มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 29 (ปรับปรุง 2550)

เรื่อง สัญญาเช่า
(ใช้แทนมาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 7 และฉบับที่ 29)
คำแถลงการณ์
มาตรฐานการบัญชีฉบับนี้เป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนดขึ้นโดยมาตรฐานการบัญชีระหว่างประเทศ
ฉบับที่ 17 เรื่อง สัญญาเช่า พ.ศ. 2549 (IAS N0. 17, Leases (2006))
การปฏิบัติในช่วงเปลี่ยนแปลงมาตรฐานการบัญชี มาตรฐานการบัญชีฉบับนี้กำหนดให้กิจการ
รับรู้รายได้ดอกเบี้ยด้วยวิธีอัตราดอกเบี้ยที่แท้จริง (ยอดเงินต้นคงค้างคูณด้วยอัตราดอกเบี้ยตามนัยของ
สัญญาเช่า) โดยใช้วิธีปรับย้อนหลัง อย่างไรก็ตาม กิจการที่มีสัญญาเช่าคงเหลืออยู่ก่อนวันที่มาตรฐานการ
บัญชีฉบับนี้มีผลบังคับใช้ กิจการจะใช้มูลค่าตามบัญชีคงเหลือ ณ วันบังคับใช้เป็นยอดเริ่มต้นในการ
ตัดบัญชีตามวิธีอัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงตามข้อกำหนดของมาตรฐานการบัญชีฉบับนี้โดยไม่ใช้วิธีปรับ
ย้อนหลัง ก็ได้ อนึ่ง สำหรับในกรณีที่กิจการซึ่งมีสัญญาเช่าซื้อคงเหลืออยู่ก่อนวันที่มาตรฐานการบัญชีฉบับ
นี้มีผลบังคับใช้และได้ใช้วิธีผลรวมตัวเลขในการคำนวณดอกเบี้ยรับ กิจการสามารถใช้วิธีดังกล่าวได้ต่อไป
จนกว่าสัญญาเช่าซื้อคงเหลือที่ยกมานั้นสิ้นสุดลง ทั้งนี้ สัญญาเช่าซื้อคงเหลือที่ยกมาต้องเป็นสัญญาเช่าซื้อ
ที่มีระยะเวลาสั้น (3-4 ปี) และกิจการต้องเปิดเผยข้อมูลของสัญญาเช่าซื้อที่ยกมาแยกจากสัญญาเช่าซื้อ
ใหม่ให้ชัดเจน

มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 29 (ปรับปรุง 2550) เรื่อง สัญญาเช่า
ขอบเขต
1. มาตรฐานการบัญชีฉบับนี้ให้ถือปฏิบัติกับการบัญชีสำหรับสัญญาเช่าทุกรายการ ยกเว้นรายการ
ต่อไปนี้
1.1. สัญญาเช่าเพื่อการสำรวจหรือการใช้ ทรัพยากรแร่ น้ำมัน ก๊าซธรรมชาติ และทรัพยากรที่
ไม่สามารถสร้างขึ้นใหม่ได้
1.2. ข้อตกลงในการให้ใช้สิทธิของรายการประเภทฟิล์มภาพยนตร์ การบันทึกวีดิทัศน์ ละคร
บทประพันธ์ สิทธิบัตร และลิขสิทธิ์
อย่างไรก็ตาม มาตรฐานการบัญชีฉบับนี้ไม่ใช้กับการวัดมูลค่าของรายการต่อไปนี้
1.3. อสังหาริมทรัพย์ที่ผู้เช่าถือครองอยู่และบันทึกเป็นอสังหาริมทรัพย์เพื่อการลงทุน (ดูมาตรฐาน
การบัญชี เรื่อง อสังหาริมทรัพย์เพื่อการลงทุน (เมื่อมีการประกาศใช้))
1.4. อสังหาริมทรัพย์เพื่อการลงทุนที่ผู้ให้เช่าบันทึกเป็นสัญญาเช่าดำเนินงาน (ดูมาตรฐาน
การบัญชี เรื่อง อสังหาริมทรัพย์เพื่อการลงทุน (เมื่อมีการประกาศใช้))
1.5. สินทรัพย์ชีวภาพที่ผู้เช่าถือครองภายใต้สัญญาเช่าการเงิน (ดูมาตรฐานการบัญชีฉบับที่ 57
เรื่อง เกษตรกรรม (เมื่อมีการประกาศใช้))
1.6. สินทรัพย์ชีวภาพที่ผู้ให้เช่าบันทึกเป็นสัญญาเช่าดำเนินงาน (ดูมาตรฐานการบัญชีฉบับที่ 57
เรื่อง เกษตรกรรม (เมื่อมีการประกาศใช้))
คำนิยาม
2. คำศัพท์ที่ใช้ในมาตรฐานการบัญชีฉบับนี้มีความหมายโดยเฉพาะ ดังนี้
สัญญาเช่า หมายถึง สัญญาหรือข้อตกลงที่ผู้ให้เช่าให้สิทธิแก่ผู้เช่าในการใช้สินทรัพย์
สำหรับช่วงเวลาที่ตกลงกันเพื่อแลกเปลี่ยนกับค่าตอบแทนซึ่ง
ได้รับชำระในงวดเดียวหรือหลายงวด
สัญญาเช่าการเงิน หมายถึง สัญญาเช่าที่ทำให้เกิดการโอนความเสี่ยงและผลตอบแทนทั้งหมด
หรือเกือบทั้งหมดที่ผู้เป็นเจ้าของพึงได้รับจากสินทรัพย์ให้แก่ผู้เช่า
ไม่ว่าในที่สุดการโอนกรรมสิทธิ์จะเกิดขึ้นหรือไม่
สัญญาเช่าดำเนินงาน หมายถึง สัญญาเช่าที่มิใช่สัญญาเช่าการเงิน
สัญญาเช่าที่บอกเลิกไม่ได้ หมายถึง สัญญาเช่าที่จะบอกเลิกไม่ได้เว้นแต่จะเป็นไปตามเงื่อนไขข้อใด
ข้อหนึ่งต่อไปนี้
1. เมื่อเกิดเหตุการณ์บางอย่างซึ่งโอกาสที่จะเกิดขึ้นน้อยมาก
2. เมื่อได้รับความยินยอมจากผู้ให้เช่า
3. เมื่อผู้เช่าทำ สัญญาเช่าใหม่กับผู้ให้เช่ารายเดิมเพื่อเช่า
สินทรัพย์เดิมหรือสินทรัพย์ที่เทียบเท่าของเดิม

4. เมื่อผู้เช่าต้องจ่ายเงินเพิ่มโดยที่ ณ วันเริ่มต้นสัญญาเช่า
เป็นที่เชื่อถือได้อย่างสมเหตุผลว่าสัญญาเช่าจะดำเนินไป
อย่างต่อเนื่อง
วันเริ่มต้นของสัญญาเช่า หมายถึง วันที่ทำสัญญาเช่าหรือวันที่คู่สัญญาได้ตกลงตามเงื่อนไขหลักของ
สัญญาเช่า แล้วแต่วันใดจะเกิดขึ้นก่อน ซึ่ง ณ วันนี้
1) สัญญาเช่าจะถูกจัดประเภทเป็นสัญญาเช่าดำเนินงานหรือ
สัญญาเช่าการเงิน
2) ในกรณีของสัญญาเช่าการเงิน กิจการต้องกำหนดจำนวนเงิน
ที่จะต้องรับรู้ ณ วันที่สัญญาเช่าเริ่มมีผล
วันที่สัญญาเช่าเริ่มมีผล หมายถึง วันที่ผู้เช่าสามารถใช้สิทธิตามสัญญาเช่าในสินทรัพย์ที่เช่า
ซึ่งคือวันรับรู้รายการเริ่มแรกตามสัญญาเช่า (เช่น การรับรู้
สินทรัพย์ หนี้สิน รายได้ หรือค่าใช้จ่าย อันเป็นผลมาจากสัญญา
เช่า)
อายุสัญญาเช่า หมายถึง ระยะเวลาเช่าสินทรัพย์ที่ผู้เช่าทำสัญญาที่บอกเลิกไม่ได้ ทั้งนี้ให้
รวมถึงระยะเวลาที่ผู้เช่ามีสิทธิที่จะเลือกต่ออายุสัญญาเช่า
สินทรัพย์นั้นออกไปอีก ไม่ว่าจะมีการจ่ายเงินเพิ่มอีกหรือไม่ หาก
ณ วันเริ่มต้นของสัญญาเช่าสามารถเชื่อได้อย่างสมเหตุสมผลว่า
ผู้เช่าจะเลือกใช้สิทธิเพื่อต่ออายุสัญญาเช่า
จำนวนเงินขั้นต่ำที่ต้องจ่าย หมายถึง จำนวนเงินที่ผู้เช่าต้องจ่ายตลอดอายุสัญญาเช่า รวมกับรายการ
ข้อใดข้อหนึ่ง ดังต่อไปนี้
1) ทางด้านผู้เช่า – จำนวนเงินที่ผู้เช่าหรือบุคคลที่เกี่ยวข้องกับ
ผู้เช่าประกันมูลค่าคงเหลือให้กับผู้ให้เช่า
2) ทางด้านผู้ให้เช่า – มูลค่าคงเหลือที่ได้รับประกันจากผู้เช่า
หรือบุคคลที่เกี่ยวข้องกับผู้เช่า หรือ บุคคลที่สามที่ไม่
เกี่ยวข้องกับผู้ให้เช่าและมีฐานะการเงินที่สามารถให้การ
ประกันแก่ผู้ให้เช่าได้
จำนวนเงินขั้นต่ำที่ต้องจ่ายนี้ไม่รวมถึงค่าเช่าที่อาจเกิดขึ้น ต้นทุน
การให้บริการ และภาษีที่ผู้ให้เช่าจ่ายและเรียกคืนได้จากผู้เช่า
อย่างไรก็ตาม ณ วันเริ่มต้นของสัญญาเช่า ถ้าผู้เช่ามีสิทธิที่จะ
เลือกซื้อสินทรัพย์ด้วยราคาที่คาดว่าจะต่ำกว่ามูลค่ายุติธรรมอย่าง
เป็นสาระสำคัญ ณ วันที่สามารถใช้สิทธิเลือกดังกล่าวและ เชื่อได้
อย่างสมเหตุสมผลว่าผู้เช่าจะใช้สิทธิเลือกนั้น ในกรณีนี้จำนวนเงิน
ขั้นต่ำที่ต้องจ่ายประกอบด้วยจำนวนเงินขั้นต่ำที่ต้องจ่ายตลอดอายุ
ของสัญญาเช่าจนถึงวันที่คาดว่าจะใช้สิทธิเลือกซื้อและจำนวนเงิน
ที่ต้องจ่ายเมื่อใช้สิทธิเลือกซื้อสินทรัพย์ที่เช่าด้วย

มูลค่ายุติธรรม หมายถึง จำนวนเงินที่ผู้ซื้อและผู้ขายตกลงแลกเปลี่ยนสินทรัพย์หรือจ่าย
ชำระหนี้กัน ในขณะที่ทั้งสองฝ่ายมีความรอบรู้และเต็มใจในการ
แลกเปลี่ยน และสามารถต่อรองราคากันได้อย่างเป็นอิสระใน
ลักษณะของผู้ที่ไม่มีความเกี่ยวข้องกัน
อายุการให้ประโยชน์เชิง
เศรษฐกิจ
หมายถึง ข้อใดข้อหนึ่งต่อไปนี้
1) ระยะเวลาที่คาดว่าสินทรัพย์จะให้ประโยชน์เชิงเศรษฐกิจกับ
ผู้ใช้รายเดียวหรือหลายราย
2) จำนวนผลผลิตหรือจำนวนหน่วยในลักษณะอื่นที่คล้ายคลึง
กันซึ่งผู้ใช้รายเดียวหรือหลายรายคาดว่าจะได้รับจากการใช้
สินทรัพย์
อายุการให้ประโยชน์ หมายถึง ระยะเวลาที่เหลืออยู่โดยประมาณนับจากวันที่สัญญาเช่าเริ่มมีผล
ซึ่งกิจการคาดว่าจะได้รับประโยชน์เชิงเศรษฐกิจจากสินทรัพย์
โดยไม่คำนึงถึงอายุสัญญาเช่า
มูลค่าคงเหลือที่ได้รับการ
ประกัน
หมายถึง 1) ทางด้านผู้เช่า-ส่วนของมูลค่าคงเหลือที่ผู้เช่าหรือบุคคลที่
เกี่ยวข้องกับผู้เช่ารับประกันที่จะจ่ายให้แก่ผู้ให้เช่า (จำนวนที่
รับประกันคือ จำนวนเงินสูงสุดที่จะต้องจ่ายไม่ว่าในกรณีใด
ก็ตาม) และ
2) ทางด้านผู้ให้เช่า-ส่วนของมูลค่าคงเหลือที่ผู้เช่าหรือบุคคลที่
สามรับประกันที่จะจ่ายให้แก่ผู้ให้เช่า บุคคลที่สามที่
รับประกันนี้ต้องไม่เกี่ยวข้องกับผู้ให้เช่าและบุคคลดังกล่าว
ต้องมีความสามารถทางการเงินที่จะรับผิดชอบต่อภาระ
ผูกพันที่รับประกันไว้
มูลค่าคงเหลือที่ไม่ได้รับ
การประกัน
หมายถึง ส่วนของมูลค่าคงเหลือของสินทรัพย์ที่ให้เช่า ซี่งผู้ให้เช่าอาจไม่ได้
รับคืน หรือส่วนของมูลค่าคงเหลือของสินทรัพย์ที่ให้เช่า ซึ่งได้รับ
การประกันจากบุคคลที่เกี่ยวข้องกับผู้ให้เช่าเท่านั้น
ต้นทุนทางตรงเริ่มแรก หมายถึง ต้นทุนส่วนเพิ่มที่เกิดขึ้นโดยตรงจากการต่อรองและการทำสัญญา
เช่า ต้นทุนดังกล่าวนี้ไม่รวมถึงต้นทุนในส่วนของผู้ให้เช่าที่เป็น
ผู้ผลิตหรือผู้แทนจำหน่าย
เงินลงทุนขั้นต้นตาม
สัญญาเช่า
หมายถึง ผลรวมของจำนวนเงินขั้นต่ำที่ต้องจ่ายให้กับผู้ให้เช่าตามสัญญา
เช่าการเงินกับมูลค่าคงเหลือที่ไม่ได้รับการประกันให้กับผู้ให้เช่า
เงินลงทุนสุทธิตาม
สัญญาเช่า
หมายถึง เงินลงทุนขั้นต้นตามสัญญาเช่าคิดลดด้วยอัตราดอกเบี้ยตามนัย
ของสัญญาเช่า

รายได้ทางการเงิน
รอการรับรู้
หมายถึง ผลต่างระหว่างเงินลงทุนขั้นต้นตามสัญญาเช่ากับ เงินลงทุนสุทธิ
ตามสัญญาเช่า
อัตราดอกเบี้ยตามนัย
ของสัญญาเช่า
หมายถึง อัตราคิดลด ณ วันที่สัญญาเช่าเริ่มมีผลทำให้ผลรวมของมูลค่า
ปัจจุบันของ
1) จำนวนเงินขั้นต่ำที่ต้องจ่ายและ
2) มูลค่าคงเหลือที่ไม่ได้รับการประกัน มีจำนวนเท่ากับผลรวมของ
2.1 มูลค่ายุติธรรมของสินทรัพย์ที่ให้เช่า และ
2.2 ต้นทุนทางตรงเริ่มแรกของผู้ให้เช่า
อัตราดอกเบี้ยเงินกู้ยืม
ส่วนเพิ่มของผู้เช่า
หมายถึง อัตราดอกเบี้ยที่ผู้เช่าจะต้องจ่ายตามสัญญาเช่าที่คล้ายคลึงกัน
หรือถ้าไม่สามารถกำหนดอัตรานั้นได้จึงให้ใช้อัตราดอกเบี้ยที่
ผู้เช่าจะต้องจ่าย ณ วันเริ่มต้นของสัญญาเช่าในการกู้ยืมเงินที่มี
ระยะเวลาและการค้ำประกันคล้ายคลึงกับที่ระบุไว้ในสัญญาเช่า
เพื่อซื้อสินทรัพย์นั้น
ค่าเช่าที่อาจเกิดขึ้น หมายถึง ส่วนของจำนวนเงินที่ต้องจ่ายตามสัญญาเช่าซึ่งไม่ได้กำหนดไว้
อย่างคงที่ตามระยะเวลาที่ผ่านไป แต่กำหนดให้ขึ้นอยู่กับปัจจัยอื่น
เช่น อัตราร้อยละของยอดขาย ปริมาณการใช้ ดัชนีราคาใน
อนาคต หรืออัตราดอกเบี้ยในตลาดในอนาคต
การจำแนกประเภทของสัญญาเช่า
3. กิจการต้องจัดประเภทสัญญาเช่าเป็นสัญญาเช่าการเงินหากสัญญานั้นโอนความเสี่ยงและผล
ตอบแทน ทั้งหมดหรือเกือบทั้งหมดที่ผู้เป็นเจ้าของพึงได้รับจากสินทรัพย์ไปให้แก่ผู้เช่า และต้อง
จัดประเภทสัญญาเช่าเป็นสัญญาเช่าดำ เนินงานหากสัญญานั้นไม่ได้โอนความเสี่ยงหรือ
ผลตอบแทนทั้งหมดหรือเกือบทั้งหมดที่ผู้เป็นเจ้าของพึงได้รับจากสินทรัพย์ไปให้แก่ผู้เช่า
สัญญาเช่าในงบการเงินของผู้เช่า
สัญญาเช่าการเงิน
การรับรู้เริ่มแรก
4. ณ วันที่สัญญาเช่าเริ่มมีผล ผู้เช่าต้องรับรู้สัญญาเช่าการเงินเป็นสินทรัพย์และหนี้สินในงบดุลของ
ผู้เช่าด้วยจำนวนเงินเท่ากับมูลค่ายุติธรรมของสินทรัพย์ที่เช่า หรือมูลค่าปัจจุบันของจำนวนเงิน
ขั้นต่ำที่ต้องจ่ายแล้วแต่จำนวนใดจะต่ำกว่า ซึ่งพิจารณา ณ วันเริ่มต้นของสัญญาเช่า อัตราคิดลด
ในการคำนวณมูลค่าปัจจุบันของจำนวนเงินขั้นต่ำที่ต้องจ่ายคือ อัตราดอกเบี้ยตามนัยของสัญญา
เช่าหากสามารถกำหนดได้ในทางปฏิบัติ หากในทางปฏิบัติไม่สามารถกำหนดอัตราดอกเบี้ยตาม
นัยได้ ให้ใช้อัตราดอกเบี้ยเงินกู้ยืมส่วนเพิ่มของผู้เช่าเป็นอัตราคิดลด ต้นทุนทางตรงเริ่มแรกของ
ผู้เช่าต้องรวมเป็นส่วนหนึ่งของต้นทุนสินทรัพย์ที่รับรู้

การวัดมูลค่าภายหลังการรับรู้เริ่มแรก
5. จำนวนเงินขั้นต่ำที่ต้องจ่ายต้องนำมาแยกเป็นค่าใช้จ่ายทางการเงินและส่วนที่จะนำไปลดหนี้สินที่
ยังไม่ได้ชำระ ค่าใช้จ่ายทางการเงินต้องปันส่วนให้กับงวดต่างๆ ตลอดอายุสัญญาเช่าเพื่อทำให้
อัตราดอกเบี้ยแต่ละงวดเป็นอัตราคงที่สำหรับยอดคงเหลือของหนี้สินที่เหลืออยู่แต่ละงวด ค่าเช่า
ที่อาจเกิดขึ้นบันทึกเป็นค่าใช้จ่ายในงวดที่เกิดรายการ
6. สัญญาเช่าการเงินทำให้เกิดค่าเสื่อมราคาสำหรับสินทรัพย์เสื่อมสภาพและค่าใช้จ่ายทางการเงิน
สำหรับงวดบัญชีแต่ละงวด นโยบายการคิดค่าเสื่อมราคาสำหรับสินทรัพย์เสื่อมสภาพที่เช่าต้อง
สอดคล้องกับ วิธีการคิดค่าเสื่อมราคาของสินทรัพย์เสื่อมสภาพซึ่งกิจการเป็นเจ้าของ และ
ค่าเสื่อมราคาที่รับรู้ต้องคำนวณตามเกณฑ์ที่ระบุไว้ในมาตรฐานการบัญชีฉบับที่ 32 (ปรับปรุง
2550) เรื่อง ที่ดิน อาคารและอุปกรณ์ (เมื่อมีการประกาศใช้) และมาตรฐานการบัญชี
ฉบับที่ 51 เรื่อง สินทรัพย์ไม่มีตัวตน หากไม่มีความแน่นอนอย่างสมเหตุสมผลที่ผู้เช่าจะเป็น
เจ้าของสินทรัพย์เมื่ออายุสัญญาเช่าสิ้นสุดลง ผู้เช่าต้องตัดค่าเสื่อมราคาของสินทรัพย์ให้หมด
ภายในอายุสัญญาเช่าหรืออายุการให้ประโยชน์แล้วแต่อายุใดจะสั้นกว่า
7. นอกจากที่ผู้เช่าต้องเปิดเผยข้อมูลตามข้อกำหนดที่ระบุไว้ในมาตรฐานการบัญชี เรื่อง การเปิดเผย
ข้อมูลสำหรับเครื่องมือทางการเงิน (เมื่อมีการประกาศใช้) ผู้เช่าต้องเปิดเผยข้อมูลสำหรับสัญญา
เช่าการเงินเพิ่มเติมดังต่อไปนี้
7.1. มูลค่าตามบัญชีสุทธิ ณ วันที่ในงบดุลสำหรับสินทรัพย์แต่ละประเภท
7.2. การกระทบยอด ณ วันที่ในงบดุล ระหว่างจำนวนเงินขั้นต่ำที่ต้องจ่ายทั้งสิ้นกับมูลค่า
ปัจจุบันของจำนวนเงินขั้นต่ำที่ต้องจ่ายทั้งสิ้น นอกจากนั้น ณ วันที่ในงบดุล กิจการต้อง
เปิดเผยจำนวนเงินขั้นต่ำที่ต้องจ่ายทั้งสิ้นและมูลค่าปัจจุบันของจำนวนเงินขั้นต่ำที่ต้องจ่าย
ทั้งสิ้นสำหรับระยะเวลาแต่ละช่วงต่อไปนี้
7.2.1. ระยะเวลาที่ไม่เกินหนึ่งปี
7.2.2. ระยะเวลาที่เกินหนึ่งปีแต่ไม่เกินห้าปี
7.2.3. ระยะเวลาที่เกินห้าปี
7.3. ค่าเช่าที่อาจเกิดขึ้นที่รับรู้เป็นค่าใช้จ่ายในงบกำไรขาดทุนสำหรับงวด
7.4. จำนวนเงินขั้นต่ำทั้งสิ้นที่คาดว่าจะได้รับในอนาคตจากการให้เช่าช่วงที่บอกเลิกไม่ได้
ณ วันที่ในงบดุล
7.5. คำอธิบายโดยทั่วไปของข้อตกลงตามสัญญาเช่าที่มีสาระสำคัญของผู้เช่า ซึ่งรวมถึงแต่ไม่
จำกัดเฉพาะรายการต่อไปนี้
7.5.1. เกณฑ์ในการกำหนดจำนวนที่ต้องจ่ายสำหรับค่าเช่าที่อาจเกิดขึ้น
7.5.2. เงื่อนไขของการต่ออายุสัญญาเช่าหรือเงื่อนไขของสิทธิเลือกซื้อและข้อกำหนดให้
ปรับราคาหรือปรับอัตรา และ
7.5.3. ข้อจำกัดที่กำหนดไว้ในสัญญาเช่า เช่น ข้อจำกัดเกี่ยวกับเงินปันผล การก่อหนี้
เพิ่มเติม และการทำสัญญาเช่าอื่นเพิ่มเติม

สัญญาเช่าดำเนินงาน
8. ผู้เช่าต้องรับรู้จำนวนเงินที่จ่ายตามสัญญาเช่าดำเนินงานเป็นค่าใช้จ่ายตามวิธีเส้นตรงตลอดอายุ
สัญญาเช่า นอกจากว่าจะมีเกณฑ์อื่นที่เป็นระบบซึ่งแสดงถึงประโยชน์ที่ผู้เช่าได้รับในช่วงเวลา1
9. นอกจากที่ผู้เช่าต้องเปิดเผยข้อมูลตามข้อกำหนดที่ระบุไว้ในมาตรฐานการบัญชี เรื่อง การเปิดเผย
ข้อมูลสำหรับเครื่องมือทางการเงิน (เมื่อมีการประกาศใช้) ผู้เช่าต้องเปิดเผยข้อมูลสำหรับ
สัญญาเช่าดำเนินงานเพิ่มเติมดังต่อไปนี้
9.1 จำนวนเงินขั้นต่ำที่ต้องจ่ายในอนาคตทั้งสิ้นภายใต้สัญญาเช่าดำเนินงานที่บอกเลิกไม่ได้
สำหรับระยะเวลาแต่ละช่วงต่อไปนี้
9.1.1. ระยะเวลาที่ไม่เกินหนึ่งปี
9.1.2. ระยะเวลาที่เกินหนึ่งปีแต่ไม่เกินห้าปี
9.1.3. ระยะเวลาที่เกินห้าปี
9.2 จำนวนเงินขั้นต่ำทั้งสิ้นที่คาดว่าจะได้รับในอนาคตจากการเช่าช่วงที่บอกเลิกไม่ได้ ณ วันที่ใน งบ
ดุล
9.3 จำนวนเงินที่ต้องจ่ายตามสัญญาเช่าและจำนวนเงินที่จะได้รับตามสัญญาให้เช่าช่วงที่รับรู้ใน
กำไรขาดทุนสำหรับงวด ซึ่งแยกแสดงจำนวนเงินขั้นต่ำที่ต้องจ่าย ค่าเช่าที่อาจเกิดขึ้น และ
จำนวนเงินที่จะได้รับจากสัญญาให้เช่าช่วง
9.4 คำอธิบายโดยทั่วไปของข้อตกลงสำคัญ ที่ผู้เช่าต้องปฏิบัติตามสัญญาเช่า ซึ่งรวมถึง
รายการต่อไปนี้
9.4.1 เกณฑ์ในการกำหนดจำนวนที่ต้องจ่ายสำหรับค่าเช่าที่อาจเกิดขึ้น
9.4.2 เงื่อนไขของการต่ออายุสัญญาหรือเงื่อนไขของสิทธิเลือกซื้อและข้อกำหนดให้ปรับ
ราคาหรือปรับอัตรา
9.4.3 ข้อจำกัดที่กำหนดไว้ในสัญญาเช่า เช่น ข้อจำกัดเกี่ยวกับเงินปันผล การก่อหนี้
เพิ่มเติม และการทำสัญญาเช่าอื่นเพิ่มเติม
สัญญาเช่าในงบการเงินของผู้ให้เช่า
สัญญาเช่าการเงิน
การรับรู้เริ่มแรก
10. ผู้ให้เช่าต้องรับรู้สินทรัพย์ภายใต้สัญญาเช่าการเงินเป็นลูกหนี้ในงบดุลด้วยจำนวนที่เท่ากับเงิน
ลงทุนสุทธิในสัญญาเช่า
1 ดูการตีความมาตรฐานการบัญชี เรื่อง สิ่งจูงใจสำหรับสัญญาเช่าดำเนินงาน (เมื่อมีการประกาศใช้)

การวัดมูลค่าภายหลังการรับรู้เริ่มแรก
11. การรับรู้รายได้ทางการเงินต้องขึ้นอยู่กับรูปแบบที่สะท้อนถึงอัตราผลตอบแทนคงที่ในแต่ละงวด
ของเงินลงทุนสุทธิของผู้ให้เช่า ซึ่งคงเหลือตามสัญญาเช่าการเงินนั้น
12. ผู้ให้เช่าที่เป็นผู้ผลิตหรือผู้แทนจำหน่ายต้องรับรู้กำไรจากการขายหรือขาดทุนจากการขายใน
งบกำไรขาดทุนสำหรับงวดตามนโยบายการบัญชีที่กิจการใช้สำหรับการขายเสร็จเด็ดขาด
หากอัตราดอกเบี้ยที่ใช้เป็นอัตราที่ต่ำเกินจริง กำไรจากการขายต้องกำหนดขึ้นโดยสมมติให้ใช้
อัตราดอกเบี้ยเชิงพาณิชย์ ต้นทุนทางตรงเริ่มแรกต้องรับรู้เป็นค่าใช้จ่ายเมื่อมีการรับรู้กำไรจาก
การขาย
13. นอกจากที่ผู้ให้เช่าต้องเปิดเผยข้อมูลตามข้อกำหนดที่ระบุไว้ในมาตรฐานการบัญชี เรื่อง การ
เปิดเผยข้อมูลสำหรับเครื่องมือทางการเงิน (เมื่อมีการประกาศใช้) ผู้ให้เช่าต้องเปิดเผยข้อมูล
สำหรับสัญญาเช่าการเงินเพิ่มเติมดังต่อไปนี้
13.1. การกระทบยอด ณ วันที่ในงบดุล ระหว่างผลรวมของเงินลงทุนขั้นต้นทั้งสิ้นตามสัญญา
เช่ากับมูลค่าปัจจุบันของจำนวนเงินขั้นต่ำที่ลูกหนี้ต้องจ่ายตามสัญญาเช่า นอกจากนั้น ณ
วันที่ในงบดุล กิจการต้องเปิดเผยผลรวมของเงินลงทุนขั้นต้นตามสัญญาเช่าและมูลค่า
ปัจจุบันของจำนวนเงินขั้นต่ำที่ลูกหนี้ต้องจ่ายตามสัญญาเช่าสำหรับระยะเวลาแต่ละช่วง
ต่อไปนี้
13.1.1. ระยะเวลาที่ไม่เกินหนึ่งปี
13.1.2. ระยะเวลาที่เกินหนึ่งปีแต่ไม่เกินห้าปี
13.1.3. ระยะเวลาที่เกินกว่าห้าปี
13.2. รายได้ทางการเงินรอการรับรู้
13.3. มูลค่าคงเหลือที่ไม่ได้รับการประกันซึ่งรวมอยู่ในผลประโยชน์ของผู้ให้เช่า
13.4. ค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญของจำนวนเงินขั้นต่ำที่ลูกหนี้ต้องจ่ายตามสัญญาเช่าที่คาดว่าจะ
เก็บไม่ได้
13.5. ค่าเช่าที่อาจเกิดขึ้นที่รับรู้เป็นรายได้สำหรับงวด
13.6. คำอธิบายโดยทั่วไปของข้อตกลงที่สำคัญตามสัญญาเช่าของผู้ให้เช่า
สัญญาเช่าดำเนินงาน
14. ผู้ให้เช่าต้องแสดงสินทรัพย์ที่อยู่ภายใต้สัญญาเช่าดำเนินงานในงบดุลตามลักษณะของสินทรัพย์
15. ผู้ให้เช่าต้องรับรู้รายได้ค่าเช่าจากสัญญาเช่าดำเนินงานในงบกำไรขาดทุนตามเกณฑ์เส้นตรง
ตลอดอายุสัญญาเช่า นอกจากว่าจะมีเกณฑ์อื่นที่เป็นระบบซึ่งแสดงถึงรูปแบบของการได้รับ
ประโยชน์ที่ลดลงจากสินทรัพย์ที่ให้เช่า2
2 ดูการตีความมาตรฐานการบัญชี เรื่อง สิ่งจูงใจสำหรับสัญญาเช่าดำเนินงาน (เมื่อมีการประกาศใช้)

16. ต้นทุนทางตรงเริ่มแรกของผู้ให้เช่าที่เกิดขึ้นในการต่อรองหรือการทำสัญญาเช่าดำเนินงานจะรวม
เป็นส่วนหนึ่งของมูลค่าตามบัญชีของสินทรัพย์ที่เช่า และจะรับรู้เป็นค่าใช้จ่ายตลอดอายุสัญญา
เช่าตามเกณฑ์เช่นเดียวกับการรับรู้รายได้จากสัญญาเช่า
17. ค่าเสื่อมราคาของสินทรัพย์ที่ให้เช่าต้องบันทึกโดยใช้เกณฑ์ที่สอดคล้องกับนโยบายการคิดค่า
เสื่อมราคาตามปกติของสินทรัพย์ที่คล้ายคลึงของผู้ให้เช่า และค่าเสื่อมราคาต้องคำนวณตาม
เกณฑ์ที่กำหนดไว้ในมาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 32 (ปรับปรุง 2550) เรื่อง ที่ดิน อาคารและ
อุปกรณ์ (เมื่อมีการประกาศใช้)และฉบับที่ 51 เรื่อง สินทรัพย์ไม่มีตัวตน
18. นอกจากที่ผู้ให้เช่าต้องเปิดเผยข้อมูลตามข้อกำหนดที่ระบุไว้ในมาตฐานการบัญชี เรื่อง การ
เปิดเผยข้อมูลสำหรับเครื่องมือทางการเงิน(เมื่อมีการประกาศใช้) ผู้ให้เช่าต้องเปิดเผยข้อมูล
สำหรับสัญญาเช่า ดำเนินงานเพิ่มเติม ดังต่อไปนี้
18.1. จำนวนเงินขั้นต่ำที่ต้องจ่ายในอนาคตทั้งสิ้นภายใต้สัญญาเช่าดำเนินงานที่บอกเลิกไม่ได้
โดยแสดงจำนวนรวมสำหรับระยะเวลาแต่ละช่วงต่อไปนี้
18.1.1. ระยะเวลาที่ไม่เกินหนึ่งปี
18.1.2. ระยะเวลาที่เกินหนึ่งปีแต่ไม่เกินห้าปี
18.1.3. ระยะเวลาที่เกินห้าปี
18.2. ค่าเช่าที่อาจเกิดขึ้นที่รับรู้เป็นรายได้สำหรับงวด
18.3. คำอธิบายโดยทั่วไปของข้อตกลงที่สำคัญตามสัญญาเช่าสำหรับผู้ให้เช่า
การขายและเช่ากลับคืน
19. หากรายการขายและเช่ากลับคืนก่อให้เกิดสัญญาเช่าการเงิน สิ่งตอบแทนจากการขายที่สูงกว่า
มูลค่าตามบัญชีของสินทรัพย์จะต้องไม่รับรู้เป็นกำไรของผู้ขายที่เป็นผู้เช่าโดยทันทีแต่ต้องบันทึก
รับรู้เป็นรายการรอตัดบัญชี และตัดจำหน่ายไปตลอดอายุสัญญาเช่า
20. ในกรณีที่การขายและเช่ากลับคืนก่อให้เกิดสัญญาเช่าดำเนินงาน
20.1. หากราคาขายมีจำนวนเทียบเท่ากับมูลค่ายุติธรรมอย่างเห็นได้ชัด ผู้ขายต้องรับรู้
ผลกำไรหรือผลขาดทุนจากการขายทันที
20.2. หากราคาขายมีจำนวนต่ำกว่ามูลค่ายุติธรรม ผู้ขายต้องรับรู้ผลกำไรหรือผลขาดทุนจาก
การขายทันที เว้นแต่ผู้ขายจะได้รับชดเชยผลขาดทุนที่เกิดขึ้นโดยการจ่ายค่าเช่าใน
อนาคตที่ต่ำกว่าราคาตลาด ในกรณีนี้ผู้ขายต้องบันทึกผลขาดทุนจากการขายเป็น
รายการรอการตัดบัญชีและตัดจำหน่ายตามสัดส่วนของจำนวนค่าเช่าที่จ่ายในแต่ละงวด
ตามระยะเวลาที่ผู้ขายที่เป็นผู้เช่าคาดว่าจะใช้ประโยชน์จากสินทรัพย์ที่เช่า
20.3. หากราคาขายมีจำนวนสูงกว่ามูลค่ายุติธรรม ผู้ขายต้องรับรู้จำนวนที่สูงกว่ามูลค่า
ยุติธรรมเป็นรายการรอการตัดบัญชีและตัดจำหน่ายตามระยะเวลาที่คาดว่าจะใช้
ประโยชน์สินทรัพย์ที่เช่า
10
21. สำหรับสัญญาเช่าดำเนินงาน หากมูลค่ายุติธรรม ณ เวลาขายและเช่ากลับคืนต่ำกว่ามูลค่าตาม
บัญชีของสินทรัพย์ กิจการต้องรับรู้ผลต่างระหว่างมูลค่าตามบัญชีและมูลค่ายุติธรรมเป็น
ผลขาดทุนในงบกำไรขาดทุนทันที
วันถือปฏิบัติ
22. วันถือปฏิบัติ
22.1 มาตรฐานการบัญชีฉบับนี้มีผลบังคับใช้สำหรับสัญญาเช่าทุกประเภทที่มีวันเริ่มต้นสัญญา
เช่าในหรือหลังวันที่ 1 มกราคม 2551 เป็นต้นไป
22.2 มาตรฐานการบัญชีฉบับนี้สนับสนุน (แต่ไม่กำหนด) ให้กิจการที่มีสัญญาเช่าที่มีวัน
เริ่มต้นของสัญญาเช่าก่อนวันที่ 1 มกราคม 2551 ปฏิบัติตามมาตรฐานการบัญชีฉบับนี้
โดยวิธีปรับย้อนหลัง หากกิจการมิได้ใช้วิธีปรับย้อนหลัง กิจการจะใช้ยอดยกมาของ
สัญญาเช่า ณ วันที่ 1 มกราคม 2551 เป็นวันเริ่มต้นในการตัดบัญชีตามวิธีอัตรา
ดอกเบี้ยที่แท้จริงสำหรับระยะเวลาเช่าที่เหลืออยู่ให้เป็นไปตามข้อกำหนดของมาตรฐาน
การบัญชีฉบับนี้ ก็ได้
22.3 กิจการที่มีสัญญาเช่าซื้อระยะสั้น (3-4 ปี) ซึ่งทำขึ้นก่อนวันที่ 1 มกราคม 2551 และ
ประสงค์ที่จะใช้วิธีผลรวมจำนวนตัวเลข (วิธีเดิม) ยังคงใช้วิธีดังกล่าวได้ จนกว่าสัญญา
เหล่านั้นสิ้นสุดลง โดยต้องเปิดเผยข้อมูลตามย่อหน้า 13 แยกระหว่างสัญญาเช่าซื้อที่ใช้วิธี
เดิมและวิธีใหม่ทุกงวดบัญชีจนกว่าสัญญาที่ใช้วิธีเดิมนั้นสิ้นสุดลง ในการเปิดเผยจำนวน
มูลค่าปัจจุบันของลูกหนี้ให้เปิดเผยยอดลูกหนี้ เช่าซื้อหักด้วยดอกผลเช่าซื้อรอการ
ตัดบัญชี
วันถือปฏิบัติ
24. มาตรฐานการบัญชีฉบับที่ 29 (ปรับปรุง 2550) ให้ถือปฏิบัติกับงบการเงินสำหรับรอบระยะเวลาบัญชีที่เริ่มในหรือหลังวันที่ 1 มกราคม 2551 เป็นต้นไป

คลิ๊กดูไฟล์ฉบับเต็ม

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น