วนแบ่งตลาด และ
สิทธิทางการตลาด
4. รายการที่ระบุอยู่ในย่อหน้าที่ 3 อาจไม่เข้าเงื่อนไขการเป็นสินทรัพย์ไม่มีตัวตนตามคำนิยามที่ระบุไว้ใน
มาตรฐานการบัญชีฉบับนี้ได้ทุกรายการ รายการที่จะถือเป็นสินทรัพย์ไม่มีตัวตนได้ต้องสามารถระบุได้
ต้องอยู่ภายใต้การควบคุมของกิจการ และต้องก่อให้เกิดประโยชน์เชิงเศรษฐกิจในอนาคต หากรายการ
ใดไม่เป็นไปตามคำนิยามของสินทรัพย์ไม่มีตัวตน กิจการต้องรับรู้รายจ่ายที่เกิดขึ้นเพื่อให้ได้มาหรือ
ก่อให้เกิดซึ่งรายการนั้นเป็นค่าใช้จ่ายทันที อย่างไรก็ตาม หากรายการนั้นเกิดจากการรวมธุรกิจ
รายการดังกล่าวถือเป็นส่วนหนึ่งของค่าความนิยมที่ต้องรับรู้ ณ วันที่ซื้อ (ดูย่อหน้าที่ 62)
สินทรัพย์ไม่มีตัวตนสามารถระบุได้
5. คำนิยามของสินทรัพย์ไม่มีตัวตนกำหนดให้สินทรัพย์ไม่มีตัวตนต้องสามารถระบุแยกจากค่าความนิยม
ได้อย่างชัดเจน ค่าความนิยมที่เกิดขึ้นจากการรวมธุรกิจแสดงถึงการจ่ายที่ผู้ซื้อคาดว่าจะได้มาซึ่ง
ประโยชน์เชิงเศรษฐกิจในอนาคตจากสินทรัพย์ ซึ่งไม่สามารถระบุและรับรู้เป็นรายการแยกต่างหากได้
ประโยชน์เชิงเศรษฐกิจในอนาคตดังกล่าวอาจเกิดขึ้นจากการผนวกระหว่างสินทรัพย์ที่สามารถระบุได้
5
หลายๆรายการที่ได้มารวมกัน หรือเกิดจากสินทรัพย์เหล่านั้น ซึ่งแต่ละรายการไม่เข้าเกณฑ์ที่จะรับรู้ใน
งบการเงิน แต่ผู้ซื้อเต็มใจที่จะจ่ายเพื่อให้ได้มาซึ่งสินทรัพย์เหล่านั้นในการรวมธุรกิจ
6. สินทรัพย์จะเข้าเกณฑ์สามารถระบุได้ตามคำนิยามของสินทรัพย์ไม่มีตัวตนก็ต่อเมื่อ
6.1 สามารถแยกเป็นเอกเทศได้ กล่าวคือสามารถแยกหรือแบ่งจากกิจการ และสามารถ
ขาย โอน ให้สิทธิ ให้เช่า หรือแลกเปลี่ยนได้อย่างเอกเทศ หรือโดยรวมกับสัญญา
สินทรัพย์ หรือหนี้สินที่เกี่ยวข้อง หรือ
6.2 ได้มาจากการทำสัญญาหรือสิทธิทางกฎหมายอื่นๆ โดยไม่คำนึงถึงว่าสิทธิเหล่านั้นจะ
สามารถโอนหรือสามารถแบ่งแยกจากกิจการ หรือจากสิทธิและภาระผูกพันอื่น ๆ
การควบคุม
7. สินทรัพย์ไม่มีตัวตนจะถือว่าอยู่ภายใต้การควบคุมของกิจการหากกิจการมีอำนาจที่จะได้รับประโยชน์
เชิงเศรษฐกิจในอนาคตที่เกิดจากสินทรัพย์นั้น และสามารถจำกัดไม่ให้ผู้อื่นเข้าถึงประโยชน์ดังกล่าว
ตามปกติ ความสามารถที่จะควบคุมประโยชน์เชิงเศรษฐกิจในอนาคตของสินทรัพย์ไม่มีตัวตนมักเกิด
จากสิทธิตามกฎหมายที่มีผลบังคับใช้ ดังนั้น การไม่มีสิทธิตามกฎหมาย เป็นการยากที่จะแสดงให้เห็น
ถึงการควบคุม อย่างไรก็ตาม ความสามารถในการบังคับใช้สิทธิตามกฎหมายไม่ใช่เกณฑ์ที่จำเป็นเพียง
อย่างเดียวสำหรับการควบคุม ทั้งนี้เพราะกิจการอาจสามารถควบคุมประโยชน์เชิงเศรษฐกิจในอนาคต
ในลักษณะอื่นได้
8. ความรู้ทางการตลาดและความรู้ทางเทคนิคอาจก่อให้เกิดประโยชน์เชิงเศรษฐกิจในอนาคต กิจการ
สามารถควบคุมประโยชน์เชิงเศรษฐกิจเหล่านั้นได้ ตัวอย่างเช่น ถ้าความรู้นั้นได้รับการคุ้มครองตาม
กฎหมายในรูปของลิขสิทธิ์ ข้อตกลงในการคุ้มครองทางการค้า (หากกฎหมายอนุญาตให้ทำได้) หรือ
โดยหน้าที่ตามกฎหมายของพนักงานที่จะรักษาความลับเกี่ยวกับความรู้นั้น
9. กิจการอาจมีกลุ่มพนักงานที่มีความเชี่ยวชาญและกิจการอาจสามารถระบุได้ว่าความเชี่ยวชาญของ
พนักงานที่เพิ่มขึ้นจากการอบรม จะทำให้กิจการได้รับประโยชน์เชิงเศรษฐกิจในอนาคตและยังอาจ
คาดได้ว่าพนักงานเหล่านั้นจะใช้ความเชี่ยวชาญเพื่อก่อให้เกิดประโยชน์แก่กิจการได้ต่อไป อย่างไรก็
ตาม กิจการโดยปกติมักไม่มีการควบคุมที่เพียงพอกับประโยชน์เชิงเศรษฐกิจในอนาคตที่คาดว่าจะเกิด
จากกลุ่มพนักงานที่มีความเชี่ยวชาญหรือจากการอบรมพนักงานเหล่านี้จนเกิดสินทรัพย์ไม่มีตัวตนตาม
คำนิยามดังกล่าว ในทำนองเดียวกัน ความสามารถในการบริหารหรือความสามารถพิเศษด้านเทคนิค
ไม่อาจเข้าเกณฑ์เป็นสินทรัพย์ไม่มีตัวตนตามคำนิยาม เว้นแต่กิจการจะได้รับความคุ้มครองตาม
กฎหมายที่จะใช้ประโยชน์จากความสามารถของพนักงานและได้รับประโยชน์เชิงเศรษฐกิจในอนาคต
ตามที่คาดหวัง นอกจากนี้ความสามารถนี้ยังต้องเข้าเกณฑ์อื่นของคำนิยามการเป็นสินทรัพย์ไม่มี
ตัวตน
10. กิจการอาจมีส่วนแบ่งตลาดหรือกลุ่มลูกค้าที่คาดว่าจะดำเนินการค้ากับกิจการต่อไปได้ เนื่องจากกิจการ
พยายามสร้างความสัมพันธ์อันดีกับลูกค้าและความจงรักภักดีของลูกค้าที่มีต่อสินค้าหรือบริการของ
กิจการ อย่างไรก็ตาม กิจการไม่มีสิทธิตามกฎหมายในการคุ้มครอง หรือไม่มีวิธีการควบคุมอื่นเพื่อให้
ลูกค้ามีความสัมพันธ์หรือความจงรักภักดีต่อกิจการ กิจการจึงมักไม่มีอำนาจเพียงพอที่จะควบคุม
6
ประโยชน์เชิงเศรษฐกิจที่คาดว่าจะได้รับจากความสัมพันธ์และความจงรักภักดีของลูกค้า ดังนั้น
รายการข้างต้น (กลุ่มลูกค้า ส่วนแบ่งการตลาด ความสัมพันธ์และความจงรักภักดีของลูกค้า) จึงไม่
เข้าเกณฑ์เป็นสินทรัพย์ไม่มีตัวตนตามคำนิยาม อย่างไรก็ดี การไม่มีสิทธิตามกฎหมายในการคุ้มครอง
ความสัมพันธ์กับลูกค้า แต่หากมีรายการแลกเปลี่ยนเพื่อให้ได้มาซึ่งความสัมพันธ์กับลูกค้า (ที่ไม่ใช่มา
จากการรวมกิจการ) แม้จะไม่ได้ทำเป็นสัญญา กรณีนี้มีหลักฐานว่า กิจการสามารถควบคุมประโยชน์
เชิงเศรษฐกิจในอนาคตที่คาดว่าจะได้รับจากความสัมพันธ์กับลูกค้าได้ และมีหลักฐานว่าความสัมพันธ์
กับลูกค้าดังกล่าวสามารถแยกเป็นเอกเทศได้ ดังนั้น ความสัมพันธ์กับลูกค้าดังกล่าวจะเข้าเกณฑ์เป็น
สินทรัพย์ไม่มีตัวตนตามคำนิยาม
ประโยชน์เชิงเศรษฐกิจในอนาคต
11. ประโยชน์เชิงเศรษฐกิจในอนาคตที่กิจการจะได้รับจากสินทรัพย์ไม่มีตัวตน อาจรวมถึงรายได้จากการ
ขายผลิตภัณฑ์หรือการให้บริการ ต้นทุนที่ประหยัดได้ หรือประโยชน์อื่นที่เกิดขึ้นจากการใช้สินทรัพย์
ไม่มีตัวตนนั้นโดยกิจการ เช่น สินทรัพย์ทางปัญญาที่นำมาใช้กับกระบวนการผลิตอาจช่วยลดต้นทุน
การผลิตในอนาคตแทนที่จะทำให้รายได้ในอนาคตเพิ่มขึ้น
การรับรู้และการวัดมูลค่า
12. ในการรับรู้รายการใดรายการหนึ่งเป็นสินทรัพย์ไม่มีตัวตน กิจการต้องสามารถแสดงให้เห็นว่ารายการ
นั้นเป็นไปตามเงื่อนไขทุกข้อต่อไปนี้
12.1 เป็นไปตามคำนิยามของสินทรัพย์ไม่มีตัวตน (ดูย่อหน้าที่ 2 ถึง 11)
12.2 เป็นไปตามเกณฑ์การรับรู้รายการ (ดูย่อหน้าที่ 15 ถึง 17)
ข้อกำหนดนี้ ให้ถือปฏิบัติกับต้นทุนเริ่มแรกที่เกิดขึ้นเมื่อซื้อหรือสร้างสินทรัพย์ไม่มีตัวตนขึ้น
ภายในกิจการเอง และต้นทุนที่เกิดขึ้นในภายหลังเพื่อเพิ่ม หรือเปลี่ยนแทนบางส่วน หรือ
บำรุงรักษาสินทรัพย์นั้น
13. ย่อหน้าที่ 19 ถึง 26 เกี่ยวกับเกณฑ์การรับรู้สินทรัพย์ไม่มีตัวตนที่ได้มาแยกต่างหาก และย่อหน้าที่ 27
ถึง 37 เกี่ยวกับสินทรัพย์ไม่มีตัวตนที่ได้มาจากการรวมธุรกิจ ย่อหน้าที่ 38 เกี่ยวกับการวัดมูลค่า
เริ่มแรกของสินทรัพย์ไม่มีตัวตนที่ได้มาจากการอุดหนุนของรัฐบาล ย่อหน้าที่ 39 ถึง 41 เกี่ยวกับการ
แลกเปลี่ยนสินทรัพย์ไม่มีตัวตน ย่อหน้าที่ 42 ถึง 44 เกี่ยวกับวิธีปฏิบัติกับค่าความนิยมที่เกิดขึ้น
ภายในกิจการ ย่อหน้าที่ 45 ถึง 61 เกี่ยวกับการรับรู้รายการและวัดมูลค่าเริ่มแรกของสินทรัพย์ไม่มี
ตัวตนที่กิจการสร้างขึ้นภายในกิจการเอง
14. สินทรัพย์ไม่มีตัวตนโดยทั่วไปแล้วจะไม่มีการเพิ่มขึ้นในสินทรัพย์นั้น หรือเปลี่ยนแทนส่วนหนึ่งส่วนใด
ของสินทรัพย์ ดังนั้นรายจ่ายที่เกิดขึ้นภายหลังส่วนใหญ่จึงเป็นการจ่ายเพื่อคงรักษาไว้ในประโยชน์เชิง
เศรษฐกิจในอนาคตของสินทรัพย์ไม่มีตัวตนนั้นมากกว่าที่จะเป็นรายจ่ายเพื่อให้เข้าเกณฑ์ของสินทรัพย์
ไม่มีตัวตนตามคำนิยาม และเกณฑ์การรับรู้สินทรัพย์ไม่มีตัวตนตามที่กำหนดในมาตรฐานการบัญชี
ฉบับนี้ นอกจากนี้แล้วมักเป็นการยากที่จะกระจายรายจ่ายที่เกิดขึ้นภายหลังไปยังสินทรัพย์ไม่มีตัวตน
ใดโดยเฉพาะได้โดยตรง แต่จะถือเป็นรายจ่ายของกิจการโดยรวมมากกว่า ดังนั้น จึงแทบจะไม่มีการ
7
รับรู้รายจ่ายที่เกิดขึ้นภายหลังการรับรู้สินทรัพย์ไม่มีตัวตนที่ได้มาในครั้งแรกหรือรายจ่ายที่เกิดขึ้น
ภายหลังจากการสร้างสินทรัพย์ไม่มีตัวตนขึ้นภายในกิจการเสร็จเรียบร้อยแล้วเป็นมูลค่าตามบัญชีของ
สินทรัพย์ และเพื่อให้สอดคล้องกับข้อกำหนดในย่อหน้าที่ 57 รายจ่ายที่เกิดขึ้นภายหลังสำหรับชื่อ
สินค้า ชื่อสิ่งพิมพ์ รายชื่อลูกค้า และรายการอื่นที่โดยเนื้อหาแล้วคล้ายคลึงกัน (ไม่ว่าจะเป็นสินทรัพย์
ไม่มีตัวตนที่ได้มาจากภายนอกกิจการหรือที่กิจการสร้างขึ้นเอง) ให้รับรู้กำไรในงบหรือขาดทุนเมื่อ
เกิดขึ้น ทั้งนี้เนื่องจากรายจ่ายเหล่านี้ไม่สามารถแบ่งแยกได้อย่างชัดเจนจากรายจ่ายที่จ่ายเพื่อการ
พัฒนาธุรกิจโดยรวม
15. กิจการรับรู้สินทรัพย์ไม่มีตัวตนได้ก็ต่อเมื่อเข้าเกณฑ์ทุกข้อต่อไปนี้
15.1 มีความเป็นไปได้ค่อนข้างแน่ที่กิจการจะได้รับประโยชน์เชิงเศรษฐกิจในอนาคตที่จะ
เกิดจากสินทรัพย์นั้น
15.2 ราคาทุนของสินทรัพย์สามารถวัดมูลค่าได้อย่างน่าเชื่อถือ
16. กิจการต้องประเมินความน่าจะเป็นที่กิจการจะได้รับประโยชน์เชิงเศรษฐกิจในอนาคตจาก
สินทรัพย์ไม่มีตัวตน โดยใช้ข้อสมมติที่สมเหตุสมผลและมีหลักฐานสนับสนุน ข้อสมมติดังกล่าว
ต้องแสดงให้เห็นถึงการประมาณที่ดีที่สุดของฝ่ายบริหารต่อสภาวะทางเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นตลอด
ช่วงอายุการให้ประโยชน์ของสินทรัพย์
17. กิจการต้องใช้ดุลยพินิจในการประเมินระดับความแน่นอนที่กิจการจะได้รับประโยชน์เชิงเศรษฐกิจใน
อนาคตจากการใช้สินทรัพย์ไม่มีตัวตนตามหลักฐานที่มีอยู่ขณะที่รับรู้เมื่อเริ่มแรก โดยให้น้ำหนักกับ
หลักฐานจากภายนอกมากกว่า
18. กิจการต้องวัดมูลค่าสินทรัพย์ไม่มีตัวตนเมื่อเริ่มแรกด้วยราคาทุน
สินทรัพย์ไม่มีตัวตนที่ได้มาแยกต่างหาก
19. โดยทั่วไป ราคาที่กิจการจ่ายเพื่อให้ได้สินทรัพย์ไม่มีตัวตนมาแบบแยกต่างหากสะท้อนถึงความ
คาดหวังเกี่ยวกับความน่าจะเป็นที่กิจการจะได้รับประโยชน์เชิงเศรษฐกิจในอนาคตจากสินทรัพย์ หรือ
กล่าวอีกนัยหนึ่ง ผลกระทบของความน่าจะเป็นจะสะท้อนอยู่ในต้นทุนของสินทรัพย์ ดังนั้น จึงถือได้ว่า
สินทรัพย์ไม่มีตัวตนที่ได้มาแยกต่างหากเข้าเกณฑ์การรับรู้ตามย่อหน้าที่ 15.1 เสมอ
20. นอกจากนี้ ราคาทุนของสินทรัพย์ไม่มีตัวตนที่ได้มาแบบแยกต่างหาก ถือว่าสามารถวัดมูลค่าได้อย่าง
น่าเชื่อถือ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในกรณีที่เป็นการจ่ายซื้อในรูปของเงินสดหรือสินทรัพย์ที่เป็นตัวเงินอื่น
21. ราคาทุนของสินทรัพย์ไม่มีตัวตนที่ได้มาแบบแยกต่างหาก ประกอบด้วย
21.1 ราคาซื้อรวมภาษีนำเข้าและภาษีซื้อที่เรียกคืนไม่ได้ หักด้วยส่วนลดการค้าต่างๆ และจำนวนที่
ได้รับคืนจากผู้ขาย
21.2 ต้นทุนทางตรงอื่นๆ ที่เกี่ยวกับการจัดเตรียมสินทรัพย์เพื่อให้พร้อมที่จะใช้ประโยชน์ได้ตาม
ความประสงค์
8
22. ตัวอย่างของต้นทุนทางตรง ประกอบด้วย
22.1 ต้นทุนผลประโยชน์ตอบแทนพนักงาน (ตามที่กำหนดในมาตรฐานการบัญชี เรื่อง ผลประโยชน์
ของพนักงาน (เมื่อมีการประกาศใช้)) ที่เกิดขึ้นโดยตรงจากการทำให้สินทรัพย์อยู่ในสภาพ
พร้อมใช้งาน
22.2 ค่าธรรมเนียมทางวิชาชีพที่เกิดขึ้นโดยตรงจากการทำให้สินทรัพย์อยู่ในสภาพพร้อมใช้งาน
22.3 ต้นทุนการทดสอบสภาพความพร้อมใช้งาน
23. ตัวอย่างของรายจ่ายที่ไม่ถือเป็นส่วนหนึ่งของต้นทุนสินทรัพย์ไม่มีตัวตน ประกอบด้วย
23.1 ต้นทุนในการแนะนำสินค้าหรือบริการใหม่ (รวมถึงต้นทุนในการโฆษณาและการส่งเสริม
การขาย)
23.2 ต้นทุนในการดำเนินธุรกิจในสถานที่ตั้งใหม่หรือกับลูกค้ากลุ่มใหม่ (รวมทั้งต้นทุนในการ
ฝึกอบรมพนักงาน)
23.3 ต้นทุนในการบริหารและค่าใช้จ่ายทั่วไป
24. การรับรู้ต้นทุนที่เกิดขึ้นเป็นส่วนหนึ่งของมูลค่าตามบัญชีของสินทรัพย์ไม่มีตัวตนจะสิ้นสุดเมื่อ
สินทรัพย์นั้นอยู่ในสถานที่และสภาพที่พร้อมจะใช้งานได้ตามความประสงค์ของผู้บริหารกิจการ ดังนั้น
ต้นทุนที่เกิดขึ้นจากการใช้ประโยชน์หรือการปรับปรุงสินทรัพย์ไม่มีตัวตนจึงไม่รวมเป็นส่วนหนึ่งของ
มูลค่าตามบัญชีของสินทรัพย์นั้น ตัวอย่างของต้นทุนที่ไม่ถือเป็นส่วนหนึ่งของมูลค่าตามบัญชีของ
รายการสินทรัพย์ไม่มีตัวตน ได้แก่
24.1 ต้นทุนที่เกิดขึ้นขณะที่สินทรัพย์ซึ่งอยู่ในสภาพที่พร้อมจะใช้ประโยชน์ได้ตามความประสงค์ของ
ผู้บริหารกิจการ แม้ว่าจะยังไม่ถูกนำมาใช้ก็ตาม และ
24.2 ผลขาดทุนจากการดำเนินงานเริ่มแรก เช่น ผลขาดทุนที่เกิดขึ้นในขณะที่ความต้องการผลผลิต
ยังอยู่ในระดับเริ่มต้น
25. การดำเนินงานบางอย่างอาจเกิดขึ้นโดยมีความเกี่ยวข้องกับการพัฒนาสินทรัพย์ไม่มีตัวตน แต่ไม่ถือ
เป็นสถานการณ์ที่จำเป็นเพื่อการจัดหาสินทรัพย์ให้อยู่ในสถานที่และสภาพที่พร้อมจะใช้งานได้ตาม
ความประสงค์ของผู้บริหารกิจการ การดำเนินงานเหล่านี้อาจเกิดขึ้นในช่วงก่อนหรือในระหว่างการ
พัฒนาสินทรัพย์นั้น กิจการต้องรับรู้รายได้และค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นจากการดำเนินงานดังกล่าวในงบ
กำไรหรือขาดทุน โดยจัดประเภทเป็นรายได้และค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้อง
26. หากระยะเวลาการชำระสินทรัพย์ไม่มีตัวตนนานเกินกว่าระยะเวลาที่ผู้ขายให้สินเชื่อตามปกติ กิจการ
ต้องกำหนดราคาทุนของสินทรัพย์นั้นให้เท่ากับราคาขายเงินสด และบันทึกผลต่างระหว่างราคาที่
เทียบเท่ากับการซื้อด้วยเงินสดและจำนวนเงินทั้งหมดที่ต้องชำระจริงเป็นดอกเบี้ยตลอดอายุของการ
ได้สินเชื่อ เว้นแต่ดอกเบี้ยนั้นจะสามารถรับรู้เป็นส่วนหนึ่งของมูลค่าตามบัญชีของสินทรัพย์ภายใต้
เงื่อนไขของแนวทางที่อาจเลือกปฏิบัติตามมาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 33 (ปรับปรุง 2550) เรื่อง
ต้นทุนการกู้ยืม
9
สินทรัพย์ไม่มีตัวตนที่ได้มาจากการรวมธุรกิจ
27. มาตรฐานการบัญชีฉบับที่ 43 (ปรับปรุง 2550) เรื่อง การรวมธุรกิจ กำหนดว่าหากกิจการได้
สินทรัพย์ไม่มีตัวตนมาจากการรวมธุรกิจ ต้นทุนของสินทรัพย์ไม่มีตัวตนก็คือมูลค่ายุติธรรม
ณ วันที่ซื้อ มูลค่ายุติธรรมของสินทรัพย์ไม่มีตัวตนสะท้อนถึงความคาดหวังของตลาดเกี่ยวกับความ
เป็นไปได้ที่กิจการจะได้รับประโยชน์เชิงเศรษฐกิจในอนาคตจากสินทรัพย์นั้น หรือกล่าวอีกนัยหนึ่ง
ผลกระทบของความเป็นไปได้จะสะท้อนอยู่ในการวัดมูลค่ายุติธรรมของสินทรัพย์ไม่มีตัวตน ดังนั้น
จึงถือได้ว่า สินทรัพย์ไม่มีตัวตนที่ได้มาพร้อมกับการรวมธุรกิจเข้าเกณฑ์การรับรู้ตามย่อหน้าที่ 15.1
เสมอ
28. ดังนั้น เพื่อให้เป็นไปตามมาตรฐานการบัญชีฉบับนี้และมาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 43 (ปรับปรุง
2550) เรื่อง การรวมธุรกิจ ผู้ซื้อกิจการสามารถรับรู้สินทรัพย์ไม่มีตัวตนของผู้ขายแยกจากค่าความ
นิยม ณ วันที่ซื้อ หากสามารถวัดมูลค่ายุติธรรมของสินทรัพย์ได้อย่างน่าเชื่อถือ โดยไม่ต้องคำนึงว่า
ผู้ขายได้รับรู้สินทรัพย์ไม่มีตัวตนนั้นก่อนที่จะมีการรวมธุรกิจหรือไม่ นั่นหมายความว่าผู้ซื้อรับรู้
โครงการวิจัยและพัฒนาที่อยู่ระหว่างดำเนินการของผู้ถูกซื้อเป็นสินทรัพย์แยกต่างหากจากค่าความ
นิยมหากโครงการดังกล่าวเข้าเกณฑ์สินทรัพย์ไม่มีตัวตนตามคำนิยาม และสามารถวัดมูลค่ายุติธรรม
ได้อย่างน่าเชื่อถือ โครงการวิจัยและพัฒนาที่อยู่ระหว่างดำเนินการของผู้ขายจะเข้าเกณฑ์สินทรัพย์ไม่มี
ตัวตนตามคำนิยามก็ต่อเมื่อ
28.1 เป็นไปตามคำนิยามของสินทรัพย์ และ
28.2 สามารถระบุได้ กล่าวคือ แยกต่างหากหรือเกิดขึ้นจากสัญญาหรือสิทธิตามกฎหมายอื่น ๆ
การวัดมูลค่ายุติธรรมของสินทรัพย์ไม่มีตัวตนที่ได้มาจากการรวมธุรกิจ
29. โดยทั่วไป มูลค่ายุติธรรมของสินทรัพย์ไม่มีตัวตนซึ่งได้มาจากการรวมธุรกิจสามารถวัดมูลค่าได้อย่าง
น่าเชื่อถือเพียงพอที่จะสามารถรับรู้แยกต่างหากจากค่าความนิยม ในกรณีที่กิจการใช้วิธีการวัดมูลค่า
ยุติธรรมของสินทรัพย์ไม่มีตัวตนโดยใช้มูลค่าต่าง ๆ กัน ซึ่งมีความน่าจะเป็นที่แตกต่างกันไป เป็นการ
แสดงให้เห็นว่าความไม่แน่นอนดังกล่าวได้นำไปรวมในการประเมินมูลค่ายุติธรรมของสินทรัพย์แล้ว
มิใช่จะแสดงถึงการขาดความสามารถที่จะวัดมูลค่ายุติธรรมได้อย่างน่าเชื่อถือ หากสินทรัพย์ไม่มีตัวตน
ที่ได้มาจากการรวมธุรกิจมีอายุการให้ประโยชน์ที่ทราบได้แน่นอน ให้ถือว่ามีข้อสันนิษฐานที่สามารถ
พิสูจน์ได้ว่าสามารถวัดมูลค่ายุติธรรมได้อย่างน่าเชื่อถือ
30. สินทรัพย์ไม่มีตัวตนที่ได้มาจากการรวมธุรกิจอาจสามารถแบ่งแยกได้เฉพาะเมื่อพิจารณาร่วมกับ
สินทรัพย์มีตัวตนหรือสินทรัพย์ไม่มีตัวตนที่เกี่ยวข้องเท่านั้น ตัวอย่างเช่น ชื่อนิตยสารอาจจะไม่
สามารถขายแยกต่างหากจากฐานข้อมูลสมาชิกลูกค้า หรือเครื่องหมายการค้าสำหรับผลิตภัณฑ์น้ำแร่
อาจจะเกี่ยวข้องกับแหล่งน้ำแร่และไม่สามารถแยกต่างหากจากแหล่งน้ำแร่นั้น ในกรณีดังกล่าว ผู้ซื้อ
กิจการจะรับรู้สินทรัพย์เหล่านั้นรวมเป็นสินทรัพย์รายการเดียวแยกต่างหากจากค่าความนิยมหากไม่
สามารถวัดมูลค่ายุติธรรมของสินทรัพย์แต่ละรายการในกลุ่มสินทรัพย์นั้นได้อย่างน่าเชื่อถือ
31. ในทำนองเดียวกัน คำว่า “ตราผลิตภัณฑ์” และ “ชื่อผลิตภัณฑ์” มักใช้แทนเครื่องหมายการค้าและ
เครื่องหมายอื่น ๆ อย่างไรก็ตาม “ตราผลิตภัณฑ์” โดยทั่วไปเป็นคำศัพท์ด้านการตลาด ซึ่งใช้อ้างถึง
กลุ่มของสินทรัพย์ เช่น เครื่องหมายการค้า (หรือเครื่องหมายของสินค้าประเภทบริการ) และ
10
ชื่อการค้า สูตร ส่วนผสม และความชำนาญด้านเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้อง ผู้ซื้อรับรู้สินทรัพย์ไม่มีตัวตน ซึ่ง
ประกอบกันเป็นตราผลิตภัณฑ์ เหล่านี้ เป็นสินทรัพย์รายการเดียวได้ถ้ามูลค่ายุติธรรมของ
สินทรัพย์แต่ละรายการไม่สามารถวัดมูลค่าได้อย่างน่าเชื่อถือ ถ้าผู้ซื้อสามารถวัดมูลค่ายุติธรรม
ของสินทรัพย์แต่ละรายการในกลุ่มสินทรัพย์ได้อย่างน่าเชื่อถือ ผู้ซื้ออาจยังคงรับรู้รายการดังกล่าวเป็น
สินทรัพย์รายการเดียวได้หากสินทรัพย์แต่ละรายการมีอายุการให้ประโยชน์ใกล้เคียงกัน
32. ในสถานการณ์เดียวที่อาจเป็นไปไม่ได้ที่จะวัดมูลค่ายุติธรรมของสินทรัพย์ไม่มีตัวตนจากการรวมธุรกิจ
ได้อย่างน่าเชื่อถือก็คือ เมื่อสินทรัพย์ไม่มีตัวตนนั้นได้มาโดยกฎหมายหรือสิทธิตามสัญญา และเป็นไป
ตามข้อใดข้อหนึ่ง ต่อไปนี้
32.1 ไม่สามารถแบ่งแยกได้
32.2 สามารถแบ่งแยกได้ แต่ไม่มีประวัติหรือหลักฐานของรายการแลกเปลี่ยนสำหรับสินทรัพย์
ที่เหมือนหรือคล้ายคลึงกับสินทรัพย์ไม่มีตัวตนนั้น ซึ่งจะทำให้การประมาณมูลค่ายุติธรรม
ขึ้นอยู่กับปัจจัยผันแปรที่ไม่สามารถวัดค่าได้
33. ราคาตลาดที่กำหนดในตลาดซื้อขายคล่อง ใช้ประมาณมูลค่ายุติธรรมของสินทรัพย์ไม่มีตัวตนได้อย่าง
น่าเชื่อถือมากที่สุด (ดูย่อหน้าที่ 67) โดยทั่วไปแล้วราคาตลาดที่เหมาะสมก็คือ ราคาเสนอซื้อปัจจุบัน
หากราคาเสนอซื้อปัจจุบันหาไม่ได้ กิจการอาจใช้ราคาของรายการที่คล้ายคลึงกันล่าสุดเป็นฐานในการ
ประมาณมูลค่ายุติธรรม โดยมีข้อแม้ว่าไม่มีการเปลี่ยนแปลงสภาพแวดล้อมทางเศรษฐกิจที่สำคัญ
ระหว่างวันที่เกิดรายการนั้นกับวันที่ประมาณมูลค่ายุติธรรมของสินทรัพย์
34. หากไม่มีตลาดซื้อขายคล่องสำหรับสินทรัพย์ไม่มีตัวตน มูลค่ายุติธรรมของสินทรัพย์นั้นก็คือ จำนวน
เงินที่กิจการจะต้องจ่ายเพื่อสินทรัพย์นั้น ณ วันที่ซื้อ โดยที่ทั้งสองฝ่ายมีความรอบรู้และเต็มใจในการ
แลกเปลี่ยน โดยอาศัยข้อมูลที่ดีที่สุดที่มีอยู่ในขณะนั้น ในการกำหนดจำนวนเงินดังกล่าว กิจการต้อง
พิจารณาถึงผลของรายการซื้อขายสินทรัพย์ที่คล้ายคลึงกันที่เกิดขึ้นล่าสุดร่วมด้วย
35. กิจการที่มีการซื้อหรือขายสินทรัพย์ไม่มีตัวตนที่มีลักษณะเฉพาะเป็นประจำอาจพัฒนาเทคนิคในการ
ประมาณมูลค่ายุติธรรมของสินทรัพย์ไม่มีตัวตนโดยทางอ้อม เทคนิคดังกล่าวอาจนำมาใช้ในการวัด
มูลค่าเมื่อเริ่มแรกของสินทรัพย์ไม่มีตัวตนที่ได้มาจากการรวมธุรกิจ หากเทคนิคเหล่านั้นมีวัตถุประสงค์
เพื่อการประมาณมูลค่ายุติธรรมของสินทรัพย์ไม่มีตัวตน และสะท้อนถึงรายการหรือวิธีปฏิบัติใน
ปัจจุบันของอุตสาหกรรมที่นำสินทรัพย์นั้นมาใช้ประโยชน์ เทคนิคดังกล่าวรวมถึงข้อใดข้อหนึ่งต่อไปนี้
ตามความเหมาะสม
35.1 การนำตัวคูณ (ซึ่งสะท้อนถึงรายการซื้อขายในตลาดปัจจุบัน) มาคูณกับตัวแปรที่มีผลต่อ
ความสามารถในการทำกำไรของสินทรัพย์ (เช่น รายได้ ส่วนแบ่งการตลาด และกำไรจากการ
ดำเนินงาน) หรือคูณกับกระแสเงินค่าสิทธิที่จะได้รับจากการให้สิทธิในการใช้สินทรัพย์ที่ไม่มี
ตัวตนนั้นแก่กิจการอื่นภายใต้เงื่อนไขธุรกิจปกติ หรือ
35.2 การคิดลดประมาณการกระแสเงินสดสุทธิที่จะได้รับในอนาคตจากสินทรัพย์นั้น
11
รายจ่ายที่เกิดขึ้นภายหลังการได้มาซึ่งโครงการวิจัยและพัฒนาที่อยู่ระหว่างดำเนินการ
36. รายจ่ายในการวิจัยและพัฒนาซึ่ง
36.1 เกี่ยวข้องกับโครงการวิจัยหรือพัฒนาที่อยู่ระหว่างดำเนินการซึ่งได้มาแยกต่างหากหรือ
ได้มาจากการรวมธุรกิจและรับรู้เป็นสินทรัพย์ไม่มีตัวตน และ
36.2 เกิดขึ้นหลังจากการได้มาซึ่งโครงการ
การบันทึกบัญชีของรายการดังกล่าวให้เป็นไปตามย่อหน้าที่ 48-56
37. ข้อกำหนดในย่อหน้าที่ 48-56 กำหนดว่า รายจ่ายที่เกิดขึ้นภายหลังของโครงการวิจัยหรือพัฒนาที่อยู่
ระหว่างดำเนินการ ไม่ว่าจะได้มาแบบแยกต่างหาก หรือได้มาจากการรวมธุรกิจ ซึ่งได้รับรู้เป็น
สินทรัพย์ไม่มีตัวตนแล้วจะต้อง
37.1 รับรู้เป็นค่าใช้จ่ายทันทีที่เกิด หากเป็นรายจ่ายในการวิจัย
37.2 รับรู้เป็นค่าใช้จ่ายทันทีที่เกิด หากเป็นรายจ่ายในการพัฒนาซึ่งไม่เป็นไปตามเกณฑ์การรับรู้
สินทรัพย์ไม่มีตัวตนตามย่อหน้าที่ 51 และ
37.3 บันทึกเพิ่มในมูลค่าตามบัญชีของโครงการวิจัยหรือพัฒนาที่อยู่ระหว่างดำเนินการที่ได้มา หาก
รายจ่ายในการพัฒนานั้นเป็นไปตามเกณฑ์การรับรู้สินทรัพย์ไม่มีตัวตนตามย่อหน้าที่ 51
สินทรัพย์ไม่มีตัวตนที่ได้จากการอุดหนุนของรัฐบาล
38. ในบางกรณี กิจการอาจได้สินทรัพย์ไม่มีตัวตนมาจากการอุดหนุนของรัฐบาล โดยไม่ต้องจ่าย
สิ่งตอบแทนใดๆ หรือที่เรียกว่าจ่ายแต่ในนาม ในกรณีนี้อาจเกิดขึ้นเมื่อรัฐบาลโอน หรือปันส่วน
สินทรัพย์ไม่มีตัวตนให้กับกิจการ เช่น สิทธิสำหรับเครื่องบินลงจอด สิทธิในการดำเนินการสถานีวิทยุ
หรือโทรทัศน์ ใบอนุญาตหรือโควต้านำเข้า หรือสิทธิที่จะใช้ทรัพยากรที่มีข้อจำกัดอื่น ตามข้อกำหนด
ในมาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 55 (ปรับปรุง 2550) เรื่อง การบัญชีสำหรับเงินอุดหนุนจากรัฐบาลและ
การเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับความช่วยเหลือจากรัฐบาล (เมื่อมีการประกาศใช้)) กิจการอาจเลือกที่จะ
รับรู้ทั้งสินทรัพย์ไม่มีตัวตนและเงินอุดหนุนเมื่อเริ่มแรกด้วยมูลค่ายุติธรรม หากกิจการเลือกที่จะ
ไม่รับรู้สินทรัพย์เมื่อเริ่มแรกด้วยมูลค่ายุติธรรม กิจการต้องรับรู้สินทรัพย์ด้วยจำนวนที่จ่ายแต่ในนาม
(วิธีที่สามารถปฏิบัติได้ตามมาตรฐานการบัญชีฉบับที่ 55 (ปรับปรุง 2550) เรื่อง การบัญชีสำหรับ
เงินอุดหนุนจากรัฐบาลและการเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับความช่วยเหลือจากรัฐบาล (เมื่อมีการ
ประกาศใช้) บวกกับรายจ่ายโดยตรงที่เกิดขึ้นในการจัดเตรียมสินทรัพย์ให้พร้อมที่จะใช้ประโยชน์ได้
ตามประสงค์
สินทรัพย์ไม่มีตัวตนที่ได้จากการแลกเปลี่ยน
39. กิจการอาจได้รับรายการสินทรัพย์ไม่มีตัวตนจากการแลกเปลี่ยนกับสินทรัพย์ที่ไม่เป็นตัวเงินรายการ
อื่น หรือแลกเปลี่ยนกับทั้งรายการสินทรัพย์ที่เป็นตัวเงินและไม่เป็นตัวเงิน ข้อพิจารณาที่จะกล่าว
ต่อไปนี้เป็นข้อพิจารณาสำหรับกรณีการแลกเปลี่ยนสินทรัพย์ที่ไม่เป็นตัวเงินกับสินทรัพย์ที่ไม่เป็นตัว
เงินรายการอื่น อย่างไรก็ตาม กิจการสามารถใช้ข้อพิจารณาดังกล่าวกับการแลกเปลี่ยนทุกกรณีที่กล่าว
ไว้ได้ กิจการต้องวัดมูลค่าของสินทรัพย์ไม่มีตัวตนที่ได้รับจากการแลกเปลี่ยนดังกล่าวด้วยมูลค่า
ยุติธรรม ยกเว้นในกรณีใดกรณีหนึ่งดังต่อไปนี้

 

ยังมีต่อ