มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 31 (ปรับปรุง 2550)

เรื่อง สินค้าคงเหลือ
คำแถลงการณ์
มาตรฐานการบัญชีฉบับนี้ได้ปรับปรุงให้เป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนดขึ้นโดย มาตรฐานการบัญชี
ระหว่างประเทศ เรื่อง สินค้าคงเหลือ พ.ศ. 2549 (IAS No. 2 Inventories (2006))

มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 31 (ปรับปรุง 2550) เรื่อง สินค้าคงเหลือ
ขอบเขต
1. มาตรฐานการบัญชีฉบับนี้ถือปฏิบัติกับสินค้าคงเหลือทุกประเภทยกเว้น
1.1 งานระหว่างก่อสร้างภายใต้สัญญาก่อสร้างซึ่งรวมถึงสัญญาการให้บริการที่เกี่ยวข้อง
โดยตรง(ดูมาตรฐานการบัญชีฉบับที่ 49 (ปรับปรุง 2550) เรื่อง สัญญาก่อสร้าง)
1.2 เครื่องมือทางการเงิน
1.3 สินทรัพย์ชีวภาพที่เกี่ยวข้องกับกิจกรรมทางการเกษตรและผลิตผลทางการเกษตร
ณ จุดเก็บเกี่ยว (ดูมาตรฐานการบัญชีฉบับที่ 57 เรื่อง เกษตรกรรม (เมื่อมีการ
ประกาศใช้))
2. มาตรฐานการบัญชีฉบับนี้ไม่ถือปฏิบัติกับการวัดมูลค่าของสินค้าคงเหลือที่ถือไว้โดย
2.1 ผู้ผลิตผลิตภัณฑ์ทางการเกษตร ผลิตภัณฑ์จากป่า ผลิตผลทางการเกษตรภายหลังการเก็บเกี่ยว แร่ และผลิตภัณฑ์จากแร่ เนื่องจากสินค้าคงเหลือเหล่านั้น วัดมูลค่าด้วยมูลค่าสุทธิที่จะได้รับซึ่งเป็นวิธีที่ถือปฏิบัติกันอย่างแพร่หลายในอุตสาหกรรมเหล่านั้น เมื่อกิจการวัดมูลค่าสินค้าคงเหลือ ดังกล่าวด้วยมูลค่าสุทธิที่จะได้รับ การเปลี่ยนแปลงในมูลค่าดังกล่าวจะรับรู้ในกำไรหรือขาดทุน ในงวดที่มีการเปลี่ยนแปลงมูลค่านั้น
2.2 นายหน้า-ผู้ค้าผลิตผลทางการเกษตร ซึ่งวัดมูลค่าสินค้าคงเหลือด้วยมูลค่ายุติธรรมหักต้นทุนในการขาย เมื่อสินค้าคงเหลือดังกล่าววัดมูลค่าด้วยมูลค่ายุติธรรมหักต้นทุนในการขายโดยการเปลี่ยนแปลงในมูลค่ายุติธรรมหักต้นทุนในการขายจะรับรู้ในกำไรหรือขาดทุนในงวดที่มีการเปลี่ยนแปลงมูลค่านั้น

คำนิยาม
3. คำศัพท์ที่ใช้ในมาตรฐานการบัญชีฉบับนี้มีความหมายโดยเฉพาะดังนี้
สินค้าคงเหลือ หมายถึง สินทรัพย์ซึ่ง มีลักษณะใดลักษณะหนึ่งดังต่อไปนี้
1. ถือไว้เพื่อขายตามลักษณะการประกอบธุรกิจตามปกติ
ของกิจการ
2. อยู่ในระหว่างกระบวนการผลิตเพื่อให้เป็นสินค้าสำเร็จรูป
เพื่อขาย
3. อยู่ในรูปของวัตถุดิบ หรือวัสดุที่มีไว้เพื่อใช้ในกระบวนการ
ผลิตสินค้าหรือให้บริการ
มูลค่าสุทธิที่จะได้รับ หมายถึง ราคาโดยประมาณที่คาดว่าจะขายได้ตามปกติของธุรกิจ หักด้วย
ประมาณการต้นทุนในการผลิตสินค้านั้นให้เสร็จและต้นทุนที่
จำเป็นต้องจ่ายไปเพื่อให้ขายสินค้านั้นได้

มูลค่ายุติธรรม หมายถึง จำนวนเงินที่ผู้ซื้อและผู้ขายตกลงแลกเปลี่ยนสินทรัพย์ หรือจ่าย
ชำระหนี้สินในขณะที่ทั้งสองฝ่ายมีความรอบรู้และเต็มใจในการ
แลกเปลี่ยน และสามารถต่อรองราคากันได้อย่างเป็นอิสระใน
ลักษณะของผู้ไม่มีความเกี่ยวข้องกัน
การวัดมูลค่าสินค้าคงเหลือ
4. สินค้าคงเหลือต้องวัดมูลค่าด้วยราคาทุนหรือมูลค่าสุทธิที่จะได้รับ แล้วแต่มูลค่าใดจะต่ำกว่า
ต้นทุนของสินค้าคงเหลือ
5. ต้นทุนของสินค้าคงเหลือต้องประกอบด้วยต้นทุนทั้งหมดในการซื้อ ต้นทุนแปลงสภาพ และต้นทุน
อื่นๆ ที่เกิดขึ้นเพื่อให้สินค้าคงเหลือนั้นอยู่ในสถานที่และอยู่ในสภาพที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน
การคำนวณต้นทุน
6. ต้นทุนสินค้าคงเหลือของแต่ละรายการ ซึ่งตามปกติไม่อาจสับเปลี่ยนกันได้ หรือเป็นสินค้าหรือ
บริการที่ผลิตขึ้นและแยกต่างหากไว้สำหรับโครงการหนึ่งโครงการใดโดยเฉพาะจะคำนวณโดย
ใช้วิธีราคาเจาะจง
7. ต้นทุนสินค้าคงเหลือนอกจากที่กล่าวในย่อหน้า 6 ต้องคำนวณมูลค่าโดยวิธีเข้าก่อนออกก่อน
หรือวิธีถัวเฉลี่ยถ่วงน้ำหนัก กิจการต้องใช้วิธีการคำนวณมูลค่าด้วยวิธีเดียวกันสำหรับสินค้า
คงเหลือทุกชนิดที่มีลักษณะและการใช้คล้ายคลึงกัน สำหรับสินค้าคงเหลือที่มีลักษณะและการใช้
ต่างกันอาจใช้วิธีที่ต่างกันไปได้หากเหมาะสม
การรับรู้เป็นค่าใช้จ่าย
8. เมื่อมีการขายสินค้าคงเหลือออกไป มูลค่าตามบัญชีของสินค้านั้นต้องรับรู้เป็นค่าใช้จ่ายในงวดที่มีการรับรู้รายได้ที่เกี่ยวข้อง มูลค่าที่ลดลงของสินค้าคงเหลือเนื่องจากการปรับมูลค่าให้เท่ากับมูลค่าสุทธิที่จะได้รับ รวมทั้งผลขาดทุนทั้งหมดที่เกี่ยวกับสินค้าคงเหลือต้องบันทึกเป็นค่าใช้จ่ายในงวดที่ปรับมูลค่าสินค้าให้ลดลงหรือมีผลขาดทุนเกิดขึ้น จำนวนที่เกิดจากการกลับรายการปรับลดมูลค่าสินค้าคงเหลือที่เกิดจากการเพิ่มขึ้นของมูลค่าสุทธิที่จะได้รับ ให้รับรู้โดยนำไปหักจากมูลค่าของสินค้าคงเหลือที่รับรู้เป็นค่าใช้จ่ายในงวดบัญชีที่มีการกลับรายการดังกล่าว
การเปิดเผยข้อมูล
9. กิจการต้องเปิดเผยข้อมูลทุกข้อต่อไปนี้ในงบการเงิน
9.1 นโยบายการบัญชีที่ใช้ในการวัดมูลค่าสินค้าคงเหลือ และวิธีที่ใช้คำนวณราคาทุน
9.2 มูลค่าตามบัญชีรวมของสินค้าคงเหลือและมูลค่าตามบัญชีของสินค้าคงเหลือแต่ละ
ประเภทจำแนกตามความเหมาะสมของแต่ละกิจการ
9.3 มูลค่าตามบัญชีรวมของสินค้าคงเหลือที่แสดงด้วยมูลค่ายุติธรรมหักต้นทุนในการขาย
9.4 มูลค่าของสินค้าคงเหลือที่รับรู้เป็นค่าใช้จ่ายในงวดบัญชีนั้น
9.5 มูลค่าของสินค้าคงเหลือที่ปรับลดลงและรับรู้เป็นค่าใช้จ่ายในงวดบัญชีนั้น ตาม
ข้อกำหนดในย่อหน้าที่ 8
9.6 มูลค่าการบันทึกกลับรายการในส่วนที่มีการปรับลดมูลค่าสินค้าคงเหลือ ซึ่งกิจการรับรู้เป็นค่าใช้จ่ายในงวดบัญชีตามข้อกำหนดในย่อหน้าที่ 8
9.7 เหตุการณ์หรือสถานการณ์ที่ทำให้มีการกลับรายการการปรับลดมูลค่าสินค้าตามย่อ
หน้าที่ 8
9.8 มูลค่าตามบัญชีของสินค้าคงเหลือที่ใช้เป็นหลักประกันหนี้สิน
วันถือปฏิบัติ
10. มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 31 (ปรับปรุง 2550) เรื่อง สินค้าคงเหลือ นี้ให้ถือปฏิบัติกับงบการเงินสำหรับรอบระยะเวลาบัญชีที่เริ่มในหรือหลังวันที่ 1 มกราคม 2551 เป็นต้นไป อย่างไรก็ตามกิจการสามารถนำมาตรฐานการบัญชีฉบับนี้มาถือปฏิบัติก่อนวันถือปฏิบัติ หากกิจการนำมาตรฐานการบัญชีฉบับนี้มาถือปฏิบัติก่อนวันถือปฏิบัติ กิจการต้องเปิดเผยข้อเท็จจริงดังกล่าว

คลิ๊กดูไฟล์ฉบับเต็ม

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น