มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 39 (ปรับปรุง 2550)

เรื่อง นโยบายการบัญชี การเปลี่ยนแปลงประมาณการทางบัญชี
และข้อผิดพลาด

คำแถลงการณ์
มาตรฐานการบัญชีฉบับนี้จัดทำขึ้นจากมาตรฐานการบัญชีระหว่างประเทศ ฉบับที่ 8 เรื่อง
นโยบายการบัญชี การเปลี่ยนแปลงประมาณการทางบัญชี และข้อผิดพลาด พ.ศ. 2549 (IAS No.8
“Accounting Policies, Changes in Accounting Estimates and Errors” (revised 2006))

มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 39 (ปรับปรุง 2550) เรื่อง นโยบายการบัญชี การ
เปลี่ยนแปลงประมาณการทางบัญชี และข้อผิดพลาด
ขอบเขต
1. มาตรฐานการบัญชีฉบับนี้ให้ถือปฏิบัติเมื่อมีการเลือกและนำนโยบายการบัญชีมาปฏิบัติ และการบัญชี
สำหรับการเปลี่ยนแปลงนโยบายการบัญชี การเปลี่ยนแปลงประมาณการทางบัญชี หรือการแก้ไข
ข้อผิดพลาดในงวดก่อน
คำนิยาม
2. คำศัพท์ที่ใช้ในมาตรฐานการบัญชีฉบับนี้ มีความหมายโดยเฉพาะดังนี้
นโยบายการบัญชี หมายถึง หลักการ หลักเกณฑ์ ประเพณีปฏิบัติ กฎและวิธี
ปฏิบัติที่เฉพาะ ที่กิจการนำมาใช้ในการจัดทำและ
นำเสนองบการเงิน
การเปลี่ยนแปลงประมาณ
การทางบัญชี
หมายถึง การปรับปรุงมูลค่าตามบัญชีของสินทรัพย์ หรือหนี้สิน
หรือจำ นวนที่มีการใช้ประโยชน์ของสินทรัพย์ใน
ระหว่างงวด อันเป็นผลมาจากการประเมินสภาพ
ปัจจุบันของสินทรัพย์และหนี้สิน และประเมิน
ประโยชน์และภาระผูกพันที่คาดว่าจะเกิดขึ้นใน
อนาคตที่เกี่ยวข้องกับสินทรัพย์และหนี้สินนั้น การ
เปลี่ยนแปลงประมาณการทางบัญชีเป็นผลจากการ
ได้รับข้อมูลใหม่หรือมีประสบการณ์เพิ่มเติมจากเดิม
การเปลี่ยนแปลงประมาณการจึงไม่ถือเป็นการแก้ไข
ข้อผิดพลาด
การละเว้นการแสดงรายการ
หรือการแสดงข้อมูลที่ขัดต่อ
ข้อเท็จจริงที่เป็นสาระสำคัญ
หมายถึง การไม่แสดงรายการหรือการแสดงรายการผิดพลาด
ถือว่ามีสาระสำคัญหากรายการแต่ละรายการหรือทุก
รายการโดยรวมมีผลกระทบต่อการตัดสินใจเชิง
เศรษฐกิจของผู้ใช้งบการเงิน ความมีสาระสำคัญ
ขึ้นอยู่กับขนาดและลักษณะของการไม่แสดงรายการ
หรือการแสดงรายการผิดพลาดซึ่งพิจารณาภายใต้
สถานการณ์แวดล้อม ทั้งนี้ปัจจัยที่ใช้ในการพิจารณา
อาจเป็นขนาดหรือลักษณะของรายการหรือทั้งสอง
อย่างก็ได้
ข้อผิดพลาดในงวดก่อน หมายถึง การละเว้นและการแสดงรายการผิดพลาดในงบ
การเงินของกิจการในงวดก่อนๆ อันเกิดจากการใช้

อย่างผิดพลาดหรือการไม่ใช้ข้อมูลที่น่าเชื่อถือซึ่ง
1. มีอยู่ในงบการเงินของงวดก่อนที่ได้รับการ
อนุมัติให้เผยแพร่
2. สามารถคาดการณ์ได้อย่างสมเหตุสมผลว่า
สามารถหาข้อมูลได้ และนำมาใช้ในการจัดทำ
และการแสดงรายการในงบการเงิน
ข้อผิดพลาดในการนำนโยบายการบัญชีมาใช้
ดังกล่าวรวมถึงผลกระทบจากการคำนวณผิดพลาด
ข้อผิดพลาดจากการใช้นโยบายการบัญชี การ
มองข้ามหรือการตีความข้อเท็จจริงผิดพลาด และ
การทุจริต
การนำนโยบายการบัญชีใหม่
มาถือปฏิบัติย้อนหลัง
หมายถึง การเริ่มใช้นโยบายการบัญชีใหม่สำหรับรายการค้า
เหตุการณ์และสถานการณ์อื่นเสมือนหนึ่งได้ใช้
นโยบายการบัญชีในเรื่องนั้นมาโดยตลอด
การปรับงบการเงินย้อนหลัง หมายถึง การแก้ไขการรับรู้ การวัดมูลค่า และการเปิดเผย
จำนวนเงินขององค์ประกอบของงบการเงินงวดก่อน
เสมือนหนึ่งข้อผิดพลาดในงวดก่อนไม่เคยเกิดขึ้น
การไม่สามารถทำได้ในทาง
ปฏิบัติ
หมายถึง การที่กิจการไม่สามารถปฏิบัติตามข้อกำหนดหลัง
จากที่ได้ใช้ความพยายามอย่างสมเหตุผลทุกประการ
แล้ว เมื่อกิจการเปลี่ยนแปลงนโยบายการบัญชีจะถือ
ว่ากิจการไม่สามารถนำนโยบายการบัญชีใหม่มาถือ
ปฏิบัติกับงบการเงินงวดก่อน หรือไม่สามารถปรับงบ
การเงินย้อนหลังเพื่อแก้ไขข้อผิดพลาดได้ ถ้าเข้า
เงื่อนไขข้อใดข้อหนึ่ง ดังต่อไปนี้:
1. กิจการไม่สามารถระบุผลกระทบที่เกิดจาก
การนำนโยบายการบัญชีใหม่มาถือปฏิบัติ
ย้อนหลังหรือปรับงบการเงินย้อนหลังได้
2. การนำนโยบายการบัญชีใหม่มาถือปฏิบัติ
ย้อนหลังหรือการปรับงบการเงินย้อนหลังนั้น
ต้องใช้ข้อสมมติที่เกี่ยวกับความตั้งใจของ
ฝ่ายบริหารในช่วงเวลาดังกล่าว
3. การนำนโยบายการบัญชีใหม่มาถือปฏิบัติ
ย้อนหลังหรือการปรับงบการเงินย้อนหลังนั้น
ต้องใช้ประมาณการที่สำคัญและเป็นไปไม่ได้
ที่จะแยกข้อมูลที่มีความแน่นอนออกจาก
ประมาณการเหล่านั้น

3.1 ให้หลักฐานเกี่ยวกับสภาพแวดล้อมที่
มีอยู่ ณ วันที่รับรู้ วัดมูลค่า หรือเปิด
เผยข้อมูล
3.2 ควรมีอยู่ ณ วันที่อนุมัติให้ออกงบการ
เงินของงวดก่อน
การเปลี่ยนทันทีเป็นต้นไป หมายถึง การเปลี่ยนแปลงนโยบายการบัญชีและการรับรู้ผล
กระทบจากการเปลี่ยนแปลงประมาณการทางบัญชี
โดยที่
1. ใช้นโยบายการบัญชีใหม่สำหรับรายการค้า เหตุ
การณ์และสถานการณ์อื่นหลังจากวันที่มีการ
เปลี่ยนแปลงนโยบายการบัญชี
2. รับรู้ผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงประมาณการ
ทางบัญชีสำหรับงวดปัจจุบันและงวดอนาคตที่ได้
รับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลง
นโยบายการบัญชี
การเลือกใช้และการปฏิบัติตามนโยบายการบัญชี
3. เมื่อกิจการนำมาตรฐานการบัญชีหรือการตีความตามมาตรฐานการบัญชีไปถือปฏิบัติเป็นการเฉพาะกับ
รายการค้า เหตุการณ์ หรือสถานการณ์อื่นทางบัญชี นโยบายการบัญชีหรือวิธีปฏิบัติทางบัญชีที่นำมาใช้
ปฏิบัติกับรายการดังกล่าวต้องเป็นไปตามข้อกำหนดของมาตรฐานการบัญชีหรือการตีความมาตรฐาน
การบัญชีและแนวทางปฏิบัติทางการบัญชีสำหรับเรื่องนั้น
4. ในกรณีที่ไม่มีมาตรฐานการบัญชีหรือการตีความมาตรฐานการบัญชีโดยเฉพาะสำหรับรายการค้า
เหตุการณ์หรือสถานการณ์อื่น ฝ่ายบริหารต้องใช้ดุลยพินิจในการเลือกใช้นโยบายการบัญชีที่ส่งผลให้
ข้อมูลในงบการเงินมีลักษณะดังต่อไปนี้
4.1 มีความเกี่ยวข้องกับการตัดสินใจเชิงเศรษฐกิจของผู้ใช้งบการเงิน
4.2 มีความน่าเชื่อถือโดยทำให้งบการเงินของกิจการ
4.2.1 แสดงฐานะการเงิน ผลการดำเนินงาน และกระแสเงินสดของกิจการอย่างเที่ยงธรรม
4.2.2 สะท้อนเนื้อหาเชิงเศรษฐกิจของรายการค้า เหตุการณ์หรือสถานการณ์อื่น โดยไม่
คำนึงถึงรูปแบบทางกฎหมาย
4.2.3 ความเป็นกลางกล่าวคือปราศจากความลำเอียง
4.2.4 จัดทำขึ้นตามหลักความระมัดระวัง
4.2.5 มีความครบถ้วนในทุกส่วนที่มีสาระสำคัญ
5. การใช้ดุลยพินิจตามย่อหน้าที่ 4 ฝ่ายบริหารต้องอ้างอิงและพิจารณาการใช้นโยบายการบัญชี
จากแหล่งต่างๆ ตามลำดับต่อไปนี้

5.1 ข้อกำหนดและแนวปฏิบัติที่ระบุไว้ในมาตรฐานการบัญชีหรือการตีความมาตรฐานการบัญชี
สำหรับเรื่องที่คล้ายและเกี่ยวข้องกัน
5.2 คำนิยาม เกณฑ์การรับรู้รายการและแนวคิดการวัดมูลค่าสำหรับสินทรัพย์ หนี้สิน รายได้ และ
ค่าใช้จ่ายที่ระบุไว้ในแม่บทการบัญชี
6. การใช้ดุลยพินิจตามย่อหน้าที่ 4 ฝ่ายบริหารอาจพิจารณาจากประกาศที่ออกล่าสุดของหน่วยงานอื่นที่
ใช้แนวคิดคล้ายกันในการพัฒนามาตรฐานการบัญชี วรรณกรรมทางการบัญชี และวิธีปฏิบัติที่เป็นที่
ยอมรับในอุตสาหกรรม โดยต้องไม่ขัดแย้งกับแหล่งอ้างอิงตามย่อหน้าที่ 5
ความสม่ำเสมอของนโยบายการบัญชี
7. กิจการต้องเลือกใช้และนำนโยบายการบัญชีมาถือปฏิบัติอย่างสม่ำเสมอกับรายการค้า เหตุการณ์และ
สถานการณ์อื่นที่มีลักษณะคล้ายคลึงกัน เว้นแต่มาตรฐานการบัญชีหรือการตีความมาตรฐานการบัญชี
ได้กำหนดหรืออนุญาตเป็นการเฉพาะให้ใช้นโยบายการบัญชีที่แตกต่างกันได้สำหรับรายการแต่ละ
ประเภท หากมาตรฐานการบัญชีหรือการตีความมาตรฐานการบัญชีกำหนดหรืออนุญาตให้ปฏิบัติ
ดังกล่าวได้ กิจการต้องเลือกและนำนโยบายการบัญชีที่เหมาะสมมาถือปฏิบัติอย่างสม่ำเสมอสำหรับ
รายการแต่ละประเภท
การเปลี่ยนแปลงนโยบายการบัญชี
8. กิจการต้องเปลี่ยนแปลงนโยบายการบัญชี ถ้าการเปลี่ยนแปลงนั้น เข้าเงื่อนไขข้อใดข้อหนึ่ง ดังนี้
8.1 เกิดจากข้อกำหนดของมาตรฐานการบัญชีหรือการตีความมาตรฐานการบัญชี
8.2 ทำให้งบการเงินให้ข้อมูลที่น่าเชื่อถือและเกี่ยวข้องการตัดสินใจมากขึ้นในส่วนที่เกี่ยวกับ
ผลกระทบของรายการค้า เหตุการณ์และสถานการณ์อื่นที่มีต่อฐานะทางการเงิน ผลการ
ดำเนินงาน และกระแสเงินสดของกิจการ
9. กรณีต่อไปนี้ไม่ถือเป็นการเปลี่ยนแปลงนโยบายการบัญชี
9.1 การนำนโยบายการบัญชีใหม่มาถือปฏิบัติกับรายการค้า เหตุการณ์ หรือสถานการณ์อื่นที่มี
เนื้อหาแตกต่างจากรายการและเหตุการณ์ที่เคยเกิดขึ้นมาก่อน
9.2 การนำนโยบายการบัญชีใหม่มาถือปฏิบัติกับรายการค้า เหตุการณ์ และสถานการณ์อื่นที่
ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน หรือเคยเกิดขึ้นแต่ไม่มีสาระสำคัญ
10. การเริ่มนำนโยบายการบัญชีสำหรับการบันทึกมูลค่าสินทรัพย์ด้วยราคาที่ตีใหม่ตามมาตรฐานการบัญชี
ฉบับที่ 32 (ปรับปรุง 2550) เรื่อง ที่ดิน อาคารและอุปกรณ์ (เมื่อมีการประกาศใช้) หรือมาตรฐาน
การบัญชี ฉบับที่ 51 (ปรับปรุง 2550) เรื่อง สินทรัพย์ไม่มีตัวตน (เมื่อมีการประกาศใช้) ถือเป็นการ
เปลี่ยนแปลงนโยบายการบัญชีเกี่ยวกับการปรับมูลค่าตามมาตรฐานการบัญชีฉบับดังกล่าว มากกว่าที่
จะเป็นการเปลี่ยนแปลงนโยบายการบัญชีตามมาตรฐานการบัญชีฉบับนี้

การเปลี่ยนแปลงนโยบายการบัญชี
11. ยกเว้นกรณีที่กิจการไม่สามารถนำนโยบายการบัญชีใหม่มาถือปฏิบัติย้อนหลังกับงบการเงินสำหรับ
งวดบัญชีก่อนได้ตามที่กล่าวในย่อหน้าที่ 13
11.1 กิจการต้องบันทึกการเปลี่ยนแปลงนโยบายการบัญชี ซึ่งเป็นผลมาจากการเริ่มนำมาตรฐาน
การบัญชีหรือการตีความมาตรฐานการบัญชีมาถือปฏิบัติตามที่กำหนดไว้ในวิธีปฏิบัติในช่วง
เปลี่ยนแปลงของมาตรฐานการบัญชีหรือการตีความมาตรฐานการบัญชีฉบับดังกล่าว
11.2 หากกิจการเปลี่ยนแปลงนโยบายการบัญชีอันเป็นผลจากการเริ่มนำมาตรฐานการบัญชีหรือ
การตีความมาตรฐานการบัญชีมาถือปฏิบัติ แต่มาตรฐานการบัญชี หรือการตีความมาตรฐาน
การบัญชีนั้นไม่ได้กำหนดวิธีปฏิบัติในช่วงเปลี่ยนแปลงหรือกิจการเปลี่ยนแปลงนโยบาย
การบัญชีด้วยความสมัครใจ กิจการต้องปรับงบการเงินย้อนหลังสำหรับการเปลี่ยนแปลงนั้น
การนำนโยบายการบัญชีใหม่มาถือปฏิบัติย้อนหลัง
12. ยกเว้นกรณีที่กิจการไม่สามารถนำนโยบายการบัญชีใหม่มาถือปฏิบัติย้อนหลังกับงบการเงินงวดก่อน
ตามที่กล่าวในย่อหน้าที่ 13 เมื่อกิจการเปลี่ยนแปลงนโยบายการบัญชีซึ่งต้องปรับย้อนหลังตามที่กล่าว
ไว้ในย่อหน้าที่ 11.1 หรือ 11.2 กิจการต้องปรับยอดยกมาต้นงวดขององค์ประกอบในส่วนของเจ้าของ
ที่ได้รับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงนโยบายการบัญชีสำหรับงบการเงินงวดแรกสุดและแต่ละงวดที่
ได้แสดงเป็นข้อมูลเปรียบเทียบ โดยถือเสมือนว่าได้มีการนำนโยบายการบัญชีใหม่มาถือปฏิบัติโดย
ตลอด
ข้อจำกัดที่ทำให้ไม่สามารถนำนโยบายการบัญชีใหม่มาถือปฏิบัติย้อนหลัง
13. หากกิจการต้องนำนโยบายการบัญชีใหม่มาถือปฏิบัติย้อนหลังตามย่อหน้าที่ 11.1 หรือ 11.2 กิจการ
ต้องปรับงบการเงินย้อนหลัง เว้นแต่กิจการไม่สามารถทำได้ในทางปฏิบัติ เนื่องจากไม่สามารถระบุ
ผลกระทบที่เกิดขึ้นในแต่ละงวดบัญชี หรือไม่สามารถระบุผลกระทบสะสมที่เกิดขึ้นจากการเปลี่ยนแปลง
นโยบายการบัญชีได้
14. หากในทางปฏิบัติ กิจการไม่สามารถระบุผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการเปลี่ยนแปลงนโยบายการบัญชีของ
แต่ละงวด หรือผลกระทบของงวดใดงวดหนึ่ง หรือหลายงวดที่แสดงเป็นข้อมูลเปรียบเทียบได้ กิจการ
ต้องนำนโยบายการบัญชีใหม่มาถือปฏิบัติกับมูลค่าตามบัญชีของสินทรัพย์และหนี้สินต้นงวดของงวด
บัญชีแรกสุดที่สามารถปฏิบัติได้ ซึ่งอาจเป็นงวดบัญชีปัจจุบัน โดยกิจการต้องปรับยอดคงเหลือยกมา
ต้นงวดของแต่ละองค์ประกอบในส่วนของเจ้าของที่ได้รับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงนโยบายการบัญชี
สำหรับงวดบัญชีนั้น
15. หากในทางปฏิบัติ กิจการไม่สามารถระบุผลกระทบสะสมที่เกิดขึ้น ณ วันต้นงวดของงวดบัญชีปัจจุบัน
จากการเปลี่ยนแปลงนโยบายการบัญชีของงวดบัญชีก่อนๆ ได้ กิจการต้องปรับปรุงข้อมูลเปรียบเทียบ
เพื่อแสดงถึงการเปลี่ยนแปลงนโยบายการบัญชีโดยใช้วิธีเปลี่ยนทันทีเป็นต้นไปนับจากวันแรกสุดที่
สามารถปฏิบัติได้

การเปิดเผยข้อมูล
16. เมื่อกิจการเริ่มนำมาตรฐานการบัญชีหรือการตีความมาตรฐานการบัญชีมาถือปฏิบัติทำให้เกิดผลกระทบ
ต่องวดบัญชีปัจจุบัน หรืองวดบัญชีก่อน หากกิจการไม่สามารถระบุจำนวนเงินของการปรับปรุง
ผลกระทบนั้นหรือหากผลกระทบนั้นมีผลต่องวดบัญชีในอนาคต กิจการต้องเปิดเผยข้อมูลดังต่อไปนี้
16.1 ชื่อมาตรฐานการบัญชีหรือการตีความมาตรฐานการบัญชีฉบับที่นำมาถือปฏิบัติ
16.2 การเปลี่ยนแปลงนโยบายการบัญชีเป็นการปฏิบัติตามที่กำหนดไว้ในวิธีปฏิบัติในช่วงเปลี่ยนแปลง
16.3 ลักษณะของการเปลี่ยนแปลงนโยบายการบัญชี
16.4 คำอธิบายเกี่ยวกับข้อกำหนดในช่วงที่มีการเปลี่ยนแปลง
16.5 ข้อกำหนดในช่วงที่มีการเปลี่ยนแปลง ซึ่งอาจมีผลกระทบในงวดต่อไป
16.6 สำหรับงวดบัญชีปัจจุบันและงวดบัญชีงวดก่อนทุกงวดที่มีการนำเสนองบการเงิน หากสามารถ
ปฏิบัติได้ กิจการต้องเปิดเผยจำนวนเงินของรายการปรับปรุงที่กระทบต่อ
16.6.1 รายการแต่ละบรรทัดในงบการเงินที่ได้รับผลกระทบ
16.6.2 กำไรต่อหุ้นขั้นพื้นฐานและกำไรต่อหุ้นปรับลดหากกิจการต้องปฏิบัติตามมาตรฐานการ
บัญชี ฉบับที่ 38 (ปรับปรุง 2550) เรื่อง กำไรต่อหุ้น (เมื่อมีการประกาศใช้)
16.7 จำนวนเงินของรายการปรับงบการเงินงวดก่อนแต่ละงวดที่นำเสนอ หากสามารถทำได้ในทาง
ปฏิบัติ
16.8 หากกิจการไม่สามารถนำนโยบายการบัญชีใหม่มาถือปฏิบัติย้อนหลังได้ตามที่กำหนดไว้ในย่อ
หน้าที่ 11.1 และ 11.2 สำหรับงบการเงินงวดก่อน แต่ละงวด หรืองวดก่อนงวดที่มีการนำเสนอ
กิจการต้องเปิดเผยสถานการณ์ที่นำไปสู่การเกิดขึ้นของเงื่อนไขดังกล่าวและรายละเอียดว่าการ
เปลี่ยนแปลงนโยบายการบัญชีเริ่มเมื่อใดและอย่างไร
งบการเงินสำหรับงวดบัญชีถัดไปไม่ต้องเปิดเผยข้อมูลเหล่านี้อีก
17. หากการเปลี่ยนแปลงนโยบายการบัญชีโดยความสมัครใจทำให้เกิดผลกระทบต่องวดบัญชีปัจจุบัน หรือ
งวดบัญชีก่อน หรืออาจมีผลกระทบในงวดต่อไปและผลกระทบดังกล่าวไม่สามารถทำได้ในทางปฏิบัติ
กิจการต้องเปิดเผยข้อมูลทุกข้อดังต่อไปนี้
17.1 ลักษณะของการเปลี่ยนแปลงนโยบายการบัญชี
17.2 เหตุผลว่าการใช้นโยบายการบัญชีใหม่ทำให้งบการเงินมีความน่าเชื่อถือและเกี่ยวข้องกับการ
ตัดสินใจมากยิ่งขึ้นได้อย่างไร
17.3 สำหรับงวดบัญชีปัจจุบันและงวดบัญชีงวดก่อนทุกงวดที่มีการนำเสนองบการเงิน หากสามารถ
ปฏิบัติได้ กิจการต้องเปิดเผยจำนวนเงินของรายการปรับปรุงที่กระทบต่อ
17.3.1 รายการแต่ละบรรทัดในงบการเงินที่ได้รับผลกระทบ
17.3.2 กำไรต่อหุ้นขั้นพื้นฐานและกำไรต่อหุ้นปรับลดหากกิจการต้องปฏิบัติตามมาตรฐานการ
บัญชี ฉบับที่ 38 (ปรับปรุง 2550) เรื่อง กำไรต่อหุ้น (เมื่อมีการประกาศใช้)
17.4 จำนวนเงินของรายการปรับงบการเงินงวดก่อนแต่ละงวดที่นำเสนอหากสามารถทำได้ในทาง
ปฏิบัติ

17.5 หากกิจการไม่สามารถนำนโยบายการบัญชีใหม่มาถือปฏิบัติย้อนหลังกับงบการเงินงวดก่อนๆ
หรืองวดใดงวดหนึ่งก่อนงบการเงินงวดที่นำเสนอได้ กิจการต้องเปิดเผยสถานการณ์ที่นำไปสู่การ
เกิดขึ้นของเงื่อนไขดังกล่าวและรายละเอียดว่าการเปลี่ยนแปลงนโยบายการบัญชีได้เริ่มเมื่อใด
และอย่างไร
งบการเงินสำหรับงวดบัญชีถัดไปไม่ต้องเปิดเผยข้อมูลเหล่านี้อีก
18. เมื่อกิจการยังไม่นำมาตรฐานการบัญชีหรือการตีความมาตรฐานการบัญชีฉบับใหม่ที่ประกาศใช้แล้ว
แต่ยังไม่มีผลบังคับใช้มาถือปฏิบัติ กิจการต้องเปิดเผย
18.1 ข้อเท็จจริงที่กิจการยังไม่นำมาตรฐานการบัญชีหรือการตีความมาตรฐานการบัญชีฉบับใหม่
ดังกล่าวมาถือปฏิบัติ
18.2 ข้อมูลที่ทราบหรือข้อมูลที่ประมาณได้อย่างสมเหตุสมผลที่เกี่ยวข้องกับการประเมินผล
กระทบที่เป็นไปได้ของการนำมาตรฐานการบัญชีหรือการตีความมาตรฐานการบัญชี
ฉบับใหม่มาถือปฏิบัติ ต่องบการเงินของกิจการในงวดที่เริ่มนำมาตรฐานดังกล่าวมาถือปฏิบัติ
การเปลี่ยนแปลงประมาณการทางบัญชี
19. นอกเหนือจากการเปลี่ยนแปลงประมาณการตามที่กล่าวไว้ในย่อหน้าที่ 20 กิจการต้องรับรู้ผลกระทบ
ของการเปลี่ยนแปลงประมาณการทางบัญชีทันทีในกำไรหรือขาดทุนตามข้อใดข้อหนึ่งดังต่อไปนี้
19.1 สำหรับงวดที่มีการเปลี่ยนแปลงประมาณการทางบัญชี หากการเปลี่ยนแปลงนั้นมีผลกระทบ
ต่องวดดังกล่าวเพียงงวดเดียว
19.2 สำ หรับงวดที่มีการเปลี่ยนแปลงประมาณการทางบัญชีและงวดต่อๆ ไป หากการ
เปลี่ยนแปลงนั้นมีผลกระทบต่องวดดังกล่าว
20. หากการเปลี่ยนแปลงประมาณการทางบัญชีทำให้ต้องมีการเปลี่ยนแปลงในมูลค่าของสินทรัพย์ หนี้สิน
หรือรายการในส่วนของเจ้าของ กิจการต้องรับรู้โดยการปรับปรุงมูลค่าตามบัญชีของสินทรัพย์ หนี้สิน
หรือรายการในส่วนของเจ้าของที่เกี่ยวข้องสำหรับงวดบัญชีที่มีการเปลี่ยนแปลงนั้น
การเปิดเผยข้อมูล
21. กิจการต้องเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับลักษณะและจำนวนเงินของการเปลี่ยนแปลงประมาณการทางบัญชีที่มี
ผลกระทบต่องบการเงินสำหรับงวดบัญชีปัจจุบันหรือคาดว่าจะมีผลกระทบต่องวดบัญชีต่อไป เว้นแต่ไม่
สามารถประมาณจำนวนเงินของผลกระทบได้
22. หากกิจการไม่เปิดเผยผลกระทบต่องวดบัญชีในอนาคตเนื่องจากไม่สามารถประมาณจำนวนเงินของ
ผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงประมาณการทางบัญชีต่องวดบัญชีในอนาคตได้ กิจการต้องเปิดเผย
ข้อเท็จจริงดังกล่าว

ข้อผิดพลาด
23. ยกเว้นข้อจำกัดที่กล่าวในย่อหน้าที่ 24 กิจการต้องแก้ไขข้อผิดพลาดที่มีสาระสำคัญของงวดก่อนโดย
ปรับย้อนหลังในงบการเงินฉบับแรกที่ได้รับการอนุมัติให้เผยแพร่หลังจากที่พบข้อผิดพลาดโดย
23.1 ปรับงบการเงินงวดก่อนที่แสดงเป็นข้อมูลเปรียบเทียบเสมือนว่าข้อผิดพลาดได้ถูกแก้ไขใน
งวดบัญชีที่ข้อผิดพลาดได้เกิดขึ้น หรือ
23.2 หากข้อผิดพลาดเป็นข้อผิดพลาดที่เกิดขึ้นในงวดบัญชีก่อนงวดบัญชีแรกสุดที่แสดงเป็น
ข้อมูลเปรียบเทียบ กิจการต้องปรับปรุงยอดคงเหลือยกมาต้นงวดของสินทรัพย์ หนี้สิน และ
ส่วนของเจ้าของในงบการเงินงวดแรกสุดที่นำมาแสดงเป็นข้อมูลเปรียบเทียบ
ข้อจำกัดที่ทำให้ไม่สามารถปรับงบการเงินย้อนหลังได้
24. กิจการต้องแก้ไขข้อผิดพลาดของงบการเงินงวดก่อนโดยการปรับงบการเงินย้อนหลัง เว้นแต่ไม่สามารถ
ทำได้ในทางปฏิบัติ เนื่องจากไม่สามารถระบุจำนวนเงินของผลกระทบที่เกิดขึ้นในแต่ละงวดบัญชี
หรือไม่สามารถระบุจำนวนเงินของผลกระทบสะสมที่เกิดจากข้อผิดพลาดได้
25. หากในทางปฏิบัติ กิจการไม่สามารถระบุผลกระทบที่เกิดจากข้อผิดพลาดของแต่ละงวดที่แสดงเป็น
ข้อมูลเปรียบเทียบไม่ว่างวดใดงวดหนึ่งหรือหลายงวดก็ตาม กิจการต้องปรับปรุงยอดยกมาต้นงวดของ
สินทรัพย์ หนี้สินหรือส่วนของเจ้าของสำหรับงวดบัญชีแรกสุดที่สามารถปฏิบัติได้ (ซึ่งอาจเป็นงวดบัญชี
ปัจจุบัน)
26. หากในทางปฏิบัติ กิจการไม่สามารถระบุผลกระทบสะสม ณ ต้นงวดบัญชีปัจจุบันที่เกิดจากข้อผิดพลาด
ที่มีต่องบการเงินของงวดบัญชีก่อนๆ ได้กิจการต้องแก้ไขข้อผิดพลาดโดยปรับปรุงข้อมูลที่นำมาแสดง
เป็นข้อมูลเปรียบเทียบด้วยวิธีเปลี่ยนทันทีเป็นต้นไป นับจากวันแรกสุดที่สามารถทำได้ในทางปฏิบัติ
การเปิดเผยข้อมูลเมื่อมีข้อผิดพลาดในงวดก่อน
27. ในการปฏิบัติตามย่อหน้าที่ 23 กิจการต้องเปิดเผยข้อมูลดังนี้
27.1 ลักษณะของข้อผิดพลาดที่เกิดขึ้นในงบการเงินงวดก่อน
27.2 สำหรับงบการเงินของงวดบัญชีก่อนแต่ละงวดที่นำเสนอ กิจการต้องเปิดเผยจำนวนเงินของ
รายการปรับปรุงเท่าที่สามารถปฏิบัติได้
27.2.1 รายการแต่ละบรรทัดในงบการเงินที่ได้รับผลกระทบ
27.2.2 กำไรต่อหุ้นขั้นพื้นฐานและกำไรต่อหุ้นปรับลดหากกิจการต้องปฏิบัติตามมาตรฐานการ
บัญชี ฉบับที่ 38 (ปรับปรุง 2550) เรื่อง กำไรต่อหุ้น (เมื่อมีการประกาศใช้)
27.3 จำนวนเงินของรายการปรับปรุง ณ วันต้นงวดของงวดบัญชีแรกสุดที่นำมาแสดงเปรียบเทียบ
27.4 หากในทางปฏิบัติ กิจการไม่สามารถปรับงบการเงินย้อนหลังสำหรับงบการเงินงวดก่อนงวดใด
งวดหนึ่งได้ กิจการต้องเปิดเผยสถานการณ์ที่นำไปสู่การเกิดขึ้นของเงื่อนไขดังกล่าวและ
รายละเอียดว่ากิจการแก้ไขข้อผิดพลาดเมื่อใดและอย่างไร
งบการเงินสำหรับงวดบัญชีถัดไปไม่ต้องเปิดเผยข้อมูลเหล่านี้อีก

วันถือปฏิบัติ
28. มาตรฐานการบัญชีฉบับนี้ให้ถือปฏิบัติกับงบการเงินสำหรับรอบระยะเวลาบัญชีที่เริ่มในหรือหลังวันที่ 1
มกราคม 2551 เป็นต้นไป โดยสนับสนุนให้มีการนำมาตรฐานการบัญชีฉบับนี้ไปปฏิบัติก่อนเวลาที่มี
ผลบังคับใช้

คลิ๊กเพื่อดูไฟล์ฉบับเต็ม

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น