เปิดบริษัทใหม่ต้องทำอะไรบ้าง

ที่มา..Kiatchai Accounting

1.ขั้นตอนการจดทะเบียนจัดตั้งบริษัท

มาดูกันตั้งแต่เริ่มแรกเลยนะครับ การเปิดบริษัทใหม่ การจดทะเบียนจัดตั้งบริษัทอาจจะไม่ใช่เรื่องยากมากนัก เพียงแต่มีเอกสารที่ต้องจัดทำค่อนข้างมาก และปัจจุบันทางกระทรวงพาณิชย์ได้ปรับเปลี่ยนให้การจดทะเบียนหนังสือบริคณห์สนธิและจดทะเบียนจัดตั้งบริษัทสามารถจดในวันเดียวกันได้ ทำให้ระยะเวลาที่ใช้สั้นลง นอกจากนี้ยังลดจำนวนผู้เริ่มก่อการจาก 7 คนลดเหลือ 3 คน แต่ทั้งนี้จะเห็นได้ว่าเรื่องเอกสารที่ต้องจัดทำยังเหมือนเดิมทุกอย่าง
เรามาดูขั้นตอนการจดทะเบียนกันนะครับ
ศึกษาขั้นตอนเรียบร้อยแล้วก็มาเริ่มจดทะเบียนบริษัทกันเลยนะครับ ลิงค์ด้านล่างนี้จะเป็นการจดทะเบียนผ่านระบบอินเตอร์เน็ต
หรือถ้าต้องการนำแบบฟอร์มมาพิมพ์และนำไปยื่นเองก็สามารถทำได้ คลิ๊ก ดาวน์โหลดแบบฟอร์ม

2.บัญชีที่ต้องจัดทำและการจัดทำงบการเงิน (กระทรวงพาณิชย์)

ผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชีที่เป็นห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน บริษัทจำกัด บริษัทมหาชนจำกัดที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายไทย นิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายต่างประเทศที่ประกอบธุรกิจในประเทศไทย และกิจการร่วมค้าตามประมวลรัษฎากรต้องจัดทำบัญชีดังต่อไปนี้ โดยต้องจัดทำให้ครบถ้วนถูกต้องตามมาตรฐานการบัญชี
(๑) บัญชีรายวัน
(ก) บัญชีเงินสด
(ข) บัญชีธนาคาร แยกเป็นแต่ละเลขที่บัญชีธนาคาร
(ค) บัญชีรายวันซื้อ
(ง) บัญชีรายวันขาย
(จ) บัญชีรายวันทั่วไป
(๒) บัญชีแยกประเภท
(ก) บัญชีแยกประเภทสินทรัพย์ หนี้สินและทุน
(ข) บัญชีแยกประเภทรายได้และค่าใช้จ่าย
(ค) บัญชีแยกประเภทลูกหนี้
(ง) บัญชีแยกประเภทเจ้าหนี้
(๓) บัญชีสินค้า
(๔) บัญชีรายวัน บัญชีแยกประเภทอื่น และบัญชีแยกประเภทย่อยตามความจำเป็นแก่การทำบัญชีของธุรกิจ
คลิ๊ก อ่านเพิ่มเติม ข้อความและรายการที่ต้องมีในบัญชี ระยะเวลาที่ต้องลงรายการบัญชี และเอกสารที่ต้องใช้ประกอบการลงบัญชี
การจัดทำงบการเงิน
  • จัดให้มีผู้ทำบัญชีและผู้สอบบัญชี ปิดงบการเงินครั้งแรกภายใน 12 เดือน (เฉพาะปีแรกอาจปิดงบไม่ถึง 12 เดือนก็ได้ เช่น ถ้าจดทะเบียนวันที่ 18 สิงหาคม และต้องการปิดบัญชีในวันที่ 31 ธันวาคมก็ได้ ปีแรกจะปิดบัญชีวันไหนก็ได้ แต่อย่าเกิน 12 เดือน) หลังจากนั้นให้ปิดบัญชีครั้งต่อไปทุกรอบ 12 เดือน
  • จัดให้มีการประชุมผู้ถือหุ้นเพื่ออนุมัติงบการเงินภายใน 4 เดือนนับจากวันปิดบัญชี เช่น ปิดงบการเงินวันที่ 31 ธันวาคม ก็ต้องจัดให้มีการประชุมผู้ถือหุ้นเพื่ออนุมัติงบภายในวันที่ 30 เมษายน ปีถัดไปและหลังจากงบได้รับการอนุมัิติจากที่ประชุมแล้วก็ต้องนำไปยื่นกระทรวงพาณิชย์ภายใน 1 เดือน หรือภายในวันที่ 31 พฤษภาคม

3.การเสียภาษีเงินได้นิติบุคคล ภาษีมูลค่าเพิ่มและภาษีหัก ณ ที่จ่าย (กรมสรรพกร)

ถ้ายังไม่มีเลขประจำตัวผู้เสียภาษี และเลขทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม หรือเลขทะเบียนภาษีธุรกิจเฉพาะ สามารถเขาไปจดทะเบียนที่กรมสรรพากรได้
การเสียภาษีเงินได้นิติบุคคล หรือการเสียภาษีประจำปี
ยื่นแบบเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลประจำปี โดยใช้แบบ ภงด.50 กำหนดเวลาในการยื่นแบบภายใน 150 วันนับจากวันสิ้นรอบระยะเวลาบัญชี เช่น ถ้าปิดงบวันที่ 31 ธันวาคม จะต้องยื่นภายในวันที่ 29 พฤษภาคม (ในกรณีที่เดือนกุมภาพันธ์มี 29 วัน) หรือต้องยื่นภายในวันที่ 30 พฤษภาคม (กรณีที่เดือนกุมภาพันธ์มี 28 วัน)
นอกจากนี้ยังต้องประมาณการเพื่อเสียภาษีครึ่งปี สำหรับงบที่มีรอบระยะเวลาบัญชี มค-ธค. รอบระยะเวลา 6 เดือนสิ้นสุดวันที่ 30 มิถุนายน กำหนดยื่นภายใน 2 เดือน ต้องยื่นภายในวันที่ 31 สิงหาคม
ภาษีเิงินได้หัก ณ ที่จ่าย ที่ต้องยื่นประจำทุกเดือน
เนื่องจากกฎหมายกำหนดให้ ผู้จ่ายเงินได้มีหน้าที่ต้องหักภาษี ณ ที่จ่ายและนำส่งให้สรรพากรภายในวันที่ 7 ของทุกเดือน โดยเป็นภาษีหัก ณ ที่จ่ายตามมาตรา 3 มาตรา 50 มาตรา 69 ทวิ และมาตรา 70 สำหรับแบบที่ใช้ในการยื่น ได้แก่
  • ภงด.1 ภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย สำหรับการจ่ายเงินได้ประเภทเงินเดือน ค่าจ้าง
  • ภงด.3 ภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย สำหรับเงินได้ประเภทอื่นที่ที่จ่ายให้แก่บุคคลธรรมดา
  • ภงด.53 ภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย ที่จ่ายให้แก่บริษัท ห้างหุ้นส่วนจำกัด
ข้อมูลอ้างอิงและถ้าต้องการศึกษาเพิ่มเติม
การยื่นแบบภาษีมูลค่าเพิ่ม (ภพ.30) ต้องยื่นประจำทุกเดือน
กำหนดยื่นแบบภาษีมูลค่าเพิ่มต้องยื่นภายในวันที่ 15 ของทุกเดือน ไม่ว่าจะมีภาษีต้องเสียหรือไม่ก็ตาม ถ้าไม่มีภาษีต้องจ่่ายก็ให้ยื่นฟอร์มเปล่า อ่านข้อมูลเพิ่มเติม

4.ประกันสังคม

สำหรับกิจการที่มีูลูกจ้างตั้งแต่ 1 คนขึ้นไปต้องยื่นขึ้นทะเบียนนายจ้าง ภายใน 30 วันนับจากที่มีลูกจ้าง และนำส่งเงินประกันสังคมภายในวันที่ 15 ของเดือนถัดไป โดยใช้แบบนำส่ง สปส.1-10
เอกสารที่ต้องแนบมาพร้อมกับการยื่นแบบขึ้นทะเบียนนายจ้าง
กรณีจดทะเบียนนิติบุคคล (ต้องใช้เอกสารแนบทุกข้อที่กำหนด)
  1. สำเนาหรือภาพถ่ายหนังสือรับรองการจดทะเบียนนิติบุคคลพร้อมวัตถุประสงค์


  2. สำเนา หรือภาพถ่ายใบทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม (ภ.พ.20) หรือสำเนาหรือภาพถ่ายคำขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม (ภ.พ.01) หรือสำเนาหรือภาพถ่ายภาษีธุรกิจเฉพาะ (ภ.ช.20) หรือสำเนาหรือภาพถ่ายใบอนุญาตประกอบกิจการโรงงาน (ร.ง.4)
  3. แผนที่ตั้งของสถานประกอบการ
  4. หนังสือมอบอำนาจ (เฉพาะกรณีมอบอำนาจให้บุคคลอื่นกระทำการแทน พร้อมติดอากรแสตมป์ตามที่ประมวลรัษฎากรกำหนด)
การยื่นขอขึ้นทะเบียนให้ใช้ แบบขึ้นทะเบียนทะเบียนนายจ้าง (สปส.1-01)
คลิ๊กเพื่อดาวน์โหลดแบบฟอร์มประกันสังคม

    ภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย

    ที่มา..กรุงเทพธุรกิจออนไลน์

    หน้าที่และความรับผิดของผู้จ่ายเงินได้ (1)

    ในการปฏิบัติเกี่ยวกับภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย ทั้งกรณีภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาหัก ณ ที่จ่าย และภาษีเงินได้นิติบุคคลหัก ณ ที่จ่าย

    กรุงเทพธุรกิจ ออนไลน์ : ผู้จ่ายเงินได้ มีหน้าที่และความรับผิดเกี่ยวกับการหักภาษี ณ ที่จ่ายหลายประการที่ต้องคำนึงถึงและทำความเข้าใจ เพื่อให้การปฏิบัติเกี่ยวกับภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่ายเป็นไปโดยถูกต้อง และครบถ้วน จึงขอนำมาเป็นประเด็นปุจฉา-วิสัชนา ดังนี้

    ปุจฉา โดยภาพรวมผู้จ่ายเงินได้มีหน้าที่เกี่ยวกับการหักภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่ายอย่างไร

    วิสัชนา ผู้จ่ายเงินได้มีหน้าที่เกี่ยวกับภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่ายดังนี้

    1. คำนวณหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่กำหนดไว้ในกฎหมายโดยเคร่งครัด ซึ่งผู้จ่ายเงินได้ต้องมีความเข้าใจในข้อกำหนดเกี่ยวกับภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่ายโดยละเอียดในประเด็นต่างๆ ดังนี้

    1.1 มีความเข้าใจบทบัญญัติเกี่ยวกับการหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย โดยชัดแจ้งทุกแง่ทุกมุมว่า การจ่ายเงินได้ในกรณีใดต้องคำนวณหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่ายอย่างไร

    1.2 มีความเข้าใจในหน้าที่ของผู้จ่ายเงินได้เกี่ยวกับการหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย

    1.3 มีความเข้าใจว่าต้องหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย เมื่อใด

    2. นำส่งภาษีหัก ณ ที่จ่าย ไม่ว่าผู้จ่ายเงินได้จะได้หักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่ายไว้หรือไม่ก็ตาม ทั้งนี้ ตามมาตรา 52 แห่งประมวลรัษฎากร

    3. พร้อมกับการนำส่งภาษีหัก ณ ที่จ่าย ผู้จ่ายเงินได้ต้องยื่นแบบแสดงรายการตามแบบที่อธิบดีกรมสรรพากรกำหนด โดยต้องยื่นรายการและนำส่งภาษีภายในวันที่ 7 ของเดือนถัดจากเดือนที่จ่ายเงินได้

    3.1 ภ.ง.ด.1 ใช้สำหรับกรณีภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาหัก ณ ที่จ่าย เนื่องจากการจ่ายเงินได้ตามมาตรา 40(1) และ (2) แห่งประมวลรัษฎากร

    3.2 ภ.ง.ด.2 ใช้สำหรับกรณีภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาหัก ณ ที่จ่าย เนื่องจากการจ่ายเงินได้ตามมาตรา 40(3) และ (4) แห่งประมวลรัษฎากร

    3.3 ภ.ง.ด.3 ใช้สำหรับกรณีภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาหัก ณ ที่จ่าย เนื่องจากการจ่ายเงินได้ตามมาตรา 40(5)(6)(7) หรือ (8) แห่งประมวลรัษฎากร

    3.4 ภ.ง.ด.53 ใช้สำหรับกรณีภาษีเงินได้นิติบุคคลหัก ณ ที่จ่ายตามมาตรา 69 ทวิ และมาตรา 3 เตรส แห่งประมวลรัษฎากร

    3.5 ภ.ง.ด.54 ส่วน ก ใช้สำหรับกรณีภาษีเงินได้นิติบุคคลหัก ณ ที่จ่าย ตามมาตรา 70 แห่งประมวลรัษฎากร

    4. เมื่อสิ้นปีภาษีให้ผู้จ่ายเงินได้ที่ต้องหักภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา มีหน้าที่ต้องยื่นรายการสรุปการจ่ายเงินได้และจำนวนภาษีเงินได้ที่ได้หักและ นำส่งไว้ โดยแสดงรายละเอียดเป็นรายบุคคล เฉพาะยอดรวมภาษีที่นำส่งทั้งสิ้น (พร้อมทั้งแนบสำเนาหนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่ายด้วยก็ได้) ตามแบบที่อธิบดีกรมสรรพากรกำหนด ภายในกำหนดเวลาดังต่อไปนี้

    (1) ภ.ง.ด.1ก. ใช้สรุปรายการการจ่ายเงินได้และการหักภาษี ณ ที่จ่ายสำหรับเงินได้ตามมาตรา 40(1) และ (2) แห่งประมวลรัษฎากร ภายในเดือนกุมภาพันธ์ของปีถัดจากปีที่จ่ายเงินได้

    (2) ภ.ง.ด.2ก. ใช้สรุปรายการการจ่ายเงินได้และการหักภาษี ณ ที่จ่ายสำหรับเงินได้ตามมาตรา 40(3) และ (4) แห่งประมวลรัษฎากร โดยต้องยื่นรายการดังกล่าว ภายในเดือนมกราคมของปีถัดจากปีที่จ่ายเงินได้

    5. ผู้จ่ายเงินได้ต้องออกหนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย ที่ได้หักไว้แล้วในปีภาษีตามแบบที่อธิบดีกรมสรรพากรกำหนด ให้แก่ผู้ถูกหักภาษี ณ ที่จ่าย 2 ฉบับมีข้อความตรงกัน ในกรณีและตามกำหนดเวลาดังต่อไปนี้

    (1) กรณีภาษีหัก ณ ที่จ่ายสำหรับเงินได้ตามมาตรา 40(1) และ (2) แห่งประมวลรัษฎากร ที่ผู้มีเงินได้ทำงานในกิจการของผู้จ่ายเงินได้จนถึงสิ้นปีภาษี ผู้จ่ายเงินได้ต้องออกหนังสือรับรองดังกล่าวให้แก่ผู้มีเงินได้ภายในวันที่ 15 กุมภาพันธ์ของปีถัดจากปีที่จ่ายเงินได้ แต่ถ้าผู้มีเงินได้คนใดออกจากงานระหว่างปีภาษีผู้จ่ายเงินได้ต้องออกหนังสือ รับรองดังกล่าวให้แก่ผู้มีเงินได้คนนั้น ภายในหนึ่งเดือนนับแต่วันที่ออกจากงาน

    (2) กรณีภาษีหัก ณ ที่จ่ายสำหรับเงินได้พึงประเมินประเภทอื่นๆ ผู้จ่ายเงินได้ต้องออกหนังสือรับรองดังกล่าวให้แก่ผู้มีเงินได้ในทันทีทุก ครั้งที่มีการหักภาษี ณ ที่จ่าย (มาตรา 50 ทวิ แห่งประมวลรัษฎากร)

    6. ผู้จ่ายเงินได้ต้องจัดทำบัญชีพิเศษแสดงการหักภาษี ณ ที่จ่ายและการนำส่งภาษีที่มีข้อความอย่างน้อยตามแบบที่อธิบดีกรมสรรพากร กำหนด โดยต้องกรอกข้อความให้แล้วเสร็จภายใน 3 วันทำการ นับแต่วันถัดจากวันที่มีรายการเกี่ยวกับการหักภาษี ณ ที่จ่าย หรือการนำส่งภาษีเกิดขึ้น และให้ผู้มีหน้าที่หักภาษี ณ ที่จ่ายเก็บรักษาบัญชีพิเศษดังกล่าวไว้ไม่น้อยกว่า 5 ปี โดยเก็บไว้ ณ สำนักงานที่มีการจ่ายเงินได้และพร้อมที่จะให้เจ้าพนักงานประเมินตรวจสอบได้ ทันที

    7. ผู้จ่ายเงินได้ต้องปฏิบัติตามหนังสือแจ้งความของเจ้าพนักงานประเมินที่แจ้ง ให้ยื่นบัญชีจ่าย เงินได้พึงประเมินตาม มาตรา 40(1)(2)(3)(4) และ (7) แห่งประมวลรัษฎากร หรือพยานหลักฐานอันควรแก่เรื่อง เพื่อการตรวจสอบการหักภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ณ ที่จ่าย (มาตรา 51 แห่งประมวลรัษฎากร)

    8. ผู้จ่ายเงินได้ต้องมีและใช้เลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากร และผู้มีหน้าที่หักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย ต้องแจ้งเลขประจำตัวผู้เสียภาษีของผู้ถูกหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย ลงในแบบแสดงรายการนำส่งภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย

    -----------------------------------------------------------------------


    หน้าที่และความรับผิดของผู้จ่ายเงินได้ (2)

    ขอนำประเด็นการปฏิบัติเกี่ยวกับภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย ทั้งกรณีภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาหัก ณ ที่จ่าย และภาษีเงินได้นิติบุคคลหัก ณ ที่จ่าย ที่ผู้จ่ายเงินได้มีหน้าที่และความรับผิดเกี่ยวกับการหักภาษี ณ ที่จ่ายมาปุจฉา - วิสัชนา ต่อจากสัปดาห์ก่อน ดังนี้

    กรุงเทพธุรกิจ ออนไลน์ : ปุจฉา กรณีใดบ้างที่ถือว่าผู้จ่ายเงินได้ได้จ่ายเงินได้พึงประเมิน และมีหน้าที่ต้องหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย

    วิสัชนา โดยทั่วไปการคำนวณหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย จะกระทำเมื่อมีการจ่ายเงินได้ประเภทที่ต้องหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่ายให้แก่ผู้มีเงินได้ ซึ่งตรงกับวิธีการทางบัญชีตามเกณฑ์เงินสด (CASH BASIS) ดังนี้

    1. กรณีจ่ายเงินได้เป็นเงินสด ผู้จ่ายเงินได้ต้องหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่ายทันทีที่จ่ายเงินสดนั้น เช่น

    (1) บริษัทจ่ายเงินเดือน ค่าจ้าง ประจำเดือนสิงหาคม ให้แก่พนักงานเป็นเงินสด ในวันที่ 10 กันยายน ให้คำนวณหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่ายทันทีจ่ายเงินได้ และนำส่งภายในวันที่ 7 ของเดือนตุลาคม โดยระบุว่าเป็นการจ่ายเงินได้ของเดือนกันยายน

    (2) บริษัทประกันภัยจ่ายค่านายหน้าประจำเดือนมกราคม - มีนาคม ให้แก่พนักงานขายในเดือนเมษายน ให้คำนวณหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่ายทันทีจ่ายเงินได้ และนำส่งภายในวันที่ 7 ของเดือนพฤษภาคม โดยระบุว่าเป็นการจ่ายเงินได้ของเดือนเมษายน

    (3) รัฐวิสาหกิจจ่ายค่าเบี้ยประชุมกรรมการและโบนัสให้แก่กรรมการเป็นเงินสด ให้คำนวณหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่ายทันทีจ่ายเงินได้ และนำส่งภายในวันที่ 7 ของเดือนถัดไป

    (4) กรมชลประทานจ่ายค่าจ้างเหมาก่อสร้างเขื่อนกั้นน้ำในเดือนมกราคม ซึ่งบริษัทผู้รับเหมาได้แจ้งหนี้มาให้กรมชลประทานทราบตั้งแต่เดือนธันวาคมแล้ว ให้คำนวณหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่ายในเดือนมกราคมจ่ายเงินได้ และนำส่งภายในวันที่ 7 ของเดือนกุมภาพันธ์ โดยระบุว่าเป็นการจ่ายเงินได้ของเดือนมกราคม

    2. กรณีจ่ายด้วยบัตรเครดิต ให้คำนวณหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่ายเช่นเดียวกับการจ่ายเงินสด กล่าวคือ เมื่อมีการออกหลักฐานการใช้บัตรเครดิต

    3. กรณีจ่ายเงินได้โดยโอนเงินเข้าบัญชีธนาคารของผู้มีเงินได้ ให้คำนวณหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่ายทันทีที่ผู้จ่ายเงินได้โอนเงินเข้าบัญชีธนาคารของผู้มีเงินได้ แม้ผู้มีเงินได้จะมิได้ไปเบิกถอนเงินจากธนาคารก็ตาม ให้ถือว่าได้มีการจ่ายเงินได้กันแล้ว เช่น

    (1) กรมสรรพากรโอนเงินเดือนค่าจ้างเข้าบัญชีเงินฝากธนาคารประเภทออมทรัพย์ ให้แก่ข้าราชการและลูกจ้างของกรมสรรพากรเป็นรายบุคคลในวันสิ้นเดือน

    (2) บริษัท ก. จำกัดโอนค่าโฆษณาเข้าบัญชีเงินฝากกระแสรายวันให้แก่บริษัทผู้รับโฆษณา

    4. กรณีจ่ายเงินได้เป็นทรัพย์สินหรือสิ่งของ ผู้จ่ายเงินได้คำนวณหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่ายทันทีที่จ่ายเงินได้เป็นทรัพย์สินดังกล่าว เช่น

    (1) บริษัทแจกทองคำให้แก่พนักงาน เนื่องในโอกาสเทศกาลปีใหม่ หรือทำงานครบห้าปี

    (2) การแลกเปลี่ยนสินค้ากับค่าบริการที่ต้องหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย

    (3) การจ่ายค่าเช่าหรือค่าโฆษณาเป็นสินค้าหรือสิ่งของ

    (4) การจ่ายรางวัลจากการแข่งขัน หรือชิงโชค หรือเกมโชว์ ให้แก่ผู้มีเงินได้เป็นรถยนต์ โทรทัศน์ ตู้เย็น สินค้า หรือสิ่งของอื่น เป็นต้น

    5. กรณีจ่ายเงินได้ด้วยเช็คหรือตั๋วเงิน ให้คำนวณหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่ายตามวันที่ลงในเช็คหรือตั๋วเงินนั้น ไม่ว่าผู้จ่ายเงินได้จะได้ส่งมอบเช็คหรือตั๋วเงินให้แก่ผู้มีเงินได้หรือไม่และไม่ว่าผู้มีเงินได้จะได้นำเช็คนั้นหรือตั๋วเงินนั้นไปขึ้นเงินจากธนาคารหรือผู้จ่ายเงินหรือไม่ เช่น

    (1) บริษัท เอ. จำกัดทำเช็คเพื่อจ่ายชำระค่าจ้างทำของให้แก่บริษัท บี. จำกัดในวันที่ 25 กันยายน แต่บริษัท บี. จำกัดมารับเช็คดังกล่าวในวันที่ 10 ตุลาคม ให้บริษัท เอ. จำกัดหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่ายในอัตราร้อยละ 3.0 ของค่าจ้าง และออกหนังสือรับรองการหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่ายในวันที่ 25 กันยายน และนำส่งภายในวันที่ 7 ของเดือนตุลาคม

    (2) บริษัท กขค. จำกัด จ่ายเช็คเพื่อชำระค่าเช่าอาคารสำนักงานให้แก่นาย ขาว ในวันที่ 11 กันยายน แต่เช็คลงวันที่ 15 ตุลาคม เช่นนี้ ให้บริษัท เอ. จำกัดหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่ายในอัตราร้อยละ 3.0 ของค่าจ้าง และออกหนังสือรับรองการหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่ายในวันที่ 15 ตุลาคม และนำส่งภายในวันที่ 7 ของเดือนพฤศจิกายน

    อนึ่ง ในกรณีที่ผู้จ่ายเงินจ่ายเช็คหรือตั๋วเงินให้แก่ผู้รับเงิน แล้วต่อมาเช็คนั้นขัดข้อง ผู้จ่ายเงินก็ยังคงมีหน้าที่หักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่ายและนำส่งภาษีเงินได้ ณ ที่จ่ายตามวันที่ลงในเช็คนั้นต่อไป เพราะถือว่าได้จ่ายชำระเงินได้แล้ว สำหรับเช็คที่ขัดข้องถือเป็นมูลหนี้ใหม่

    6. กรณีจ่ายเงินได้เป็นประโยชน์ที่อาจคิดคำนวณได้เป็นเงิน ให้คำนวณหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่ายในวันที่จ่ายประโยชน์ดังกล่าวให้แก่ผู้มีเงินได้ เช่น จ่ายตั๋วเครื่องบินไปกลับกรุงเทพฯ - ฮ่องกง

    7. กรณีการขายอสังหาริมทรัพย์ ให้คำนวณหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย ในขณะที่ทำการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ผู้รับจดทะเบียน ณ สำนักงานที่ดิน ดังนั้น ในการจ่ายเงินค่าซื้ออสังหาริมทรัพย์ก่อนการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ผู้รับจดทะเบียนจึงไม่ต้องหักภาษีไว้ ณ ที่จ่าย แต่อย่างใด

    ซึ่งจะเห็นได้ว่ากรณีต่างๆ ดังกล่าว สอดคล้องกับความรับผิดในการเสียภาษีมูลค่าเพิ่มกรณีรับชำระค่าบริการ ซึ่งถือปฏิบัติตามเกณฑ์เงินสด

    หน้าที่และความรับผิดของผู้จ่ายเงินได้ (3)

    ขอนำประเด็นการปฏิบัติเกี่ยวกับภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย ทั้งกรณีภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาหัก ณ ที่จ่าย และภาษีเงินได้นิติบุคคลหัก ณ ที่จ่าย ที่ผู้จ่ายเงินได้มีหน้าที่และความรับผิดเกี่ยวกับการหักภาษี ณ ที่จ่ายมา

    กรุงเทพธุรกิจ ออนไลน์ : ปุจฉา - วิสัชนา ต่อจากสัปดาห์ก่อน ดังนี้

    ปุจฉา กรณีตัวแทนจ่ายเงินได้พึงประเมินแทนตัวการที่มีหน้าที่หักภาษีเงินได้ ณ ที่ ตัวแทนมีหน้าที่เกี่ยวกับภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย อย่างไร

    วิสัชนา กรณีตัวแทนจ่ายเงินได้พึงประเมินแทนตัวการที่มีหน้าที่หักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย ให้ตัวแทนมีหน้าที่หักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย แทนตัวการ โดยตัวแทนมีหน้าที่ออกหนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย แทนตัวการ และส่งสำเนาหนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย ให้กับตัวการเก็บไว้เป็นหลักฐาน และเมื่อตัวการจ่ายคืนเงินที่ตัวแทนได้ออกไปก่อนตัวการไม่มีหน้าที่หักภาษี ณ ที่จ่ายอีก

    1. ในกรณีกรรมการหรือพนักงานใช้รถยนต์ของบริษัทฯ หรือจ่ายค่าโฆษณาแทนบริษัทฯ ไปก่อนแล้วค่อยนำใบเสร็จรับเงิน/ใบกำกับภาษีมาเบิกคืนจากบริษัทฯ เช่นนี้ การกระทำดังกล่าวถือเป็นกรณีตัวแทนกระทำการแทนตัวการ เพราะใบเสร็จรับเงิน/ใบกำกับภาษีระบุชื่อบริษัทฯ ผู้จ่ายเงินโดยชัดแจ้ง กรรมการหรือพนักงานผู้จ่ายเงินกระทำการแทนบริษัทฯ ดังนั้น เมื่อบริษัทฯ มีหน้าที่ต้องหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย สำหรับการจ่ายเงินได้ดังกล่าวอย่างไร กรรมการหรือพนักงานย่อมมีหน้าที่ต้องหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่ายเช่นเดียวกันนั้น

    2. กรณีกรรมการหรือพนักงานจ่ายเงินค่าซ่อมรถยนต์ ค่าโฆษณาได้แทนบริษัทฯ ไปก่อน แต่ในขณะที่จ่ายค่าซ่อมรถยนต์นั้น กรรมการหรือพนักงานไม่มีหลักฐานการหักภาษี ณ ที่จ่าย จึงไม่ได้หักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่ายไว้

    ปัญหาข้อนี้นับว่าเป็นข้อเท็จจริงที่ยุ่งยากในการปฏิบัติเป็นอันมาก แต่ในทางปฏิบัติ กฎหมายกำหนดให้ผู้จ่ายเงินได้มีหน้าที่ต้องนำส่งภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่ายที่ตนมีหน้าที่หัก ไม่ว่าผู้จ่ายเงินได้นั้นจะได้คำนวณหักภาษีเงินได้ไว้ ณ ที่จ่ายหรือไม่ก็ตาม ดังนั้น แม้ในทางปฏิบัติเกี่ยวกับการจ่ายเงินได้ตามปัญหาดังกล่าวจะมีข้อจำกัดในการหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่ายว่า กรรมการหรือพนักงานไม่มีหลักฐานการหักภาษี ณ ที่จ่าย จึงไม่ได้หักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่ายไว้ แต่ในหน้าที่การนำส่งภาษี ผู้จ่ายเงินได้ยังคงมีหน้าที่นำส่งภาษีเงินได้ ณ ที่จ่ายไปตามปกติ โดยต้องนำเงินในส่วนของตนไปส่งแทน

    3. เมื่อบริษัทฯ นำส่งภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย ในส่วนที่ไม่ได้หักไว้บริษัทฯ สามารถนำค่าภาษีอากรที่ได้นำส่งไปโดยมิได้หักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่ายนั้น มาถือเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิหรือขาดทุนสุทธิทางภาษีอากรได้ ไม่ต้องห้ามตามมาตรา 65 ตรี (3) หรือ (13) แห่งประมวลรัษฎากร แต่อย่างไร สำหรับภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่ายที่บริษัทฯ ได้นำส่งไปนั้น ถือเป็นการออกภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่ายแทนผู้มีเงินได้ จึงต้องนำค่าภาษีเงินได้ที่ออกแทนให้นั้นกลับมารวมคำนวณภาษีเงินได้และคำนวณภาษีเงินได้หัก ณ ที่อีกครั้งหนึ่ง และปฏิบัติเช่นเดียวกันจนกว่าจะไม่มีจำนวนเงินภาษีที่ออกแทนให้

    ตัวอย่าง

    บริษัทฯ เป็นตัวแทนของลูกค้าในการนำผ้าดิบไปให้โรงงานย้อมผ้า ย้อมเป็นผ้าสีหรือพิมพ์ดอก เมื่อบริษัทฯ จ่ายค่าจ้างให้แก่โรงงานย้อมผ้า บริษัทฯ มีหน้าที่หักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่ายตามคำสั่งกรมสรรพากรที่ ท.ป.4/2528 ลงวันที่ 26 กันยายน 2528 แทนตัวการ และมีหน้าที่ออกหนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย แทนลูกค้า (ตัวการ) โดยส่งสำเนาหนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย ให้กับตัวการเก็บไว้เป็นหลักฐาน

    เมื่อลูกค้าจ่ายค่าย้อมผ้าพร้อมกับค่าบำเหน็จตัวแทนให้แก่บริษัทฯ ลูกค้าไม่มีหน้าที่หักภาษี ณ ที่จ่ายอีก เพราะเป็นการจ่ายคืนเงินที่ตัวแทนได้ออกไปก่อน และการจ่ายค่าบำเหน็จตัวแทนไม่เข้าลักษณะเป็นการจ่ายค่าจ้างทำของ (หนังสือกรมสรรพากร ที่ กค 0802/2700 ลงวันที่ 9 กุมภาพันธ์ 2537)

    ปุจฉา การนำส่งภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย โดยยื่นแบบแสดงรายการนำส่งภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่ายใช้แบบแสดงรายการที่ไม่ถูกต้องหรือผิดแบบแสดงรายการ มีผลทางภาษีอากรอย่างไร

    วิสัชนา การยื่นแบบแสดงรายการนำส่งภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่ายใช้แบบแสดงรายการที่ไม่ถูกต้องหรือผิดแบบแสดงรายการ

    1. โดยทั่วไปถือว่ามิได้ยื่นแบบแสดงรายการที่ถูกหรือที่ควรจะเป็นนั้นเลย ผู้มีหน้าที่ยื่นรายการต้องยื่นรายการและนำส่งภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่ายฉบับที่ถูกต้องใหม่อีก

    2. แต่อย่างไรก็ตามหากผู้มีหน้าที่ยื่นรายการได้รับอนุมัติจากกรมสรรพากรให้อนุโลมให้ถือว่า แบบแสดงรายการนำส่งภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย และจำนวนเงินภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่ายที่ได้ผู้มีหน้าที่ยื่นรายการได้ยื่นแบบแสดงรายการและนำส่งภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่ายไว้เป็นแบบแสดงรายการและจำนวนเงินที่ถูกต้องแล้ว ก็ย่อมได้สิทธิตามคำอนุมัตินั้นเป็นรายๆ ไป เช่น

    ธนาคารฯ ได้ยื่นแบบแสดงรายการนำส่งภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย ไม่เป็นไปตามแบบที่อธิบดีกรมสรรพากรกำหนดสำหรับเดือนมีนาคม 2537 โดยได้ยื่นแบบ ภ.ง.ด.53 ซึ่งเป็นแบบนำส่งภาษีเงินได้นิติบุคคลหัก ณ ที่จ่าย เพื่อนำส่งภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาหัก ณ ที่จ่าย ที่ต้องใช้แบบ ภ.ง.ด.2 จำนวนเงิน 426,472.72 บาท และได้ยื่นแบบ ภ.ง.ด.2 ซึ่งเป็นแบบนำส่งภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาหัก ณ ที่จ่าย เพื่อนำส่งภาษีเงินได้นิติบุคคลหัก ณ ที่จ่าย ที่ต้องใช้แบบ ภ.ง.ด.53 จำนวนเงิน 3,578.02 บาท นั้น กรมสรรพากรอนุโลมให้ถือว่าธนาคารฯ ได้ยื่นแบบแสดงรายการและนำส่งทั้งภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาและภาษีเงินได้นิติบุคคลหัก ณ ที่จ่ายไว้แล้ว (หนังสือกรมสรรพากรที่ กค 0802/10905 ลงวันที่ 23 มิถุนายน 2537)

    ทั้งนี้ กรมสรรพากรพิจารณาอนุโลมให้ถือว่า แบบแสดงรายการและจำนวนภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่ายที่ผู้จ่ายเงินได้ได้ยื่นผิดไปนั้น เป็นจำนวนเงินได้หัก ณ ที่จ่ายตามแบบแสดงรายการที่ควรจะเป็นทุกกรณี แต่ต้องร้องขอเป็นหนังสือไปทุกครั้ง

    หน้าที่และความรับผิดของผู้จ่ายเงินได้ (4)

    ขอนำประเด็นการปฏิบัติเกี่ยวกับภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย ทั้งกรณีภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาหัก ณ ที่จ่าย และภาษีเงินได้นิติบุคคลหัก ณ ที่จ่าย ที่ผู้จ่ายเงินได้มีหน้าที่และความรับผิดเกี่ยวกับการหักภาษี ณ ที่จ่าย มาปุจฉา-วิสัชนา ต่อจากสัปดาห์ก่อน ดังนี้

    กรุงเทพธุรกิจ ออนไลน์ : ปุจฉา ผู้จ่ายเงินได้มีหน้าที่เกี่ยวกับการนำส่งภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย อย่างไร

    วิสัชนา นำส่งภาษีหัก ณ ที่จ่าย ไม่ว่าผู้จ่ายเงินได้จะได้หักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่ายไว้หรือไม่ก็ตาม (มาตรา 52 แห่งประมวลรัษฎากร)

    1. การนำส่งภาษีหัก ณ ที่จ่าย ในทุกกรณีเว้นแต่กรณีตาม 2. และ 3. ให้นำส่ง ณ สำนักงานสรรพากรพื้นที่สาขาท้องที่ที่ผู้จ่ายเงินมีภูมิลำเนา โดยชำระเป็นเงินสดหรือชำระด้วยบัตรภาษีหรือเช็คก็ได้หรือจะเลือกชำระเป็นเงินสดบางส่วนและชำระด้วยบัตรภาษีและหรือเช็คบางส่วนก็ได้

    2. กรณีรัฐบาล หรือองค์การของรัฐบาลเป็นผู้จ่ายเงินได้ หากเจ้าพนักงานผู้จ่ายเงินได้ปฏิบัติหน้าที่ตรวจสอบจนเป็นที่แน่ชัดว่าได้คำนวณจำนวนภาษีที่จะต้องหัก ณ ที่จ่ายและจดไว้ในฎีกาเบิกเงินแล้ว และให้เป็นหน้าที่ที่จะหักเงินจำนวนนั้นก่อนจ่าย (เบิกหักผลักส่งไว้ในฎีกา) ก็ไม่ต้องนำส่งภาษีหัก ณ ที่จ่าย ณ สำนักงานสรรพากรพื้นที่สาขาท้องที่อีก (มาตรา 53 แห่งประมวลรัษฎากร)

    3. กรณีภาษีหัก ณ ที่จ่าย สำหรับเงินได้จากการขายอสังหาริมทรัพย์ ให้ผู้มีหน้าที่หักภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ณ ที่จ่าย และภาษีเงินได้นิติบุคคล ณ ที่จ่าย ตามมาตรา 50(5) และ (6) และมาตรา 69 ตรี แห่งประมวลรัษฎากร แล้วแต่กรณี นำส่งภาษีหัก ณ ที่จ่าย ต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ผู้รับจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมในขณะที่มีการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรม ทั้งนี้ ห้ามพนักงานเจ้าหน้าที่ลงนามรับรู้ ยอมให้ทำ หรือบันทึกการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรม จนกว่าจะได้รับเงินภาษีหัก ณ ที่จ่าย ไว้ครบถ้วนแล้ว และในกรณีที่ไม่มีการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมให้นำส่งภาษีหัก ณ ที่จ่าย ณ สำนักงานสรรพากรพื้นที่สาขาท้องที่

    ภาษีหัก ณ ที่จ่าย ที่ผู้จ่ายเงินได้ได้หักไว้แล้ว จะถือเป็นเครดิตของผู้ต้องถูกหักภาษี ณ ที่จ่าย ก็เฉพาะแต่เพียงกรณีที่ผู้จ่ายเงินได้ได้นำส่งภาษีหัก ณ ที่จ่าย ไว้แล้วเท่านั้น (มาตรา 60 แห่งประมวลรัษฎากร)

    4. พร้อมกับการนำส่งภาษีหัก ณ ที่จ่าย ผู้จ่ายเงินได้ต้องยื่นแบบแสดงรายการตามแบบที่อธิบดีกรมสรรพากรกำหนด ภายในวันที่ 7 ของเดือนถัดจากเดือนที่จ่ายเงินได้ ดังนี้

    (1) กรณีภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาหัก ณ ที่จ่าย

    ภ.ง.ด. 1 ใช้สำหรับการหักภาษี ณ ที่จ่ายตามมาตรา 50(1) แห่งประมวลรัษฎากร เนื่องจากการจ่ายเงินได้ตามมาตรา 40(1) และ (2) แห่งประมวลรัษฎากร

    ภ.ง.ด. 2 ใช้สำหรับการหักภาษี ณ ที่จ่ายตามมาตรา 50(2) แห่งประมวลรัษฎากร เนื่องจากการจ่ายเงินได้ตามมาตรา 40(3) และ(4) แห่งประมวลรัษฎากร

    ภ.ง.ด. 3 ใช้สำหรับการหักภาษี ณ ที่จ่ายเนื่องจากการจ่ายเงินได้ตามมาตรา 40(5)(6)(7) หรือ (8) แห่งประมวลรัษฎากร โดยต้องยื่นรายการและนำส่งภาษีภายในวันที่ 7 ของเดือนถัดจากเดือนที่จ่ายเงินได้

    (2) กรณีภาษีเงินได้นิติบุคคลหัก ณ ที่จ่าย

    ภ.ง.ด.53 ใช้สำหรับกรณีภาษีเงินได้นิติบุคคลหัก ณ ที่จ่ายตามมาตรา 69 ทวิ และมาตรา 3 เตรส แห่งประมวลรัษฎากร (มาตรา 69 ทวิ มาตรา 3 เตรส ประกอบมาตรา 52 แห่งประมวลรัษฎากร)

    ภ.ง.ด.54 ส่วน ก ใช้สำหรับกรณีภาษีเงินได้นิติบุคคลหัก ณ ที่จ่ายตามมาตรา 70 แห่งประมวลรัษฎากร โดยต้องยื่นรายการและนำส่งภาษีภายในวันที่ 7 ของเดือนถัดจากเดือนที่จ่ายเงินได้

    กรณีผู้จ่ายเงินได้ออกเงินค่าภาษีเงินได้ให้แก่ผู้มีเงินได้ ให้ระบุข้อความว่า ออกให้ครั้งเดียว ออกให้ตลอดไปหรืออื่นๆ ให้ชัดเจนในแบบแสดงรายการดังกล่าวด้วย

    สำหรับผู้จ่ายเงินได้ที่มีหน้าที่หักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่ายตามมาตรา 50 และมาตรา 3 เตรส แห่งประมวลรัษฎากร ในการยื่นแบบแสดงรายการ ภ.ง.ด. 1, ภ.ง.ด. 2, ภ.ง.ด. 3 หรือ ภ.ง.ด. 53 ให้แสดงรายละเอียดเกี่ยวกับผู้มีเงินได้ที่เป็นคนต่างด้าวอย่างน้อยตามแบบที่อธิบดีกรมสรรพากรกำหนด

    5. เมื่อสิ้นปีภาษีให้ผู้จ่ายเงินได้ที่ต้องหักภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา มีหน้าที่ต้องยื่นรายการสรุปการจ่ายเงินได้และจำนวนภาษีเงินได้ที่ได้หักและนำส่งไว้ ตามแบบที่อธิบดีกรมสรรพากรกำหนด ภายในกำหนดเวลาดังต่อไปนี้ (มาตรา 58 แห่งประมวลรัษฎากร)

    ภ.ง.ด.1 ก. สำหรับเงินได้ตามมาตรา 40(1) และ (2) แห่งประมวลรัษฎากร ที่ผู้จ่ายเงินได้ที่เป็นบุคคล ห้างหุ้นส่วน บริษัท หรือคณะบุคคล โดยต้องภายในเดือนกุมภาพันธ์ของปีถัดจากปีที่จ่ายเงินได้

    ภ.ง.ด.1 ก. พิเศษ สำหรับเงินได้ตามมาตรา 40(1) และ(2) แห่งประมวลรัษฎากร ที่ผู้จ่ายเงินได้เป็นรัฐบาล หรือองค์การของรัฐบาล โดยต้องยื่นภายในเดือนกุมภาพันธ์ของปีถัดจากปีที่จ่ายเงินได้

    ภ.ง.ด.2 ก. สำหรับเงินได้ตามมาตรา 40(3) และ (4) แห่งประมวลรัษฎากร โดยต้องยื่นรายการดังกล่าว ภายในเดือนมกราคมของปีถัดจากปีที่จ่ายเงินได้

    ภ.ง.ด.3 ก. สำหรับเงินได้ตามมาตรา 40(5)(6)(7) หรือ (8) แห่งประมวลรัษฎากร เฉพาะผู้จ่ายเงินได้ที่เป็นรัฐบาล องค์การของรัฐบาล เทศบาล สุขาภิบาล โดยต้องยื่นภายในเดือนมกราคมของปีถัดจากปีที่จ่ายเงินได้

    กรณีผู้จ่ายเงินได้มีภูมิลำเนาตั้งอยู่ในเขตกรุงเทพมหานคร ให้ยื่นแบบแสดงรายการดังกล่าว ณ สำนักงานสรรพากรอำเภอที่สถานประกอบการตั้งอยู่ สำหรับผู้จ่ายเงินได้มีภูมิลำเนาตั้งอยู่ในเขตจังหวัดอื่น ให้ยื่นแบบแสดงรายการดังกล่าว ณ สำนักงานสรรพากรจังหวัด หรือที่ว่าการอำเภอท้องที่

    หน้าที่และความรับผิดของผู้จ่ายเงินได้ (5)

    ขอ นำประเด็นการปฏิบัติเกี่ยวกับภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย ทั้งกรณีภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาหัก ณ ที่จ่าย และภาษีเงินได้นิติบุคคลหัก ณ ที่จ่าย ที่ผู้จ่ายเงินได้มีหน้าที่และความรับผิดเกี่ยวกับการหักภาษี ณ ที่จ่ายมาปุจฉา - วิสัชนา ต่อจากสัปดาห์ก่อน ดังนี้

    กรุงเทพธุรกิจ ออนไลน์ : ปุจฉา มีแนวทางในการผ่อนคลายหน้าที่เกี่ยวกับการนำส่งภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย หรือไม่อย่างไร

    วิสัชนา กรมสรรพากรได้วางแนวทางปฏิบัติในการตั้งตัวแทนเพื่อดำเนินการหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย ออกหนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย และลงลายมือชื่อในหนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่ายแทนผู้จ่ายเงิน พร้อมทั้งยื่นรายการภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย และชำระภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย แทนผู้จ่ายเงิน ดังนี้

    1. ตามคำสั่งกรมสรรพากร ที่ ป. 112/2545 ลงวันที่ 1 พฤษภาคม 2545 เพื่อวางแนวทางปฏิบัติเกี่ยวกับการตั้งธนาคารพาณิชย์ และบริษัทเงินทุน หลักทรัพย์ และเครดิตฟองซิเอร์ให้เป็นตัวแทน และ

    2. ตามคำสั่งกรมสรรพากร ที่ ป. 12/2545 ลงวันที่ 1 พฤษภาคม 2545 เพื่อวางแนวทางปฏิบัติเกี่ยวกับการตั้งบริษัทผู้ให้บริการโทรศัพท์ให้เป็น ตัวแทน

    ปุจฉา มีแนวทางปฏิบัติเกี่ยวกับการตั้งธนาคารพาณิชย์ และบริษัทเงินทุน หลักทรัพย์ และเครดิตฟองซิเอร์ให้เป็นตัวแทนเพื่อดำเนินการเกี่ยวกับการหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่ายและการนำส่งภาษีอย่างไร

    วิสัชนา

    1. ให้บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล หรือนิติบุคคลอื่น ที่จ่ายค่าบริการที่ไม่เข้าลักษณะเป็นสัญญาระยะยาว และค่าบริการที่ไม่เข้าลักษณะเป็นสัญญาระยะยาว ให้กับธนาคารพาณิชย์ บริษัทเงินทุน บริษัทหลักทรัพย์ และบริษัทเครดิตฟองซิเอร์ โดยเป็นการจ่ายผ่านระบบการหักเงินจากบัญชีธนาคารของผู้จ่ายเงิน และมีความประสงค์แต่งตั้งให้ธนาคารพาณิชย์ บริษัทเงินทุน บริษัทหลักทรัพย์ และบริษัทเครดิตฟองซิเอร์ ผู้ถูกหักภาษี ณ ที่จ่ายเป็นตัวแทนเพื่อดำเนินการหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย ออกหนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย และลงลายมือชื่อในหนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่ายแทนผู้จ่ายเงิน พร้อมทั้งยื่นรายการภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย และชำระภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย แทนผู้จ่ายเงิน จัดทำสัญญาการตั้งตัวแทนและมอบอำนาจให้กระทำการแทนเป็นลายลักษณ์อักษร ทั้งนี้ ธนาคารพาณิชย์ บริษัทเงินทุน บริษัทหลักทรัพย์ และบริษัทเครดิตฟองซิเอร์ สามารถเป็นตัวแทนเพื่อดำเนินการหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย แทนผู้จ่ายเงินตัวการหลายตัวการได้ ซึ่งธนาคารหรือบริษัทในฐานะเป็นตัวแทนต้องออกหนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย และยื่นรายการภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่ายในนามของผู้จ่ายเงิน

    2. กรณีธนาคารพาณิชย์ บริษัทเงินทุน บริษัทหลักทรัพย์ และบริษัทเครดิตฟองซิเอร์ ได้ดำเนินการหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย แทนผู้จ่ายเงินแล้ว ผู้จ่ายเงินและธนาคารหรือบริษัทซึ่งเป็นตัวแทนไม่จำเป็นต้องออกหนังสือ รับรองการหักภาษี ณ ที่จ่ายเป็นรายฉบับทุกครั้งที่จ่ายเงิน แต่ทั้งนี้ ธนาคารหรือบริษัทซึ่งเป็นตัวแทนต้องจัดทำรายละเอียดรายการภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย เพื่อเป็นหนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่ายด้วย และเมื่อดำเนินการหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย แทนผู้จ่ายเงินแล้ว ธนาคารหรือบริษัทจะต้องระบุข้อความเพิ่มเติมในใบกำกับภาษีของค่าธรรมเนียม หรือค่าบริการ โดยมีสาระสำคัญว่า ธนาคารหรือบริษัทได้ดำเนินการหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่ายในอัตราร้อยละ 3.0 เป็นจำนวนเงิน … บาท แทนผู้จ่ายเงินแล้ว และจะดำเนินการนำส่งภาษีดังกล่าวต่อกรมสรรพากรภายในวันที่ 7 ของเดือนถัดไป ซึ่งธนาคารหรือบริษัทซึ่งเป็นตัวแทนจะต้องจัดให้มีการ SCAN หรือพิมพ์ลายมือชื่อผู้รับมอบอำนาจในใบกำกับภาษีดังกล่าวด้วย

    รายละเอียดรายการภาษีเงิน ได้หัก ณ ที่จ่าย ดังกล่าว สามารถจัดทำเป็นภาษาไทยหรือภาษาอังกฤษก็ได้ แต่จะต้องมีรายการอย่างน้อยดังต่อไปนี้

    (1) คำว่า “รายละเอียดรายการภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่ายประจำเดือน…พ.ศ. ….” ในที่ที่เห็นได้เด่นชัด

    (2) ชื่อ ที่อยู่ และเลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากรของธนาคารหรือบริษัทผู้ถูกหักภาษี ณ ที่จ่าย โดยมีข้อความว่า “ในฐานะผู้กระทำการแทนผู้จ่ายเงินได้ตามรายชื่อที่ระบุไว้ในเอกสารนี้”

    (3) ประเภทเงินได้ เช่น ค่าธรรมเนียมการใช้บัตรเครดิต หรือค่าธรรมเนียมในการโอนเงินทางโทรเลข

    (4) ชื่อ และเลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากรของผู้จ่ายเงิน ซึ่งเป็นตัวการหลายตัวการ จำนวนเงินที่จ่าย และจำนวนภาษีที่หักไว้

    (5) ลายมือชื่อผู้มีหน้าที่หักภาษี ณ ที่จ่าย

    3. เมื่อธนาคารพาณิชย์ บริษัทซึ่งเป็นตัวแทนดังกล่าว ได้ยื่นรายการภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย ตามแบบ ภ.ง.ด. 53 ในฐานะเป็นตัวแทนเพื่อดำเนินการหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย แทนผู้จ่ายเงินตัวการหลายตัวการ ธนาคารหรือบริษัทซึ่งเป็นตัวแทนจะต้องระบุในช่องผู้มีหน้าที่หักภาษี ณ ที่จ่ายว่า ธนาคารหรือบริษัทซึ่งเป็นตัวแทนในฐานะผู้กระทำการแทนผู้จ่ายเงินในใบแนบ ภ.ง.ด.53 พร้อมทั้งแนบรายละเอียดรายการภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย ตามข้อ 2 ด้วย ซึ่งเอกสารรายละเอียดดังกล่าวถือเป็นใบต่อแบบ ภ.ง.ด.53 โดยธนาคารหรือบริษัทจะต้องเขียนข้อความว่า “ใบต่อแบบ ภ.ง.ด.53” ไว้ในเอกสารรายละเอียดรายการภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย ในที่ที่เห็นได้เด่นชัดแล้ว ให้ธนาคารพาณิชย์ หรือบริษัทซึ่งเป็นตัวแทนสามารถใช้เอกสารรายละเอียดรายการภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย ตามข้อ 2. เป็นบัญชีพิเศษแสดงการหักภาษี ณ ที่จ่ายและการนำส่งภาษีได้ ทั้งนี้ ตามมาตรา 17 แห่งประมวลรัษฎากร และประกาศอธิบดีกรมสรรพากรเกี่ยวกับภาษีเงินได้และภาษีการค้า (ฉบับที่ 4) ลงวันที่ 31 พฤษภาคม พ.ศ.2531

    4. ธนาคารพาณิชย์ บริษัทซึ่งเป็นตัวแทน สามารถใช้สำเนาแบบ ภ.ง.ด.53 และหลักฐานใบเสร็จรับเงินของกรมสรรพากรที่รับชำระภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย เป็นหลักฐานในการเครดิตภาษีตามมาตรา 60 แห่งประมวลรัษฎากรได้


    หน้าที่และความรับผิดของผู้จ่ายเงินได้ (6)

    ขอ นำประเด็นการปฏิบัติเกี่ยวกับภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย ทั้งกรณีภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาหัก ณ ที่จ่าย และภาษีเงินได้นิติบุคคลหัก ณ ที่จ่าย ที่ผู้จ่ายเงินได้มีหน้าที่และความรับผิดเกี่ยวกับการหักภาษี ณ ที่จ่ายมาปุจฉา - วิสัชนา ต่อจากสัปดาห์ก่อน ดังนี้

    กรุงเทพ ธุรกิจ ออนไลน์ : ปุจฉา มีแนวทางปฏิบัติเกี่ยวกับการตั้งบริษัทผู้ให้บริการโทรศัพท์ให้เป็นตัวแทน ตัวแทนเพื่อดำเนินการเกี่ยวกับการหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่ายและการนำส่งภาษีตามคำสั่งกรมสรรพากร ที่ ป. 125/2545 ลงวันที่ 1 พฤษภาคม 2545 อย่างไร

    วิสัชนา

    1. กรณีบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลหรือนิติบุคคลอื่น จ่ายค่าบริการเลขหมายโทรศัพท์ และค่าบริการโทรศัพท์ ให้แก่ผู้ให้บริการโทรศัพท์โดยเป็นการจ่ายผ่านระบบการหักเงินจากบัญชีธนาคาร ของผู้จ่ายเงินไม่ว่าจะหักจากบัญชีเงินฝากหรือบัญชีบัตรเครดิต และผู้จ่ายเงินมีความประสงค์แต่งตั้งให้ผู้ให้บริการโทรศัพท์ ผู้ถูกหักภาษี ณ ที่จ่ายเป็นตัวแทนเพื่อดำเนินการหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย ออกหนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย และลงลายมือชื่อในหนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่ายแทนผู้จ่ายเงิน

    พร้อมทั้งยื่นรายการภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย และชำระภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย แทนผู้จ่ายเงิน ก็สามารถกระทำได้ โดยจะต้องจัดทำสัญญาการตั้งตัวแทนและมอบอำนาจให้กระทำการแทนเป็นลายลักษณ์ อักษร ทั้งนี้ ผู้ให้บริการโทรศัพท์ซึ่งเป็นตัวแทนจะต้องออกหนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่ายในนามของผู้จ่ายเงิน และต้องยื่นรายการภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่ายในนามของผู้จ่ายเงิน

    ผู้ให้บริการโทรศัพท์ดังกล่าว สามารถเป็นตัวแทนเพื่อดำเนินการหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย แทนผู้จ่ายเงินตัวการหลายตัวการได้ซึ่งผู้ให้บริการโทรศัพท์ในฐานะเป็นตัว แทนต้องออกหนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย และยื่นรายการภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่ายในนามของผู้จ่ายเงิน โดยให้ดำเนินการตามข้อ (3)

    2. กรณีผู้ให้บริการโทรศัพท์ตามข้อ 1. ได้ดำเนินการหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย แทนผู้จ่ายเงินแล้ว ผู้จ่ายเงินไม่จำต้องออกหนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย สำหรับการจ่ายค่าบริการในทันทีทุกครั้งที่มีการหักภาษี ณ ที่จ่าย ตามมาตรา 50 ทวิ วรรคสาม แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งทำให้ผู้ให้บริการโทรศัพท์ซึ่งเป็นตัวแทนไม่จำต้องออกหนังสือรับรองการ หักภาษี ณ ที่จ่ายเป็นรายฉบับทุกครั้งที่จ่ายเงิน

    แต่ทั้งนี้ ผู้ให้บริการโทรศัพท์ต้องจัดทำรายละเอียดรายการภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย เพื่อเป็นหนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่ายด้วย และเมื่อดำเนินการหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย แทนผู้จ่ายเงินแล้ว ผู้ให้บริการโทรศัพท์จะต้องระบุข้อความเพิ่มเติมในใบเสร็จรับเงินหรือใบ กำกับภาษีของค่าบริการ โดยมีสาระสำคัญว่า ผู้ให้บริการโทรศัพท์ได้ดำเนินการหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย ในอัตราร้อยละ… เป็นจำนวนเงิน…บาท แทนผู้จ่ายเงินแล้ว และจะดำเนินการนำส่งภาษีดังกล่าวต่อกรมสรรพากรภายในวันที่ 7 ของเดือนถัดไป ซึ่งผู้ให้บริการโทรศัพท์จะต้องจัดให้มีการ SCAN หรือพิมพ์ลายมือชื่อผู้รับมอบอำนาจในใบเสร็จรับเงินหรือใบกำกับภาษีดังกล่าว ด้วย

    รายละเอียดรายการภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย ดังกล่าว สามารถจัดทำเป็นภาษาไทยหรือภาษาอังกฤษก็ได้ แต่จะต้องมีรายการอย่างน้อยดังต่อไปนี้

    (1) คำว่า “รายละเอียดรายการภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่ายประจำเดือน…พ.ศ. …. ” ในที่ที่เห็นได้เด่นชัด

    (2) ชื่อ ที่อยู่ และเลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากรของผู้ให้บริการโทรศัพท์ซึ่งเป็นผู้ถูกหัก ภาษี ณ ที่จ่าย โดยมีข้อความว่า “ในฐานะผู้กระทำการแทนผู้จ่ายเงินได้ตามรายชื่อที่ระบุไว้ในเอกสารนี้”

    (3) ประเภทเงินได้ เช่น ค่าบริการเลขหมายโทรศัพท์ หรือค่าบริการโทรศัพท์

    (4) ชื่อ และเลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากรของผู้จ่ายเงิน ซึ่งเป็นตัวการหลายตัวการ จำนวนเงินที่จ่าย และจำนวนภาษีที่หักไว้

    (5) ลายมือชื่อผู้มีหน้าที่หักภาษี ณ ที่จ่าย

    3. กรณีผู้ให้บริการโทรศัพท์ตามข้อ 1. ได้ยื่นรายการภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย ตามแบบ ภ.ง.ด. 53 ในฐานะเป็นตัวแทนเพื่อดำเนินการหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย แทนผู้จ่ายเงินตัวการหลายตัวการ ผู้ให้บริการโทรศัพท์จะต้องระบุในช่องผู้มีหน้าที่หักภาษี ณ ที่จ่ายว่า ผู้ให้บริการโทรศัพท์ในฐานะผู้กระทำการแทนผู้จ่ายเงินในใบแนบ ภ.ง.ด. 53 พร้อมทั้งแนบรายละเอียดรายการภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย ตามข้อ 10 วรรคสามด้วย ซึ่งเอกสารรายละเอียดดังกล่าวถือเป็นใบต่อแบบ ภ.ง.ด. 53 โดยผู้ให้บริการโทรศัพท์จะต้องเขียนข้อความว่า “ใบต่อแบบ ภ.ง.ด. 53” ไว้ในเอกสารรายละเอียดรายการภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย ในที่ที่เห็นได้เด่นชัด

    ผู้ให้บริการโทรศัพท์ดังกล่าว ในฐานะเป็นตัวแทนเพื่อดำเนินการหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย แทนผู้จ่ายเงินตัวการหลายตัวการ สามารถใช้เอกสารรายละเอียดรายการภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย ตามข้อ 10 วรรคสาม เป็นบัญชีพิเศษแสดงการหักภาษี ณ ที่จ่ายและการนำส่งภาษีได้ ทั้งนี้ ตามมาตรา 17 แห่งประมวลรัษฎากร และข้อ 7 ของประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้และภาษีการค้า (ฉบับที่ 4) เรื่อง กำหนดให้ผู้มีหน้าที่หักภาษีเงินได้หรือภาษีการค้า ณ ที่จ่าย มีบัญชีพิเศษ ลงวันที่ 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2531

    4. ผู้ให้บริการโทรศัพท์ตามข้อ 1. ในฐานะเป็นตัวแทนเพื่อดำเนินการหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย แทนผู้จ่ายเงินตัวการหลายตัวการ สามารถใช้สำเนาแบบ ภ.ง.ด. 53 และหลักฐานใบเสร็จรับเงินของกรมสรรพากรที่รับชำระภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย เป็นหลักฐานในการเครดิตภาษีตามมาตรา 60 แห่งประมวลรัษฎากรได้

    การตั้งผู้ให้บริการโทรศัพท์เป็นตัว แทนเพื่อดำเนินการหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย แทนผู้จ่ายเงินตัวการ ช่วยให้เกิดความสะดวก และลดทอนค่าใช้จ่ายรวมทั้งลดภาระการบันทึกรายการทางบัญชีได้อย่างมาก จึงควรดำเนินการในทันที เพื่อประโยชน์ของธุรกิจโดยส่วนรวมและผู้ที่เกี่ยวข้องทุกฝ่าย

    ปัญหาหน้าที่และความรับผิดของผู้จ่ายเงินได้ (7)

    ขอ นำประเด็นปัญหาการปฏิบัติเกี่ยวกับภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่ายทั้งกรณีภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาหัก ณ ที่จ่าย และภาษีเงินได้นิติบุคคลหัก ณ ที่จ่ายที่ผู้จ่ายเงินได้มีหน้าที่และความรับผิดเกี่ยวกับการหักภาษี ณ ที่จ่ายมาปุจฉา- วิสัชนา ต่อจากสัปดาห์ก่อน ดังนี้

    กรุงเทพ ธุรกิจ ออนไลน์ : ปุจฉา มีแนวทางปฏิบัติเกี่ยวกับการตั้งตัวแทนเพื่อดำเนินการเกี่ยวกับการหักภาษี เงินได้ ณ ที่จ่าย และการนำส่งภาษีกรณีทั่วไป อย่างไร

    วิสัชนา การเป็นตัวแทนจ่ายเงินได้พึงประเมินแทนตัวการที่มีหน้าที่หักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย ให้ตัวแทนมีหน้าที่หักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย แทนตัวการ โดยตัวแทนมีหน้าที่ออกหนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย แทนตัวการ และส่งสำเนาหนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย ให้กับตัวการเก็บไว้เป็นหลักฐาน และเมื่อตัวการจ่ายคืนเงินที่ตัวแทนได้ออกไปก่อน ตัวการไม่มีหน้าที่หักภาษี ณ ที่จ่ายอีก

    1.ในกรณีกรรมการหรือพนักงานใช้ รถยนต์ของบริษัทฯ หรือจ่ายค่าโฆษณาแทนบริษัทฯ ไปก่อนแล้วค่อยนำใบเสร็จรับเงิน/ใบกำกับภาษีมาเบิกคืนจากบริษัทฯ เช่นนี้ การกระทำดังกล่าวถือเป็นกรณีตัวแทนกระทำการแทนตัวการ เพราะใบเสร็จรับเงิน/ใบกำกับภาษีระบุชื่อบริษัทฯ ผู้จ่ายเงินโดยชัดแจ้ง กรรมการหรือพนักงานผู้จ่ายเงินกระทำการแทนบริษัทฯ ดังนั้น เมื่อบริษัทฯ มีหน้าที่ต้องหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย สำหรับการจ่ายเงินได้ดังกล่าวอย่างไร กรรมการหรือพนักงานย่อมมีหน้าที่ต้องหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่ายเช่นเดียวกันนั้น

    2.กรณีกรรมการหรือพนักงานจ่าย เงินค่าซ่อมรถยนต์ ค่าโฆษณาได้แทนบริษัทฯ ไปก่อน แต่ในขณะที่จ่ายค่าซ่อมรถยนต์นั้น กรรมการหรือพนักงานไม่มีหลักฐานการหักภาษี ณ ที่จ่าย จึงไม่ได้หักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่ายไว้

    ปัญหาข้อนี้นับว่าเป็นข้อ เท็จจริงที่ยุ่งยากในการปฏิบัติเป็นอันมาก แต่ในทางปฏิบัติ กฎหมายกำหนดให้ผู้จ่ายเงินได้มีหน้าที่ต้องนำส่งภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่ายที่ตนมีหน้าที่หัก ไม่ว่าผู้จ่ายเงินได้นั้นจะได้คำนวณหักภาษีเงินได้ไว้ ณ ที่จ่ายหรือไม่ก็ตาม ดังนั้น แม้ในทางปฏิบัติเกี่ยวกับการจ่ายเงินได้ตามปัญหาดังกล่าว จะมีข้อจำกัดในการหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่ายว่า กรรมการหรือพนักงานไม่มีหลักฐานการหักภาษี ณ ที่จ่าย จึงไม่ได้หักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่ายไว้ แต่ในหน้าที่การนำส่งภาษี ผู้จ่ายเงินได้ยังคงมีหน้าที่นำส่งภาษีเงินได้ ณ ที่จ่ายไปตามปกติ โดยต้องนำเงินในส่วนของตนไปส่งแทน

    3.เมื่อบริษัทฯ นำส่งภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย ในส่วนที่ไม่ได้หักไว้ บริษัทฯ สามารถนำค่าภาษีอากรที่ได้นำส่งไปโดยมิได้หักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่ายนั้น มาถือเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิหรือขาดทุนสุทธิทางภาษีอากรได้ ไม่ต้องห้ามตามมาตรา 65 ตรี (3) หรือ (13) แห่งประมวลรัษฎากร แต่อย่างไร สำหรับภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่ายที่บริษัทฯ ได้นำส่งไปนั้น ถือเป็นการออกภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่ายแทนผู้มีเงินได้ จึงต้องนำค่าภาษีเงินได้ที่ออกแทนให้นั้นกลับมารวมคำนวณภาษีเงินได้และคำนวณ ภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่ายอีกครั้งหนึ่ง และปฏิบัติเช่นเดียวกันจนกว่าจะไม่มีจำนวนเงินภาษีที่ออกแทนให้

    ปุจฉา บริษัทฯ เป็นตัวแทนของลูกค้าในการนำผ้าดิบไปให้โรงงานย้อมผ้า ย้อมเป็นผ้าสีหรือพิมพ์ดอก เมื่อบริษัทฯ จ่ายค่าจ้างให้แก่โรงงานย้อมผ้า บริษัทฯ มีหน้าที่หักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่ายอย่างไร

    วิสัชนา กรณีบริษัทฯ เป็นตัวแทนของลูกค้าในการนำผ้าดิบไปให้โรงงานย้อมผ้า ย้อมเป็นผ้าสีหรือพิมพ์ดอก เมื่อบริษัทฯ จ่ายค่าจ้างให้แก่โรงงานย้อมผ้า บริษัทฯ มีหน้าที่หักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่ายตามคำสั่งกรมสรรพากรที่ ท.ป. 4/2528 ลงวันที่ 26 กันยายน 2528 แทนตัวการ และมีหน้าที่ออกหนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย แทนลูกค้า (ตัวการ) โดยส่งสำเนาหนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย ให้กับตัวการเก็บไว้เป็นหลักฐาน และเมื่อลูกค้าจ่ายค่าย้อมผ้าพร้อมกับค่าบำเหน็จตัวแทนให้แก่บริษัทฯ ลูกค้าไม่มีหน้าที่หักภาษี ณ ที่จ่ายอีก เพราะเป็นการจ่ายคืนเงินที่ตัวแทนได้ออกไปก่อน และการจ่ายค่าบำเหน็จตัวแทนไม่เข้าลักษณะเป็นการจ่ายค่าจ้างทำของ (เทียบเคียงหนังสือกรมสรรพากร ที่ กค 0802/2700 ลงวันที่ 9 กุมภาพันธ์ 2537)

    ปุจฉา มีแนวทางปฏิบัติเกี่ยวกับการมีและใช้เลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากรเพื่อการปฏิบัติเกี่ยวกับการหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่ายอย่างไร

    วิสัชนา ในการปฏิบัติการเกี่ยวกับการหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย ผู้จ่ายเงินได้ต้องมีและใช้เลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากร และผู้มีหน้าที่หักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย ต้องแจ้งเลขประจำตัวผู้เสียภาษีของผู้ถูกหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย ลงในแบบแสดงรายการนำส่งภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย

    อย่างไรก็ตาม ถ้าผู้ถูกหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย บางรายมิได้ขอมีเลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากรไว้ เมื่อผู้มีหน้าที่หักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย ได้แจ้ง ชื่อ และที่อยู่ของผู้ถูกหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่ายลงในแบบแสดงรายการนำส่งภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย และนำส่งภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย ภายในเวลาที่กฎหมายกำหนดแล้ว ผู้มีหน้าที่หักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย ก็ไม่มีความผิดและไม่ต้องเสียค่าปรับตามมาตรา 3 ทวาทศ แห่งประมวลรัษฎากร (หนังสือกรมสรรพากรที่ กค 0802/17247 ลงวันที่ 7 กันยายน 2536)

    ปุจฉา ในปัจจุบันการจัดทำบัญชี ส่วนใหญ่มีการใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์เข้ามาช่วยในการจัดทำบัญชี ซึ่งรวมทั้งการจัดทำบัญชีเเยกประเภทเกี่ยวกับภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่ายที่ได้หักจากผู้มีเงินได้เพื่อรวบรวมนำส่งกรมสรรพากรในวันที่ 7 ของเดือนถัดไปอยู่แล้ว ยังจำเป็นต้องจัดทำบัญชีพิเศษแสดงการหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย และการนำส่งอีกหรือไม่

    วิสัชนา ข้อกำหนดดังกล่าวออกใช้ตั้งแต่ปี 2531 โดยมีวัตถุประสงค์ที่ใช้เตือนผู้จ่ายเงินได้ว่าอย่าลืมนำส่งภาษีเงินได้ ณ ที่จ่ายที่ได้หักไว้แล้วในแต่ละเดือน และใช้ตรวจสอบการนำส่งภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย ที่อาจซ้ำซ้อนกับการจัดทำบัญชีทั่วไป และยังไม่ได้ถูกยกเลิก แต่ก็ลดทอนความสำคัญลงมากแล้ว จนเกือบไม่มีการกล่าวถึงในการตรวจสอบภาษีอากรของเจ้าหน้าที่สรรพากร แล้ว


    ปัญหาหน้าที่และความรับผิดของผู้จ่ายเงินได้ (8)

    ขอ นำประเด็นปัญหาการปฏิบัติเกี่ยวกับภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย ทั้งกรณีภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาหัก ณ ที่จ่าย และภาษีเงินได้นิติบุคคลหัก ณ ที่จ่าย ที่ผู้จ่ายเงินได้มีหน้าที่และความรับผิดเกี่ยวกับการหักภาษี ณ ที่จ่ายมาปุจฉา-วิสัชนา ต่อจากสัปดาห์ก่อน ดังนี้

    กรุงเทพ ธุรกิจ ออนไลน์ : ปุจฉา มีแนวทางปฏิบัติเกี่ยวกับกรณีผู้จ่ายเงินได้ที่เป็นกิจการรับเหมาก่อสร้าง หรือผู้ผลิตที่มีลูกจ้าง พนักงาน หรือคนงานจำนวนมาก ไม่ทราบสถานภาพการหักลดหย่อนของผู้มีเงินได้ อย่างไร

    วิสัชนา ผู้จ่ายเงินได้กรณีดังกล่าวที่มีลูกจ้าง พนักงาน หรือคนงานจำนวนมาก (ตั้งแต่หนึ่งร้อยคนขึ้นไป) อาจทำความตกลงกับกรมสรรพากรเพื่อขอนำส่งภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย ดังนี้

    1. ขอนำส่งภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย เป็นเงินก้อนรายเดือนตามที่ได้ตกลงไว้ หรือ

    2. ขอนำส่งภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย เป็นเงินก้อนรายเดือนตามที่คำนวณได้จริง หรือ

    3. ขอนำส่งภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย เป็นเงินก้อนรายเดือนในอัตราร้อยละ 3 ของค่าจ้างแรงงานรายวันที่จ่าย

    ทั้งนี้ ผู้จ่ายเงินได้ไม่ต้องแสดงรายละเอียดเป็นรายบุคคลในแบบแสดงรายการ ภ.ง.ด. 1 และหลักเกณฑ์และเงื่อนไขดังกล่าว กำหนดให้ใช้เฉพาะกรณีพนักงานหรือลูกจ้างที่เป็นคนไทยเท่านั้น สำหรับลูกจ้างหรือพนักงานที่เป็นชาวต่างประเทศ ผู้จ่ายเงินได้ต้องแสดงรายละเอียดการหักภาษีเงินได้และการนำส่งเป็นรายบุคคล และแยกนำส่งต่างหาก ผู้จ่ายเงินได้อาจออกหนังสือรับรองการหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่ายให้แก่ลูกจ้าง พนักงานดังกล่าว เฉพาะกรณีที่ถูกร้องขอให้ออกหนังสือรับรอง

    อย่างไรก็ตาม ในปัจจุบันมีข้อกำหนดเกี่ยวกับการยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาหลายกรณี ทั้งการยกเว้นได้สุทธิในส่วนที่ไม่เกิน 150,000 บาท และการเพิ่มจำนวนค่าลดหย่อน ทำให้ลูกจ้างพนักงานดังกล่าวมีเงินได้ไม่ถึงเกณฑ์ที่ต้องคำนวณหักภาษีเงิน ได้ ณ ที่จ่าย แนวปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ดังกล่าวจึงไม่เป็นที่นิยม ซึ่งผู้จ่ายเงินได้ต้องแสดงรายละเอียดเกี่ยวกับการจ่ายเงินได้ไว้ในแบบ ภ.ง.ด. 1 ก. ต่อไป

    ปุจฉา มีแนวทางปฏิบัติเกี่ยวกับกรณีผู้จ่ายเงินได้ยื่นแบบแสดงรายการนำส่งภาษีเงิน ได้หัก ณ ที่จ่าย โดยใช้แบบแสดงรายการที่ไม่ถูกต้องหรือผิดแบบแสดงรายการอย่างไร

    วิสัชนา โดยทั่วไปถือว่า ผู้จ่ายเงินได้มิได้ยื่นแบบแสดงรายการที่ถูกหรือที่ควรจะเป็นนั้นเลย ผู้จ่ายเงินได้ที่จึงต้องยื่นรายการและนำส่งภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย ฉบับที่ถูกต้องใหม่อีก แต่อย่างไรก็ตามหากผู้มีหน้าที่ยื่นรายการได้รับอนุมัติจากกรมสรรพากรให้ อนุโลมให้ถือว่า แบบแสดงรายการนำส่งภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย และจำนวนเงินภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่ายที่ได้ผู้มีหน้าที่ยื่นรายการได้ยื่นแบบแสดงรายการและนำส่งภาษีเงิน ได้หัก ณ ที่จ่ายไว้เป็นแบบแสดงรายการและจำนวนเงินที่ถูกต้องแล้ว ก็ย่อมได้สิทธิตามคำอนุมัตินั้นเป็นรายๆ ไป เช่น ธนาคารฯ ได้ยื่นแบบแสดงรายการนำส่งภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย ไม่เป็นไปตามแบบที่อธิบดีกรมสรรพากรกำหนดสำหรับเดือนมี.ค. 2537 โดยได้ยื่นแบบ ภ.ง.ด. 53 ซึ่งเป็นแบบนำส่งภาษีเงินได้นิติบุคคลหัก ณ ที่จ่าย เพื่อนำส่งภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาหัก ณ ที่จ่าย ที่ต้องใช้แบบ ภ.ง.ด.2 จำนวนเงิน 426,472.72 บาท และได้ยื่นแบบ ภ.ง.ด.2 ซึ่งเป็นแบบนำส่งภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาหัก ณ ที่จ่าย เพื่อนำส่งภาษีเงินได้นิติบุคคลหัก ณ ที่จ่าย ที่ต้องใช้แบบ ภ.ง.ด.53 จำนวนเงิน 3,578.02 บาท นั้น กรมสรรพากรอนุโลมให้ถือว่าธนาคารฯ ได้ยื่นแบบแสดงรายการและนำส่งทั้งภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาและภาษีเงินได้ นิติบุคคลหัก ณ ที่จ่ายไว้แล้ว (หนังสือกรมสรรพากรที่ กค 0802/10905 ลงวันที่ 23 มิ.ย. 2537)

    ปุจฉา บริษัทฯ มีหน้าที่หักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย และนำส่งตามมาตรา 3 เตรส แห่งประมวลรัษฎากร แต่ในการกรอกแบบแสดงรายการ จะมีผู้ถูกหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่ายบางรายไม่มีเลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากร เนื่องจากในบางครั้งบริษัทฯ มีความจำเป็นต้องจ้างคนท้องถิ่นซึ่งมีรายได้ไม่ถึงเกณฑ์เสียภาษีให้ทำงานที่ มีมูลค่างานไม่มากนัก ดังนั้นเมื่อถึงเวลายื่นแบบแสดงรายการและชำระภาษี จึงไม่สามารถกรอกเลขประจำตัวผู้เสียภาษีของผู้ถูกหักภาษีลงในแบบแสดงรายการ ได้ครบถ้วน กรณีเช่นนี้มีแนวทางปฏิบัติอย่างไร

    วิสัชนา โดยทั่วไปบริษัทฯ จะต้องแจ้งเลขประจำตัวผู้เสียภาษีของผู้ถูกหักภาษี ณ ที่จ่าย ลงในแบบแสดงรายการนำส่งภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย แต่เนื่องจากบริษัทฯ ไม่สามารถแจ้งได้ เพราะผู้ถูกหักภาษีมิได้ขอมีเลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากรไว้ เมื่อบริษัทฯ ได้แจ้งชื่อ และที่อยู่ของผู้ถูกหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย ลงในแบบแสดงรายการนำส่งภาษีเงินได้ ณ ที่จ่ายและนำส่งภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย ภายในเวลาที่กฎหมายกำหนดแล้ว บริษัทฯ ก็ไม่มีความผิดและไม่ต้องเสียค่าปรับตามมาตรา 3 ทวาทศ แห่งประมวลรัษฎากร (หนังสือกรมสรรพากรที่ กค 0802/17247 ลงวันที่ 7 ก.ย. 2536) อย่างไรก็ตาม ในปัจจุบันอาจใช้เลขประจำตัวประชาชนเฉพาะกรณีผู้มีเงินได้ที่เป็นบุคคล ธรรมดาแทนเลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากรก็ได้

    ปุจฉา บริษัทฯ ประกอบกิจการประกันชีวิต มีรายจ่ายบางประเภทที่ต้องหักภาษี ณ ที่จ่าย เช่น เงินเดือน ค่าบำเหน็จ ดอกเบี้ยจ่าย ค่าบริการ ค่าที่ปรึกษา ค่าเช่า เป็นต้น บริษัทฯ ได้ยื่นแบบ ภ.ง.ด.1, ภ.ง.ด.2, ภ.ง.ด.3 และ ภ.ง.ด.53 ภายในวันที่ 7 ของเดือนถัดไป แต่มีบางเดือนไม่มีการจ่าย บริษัทฯ ก็ไม่ยื่นแบบแสดงรายการหักภาษี ณ ที่จ่าย สำหรับรายจ่ายประเภทนั้นๆ เช่นนี้ บริษัทฯ ปฏิบัติถูกต้องหรือไม่

    วิสัชนา กรณีดังกล่าวถือว่า บริษัทฯ ได้ปฏิบัติถูกต้องแล้ว เพราะแบบแสดงรายการนำส่งภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย นั้น อธิบดีกรมสรรพากรได้กำหนดขึ้นโดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งประมวลรัษฎากร เพื่อให้ผู้จ่ายเงินได้พึงประเมินแต่ละประเภทใช้เป็นเอกสารนำส่งเงินภาษีที่ ตนมีหน้าที่ต้องหักและนำส่งต่อทางราชการกรมสรรพากร โดยจำแนกแบบแสดงรายการตามประเภทของเงินได้ที่จ่าย (หนังสือกรมสรรพากรที่ กค 0802/23017 ลงวันที่ 9 พ.ย. 2536)

    ปัญหาหน้าที่และความรับผิดของผู้จ่ายเงินได้ (9)

    ขอ นำประเด็นปัญหาการปฏิบัติเกี่ยวกับภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย ทั้งกรณีภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาหัก ณ ที่จ่าย และภาษีเงินได้นิติบุคคลหัก ณ ที่จ่าย ที่ผู้จ่ายเงินได้มีหน้าที่และความรับผิดเกี่ยวกับการหักภาษี ณ ที่จ่ายมาปุจฉา - วิสัชนา ต่อจากสัปดาห์ก่อน ดังนี้

    กรุงเทพ ธุรกิจ ออนไลน์ : ปุจฉา สำหรับผู้จ่ายเงินได้ที่มีหน้าที่หักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย ตามมาตรา 50 และมาตรา 3 เตรส แห่งประมวลรัษฎากร ในการยื่นแบบแสดงรายการ ภ.ง.ด.1, ภ.ง.ด.2, ภ.ง.ด.3 หรือ ภ.ง.ด.53 ต้องมีหน้าที่อื่นใดหรือไม่

    วิสัชนา สำหรับผู้จ่ายเงินได้ที่มีหน้าที่หักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย ตามมาตรา 50 และมาตรา 3 เตรส แห่งประมวลรัษฎากร ในการยื่นแบบแสดงรายการ ภ.ง.ด.1, ภ.ง.ด.2, ภ.ง.ด.3 หรือ ภ.ง.ด.53

    1. ให้แสดงรายละเอียดเกี่ยวกับผู้มีเงินได้ที่เป็นต่างด้าวอย่างน้อยตามแบบที่ อธิบดีกรมสรรพากรกำหนด (ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 39))

    2. ให้ผู้มีหน้าที่หักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่ายตามมาตรา 3 เตรส แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งเป็นรายการตามมาตรา 59 แห่งประมวลรัษฎากร แจ้งข้อความและรายละเอียดเกี่ยวกับผู้มีเงินได้ที่เป็นบริษัทจำกัด นอกจากบริษัทจดทะเบียนซึ่งถือหุ้นในบริษัทจำกัดผู้จ่ายเงินปันผลไม่น้อยกว่า ร้อยละ 25 ของหุ้นทั้งหมดที่มีสิทธิออกเสียงในบริษัทจำกัดผู้จ่ายเงินปันผล และบริษัทจำกัดผู้จ่ายเงินปันผลไม่ได้ถือหุ้นในบริษัทจำกัดผู้รับเงินปันผล ไม่ว่าโดยทางตรงหรือทางอ้อม อย่างน้อยต้องมีข้อความตามแบบที่อธิบดีกรมสรรพากรกำหนด และแบบแจ้งข้อความและรายละเอียดตามข้อ 1 ให้ยื่นต่อเจ้าพนักงานประเมินพร้อมกับการยื่นแบบ ภ.ง.ด.53

    ปุจฉา สำหรับผู้จ่ายเงินได้ที่มีหน้าที่หักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย ตามมาตรา 50 และมาตรา 3 เตรส แห่งประมวลรัษฎากร ในการยื่นแบบแสดงรายการ ภ.ง.ด.1, ภ.ง.ด.2, ภ.ง.ด.3 หรือ ภ.ง.ด.53 ต้องมีหน้าที่อื่นใดหรือไม่

    วิสัชนา สำหรับผู้จ่ายเงินได้ที่มีหน้าที่หักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย ตามมาตรา 50 และมาตรา 3 เตรส แห่งประมวลรัษฎากร ในการยื่นแบบแสดงรายการ ภ.ง.ด.1, ภ.ง.ด.2, ภ.ง.ด.3 หรือ ภ.ง.ด.53

    ปุจฉา กรณีบริษัทจ่ายเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 (2) แห่งประมวลรัษฎากร เช่น ค่าสมนาคุณวิทยากร ซึ่งในการคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาหัก ณ ที่จ่ายตามมาตรา 50 (1) แห่งประมวลรัษฎากร ไม่ถึงเกณฑ์ที่ต้องหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย เช่นนี้ ในการยื่นแบบ ภ.ง.ด.1 ก. บริษัทต้องแสดงรายการจ่ายเงินได้พึงประเมินดังกล่าวให้แก่ผู้มีเงินได้หรือ ไม่อย่างไร

    วิสัชนา ในการจ่ายเงินได้ตามมาตรา 40 (2) แห่งประมวลรัษฎากร แม้บริษัทจะไม่มีหน้าที่ต้องหักภาษี ณ ที่จ่ายตามมาตรา 50 (1) แห่งประมวลรัษฎากร ก็ตาม แต่บริษัทต้องแสดงรายการการจ่ายเงินได้ไว้ในแบบ ภ.ง.ด.1 ก. ที่ต้องยื่นภายในเดือนกุมภาพันธ์ ของปีถัดจากปีที่จ่ายเงินได้ (หนังสือกรมสรรพากรที่ กค 0802/19900 ลงวันที่ 31 ตุลาคม 2537)

    ปุจฉา กรณีผู้มีหน้าที่หักภาษี ณ ที่จ่าย ไม่ได้หักภาษี ณ ที่จ่ายและนำส่ง หรือได้หักภาษี ณ ที่จ่ายและนำส่งแล้ว แต่ไม่ครบจำนวนที่ถูกต้อง แต่ผู้มีเงินได้ได้นำเงินได้พึงประเมินตามจำนวนที่ไม่ได้ถูกหักภาษี ณ ที่จ่าย หรือตามจำนวนที่ถูกหักภาษี ณ ที่จ่ายไว้ไม่ครบจำนวนที่ถูกต้อง ไปยื่นแบบแสดงรายการภาษีและชำระภาษีแล้ว กรณีเช่นนี้มีผลกระทบต่อผู้จ่ายเงินได้อย่างไร

    วิสัชนา กรณีดังกล่าวกรมสรรพากรได้วางแนวทางปฏิบัติไว้ตามข้อ 10 ของคำสั่งกรมสรรพากรที่ ป. 91/2542 ว่า... ให้ถือว่าผู้มีเงินได้ซึ่งเป็นลูกหนี้ร่วมของผู้มีหน้าที่หักภาษี ณ ที่จ่าย ได้ชำระหนี้ภาษีแล้ว ผู้มีหน้าที่หักภาษี ณ ที่จ่ายซึ่งเป็นผู้จ่ายเงินจึงหลุดพ้นจากหนี้ภาษี เฉพาะเงินภาษีที่ต้องชำระต่อกรมสรรพากร ตามมาตรา 54 วรรคสอง แห่งประมวลรัษฎากร แต่ผู้มีหน้าที่หักภาษี ณ ที่จ่ายยังคงต้องรับผิดชำระเงินเพิ่มอีกร้อยละ 1.5 ต่อเดือน หรือเศษของเดือนของเงินภาษีที่ต้องเสียหรือนำส่งโดยไม่รวมเบี้ยปรับ ตามมาตรา 27 แห่งประมวลรัษฎากร โดยให้เริ่มนับเมื่อพ้นกำหนดเวลาการยื่นรายการหรือนำส่งภาษี จนถึงวันที่ผู้มีหน้าที่เสียภาษีได้ยื่นแบบแสดงรายการภาษี และชำระภาษีครบจำนวนที่ถูกต้อง แต่เงินเพิ่มที่คำนวณได้ไม่ให้เกินจำนวนภาษีที่ต้องเสียหรือนำส่ง

    ปุจฉา กรณีผู้มีหน้าที่หักภาษี ณ ที่จ่าย ได้หักภาษี ณ ที่จ่าย และได้ออกหนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่ายให้แก่ผู้มีเงินได้แล้ว แต่ไม่นำเงินส่งกรมสรรพากรหรือนำเงินส่งแล้วแต่ไม่ครบจำนวนที่ถูกต้อง กรณีเช่นนี้มีผลกระทบต่อผู้จ่ายเงินได้และผู้มีเงินได้อย่างไร

    วิสัชนา กรณีดังกล่าวกรมสรรพากรได้วางแนวทางปฏิบัติไว้ตามข้อ 11 ของคำสั่งกรมสรรพากรที่ ป. 91/2542 ว่า ผู้มีหน้าที่หักภาษี ณ ที่จ่ายซึ่งเป็นผู้จ่ายเงินดังกล่าวจะต้องรับผิดแต่เพียงผู้เดียว

    สำหรับผู้มีเงินได้จะพ้นความรับผิดใน จำนวนเงินภาษีเท่ากับจำนวนที่ถูกหักไว้ ตามมาตรา 54 วรรคสอง แห่งประมวลรัษฎากร ผู้มีเงินได้จึงมีสิทธินำเงินที่ถูกหักภาษี ณ ที่จ่าย ตามจำนวนที่ระบุในหนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย มาถือเป็นเครดิตในการคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา และภาษีเงินได้นิติบุคคล ตามมาตรา 3 เตรส มาตรา 60 และมาตรา 69 ทวิ แห่งประมวลรัษฎากรได้

    ทั้งนี้ ให้เจ้าพนักงานประเมินตรวจสอบให้ได้ข้อเท็จจริงว่า ผู้มีเงินได้ได้ถูกหักภาษี ณ ที่จ่ายไว้จริง ทั้งนี้ ไม่ว่าผู้มีหน้าที่หักภาษี ณ ที่จ่ายซึ่งเป็นผู้จ่ายเงินจะได้นำเงินส่งกรมสรรพากรหรือไม่ หรือนำเงินส่งแล้วแต่ไม่ครบจำนวนที่ถูกต้องก็ตาม หากตรวจสอบพบว่า ผู้มีหน้าที่หักภาษี ณ ที่จ่ายซึ่งเป็นผู้จ่ายเงินได้หักภาษี ณ ที่จ่ายไว้แล้ว แต่ไม่ได้นำเงินส่งกรมสรรพากรหรือนำเงินส่งแล้วแต่ไม่ครบจำนวนที่ถูกต้อง ให้เจ้าพนักงานประเมินดำเนินการทางแพ่งและทางอาญากับผู้จ่ายเงินดังกล่าว ให้นำส่งเงินภาษีให้ครบจำนวนที่ถูกต้องต่อไป

    แนะนำโปรแกรมป้องกันไว้รัสฟรี

    โปรแกรมป้องกันไวรัสฟรี ดีจริงใหม ?
    มีคนถามมาบ่อยๆ ว่าโปรแกรมป้องกันไวรัสตัวไหนดี พอแนะนำไปก็จะคำถามย้อนกลับมาอีกว่า แล้วแบบที่ฟรีๆ น่ะ มีไหม (โอ้...อยากได้ฟรีและดี) เมื่อขอมา เราก็จัดให้ ใน Cover Story ฉบับนี้เราได้รวบรวมโปรแกรมป้องกันไวรัสฟรีๆ และไม่ฟรีมาฝากกัน

    ในส่วนของโปรแกรมฟรีๆ คุณสามารถหาได้จากเว็บ www.download.com ซึ่งจะเป็นที่รวบรวมโปรแกรมทั้งฟรีและไม่ฟรีมาให้ได้ใช้กัน โดยในหมวดของโปรแกรมป้องกันไวรัสหาแบบรวมๆ ทีนี้เรามาดูว่ามีโปรแกรมอะไรน่าสนในบ้าง

    ThreatFire AntiVirus Free Edition 3 (คะแนน 3/5)
    http://www.threatfire.com/files/tfinstall.exe
    โปรแกรมน้องใหม่มาแรงจากค่าย PC Tools ที่กำลังได้รับความนิยมจากทั้งผู้ใช้ทั่วไปและนักทดสอบ ด้วยประสิทธิภาพในการทำงานที่ดี สามารถตรวจจับไวรัส หนอนอินเทอร์เน็ต โทรจัน รูทคิต บัฟเฟอร์โอเวอร์โฟว์ สปายแวร์ แอดแวร์ และมับแวร์ได้โดยในโปรแกรมเวอร์ชันฟรีจะติดต่อกับทางผู้ผลิตในกรณีที่เกิดปัญหาผ่านทางอีเมล์เท่านั้น และไม่สามารถอัพเกรดเอนจิ้นของโปรแกรมได้
    หากจ่ายเงิน 14.95 เหรียญสหรัฐฯเพื่ออัพเกรดเวอร์ชันเป็น Pro คุณจะสามารถโทรคุยและแชตกับฝ่าย Technical Support ได้ รวมไปถึงการได้ฟังก์ชันการใช้งานขั้นสูงของโปรแกรม จะที่สำคัญหากเกิดจะใช้โปรแกรมนี้ก็คือ เครื่องคุณจะต้องแรงพอตัว เนื่องจากโปรแกรมค่อนข้างจะดึงเครื่องพอสมควร

    PC Tools AntiVirus Free Edition (คะแนน 3/5)
    http://www.pctools.com/free-antivirus/download
    จากการโหวตของเว็บไซต์ download.com โปรแกรมนี้น่าจะเป็นโปรแกรมป้องกันไวรัสฟรีที่น่าสนใจในตอนนี้ เพราะสามารถตรวจสอบไวรัสได้แบบเรียลไทม์ รวมไปถึงความสามารถในการสแกนไฟล์ อินเทอร์เน็ต อีเมล์ มีอินเทอร์เฟซการใช้งานที่ไม่ยุ่งยาก หากเพิ่มเงิน 29.95 เหรียญสหรัฐฯ คุณสามารถปรึกษาผู้เชี่ยวชาญได้ตลอด 24 ชั่วโมง และยังได้รับระบบการอัพเดตข้อมูลไวรัสที่รวดเร็วมากขึ้น

    Avira Antivir Personal Edition Classic (คะแนน 4/5)
    http://www.avira.com/en/download/index.html
    โปรแกรมสัญลักษณ์ร่มแดงนี้แดงนี้ถูกออกแบบมาให้ใช้งานได้ง่ายและฟรี ซึ่งถูกใจหลายๆ คน รวมทั้งผมด้วย มีระบบการป้องกันไวรัสที่ดี อัพเดตต้อมูลไวรัส เอนจิ้น และข้อมูลโปรแกรมใหม่ๆแบบอัตโนมัติ อีกทั้งยังมีการมอนิเตอร์ระบบแบบเรียลไทม์ ตั้งแต่ข้อมูลเริ่มเข้ามาในเครื่อง ใช้เทคโนโลยีการกำจัดไวรัสที่ทันสมัย ไม่กั๊กสำหรับใช้ในเวอร์ชันจ่ายตังค์เหมือนค่ายอื่นๆ

    Avast Home Edition (คะแนน 4/5)
    http://www.avast.com/eng/download-avast-home.html
    โปรแกรมป้องกันไวรัสที่ได้รับการรับรองจาก ICSA Lab และ Checkmark แม้ว่าหน้าตาอินเทอร์เฟซจะแปลกๆ คล้ายโปรแกรม Winamp แต่ก็ดูทันสมัยดี สามารถตรวจสอบอีเมล์ เน็ตเวิร์ก ไฟล์แบบ P2P และมีไฟร์วอลล์เล็กๆ แถมมาให้ด้วย

    AVG Anti-Virus Free Edition (คะแนน 5/5)
    http://www.download.com/AVG-Anti-Virus-Free-Edition/3000-2239_4-10320142.html?tag=lst-01
    ปรแกรมป้องกันไวรัสที่ได้รับความนิยมสูงสุด ด้วยยอดดาวน์โหลดใน download.com สูงถึง 61 ล้านครั้ง และได้รับรางวัลจากสถาบันต่างๆ มากมาย ด้วยโปรแกรมที่มีขนาดเล็กติดตั้งง่าย ใช้งานไม่ยาก ทำงานได้เร็ว การอัพเดตข้อมูลไวรัสก็รวดเร็วและมีประสิทธิภาพในการทำงานที่ดี จึงไม่น่าแปลกใจที่โปรแกรมนี้จะได้รับความนิยมมากขนาดนี้

    ข้อมูลจาก : หนังสือ COMPUTER.TODAY

    การพัฒนาความรู้ต่อเนื่องทางวิชาชีพ (CPD) ตอน 2

    อ้างอิง http://www.excelthai.com/2008/08/cpd.html

     

    ตัวอย่างการนับรอบ 3 ปีและการแจ้งชั่วโมงการอบรม

     

    ตัวอย่างที่ 1. นาย ก ได้แจ้งการเป็นผู้ทำบัญชีตามแบบ ส.บช.5 ไว้ตั้งแต่วันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2546 (ซึ่งเป็นวันก่อนวันที่ 10 สิงหาคม 2547 และก่อนวันที่ 31 ธันวาคม 2547) ดังนั้นรอบในการอบรมความรู้เกี่ยวกับวิชาชีพบัญชี 3 ปีรอบแรกของ นาย ก จะเป็นช่วงของวันที่ 10 สิงหาคม 2547 ถึง 31 ธันวาคม 2550 ซึ่งจะต้องเข้ารับการอบรมไม่น้อยกว่า 27 ชั่วโมงและนาย ก.จะต้องเข้ารับการอบรมในแต่ละปีของรอบในการอบรม 3 ปีรอบแรก ดังนี้

    • ปีที่ 1 (ช่วงวันที่ 10 สค.2547-31 ธค.2548) ต้องอบรมไม่น้อยกว่า 6 ชั่วโมง
    • ปีที่ 2 (ช่วงวันที่ 1 มค.2549-31 ธค.2549) ต้องอบรมไม่น้อยกว่า 6 ชั่วโมง
    • ปีที่ 3 (ช่วงวันที่ 1 มค.2550-31 ธค.2550) ต้องอบรมไม่น้อยกว่า 6 ชั่วโมง

    สำหรับส่วนที่เหลืออีก 9 ชั่วโมงจะเป็นการอบรมในปีใดก็ได้ในระหว่างวันที่ 10 สิงหาคม2547 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2550 ซึ่งรวมทั้งสิ้นจะเท่ากับ 27 ชั่วโมงโดยจะต้องเป็นการอบรมในหัวข้อทางการบัญชีไม่น้อยกว่า 18 ชั่วโมง

     

    ตัวอย่างที่ 2. นาย ข.ได้แจ้งการเป็นผู้ทำบัญชีตามแบบ ส.ปช.5 ไว้ตั้งแต่วันที่ 15 กันยายน 2547 (ซึ่งเป็นวันหลังวันที่ 10 สิงหาคม 2547 แต่ก่อนวันที่ 31 ธันวาคม 2547) ดังนั้นรอบในการอบรมความรู้เกี่ยวกับวิชาชีพบัญชี 3 ปีรอบแรกของ นาย ข.จะเป็นช่วงของวันที่ 15 กันยายน 2547 ถึง 31 ธันวาคม 2550 ซึ่งจะต้องเข้ารับการอบรมไม่น้อยกว่า 27 ชั่วโมง และนาย ข.จะต้องเข้ารับการอบรมในแต่ละปีของรอบในการอบรม 3 ปีรองแรกดังนี้

    • ปีที่ 1 (ช่วงวันที่ 15 กย.2547-31 ธค.2548) ต้องอบรมไม่น้อยกว่า 6 ชั่วโมง
    • ปีที่ 2 (ช่วงวันที่ 1 มค.2549-31 ธค.2549) ต้องอบรมไม่น้อยกว่า 6 ชั่วโมง
    • ปีที่ 3 (ช่วงวันที่ 1 มค.2550-31 ธค.2550) ต้องอบรมไม่น้อยกว่า 6 ชั่วโมง

    สำหรับส่วนที่เหลืออีก 9 ชั่วโมงจะเป็นการอบรมในปีใดก็ได้ในระหว่างวันที่ 15 กันยายน2547 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2550 ซึ่งรวมทั้งสิ้นจะเท่ากับ 27 ชั่วโมงโดยจะต้องเป็นการอบรมในหัวข้อทางการบัญชีไม่น้อยกว่า 18 ชั่วโมง

     

    ตัวอย่างที่ 3. นาย ค.ได้แจ้งการเป็นผู้ทำบัญชีตามแบบ ส.ปช.5 ไว้ตั้งแต่วันที่ 15 มกราคม 2548 (ซึ่งเป็นวันหลังวันที่ 1 มกราคม 2548) ดังนั้นรอบในการอบรมความรู้เกี่ยวกับวิชาชีพบัญชี 3 ปีรอบแรกของ นาย ค.จะเป็นช่วงของวันที่ 15 มกราคม 2548 ถึง 31 ธันวาคม 2551 ซึ่งจะต้องเข้ารับการอบรมไม่น้อยกว่า 27 ชั่วโมง และนาย ข.จะต้องเข้ารับการอบรมในแต่ละปีของรอบในการอบรม 3 ปีรองแรกดังนี้

    • ปีที่ 1 (ช่วงวันที่ 15 มค.2548-31 ธค.2549) ต้องอบรมไม่น้อยกว่า 6 ชั่วโมง
    • ปีที่ 2 (ช่วงวันที่ 1 มค.2550-31 ธค.2550) ต้องอบรมไม่น้อยกว่า 6 ชั่วโมง
    • ปีที่ 3 (ช่วงวันที่ 1 มค.2551-31 ธค.2551) ต้องอบรมไม่น้อยกว่า 6 ชั่วโมง

    สำหรับส่วนที่เหลืออีก 9 ชั่วโมงจะเป็นการอบรมในปีใดก็ได้ในระหว่างวันที่ 15 มกราคม2547 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2551 ซึ่งรวมทั้งสิ้นจะเท่ากับ 27 ชั่วโมงโดยจะต้องเป็นการอบรมในหัวข้อทางการบัญชีไม่น้อยกว่า 18 ชั่วโมง

     

    สรุปการนับรอบ 3 ปีจะไม่นับปีแรกที่สมัครเข้าเป็นผู้ทำบัญชี แต่จะนับในปีต่อมาเป็นปีที่ 1 การอบรม 27 ชั่วโมงต้องเป็นหัวข้อบัญชี 18 ชั่วโมงที่เหลือจะเป็นอะไรก็ได้ 9 ชั่วโมงและต้องเข้ารับการอบรมปีละไม่น้อยกว่า 6 ชั่วโมง

     

    สำหรับผู้ทำบัญชีที่ยังอบรมไม่ครบ 27 ชี่วโมงในรอบแรก (ปี 2548- ปี 2550) ทางกรมพัฒนาธุรกิจการค้าได้ขยายเวลาให้ผู้ทำบัญชีเข้ารับการอบรมให้ครบ 27 ชั่วโมง โดยสามารถนำผลการอบรมในปีนี้ 2551 และปี 2552 มาลงเป็นการอบรมในรอบแรกได้

    .