ค่าจ้างตามประกันสังคม

ค่าจ้างตามความหมายของประกันสังคม
ค่าจ้าง คือ เงินทุกประเภทที่นายจ้างจ่ายให้แก่ลูกจ้างเป็นค่าตอบแทนการทำงานในวันและเวลาทำงานปกติไม่ว่าจะคำนวณตามระยะเวลา หรือคำนวณตามผลงานที่ลูกจ้างทำได้และให้หมายความรวมถึงเงินที่นายจ้างจ่ายให้ในวันหยุดและวันลาซึ่งลูกจ้างไม่ได้ทำงานด้วย ทั้งนี้ไม่ว่าจะกำหนด คำนวณหรือจ่ายในลักษณะใด หรือโดยวิธีการใด และไม่ว่าจะเรียกชื่ออย่างไร

องค์ประกอบของค่าจ้าง
  • 1. เป็นตัวเงิน
  • 2. นายจ้างเป็นผู้จ่ายให้แก่ลูกจ้าง
  • 3. เพื่อตอบแทนการทำงานของลูกจ้างในวันและเวลาทำงานปกติ นอกจากนี้ยังหมายความรวมถึงเงินที่นายจ้างจ่ายให้กับลูกจ้างในวันหยุด และวันลา ที่ลูกจ้างไม่ได้ทำงานด้วย
ดังนั้น เงินใดก็ตามที่นายจ้างจ่ายให้กับลูกจ้าง หากเป็นไปตามองค์ประกอบดังกล่าวข้างต้น ไม่ว่านายจ้างจะเรียกชื่ออย่างไร กำหนด คำนวณ หรือจ่ายในลักษณะใด หรือโดยวิธีการใดก็ตามย่อมเป็นค่าจ้างทั้งสิ้น

ข้อสังเกตเงินที่ไม่ใช่ค่าจ้าง
  • 1.เงินที่นายจ้างจ่ายเพื่อเป็นสวัสดิการแก่ลูกจ้าง เช่น ค่ารักษาพยาบาล ค่าเล่าเรียนบุตร ไม่ถือเป็นการตอบแทนการทำงาน
  • 2. เงินที่นายจ้างจ่ายเพื่อจูงในให้ลูกจ้างทำงานให้มาก ทำงานให้ดี หรือจ่ายให้ตอนออกจากงาน เช่น เบี้ยขยัน เงินโบนัส เงินบำเหน็จ เงินสะสม ค่าชดเชย แม้จะมีการจ่ายประจำ ก็ไม่ถือเป็นการตอบแทนการทำงาน
ที่เป็นค่าจ้าง ที่ไม่เป็นค่าจ้าง
- เงินเดือน - ค่าล่วงเวลา
- ค่าครองชีพ - โบนัส, ค่ารักษาพยาบาล
- ค่าตอบแทนการทำงาน - เบี้ยขยัน
- ค่ากะ - บิลมาเบิกค่าน้ำมัน
- ค่าจ้างรายวัน - ค่าเบี้ยประชุม
- เงินประจำตำแหน่ง - ค่าจ้างทำของ
- ค่าแรง - เงินรางวัล

- ค่าคอมมิสชั่น

เพิ่มเติม

ค่าคอมมิสชั่น จะนำมารวมคำนวณประกันสังคมหรือไม่ขึ้นอยู่กับลักษณะการจ่าย
ค่าคอมมิสชั่นที่ต้องนำมารวมคำนวณประกันสังคม ต้องเป็นค่าคอมมิสชั่นที่เกิดจากการขายสินค้าต่อชิ้น คำนวณตามจำนวนชิ้นที่ขายได้ ขายได้น้อยก็ได้คอมมิสชั่นน้อย ขายได้มากก็ได้ค่าคอมมิสชั่นมาก
ค่าคอมมิสชั่นที่ไม่ต้องนำมารวมคำนวณประกันสังคม ต้องเป็นค่าคอมมิสชั่นที่กำหนดจากเป้าหรือยอด เช่น ถ้าขายได้ครบ 100 ชิ้นจะได้ค่าคอมมิสชั่น 1,000 บาท หรือถ้าขายได้ถึงเป้าที่กำหนดเช่น กำหนดเป้าการขายไว้ 100,000 บาท จะได้ค่าคอมมิสชั่นจากส่วนที่เกิน 100,000 บาท เป็นต้น

ค่าเช่าบ้าน ไม่ถือเป็นค่าจ้าง
ตย.เช่น บริษัทได้กำหนดให้มีการจ่ายค่าเช่าบ้านให้แก่พนักงานพร้อมกับเงินเดือนในอัตราร้อยละ 15 ของเงินเดือน แต่จะต้องไม่ต่ำกว่าเดือนละ 2,000 บาท เพื่อเป็นสวัสดิการสำหรับค่าที่พัก โดยบริษัทจะจ่ายให้แก่พนักงานทุกคนและมิได้กำหนด เงื่อนไขว่าพนักงานที่จะมีสิทธิได้รับค่าเช่าบ้านจะต้องเป็นผู้ที่เช่าบ้านอาศัยอยู่จริง การจ่ายค่าเช่าบ้านดังกล่าวถือได้ว่าบริษัทมีเจตนาที่จะจ่ายค่าเช่าบ้านเพื่อเป็นสวัสดิการช่วยเหลือเป็นค่าเช่าที่พักแก่พนักงาน มิได้มีเจตนาจ่ายให้แก่พนักงานเพื่อตอบแทนการทำงานในวันและเวลาทำงานปกติ จึงมิใช่ค่าจ้าง ………….

ค่าตำแหน่ง ถือเป็นค่าจ้าง
บริษัทกำหนดให้มีการจ่ายเงินค่าตำแหน่งให้เฉพาะพนักงานตำแหน่งระดับโฟร์แมน ในอัตราเดือนละ 2,000 บาท โดยจ่ายให้พร้อมกับเงินเดือน เงินค่าตำแหน่งจึงป็นเงินที่บริษัทจ่ายเพิ่มจากค่าจ้างปกติที่พนักงานตำแหน่งระดับโฟร์แมนได้รับอยู่แล้ว โดยมีการจ่ายให้เป็นประจำทุกเดือน และมีจำนวนเงินแน่นอน และเป็นการจ่ายเพื่อตอบแทนการทำงานในวันและเวลาทำงานปกติ จึงเป็นค่าจ้าง……………..

ค่าอาหาร ไม่ถือเป็นค่าจ้าง
ตย.เช่น บริษัทได้กำหนดให้มีการจ่ายเงินค่าอาหารเพื่อเป็นสวัสดิการแก่พนักงานทุกคน โดยจ่ายพร้อมกับเงินเดือนในอัตราคนละ 250 บาทต่อเดือน และจ่ายให้ทุกวันที่ 25 ของเดือน การจ่ายเงินค่าอาหารดังกล่าวถือได้ว่า บริษัทมีวัตถุประสงค์ในการจ่ายเพื่อให้ความสงเคราะห์และช่วยเหลือพนักงานเพื่อการใช้จ่ายเป็นค่าอาหาร อันมีลักษณะเป็นการให้สวัสดิการแก่พนักงาน มิได้จ่ายเพื่อตอบแทนการทำงานในวันและเวลาทำงานปกติ จึงมิใช่ค่าจ้าง ตามนัยคำพิพากษาฏีกาที่ 1717/2530…………….

ค่ากะ ที่ถือเป็นค่าจ้าง
บริษัทกำหนดระยะเวลาการทำงานของพนักงานออกเป็น 3 กะดังนี้
กะเช้า ตั้งแต่เวลา 06.00 - 14.00 น.
กะบ่าย ตั้งแต่เวลา 14.00 - 22.00 น.
กะดึก ตั้งแต่เวลา 22.00 - 06.00 น.
และได้กำหนดลักษณะการจ่ายเงินค่ากะ ดังนี้
1.จ่ายเพื่อเป็นสวัสดิการช่วยเหลือพนักงานที่ต้องทำงานในระหว่างการทำงานกะ
2.จ่ายเพื่อเป็นการช่วยเหลือเกี่ยวกับค่าอาหารของพนักงานในระหว่างการทำงานกะ
3.จ่ายเงินค่ากะให้แก่พนักงานฝ่ายผลิตที่เข้าทำงานกะเท่านั้น
4.จ่ายให้เป็นรายเดือน เดือนละ 1 ครั้งพร้อมเงินเดือน
5.จ่ายตามตำแหน่ง คือ พนักงานโอเปอร์เรเตอร์เดือนละ 600 บาท พนักงานโฟร์ แมน เดือนละ 800 บาท
เงินค่ากะที่บริษัทจ่ายให้แก่พนักงานดังกล่าวถือได้ว่าเป็นค่าจ้าง เนื่องจากเป็นการจ่ายเพื่อตอบแทนการทำงานในวันและเวลาทำงานปกติและจ่ายให้เป็นการประจำและเป็นจำนวนที่แน่นอน การที่บริษัทได้กำหนดเงื่อนไขการจ่ายว่าเป็นการจ่ายเพื่อ สวัสดิการและช่วยเหลือค่าอาหารนั้น ไม่อาจยกขึ้นเป็นข้อสนับสนุนว่าเงินค่ากะมิใช่ค่าจ้างได้ เพราะเมื่อพิจารณาหลักเกณฑ์และเงื่อนไขการจ่ายเงินค่ากะแล้ว ปรากฏว่ามีองค์ประกอบการจ่ายเป็นไปตามนิยามของคำว่า “ค่าจ้าง” คือเป็นเงินที่ นายจ้างจ่ายให้แก่ลูกจ้างเพื่อตอบแทนการทำงานในวันและเวลาทำงานปกติ………….


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น