วิธีถอดรหัส password ไฟล์ Excel

การทำงานในสำนักงานบางครั้งจำเป็นต้องใช้ไฟล์ตารางข้อมูลร่วมกัน และคุณอาจจะต้อง ป้องกันข้อมูลบางส่วนไว้เพื่อไม่ให้พนักงานคนอื่น ๆ มาแก้ไขข้อมูลของคุณ สำหรับไฟล์ตารางข้อมูล Excel จะมีเมนู Tools (เครื่องมือ) เพื่อให้คุณใช้รหัสป้องกันข้อมูลบน Worksheet ไม่ให้ถูกแก้ไข โดยการใส่รหัส (Password) แต่ อย่าไว้ใจว่ารหัสนั้นจะช่วยคุณได้  ไฟล์ของคุณจะไม่ปลอดภัยอย่างที่คิด ข้อเสนอโครงการมูลค่าหลักล้านอาจจะลดเหลือหลักแสน เพราะมีโปรแกรมที่สามารถ ถอดรหัสออกมาได้

โปรแกรมนี้ดาวน์โหลดได้จาก www.straxx.com/excel/password.html เรามาทดลองทำตามขั้นตอนของการใส่รหัสป้องกัน Worksheet ก่อน ดังนี้
  1. เปิดไฟล์ Excel ของคุณขึ้นมา 1 ไฟล์
  2. ไปที่เมนู Tools เพื่อใส่รหัสป้องกันแผ่นงาน (Worksheet)
  3. ทดลองคีย์ข้อมูลลงไป และแน่นอนว่า Excel จะไม่ยอมให้คุณคีย์ข้อมูล    อะไรลงไปอีก
  4. บันทึกไฟล์ (Save File)
การถอดรหัสให้ทำดังนี้
  1. ดาวน์โหลดไฟล์ PASSWORD.XLA จากเว็บไซต์ข้างต้นและติดตั้งให้เรียบร้อย
  2. ให้คุณดับเบิ้ลคลิ้กไฟล์จะมีข้อความว่า Password remover now loaded หมายความว่าโปรแกรมพร้อมที่จะทำงานแล้ว
  3. เปิดไฟล์ Excel ที่คุณได้ใส่รหัสไว้แล้ว
  4. ไปที่เมนู Tools เลือกเมนูย่อย Unprotect sheet
  5. รอจนโปรแกรมทำการถอดรหัสของคุณจนเสร็จจะมีข้อความ This sheet should now be unprotect
ถึงตอนนี้คุณก็สามารถแก้ไข ข้อมูลบน Worksheet ได้ตามปกติ และเมื่อคุณปิดโปรแกรม Excel ออกไป คำสั่ง Unprotect sheet ก็จะหายไปด้วย ผมทดสอบโปรแกรมนี้กับไฟล์  Excel ของ Office 2003 ถ้าคุณใช้วิธีการป้องกันแบบเดียวกับตัวอย่างข้างต้นนี้ ผมบอกได้เลยว่าไม่ปลอดภัย

ที่มา..http://www.tpa.or.th/writer/read_this_book_topic.php?passTo=9aa893fd2080bb8a6dd17b8dcbcce044&pageid=4&bookID=454&read=true&count=true

ความเห็นเพิ่มเติม ผมเองก็เคยใช้โปรแกรมนี้มาก่อน เพราะบางไฟล์ที่เคยทำไว้ใส่รหัสป้องกันไว้ แล้วก็บ่อยครั้งที่จำรหัสไม่ได้(ส่วนใหญ่จะเป็นไฟล์เก่า) ตัวอย่างไฟล์ที่ผมเข้ารหัสไว้ก็จะเกี่ยวกับเรื่องเงินเดือนพนักงาน หรือแม้แต่ในไฟล์ word อย่างหนังสือรับรองเงินเดือนผมก็ใส่รหัสป้องกันเอาไว้

ผมเองไม่เคยถอดรหัสไฟล์ของคนอื่นนะครับ เคยแต่ถอดรหัสให้ตัวเองหรือน้องที่แผนกขอให้ช่วยทำให้ คำแนะนำในการตั้ง password ที่ดีก็คือให้ตั้ง password มากกว่า 8 ตัวอักษร(ใช้ตัวเลขร่วมกับตัวอักษร) เพราะโปรแกรมถอดรหัสส่วนใหญ่ถอดรหัสมากกว่า 8 ตัวอักษรไม่ได้ ถึงทำได้ก็ใช้เวลานานมาก(ทั้งวัน) และถ้าตั้งรหัสเป็นภาษาไทยได้ก็ยิ่งดี โปรแกรมพวกนี้จะไม่สามารถถอดรหัสได้เลยเพราะมันไม่รู้จักภาษาไทย แต่ข้อเสียก็คือถ้าคุณลืมรหัส คุณจะไม่สามารถกู้ไฟล์ขึ้นมาได้อีกเลย (หมดสิทธิ์)

ค่าจ้างตามประกันสังคม

ค่าจ้างตามความหมายของประกันสังคม
ค่าจ้าง คือ เงินทุกประเภทที่นายจ้างจ่ายให้แก่ลูกจ้างเป็นค่าตอบแทนการทำงานในวันและเวลาทำงานปกติไม่ว่าจะคำนวณตามระยะเวลา หรือคำนวณตามผลงานที่ลูกจ้างทำได้และให้หมายความรวมถึงเงินที่นายจ้างจ่ายให้ในวันหยุดและวันลาซึ่งลูกจ้างไม่ได้ทำงานด้วย ทั้งนี้ไม่ว่าจะกำหนด คำนวณหรือจ่ายในลักษณะใด หรือโดยวิธีการใด และไม่ว่าจะเรียกชื่ออย่างไร

องค์ประกอบของค่าจ้าง
  • 1. เป็นตัวเงิน
  • 2. นายจ้างเป็นผู้จ่ายให้แก่ลูกจ้าง
  • 3. เพื่อตอบแทนการทำงานของลูกจ้างในวันและเวลาทำงานปกติ นอกจากนี้ยังหมายความรวมถึงเงินที่นายจ้างจ่ายให้กับลูกจ้างในวันหยุด และวันลา ที่ลูกจ้างไม่ได้ทำงานด้วย
ดังนั้น เงินใดก็ตามที่นายจ้างจ่ายให้กับลูกจ้าง หากเป็นไปตามองค์ประกอบดังกล่าวข้างต้น ไม่ว่านายจ้างจะเรียกชื่ออย่างไร กำหนด คำนวณ หรือจ่ายในลักษณะใด หรือโดยวิธีการใดก็ตามย่อมเป็นค่าจ้างทั้งสิ้น

ข้อสังเกตเงินที่ไม่ใช่ค่าจ้าง
  • 1.เงินที่นายจ้างจ่ายเพื่อเป็นสวัสดิการแก่ลูกจ้าง เช่น ค่ารักษาพยาบาล ค่าเล่าเรียนบุตร ไม่ถือเป็นการตอบแทนการทำงาน
  • 2. เงินที่นายจ้างจ่ายเพื่อจูงในให้ลูกจ้างทำงานให้มาก ทำงานให้ดี หรือจ่ายให้ตอนออกจากงาน เช่น เบี้ยขยัน เงินโบนัส เงินบำเหน็จ เงินสะสม ค่าชดเชย แม้จะมีการจ่ายประจำ ก็ไม่ถือเป็นการตอบแทนการทำงาน
ที่เป็นค่าจ้าง ที่ไม่เป็นค่าจ้าง
- เงินเดือน - ค่าล่วงเวลา
- ค่าครองชีพ - โบนัส, ค่ารักษาพยาบาล
- ค่าตอบแทนการทำงาน - เบี้ยขยัน
- ค่ากะ - บิลมาเบิกค่าน้ำมัน
- ค่าจ้างรายวัน - ค่าเบี้ยประชุม
- เงินประจำตำแหน่ง - ค่าจ้างทำของ
- ค่าแรง - เงินรางวัล

- ค่าคอมมิสชั่น

เพิ่มเติม

ค่าคอมมิสชั่น จะนำมารวมคำนวณประกันสังคมหรือไม่ขึ้นอยู่กับลักษณะการจ่าย
ค่าคอมมิสชั่นที่ต้องนำมารวมคำนวณประกันสังคม ต้องเป็นค่าคอมมิสชั่นที่เกิดจากการขายสินค้าต่อชิ้น คำนวณตามจำนวนชิ้นที่ขายได้ ขายได้น้อยก็ได้คอมมิสชั่นน้อย ขายได้มากก็ได้ค่าคอมมิสชั่นมาก
ค่าคอมมิสชั่นที่ไม่ต้องนำมารวมคำนวณประกันสังคม ต้องเป็นค่าคอมมิสชั่นที่กำหนดจากเป้าหรือยอด เช่น ถ้าขายได้ครบ 100 ชิ้นจะได้ค่าคอมมิสชั่น 1,000 บาท หรือถ้าขายได้ถึงเป้าที่กำหนดเช่น กำหนดเป้าการขายไว้ 100,000 บาท จะได้ค่าคอมมิสชั่นจากส่วนที่เกิน 100,000 บาท เป็นต้น

ค่าเช่าบ้าน ไม่ถือเป็นค่าจ้าง
ตย.เช่น บริษัทได้กำหนดให้มีการจ่ายค่าเช่าบ้านให้แก่พนักงานพร้อมกับเงินเดือนในอัตราร้อยละ 15 ของเงินเดือน แต่จะต้องไม่ต่ำกว่าเดือนละ 2,000 บาท เพื่อเป็นสวัสดิการสำหรับค่าที่พัก โดยบริษัทจะจ่ายให้แก่พนักงานทุกคนและมิได้กำหนด เงื่อนไขว่าพนักงานที่จะมีสิทธิได้รับค่าเช่าบ้านจะต้องเป็นผู้ที่เช่าบ้านอาศัยอยู่จริง การจ่ายค่าเช่าบ้านดังกล่าวถือได้ว่าบริษัทมีเจตนาที่จะจ่ายค่าเช่าบ้านเพื่อเป็นสวัสดิการช่วยเหลือเป็นค่าเช่าที่พักแก่พนักงาน มิได้มีเจตนาจ่ายให้แก่พนักงานเพื่อตอบแทนการทำงานในวันและเวลาทำงานปกติ จึงมิใช่ค่าจ้าง ………….

ค่าตำแหน่ง ถือเป็นค่าจ้าง
บริษัทกำหนดให้มีการจ่ายเงินค่าตำแหน่งให้เฉพาะพนักงานตำแหน่งระดับโฟร์แมน ในอัตราเดือนละ 2,000 บาท โดยจ่ายให้พร้อมกับเงินเดือน เงินค่าตำแหน่งจึงป็นเงินที่บริษัทจ่ายเพิ่มจากค่าจ้างปกติที่พนักงานตำแหน่งระดับโฟร์แมนได้รับอยู่แล้ว โดยมีการจ่ายให้เป็นประจำทุกเดือน และมีจำนวนเงินแน่นอน และเป็นการจ่ายเพื่อตอบแทนการทำงานในวันและเวลาทำงานปกติ จึงเป็นค่าจ้าง……………..

ค่าอาหาร ไม่ถือเป็นค่าจ้าง
ตย.เช่น บริษัทได้กำหนดให้มีการจ่ายเงินค่าอาหารเพื่อเป็นสวัสดิการแก่พนักงานทุกคน โดยจ่ายพร้อมกับเงินเดือนในอัตราคนละ 250 บาทต่อเดือน และจ่ายให้ทุกวันที่ 25 ของเดือน การจ่ายเงินค่าอาหารดังกล่าวถือได้ว่า บริษัทมีวัตถุประสงค์ในการจ่ายเพื่อให้ความสงเคราะห์และช่วยเหลือพนักงานเพื่อการใช้จ่ายเป็นค่าอาหาร อันมีลักษณะเป็นการให้สวัสดิการแก่พนักงาน มิได้จ่ายเพื่อตอบแทนการทำงานในวันและเวลาทำงานปกติ จึงมิใช่ค่าจ้าง ตามนัยคำพิพากษาฏีกาที่ 1717/2530…………….

ค่ากะ ที่ถือเป็นค่าจ้าง
บริษัทกำหนดระยะเวลาการทำงานของพนักงานออกเป็น 3 กะดังนี้
กะเช้า ตั้งแต่เวลา 06.00 - 14.00 น.
กะบ่าย ตั้งแต่เวลา 14.00 - 22.00 น.
กะดึก ตั้งแต่เวลา 22.00 - 06.00 น.
และได้กำหนดลักษณะการจ่ายเงินค่ากะ ดังนี้
1.จ่ายเพื่อเป็นสวัสดิการช่วยเหลือพนักงานที่ต้องทำงานในระหว่างการทำงานกะ
2.จ่ายเพื่อเป็นการช่วยเหลือเกี่ยวกับค่าอาหารของพนักงานในระหว่างการทำงานกะ
3.จ่ายเงินค่ากะให้แก่พนักงานฝ่ายผลิตที่เข้าทำงานกะเท่านั้น
4.จ่ายให้เป็นรายเดือน เดือนละ 1 ครั้งพร้อมเงินเดือน
5.จ่ายตามตำแหน่ง คือ พนักงานโอเปอร์เรเตอร์เดือนละ 600 บาท พนักงานโฟร์ แมน เดือนละ 800 บาท
เงินค่ากะที่บริษัทจ่ายให้แก่พนักงานดังกล่าวถือได้ว่าเป็นค่าจ้าง เนื่องจากเป็นการจ่ายเพื่อตอบแทนการทำงานในวันและเวลาทำงานปกติและจ่ายให้เป็นการประจำและเป็นจำนวนที่แน่นอน การที่บริษัทได้กำหนดเงื่อนไขการจ่ายว่าเป็นการจ่ายเพื่อ สวัสดิการและช่วยเหลือค่าอาหารนั้น ไม่อาจยกขึ้นเป็นข้อสนับสนุนว่าเงินค่ากะมิใช่ค่าจ้างได้ เพราะเมื่อพิจารณาหลักเกณฑ์และเงื่อนไขการจ่ายเงินค่ากะแล้ว ปรากฏว่ามีองค์ประกอบการจ่ายเป็นไปตามนิยามของคำว่า “ค่าจ้าง” คือเป็นเงินที่ นายจ้างจ่ายให้แก่ลูกจ้างเพื่อตอบแทนการทำงานในวันและเวลาทำงานปกติ………….


อบรม CPD เรื่องก้าวทันรายงานทางการเิงินฉบับใหม่

แนะนำอบรม CPD ราคาถูก (300 บาท) และนับชั่วโมง CPD ได้รวม 6 ชั่วโมง ผมเองก็สมัคร ปิดรับวันที่ 20 พฤศจิกายน นะครับ รายละเีอียดตามด้านล่าง
ด้วยกรมพัฒนาธุรกิจการค้า ได้ออกประกาศกรมพัฒนาธุรกิจการค้า เรื่อง กำหนดรายการย่อที่ต้องมีในงบการเงิน (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2551 เพื่อให้สอดคล้องกับมาตรฐานการบัญชีที่ปรับปรุงใหม่ ซึ่งประกาศฉบับนี้ จะใช้สำหรับการจัดทำงบการเงินของธุรกิจทั่วประเทศที่มีรอบปีบัญชีเริ่มต้นในหรือหลังวันที่ 1 มกราคม 2552 เป็นต้นไป ในการนี้เพื่อทำความเข้าใจเกี่ยวกับการจัดทำงบการเงินตามประกาศฉบับใหม่กับผู้ประกอบวิชาชีพบัญชี ผู้ประกอบการและผู้ที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งเตรียมพร้อมในการปฏิบัติตามประกาศฉบับใหม่ กรมพัฒนาธุรกิจการค้า ได้จัดการสัมมนา เรื่อง “ก้าวทันรายงานทางการเงินฉบับใหม่” ในวันจันทร์ที่ 15 ธันวาคม 2551 ณ ห้องรอยัลจูบิลี่ บอลรูมอาคารชาเลนจ์เจอร์ ศูนย์การประชุมอิมแพค เมืองทองธานี เวลา 08.00 - 16.30 น.โดยมีค่าธรรมเนียมในการสัมมนาท่านละ 300 บาท และในการสัมมนาครั้งนี้ สามารถนับเป็นชั่วโมงการพัฒนาความรู้ต่อเนื่องได้ เป็นเรื่อง การบัญชี 3 ชั่วโมง 30 นาที และเรื่องอื่น ๆ 2 ชั่วโมง 30 นาที
ทั้งนี้ ท่านที่สนใจสามารถดาวน์โหลดใบสมัครได้ที่นี่

ข่าวเศรษฐกิจ

ข่าวเศรษฐกิจ ธุรกิจ การเงิน



ข่าวไอที



ข่าวบันเทิง



ข่าวภาพยนตร์

กำหนดยื่นภาษี ประกันสังคม ขอมีเลขประจำตัว อื่นๆ