ค่าลดหย่อนจากการซื้ออสังหาริมทรัพย์ ในปี 2552

ประกาศอธิบดีกรมสรรพากรเกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 178) เรื่องกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไข เพื่อการยกเว้นภาษีเงินได้ เท่าที่ได้จ่ายเป็นค่าซื้ออสังหาฯ ที่เป็นอาคาร อาคารพร้อมที่ดิน หรือห้องชุดในอาคารชุดเพื่อเป็นที่อยู่อาศัย ประกาศเมื่อวันที่ 29 พฤษภาคม 2552 และให้มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2552 เป็นต้นไป มีสาระสำคัญดังนี้

การยกเว้นภาษี เงินได้สำหรับเงินได้เท่าที่จ่ายเป็นค่าซื้ออสังหาฯที่เป็นอาคาร อาคารพร้อมที่ดิน หรือห้องชุดในอาคารชุดเพื่อเป็นที่อยู่อาศัย ต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขดังนี้

1.อสังหาริมทรัพย์ข้างต้นต้องจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ให้แล้วเสร็จระหว่างวันที่ 1 มกราคม-31 ธันวาคม 2552 และต้องไม่เคยผ่านการ จดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ในอาคารหรือห้องชุดมาก่อน ไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วน

2.การ โอนกรรมสิทธิ์อสังหาฯที่ซื้อตามข้อ 1 ให้ได้รับยกเว้นภาษีเท่ากับจำนวนที่จ่ายจริง แต่รวมกันทั้งหมดแล้วไม่เกิน 300,000 บาท โดยต้องจ่ายระหว่างวันที่ 1 มกราคม-31 ธันวาคม 2552

3.กรณี ผู้มีเงินได้มีกรรมสิทธิ์ในอสังหาฯที่ซื้อหลายแห่ง ให้ได้รับยกเว้นภาษีได้ทุกแห่งรวมกันตามจำนวนที่จ่ายจริง แต่รวมกันทั้งหมดแล้วไม่เกิน 300,000 บาท

4.กรณีผู้มีเงินได้หลาย คนร่วมกันซื้อ ให้ได้รับยกเว้นภาษีได้ทุกคน โดยเฉลี่ยการได้รับยกเว้นภาษีตามส่วนของกรรมสิทธิ์ของแต่ละคน แต่รวมกันทั้งหมดแล้วต้องไม่เกินจำนวนที่จ่ายจริง และไม่เกิน 300,000 บาท

5.กรณีสามีหรือภริยามีเงินได้ฝ่ายเดียว ให้ยกเว้นภาษีให้แก่ผู้มีเงินได้เต็มจำนวนตามที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 300,000 บาท

6.กรณี สามีภริยาต่างฝ่ายต่างมีเงินได้ และความเป็นสามีภริยาได้มีอยู่ตลอดปีภาษีที่ได้รับยกเว้นภาษี

  • ถ้าภริยาไม่ใช้สิทธิแยกยื่นรายการและเสียภาษี ให้ได้รับยกเว้นภาษีรวมกันตามจำนวนที่จ่ายจริง แต่รวมกันทั้งหมดแล้วไม่เกิน 300,000 บาท
  • ถ้าภริยาใช้สิทธิแยกยื่นรายการและเสียภาษี ให้สามีภริยาต่างฝ่ายต่างได้รับยกเว้นภาษีได้กึ่งหนึ่งของจำนวนที่จ่ายจริง แต่รวมกันแล้วไม่เกิน 300,000 บาท

7.กรณีสามีภริยาต่างฝ่ายต่างมีเงินได้และความเป็นสามีภริยามิได้มีอยู่ตลอดปีภาษีที่ได้รับยกเว้น ซึ่งต้องยื่นรายการและเสียภาษีต่างหากจากกัน ให้ได้รับยกเว้นภาษีดังนี้

  • ผู้มีเงินได้ซึ่งมีสิทธิได้รับยกเว้นภาษีอยู่ก่อนแล้ว ต่อมาได้สมรสกัน ซึ่งความเป็นสามีภริยามิได้มีอยู่ตลอดปีภาษี ให้สามีภริยาต่างฝ่ายต่างยังคงได้รับยกเว้นภาษีตามจำนวนที่จ่ายจริง แต่รวมกันแล้วทั้งหมดไม่เกิน 300,000 บาท
  • ผู้มีเงินได้สมรสกัน ต่อมามีสิทธิได้รับยกเว้นภาษี ให้สามีภริยาต่างฝ่ายต่างได้รับยกเว้นภาษีได้กึ่งหนึ่งของจำนวนที่จ่ายจริง แต่รวมกันทั้งหมดแล้วไม่เกิน 300,000 บาท


ต้องมีใบรับรองจากผู้ขาย

โดยการได้รับยกเว้นภาษีตามประกาศ ผู้มีเงินได้ต้องมีหนังสือรับรองจากผู้ขายที่พิสูจน์ได้ว่า มีการจ่ายเป็นค่าซื้ออสังหาฯ โดยหนังสือรับรองดังกล่าวต้องมีข้อความอย่างน้อยตามที่แนบท้ายประกาศ ที่สำคัญคือ ผู้มีเงินได้ต้องมีชื่อเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในอสังหาฯที่ซื้อเป็นเวลา ติดต่อกันไม่น้อยกว่า 3 ปี นับแต่วันจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ แต่ไม่รวมถึงกรณีผู้มีเงินได้ถึงแก่ความตาย


กรณีผิดเงื่อนไขต้องจ่ายภาษีย้อนหลัง

หาก ผู้มีเงินได้ได้ใช้สิทธิยกเว้นภาษีแล้ว ต่อมาปฏิบัติไม่เป็นไปตามเกณฑ์เรื่องเงื่อนเวลาถือครองกรรมสิทธิ์ ผู้มีเงินได้ไม่มีสิทธิได้รับยกเว้นภาษี ต้องนำเงินได้ที่ได้ใช้สิทธิยกเว้นภาษีไปแล้ว ไปรวมเป็นเงินได้เพื่อเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา และกรณีผู้มีเงินได้ยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาเพิ่มเติมเพื่อ เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาเพิ่มเติมของปีภาษี และการได้รับยกเว้นภาษีดังกล่าวให้ผู้มีเงินได้นำเงินได้ที่ได้รับยกเว้น ภาษีไปคำนวณหักจากเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 แห่งประมวลรัษฎากร เมื่อได้หักตามมาตรา 42 ทวิ ถึงมาตรา 46 แห่งประมวลรัษฎากรแล้ว

แนวทางปฏิบัติกรมสรรพากรว่าด้วยการคืนภาษีมูลค่าเพิ่มเป็นเงินสด

5. ระบบงานคืนภาษีมูลค่าเพิ่ม

แนวทางปฏิบัติกรมสรรพากรว่าด้วยการคืนภาษีมูลค่าเพิ่มเป็นเงินสด

ข้อ 1 วัตถุประสงค์
           1. เพื่อให้สอดคล้องกับนโยบายการบริหารจัดเก็บภาษีอากร ซึ่งมีวัตถุประสงค์ให้ผู้ประกอบการยื่น เสียภาษีอากรในปัจจุบันให้ถูกต้องครบถ้วน จึงให้มีการปรับเปลี่ยนระบบการปฏิบัติงานใหม่ เพื่อกำกับดูแล ผู้เสียภาษีโดยใกล้ชิดเป็นรายผู้ประกอบการและเป็นปัจจุบัน
           2. เพื่อให้การคืนภาษีมูลค่าเพิ่มตามแบบแสดงรายการภาษีมูลค่าเพิ่ม (ภ.พ.30) ที่ขอคืนเป็นเงินสด เป็นไปด้วยความรวดเร็ว ถูกต้องและเป็นมาตรฐานเดียวกัน
ข้อ 2 การดำเนินการเกี่ยวกับงานกรรมวิธีและงานคืนภาษี
          2.1 การส่งแบบ ภ.พ.30 และภ.พ.72
ให้ฝ่ายกรรมวิธี สำนักงานภาษีสรรพากรพื้นที่ หรืองานกรรมวิธี ฝ่ายกรรมวิธี สำนักงานสรรพากรจังหวัด และสำนักงานสรรพากรจังหวัด (สาขา) ดำเนินการงานกรรมวิธีข้อมูลและตรวจสอบความครบถ้วนของเอกสารแล้วส่งไปให้ฝ่าย ภาษีหัก ณ ที่จ่ายและคืนภาษี สำนักงานภาษีสรรพากรพื้นที่ หรืองานคืนภาษี สำนักงานสรรพากรจังหวัด และสำนักงานสรรพากรจังหวัด (สาขา) ภายใน 7 วันทำการนับ แต่วันที่ฝ่ายกรรมวิธี หรืองานกรรมวิธีแล้วแต่กรณีได้รับแบบ ภ.พ.30
          2.2 การแบ่งกลุ่มผู้ขอคืน
เมื่อฝ่ายภาษีหัก ณ ที่จ่ายและคืนภาษี หรืองานคืนภาษี ฝ่ายกรรมวิธีแล้วแต่กรณี ได้รับแบบภ.พ.30 และภ.พ.72 จากฝ่ายกรรมวิธี สำนักงานภาษีสรรพากรพื้นที่ หรืองานกรรมวิธี สำนักงานสรรพากรจังหวัด และสำนักงานสรรพากรจังหวัด (สาขา) ให้ดำเนินการแยกแบบภ.พ.30 และภ.พ.72 ตาม กลุ่มผู้ขอคืนดังนี้
                   (1) ผู้ประกอบการส่งออกที่ดี
                   (2) ผู้ประกอบการในทะเบียนผู้ขอคืนที่เป็นผู้ส่งออก
                   (3) ผู้ประกอบการขอคืนผิดปกติ (ตามรายชื่อที่สำนักมาตรฐานกรรมวิธีภาษี ส่งให้)
                   (4) ผู้ประกอบการขอคืนปกติ
          2.3 การดำเนินการแจ้งผู้ประกอบการที่มีสิทธิขอคืนภาษีมูลค่าเพิ่มเป็นเงินสดทุก เดือนหรือเกือบทุกเดือน ให้ฝ่ายภาษีหัก ณ ที่จ่ายและคืนภาษี สำนักงานภาษีสรรพากรพื้นที่ หรืองานคืนภาษี ฝ่ายกรรมวิธี สำนักงานสรรพากรจังหวัด และสำนักงานสรรพากรจังหวัด(สาขา) ดำเนินการทำหนังสือแจ้ง ผู้ประกอบการที่มีสิทธิขอคืนภาษีมูลค่าเพิ่มเป็นเงินสดทุกเดือนหรือเกือบทุก เดือน(ตามแนวทางที่กรมสรรพากรจะได้กำหนดต่อไป) เพื่อให้ทราบว่า หากมีความประสงค์จะได้รับคืนภาษีมูลค่าเพิ่มทุกเดือนหรือเกือบทุกเดือนโดย เร็วให้ยื่นคำร้องตามแบบคำขอที่กรมสรรพากรกำหนด ต่อสรรพากรพื้นที่หรือสรรพากรจังหวัด หรือสรรพากรจังหวัด (สาขา) ณ สำนักงานภาษีสรรพากรพื้นที่ หรือสำนักงานสรรพากรจังหวัด หรือสำนักงานสรรพากรจังหวัด(สาขา)ที่สถานประกอบการตั้งอยู่ และให้หน่วยปฏิบัติดำเนินการตามที่กรมสรรพากรจะได้กำหนดต่อไปก่อนที่การจัด ทำรายชื่อผู้ประกอบการที่ขอคืนภาษีมูลค่าเพิ่มเป็นเงินสดในทะเบียน ผู้ขอคืนที่เป็นผู้ส่งออก จะแล้วเสร็จให้ใช้ทะเบียนผู้ส่งออก (นค.1) ปี 2542 เป็นฐานข้อมูลในการพิจารณาคืนภาษีมูลค่าเพิ่มเป็นเงินสดไปก่อน
         2.4 การดำเนินการคืนภาษีมูลค่าเพิ่ม
ให้ฝ่ายภาษีหัก ณ ที่จ่ายและคืนภาษี หรืองานคืนภาษี ฝ่ายกรรมวิธี แล้วแต่กรณี ดำเนินการ ดังต่อไปนี้
                 2.4.1 ให้สอบทานความถูกต้องของแบบ ภพ.72 ของผู้ประกอบการส่งออกที่ดีที่ขอคืนเงินสด และเสนอผู้บังคับบัญชา เพื่อสั่งคืนเงินภาษีมูลค่าเพิ่มทันที
                 2.4.2 ส่งสำเนาภาพถ่ายแบบ ภ.พ.30 และแบบภ.พ.72 ของผู้ประกอบการ รายดังต่อไปนี้ ให้ทีมกำกับดูแลดำเนินการ
                          (1) รายที่เจ้าหน้าที่ผู้กำกับดูแลได้แจ้งออกตรวจสภาพกิจการล่วงหน้า ทั้งนี้ให้ส่งภายใน 3 วันทำการนับแต่วันที่ได้รับแบบ ภพ.30 และ ภพ.72 จากฝ่ายกรรมวิธี หรืองานกรรมวิธี แล้วแต่กรณี ตามแบบส่งรายชื่อผู้ประกอบการที่ขอคืนเป็นเงินสดที่ถูกคัดเลือกเพื่อตรวจก่อนคืน (คส.1)
                          (2) รายที่ติดเกณฑ์การคัดเลือกรายเพื่อตรวจก่อนคืนภาษีมูลค่าเพิ่มตามข้อ 2.5 ทั้งนี้ให้ส่งภายใน 7 วันทำการนับแต่วันที่ได้รับแบบ ภ.พ.30 และ ภ.พ.72 จากฝ่ายกรรมวิธีหรืองานกรรมวิธี แล้วแต่กรณี ตามแบบส่งรายชื่อผู้ประกอบการที่ขอคืนเป็นเงินสดที่ถูกคัดเลือกเพื่อตรวจ ก่อนคืน (คส.1)
                          (3) รายที่ขอคืนผิดปกติตามทะเบียนรายชื่อผู้ประกอบการขอคืนผิดปกติที่มีอยู่ปัจจุบันทั้งนี้ให้ส่งภายใน 7 วันทำการนับแต่วันที่ได้รับแบบ ภ.พ.30 และ ภ.พ.72 จากฝ่ายกรรมวิธีหรืองานกรรมวิธี แล้วแต่กรณี ตามแบบส่งรายชื่อผู้ประกอบการที่ขอคืนเป็นเงินสดที่ถูกคัดเลือกเพื่อตรวจก่อนคืน(คส.1)
                2.4.3 ให้สอบทานความถูกต้องของแบบ ภพ. 72 ที่ขอคืนเงินสดของ ผู้ประกอบการในทะเบียนผู้ขอคืนที่เป็นผู้ส่งออก และผู้ประกอบการขอคืนปกติ ในเดือนภาษีที่ไม่อยู่ในแผนการออกตรวจสภาพกิจการล่วงหน้าของเจ้าหน้าที่ผู้ กำกับดูแลและไม่ติดเกณฑ์การคัดเลือกรายเพื่อตรวจก่อนคืนภาษีมูลค่าเพิ่มตาม ข้อ 2.5 ให้สอบทานความถูกต้องของแบบ ภพ.72 และเสนอผู้บังคับบัญชา เพื่อสั่งคืนเงินภาษีมูลค่าเพิ่มต่อไป
                2.4.4 ให้ชะลอการคืนภาษีมูลค่าเพิ่มและจัดทำหนังสือแจ้งชะลอการคืน ภาษีมูลค่าเพิ่ม (คส.2) สำหรับเดือนภาษีที่ส่งให้ทีมกำกับดูแลดำเนินการให้ผู้ประกอบการทราบทุกครั้ง
                2.4.5 ในกรณีผู้ประกอบการมีสถานประกอบการหลายแห่ง และแยกยื่นแบบ ภ.พ.30 ให้หน่วยปฏิบัติที่เป็นที่ตั้งของสถานประกอบการแต่ละแห่งพิจารณาคืนภาษี มูลค่าเพิ่มเอง โดยหน่วยปฏิบัติที่เป็นที่ตั้งของสถานประกอบการสาขาต้องขอประวัติการเสีย ภาษีเงินได้จากหน่วยปฏิบัติที่เป็น ที่ตั้งของสถานประกอบการสำนักงานใหญ่มาประกอบการพิจารณาคืนภาษีมูลค่าเพิ่ม ด้วย
                2.4.6 ให้จัดทำทะเบียนคุมการส่งสำเนาภาพถ่ายแบบ ภ.พ.30 และแบบ ภ.พ.72 (คส.3)ให้ทีมกำกับดูแลดำเนินการ
                2.4.7 ให้จัดทำแฟ้มประวัติผู้ขอคืนภาษีเฉพาะผู้ประกอบการส่งออกที่ดี และผู้ประกอบการในทะเบียนผู้ขอคืนที่เป็นผู้ส่งออก เป็นรายผู้ประกอบการ โดยมีชื่อ ที่อยู่ เลขประจำตัวผู้เสียภาษี ประเภทกิจการ ประวัติการตรวจ และประวัติการคืนภาษี
        2.5 หลักเกณฑ์การคัดเลือกรายเพื่อตรวจก่อนคืนภาษีมูลค่าเพิ่ม
                    เมื่อฝ่ายภาษีหัก ณ ที่จ่ายและคืนภาษีหรืองานคืนภาษี ฝ่ายกรรมวิธีแล้วแต่กรณีได้ แยกแบบ ภ.พ.30 และ ภ.พ.72 ตามกลุ่มผู้ขอคืนแล้ว ให้วิเคราะห์แบบ ภ.พ.30 เบื้องต้นของผู้ประกอบการในทะเบียนผู้ขอคืนที่เป็นผู้ส่งออกของเดือนภาษีที่ ไม่อยู่ในแผนการตรวจล่วงหน้าของเจ้าหน้าที่ผู้กำกับดูแล และของ ผู้ประกอบการขอคืนปกติ เพื่อหาความผิดปกติของการเสียภาษี ตามหลักเกณฑ์การคัดเลือกรายเพื่อตรวจก่อนคืนภาษีมูลค่าเพิ่ม ดังนี้
                   (1) มีค่า P/T ปกติหรือไม่
                   (2) มีอัตราส่วนของยอดซื้อต่อยอดขายรวม (P/T) สูงกว่าค่าเฉลี่ย P/T ของประเภทธุรกิจเดียวกัน (ISIC RD) เกินกว่าร้อยละ 20 ขึ้นไป
                   (3) มียอดขายรวมและยอดซื้อสูงผิดปกติ
                   (4) จำนวนเงินภาษีที่ขอคืนสูงผิดปกติข้อ

3 การดำเนินการตรวจ
                ให้ทีมกำกับดูแล ดำเนินการตรวจตามกลุ่มผู้ขอคืน ดังนี้
                   3.1 ผู้ประกอบการส่งออกที่ดี
                             ให้กำกับดูแลการเสียภาษีให้เป็นปัจจุบัน หากพบความผิดปกติของการยื่นชำระภาษีในเดือนภาษีใด ให้ออกตรวจสภาพกิจการภายหลังคืนภาษีมูลค่าเพิ่ม เพื่อดูข้อเท็จจริงของความผิดปกติว่าเกิดจากสาเหตุใด
                   3.2 ผู้ประกอบการในทะเบียนผู้ขอคืนที่เป็นผู้ส่งออก
                           (1) ให้วางแผนการออกตรวจสภาพกิจการของผู้ประกอบการในทะเบียน ผู้ขอคืนที่เป็นผู้ส่งออก ล่วงหน้าเป็นรายไตรมาส โดยให้เรียงลำดับตามความสำคัญและความเสี่ยงในการ ขอคืนภาษีตามข้อ 7 ของแนวทางปฏิบัติกรมสรรพากรว่าด้วยการกำกับดูแลผู้เสียภาษีโดยใกล้ชิดเป็น ราย ผู้ประกอบการและให้เป็นปัจจุบัน ทั้งนี้ให้ระบุรายชื่อผู้ประกอบการและเดือนภาษีที่จะทำการออกตรวจด้วยและส่ง แผนการออกตรวจสภาพกิจการดังกล่าว ให้ฝ่ายภาษีหัก ณ ที่จ่ายและคืนภาษี หรืองานคืนภาษี ฝ่ายกรรมวิธี แล้วแต่กรณีทราบ เพื่อจัดส่งสำเนาภาพถ่ายแบบภพ.30 และแบบ ภพ.72 และดำเนินการชะลอการคืนภาษีมูลค่าเพิ่มผู้ประกอบการรายดังกล่าวในเดือนภาษี ที่ระบุ
                           (2) ในกรณีที่ผู้ประกอบการยื่นแบบ ภ.พ.30 ขอคืนเงินสดและติดเกณฑ์ การคัดเลือกรายเพื่อตรวจก่อนคืนภาษีมูลค่าเพิ่ม ตามข้อ 2.5 ให้ดำเนินการตรวจเฉพาะประเด็นที่เป็นมูลเหตุการขอคืนภาษี ดังนี้
                                (2.1) สุ่มตรวจด้านรายรับจากการส่งออก
                                         ก. มีการส่งออกจริง
                                         ข. มีการนำเข้าเงินตราต่างประเทศจากการส่งออก
                                         ค. นำรายรับจากการส่งออกมาบันทึกบัญชีครบถ้วน และกรณีเป็นผู้ผลิต ให้ทดสอบกระบวนการผลิต สูตรการผลิต และวัตถุดิบหลักที่ใช้สอดคล้องกับผลผลิต ที่ได้ ทั้งนี้เพื่อตรวจสอบให้มีการนำรายรับจากการขายสินค้าภายในประเทศมาบันทึก บัญชีให้ครบถ้วนด้วย
                                  (2.2) สุ่มตรวจด้านซื้อและรายจ่าย
                                          ก. ใบกำกับภาษีซื้อที่มีนัยสำคัญ เช่น
                                                - จำนวนเงินสูง
                                                - ใบกำกับภาษีซื้อซ้ำรายมาก
                                                - ใบกำกับภาษีปลอม
                                                - ใบกำกับภาษีซื้อและ/หรือค่าใช้จ่ายเป็นจำนวนเงินสูงจากบริษัทในเครือเดียวกัน
                                          ข. ตรวจใบกำกับภาษีที่เหลือตามความเหมาะสม
                     3.3 ผู้ประกอบการขอคืนผิดปกติ
                               หมายถึง ผู้ประกอบการตามรายชื่อที่สำนักมาตรฐานกรรมวิธีจัดส่งให้
                                      (1) ในกรณีที่มีข้อมูลจากการออกตรวจสภาพกิจการมาก่อน แล้วพบว่า มิใช่เป็นรายผิดปกติ เช่น มีการขยายกิจการ หรือมีการลงทุนในทรัพย์สินถาวร เป็นต้น หรือกรณีที่พบว่า ฐานข้อมูลผิดพลาด และเจ้าหน้าที่ผู้กำกับดูแลเห็นว่าผู้ประกอบการสมควรได้รับคืนภาษี ให้แจ้งฝ่ายภาษีหัก ณ ที่จ่ายและคืนภาษี หรืองานคืนภาษี ฝ่ายกรรมวิธี แล้วแต่กรณีทราบเพื่อดำเนินการคืนภาษีและปรับปรุงให้ถูกต้อง
                                      (2) ให้ออกตรวจสภาพกิจการรายที่ยื่นแบบ ภ.พ.30 ขอคืนเป็นเงินสดและรายที่จะได้เม็ดเงินมากเป็นลำดับแรก ที่เหลือให้ออกตรวจสภาพกิจการตามอัตรากำลังที่มีอยู่จริงเป็นลำดับต่อมาตาม แนวทางปฏิบัติกรมสรรพากรว่าด้วยการกำกับดูแลผู้เสียภาษีโดยใกล้ชิดเป็นราย ผู้ประกอบการและให้เป็นปัจจุบัน และตรวจให้ได้ข้อเท็จจริงของการขอคืนและความเหมาะสมที่ขอคืน
                                      (3) กำกับดูแลการเสียภาษีทุกรายโดยใกล้ชิดและให้เป็นปัจจุบัน
                    3.4 ผู้ประกอบการขอคืนปกติ
                               หมายถึง ผู้ประกอบการที่ขอคืนเงินสดที่ไม่ใช่ผู้ประกอบการส่งออกที่ดี ผู้ประกอบการในทะเบียนผู้ขอคืนที่เป็นผู้ส่งออก และผู้ประกอบการขอคืนผิดปกติ ซึ่งติดเกณฑ์การคัดเลือกรายเพื่อตรวจก่อนคืนภาษีมูลค่าเพิ่มตามข้อ 2.5
                              ให้ออกตรวจสภาพกิจการตามแนวทางปฏิบัติกรม สรรพากรว่าด้วย การกำกับดูแล ผู้เสียภาษีโดยใกล้ชิดเป็นรายผู้ประกอบการและให้เป็นปัจจุบัน และตรวจให้ได้ข้อเท็จจริงว่า เดือนภาษีที่ขอคืนมีค่า P/T สูงผิดปกติเนื่องจากสาเหตุใด หากเป็นกรณีที่ขอคืนเนื่องจากมีการลงทุนในทรัพย์สินถาวร หรือ มีการซื้อสินค้าไว้เพื่อขายเป็นจำนวนมากให้ตรวจเฉพาะประเด็นที่เป็นมูลเหตุ การขอคืนภาษีมูลค่าเพิ่มนั้น ๆ โดยให้ไปตรวจดู ณ สถานประกอบการของผู้ขอคืนว่า มีการซื้อทรัพย์สินถาวรหรือมีการซื้อสินค้าไว้เพื่อขายจริงหรือไม่ กรณีตรวจแล้วพบว่า
                                  - ถูกต้อง ให้แจ้งฝ่ายภาษีหัก ณ ที่จ่ายและคืนภาษี หรืองานคืนภาษี ฝ่ายกรรมวิธี แล้วแต่กรณีทราบ เพื่อคืนภาษีมูลค่าเพิ่ม
                                  - ไม่ถูกต้อง โดยมีนัยสำคัญ หรืออาจมีผลต่อการคืนภาษีในเดือนภาษีถัดไป ให้ออกไปตรวจสภาพกิจการใหม่อีกครั้ง โดยสุ่มตรวจด้านรายรับ ด้านซื้อ และรายจ่าย ดังนี้
                                       ก. ตรวจด้านรายรับ
                                             - การบันทึกบัญชีรายรับ
                                             - การขายสินค้าหรือให้บริการในราคาที่ต่ำกว่าราคาตลาด โดยมีนัยสำคัญให้แก่บริษัทในเครือเดียวกันหรือบุคคลที่เกี่ยวข้อง
                                       ข. ตรวจด้านซื้อและรายจ่าย
                                             - ใบกำกับภาษีซื้อที่มีนัยสำคัญ เช่น มีจำนวนเงินสูง ใบกำกับภาษีซ้ำรายมาก เป็นต้น
                                             - ใบกำกับภาษีปลอม
                                             - ใบกำกับภาษีซื้อ และ/หรือค่าใช้จ่ายเป็นจำนวนเงินสูงจากบริษัทในเครือเดียวกัน
                                             - ใบกำกับภาษีที่เหลือตามความเหมาะสมข้อ
4 การรายงานผลการตรวจ
                 ให้ทีมกำกับดูแลดำเนินการตรวจผู้ประกอบการในทะเบียนผู้ขอคืนที่เป็นผู้ส่งออก ผู้ประกอบการขอคืนผิดปกติ และผู้ประกอบการขอคืนปกติให้แล้วเสร็จ และสรุปผลการตรวจพร้อมแสดงความเห็นต่อ ผู้บังคับบัญชาโดยเร็ว และรายงานผลการตรวจให้ฝ่ายภาษีหัก ณ ที่จ่ายและคืนภาษี หรืองานคืนภาษี ฝ่ายกรรมวิธี แล้วแต่กรณีทราบเกี่ยวกับ
                      (1) มูลเหตุของการขอคืนภาษีมูลค่าเพิ่ม
                      (2) ผลของการตรวจ
                              - กรณีถูกต้อง แจ้งคืนภาษี
                              - กรณีไม่ถูกต้อง แจ้งผู้เสียภาษีชำระภาษีเพิ่มเติมให้ครบถ้วน หากมีความผิดเกี่ยวเนื่องเดือนภาษีอื่น ให้แจ้งว่าควรชะลอการคืนภาษีมูลค่าเพิ่มถึงเดือนภาษีใด
                      (3) กรณีที่ขอคืนภาษีมูลค่าเพิ่ม เนื่องจากมีการขยายกิจการ หรือมีการลงทุนในทรัพย์สินถาวร หรือมีการซื้อสินค้าจริง ให้แสดงความเห็นโดยประมาณการด้วยว่าผู้ประกอบการอาจจะมีการขอคืนภาษีมูลค่า เพิ่มต่อไปเป็นระยะเวลานานเพียงใด
ข้อ 5 การรายงาน
               5.1 ให้สำนักงานภาษีสรรพากรพื้นที่ สำนักงานสรรพากรจังหวัด และสำนักงานสรรพากรจังหวัด (สาขา) จัดทำรายงานการค้างคืนภาษีมูลค่าเพิ่มเป็นเงินสด(คส.4) และรายละเอียดงานค้างคืนภาษีมูลค่าเพิ่มเป็นเงินสด(คส.5) ส่งถึงสำนักงานสรรพากรภาคเป็นรายเดือนภายในวันที่ 10 ของทุกเดือนโดยทาง E-mail
               5.2 ให้สำนักงานสรรพากรภาค จัดทำรายงานการค้างคืนภาษีมูลค่าเพิ่มเป็นเงินสด(คส.4/1) และรายละเอียดงานค้างคืนภาษีมูลค่าเพิ่มเป็นเงินสด(คส.5/1) ส่งถึงสำนักมาตรฐานกรรมวิธีภาษีเป็นรายเดือนภายในวันที่ 15 ของทุกเดือน โดยทาง E-mail
                5.3 ให้สำนักมาตรฐานกรรมวิธีภาษี จัดทำรายงานการค้างคืนภาษีมูลค่าเพิ่มเป็นเงินสด (คส.4/2) และรายละเอียดงานค้างคืนภาษีมูลค่าเพิ่มเป็นเงินสด(คส.5/2)ของหน่วยงานทั่วประเทศ เสนอ กรมสรรพากรภายในวันที่ 20 ของทุกเดือน
ข้อ 6 หน้าที่ของสำนักงานสรรพากรภาค
                  ให้แต่งตั้งเจ้าหน้าที่ในส่วนวางแผนและประเมินผล สำนักงานสรรพากรภาค ติดตามกำกับดูแลการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ในหน่วยปฏิบัติที่รับผิดชอบเกี่ยวกับ
                         6.1 การดำเนินการงานกรรมวิธีข้อมูลและตรวจสอบความครบถ้วนของแบบภ.พ.30 พร้อมแบบ ภ.พ.72 และรายงานชุดข้อมูล ส่งให้ฝ่ายภาษีหัก ณ ที่จ่ายและคืนภาษี หรือ งานคืนภาษี ฝ่ายกรรมวิธี แล้วแต่กรณีภายในกำหนดเวลา
                         6.2 การดำเนินการของฝ่ายภาษีหัก ณ. ที่จ่ายและคืนภาษีหรืองานคืนภาษี ฝ่ายกรรมวิธีแล้วแต่กรณี ได้ปฏิบัติตามขั้นตอน วิธีการ และแล้วเสร็จภายในเวลาที่กำหนด เช่น มีการดำเนินการกับแบบของผู้ประกอบการแยกตามกลุ่มที่กำหนด มีการจัดทำแฟ้มประวัติผู้ขอคืนภาษีที่เป็นผู้ส่งออกที่ดีและผู้ประกอบการในทะเบียนผู้ขอคืนที่เป็นผู้ส่งออก เป็นต้น
                         6.3 การดำเนินการของทีมกำกับดูแลได้ปฏิบัติตามขั้นตอน วิธีการและแล้วเสร็จภายในเวลาที่กำหนด เช่น มีการวางแผนการออกตรวจสภาพกิจการของผู้ประกอบการในทะเบียนผู้ขอคืนที่เป็นผู้ส่งออก
ล่วงหน้าเป็นรายไตรมาสโดยเรียงลำดับตามความสำคัญและความเสี่ยงในการขอคืน เป็นต้น
                         6.4 การจัดทำรายงานและรายละเอียดงานค้างคืนภาษีมูลค่าเพิ่มเป็นเงินสด ให้เป็นไปตามแบบ และภายในเวลาที่กำหนด รวมทั้งให้ใช้ข้อมูลจากแบบรายงานดังกล่าวเพื่อประโยชน์ในการเร่งรัดติดตามงาน ค้างคืนให้แล้วเสร็จโดยเร็วด้วย
                         6.5 กำกับดูแลการปฏิบัติงานอื่นของเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องให้เป็นไปตามความเหมาะสม นโยบายและเป้าหมายของกรมสรรพากรพร้อมเสนอแนะแนวทางให้การแก้ไขปัญหาและอุปสรรคของ เจ้าหน้าที่

เอกสารแนบ Click ที่นี่

ที่มา..กรมสรรพากร

รายจ่ายส่วนตัว (รายจ่ายต้องห้ามในการคำนวณภาษี)

คำพิพากษาฎีกาที่7124/2545

บริษัท นิตาอินเตอร์เทรด จำกัด โจทก์

กรมสรรพากร  จำเลย

เรื่อง ภาษีเงินได้นิติบุคคล ภาษีมูลค่าเพิ่ม

กฎหมายที่เกี่ยวข้อง ประมวลรัษฎากร มาตรา 65 ตรี (3) (4) (18) มาตรา 88/6

                   เจ้าพนักงานประเมินฯ ได้ออกหมายเรียกตรวจสอบภาษีเงินได้นิติบุคคลของบริษัทฯ โจทก์ สำหรับรอบระยะเวลาบัญชีปี 2536 และได้มีหนังสือแจ้งการประเมินภาษีมูลค่าเพิ่มสำหรับเดือนธันวาคม 2536 ตามหนังสือเลขที่ 1001010/5/100399 ลงวันที่ 15 มกราคม 2542 หนังสือแจ้งการประเมินภาษีเงินได้นิติบุคคลสำหรับรอบระยะเวลาบัญชีปี 2536 ตามหนังสือเลขที่ 1001010/2/100029 ลงวันที่ 29 มกราคม 2542 ไปยังบริษัทฯ โจทก์ บริษัทฯ โจทก์ ได้รับหนังสือ แจ้งการประเมินทั้งสองฉบับเมื่อวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2542 บริษัทฯ โจทก์ ได้อุทธรณ์การประเมิน ต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ ต่อมาคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ได้มีคำวินิจฉัยให้เรียกเก็บ ภาษีเงินได้นิติบุคคลปี 2536 รวมเบี้ยปรับเงินเพิ่มเป็นเงิน 69,562.07 บาท โดยเรียกเก็บเบี้ยปรับเพียงร้อยละ 50 ของเบี้ยปรับตามกฎหมาย และเรียกเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มเดือนธันวาคม 2536 รวมเบี้ยปรับเงินเพิ่มเป็นเงิน 20,854.67 บาท โดยเรียกเก็บเบี้ยปรับเพียงร้อยละ 50 ของเบี้ยปรับตามกฎหมาย บริษัทฯ โจทก์ไม่เห็นด้วยกับคำวินิจฉัยอุทธรณ์ของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ จึงได้ยื่นฟ้องคดีต่อศาลภาษีอากรกลางเพื่อขอให้ศาลมีคำพิพากษาให้เพิกถอนการ ประเมินและคำวินิจฉัยอุทธรณ์ของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์

คำพิพากษา

ศาลภาษีอากรกลาง พิจารณาแล้วพิพากษายกฟ้องโจทก์ ให้โจทก์ใช้ค่าฤชาธรรมเนียมแทนจำเลย โดยกำหนดค่าทนายความ 3,000.- บาท

ศาลฎีกา

ประเด็นแรก การประเมินภาษีมูลค่าเพิ่มสำหรับเดือนธันวาคม 2536 ของเจ้าพนักงานประเมินตามฟ้องเกินกำหนดเวลาสองปีนับแต่วันสุดท้ายแห่งกำหนด เวลายื่นแบบแสดงรายการภาษี .และเกินห้าปีและเกินห้าปีนับแต่วันสุดท้ายแห่งกำหนดเวลายื่นแบบแสดงรายการ ภาษี กรณีประเมินโดยอนุมัติ อธิบดีเห็นว่า ข้อเท็จจริงรับฟังได้ตามที่คู่ความแถลงรับกันว่า ภายในระยะเวลา 2 ปี นับแต่วันสุดท้ายแห่งกำหนดเวลายื่นแบบภาษีมูลค่าเพิ่ม สำหรับเดือนธันวาคม 2536 อธิบดีกรมสรรพากรไม่เคยอนุมัติให้เจ้าพนักงานประเมินประเมินภาษีมูลค่าเพิ่ม สำหรับเดือนธันวาคม 2536 นอกจากนี้ได้ความว่า กำหนดเวลา 5 ปี นับแต่วันสุดท้ายแห่งกำหนดเวลายื่นแบบ คือวันที่ 15 มกราคม 2542 ปรากฏว่า เจ้าพนักงานของจำเลยได้ขออนุมัติใช้อำนาจประเมินต่ออธิบดีกรมสรรพากรเมื่อ วันที่ 18 กันยายน 2541 อธิบดีกรมสรรพากรได้มีคำสั่งอนุมัติเมื่อวันที่ 22 กันยายน 2541 และส่งเรื่องกลับไปยังเจ้าพนักงานประเมินเมื่อวันที่ 14 มกราคม 2542 เจ้าพนักงานจึงออกหนังสือแจ้งการประเมินภาษีมูลค่าเพิ่มลงวันที่ 15 มกราคม 2542 แก่โจทก์ โดยเจ้าพนักงานประเมินส่งหนังสือแจ้งการประเมิน  ดังกล่าวเมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2542 และโจทก์ได้รับหนังสือแจ้งการประเมินภาษีมูลค่าเพิ่มเมื่อวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2542 ซึ่งพ้นกำหนดเวลา 5 ปี ตามกฎหมายแล้ว ดังนั้นการประเมินภาษีมูลค่าเพิ่มตามฟ้องจึงไม่ชอบ

ประเด็นที่สอง เกี่ยวกับค่าใช้จ่ายว่าเป็นรายจ่ายต้องห้ามในการคำนวณภาษีเงินได้ นิติบุคคลหรือไม่ ศาลฎีกาเห็นว่า

                     ค่าใช้จ่ายประเภทค่าใช้จ่ายเดินทางทั้งในประเทศและต่างประเทศ พยานหลักฐานโจทก์รับฟังไม่ได้ว่า         ค่าใช้จ่ายดังกล่าวเป็นรายจ่ายเพื่อกิจการของโจทก์โดยเฉพาะ จึงต้องห้ามมิให้ถือเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิ

                     ค่าใช้จ่ายในการซื้อของส่วนใหญ่ระบุเพียงว่า "เบ็ดเตล็ด" ไม่อาจพิจารณาได้ว่าเป็นรายจ่ายเพื่อกิจการของโจทก์โดยเฉพาะหรือไม่ และใบเสร็จรับเงินออกโดยห้างสรรพสินค้าระบุว่า ซื้อจากแผนกซุปเปอร์มาร์เก็ต บางฉบับระบุว่าเป็นการซื้ออาหาร ผัก ผลไม้ หลอดไฟ ฟิล์ม ไม้ถูพื้น อัลบั้ม กรอบรูป ถ่านไฟฉาย ซึ่งได้ความว่าโจทก์ไม่มีสถานประกอบการที่มีพนักงานนั่งประจำทำงานพยานหลัก ฐานโจทก์เท่าที่นำสืบมาจึงรับฟังไม่ได้ว่ารายจ่ายเบ็ดเตล็ดดังกล่าวข้างต้น เป็น      รายจ่ายเพื่อกิจการโดยเฉพาะของโจทก์

                     ค่าช่วยงานศพ และค่าช่วยงานแต่งงานนั้นเป็นรายจ่ายที่มีลักษณะเป็นการให้โดยเสน่หาเป็นการ ส่วนตัวของ  ผู้มีอำนาจจ่ายเงินของโจทก์ยิ่งกว่าประโยชน์ทางการค้าของโจทก์โดยตรง จึงมิใช่รายจ่ายเพื่อกิจการโจทก์โดยเฉพาะ

                     ค่าวีดีโอบูเช็คเทียน เป็นรายจ่ายที่มิใช่รายจ่ายเพื่อกิจการโจทก์โดยเฉพาะ เพราะโจทก์ก็ไม่มีสถาน      ประกอบการ จึงไม่มีสถานที่ไว้เพื่อให้ความบันเทิงแก่ลูกค้า

                     ค่าหนังสือเตรียมสอบปริญญาโท ไม่ปรากฏว่ากิจการของโจทก์เกี่ยวข้องกับการศึกษาระดับปริญญาโท      อย่างไรจึงรับฟังไม่ได้ว่าเป็นรายจ่ายเพื่อกิจการโจทก์โดยเฉพาะ ค่ารับรอง ใบเสร็จรับเงินของร้านอาหาร ระบุในช่องผู้ซื้อว่า "สด" และใบเสร็จรับเงินบางฉบับไม่ระบุชื่อผู้รับบริการ จึงไม่มีหลักฐานแสดงว่าโจทก์จ่ายเงินดังกล่าว

                     ค่ารับรองค่ารับรองจำนวนที่ 2 ใบเสร็จรับเงินระบุว่าจ่ายค่าอาหาร เครื่องดื่ม ห้องพัก ค่าซื้อของเกี่ยวกับ      เด็กอ่อน ดอกไม้ ค่าจ้างอัดรูป ค่าขนมเค้ก ขนมไหว้พระจันทร์ ใบเสร็จรับเงินบางฉบับไม่ปรากฏชื่อผู้ซื้อ บางฉบับระบุผู้ซื้อคือนายมานะชัย แม้จะได้ความว่าเป็นกรรมการผู้มีอำนาจของโจทก์ แต่โจทก์ก็เป็นนิติบุคคลแยกต่างหาก จึงไม่อาจถือเป็น   ค่ารับรองของโจทก์ได้ ค่ารับรองจำนวนที่ 3 ใบเสร็จรับเงิน ระบุว่า จ่ายค่าวีดีโอเรื่องมหัศจรรย์แผ่นดินจีน ค่าปลอกหมอน ผ้าปูที่นอน หนังสือโลกของคนตัวเล็ก เป็นรายจ่ายลักษณะเป็นส่วนตัวไม่เกี่ยวกับกิจการโจทก์ สำหรับค่ารับรองจำนวน      สุดท้ายใบเสร็จรับเงินระบุว่าจ่ายเป็นค่าอาหาร เครื่องดื่ม ขนม และขนมเค้ก ไม่ระบุชื่อผู้จ่ายเงิน จึงไม่ถือเป็นรายจ่ายของโจทก์ ค่ารับรองทั้ง 4 จำนวนจึงไม่เป็นรายจ่ายเกี่ยวกับกิจการหรือเพื่อกิจการโจทก์

                     ค่าซ่อมรถยนต์ สมุดบัญชีระบุวันโอนรถยนต์เป็นชื่อโจทก์ และวันที่โจทก์จ่ายเงินค่าซื้อรถยนต์คันดังกล่าว      วันเดียวกัน คือวันที่ 3 กันยายน 2536 และมีการลงบัญชีรถยนต์ เป็นทรัพย์สินของโจทก์ในวันเดียวกัน จึงต้องฟังว่าโจทก์ครอบครองรถยนต์คันดังกล่าวตั้งแต่วันที่ 3 กันยายน 2536 ข้อที่โจทก์อ้างว่าได้รับรถยนต์ดังกล่าวมาครอบครองใช้งานก่อนวันรับโอนขัด กับเอกสารทางทะเบียนของโจทก์เอง และโจทก์มีเพียงพยานบุคคลมาเบิกความลอย ๆ ไม่มีเอกสารอื่น      มายืนยันอีก พยานโจทก์จึงไม่น่ารับฟัง ดังนั้นค่าซ่อมรถยนต์ที่เกิดก่อนวันที่โจทก์ซื้อรถยนต์ คันดังกล่าวมา จึงรับฟังไม่ได้ว่าเป็นรายจ่ายของโจทก์

                     ค่าใช้จ่ายเดินทางจำนวน 73,616.64 บาท ศาลภาษีอากรกลางวินิจฉัยว่าค่าใช้จ่ายดังกล่าวเป็นรายจ่ายที่โจทก์ได้จ่ายไป ในธุรกิจของโจทก์ ถือเป็นรายจ่ายที่มีลักษณะเป็น การส่วนตัว ต้องห้ามมิให้ถือเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิตามมาตรา 65 ตรี (3) แห่งประมวลรัษฎากร จึงเป็นการวินิจฉัยนอกเหนือจากคำให้การจำเลยและนอกประเด็น   ไม่ชอบ เมื่อได้ความตามคำเบิกความของพยานโจทก์ว่า ค่าใช้จ่ายเดินทางดังกล่าวโจทก์จ่ายให้แก่ บริษัท ลีเบนน์แทรเวลเซอร์วิส จำกัด ตามสำเนาเช็คและมีการเรียกเก็บเงินธนาคารแล้ว โดยมีใบเสร็จรับเงินกับใบสั่งจ่ายมาแสดง จึงเป็นรายจ่ายซึ่งโจทก์สามารถพิสูจน์ผู้รับได้ ไม่ต้องห้ามตามมาตรา 65 ตรี (18) อุทธรณ์โจทก์ฟังขึ้น

ประเด็นสุดท้าย เกี่ยวกับเบี้ยปรับภาษีเงินได้นิติบุคคล ศาลฎีกาเห็นว่าคณะกรรมการพิจาณาอุทธรณ์ได้พิจารณาลดเบี้ยปรับภาษีเงินได้ นิติบุคคลให้โจทก์แล้วโดยให้เรียกเก็บเบี้ยปรับโจทก์เพียงร้อยละห้าสิบของ เบี้ยปรับตามกฎหมาย เพราะเห็นว่าโจทก์ให้ความร่วมมือในการตรวจสอบด้วย ซึ่งนับว่าเป็นผลดีแก่โจทก์และเหมาะสมดีแล้ว ไม่มีเหตุที่ศาลฎีกาจะพิจารณางดหรือลดเบี้ยปรับให้โจทก์อีก พิพากษาแก้เป็นว่า ให้เพิกถอนการประเมินภาษีมูลค่าเพิ่มตามหนังสือแจ้งการประเมินภาษีมูลค่า เพิ่มที่ 1001010/5/100399 ลงวันที่ 15 มกราคม 2542 และคำวินิจฉัยอุทธรณ์ ของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ตามฟ้องกับให้เพิกถอนการประเมินภาษีเงินได้ นิติบุคคลตามหนังสือแจ้งการประเมินภาษีเงินได้นิติบุคคลที่ 1001010/2/100029 ลงวันที่ 29 มกราคม 2542 และคำวินิจฉัยอุทธรณ์ของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ตามฟ้องเฉพาะส่วนค่าใช้ จ่ายเดินทางจำนวน 73,616.64 บาท ให้ถือเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิได้       นอกจากที่แก้คงให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลภาษีอากรกลาง ค่าฤชาธรรมเนียมชั้นอุทธรณ์ให้เป็นพับ

ค่าขนส่ง การหักภาษี ณ จ่ายและภาษีมูลค่าเพิ่ม รวมคำถามคำตอบ

คำถาม: หาก กิจการประกอบกิจการขายสินค้า ไม่ได้ประกอบกิจการขนส่งเป็นปกติธุระ แต่มีการเรียกเก็บค่าขนส่งเพิ่มจากค่าสินค้า ต้องหักภาษี ณ ที่จ่ายค่าขนส่งที่เรียกเก็บหรือไม่ (401164)

คำตอบ: ค่าขนส่งที่เรียกเก็บเพิ่มจากค่าขายสินค้า ไม่ว่าจะเรียกเก็บค่าขนส่งรวมกับราคาสินค้า หรือ แยกออกจากราคาสินค้า ค่าสินค้าที่รวมกับค่าขนส่ง ถือเป็นเงินได้จากการขายสินค้า ไม่อยู่ในบังคับที่ต้องหักภาษี ณ ที่จ่าย แต่อย่างใด

คำถาม: การจ่ายค่าขนส่ง ต้องหักภาษี ณ ที่จ่ายอย่างไร (401281)

คำตอบ: การจ่ายค่าขนส่ง แต่ไม่รวมถึงการจ่ายค่าโดยสารสำหรับการขนส่งสาธารณะ 
             1. ผู้จ่ายเงินเป็นบุคคลธรรมดา ไม่ต้องหักภาษี ณ ที่จ่าย เพราะไม่อยู่ในบังคับต้องหักภาษี ณ ที่จ่าย
             2. ผู้จ่ายเงินเป็นนิติบุคคล และจ่ายให้แก่ผู้รับซึ่งเป็นบุคคลธรรมดา หรือนิติบุคคลในประเทศ แต่ไม่รวมถึงมูลนิธิ หรือสมาคม ให้หักภาษี ณ ที่จ่ายในอัตราร้อยละ 1 ตามข้อ 12/4 ของคำสั่งกรมสรรพากรที่ ท.ป.4/2528ฯ

คำถาม: บริษัทว่าจ้างให้ห้างหุ้นส่วนจำกัด ขนส่งคนจากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่งจะต้องหักภาษี ณ ที่จ่ายในอัตราใด (401284)

คำตอบ: หักภาษี ณ ที่จ่ายในอัตราร้อยละ 1 ตามข้อ 12/4 ของคำสั่งกรมสรรพากรที่ ท.ป.4/2528ฯ (จะถือเป็นค่าขนส่ง คือต้องไม่มีการส่งมอบการครอบครองรถ และมีจุดรับส่งแน่นอน)

คำถาม: กรณี บริษัทขนส่งจดทะเบียนเป็นธุรกิจประเภทขนส่ง รับจ้างขนส่งให้บริษัทผู้ว่าจ้าง จะหักภาษี ณ ที่จ่ายอย่างไร (มีทั้งค่าเที่ยวและค่าแรงในใบแจ้งหนี้ใบเดียวกัน) และหากเป็นบุคคลธรรมดามารับจ้างขนส่งสินค้าให้บริษัทในกรณีเดียวกันจะหัก ภาษี ณ ที่จ่ายอย่างไร (401617)

คำตอบ: ถือเป็นการจ่ายค่าขนส่งทั้งจำนวน ไม่ว่าจะจ่ายให้กับบุคคลธรรมดา หรือนิติบุคคล หักภาษี ณ ที่จ่ายในอัตราร้อยละ 1 ตามข้อ 12/4 ของคำสั่งกรมสรรพากรที่ ท.ป.4/2528ฯ

คำถาม: กรณีบริษัทจ้างรถขนของจากที่หนึ่งไปอีกที่หนึ่ง ต้องหักภาษี ณ ที่จ่ายหรือไม่ (401637)

คำตอบ: ไม่ว่าจะจ่ายให้กับบุคคลธรรมดา หรือนิติบุคคล แต่ไม่รวมถึงมูลนิธิหรือสมาคม หักภาษี ณ ที่จ่ายในอัตราร้อยละ 1 ตามข้อ 12/4 ของคำสั่งกรมสรรพากรที่ ท.ป.4/2528ฯ (จะถือเป็นค่าขนส่ง คือต้องไม่มีการส่งมอบการครอบครองรถ และมีจุดรับส่งแน่นอน)

คำถาม: บริษัทในประเทศได้ว่าจ้าง บริษัท Forwarding เพื่อขนส่งสินค้าให้ในต่างประเทศ ค่าขนส่งสินค้าจะต้องมีภาษีมูลค่าเพิ่มหรือไม่ (401682)

คำตอบ: การให้บริการขนส่งสินค้าในต่างประเทศดังกล่าวถือเป็นการให้บริการที่กระทำ นอกราชอาณาจักรและได้มีการใช้บริการนั้นนอกราชอาณาจักร จึงไม่อยู่ในบังคับต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม ตามมาตรา 77/2 แห่งประมวลรัษฎากร ประกอบกับ ข้อ 6 ของคำสั่งกรมสรรพากรที่ ป.104/2544ฯ

คำถาม: บริษัท ว่าจ้างรถยกมายกสินค้า จะต้องหักภาษี ณ ที่จ่ายอย่างไร (401707)

คำตอบ: กรณีจ้างรถยกมายกสินค้า หากไม่มีการให้บริการอย่างอื่นด้วย ถือเป็นการจ่ายเงินได้ค่าขนส่ง ไม่ว่าบริษัทจะจ่ายให้กับบุคคลธรรมดา หรือนิติบุคคล แต่ไม่รวมถึงมูลนิธิหรือสมาคม หักภาษี ณ ที่จ่ายในอัตราร้อยละ 1 ตามข้อ 12/4 ของคำสั่งกรมสรรพากรที่ ท.ป.4/2528ฯ

คำถาม: บริษัทจ่ายค่าขนส่งสินค้าระหว่างประเทศให้กับบริษัทสายการบินไทย โดยการขนส่งสินค้าออกทางท่าอากาศยาน ต้องหักภาษี ณ ที่จ่ายอย่างไร (401735)

คำตอบ: ต้องหักภาษี ณ ที่จ่ายในอัตราร้อยละ 1 ของค่าขนส่งตามที่ระบุไว้ในใบตราส่งสินค้า (แอร์เวย์บิล)  ตามคำสั่งกรมสรรพากรที่ ป.126/2546ฯ

คำถาม: ผู้ประกอบการจดทะเบียนขายสินค้าพร้อมค่าขนส่ง จะต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มอย่างไร (401749)

คำตอบ: ผู้ประกอบการจดทะเบียนประกอบกิจการขายสินค้า ไม่ได้ประกอบกิจการขนส่งเป็นปกติธุระ ขายสินค้าให้แก่ลูกค้า โดยขนส่งสินค้าให้และเรียกเก็บค่าขนส่งเพิ่มจากค่าสินค้า ไม่ว่าจะเรียกเก็บ ค่าขนส่งรวมกับราคาสินค้าหรือแยกออกจากราคาสินค้า  ค่าสินค้ารวมกับค่าขนส่ง ถือเป็นเงินได้จากการขายสินค้า ต้องนำมูลค่าของสินค้าและค่าขนส่งมารวมคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่ม

คำถาม: จ่ายค่าขนส่งให้กับรถตู้ Container และค่าแรงงาน คนละบริษัทกัน ต้องหักภาษี ณ ที่จ่ายอย่างไร (401950)

คำตอบ: ต้องหักภาษี ณ ที่จ่ายในอัตราร้อยละ 1 สำหรับเงินได้ที่จ่ายให้รถตู้ Container และหักภาษี ณ ที่จ่ายในอัตราร้อยละ 3 สำหรับการจ่ายค่าแรง แต่หากเป็นการจ่ายให้กับบริษัทเดียวกัน ถือเป็นการจ่ายค่าขนส่งทั้งจำนวน ต้องหักภาษี ณ ที่จ่ายในอัตราร้อยละ 1 ของจำนวนทั้งหมด (ค่ารถตู้และค่าแรง)

คำถาม: บริษัทเป็นผู้จ่ายค่าขนส่งสินค้า เมื่อขายสินค้าให้กับลูกค้า บริษัทจะต้องเรียกเก็บค่าขนส่งจากลูกค้าและเสียภาษีมูลค่าเพิ่มอย่างไร (402264)

คำตอบ: กรณีผู้ประกอบการจดทะเบียนประกอบกิจการขายสินค้า ไม่ได้ประกอบกิจการขนส่งเป็นปกติธุระ เมื่อขายสินค้าให้แก่ลูกค้า โดยขนส่งสินค้าให้และเรียกเก็บค่าขนส่งเพิ่มจากค่าสินค้า ไม่ว่าจะเรียกเก็บ ค่าขนส่งรวมกับราคาสินค้าหรือแยกออกจากราคาสินค้า ค่าสินค้ารวมกับค่าขนส่ง ถือเป็นเงินได้จากการขายสินค้า ตามมาตรา 77/1(8) แห่งประมวลรัษฎากร ต้องนำมูลค่าของสินค้าและค่าขนส่งมารวมคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่ม

คำถาม: ห้าง ประกอบกิจการรับเหมาก่อสร้าง ได้ว่าจ้างบุคคลธรรมดาที่มีรถบรรทุก ขนวัสดุก่อสร้างไปยังหน้างาน โดยตกลงว่าจ้างกันเป็นรายเที่ยว จะต้องหักภาษี ณ ที่จ่ายอย่างไร (402667)

คำตอบ: บุคคลธรรมดา ได้รับเงินได้พึงประเมินที่เป็นค่าขนส่งซึ่งมิใช่การขนส่งสาธารณะ จากบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล หรือนิติบุคคลอื่น ตามสัญญารายหนึ่ง ๆ มีจำนวนตั้งแต่ 1,000 บาทขึ้นไป แม้การจ่ายนั้นจะแบ่งจ่ายครั้งหนึ่ง ๆ ไม่ถึง 1,000 บาท บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล หรือนิติบุคคลอื่น ที่เป็นผู้จ่ายเงินได้พึงประเมินมีหน้าที่ต้องหักภาษี ณ ที่จ่าย ในอัตราร้อยละ 1 ตามข้อ 12/4 และ 12/5 ของคำสั่งกรมสรรพากรที่ ท.ป.4/2528ฯ

คำถาม: บริษัทขายสินค้าพร้อมขนส่ง คำนวณภาษีขายอย่างไร (403608)

คำตอบ: กรณีบริษัทขายสินค้าพร้อมให้บริการขนส่งสินค้าให้แก่ลูกค้าด้วย โดยบริษัทไม่ได้เป็นผู้ประกอบการขนส่งเป็นปกติ แม้บริษัทจะออกใบกำกับภาษีโดยระบุราคาสินค้าและค่าขนส่งแยกออกจากกัน บริษัทต้องนำมูลค่าของสินค้าซึ่งรวมค่าขนส่งมารวมคำนวณเป็นฐานภาษีสำหรับการ ขายสินค้าเพื่อเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม ตามมาตรา 79 แห่งประมวลรัษฎากร

คำถาม: จ่ายค่าขนส่งสินค้าโดยทางเรือ (ทางทะเล) กรณีนำเข้าสินค้าจากต่างประเทศ ต้องหักภาษี ณ ที่จ่ายหรือไม่ (404046)

คำตอบ: จ่ายค่าขนส่งสินค้าขาเข้าทางทะเล  ต้องหักภาษี ณ ที่จ่าย ดังนี้
              1. กรณีผู้ใช้บริการ (Consignee หรือ Forwarder) จ่ายค่าระวางให้กับสายการเดินเรือ โดยสายการเดินเรือออกใบเสร็จรับเงินในนามของผู้ใช้บริการ (Consignee หรือ Forwarder)  กรณีสายการเดินเรือเป็น
               (1) สายการเดินเรือไทยที่เข้าลักษณะ ตามมาตรา 3 แห่งพระราชกฤษฎีกาฯ (ฉบับที่ 314) พ.ศ.2540 ผู้ใช้บริการซึ่งเป็นผู้จ่ายเงินได้ไม่มีหน้าที่ต้องหักภาษี ณ ที่จ่าย 
               (2) สายการเดินเรือต่างประเทศ เนื่องจากเป็นการจ่ายค่าขนส่งสินค้าขาเข้า ซึ่งไม่เป็นฐานภาษีในการเสียภาษีเงินได้นิติบุคคล ตามมาตรา 67 แห่งประมวลรัษฎากร ผู้ใช้บริการซึ่งเป็นผู้จ่ายเงินได้ จึงไม่มีหน้าที่ต้องหักภาษี ณ ที่จ่าย 
              2. กรณีผู้ใช้บริการ (Consignee หรือ Forwarder B) จ่ายค่าระวางให้กับ Forwarder A โดย Forwarder A กระทำการในฐานะเป็นตัวแทนของ Forwarder ในต่างประเทศ และได้ออกใบเสร็จรับเงินในนามของผู้ใช้บริการ ถือว่าผู้ใช้บริการจ่ายค่าขนส่งสินค้าขาเข้าซึ่งไม่เป็นฐานภาษีในการเสีย ภาษีเงินได้นิติบุคคล ตามมาตรา 67 แห่งประมวลรัษฎากร ผู้ใช้บริการซึ่งเป็นผู้จ่ายเงินได้จึงไม่มีหน้าที่ต้องหักภาษี ณ ที่จ่าย ในส่วนที่กระทำการแทนนั้น แต่ผู้ใช้บริการยังคงมีหน้าที่ต้องหักภาษี ณ ที่จ่าย ในอัตราร้อยละ 3 ของค่าบริการที่ Forwarder A ได้รับจากการดำเนินการแทน(Handling Charge)

คำถาม: บริษัท ซื้อสินค้าจากบริษัทในสวิตเซอร์แลนด์ ไม่มีสถานประกอบการในไทย และให้ส่งสินค้าให้ด้วย บริษัทต้องหักภาษี ณ ที่จ่ายอย่างไร เมื่อจ่ายค่าสินค้า เนื่องจากในใบเสร็จรับเงิน แสดงยอดค่าซื้อสินค้า และค่าขนส่ง (404088)

คำตอบ: ค่าขนส่ง เป็นเงินได้ ตามมาตรา 40(8) แห่งประมวลรัษฎากร ดังนั้น ค่าซื้อสินค้าและค่าขนส่ง ไม่ต้องหักภาษี ณ ที่จ่ายและนำส่ง ตามมาตรา 70 แห่งประมวลรัษฎากร แต่อย่างใด

คำถาม: บริษัท จ่ายค่าขนส่งเอกสาร พัสดุภัณฑ์ สินค้า และสิ่งของ ให้กับบริษัทที่ประกอบกิจการรับขนส่งเอกสารด้วยรถจักรยานยนต์ ตามคำสั่งของผู้ว่าจ้าง ซึ่งผู้ว่าจ้างอาจเรียกใช้เป็นครั้งคราว หรือเป็นประจำทุกสัปดาห์หรือทุกเดือน เรียกเก็บค่าขนส่งจากระยะทางใกล้หรือไกล และหรือไม่ (404634)

คำตอบ: การให้บริการข้างต้นเข้าลักษณะเป็นการให้บริการขนส่งในราชอาณาจักร เป็นเงินได้พึงประเมิน ตามมาตรา 40(8) แห่งประมวลรัษฎากร  ผู้จ่ายเงินได้ซึ่งเป็นบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลหรือนิติบุคคลอื่น มีหน้าที่ต้องหักภาษี ณ ที่จ่าย ในอัตราร้อยละ  1 ตามข้อ 12/4(2) ของคำสั่งกรมสรรพากรที่ ท.ป.4/2528ฯ และได้รับยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม ตามมาตรา 81(1)(ณ) แห่งประมวลรัษฎากร

คำถาม: กิจการซื้อขายสินค้า มีค่าขนส่งหรือค่าบริการที่เกิดจากการขายสินค้า จะต้องหัก ณ ที่จ่ายสำหรับค่าขนส่งหรือค่าบริการนั้นหรือไม่ (404653)

คำตอบ: กรณีขายสินค้าโดยผู้ขายได้เรียกเก็บค่าขนส่งจากผู้ซื้อสินค้าโดยจะแยกราคา ค่าสินค้าและค่าขนส่งออกจากกันหรือไม่ ถือเป็นการขายสินค้า ไม่ต้องหักภาษี ณ ที่จ่าย  เว้นแต่ผู้ขายสินค้าได้ประกอบกิจการรับขนส่งเป็นปกติอยู่แล้ว และได้มีการขายสินค้าโดยได้ใช้รถยนต์ที่รับขนส่งมาขนส่งสินค้าให้บริษัท ลูกค้าที่ซื้อสินค้าจากตนเอง และเรียกเก็บค่าขนส่งแยกต่างหากจากกัน กรณีนี้บริษัทลูกค้าจะต้องหักภาษี ณ ที่จ่าย สำหรับค่าขนส่ง ในอัตราร้อยละ 1 ตามข้อ 12/4 ของคำสั่งกรมสรรพากรที่ ท.ป.4/2528ฯ

คำถาม: กรณี จ้างรถเครนยกหรือย้ายเสาปูน ถือเป็นค่าเช่าหรือค่าขนส่ง และในกรณีรถขนปูนผงมาส่งให้บริษัท โดยคิดค่าขนส่งรวมกับราคาสินค้า แต่แยกรายการสินค้าและค่าขนส่ง ต้องหัก ณ ที่จ่ายหรือไม่ (404683)

คำตอบ:  หากรับจ้างขนยกอย่างเดียวและการครอบครองรถไม่ได้อยู่ที่ผู้ว่าจ้าง การขนยกดังกล่าวเป็นการขนส่งหักภาษี ณ ที่จ่าย ในอัตราร้อยละ 1 ตามข้อ 12/4 ของคำสั่งกรมสรรพากรที่ ท.ป.4/2528ฯ หาก ผู้ขายเรียกเก็บเป็นค่าสินค้าและค่าขนส่ง โดยผู้ขายไม่ได้ประกอบธุรกิจรับขนส่ง เป็นค่าสินค้ารวมค่าขนส่งถือเป็นค่าตอบแทนจากการซื้อขายสินค้า ไม่ต้องหักภาษี ณ ที่จ่าย แม้จะแยกรายการเรียกเก็บเงิน

คำถาม: ผู้ ใช้บริการ ใช้บริการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศโดยอากาศยาน (ส่งออกสินค้าไปต่างประเทศ) เมื่อจ่ายค่าขนส่งสินค้าระหว่างประเทศให้กับสายการบินต่างๆ เช่น Fedex ต้องหักภาษี ณ ที่จ่าย หรือไม่ (404699)

คำตอบ: 1. กรณีจ่ายให้กับสายการบินไทย ผู้จ่ายเงินมีหน้าที่ต้องหักภาษีหัก ณ ที่จ่าย ในอัตราร้อยละ 3 ของยอดรวมทั้งหมด และออกหนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่ายให้กับสายการบิน
             2. กรณีจ่ายให้กับสายการบินต่างประเทศ ซึ่งมีถิ่นที่อยู่ในประเทศที่ไม่มีอนุสัญญาเพื่อการเว้นการเก็บภาษีซ้อนกับ ไทย ผู้จ่ายเงินมีหน้าที่ต้องหักภาษีหัก ณ ที่จ่าย ในอัตราร้อยละ 3 ของยอดรวมทั้งหมด และออกหนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่ายให้กับสายการบิน
             3. กรณีจ่ายให้กับสายการบินต่างประเทศ ซึ่งมีถิ่นที่อยู่ในประเทศที่มีอนุสัญญาภาษีซ้อนกับไทย หากอนุสัญญาดังกล่าวมีข้อกำหนดให้เก็บภาษีได้เฉพาะในรัฐผู้ทำสัญญารัฐนั้น เท่านั้น ผู้จ่ายเงินไม่มีหน้าที่ต้องหักภาษีหัก ณ ที่จ่าย แต่หากอนุสัญญาดังกล่าวมีข้อกำหนดให้เก็บภาษีได้ ในอัตราร้อยละ 1.5 ของรายได้ทั้งหมดที่ได้รับ ผู้จ่ายเงินมีหน้าที่ต้องหักภาษีหัก ณ ที่จ่าย ในอัตราร้อยละ 1.5 ของยอดรวมทั้งหมด และออกหนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย ให้กับสายการบิน อนึ่งคณะรัฐมนตรีได้ให้ความเห็นชอบในการปรับลดอัตราภาษีหัก ณ ที่จ่าย สำหรับการจ่ายเงินค่าขนส่ง จากอัตราร้อยละ 3 เป็นอัตราร้อยละ 1 โดยให้มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 15 กันยายน พ.ศ.2544 เป็นต้นไป ตามข้อ 12/4 ของคำสั่งกรมสรรพากรที่ ท.ป.4/2528ฯ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยคำสั่งกรมสรรพากรที่ ท.ป.104/2544ฯ ประกอบกับข้อ 2 ของคำสั่งกรมสรรพากรที่ ป.126/2546ฯ

คำถาม: บริษัทจ้างบริษัทชิปปิ้งเดินพิธีการออกของให้ ทางบริษัทชิปปิ้งจะคิดค่าบริการ หักภาษี ณ ที่จ่ายอย่างไร (404726)

คำตอบ: กรณีบริษัทชิปปิ้งเป็นผู้ประกอบการให้บริการดำเนินการออกของจากการท่าเรือ และให้บริการขนส่งสินค้าแก่ลูกค้าด้วย หากบริษัทชิปปิ้งมิได้เป็นผู้ประกอบการให้บริการขนส่งเป็นปกติธุระ แม้บริษัทชิปปิ้งจะได้ให้บริการขนส่งสินค้าแก่ลูกค้าด้วยไม่ว่าจะใช้ยาน พาหนะของตนเองหรือผู้อื่น และไม่ว่าจะแยกค่าขนส่งออกจากราคาค่าบริการออกของได้หรือไม่ เข้าลักษณะเป็นการให้บริการ  ต้องหักภาษี ณ ที่จ่ายในอัตราร้อยละ 3 ตามข้อ 8 ของคำสั่งกรมสรรพากรที่ ท.ป.4/2528ฯ

คำถาม: บริษัท นำเข้าสินค้าจากสิงคโปร์ บริษัทผู้ขายได้ส่งบิลมาเรียกเก็บค่าขนส่งจากบริษัท เมื่อบริษัทจ่ายค่าขนส่งดังกล่าวจะต้องหักภาษี ณ ที่จ่ายหรือไม่ (405617)

คำตอบ: ค่าขนส่งเป็นเงินได้ ตามมาตรา 40(8) แห่งประมวลรัษฎากร ดังนั้นค่าซื้อสินค้าและค่าขนส่ง ไม่ต้องหักภาษี ณ ที่จ่ายและนำส่ง ตามมาตรา 70 แห่งประมวลรัษฎากร แต่อย่างใด

คำถาม: บริษัท จ่ายค่าขนส่งสินค้าโดยระบบคอนเทนเนอร์ จำนวน 1,600 บาท และค่าบริการ Handling Charge จำนวน 500 บาท ซึ่งออกใบแจ้งหนี้ 2 ฉบับ บริษัทต้องหักภาษี ณ ที่จ่าย หรือไม่ (408279)

คำตอบ: :บริษัทต้องหักภาษี ณ ที่จ่าย ค่าขนส่งและค่าบริการ เนื่องจากเป็นการจ่ายเงินที่มีจำนวนตามสัญญารายหนึ่งๆ จำนวนตั้งแต่ 1,000 บาทขึ้นไป โดยหักภาษี ณ ที่จ่าย ดังนี้
          ค่าขนส่งสินค้าโดยระบบ คอนเทนเนอร์ ที่ระบุไว้ใน Freight Invoice ถือเป็นค่าขนส่ง อยู่ในบังคับต้องหักภาษี ณ ที่จ่าย ในอัตราร้อยละ 1 ตามข้อ 12/5 ของคำสั่งกรมสรรพากรที่ ท.ป.4/2528ฯ ประกอบกับข้อ 4 ของคำสั่งกรมสรรพากรที่ ป.110/2545ฯ
          ค่าบริการ (Handling Charge)  ในอัตราร้อยละ 3 ตามข้อ 12/1 ของคำสั่งกรมสรรพากรที่ ท.ป.4/2528ฯ ประกอบกับข้อ 4 ของคำสั่งกรมสรรพากรที่ ป.110/2545ฯ

คำถาม: การ ให้บริการเช่ารถแม็คโครและขนรถแม็คโครไปยังสถานที่ที่ผู้ว่าจ้างกำหนด ถือเป็นค่าบริการทั้งหมดหรือไม่ สามารถแยกเป็นค่าขนส่งและค่าเช่าได้หรือไม่ (409227)

คำตอบ: การให้บริการเช่ารถแม็คโครและขนรถแม็คโครไปยังสถานที่ที่ผู้ว่าจ้างกำหนด ค่าเช่ารวมกับค่าขนส่งดังกล่าว ถือเป็นเงินหรือประโยชน์อย่างอื่นที่ได้เนื่องจากการให้เช่าทรัพย์สิน ตามมาตรา 40(5)(ก) แห่งประมวลรัษฎากร บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลหรือนิติบุคคลอื่นผู้จ่ายค่าเช่ามีหน้าที่ต้องหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่ายในอัตราร้อยละ 5 ตามข้อ 6(1) ของคำสั่งกรมสรรพากรที่ ท.ป.4/2528ฯ

คำถาม: บริษัท รับจ้างขนส่งหน้าดินและจะต้องมีการเกลี่ยปรับให้เรียบร้อยตามที่ผู้ว่าจ้าง กำหนด ได้เรียกเก็บค่าขนส่งแยกต่างหาก เมื่อบริษัทผู้ว่าจ้างจ่ายเงินต้องหักภาษี ณ ที่จ่าย หรือไม่ (409601)

คำตอบ: เป็นการมุ่งจะปฏิบัติตามสัญญาเพื่อผลสำเร็จของงาน เข้าลักษณะสัญญาจ้างทำของ ต้องหักภาษี ณ ที่จ่าย ในอัตราร้อยละ 3 ตามข้อ 8 ของคำสั่งกรมสรรพากรที่ ท.ป.4/2528ฯ

คำถาม: บริษัท เป็นสาขาของบริษัทในสหรัฐอเมริกา มีรายได้จากการขนส่งพัสดุทางอากาศเร่งด่วนระหว่างประเทศ (International Priority) ทั้งขาเข้า และขาออกตามสัญญารับขนที่ทำกับลูกค้า ในการให้บริการขนส่งพัสดุแบบเร่งด่วนต้องดำเนินการด้านพิธีการศุลกากรสำหรับ พัสดุที่นำเข้าหรือส (409739)

คำตอบ:
          1. ภาษีเงินได้นิติบุคคล และภาษีหัก ณ ที่จ่าย
              (1) ค่าขนส่งพัสดุระหว่างประเทศ เนื่องจากค่าบริการรับขนพัสดุระหว่างประเทศเข้าลักษณะเป็นเงินได้จากการ ดำเนินการเดินอากาศยานในการจราจรระหว่างประเทศ ดังนั้น หากบริษัทมีถิ่นที่อยู่ในทางภาษีอากรในสหรัฐอเมริกา และไม่ถูกจำกัดสิทธิประโยชน์ในการใช้อนุสัญญา ตามข้อ 18 แห่งอนุสัญญาภาษีซ้อนระหว่างไทยกับสหรัฐอเมริกา ค่าบริการรับขนดังกล่าวจะได้รับยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลในไทย ตามข้อ 8 วรรคหนึ่ง (ก) แห่งอนุสัญญาดังกล่าว และ มาตรา 3 แห่งพระราชกฤษฎีกาฯ (ฉบับที่ 18) พ.ศ.2505 และเมื่อลูกค้าจ่ายค่าขนส่งดังกล่าวจึงไม่มีหน้าที่หักภาษี ณ ที่จ่าย  
              (2) ค่าภาษีศุลกากรที่สำรองจ่ายไป และเรียกเก็บคืนตามจำนวนที่จ่ายจริง เนื่องจากค่าภาษีศุลกากรจากการนำเข้าหรือส่งออกพัสดุเป็นภาระของลูกค้า จึงไม่เข้าลักษณะเป็นเงินได้ที่ต้องเสียภาษีเงินได้นิติบุคคล และเมื่อลูกค้าจ่ายค่าภาษีศุลกากรดังกล่าวจึงไม่มีหน้าที่หักภาษี ณ ที่จ่าย  
              (3) ค่าธรรมเนียมการดำเนินการด้านพิธีการศุลกากร ไม่เข้าลักษณะเป็นเงินได้จากกิจการที่มีความสัมพันธ์อย่างใกล้ชิดกับการขน ส่ง ดังนั้นเงินได้ดังกล่าวจึงไม่ใช่ส่วนหนึ่งของเงินได้จากการขนส่งทางอากาศ ระหว่างประเทศ แต่ถือเป็นกำไรจากธุรกิจ ฉะนั้น เมื่อบริษัทให้บริการกับลูกค้าถือเป็นให้บริการผ่านสถานประกอบการถาวรในไทย ตามข้อ 5 วรรคสอง แห่งอนุสัญญาฉบับดังกล่าว บริษัทต้องนำค่าธรรมเนียมดังกล่าวมารวมคำนวณกำไรสุทธิเพื่อเสียภาษีเงินได้ นิติบุคคล ตามมาตรา 66 วรรคสอง แห่งประมวลรัษฎากร และข้อ 7 วรรคหนึ่งแห่งอนุสัญญาดังกล่าว และเมื่อลูกค้าจ่ายค่าธรรมเนียมดังกล่าวมีหน้าที่หักภาษี ณ ที่จ่าย ในอัตราร้อยละ 3 ตามข้อ 12/1 ของคำสั่งกรมสรรพากรที่ ท.ป.4/2528ฯ
          2. ภาษีมูลค่าเพิ่ม  
             (1) ค่าขนส่งพัสดุระหว่างประเทศ เข้าลักษณะเป็นการให้บริการขนส่งระหว่างประเทศโดยอากาศยานที่กระทำโดยผู้ ประกอบการที่เป็นนิติบุคคล ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม ในอัตราร้อยละ 0 ตามมาตรา 80/1(3) แห่งประมวลรัษฎากร
             (2) ค่าภาษีศุลกากรที่สำรองจ่ายไป และเรียกเก็บคืนตามจำนวนที่จ่ายจริง เนื่องจากค่าภาษีศุลกากรจากการนำเข้าหรือส่งออกพัสดุเป็นภาระของลูกค้า จึงไม่เข้าลักษณะเป็นรายรับที่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม
             (3) ค่าธรรมเนียมการดำเนินการด้านพิธีการศุลกากร เข้าลักษณะเป็นการให้บริการโดยผู้ประกอบการ ตามมาตรา 77/2 แห่งประมวลรัษฎากร และอยู่ในข่ายต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มในอัตราร้อยละ 7 ตามมาตรา 80 แห่งประมวลรัษฎากร

 

ผู้เรียบเรียง : เกียรติชัย

จดทะเบียนบริษัท ราคาพิเศษ

สำนักงานบัญชี รับจดทะเบียนในราคาพิเศษ โดยมีรายละเอียดบริการดังนี้
  1. ให้บริการจองชื่อนิติบุคคล
  2. บริการจัดเตรียมแบบฟอร์มจดทะเบียน
  3. บริการจดทะเบียนจัดตั้งบริคณห์สนธิและจัดตั้งบริษัท
  4. ขอมีเลขประจำตัวผู้เสียภาษีของบริษัท (ปัจจุบันยกเลิกแล้วให้ใช้เลขทะเบียนนิติบุคคลแทน)
  5. ขอมีเลขที่บัญชีนายจ้างประกันสังคม (ขึ้นทะเบียนผ่านกระทรวงพาณิชย์)
  6. จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) ทางอินเทอร์เน็ต (โดยกรมสรรพากรจะแจ้งผลการพิจารณาให้ทราบทาง e-Mail และทางอินเทอร์เน็ตภายใน 15 วันนับจากวันที่ยื่นคำขอ)
เอกสารที่ต้องจัดเตรียมในการจดทะเบียนบริษัท ได้แก่
  1. สำเนาบัตรประชาชนของผู้ร่วมก่อตั้งทุกคน (จดบริษัทต้องมีอย่างน้อย 3 คน จดห้างหุ้นส่วนต้องมีอย่างน้อย 2 คน
  2. ข้อมูลเพิ่มเติมของผู้ร่วมก่อตั้ง ได้แก่ อาชีพ เบอร์โทรศัพท์
  3. สำเนาทะเบียนบ้านที่ตั้งกิจการ
  4. แผนที่ตั้งกิจการ (ระบุสถานที่สำคัญใกล้เคียง)
  5. วัตถุประสงค์ในการจัดตั้ง (ประกอบธุรกิจอะไร)
  6. กำหนดรูปแบบตรายาง
  7. ระบุว่าใครเป็นกรรมการ และกำหนดอำนาจกรรมการ เช่น ลงนามคนเดียว ลงนามร่วมกัน
  8. ทุนจดทะเบียนเท่าไหร่ ชำระเต็มจำนวน หรือชำระขั้นต่ำตามกฎหมาย (อย่างน้อย 25%)
  9. ผู้ถือหุ้นแต่ละคน ลงทุนคนละเท่าไหร่
  10. แบบแจ้งผลการจองชื่อ (ถ้ายังไม่มี ให้แจ้งชื่อภาษาไทยและภาษาอังกฤษ มาอย่างละ 3 ชื่อ)
เอกสารที่ต้องใช้ในการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม (กรณีจดทางอินเตอร์เน็ตไม่ต้องเตรียมเอกสารให้)
  1. แบบ ภพ.01 และ ภพ.01.1
  2. รูปถ่ายสถานประกอบการ จำนวน 2 ใบ
  3. แผนที่ตั้งของกิจการ จำนวน 2 ใบ
  4. สำเนาบัตรประจำตัวผู้เสียภาษี
  5. หนังสือมอบอำนาจ (ติดอากร 30 บาท)
  6. สำเนาบัตรประชาชนของผู้รับมอบอำนาจ
  7. หนังสือยินยอมให้ใช้สถานที่ (เจ้าบ้าน) หรือสัญญาเช่า (ต้องติดอากร)
  8. สำเนาบัตรประชานและสำเนาทะเบียนของผู้เป็นเจ้าบ้าน
  9. สำเนาบัตรประชาชนและสำเนาทะเบียนของหุ้นส่วนผู้จัดการ
  10. สำเนาหนังสือรับรองพร้อมวัตถุประสงค์
แบบสอบถามเพื่อเป็นข้อมูลในการจดทะเบียนบริษัท จดทะเบียนห้างหุ้นส่วนจำกัด
ปัญหาที่พบในการจดทะเบียนบริษัท / จดทะเบียนห้างหุ้นส่วน ได้แก่

1. บัตรประชาชนไม่ชัดเจน
  • ภาพถ่ายบนบัตรดำ มองเห็นหน้าไม่ชัด
  • วันออกบัตร วันหมดอายุบัตร อ่านไม่ออก ไม่รู้ว่าบัตรหมดอายุหรือยัง
  • ชื่อ ที่อยู่บนบัตร อ่านไม่ออก ไม่สามารถตรวจสอบชื่อและที่อยู่ได้
  • ถ่ายบัตรประชาชนมาด้านเดียว ด้านหลังบัตรไม่ถ่ายมา
2. ตรายางบริษัท
  • กรณีจดทะเบียนบริษัท ถ้าระบุชื่อบริษัท ต้องมีคำว่า บริษัท …. จำกัด (ห้ามย่อ) หรือ CO., LTD. ต่อท้าย (ภาษาอังกฤษย่อแบบนี้ได้)
  • กรณีจดทะเบียนห้างหุ้นส่วนจำกัด ถ้าระบุชื่อห้างหุ้นส่วน ต้องมีคำว่า ห้างหุ้นส่วนจำกัด (ห้ามย่อ) หรือ LIMITED PARTNERSHIP (ห้ามย่อ)
  • ตรายางจะเป็นรูปภาพ หรือตัวย่อก็ได้ เช่น Kiatchai Accounting จะย่อเป็น KA ก็ได้
  • กรณีชื่อบริษัทเป็นตัวย่ออยู่แล้วจะไม่สามารถทำตรายางได้ เช่น KA Business จะใช้ตัวย่อ KA ไม่ได้แล้ว เพราะถือเป็นส่วนหนึ่งของชื่อไปแล้ว
3. ทุนจดทะเบียน
  • กฎหมายไม่ได้กำหนดจำนวนต่ำสุด หรือจำนวนสูงสุดไว้ ทุนจดทะเบียนจะเป็นเท่าไหร่ก็ได้ ขึ้นอยู่กับประเภทธุรกิจ เช่น เปิดโรงงาน แบบนี้ทุนจดทะเบียนก็ต้องมากหน่อย เนื่องจากต้องนำเงินไปลงทุนซื้อเครื่องจักร แต่ถ้าเป็นธุรกิจให้คำปรึกษา แบบนี้ทุนจดทะเบียนไม่จำเป็นต้องมาก จะจดที่ 10,000 บาท หรือ 100,000 บาท ก็ได้
  • ทุนจดทะเบียนสามารถชำระบางส่วนได้ แต่ต้องไม่น้อยกว่า 25% กรณีชำระค่าหุ้นไม่ครบ ผู้ถือหุ้นยังคงติดเงินบริษัทอยู่ ถือเป็นลูกหนี้ค่าหุ้น

สอบถามบริการ / ขอคำปรึกษา ได้ที่
  • คุณเกียรติชัย Tel. 089-890-2929 (ตลอดเวลา)
email - kiatchai-hotmail

ให้บริการจดทะเบียนบริษัท สมุทรปราการ นนทบุรี ปทุมธานี กรุงเทพมหานคร

แท็กของ Technorati: {กลุ่มแท็ก}

ฝากคำถามภาษีอากร-บัญชี จดทะเบียนบริษัทได้ที่นี่

ฝากคำถามภาษีอากร บัญชี จดทะเบียนบริษัท หรือเรื่องอื่นๆ ได้ที่นี่ หรือฝากคำถามไว้ที่ เว็บบอร์ด

ค่าจ้างจากการรับจ้างเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ให้แก่ผู้ว่าจ้างในต่างประเทศ ได้รับสิทธิเสียภาษีมูลค่าเพิ่มในอัตราร้อยละ 0 หรือไม่

คําพิพากษาศาลฎีกาที่ 12466/2547

บริษัท ฮ. จำกัด โจทก์

กรมสรรพากร จำเลย

ข้อเท็จจริง

โจทก์เป็นนิติบุคคลประเภทบริษัทจำกัด ประกอบกิจการรับจ้างและให้บริการออกแบบระบบประมวลผลโปรแกรมที่ใช้กับ คอมพิวเตอร์ เมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2533 โจทก์ทำสัญญา การจ้างงานในการผลิตโปรแกรมกับบริษัทฮีโน่ มอเตอร์ส จำกัด ลูกค้าซึ่งเป็นนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายของต่างประเทศ มีสำนักงานอยู่ที่กรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น ตามสัญญาการจ้างงานในการผลิตโปรแกรมเอกสารหมาย จ.1 แผ่นที่ 7 ถึง 10 (คำแปลเอกสารหมาย จ.1 แผ่นที่ 11 ถึง 15 และ ล.1 แผ่นที่ 95 ถึง 99) โดย มี ข้อสัญญาว่าโปรแกรมที่โจทก์เขียนขึ้นตามสัญญาลูกค้าเป็นผู้กำหนดรูปแบบและ รายละเอียดต่างๆทั้งหมด ค่าจ้างคิดตามจำนวนงานที่ลูกค้าแจ้งในใบสั่งงานซึ่งโจทก์จัดทำเสร็จ กับส่งมอบให้แก่ลูกค้าในต่างประเทศ และลูกค้าได้ลิขสิทธิ์ในโปรแกรมดังกล่าว

โจทก์เขียนโปรแกรมดังกล่าวตามใบสั่ง งานรวม 30 ฉบับ ส่งมอบให้แก่ลูกค้าในต่างประเทศ ออกใบกำกับสินค้าและใบกำกับภาษีให้ลูกค้าในเดือนเมษายน 2539 และยื่นแบบแสดงรายการภาษีมูลค่าเพิ่ม ภ.พ.30 สำหรับเดือนเมษายน 2539 โดยในส่วนยอดขายหรือรายรับจากการเขียนโปรแกรม ดังกล่าว จำนวน 2,261,333.63 บาท โจทก์เสียภาษีมูลค่าเพิ่มในอัตราร้อยละ 0 ตามประมวล-รัษฎากร มาตรา 80/1 ส่วนยอดขายหรือรายรับอื่นๆ โจทก์เสียภาษีมูลค่าเพิ่มในอัตราร้อยละ 7 คำนวณแล้วโจทก์มีภาษีซื้อมากกว่าภาษีขายโจทก์จึงขอคืนภาษีที่ชำระไว้เกิน จำนวน 88,030.10 บาท ตามสำเนาแบบแสดงรายการภาษีมูลค่า-เพิ่ม ภ.พ.30 เอกสารหมาย ล.1 แผ่นที่ 355

ต่อมา เจ้าหน้าที่ของจำเลยเห็นว่ายอดขายหรือรายรับจำนวน 2,261,333.63 บาท ดังกล่าว ไม่ใช่กรณีที่จะเสียภาษีมูลค่าเพิ่มในอัตราร้อยละ 0 แต่เป็นค่าแห่งลิขสิทธิ์ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 40 (3) ซึ่งต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มใน อัตราร้อยละ 7 เจ้าพนักงานประเมินจึงแจ้งการประเมินแก่โจทก์เมื่อวันที่ 28 มิถุนายน 2543 ให้โจทก์เสียภาษีมูลค่าเพิ่มสำหรับยอดขายหรือรายรับดังกล่าวเป็นจำนวน 158,293.35 บาท พร้อมเบี้ยปรับและเงินเพิ่มเป็นจำนวนทั้งสิ้น 435,306.00 บาท ตามหนังสือแจ้งการประเมินภาษีมูลค่าเพิ่ม ภ.พ.73.1 เอกสารหมาย จ.1 แผ่นที่ 20 (ล.2 แผ่นที่ 38) โดยอธิบดีกรมสรรพากรอนุมัติให้เจ้าพนักงานประเมินทำการประเมินได้และเจ้า หน้าที่ของจำเลยมีหนังสือแจ้งไม่คืนเงินภาษีอากรตามหมาย จ.1 แผ่นที่ 22 แจ้งแก่โจทก์ว่าโจทก์ไม่มีสิทธิได้รับคืนภาษีตาม ที่ขอไว้ในแบบแสดงรายการภาษีมูลค่าเพิ่ม ภ.พ.30 เอกสารหมาย ล.1 แผ่นที่ 355

โจทก์อุทธรณ์คัดค้านการประเมินต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ตามคำอุทธรณ์เอกสารหมาย ล.2 แผ่นที่ 34 ถึง 37 คณะ กรรมการพิจารณาอุทธรณ์พิจารณาแล้วมีคำวินิจฉัยว่า ยอดขายที่โจทก์เสียภาษีมูลค่าเพิ่ม ในอัตราร้อยละ 0 เป็นค่าตอบแทนในการเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ให้ลูกค้าในต่างประเทศเป็นค่า แห่งลิขสิทธิ์ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 40(3) ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มในอัตราร้อยละ 7 แต่กรณีมีเหตุอันควรผ่อนผันจึงลดเบี้ยปรับลงร้อยละ 50 คงให้โจทก์เสียภาษีพร้อมเบี้ยปรับและเงินเพิ่มรวมจำนวน 356,160.04 บาท ตามคำวินิจฉัยอุทธรณ์เอกสารหมาย

จ.1 แผ่นที่ 21 (ล.2 แผ่นที่ 8) โจทก์จึงอุทธรณ์ต่อศาลภาษีอากรกลางโดยฟ้องคดีนี้

ศาลภาษีอากรกลางพิพากษาเพิกถอนการประเมินของเจ้าพนักงานประเมินและคำวินิจฉัยอุทธรณ์ของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์

จำเลยอุทธรณ์ต่อศาลฎีกา

คำวินิจฉัยศาลฎีกา

คดีมีปัญหาวินิจฉัยตามอุทธรณ์ของ จำเลยว่า ยอดขายหรือรายรับของโจทก์ใน เดือนเมษายน 2539 จำนวน 2,261,333.63 บาท ที่โจทก์ได้รับจากบริษัทฮีโน่ มอเตอร์ส จำกัด ซึ่งเป็นนิติบุคคลที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายของต่างประเทศ มีสำนักงานอยู่ที่กรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น ตามสัญญาการจ้างงานในการผลิตโปรแกรม เอกสารหมาย จ.1 แผ่นที่ 7 ถึง 10 (คำแปลเอกสารหมาย จ.1 แผ่นที่ 11 ถึง 15 และ ล.1 แผ่นที่ 95 ถึง 99) เป็นค่าแห่งลิขสิทธิ์หรือสิทธิอย่างอื่นซึ่งต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม ในอัตราร้อยละ 7 ตามการประเมินของเจ้า- พนักงานประเมินและคำวินิจฉัยอุทธรณ์ของ คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์หรือไม่

พิเคราะห์แล้ว ที่จำเลยอุทธรณ์ว่า เงิน ดังกล่าวเป็นค่าตอบแทนที่โจทก์ได้รับจากการเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์อาจถือ ได้ว่าเป็นค่าขายเทคโนโลยีหรือค่าใช้เทคโนโลยี หรือเป็นการให้ใช้สิทธิในงานวรรณกรรม จึงถือเป็นค่าแห่ง-ลิขสิทธิ์หรือสิทธิอย่างอื่นตามประมวลรัษฎากร มาตรา 40(3) ไม่เข้าลักษณะการให้บริการที่ เสียภาษีมูลค่าเพิ่มในอัตราภาษีร้อยละ 0 ตามหนังสือตอบข้อหารือที่ กค 0811/พ.1501 ลงวันที่ 17 กุมภาพันธ์ 2542 นั้น

เห็นว่าแม้งานเขียนโปรแกรม คอมพิวเตอร์ที่โจทก์ทำให้แก่บริษัทฮิโน่มอเตอร์ จำกัด จะเป็นงานอันมีลิขสิทธิ์ซึ่งโจทก์ในฐานะผู้สร้างสรรค์เป็นผู้มีลิขสิทธิ์ใน งานดังกล่าว และอาจโอนลิขสิทธิ์ในงานดังกล่าวให้แก่บุคคลอื่นได้ ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 มาตรา 8 และมาตรา 17 แต่มาตรา 10 ของพระราช-บัญญัติดังกล่าวก็บัญญัติว่า "งานที่ผู้สร้างสรรค์ได้สร้างสรรค์ขึ้นโดยการรับจ้างบุคคลอื่นให้ผู้ว่าจ้างเป็นผู้มีลิขสิทธิ์ในงานนั้น เว้นแต่ผู้สร้างสรรค์และผู้ว่าจ้างจะได้ตกลงกันไว้เป็นอย่างอื่น"

ซึ่งหมายความ ว่า ในกรณีที่งานซึ่งมีลิขสิทธิ์ตามกฎหมายได้ถูกทำขึ้นโดยการว่าจ้างผู้ว่าจ้าง เป็น ผู้มีลิขสิทธิ์ในงานนั้นโดยผลของกฎหมาย ผู้รับจ้างซึ่งเป็นผู้สร้างสรรค์งานนั้นหามีลิขสิทธิ์ในงานนั้นไม่ เว้นแต่จะมีข้อตกลงกันระหว่างผู้ว่าจ้างกับผู้รับจ้างเป็นอย่างอื่น ผู้สร้างสรรค์งานจึงไม่จำต้องเป็นผู้มีลิขสิทธิ์ในงานที่ตนสร้างสรรค์ขึ้น เสมอ ส่วนผู้มีลิขสิทธิ์ก็อาจโดยการเป็นผู้ว่าจ้างไม่ใช่เป็นผู้สร้างสรรค์ด้วยตน เอง หรือไม่ใช่ผู้รับโอนสิทธิ หรือได้รับอนุญาตให้ใช้สิทธิจาก ผู้สร้างสรรค์หรือเจ้าของสิทธิเดิมก็ได้ จำเลย จึงยกเอาเหตุที่สัญญาการจ้างงานในการผลิตโปรแกรมระหว่างโจทก์กับบริษัทฮีโน่ มอเตอร์ส จำกัด ระบุให้บริษัทฮีโน่มอเตอร์ส จำกัด เป็นผู้มีลิขสิทธิ์ในโปรแกรมที่โจทก์เขียนขึ้นเพียงประการเดียวมาเป็นข้อ สรุปว่าสัญญาดังกล่าวเป็นกรณี ที่โจทก์ขายลิขสิทธิ์ในโปรแกรมที่โจทก์เขียนขึ้น ให้แก่บริษัทดังกล่าวหาได้ไม่

สำหรับการใช้อัตราภาษีร้อยละ 0 ในการคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่มนั้น ประมวลรัษฎากร มาตรา 80/1 บัญญัติว่า "ให้ใช้อัตราภาษีร้อยละ 0 ในการคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่มสำหรับการประกอบกิจการประเภทต่างๆ ดังต่อไปนี้

(1) ...

(2) การให้บริการที่กระทำในราชอาณาจักรและได้มีการใช้บริการนั้นในต่างประเทศตามประเภท หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่อธิบดีกำหนด

การให้บริการ..." และอธิบดีกรมสรรพากรได้กำหนดประเภท หลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขตามประกาศอธิบดีกรมสรรพากรเกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 15) เรื่องกำหนดประเภท หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข กรณีการให้บริการที่กระทำในราชอาณาจักรและได้มีการใช้บริการในต่างประเทศ ตามมาตรา 80/1 (2) แห่งประมวลรัษฎากร ลงวันที่ 27 ธันวาคม 2534 ความว่า "ข้อ 1 ต้องเป็นการให้บริการรับจ้างทำของให้กับผู้ประกอบการในต่างประเทศ โดยผู้ให้บริการจะต้องกระทำกิจการอันเป็นสาระสำคัญของการรับจ้างทำของใน ประเทศไทยและได้ส่งผลของการให้บริการรับจ้างทำของนั้นไปใช้ในต่างประเทศทั้ง หมด แต่ไม่รวมถึงการให้บริการจัดนำเที่ยวในต่างประเทศ

ข้อ 2 การให้บริการตามข้อ 1 ต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือ

ข้อ 3 ..."

เมื่อข้อเท็จจริงได้ความว่าสัญญา ระหว่างโจทก์กับบริษัทฮีโน่มอเตอร์ส จำกัด ได้ทำ เป็นหนังสือ โปรแกรมที่ผลิตตามสัญญาโจทก์ทำการผลิตในประเทศไทย โดยบริษัทดังกล่าวเป็นผู้กำหนดรูปแบบและรายละเอียดต่างๆ และโจทก์ส่งมอบโปรแกรมที่ผลิตให้แก่บริษัท ดังกล่าวซึ่งเป็นนิติบุคคลที่จดทะเบียนตามกฎหมายของต่างประเทศ มีสำนักงานอยู่ที่ กรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น กับไม่ปรากฏว่าได้มีการนำโปรแกรมดังกล่าวมาใช้ในประเทศไทย กรณีจึงต้องด้วยบทบัญญัติตามประมวลรัษฎากร มาตรา 80/1(2) และประกาศอธิบดีกรมสรรพากรเกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 15) เรื่อง กำหนดประเภท หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข กรณีการให้บริการที่กระทำในราชอาณาจักรและได้มีการใช้บริการนั้นในต่าง ประเทศ ตามมาตรา 80/1(2) แห่งประมวลรัษฎากร ลงวันที่ 27 ธันวาคม 2534 จึงต้องใช้อัตราภาษีร้อยละ 0 ในการคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่มสำหรับยอดขายหรือรายรับของโจทก์ที่ได้รับตามสัญญาดังกล่าว สำหรับ บันทึกข้อความตอบข้อหารือที่ กค 0811/พ.1501 ลงวันที่ 17 กุมภาพันธ์ 2542 เป็น เพียงความเห็นของเจ้าหน้าที่ของจำเลย และ ไม่ปรากฏเหตุผลประกอบความเห็นดังกล่าว แต่อย่างใด จึงรับฟังไม่ได้

ส่วนที่จำเลยอุทธรณ์ว่าโจทก์ไม่ได้นำ สืบพยานหลักฐานให้เห็นว่าโปรแกรมที่โจทก์ผลิตให้แก่บริษัทดังกล่าวไม่ได้มี การนำมาใช้ในประเทศไทยนั้น เมื่อข้อเท็จจริงได้ความว่าโจทก์ส่งมอบโปรแกรมที่ผลิตขึ้นให้แก่บริษัทดัง กล่าวในต่างประเทศ หากมีการนำโปรแกรมดังกล่าวมาใช้ในประเทศไทยย่อมเป็นหน้าที่ของจำเลยที่จะ ต้องนำสืบให้เห็นว่ามีข้อเท็จจริงเช่นว่านั้น หาใช่หน้าที่ของโจทก์ไม่ เพราะเป็นไปไม่ได้ที่จะให้โจทก์นำสืบถึงสิ่งที่ไม่มี เมื่อจำเลยไม่นำสืบให้ปรากฏความข้อนี้จึงรับฟังไม่ได้ ที่ศาลภาษีอากรกลางพิพากษามานั้น ศาลฎีกาแผนกคดีภาษีอากรเห็นพ้องด้วย อุทธรณ์ของจำเลยฟังไม่ขึ้น พิพากษายืน

ข้อคิดเห็น

อัตราภาษีมูลค่าเพิ่มนั้นตามปกติคือ อัตราร้อยละ 10 (ประมวลรัษฎากร มาตรา 80) แต่ ตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน 2542 คือวันที่ 30 กันยายน 2553 มีพระราชกฤษฎีกาหลายฉบับ ลดอัตราเหลือเพียงร้อยละ 7 ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2553 เป็นต้นไป ใช้อัตราร้อยละ 10 ตามปกติ เว้นแต่จะมีการขยายระยะเวลาออก ไปอีก อย่างไรก็ดี เพื่อเป็นการส่งเสริมการ ส่งออกจึงมีการใช้อัตราร้อยละ 0 สำหรับการ ส่งออกสินค้าและบริการไปต่างประเทศ (ประมวลรัษฎากร มาตรา 80/1)

การส่งออกบริการนั้นได้แก่ การให้บริการที่กระทำในราชอาณาจักรและได้มีการใช้บริการนั้นในต่างประเทศตาม ประเภท หลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขที่อธิบดีกรมสรรพากรกำหนด (ประมวลรัษฎากร มาตรา 80/1(2)) ขอให้สังเกตว่าการส่งออกบริการที่ผู้ส่งออกจะได้รับสิทธิ เสียภาษีในอัตราร้อยละ 0 ต้องเป็นการส่งออกบริการตามประเภทที่อธิบดีกรมสรรพากรกำหนด ซึ่งตามประกาศอธิบดีกรมสรรพากรเกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 15) ลงวันที่ 27 ธันวาคม 2534 ได้กำหนดให้เฉพาะการรับจ้างทำของเป็นการบริการที่ส่งออกแล้วได้รับสิทธิเสีย ภาษีในอัตราร้อยละ 0 เท่านั้น การส่งออกบริการประเภทอื่น เช่น การที่เจ้าของลิขสิทธิ์ในประเทศไทยอนุญาตให้บริษัทในประเทศอื่นใช้งานอันมี ลิขสิทธิ์ของตนจึงไม่ได้รับสิทธิเสียภาษีในอัตราร้อยละ 0

คดีนี้โจทก์รับจ้างเขียนโปรแกรม คอมพิวเตอร์ให้แก่บริษัท ฮ. ซึ่งเป็นนิติบุคคล ที่จดทะเบียนในประเทศญี่ปุ่นและมีสำนักงานอยู่ที่ประเทศญี่ปุ่น โดยไม่มีข้อตกลงว่างานอันมีลิขสิทธิ์ดังกล่าวให้ตกเป็นของโจทก์ซึ่งเป็น ผู้สร้างสรรค์ แต่อนุญาตให้ใช้บริษัท ฮ. ใช้งานอันมีลิขสิทธิ์ดังกล่าวจึงตกเป็นของบริษัท ฮ. ผู้ว่าจ้างตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537 มาตรา 10 ที่บัญญัติว่า "งานที่ผู้สร้างสรรค์ได้สร้างสรรค์ขึ้นโดยการรับจ้างบุคคลอื่นให้ผู้ว่าจ้าง เป็นผู้มีลิขสิทธิ์ในงานนั้น เว้นแต่ผู้สร้างสรรค์และผู้ว่าจ้างจะได้ตกลงกันไว้เป็นอย่างอื่น" ฉะนั้น เงินค่าตอบแทนที่โจทก์ได้รับจากบริษัท ฮ. จึงเป็นเงินค่าจ้างทำของ ไม่ใช่ค่าแห่งลิขสิทธิ์ โจทก์จึงได้รับสิทธิเสียภาษีในอัตราร้อยละ 0 ตามมาตรา 80/1(2) ประกอบประกาศอธิบดี กรมสรรพากรเกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 15) ลงวันที่ 27 ธันวาคม 2534

ประกาศอธิบดีกรมสรรพากรฉบับดังกล่าว ได้ถูกยกเลิกโดยประกาศอธิบดีกรมสรรพากรเกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 105) ลงวันที่ 12 กรกฎาคม 2543 มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 สิงหาคม 2543 เป็นต้นไป ตามประกาศฉบับใหม่นี้ ข้อ 2 ระบุว่า "กำหนดให้การประกอบกิจการดังต่อไปนี้เป็นการให้บริการที่กระทำ ในราชอาณาจักร และได้มีการใช้บริการนั้นในต่างประเทศตามมาตรา 80/1(2) แห่งประมวล-รัษฎากร

(1) การให้บริการที่กระทำในราชอาณาจักรแก่ผู้รับบริการในต่างประเทศ และได้ส่งผลของการให้บริการนั้นไปใช้ในต่างประเทศทั้งหมด

การให้บริการตามวรรคหนึ่งหมายความว่า การกระทำใดๆ อันอาจหาประโยชน์อันมีมูลค่า ซึ่งมิใช่เป็นการขายสินค้า แต่ไม่รวมถึงการให้บริการจัดนำเที่ยวในต่างประเทศ"

ตามประกาศฉบับใหม่การส่งออกบริการทุก ประเภทยกเว้นการให้บริการจัดนำเที่ยวในต่างประเทศจึงได้รับสิทธิเสียภาษีใน อัตราร้อยละ 0 ต่างกับประกาศฉบับเดิมที่จำกัดเฉพาะการ ให้บริการรับจ้างทำของให้แก่ผู้ว่าจ้างในต่างประเทศเท่านั้นที่ถือเป็นการ ส่งออกบริการอัน จะได้รับสิทธิเสียภาษีในอัตราร้อยละ 0

การให้บริการนั้นหมายความว่า การกระทำใดๆ อันอาจหาประโยชน์อันมีมูลค่าซึ่งมิใช่เป็น การขายสินค้า ซึ่งคำว่า "สินค้า" นั้น ประมวล-รัษฎากร มาตรา 77/1(9) ให้หมายความว่า "ทรัพย์สินที่มีรูปร่างและไม่มีรูปร่างที่อาจมีราคาและถือเอาได้ไม่ว่าจะมี ไว้เพื่อขาย เพื่อใช้หรือเพื่อการใดๆ และให้หมายความรวมถึงสิ่งของ ทุกชนิดที่นำเข้า"

ในกรณีของทรัพย์สินทางปัญญา (Intellectual Property ) หากเป็นกรณีที่เจ้าของทรัพย์สินทางปัญญาได้โอนขายทรัพย์สินทางปัญญาของตนให้ แก่บุคคลอื่นย่อมถือเป็นการขายสินค้าไม่มีรูปร่าง เช่น การโอนขายลิขสิทธิ์ให้แก่บุคคลอื่นย่อมถือเป็นการขายสินค้าไม่มี รูปร่าง ไม่ใช่การให้บริการ หากเป็นการโอนขายให้บุคคลอื่นในต่างประเทศ ย่อมถือเป็นการ ส่งออกสินค้า ได้รับสิทธิเสียภาษีในอัตราร้อยละ 0 ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 80/1(1) แต่ถ้าเป็นกรณีเจ้าของทรัพย์สินทางปัญญาอนุญาตให้บุคคลอื่นได้ใช้ทรัพย์สิน ทางปัญญาของตน เช่น อนุญาตให้ใช้ลิขสิทธิ์ (Copyright Licensing Agreement) ไม่ถือเป็นการขายสินค้าไม่มีรูปร่าง แต่ถือเป็นการให้บริการอย่างหนึ่ง กรณีที่เจ้าของทรัพย์สินทางปัญญาในประเทศไทยอนุญาต ให้บุคคลอื่นในต่างประเทศได้ใช้ทรัพย์สิน- ทางปัญญาของตนจึงเป็นการส่งออกบริการตามมาตรา 80/1(2) ได้รับสิทธิเสียภาษีในอัตรา ร้อยละ 0 เช่นเดียวกัน ฉะนั้น ในปัจจุบันไม่ว่า จะเป็นการโอนขายทรัพย์สินทางปัญญาให้แก่ ผู้ซื้อในต่างประเทศ การอนุญาตให้บุคคลอื่น ในต่างประเทศได้ใช้ทรัพย์สินทางปัญญา หรือการรับจ้างบุคคลอื่นในต่างประเทศสร้างสรรค์ทรัพย์สินทางปัญญา เช่น การรับจ้างเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ แล้วส่งไปให้บุคคลนั้นในต่างประเทศ ย่อมถือเป็นการส่งออกอันจะได้ รับสิทธิเสียภาษีในอัตราร้อยละ 0 ดังนั้น คดีนี้ถ้าเกิดขึ้นในปัจจุบันกรมสรรพากรน่าจะไม่โต้แย้งว่าค่าตอบแทนนั้นเป็น ค่าแห่งลิขสิทธิ์เหมือนกับที่ โต้แย้งในคดีนี้

ที่มา..http://www.sanpakornsarn.com/page_article_detail.php?aID=204

สรรพากรขู่ลงดาบสำนักงานบัญชีช่วยเลี่ยงภาษี

กรมสรรพากรบี้สำนักงานทั่วประเทศ จัดเก็บภาษีปี"53 ตามเป้า พร้อมจัดกลุ่มอุตสาหกรรมที่มีความเสี่ยงเลี่ยงภาษี ขู่ลงดาบสำนักงานบัญชีช่วยหลบเลี่ยง

นายวินัย  วิทวัสการเวช  อธิบดีกรมสรรพากร  เปิดเผยว่า การจัดเก็บภาษีสิ้นปีงบประมาณ  2552  ในช่วงเดือนกันยายนที่ผ่านมามียอดจัดเก็บ  1.24  ล้านล้านบาท  ต่ำกว่าเป้าหมายที่ตั้งเป้าไว้ที่  1.32  ล้านล้านบาท  อย่างไรก็ตาม คาดว่างบประมาณปี  2553  น่าจะทำได้ตามเป้าหมาย  เนื่องจากภาวะเศรษฐกิจเริ่มดีขึ้น  อีกทั้งกรมสรรพากรจะเข้มงวดการจัดเก็บภาษีสำหรับผู้มีหน้าที่เสียภาษี

โดยในวันพรุ่งนี้ (13 ต.ค.)  จะมอบนโยบายให้เจ้าหน้าที่สรรพากรทั่วประเทศที่จังหวัดพิษณุโลก เพื่อจัดกลุ่มอุตสาหกรรมที่มีความเสี่ยงในการหลีกเลี่ยงภาษี  รวมถึงสำนักงานบัญชี  ซึ่งเป็นผู้จัดทำบัญชีให้กับบริษัทเอกชนโดยเฉพาะการเสียภาษี  เพื่อป้องกันการหลีกเลี่ยงภาษีและเสียภาษีให้ครบถ้วน  หากสำนักงานบัญชีใดช่วยเหลือหลีกเลี่ยงภาษีก็จะมีความผิดเกี่ยวกับการเป็นผู้ร่วมกระทำความผิดหลีกเลี่ยงภาษี

นอกจากนี้   ยังเตรียมแบ่งเกรดสำนักงานบัญชี  เพื่อให้เกิดความชัดเจนมากขึ้นเหมือนกรมศุลกากร  ซึ่งได้จัดเกรดผู้ประกอบการดีเด่นจะได้รับการอำนวยความสะดวกต่อการนำเข้า -ส่งออกสินค้าอย่างรวดเร็ว  รวมถึงการพิจารณาผู้ประกอบการที่ต้องเสียภาษีให้ถูกต้อง  มีการแจ้งยอดบัญชีตรงกับการดำเนินธุรกิจ  เช่น  การประกอบธุรกิจก่อสร้าง  ต้นทุนการก่อสร้าง  การจัดซื้อวัตถุดิบและค่าแรงต่าง ๆ จะต้องมีสัดส่วนสูงที่สุดไม่ใช่นำค่าใช้จ่ายส่วนอื่น เช่น บางรายมีต้นทุนน้ำมันสูงถึง 70%  จึงเป็นสิ่งที่ไม่ถูกต้องต่อการดำเนินธุรกิจ  และเห็นว่าธุรกิจที่เกี่ยวเนื่องกับโครงการกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาล  เช่น กลุ่มก่อสร้างจะได้รับประโยชน์และมีรายได้สูงขึ้น  โดยต้องมีการเสียภาษีอย่างถูกต้องก็จะเข้าไปดูกลุ่มดังกล่าวด้วย

ที่มา..กรุงเทพธุรกิจ ออนไลน์

ภาษีอากรสำหรับกิจการตัวแทนประกันชีวิต และนายหน้าประกันชีวิต

กรมสรรพากรได้วางแนวทางปฏิบัติในการตรวจสอบ และแนะนำเกี่ยวกับการเสียภาษีเงินได้ และภาษีมูลค่าเพิ่ม

สำหรับ กิจการตัวแทนประกันชีวิตและนายหน้าประกันชีวิต ตามคำสั่งกรมสรรพากรที่ ป. 115/2545 ซึ่งต่อเนื่องกับเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 (2) แห่งประมวลรัษฎากร จึงขอนำมาเป็นประเด็นปุจฉา-วิสัชนา ดังต่อไปนี้

ปุจฉา ตัวแทนหรือนายหน้าหรือหัวหน้าตัวแทนที่เป็นบุคคลธรรมดามีหน้าที่เสียภาษีอย่างไร

วิสัชนา กรณีตัวแทนหรือนายหน้าหรือหัวหน้าตัวแทน เป็นบุคคลธรรมดามีหน้าที่ต้องเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาดังนี้
1. ค่าตอบแทนที่ตัวแทนหรือนายหน้าหรือหัวหน้าตัวแทน ได้รับจากบริษัทประกันชีวิตหรือบุคคลใดๆ เข้าลักษณะเป็นเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 (2) แห่งประมวลรัษฎากร

2. ในการคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาให้มีสิทธิหักค่าใช้จ่ายเป็นการเหมาได้ อย่างเดียวในอัตราร้อยละ 40 ของค่าตอบแทนที่ได้รับ แต่ไม่เกิน 60,000 บาท และในกรณีที่ตัวแทนหรือนายหน้าหรือหัวหน้าตัวแทนได้รับเงินได้ตามมาตรา 40 (1) แห่งประมวลรัษฎากร จากนายจ้างอื่นด้วย ให้หักค่าใช้จ่ายสำหรับเงินได้ตามมาตรา 40 (1) และมาตรา 40 (2) แห่งประมวลรัษฎากร เป็นการเหมาได้อย่างเดียวในอัตราร้อยละ 40 ของเงินได้ที่ได้รับ แต่รวมกันต้องไม่เกิน 60,000 บาท

3. ตัวแทนหรือนายหน้าหรือหัวหน้าตัวแทนซึ่งมีเงินได้ดังกล่าว ต้องยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา (ภ.ง.ด. 90) ภายในเดือนมีนาคมของปีถัดจากปีภาษีที่ได้รับเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 56 แห่งประมวลรัษฎากร ทั้งนี้ ในกรณีผู้มีเงินได้เป็นฝ่ายภริยา และได้อยู่ร่วมกันกับสามีตลอดปีภาษีในปีที่มีเงินได้ ให้ถือเอาเงินได้ดังกล่าวเป็นเงินได้ของสามี และให้สามีมีหน้าที่และความรับผิดในการยื่นรายการและเสียภาษี ตามมาตรา 57 ตรี แห่งประมวลรัษฎากร

ปุจฉา ค่าตอบแทนที่ตัวแทนหรือนายหน้าหรือหัวหน้าตัวแทนได้รับจากบริษัทประกันชีวิต เข้าลักษณะเป็นเงินได้ตามมาตรา 40 (8) แห่งประมวลรัษฎากร ได้หรือไม่ อย่างไร

วิสัชนา กรณีตัวแทนหรือนายหน้าหรือหัวหน้าตัวแทน มีหลักฐานในการประกอบกิจการให้เห็นได้อย่างชัดแจ้ง ว่า ได้ประกอบกิจการในรูปแบบของการทำธุรกิจ และสามารถพิสูจน์รายจ่ายในการประกอบกิจการได้ ซึ่งมีลักษณะการประกอบกิจการดังนี้ ถือเป็นเงินได้ตามมาตรา 40 (8) แห่งประมวลรัษฎากร

1. ได้จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มเป็นผู้ประกอบการจดทะเบียนและ

2. ได้จัดตั้งเป็นสำนักงานในการประกอบกิจการ โดยมีอาคารสำนักงานเป็นกรรมสิทธิ์ของตนเอง หรือเช่าจากบุคคลอื่น โดยมีหลักฐาน เช่น หลักฐานการได้มาซึ่งกรรมสิทธิ์ สัญญาเช่าสำนักงาน และ

3. มีการลงทุนด้วยการจัดหาเครื่องมือเครื่องใช้ มีค่าใช้จ่ายสำนักงาน และ

4. มีการจ้างลูกจ้างหรือพนักงานในการประกอบกิจการ โดยมีหลักฐานตามสัญญาจ้างแรงงาน หลักฐานการจ่ายเงินเข้ากองทุนประกันสังคมตามกฎหมายว่าด้วยการประกันสังคม และหลักฐานการแสดงการหักภาษี ณ ที่จ่าย และนำส่ง ในกรณีการคำนวณภาษีหัก ณ ที่จ่าย ไม่มีภาษีที่ต้องหัก ณ ที่จ่ายและนำส่ง จะต้องมีหลักฐานเกี่ยวกับการยื่นรายการเกี่ยวกับค่าจ้างแรงงานตามแบบ ภ.ง.ด. 1 ก.

5. มีค่าใช้จ่ายในการประกอบกิจการ เช่น ค่ารับรอง หรือค่าบริการเพื่อประโยชน์ในการติดต่องานกับลูกค้า และ

6. มีหนังสือรับรองจากบริษัทประกันชีวิตว่าไม่มีการจ่ายเงินชดเชยหรือออกค่าใช้จ่ายแทนให้

ในการคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาให้หักค่าใช้จ่ายได้ตามความจำเป็นและ สมควร โดยให้นำมาตรา 65 ทวิ และมาตรา 65 ตรี มาใช้บังคับโดยอนุโลม ทั้งนี้ หากตัวแทนหรือนายหน้าหรือหัวหน้าตัวแทนไม่สามารถพิสูจน์รายจ่าย และไม่มีหลักฐานในการประกอบกิจการตามวรรคหนึ่ง เงินค่าตอบแทนที่ได้รับจากบริษัทประกันชีวิตเข้าลักษณะเป็นเงินได้ตามมาตรา 40 (2) แห่งประมวลรัษฎากร

ตัวแทนหรือนายหน้าหรือหัวหน้าตัวแทนดังกล่าว ต้องยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาและชำระภาษี ดังนี้

1. ค่าตอบแทนที่ได้รับตั้งแต่เดือนมกราคมถึงเดือนมิถุนายน ให้ยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาพร้อมกับชำระภาษีภายในเดือน กันยายนของทุกปีภาษี ทั้งนี้ ตามมาตรา 56 ทวิ แห่งประมวลรัษฎากร

2. ค่าตอบแทนที่ได้รับตั้งแต่เดือนมกราคมถึงเดือนธันวาคม ให้ยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาพร้อมกับชำระภาษีภายในเดือน มีนาคมของปีถัดไป โดยให้นำภาษีที่ชำระไว้แล้วตาม (ก) มาเป็นเครดิตหักออกจากภาษีที่ต้องชำระได้ ทั้งนี้ ในกรณีผู้มีเงินได้เป็นฝ่ายภริยาและได้อยู่ร่วมกันกับสามีตลอดปีภาษีในปีที่ มีเงินได้ ให้ถือเอาเงินได้ดังกล่าวเป็นเงินได้ของสามี และให้สามีมีหน้าที่และความรับผิดในการยื่นรายการและเสียภาษี ตามมาตรา 57 ตรี แห่งประมวลรัษฎากร

ปุจฉา กรมสรรพากรมีแนวทางปฏิบัติอย่างไร เกี่ยวกับกรณีตัวแทนหรือนายหน้าหรือหัวหน้าตัวแทน ซึ่งได้มีการรวมกับบุคคลอื่นในลักษณะเป็นกลุ่มหรือทีมหรือในลักษณะทำนอง เดียวกันในการหาผู้เอาประกันชีวิต โดยตัวแทนหรือนายหน้าหรือหัวหน้าตัวแทนต้องได้รับค่าตอบแทนในการทำหน้าที่ เป็นตัวแทนหรือนายหน้าเพียงคนเดียว แต่ปรากฏหลักฐานว่าให้มีการรับเงินค่าตอบแทนในชื่อบุคคลอื่น ไม่ว่าบุคคลอื่นจะได้รับค่าตอบแทนจริงหรือไม่

วิสัชนา กรณีนี้ให้ถือว่า ค่าตอบแทนดังกล่าวเป็นเงินได้ของตัวแทนหรือนายหน้าหรือหัวหน้าตัวแทนนั้นทั้งจำนวน

ขอนำประเด็นการเสียภาษีเงินได้ และภาษีมูลค่าเพิ่ม สำหรับกิจการตัวแทนประกันชีวิตและนายหน้าประกันชีวิตตามคำสั่งกรมสรรพากรที่ ป. 115/2545

มาปุจฉา - วิสัชนา ต่อจากสัปดาห์ก่อนดังนี้

 

ปุจฉา คำว่า “ตัวแทน” “นายหน้า” และ “หัวหน้าตัวแทน” หมายความว่าอย่างไร

วิสัชนา คำว่า “ตัวแทน” หมายความว่า ตัวแทนประกันชีวิตตามกฎหมายว่าด้วยการประกันชีวิต รวมทั้งบุคคลซึ่งทำหน้าที่งานลักษณะทำนองเดียวกับตัวแทนประกันชีวิตให้แก่ บุคคลใดๆ

คำว่า “นายหน้า” หมายความว่า นายหน้าประกันชีวิตตามกฎหมายว่าด้วยการประกันชีวิต และหมายความรวมถึงบุคคลที่ทำหน้าที่งานลักษณะทำนองเดียวกับนายหน้าประกัน ชีวิตให้แก่บุคคลใดๆ

คำว่า “หัวหน้าตัวแทน” หมายความว่า บุคคลซึ่งมีข้อตกลงหรือข้อผูกพันกับบริษัทประกันชีวิตให้ทำหน้าที่ในฐานะผู้ นำกลุ่มซึ่งมีหน้าที่ให้คำแนะนำ ให้ความช่วยเหลือ ให้คำปรึกษา หรือด้วยประการอื่นใด แก่ตัวแทนที่อยู่ในกลุ่มหรืออยู่ในทีมหรือในลักษณะทำนองเดียวกับกลุ่ม หรือทีม ไม่ว่าจะเรียกว่าเป็นผู้จัดการ หัวหน้ากลุ่ม หัวหน้าเขต หรือหัวหน้าภาค หรือเรียกเป็นอย่างอื่นในลักษณะทำนองเดียวกัน โดยจะได้รับค่าตอบแทนจากบริษัทประกันชีวิต

ปุจฉา คำว่า “ค่าตอบแทน”  หมายความว่าอย่างไร

วิสัชนา คำว่า “ค่าตอบแทน”  หมายความว่า เงิน ทรัพย์สิน หรือประโยชน์อย่างอื่นที่คำนวณได้เป็นเงิน รวมทั้งค่าภาษีอากรที่ผู้จ่ายเงินหรือผู้อื่นออกแทนให้ ทั้งนี้ ไม่ว่าจะเรียกว่าเป็นค่าบำเหน็จ ค่าธรรมเนียม ส่วนลด รางวัล โบนัส หรือเรียกเป็นอย่างอื่นที่ตัวแทนหรือนายหน้าหรือหัวหน้าตัวแทนได้รับเนื่อง จากการเป็นตัวแทนหรือนายหน้าหรือหัวหน้าตัวแทน เช่น

ตัวแทนหรือนายหน้าหรือหัวหน้าตัวแทนได้รับประโยชน์จากการที่บริษัทประกัน ชีวิตได้ให้ไปท่องเที่ยวในต่างประเทศ หรือไปสัมมนาที่ต่างประเทศ มูลค่าของประโยชน์ที่ตัวแทนหรือนายหน้าหรือหัวหน้าตัวแทนได้รับจากการไปท่อง เที่ยวหรือสัมมนาในต่างประเทศดังกล่าว ถือเป็นค่าตอบแทนที่ตัวแทนหรือนายหน้าหรือหัวหน้าตัวแทนได้รับจากบริษัท ประกันชีวิตที่ต้องนำมารวมคำนวณเสียภาษีด้วย

บริษัทประกันชีวิตมีนโยบายให้รางวัลแก่ตัวแทนประกันชีวิต หรือนายหน้าประกันชีวิตหรือหัวหน้าตัวแทน ที่ทำผลงานได้ดีเด่น หรือทำรายได้ได้ตามเป้า ตามหลักเกณฑ์ที่บริษัทประกันชีวิตกำหนดไว้ โดยให้รางวัลเป็นเงินหรือทรัพย์สิน รางวัลดังกล่าวย่อมถือเป็นค่า ตอบแทนของตัวแทนหรือนายหน้าหรือหัวหน้าตัวแทนที่ได้รับจากบริษัทประกันชีวิต ซึ่งต้องนำมารวมคำนวณเสียภาษีด้วย
ปุจฉา ตัวแทนหรือนายหน้าหรือหัวหน้าตัวแทนที่เป็นบุคคลธรรมดาต้องมีหน้าที่เสียภาษี มูลค่าเพิ่มหรือไม่ อย่างไร
วิสัชนา การให้บริการของตัวแทนหรือนายหน้าหรือหัวหน้าตัวแทนแก่บริษัทประกันชีวิต หรือบุคคลใดๆ เข้าลักษณะเป็นการให้บริการตามมาตรา 77/1 (10) แห่งประมวลรัษฎากร จึงอยู่ในบังคับต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มตามมาตรา 77/2 (1) แห่งประมวลรัษฎากร โดยต้องนำรายรับซึ่งเป็นค่าตอบแทนที่ได้รับมารวมคำนวณเป็นมูลค่าของฐานภาษีเพื่อเสียภาษีมูลค่าเพิ่มดังนี้

1. กรณีตัวแทนหรือนายหน้าหรือหัวหน้าตัวแทนมีรายรับไม่เกิน 1,800,000 บาทต่อปี ย่อมได้รับยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่มตาม มาตรา 81/1 แห่งประมวลรัษฎากร ประกอบกับมาตรา 4 แห่งพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการกำหนดมูลค่าของฐานภาษีของกิจการขนาดย่อม ซึ่งได้รับยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 432) พ.ศ.2548 จึงไม่ต้องจดทะเบียนและเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม

หากตัวแทนหรือนายหน้าหรือหัวหน้าตัวแทนดังกล่าว ประสงค์จะเสียภาษีมูลค่าเพิ่มก็ให้กระทำได้โดยให้แจ้งต่ออธิบดีกรมสรรพากรเพื่อขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มและเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม และยื่นคำขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มภายใน 30 วันนับแต่วันที่ได้แจ้งต่ออธิบดีกรมสรรพากร ตามมาตรา 81/3 (2) และมาตรา 85/1 (2) แห่งประมวลรัษฎากร

2. กรณีตัวแทนหรือนายหน้าหรือหัวหน้าตัวแทนมีรายรับเกิน 1,800,000 บาทต่อปี ตัวแทนหรือนายหน้าหรือหัวหน้าตัวแทนมีหน้าที่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม และจะต้องจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มภายใน 30 วันนับแต่วันที่มีรายรับเกิน 1,800,000 บาทต่อปี ตามมาตรา 85/1 (1) แห่งประมวลรัษฎากร

ปุจฉา มีแนวทางปฏิบัติเกี่ยวกับการหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย โดยรวมอย่างไร

วิสัชนา บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลหรือบุคคลใดๆ ซึ่งเป็นผู้จ่ายค่าตอบแทนให้แก่ตัวแทนหรือนายหน้าหรือหัวหน้าตัวแทน ผู้จ่ายมีหน้าที่หักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย และต้องนำส่งภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย ต่อกรมสรรพากรภายในเวลาที่กฎหมายกำหนด

ในการหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย สำหรับค่าตอบแทนที่จ่ายให้แก่ตัวแทนหรือนายหน้าหรือหัวหน้าตัวแทนที่มีการ รวมกลุ่มกับบุคคลอื่นในลักษณะรวมกันเป็นทีมหรือกลุ่มหรือในลักษณะทำนองเดียว กันในการหาผู้เอาประกันชีวิต โดยผู้จ่ายต้องจ่ายค่าตอบแทนให้แก่ตัวแทนหรือนายหน้าหรือหัวหน้าตัวแทนซึ่ง ทำหน้าที่เป็นตัวแทนหรือนายหน้าเพียงคนเดียว แต่ปรากฏหลักฐานว่าให้มีการรับเงินค่าตอบแทนในชื่อบุคคลอื่น ไม่ว่าบุคคลอื่นจะได้รับค่าตอบแทนจริงหรือไม่ ให้ถือว่าการจ่ายค่าตอบแทนดังกล่าว เป็นการจ่ายให้แก่ตัวแทนหรือนายหน้าหรือหัวหน้าตัวแทนนั้นทั้งจำนวน เช่น นาย ก. เป็นตัวแทนประกันชีวิต ได้ทำหน้าที่เป็นตัวแทนประกันชีวิตตามกรมธรรม์ที่นาย ก. เป็นตัวแทนในการหาประกันชีวิตแต่เพียงผู้เดียว แต่ได้มีการจ่ายค่าตอบแทนในชื่อของบุคคลอื่นที่อยู่ในกลุ่มหรือทีมในการหา ประกันชีวิตของนาย ก. ด้วย ถือได้ว่าเป็นการจ่ายค่าตอบแทนให้นาย ก. เพียงคนเดียว

 

ที่มา..กรุงเทพธุรกิจออนไลน์

การกำหนดสัญชาติของนิติบุคคล

การกำหนดสัญชาติของนิติบุคคล

ในการกำหนดสัญชาติ หากเป็นบุคคลธรรมดา อาจระบุได้ง่ายโดยสัญชาติของบุคคลธรรมดาอาจระบุได้จากสายโลหิตหรือดินแดนที่เกิด แต่นิติบุคคลเป็นบุคคลที่ได้รับการรับรองให้มีตัวตนตามกฎหมาย การเกิดขึ้นของ นิติบุคคลจะตั้งขึ้นโดยกฎหมายของแต่ละประเทศ ในดินแดนของแต่ละประเทศ และตั้งขึ้นโดยคนของแต่ละประเทศ เช่น บริษัท กขค จำกัด จดทะเบียนจัดตั้งตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มีสำนักงานแห่งใหญ่อยู่ในประเทศไทย และมีแต่บุคคลผู้มีสัญชาติไทยเป็นผู้รวมตัวกันก่อตั้งบริษัท ดังนั้น บริษัท กขค จำกัด จึงเป็นบริษัทที่มีสัญชาติไทยโดยไม่มีข้อสงสัย ในปัจจุบันมีการก่อตั้งนิติบุคคลที่เรียกกันว่า “บริษัทข้ามชาติ” (Transnational Corporation) ตัวอย่างเช่น บริษัท เอบีซี จำกัด จดทะเบียนจัดตั้งตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มีสำนักงานแห่งใหญ่อยู่ในประเทศไทย แต่มีบุคคลสัญชาติสิงคโปร์ทั้งหมดเป็นผู้ถือหุ้น หรือบริษัท ดีอีเอฟ จำกัด จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายอังกฤษ มีสำนักงานแห่งใหญ่อยู่ในประเทศฝรั่งเศส และมีบุคคลสัญชาติญี่ปุ่นเป็นผู้ถือหุ้นทั้งหมด ได้เข้ามาลงทุนในประเทศไทย เช่นนี้คงเป็นเรื่องยากที่จะระบุสัญชาติของนิติบุคคลนี้ให้ได้อย่างชัดเจนว่าเป็นนิติบุคคลสัญชาติใด

รศ.ดร.พันธุ์ทิพย์ กาญจนะจิตรา สายสุนทร อาจารย์ประจำคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ได้ให้คำอธิบายในเรื่องดังกล่าวว่า “นิติบุคคลเป็นสิ่งที่กฎหมายก่อตั้งขึ้น และรับรองให้มีตัวตนทางกฎหมาย ความเป็นนิติบุคคลจึงขึ้นอยู่กับข้อเท็จจริงที่เป็นสาระสำคัญที่เป็นสารัตถะของนิติบุคคล กล่าวคือ

(1) บุคคลทางกฎหมายที่มารวมตัวกันเพื่อกระทำการอย่างใดอย่างหนึ่งร่วมกัน อาทิ นิติบุคคลในรูปของบริษัทก็จะ ต้องมีผู้ถือหุ้น นิติบุคคลในรูปของสมาคมก็จะต้องมีสมาชิก (Groupement of Member)

(2) ที่ทำการหรือสำนักงานในการกระทำร่วมกันและในการกำหนดเจตนาของนิติบุคคล (Head Office)

(3) กฎหมายรับรองสภาพความเป็นบุคคลทางกฎหมายของนิติบุคคลนั้น (Incorporating Law) แต่ อย่างไรก็ตามปัญหาที่เกิดขึ้นเพราะข้อเท็จจริงทั้งสามอาจตกอยู่ภายใต้อำนาจ อธิปไตยของรัฐที่แตกต่างกัน จึงต้องเลือกว่าข้อเท็จจริงใดในข้อเท็จจริงทั้งสามที่เป็นตัวชี้ความ สัมพันธ์ที่เข้มข้นที่สุดระหว่างรัฐและนิติบุคคล”

“ในวิชานิติศาสตร์เป็นหลักทั่วไปที่รัฐหนึ่งๆ จะไม่ปฏิเสธสิ่งที่มีจุดกำเนิดจากกฎหมายของตน เพราะการปฏิเสธดังกล่าวจะหมายความว่ารัฐนั้นปฏิเสธความศักดิ์สิทธิ์ของกฎหมายของตนเอง ดังนั้นในทางปฏิบัติรัฐจะไม่ปฏิเสธที่จะยอมรับว่านิติบุคคลที่ก่อตั้งสภาพบุคคลตามกฎหมายของตน (Incorporation) ย่อมมีสัญชาติของตนในความหมายทั่วไป อย่างไรก็ตามนักนิติศาสตร์ไทยอีกกลุ่มหนึ่งก็พยายามอธิบายว่า นิติบุคคลผู้มีสัญชาติไทยจะต้องมีสำนักงานแห่งใหญ่ตั้งอยู่ในประเทศไทย ส่วนนักนิติศาสตร์อีกกลุ่มหนึ่งพยายามหาทางประนีประนอมโดยการอธิบายว่าสัญชาติของนิติบุคคลย่อมเป็นไปตามข้อเท็จจริงทั้งสองประการ กล่าวคือนิติบุคคล ย่อมมีสัญชาติของทั้งเจ้าของประเทศของกฎหมายที่ก่อตั้งสภาพนิติบุคคลและ ประเทศเจ้าของถิ่นที่ตั้งสำนักงานแห่งใหญ่ของนิติบุคคล แต่สำหรับแนวคำพิพากษาฎีกายืนยันอย่างชัดเจนว่า ประเทศเจ้าของกฎหมายที่ก่อตั้งสภาพนิติบุคคลย่อมเป็นเจ้าของสัญชาติของนิติบุคคลนั้น เช่น คำพิพากษาฎีกาที่ 1318/2513 ศาลฎีกาเห็นว่า บริษัทหลุยส์ ที เลียวโนเวนส์ จำกัด ซึ่งจดทะเบียนตามกฎหมายอังกฤษ จึงมีสัญชาติอังกฤษ คำพิพากษาฎีกาที่ 3401/2529 ศาลฎีกาเห็นว่า บริษัท คัมป์สกิปแซสกาเบ็ทอาฟ 1912 อัคคีแซลสกาป จำกัดเป็นนิติบุคคลตามกฎหมายเดนมาร์ก ซึ่งมีสำนักงานแห่งใหญ่ตั้งอยู่ที่เมืองโคเปนเฮเกน ประเทศเดนมาร์กจึงมี สัญชาติเดนมาร์ก หรือ คำพิพากษาฎีกาที่ 2466/2523 ศาลฎีกาเห็นว่าบริษัท เซ็นทรัลออโตโมทีฟโปรดักส์ จำกัด ตั้งขึ้นตามกฎหมายญี่ปุ่น จึงมีสัญชาติญี่ปุ่น เป็นต้น กล่าวโดยสรุปศาลไทยจึงมีแนวความคิดที่ว่าบริษัทที่มิได้จดทะเบียนก่อตั้งนิติบุคคลตามกฎหมายไทย จึงไม่มีสัญชาติไทย และเป็นเพียงนิติบุคคลต่างด้าวในประเทศไทย

การ ยอมรับของศาลไทยในแนวทางนี้เป็นสิ่งที่สมเหตุสมผล เพราะเมื่อหากนิติบุคคลนี้เกิดขึ้นจากกฎหมายไทย การจะปฏิเสธความเป็นไทยของนิติบุคคลนั้น เท่ากับเป็นการปฏิเสธความมีผลของกฎหมายไทยนั่นเอง ”

ข้อเท็จจริงที่ชี้ว่านิติบุคคลมีสัญชาติไทย

“ในประเทศไทยไม่มีกฎหมายที่เป็นลายลักษณ์อักษรในเรื่องสัญชาติของนิติบุคคล กฎหมายไทยที่เป็นลายลักษณ์อักษรในเรื่องสัญชาติของนิติบุคคลเป็นเพียงกฎหมายพิเศษ กล่าวคือไม่นำมาใช้โดยทั่วไป แต่ จะใช้เมื่อเกิดมีสถานการณ์พิเศษตามข้อกำหนดของกฎหมายเท่านั้น ในสถานการณ์ทั่วไป ถ้านิติบุคคลหนึ่งจดทะเบียนก่อตั้งนิติบุคคลตามกฎหมายไทย แม้จะมีสำนักงานแห่งใหญ่ที่แท้จริงตั้งอยู่ในต่างประเทศหรือ แม้ว่าผู้เป็นสมาชิกของนิติบุคคลจะเป็นผู้ไม่มีสัญชาติไทย นิติบุคคลนั้นก็จะมีสถานะเป็นนิติบุคคลตามกฎหมายไทย ในปรากฏการณ์เช่นนี้เราจึงเผชิญกับ “นิติบุคคลไทยมีองค์ประกอบต่างด้าว” ในสถานการณ์ที่ตรงกันข้ามนิติบุคคลต่างด้าวในประเทศไทยก็อาจจะเป็นนิติบุคคล ซึ่งไม่ได้ก่อตั้งและมีสถานภาพนิติบุคคลตามกฎหมายไทย แต่มีสำนักงานแห่งใหญ่ที่แท้จริงตั้งอยู่ในประเทศไทย หรือมีผู้เป็นสมาชิกข้างมากของนิติบุคคลเป็นผู้มีสัญชาติไทย นิติบุคคลนั้นก็จะตกเป็นนิติบุคคลต่างด้าวอย่างไม่ต้องสงสัย ในปรากฏการณ์เช่นนี้เราจึงเผชิญกับ “นิติบุคคลต่างด้าวที่มีองค์ประกอบไทย”

สัญชาติของนิติบุคคลถือเป็นเครื่องหมายแสดงความสัมพันธ์ระหว่างรัฐเจ้าของนิติบุคคลและตัวนิติบุคคล และการจะยอมรับว่านิติบุคคลนี้มีสัญชาติของรัฐใดหรือไม่ ย่อมเป็นไปตามเจตนาของรัฐเจ้าของสัญชาติของนิติบุคคล ซึ่งก็คือกฎหมายของรัฐเจ้าของสัญชาตินั่นเอง แต่อย่างไรก็ตามรัฐก็ไม่อาจใช้อำนาจตามอำเภอใจในการกำหนดสัญชาติของนิติบุคคลได้เช่นเดียวกัน เนื่องจากกฎหมายระหว่างประเทศไม่รับรองการ ให้สัญชาติให้แก่นิติบุคคลที่ไม่มีความสัมพันธ์ที่แท้จริงกับตน นอกจากนี้การกำหนดว่านิติบุคคลหนึ่งๆมีสัญชาติไทยหรือไม่ มีความจำเป็นต้องทำการศึกษาในแต่ละขั้นตอนเพื่อให้ ได้ข้อเท็จจริงที่ชี้ว่านิติบุคคลนั้นเป็นนิติบุคคลสัญชาติไทยเป็นกรณีๆไป”

บทความที่กล่าวในข้างต้นเป็นส่วนหนึ่งของบทความเรื่อง “การกำหนดสัญชาติไทยของนิติบุคคลในปัจจุบัน โดย รศ.ดร. พันธุ์ทิพย์ กาญจนะจิตรา สายสุนทร ทั้งนี้ ผู้ที่สนใจสามารถศึกษาเพิ่มเติมได้จาก www.lawthai.org ครับ

 

ที่มา : รศ.ดร. พันธุ์ทิพย์ กาญจนะจิตรา สายสุนทร

www.lawthai.org

สำนักทะเบียนธุรกิจ
ศูนย์ให้คำปรึกษา
DBD E-Newsletter

หน้าที่ของบริษัทในการจัดทำสมุดทะเบียนผู้ถือหุ้น

หน้าที่ของบริษัทในการจัดทำสมุดทะเบียนผู้ถือหุ้น

สมุดทะเบียนผู้ถือหุ้น ก็คือสมุดที่จดบันทึกเกี่ยวกับหุ้นและผู้ถือหุ้นของบริษัท เพื่อให้รู้ว่าใครเป็นผู้ถือหุ้นของบริษัทบ้าง คนละเท่าใด ตั้งแต่เมื่อใด ตลอดจนรายละเอียดเกี่ยวกับการโอนหุ้นและการเปลี่ยนแปลงรายการต่างๆ ที่บันทึกไว้ ซึ่งเป็นหน้าที่ของกรรมการที่ต้องจัดให้มีสมุดทะเบียนผู้ถือหุ้นนับแต่วันที่จดทะเบียนบริษัทนั้น และให้เก็บรักษาไว้ ณ สำนักงานของบริษัท เพื่อให้ผู้ถือหุ้นสามารถตรวจสอบดูได้ สมุดทะเบียนผู้ถือหุ้นต้องมีรายการตามที่ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1138 กำหนด คือ 
     (1) ชื่อ ที่อยู่ และอาชีพ ของผู้ถือหุ้นแต่ละคนและต้องระบุไว้ด้วยว่าผู้ถือหุ้นคนหนึ่งๆ ถือหุ้นกี่หุ้น หมายเลขหุ้นเลขที่เท่าใดถึงเลขที่เท่าใด แต่ละหุ้นได้ใช้เงินค่าหุ้นแล้วเท่าใด หรือถ้าเป็นหุ้นชนิดออกให้เพื่อทดแทนแรงงานหรือแลกเปลี่ยนกับทรัพย์สินของผู้ถือหุ้นก็ต้องระบุว่าได้ใช้เงินแล้วเท่าใด 
     (2) วัน เดือน ปี ที่ได้ลงทะเบียนว่าผู้นั้นเป็นผู้ถือหุ้น 
     (3) วัน เดือน ปี ซึ่งบุคคลใดขาดจากการเป็นผู้ถือหุ้น 
     (4) เลขหมายใบหุ้นและวันที่ลงในใบหุ้นชนิดออกให้แก่ผู้ถือและเลขหมายของหุ้นซึ่งลงไว้ใน ใบหุ้นนั้นๆ 
     (5) วันที่ได้ขีดฆ่าใบหุ้นชนิดระบุชื่อ หรือชนิดออกให้แก่ผู้ถือ 
     สมุดทะเบียนผู้ถือหุ้นนี้ กฎหมายให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าข้อความที่จดลงไว้ในทะเบียนผู้ถือหุ้นเป็นพยานหลักฐานอันถูกต้อง ซึ่งนอกจากผู้ถือหุ้นของบริษัทจะได้ใช้ประโยชน์เพื่อใช้เป็นพยานหลักฐานแล้ว บุคคลภายนอกก็อาจจะถือเอารายการต่างๆ ที่ได้บันทึกไว้ในสมุดทะเบียนผู้ถือหุ้น เพื่อใช้เป็นพยาน หลักฐานได้ด้วยเช่นกัน หากบริษัทจดบันทึกรายการดังกล่าวผิดพลาดไปจากความเป็นจริง บริษัทอาจต้องรับผิดชอบจากการบันทึกที่ผิดพลาดนั้นด้วย 
     ดังนั้น การจดบันทึก แก้ไขเปลี่ยนแปลง หรือการกระทำใดๆ ในสมุดทะเบียนผู้ถือหุ้นของบริษัท ถือเป็นกิจการภายในของบริษัท ซึ่งสามารถกระทำได้โดยไม่ต้องจดทะเบียนต่อสำนักงานทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทแต่อย่างใด อย่างไรก็ตามกฎหมายกำหนดให้เป็นหน้าที่ของกรรมการบริษัทที่จะต้องส่งสำเนาบัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้น (แบบ บอจ. 5) ไปยังนายทะเบียนอย่างน้อยปีละครั้งภายใน 14 วันนับแต่ วันที่มีการประชุมสามัญ ซึ่งสำเนาบัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้นดังกล่าว กฎหมายสันนิษฐานว่าเป็นพยานหลักฐาน อันถูกต้องแล้ว ดังนั้น นายทะเบียนจึงไม่มีอำนาจในการแก้ไขหรือเปลี่ยนแปลงรายการใดๆ ในสำเนาบัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้นได้ 
     อนึ่งหากบริษัทจำกัดใดละเลย ไม่จัดให้มีสมุดทะเบียนผู้ถือหุ้น หรือไม่รักษาสมุดทะเบียนผู้ถือหุ้นหรือไม่เปิดสมุดทะเบียนให้ผู้ถือหุ้นดู ย่อมมีความผิดตามพระราชบัญญัติกำหนดความผิดเกี่ยวกับห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน ห้างหุ้นส่วนจำกัด บริษัทจำกัด สมาคมและมูลนิธิ พ.ศ. 2499 มาตรา 10, 11 ต้องระวางโทษปรับไม่เกินสองหมื่นบาท และกรรมการบริษัทมีความผิดตามมาตรา 25 ต้องระวางโทษปรับไม่เกินห้าหมื่นบาทด้วย นอกจากนี้หากกรรมการบริษัทไม่ส่งสำเนาบัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้นในวันประชุมสามัญประจำปีไปยังนายทะเบียน ย่อมมีความผิดตามมาตรา 26 ต้องระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาทด้วยเช่นกัน

สำนักทะเบียนธุรกิจ
ศูนย์ให้คำปรึกษาด้านทะเบียนธุรกิจ
DBD E-Newsletter