การพัฒนาความรู้ต่อเนื่องทางวิชาชีพ (CPD) ตอน 2

อ้างอิง http://www.excelthai.com/2008/08/cpd.html

 

ตัวอย่างการนับรอบ 3 ปีและการแจ้งชั่วโมงการอบรม

 

ตัวอย่างที่ 1. นาย ก ได้แจ้งการเป็นผู้ทำบัญชีตามแบบ ส.บช.5 ไว้ตั้งแต่วันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2546 (ซึ่งเป็นวันก่อนวันที่ 10 สิงหาคม 2547 และก่อนวันที่ 31 ธันวาคม 2547) ดังนั้นรอบในการอบรมความรู้เกี่ยวกับวิชาชีพบัญชี 3 ปีรอบแรกของ นาย ก จะเป็นช่วงของวันที่ 10 สิงหาคม 2547 ถึง 31 ธันวาคม 2550 ซึ่งจะต้องเข้ารับการอบรมไม่น้อยกว่า 27 ชั่วโมงและนาย ก.จะต้องเข้ารับการอบรมในแต่ละปีของรอบในการอบรม 3 ปีรอบแรก ดังนี้

  • ปีที่ 1 (ช่วงวันที่ 10 สค.2547-31 ธค.2548) ต้องอบรมไม่น้อยกว่า 6 ชั่วโมง
  • ปีที่ 2 (ช่วงวันที่ 1 มค.2549-31 ธค.2549) ต้องอบรมไม่น้อยกว่า 6 ชั่วโมง
  • ปีที่ 3 (ช่วงวันที่ 1 มค.2550-31 ธค.2550) ต้องอบรมไม่น้อยกว่า 6 ชั่วโมง

สำหรับส่วนที่เหลืออีก 9 ชั่วโมงจะเป็นการอบรมในปีใดก็ได้ในระหว่างวันที่ 10 สิงหาคม2547 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2550 ซึ่งรวมทั้งสิ้นจะเท่ากับ 27 ชั่วโมงโดยจะต้องเป็นการอบรมในหัวข้อทางการบัญชีไม่น้อยกว่า 18 ชั่วโมง

 

ตัวอย่างที่ 2. นาย ข.ได้แจ้งการเป็นผู้ทำบัญชีตามแบบ ส.ปช.5 ไว้ตั้งแต่วันที่ 15 กันยายน 2547 (ซึ่งเป็นวันหลังวันที่ 10 สิงหาคม 2547 แต่ก่อนวันที่ 31 ธันวาคม 2547) ดังนั้นรอบในการอบรมความรู้เกี่ยวกับวิชาชีพบัญชี 3 ปีรอบแรกของ นาย ข.จะเป็นช่วงของวันที่ 15 กันยายน 2547 ถึง 31 ธันวาคม 2550 ซึ่งจะต้องเข้ารับการอบรมไม่น้อยกว่า 27 ชั่วโมง และนาย ข.จะต้องเข้ารับการอบรมในแต่ละปีของรอบในการอบรม 3 ปีรองแรกดังนี้

  • ปีที่ 1 (ช่วงวันที่ 15 กย.2547-31 ธค.2548) ต้องอบรมไม่น้อยกว่า 6 ชั่วโมง
  • ปีที่ 2 (ช่วงวันที่ 1 มค.2549-31 ธค.2549) ต้องอบรมไม่น้อยกว่า 6 ชั่วโมง
  • ปีที่ 3 (ช่วงวันที่ 1 มค.2550-31 ธค.2550) ต้องอบรมไม่น้อยกว่า 6 ชั่วโมง

สำหรับส่วนที่เหลืออีก 9 ชั่วโมงจะเป็นการอบรมในปีใดก็ได้ในระหว่างวันที่ 15 กันยายน2547 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2550 ซึ่งรวมทั้งสิ้นจะเท่ากับ 27 ชั่วโมงโดยจะต้องเป็นการอบรมในหัวข้อทางการบัญชีไม่น้อยกว่า 18 ชั่วโมง

 

ตัวอย่างที่ 3. นาย ค.ได้แจ้งการเป็นผู้ทำบัญชีตามแบบ ส.ปช.5 ไว้ตั้งแต่วันที่ 15 มกราคม 2548 (ซึ่งเป็นวันหลังวันที่ 1 มกราคม 2548) ดังนั้นรอบในการอบรมความรู้เกี่ยวกับวิชาชีพบัญชี 3 ปีรอบแรกของ นาย ค.จะเป็นช่วงของวันที่ 15 มกราคม 2548 ถึง 31 ธันวาคม 2551 ซึ่งจะต้องเข้ารับการอบรมไม่น้อยกว่า 27 ชั่วโมง และนาย ข.จะต้องเข้ารับการอบรมในแต่ละปีของรอบในการอบรม 3 ปีรองแรกดังนี้

  • ปีที่ 1 (ช่วงวันที่ 15 มค.2548-31 ธค.2549) ต้องอบรมไม่น้อยกว่า 6 ชั่วโมง
  • ปีที่ 2 (ช่วงวันที่ 1 มค.2550-31 ธค.2550) ต้องอบรมไม่น้อยกว่า 6 ชั่วโมง
  • ปีที่ 3 (ช่วงวันที่ 1 มค.2551-31 ธค.2551) ต้องอบรมไม่น้อยกว่า 6 ชั่วโมง

สำหรับส่วนที่เหลืออีก 9 ชั่วโมงจะเป็นการอบรมในปีใดก็ได้ในระหว่างวันที่ 15 มกราคม2547 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2551 ซึ่งรวมทั้งสิ้นจะเท่ากับ 27 ชั่วโมงโดยจะต้องเป็นการอบรมในหัวข้อทางการบัญชีไม่น้อยกว่า 18 ชั่วโมง

 

สรุปการนับรอบ 3 ปีจะไม่นับปีแรกที่สมัครเข้าเป็นผู้ทำบัญชี แต่จะนับในปีต่อมาเป็นปีที่ 1 การอบรม 27 ชั่วโมงต้องเป็นหัวข้อบัญชี 18 ชั่วโมงที่เหลือจะเป็นอะไรก็ได้ 9 ชั่วโมงและต้องเข้ารับการอบรมปีละไม่น้อยกว่า 6 ชั่วโมง

 

สำหรับผู้ทำบัญชีที่ยังอบรมไม่ครบ 27 ชี่วโมงในรอบแรก (ปี 2548- ปี 2550) ทางกรมพัฒนาธุรกิจการค้าได้ขยายเวลาให้ผู้ทำบัญชีเข้ารับการอบรมให้ครบ 27 ชั่วโมง โดยสามารถนำผลการอบรมในปีนี้ 2551 และปี 2552 มาลงเป็นการอบรมในรอบแรกได้

.

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น