แนวปฏิบัติในการคำนวณอัตราแลกเปลี่ยน

ที่มา.. The Krungthep turakij web site : กรุงเทพธุรกิจออนไลน์

แนวปฏิบัติในการคำนวณอัตราแลกเปลี่ยน ตามคำสั่งกรมสรรพากรที่ ป.132/2548 ตอน 1
14 มีนาคม พ.ศ. 2550 07:37:00

กรมสรรพากร​ได้​วางแนวทางปฏิบัติ​เกี่ยว​กับ​การคำ​นวณเงินตราต่างประ​เทศ​เป็น​เงินตรา​ไทยตามมาตรา​ 9 ​มาตรา​ 65(5)​(8) ​และ​มาตรา​ 79/4 ​แห่งประมวลรัษฎากร​ ​ตามคำ​สั่งกรมสรรพากรที่​ ​ป​.132/2548 ​ลงวันที่​ 28 ​กัน​ยายน​ 2548 ​โดย​ให้​มีผล​ใช้​บังคับตั้งแต่วันที่​ 1 ​มีนาคม​ 2548 ​จึง​ขอนำ​มา​เป็น​ประ​เด็น​ ​ปุจฉา​-​วิสัชนา​ ​ดังนี้​

กรุงเทพธุรกิจออนไลน์​ : ​ปุจฉา​ ​แนวทางปฏิบัติ​เกี่ยว​กับ​เงินตรา​ ​ทรัพย์สิน​และ​หนี้สินที่มีค่า​หรือ​ราคา​เป็น​เงินตราต่างประ​เทศที่รับมา​หรือ​จ่ายไประหว่างรอบระยะ​เวลาบัญชี​ ​ตามมาตรา​ 65 ​ทวิ​ (5) ​แห่งประมวลรัษฎากร​ ​อย่างไร​

วิสัชนา​ ​กรณีบริษัท​หรือ​ห้างหุ้น​ส่วน​นิติบุคคล​ได้​รับมา​หรือ​จ่ายไป​ซึ่ง​เงินตรา​ ​ทรัพย์สิน​หรือ​หนี้สิน​ ​ซึ่ง​มีค่า​หรือ​ราคา​เป็น​เงินตราต่างประ​เทศ​ใน​ระหว่างรอบระยะ​เวลาบัญชี​ ​ให้​บริษัท​หรือ​ห้างหุ้น​ส่วน​นิติบุคคลดังกล่าวคำ​นวณค่า​หรือ​ราคาของเงินตรา​ ​ทรัพย์สิน​ ​หรือ​หนี้สิน​เป็น​เงินตรา​ไทยตามราคาตลาด​ใน​วันที่รับมา​หรือ​จ่ายไป​นั้น​ ​ทั้ง​นี้​ ​ตามมาตรา​ 65 ​ทวิ​ (5) ​วรรคสอง​ ​แห่งประมวลรัษฎากร​

1.​ราคาตลาด​ใน​วันที่รับมา​หรือ​จ่ายไป​ ​กรณีการ​ได้​รับเงิน​หรือ​จ่ายเงิน​เป็น​เงินตราต่างประ​เทศ​ (กรณีรับจ่ายเงินสด) ​หมาย​ถึง​ ​อัตรา​แลกเปลี่ยน​ (อัตราซื้อ​หรือ​อัตราขาย) ​ที่​ได้​รับมา​หรือ​จ่ายไปจริง​ ​ใน​ทางปฏิบัติ​จาก​การนำ​เงินสกุลต่างประ​เทศไปแลก​เป็น​เงินสกุลบาท​

2. ​ราคาตลาด​ใน​วันที่รับมา​หรือ​จ่ายไป​ ​กรณีการบันทึกบัญชี​ ​ณ​ ​วันที่​เกิดรายการทรัพย์สิน​ ​หรือ​หนี้สิน​ (กรณีที่​ยัง​มิ​ได้​รับจ่าย​เป็น​เงินสด) ​หมาย​ถึง​

(1) ​อัตรา​แลกเปลี่ยนเงินตราของธนาคารพาณิชย์ที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายว่า​ด้วย​การธนาคารพาณิชย์ที่​ได้​ประกาศ​ไว้​ใน​การคำ​นวณเงินตราต่างประ​เทศ​เป็น​เงินตรา​ไทย​ใน​แต่ละวัน​ (อัตราซื้อ​หรือ​อัตราขาย) ​หรือ​

(2) ​อัตรา​แลกเปลี่ยนเงินตราตามอัตราอ้างอิงประจำ​วันที่ธนาคารแห่งประ​เทศไทย​ ​ประกาศ​ไว้​ใน​การคำ​นวณเงินตราต่างประ​เทศ​เป็น​เงินตรา​ไทย​ใน​แต่ละวัน​ (อัตราซื้อถัวเฉลี่ย​หรือ​อัตราขายถัวเฉลี่ย) (ก) ​กรณีอัตราซื้อถัวเฉลี่ยอาจ​ใช้​อัตรา​ SIGHT ​หรือ​ T/T ​ก็​ได้​ ​หมาย​ถึง​ ​อัตราซื้อถัวเฉลี่ยที่ธนาคารแห่งประ​เทศไทย​ ​ประกาศ​ไว้​ ​ณ​ ​วันทำ​การ​นั้นๆ​ ​ซึ่ง​เป็น​อัตรา​แลกเปลี่ยนซื้อถัวเฉลี่ยของเงินสกุลต่างๆ​ ​ณ​ ​สิ้นวันทำ​การก่อน​ (ข) ​กรณีอัตราขายหมาย​ถึง​ ​อัตราขายถัวเฉลี่ยที่ธนาคารแห่งประ​เทศไทย​ ​ประกาศ​ไว้​ ​ณ​ ​วันทำ​การ​นั้นๆ​ ​ซึ่ง​เป็น​อัตรา​แลกเปลี่ยนขายถัวเฉลี่ยของเงินสกุลต่างๆ​ ​ณ​ ​สิ้นวันทำ​การก่อน​ ​ซึ่ง​ผู้​ประกอบการมีสิทธิ​เลือกถือปฏิบัติตามข้อ​ (1) ​หรือ​ (2) ​อย่าง​ใด​อย่างหนึ่ง​ ​และ​เมื่อ​ได้​เลือกถือปฏิบัติตามหลักเกณฑ์​ใด​แล้ว​ ​ให้​ถือปฏิบัติตามหลักเกณฑ์​นั้น​ตลอดไป​ ​ห้ามมิ​ให้​เปลี่ยนแปลง​ ​ทั้ง​นี้ตามหลัก​ความ​สม่ำ​เสมอ​

ปุจฉา​ ​แนวทางปฏิบัติ​เกี่ยว​กับ​เงินตรา​ ​ทรัพย์สิน​และ​หนี้สินที่มีค่า​หรือ​ราคา​เป็น​เงินตราต่างประ​เทศคงเหลือ​อยู่​ใน​วันสุดท้ายของรอบระยะ​เวลาบัญชี​ ​ตามมาตรา​ 65 ​ทวิ​ (5) ​แห่งประมวลรัษฎากร​ ​อย่างไร​

วิสัชนา​ ​มาตรา​ 65 ​ทวิ​ (5) ​แห่งประมวลรัษฎากร​ ​กำ​หนดแนวทางปฏิบัติ​เกี่ยว​กับ​เงินตรา​ ​ทรัพย์สิน​และ​หนี้สินที่มีค่า​หรือ​ราคา​เป็น​เงินตราต่างประ​เทศคงเหลือ​อยู่​ใน​วันสุดท้ายของรอบระยะ​เวลาบัญชี​ ​ดังนี้​

กรณีบริษัท​หรือ​ห้างหุ้น​ส่วน​นิติบุคคลนอก​จาก​ธนาคารพาณิชย์​หรือ​สถาบันการเงิน​อื่น​ตามที่รัฐมนตรีกำ​หนดมี​เงินตรา​ ​ทรัพย์สิน​ ​หรือ​หนี้สิน​ซึ่ง​มีค่า​หรือ​ราคา​เป็น​เงินตราต่างประ​เทศที่​เหลือ​อยู่​ใน​วันสุดท้ายของรอบระยะ​เวลาบัญชี​ ​ให้​บริษัท​หรือ​ห้างหุ้น​ส่วน​นิติบุคคลดังกล่าวคำ​นวณค่า​หรือ​ราคาของเงินตรา​หรือ​ทรัพย์สิน​เป็น​เงินตรา​ไทยตามอัตราถัวเฉลี่ยที่ธนาคารพาณิชย์รับซื้อ​ซึ่ง​ธนาคารแห่งประ​เทศไทย​ ​ได้​คำ​นวณ​ไว้​ ​และ​ให้​คำ​นวณค่า​หรือ​ราคาของหนี้สิน​เป็น​เงินตรา​ไทยตามอัตราถัวเฉลี่ยที่ธนาคารพาณิชย์ขาย​ ​ซึ่ง​ธนาคารแห่งประ​เทศไทย​ได้​คำ​นวณ​ไว้​

ทั้ง​นี้ตามมาตรา​ 65 ​ทวิ​ (5) (ก) ​แห่งประมวลรัษฎากร​ ​กรณีบริษัท​หรือ​ห้างหุ้น​ส่วน​นิติบุคคลตามวรรคหนึ่ง​เป็น​ธนาคารพาณิชย์​หรือ​สถาบันการเงิน​อื่น​ที่รัฐมนตรีกำ​หนด​ ​มี​เงินตรา​ ​ทรัพย์สิน​ ​หรือ​หนี้สิน​ซึ่ง​มีค่า​หรือ​ราคา​เป็น​เงินตราต่างประ​เทศที่​เหลือ​อยู่​ใน​วันสุดท้ายของรอบระยะ​เวลาบัญชี​ ​ให้​บริษัท​หรือ​ห้างหุ้น​ส่วน​นิติบุคคลดังกล่าวคำ​นวณค่า​หรือ​ราคาของเงินตรา​ ​ทรัพย์สิน​ ​หรือ​หนี้สิน​เป็น​เงินตรา​ไทยตามอัตราถัวเฉลี่ยระหว่างอัตราซื้อ​ ​และ​อัตราขายของธนาคารพาณิชย์ที่ธนาคารแห่งประ​เทศไทย​ได้​คำ​นวณ​ไว้​

ทั้ง​นี้ตามมาตรา​ 65 ​ทวิ​ (5) (ข) ​แห่งประมวลรัษฎากร​ ​ทรัพย์สิน​ ​หรือ​หนี้สิน​ซึ่ง​มีค่า​หรือ​ราคา​เป็น​เงินตราต่างประ​เทศที่​เหลือ​อยู่​ใน​วันสุดท้ายของรอบระยะ​เวลาบัญชี​ ​ซึ่ง​บริษัท​หรือ​ห้างหุ้น​ส่วน​นิติบุคคล​ต้อง​คำ​นวณค่า​หรือ​ราคา​เป็น​เงินตรา​ไทยตามวรรคหนึ่ง​ ​และ​สอง​ ​หมาย​ถึง​ ​เงินตรา​ ​ทรัพย์สิน​ ​หรือ​หนี้สินที่บริษัท​หรือ​ห้างหุ้น​ส่วน​นิติบุคคลมีสิทธิ​เรียกร้องที่​จะ​ได้​รับ​หรือ​มีภาระผูกพันที่​จะ​ต้อง​ชำ​ระ​เป็น​เงินตราต่างประ​เทศ​เป็น​จำ​นวนเงินที่กำ​หนด​ไว้​แน่นอน​ ​เช่น​ ​เงินฝากธนาคาร​ (Cash) ​ลูกหนี้การค้า​ (Account Receivable) ​ลูกหนี้​และ​ตั๋วเงินรับ​จาก​การขายสินค้า​ (Accounts and Notes Receivable) ​หลักทรัพย์​ใน​ความ​ต้อง​การของตลาด​ (Marketable Securities) ​ซึ่ง​มีวัตถุประสงค์ที่​จะ​เปลี่ยนแปลง​เป็น​เงินสดทันทีที่​ต้อง​การ​ ​แต่​ไม่​รวม​ถึง​ตราสารทุน​ซึ่ง​เป็น​เงินลงทุนระยะยาวที่​เป็น​สกุลเงินตราต่างประ​เทศเพื่อหวังเงินปันผล​ใน​บริษัท​หรือ​ห้างหุ้น​ส่วน​นิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายของต่างประ​เทศ​ ​เงิน​ให้​กู้ยืมแก่บริษัท​ใน​เครือเดียว​กัน​ (Loan to Subsidiaries) ​ค่า​ใช้​จ่ายล่วงหน้า​ (Prepaid Expense) ​เจ้าหนี้​จาก​การซื้อสินค้า​ (Accounts Payable) ​ค่า​ใช้​จ่ายค้างจ่าย​ (Accrued Expense) ​เป็น​ต้น

ตามคำ​สั่งกรมสรรพากรที่​ ​ป​.132/2548 ตอน 2
21 ​มีนาคม​ ​พ​.​ศ​. 2550 07:19:00

ขอนำ​ประ​เด็นแนวปฏิบัติ​ใน​การคำ​นวณเงินตราต่างประ​เทศ​เป็น​เงินตรา​ไทยตามมาตรา​ 9 ​มาตรา​ 65(5)​(8) ​และ​มาตรา​ 79/4 ​แห่งประมวลรัษฎากร​ ​ตามคำ​สั่งกรมสรรพากรที่​ ​ป​.132/2548 ​ลงวันที่​ 28 ​กัน​ยายน​ 2548 ​ซึ่ง​มีผล​ใช้​บังคับตั้งแต่วันที่​ 1 ​มีนาคม​ 2548

กรุงเทพธุรกิจออนไลน์​ : ​มาปุจฉา​ - ​วิสัชนา​ ​ต่อ​จาก​สัปดาห์ก่อนดังนี้​

ปุจฉา​ ​กรณีบริษัท​ ​ก​ ​จำ​กัด​ ​ส่งออกสินค้า​หรือ​ให้​บริการ​ ​แก่บริษัท​ใน​ต่างประ​เทศ​ ​โดย​ตกลงราคาสินค้า​เป็น​หน่วยเงินตราต่างประ​เทศ​ ​บริษัท​ ​ก​ ​จำ​กัด​ ​จะ​ปฏิบัติ​เกี่ยว​กับ​อัตรา​แลกเปลี่ยน​ใน​การบันทึกบัญชี​เพื่อเสียภาษี​เงิน​ได้​นิติบุคคลอย่างไร​

วิสัชนา​ ​บริษัท​ ​ก​ ​จำ​กัด​ ​มีสิทธิ​ใช้​อัตรา​แลกเปลี่ยน​ใน​การบันทึกบัญชี​เพื่อเสียภาษี​เงิน​ได้​นิติบุคคล​ ​ดังนี้​

1. ​กรณีดำ​เนินการส่งออกสินค้า​และ​บันทึกบัญชี​ใน​วันพฤหัสบดีที่​ 3 ​มีนาคม​ 25xx (1) ​ใช้​อัตรา​แลกเปลี่ยนเงินตรา​ (อัตราซื้อ) ​ของธนาคารพาณิชย์ที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายว่า​ด้วย​การธนาคารพาณิชย์ที่​ได้​ประกาศ​ไว้​ใน​การคำ​นวณเงินตราต่างประ​เทศ​เป็น​เงินตรา​ไทย​ใน​วันพฤหัสบดีที่​ 3 ​มีนาคม​ 25xx ​หรือ​ (2) ​ใช้​อัตรา​แลกเปลี่ยนเงินตราตามอัตราอ้างอิงประจำ​วัน​ (อัตราซื้อถัวเฉลี่ย​ซึ่ง​จะ​เป็น​ SIGHT ​หรือ​ T/T ​ก็​ได้)​ ​ที่ธนาคารแห่งประ​เทศไทยประกาศ​ไว้​ ​ณ​ ​วันพฤหัสบดีที่​ 3 ​มีนาคม​ 25xx ​ซึ่ง​เป็น​อัตรา​แลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยของเงินสกุลต่างๆ​ ​ณ​ ​สิ้นวันทำ​การประจำ​วันพุธที่​ 2 ​มีนาคม​ 25xx

2. ​กรณีดำ​เนินการส่งออกสินค้า​และ​บันทึกบัญชี​ใน​วันจันทร์ที่​ 14 ​มีนาคม​ 25xx (1) ​ใช้​อัตรา​แลกเปลี่ยนเงินตรา​ (อัตราซื้อ) ​ของธนาคารพาณิชย์ที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายว่า​ด้วย​การธนาคารพาณิชย์ที่​ได้​ประกาศ​ไว้​ใน​การคำ​นวณเงินตราต่างประ​เทศ​เป็น​เงินตรา​ไทย​ใน​วันจันทร์ที่​ 14 ​มีนาคม​ 25xx ​หรือ​ (2) ​ใช้​อัตรา​แลกเปลี่ยนเงินตราตามอัตราอ้างอิงประจำ​วัน​ (อัตราซื้อถัวเฉลี่ย​ซึ่ง​จะ​เป็น​ SIGHT ​หรือ​ T/T ​ก็​ได้)​ ​ที่ธนาคารแห่งประ​เทศไทยประกาศ​ไว้​ ​ณ​ ​วันจันทร์ที่​ 14 ​มีนาคม​ 25xx ​ซึ่ง​เป็น​อัตรา​แลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยของเงินสกุลต่างๆ​ ​ณ​ ​สิ้นวันทำ​การประจำ​วันศุกร์ที่​ 11 ​มีนาคม​ 25xx ​เนื่อง​จาก​วันเสาร์ที่​ 12 ​และ​วันอาทิตย์ที่​ 13 ​มีนาคม​ 25xx ​เป็น​วันหยุดราชการ​

3. ​กรณีดำ​เนินการออกใบแจ้งหนี้ค่าบริการนายหน้า​ ​และ​บันทึกบัญชี​ใน​วันพฤหัสบดีที่​ 7 ​เมษายน​ 25xx (1) ​ใช้​อัตรา​แลกเปลี่ยนเงินตรา​ (อัตราซื้อ) ​ของธนาคารพาณิชย์ที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายว่า​ด้วย​การธนาคารพาณิชย์ที่​ได้​ประกาศ​ไว้​ใน​การคำ​นวณเงินตราต่างประ​เทศ​เป็น​เงินตรา​ไทย​ใน​วันพฤหัสบดีที่​ 7 ​เมษายน​ 25xx ​หรือ​ (2) ​ใช้​อัตรา​และ​เปลี่ยนเงินตราตามอัตราอ้างอิงประจำ​วัน​ (อัตราซื้อถัวเฉลี่ย​ซึ่ง​จะ​เป็น​ SIGHT ​หรือ​ T/T ​ก็​ได้)​ ​ที่ธนาคารแห่งประ​เทศไทยประกาศ​ไว้​ ​ณ​ ​วันพฤหัสบดีที่​ 7 ​เมษายน​ 25xx ​ซึ่ง​เป็น​อัตรา​แลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยของเงินสกุลต่างๆ​ ​ณ​ ​สิ้นวันทำ​การประจำ​วันอังคารที่​ 5 ​เมษายน​ 25xx ​เนื่อง​จาก​วันพุธที่​ 6 ​เมษายน​ 25xx ​เป็น​วันหยุดทำ​การของธนาคาร​

ปุจฉา​ ​กรณีบริษัท​ ​ข​ ​จำ​กัด​ ​ได้​กู้ยืมเงิน​จาก​ธนาคาร​ใน​ต่างประ​เทศ​ ​บริษัท​ ​ข​ ​จำ​กัด​ ​ใน​วันเสาร์ที่​ 23 ​เมษายน​ 25xx ​หรือ​วันเสาร์ที่​ 30 ​เมษายน​ 25xx ​จะ​ปฏิบัติ​เกี่ยว​กับ​อัตรา​แลกเปลี่ยน​ใน​การบันทึกบัญชี​เพื่อเสียภาษี​เงิน​ได้​นิติบุคคลอย่างไร​

วิสัชนา​ ​บริษัท​ ​ข​ ​จำ​กัด​ ​มีสิทธิ​ใช้​อัตรา​แลกเปลี่ยน​ใน​การบันทึกบัญชี​เพื่อเสียภาษี​เงิน​ได้​นิติบุคคล​ ​ดังนี้​

1. ​ใช้​อัตรา​แลกเปลี่ยนเงินตรา​ (อัตราขาย) ​ของธนาคารพาณิชย์ที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายว่า​ด้วย​การธนาคารพาณิชย์ที่​ได้​ประกาศ​ไว้​ใน​การคำ​นวณเงินตราต่างประ​เทศ​เป็น​เงินตรา​ไทยดังนี้​ - ​อัตราที่ประกาศ​ใน​วันศุกร์ที่​ 22 ​เมษายน​ 25xx ​กรณีบันทึกบัญชี​ใน​วันเสาร์ที่​ 23 ​เมษายน​ 25xx ​และ​ - ​อัตราที่ประกาศ​ใน​วันศุกร์ที่​ 29 ​เมษายน​ 25xx ​กรณีบันทึกบัญชี​ใน​วันเสาร์ที่​ 30 ​เมษายน​ 25xx

2. ​ใช้​อัตรา​และ​เปลี่ยนเงินตราตามอัตราอ้างอิงประจำ​วัน​ (อัตราขายถัวเฉลี่ย) ​ที่ธนาคารแห่งประ​เทศไทยประกาศ​ - ​อัตรา​แลกเปลี่ยนเงินตราที่ประกาศ​ไว้​ ​ณ​ ​วันศุกร์ที่​ 22 ​เมษายน​ 25xx ​ซึ่ง​เป็น​อัตรา​แลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยของเงินสกุลต่างๆ​ ​ณ​ ​สิ้นวันทำ​การประจำ​วันพฤหัสบดีที่​ 21 ​เมษายน​ 25xx ​กรณีบันทึกบัญชี​ใน​วันเสาร์ที่​ 23 ​เมษายน​ 25xx ​และ​ - ​อัตรา​แลกเปลี่ยนเงินตราที่ประกาศ​ไว้​ ​ณ​ ​วันศุกร์ที่​ 29 ​เมษายน​ 25xx (บ่าย) ​ซึ่ง​เป็น​อัตรา​แลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยนของเงินสกุลต่างๆ​ ​ณ​ ​สิ้นวันทำ​การประจำ​วันศุกร์ที่​ 29 ​เมษายน​ 25xx ​กรณีบันทึกบัญชี​ใน​วันเสาร์ที่​ 30 ​เมษายน​ 25xx ​เนื่อง​จาก​ใน​วันทำ​การสุดท้ายของเดือนหนึ่งเดือน​ใด​ ​ธนาคารแห่งประ​เทศไทย​จะ​ออกประกาศอัตรา​แลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยของเงินสกุลต่างๆ​ ​ณ​ ​สิ้นวันทำ​การ​นั้น​อีกหนึ่ง​ฉบับ​ ​อนึ่ง​ ​อัตรา​แลกเปลี่ยนเงินตราที่ประกาศ​ไว้​ ​ณ​ ​วันศุกร์ที่​ 29 ​เมษายน​ 25xx (บ่าย) ​ดังกล่าว​ ​ให้​ใช้​สำ​หรับการบันทึกบัญชีสำ​หรับรายการที่​เกิดขึ้น​ใน​วันอาทิตย์ที่​ 1 ​พฤษภาคม​ 25xx ​และ​วันจันทร์ที่​ 2 ​พฤษภาคม​ 25xx ​ด้วย​ ​(​ถ้า​มี)

โดย​ ​สุ​เทพ​ ​พงษ์พิทักษ์

1 ความคิดเห็น:

  1. ไม่ระบุชื่อ9 มีนาคม 2552 เวลา 04:47

    ขอบคุณมาก ๆ นะค่ะสำหรับบทความดีๆ

    ตอบลบ