ค่าลดหย่อนจากการซื้ออสังหาริมทรัพย์ ในปี 2552

ประกาศอธิบดีกรมสรรพากรเกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 178) เรื่องกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไข เพื่อการยกเว้นภาษีเงินได้ เท่าที่ได้จ่ายเป็นค่าซื้ออสังหาฯ ที่เป็นอาคาร อาคารพร้อมที่ดิน หรือห้องชุดในอาคารชุดเพื่อเป็นที่อยู่อาศัย ประกาศเมื่อวันที่ 29 พฤษภาคม 2552 และให้มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2552 เป็นต้นไป มีสาระสำคัญดังนี้

การยกเว้นภาษี เงินได้สำหรับเงินได้เท่าที่จ่ายเป็นค่าซื้ออสังหาฯที่เป็นอาคาร อาคารพร้อมที่ดิน หรือห้องชุดในอาคารชุดเพื่อเป็นที่อยู่อาศัย ต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขดังนี้

1.อสังหาริมทรัพย์ข้างต้นต้องจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ให้แล้วเสร็จระหว่างวันที่ 1 มกราคม-31 ธันวาคม 2552 และต้องไม่เคยผ่านการ จดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ในอาคารหรือห้องชุดมาก่อน ไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วน

2.การ โอนกรรมสิทธิ์อสังหาฯที่ซื้อตามข้อ 1 ให้ได้รับยกเว้นภาษีเท่ากับจำนวนที่จ่ายจริง แต่รวมกันทั้งหมดแล้วไม่เกิน 300,000 บาท โดยต้องจ่ายระหว่างวันที่ 1 มกราคม-31 ธันวาคม 2552

3.กรณี ผู้มีเงินได้มีกรรมสิทธิ์ในอสังหาฯที่ซื้อหลายแห่ง ให้ได้รับยกเว้นภาษีได้ทุกแห่งรวมกันตามจำนวนที่จ่ายจริง แต่รวมกันทั้งหมดแล้วไม่เกิน 300,000 บาท

4.กรณีผู้มีเงินได้หลาย คนร่วมกันซื้อ ให้ได้รับยกเว้นภาษีได้ทุกคน โดยเฉลี่ยการได้รับยกเว้นภาษีตามส่วนของกรรมสิทธิ์ของแต่ละคน แต่รวมกันทั้งหมดแล้วต้องไม่เกินจำนวนที่จ่ายจริง และไม่เกิน 300,000 บาท

5.กรณีสามีหรือภริยามีเงินได้ฝ่ายเดียว ให้ยกเว้นภาษีให้แก่ผู้มีเงินได้เต็มจำนวนตามที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 300,000 บาท

6.กรณี สามีภริยาต่างฝ่ายต่างมีเงินได้ และความเป็นสามีภริยาได้มีอยู่ตลอดปีภาษีที่ได้รับยกเว้นภาษี

  • ถ้าภริยาไม่ใช้สิทธิแยกยื่นรายการและเสียภาษี ให้ได้รับยกเว้นภาษีรวมกันตามจำนวนที่จ่ายจริง แต่รวมกันทั้งหมดแล้วไม่เกิน 300,000 บาท
  • ถ้าภริยาใช้สิทธิแยกยื่นรายการและเสียภาษี ให้สามีภริยาต่างฝ่ายต่างได้รับยกเว้นภาษีได้กึ่งหนึ่งของจำนวนที่จ่ายจริง แต่รวมกันแล้วไม่เกิน 300,000 บาท

7.กรณีสามีภริยาต่างฝ่ายต่างมีเงินได้และความเป็นสามีภริยามิได้มีอยู่ตลอดปีภาษีที่ได้รับยกเว้น ซึ่งต้องยื่นรายการและเสียภาษีต่างหากจากกัน ให้ได้รับยกเว้นภาษีดังนี้

  • ผู้มีเงินได้ซึ่งมีสิทธิได้รับยกเว้นภาษีอยู่ก่อนแล้ว ต่อมาได้สมรสกัน ซึ่งความเป็นสามีภริยามิได้มีอยู่ตลอดปีภาษี ให้สามีภริยาต่างฝ่ายต่างยังคงได้รับยกเว้นภาษีตามจำนวนที่จ่ายจริง แต่รวมกันแล้วทั้งหมดไม่เกิน 300,000 บาท
  • ผู้มีเงินได้สมรสกัน ต่อมามีสิทธิได้รับยกเว้นภาษี ให้สามีภริยาต่างฝ่ายต่างได้รับยกเว้นภาษีได้กึ่งหนึ่งของจำนวนที่จ่ายจริง แต่รวมกันทั้งหมดแล้วไม่เกิน 300,000 บาท


ต้องมีใบรับรองจากผู้ขาย

โดยการได้รับยกเว้นภาษีตามประกาศ ผู้มีเงินได้ต้องมีหนังสือรับรองจากผู้ขายที่พิสูจน์ได้ว่า มีการจ่ายเป็นค่าซื้ออสังหาฯ โดยหนังสือรับรองดังกล่าวต้องมีข้อความอย่างน้อยตามที่แนบท้ายประกาศ ที่สำคัญคือ ผู้มีเงินได้ต้องมีชื่อเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในอสังหาฯที่ซื้อเป็นเวลา ติดต่อกันไม่น้อยกว่า 3 ปี นับแต่วันจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ แต่ไม่รวมถึงกรณีผู้มีเงินได้ถึงแก่ความตาย


กรณีผิดเงื่อนไขต้องจ่ายภาษีย้อนหลัง

หาก ผู้มีเงินได้ได้ใช้สิทธิยกเว้นภาษีแล้ว ต่อมาปฏิบัติไม่เป็นไปตามเกณฑ์เรื่องเงื่อนเวลาถือครองกรรมสิทธิ์ ผู้มีเงินได้ไม่มีสิทธิได้รับยกเว้นภาษี ต้องนำเงินได้ที่ได้ใช้สิทธิยกเว้นภาษีไปแล้ว ไปรวมเป็นเงินได้เพื่อเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา และกรณีผู้มีเงินได้ยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาเพิ่มเติมเพื่อ เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาเพิ่มเติมของปีภาษี และการได้รับยกเว้นภาษีดังกล่าวให้ผู้มีเงินได้นำเงินได้ที่ได้รับยกเว้น ภาษีไปคำนวณหักจากเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 แห่งประมวลรัษฎากร เมื่อได้หักตามมาตรา 42 ทวิ ถึงมาตรา 46 แห่งประมวลรัษฎากรแล้ว

แนวทางปฏิบัติกรมสรรพากรว่าด้วยการคืนภาษีมูลค่าเพิ่มเป็นเงินสด

5. ระบบงานคืนภาษีมูลค่าเพิ่ม

แนวทางปฏิบัติกรมสรรพากรว่าด้วยการคืนภาษีมูลค่าเพิ่มเป็นเงินสด

ข้อ 1 วัตถุประสงค์
           1. เพื่อให้สอดคล้องกับนโยบายการบริหารจัดเก็บภาษีอากร ซึ่งมีวัตถุประสงค์ให้ผู้ประกอบการยื่น เสียภาษีอากรในปัจจุบันให้ถูกต้องครบถ้วน จึงให้มีการปรับเปลี่ยนระบบการปฏิบัติงานใหม่ เพื่อกำกับดูแล ผู้เสียภาษีโดยใกล้ชิดเป็นรายผู้ประกอบการและเป็นปัจจุบัน
           2. เพื่อให้การคืนภาษีมูลค่าเพิ่มตามแบบแสดงรายการภาษีมูลค่าเพิ่ม (ภ.พ.30) ที่ขอคืนเป็นเงินสด เป็นไปด้วยความรวดเร็ว ถูกต้องและเป็นมาตรฐานเดียวกัน
ข้อ 2 การดำเนินการเกี่ยวกับงานกรรมวิธีและงานคืนภาษี
          2.1 การส่งแบบ ภ.พ.30 และภ.พ.72
ให้ฝ่ายกรรมวิธี สำนักงานภาษีสรรพากรพื้นที่ หรืองานกรรมวิธี ฝ่ายกรรมวิธี สำนักงานสรรพากรจังหวัด และสำนักงานสรรพากรจังหวัด (สาขา) ดำเนินการงานกรรมวิธีข้อมูลและตรวจสอบความครบถ้วนของเอกสารแล้วส่งไปให้ฝ่าย ภาษีหัก ณ ที่จ่ายและคืนภาษี สำนักงานภาษีสรรพากรพื้นที่ หรืองานคืนภาษี สำนักงานสรรพากรจังหวัด และสำนักงานสรรพากรจังหวัด (สาขา) ภายใน 7 วันทำการนับ แต่วันที่ฝ่ายกรรมวิธี หรืองานกรรมวิธีแล้วแต่กรณีได้รับแบบ ภ.พ.30
          2.2 การแบ่งกลุ่มผู้ขอคืน
เมื่อฝ่ายภาษีหัก ณ ที่จ่ายและคืนภาษี หรืองานคืนภาษี ฝ่ายกรรมวิธีแล้วแต่กรณี ได้รับแบบภ.พ.30 และภ.พ.72 จากฝ่ายกรรมวิธี สำนักงานภาษีสรรพากรพื้นที่ หรืองานกรรมวิธี สำนักงานสรรพากรจังหวัด และสำนักงานสรรพากรจังหวัด (สาขา) ให้ดำเนินการแยกแบบภ.พ.30 และภ.พ.72 ตาม กลุ่มผู้ขอคืนดังนี้
                   (1) ผู้ประกอบการส่งออกที่ดี
                   (2) ผู้ประกอบการในทะเบียนผู้ขอคืนที่เป็นผู้ส่งออก
                   (3) ผู้ประกอบการขอคืนผิดปกติ (ตามรายชื่อที่สำนักมาตรฐานกรรมวิธีภาษี ส่งให้)
                   (4) ผู้ประกอบการขอคืนปกติ
          2.3 การดำเนินการแจ้งผู้ประกอบการที่มีสิทธิขอคืนภาษีมูลค่าเพิ่มเป็นเงินสดทุก เดือนหรือเกือบทุกเดือน ให้ฝ่ายภาษีหัก ณ ที่จ่ายและคืนภาษี สำนักงานภาษีสรรพากรพื้นที่ หรืองานคืนภาษี ฝ่ายกรรมวิธี สำนักงานสรรพากรจังหวัด และสำนักงานสรรพากรจังหวัด(สาขา) ดำเนินการทำหนังสือแจ้ง ผู้ประกอบการที่มีสิทธิขอคืนภาษีมูลค่าเพิ่มเป็นเงินสดทุกเดือนหรือเกือบทุก เดือน(ตามแนวทางที่กรมสรรพากรจะได้กำหนดต่อไป) เพื่อให้ทราบว่า หากมีความประสงค์จะได้รับคืนภาษีมูลค่าเพิ่มทุกเดือนหรือเกือบทุกเดือนโดย เร็วให้ยื่นคำร้องตามแบบคำขอที่กรมสรรพากรกำหนด ต่อสรรพากรพื้นที่หรือสรรพากรจังหวัด หรือสรรพากรจังหวัด (สาขา) ณ สำนักงานภาษีสรรพากรพื้นที่ หรือสำนักงานสรรพากรจังหวัด หรือสำนักงานสรรพากรจังหวัด(สาขา)ที่สถานประกอบการตั้งอยู่ และให้หน่วยปฏิบัติดำเนินการตามที่กรมสรรพากรจะได้กำหนดต่อไปก่อนที่การจัด ทำรายชื่อผู้ประกอบการที่ขอคืนภาษีมูลค่าเพิ่มเป็นเงินสดในทะเบียน ผู้ขอคืนที่เป็นผู้ส่งออก จะแล้วเสร็จให้ใช้ทะเบียนผู้ส่งออก (นค.1) ปี 2542 เป็นฐานข้อมูลในการพิจารณาคืนภาษีมูลค่าเพิ่มเป็นเงินสดไปก่อน
         2.4 การดำเนินการคืนภาษีมูลค่าเพิ่ม
ให้ฝ่ายภาษีหัก ณ ที่จ่ายและคืนภาษี หรืองานคืนภาษี ฝ่ายกรรมวิธี แล้วแต่กรณี ดำเนินการ ดังต่อไปนี้
                 2.4.1 ให้สอบทานความถูกต้องของแบบ ภพ.72 ของผู้ประกอบการส่งออกที่ดีที่ขอคืนเงินสด และเสนอผู้บังคับบัญชา เพื่อสั่งคืนเงินภาษีมูลค่าเพิ่มทันที
                 2.4.2 ส่งสำเนาภาพถ่ายแบบ ภ.พ.30 และแบบภ.พ.72 ของผู้ประกอบการ รายดังต่อไปนี้ ให้ทีมกำกับดูแลดำเนินการ
                          (1) รายที่เจ้าหน้าที่ผู้กำกับดูแลได้แจ้งออกตรวจสภาพกิจการล่วงหน้า ทั้งนี้ให้ส่งภายใน 3 วันทำการนับแต่วันที่ได้รับแบบ ภพ.30 และ ภพ.72 จากฝ่ายกรรมวิธี หรืองานกรรมวิธี แล้วแต่กรณี ตามแบบส่งรายชื่อผู้ประกอบการที่ขอคืนเป็นเงินสดที่ถูกคัดเลือกเพื่อตรวจก่อนคืน (คส.1)
                          (2) รายที่ติดเกณฑ์การคัดเลือกรายเพื่อตรวจก่อนคืนภาษีมูลค่าเพิ่มตามข้อ 2.5 ทั้งนี้ให้ส่งภายใน 7 วันทำการนับแต่วันที่ได้รับแบบ ภ.พ.30 และ ภ.พ.72 จากฝ่ายกรรมวิธีหรืองานกรรมวิธี แล้วแต่กรณี ตามแบบส่งรายชื่อผู้ประกอบการที่ขอคืนเป็นเงินสดที่ถูกคัดเลือกเพื่อตรวจ ก่อนคืน (คส.1)
                          (3) รายที่ขอคืนผิดปกติตามทะเบียนรายชื่อผู้ประกอบการขอคืนผิดปกติที่มีอยู่ปัจจุบันทั้งนี้ให้ส่งภายใน 7 วันทำการนับแต่วันที่ได้รับแบบ ภ.พ.30 และ ภ.พ.72 จากฝ่ายกรรมวิธีหรืองานกรรมวิธี แล้วแต่กรณี ตามแบบส่งรายชื่อผู้ประกอบการที่ขอคืนเป็นเงินสดที่ถูกคัดเลือกเพื่อตรวจก่อนคืน(คส.1)
                2.4.3 ให้สอบทานความถูกต้องของแบบ ภพ. 72 ที่ขอคืนเงินสดของ ผู้ประกอบการในทะเบียนผู้ขอคืนที่เป็นผู้ส่งออก และผู้ประกอบการขอคืนปกติ ในเดือนภาษีที่ไม่อยู่ในแผนการออกตรวจสภาพกิจการล่วงหน้าของเจ้าหน้าที่ผู้ กำกับดูแลและไม่ติดเกณฑ์การคัดเลือกรายเพื่อตรวจก่อนคืนภาษีมูลค่าเพิ่มตาม ข้อ 2.5 ให้สอบทานความถูกต้องของแบบ ภพ.72 และเสนอผู้บังคับบัญชา เพื่อสั่งคืนเงินภาษีมูลค่าเพิ่มต่อไป
                2.4.4 ให้ชะลอการคืนภาษีมูลค่าเพิ่มและจัดทำหนังสือแจ้งชะลอการคืน ภาษีมูลค่าเพิ่ม (คส.2) สำหรับเดือนภาษีที่ส่งให้ทีมกำกับดูแลดำเนินการให้ผู้ประกอบการทราบทุกครั้ง
                2.4.5 ในกรณีผู้ประกอบการมีสถานประกอบการหลายแห่ง และแยกยื่นแบบ ภ.พ.30 ให้หน่วยปฏิบัติที่เป็นที่ตั้งของสถานประกอบการแต่ละแห่งพิจารณาคืนภาษี มูลค่าเพิ่มเอง โดยหน่วยปฏิบัติที่เป็นที่ตั้งของสถานประกอบการสาขาต้องขอประวัติการเสีย ภาษีเงินได้จากหน่วยปฏิบัติที่เป็น ที่ตั้งของสถานประกอบการสำนักงานใหญ่มาประกอบการพิจารณาคืนภาษีมูลค่าเพิ่ม ด้วย
                2.4.6 ให้จัดทำทะเบียนคุมการส่งสำเนาภาพถ่ายแบบ ภ.พ.30 และแบบ ภ.พ.72 (คส.3)ให้ทีมกำกับดูแลดำเนินการ
                2.4.7 ให้จัดทำแฟ้มประวัติผู้ขอคืนภาษีเฉพาะผู้ประกอบการส่งออกที่ดี และผู้ประกอบการในทะเบียนผู้ขอคืนที่เป็นผู้ส่งออก เป็นรายผู้ประกอบการ โดยมีชื่อ ที่อยู่ เลขประจำตัวผู้เสียภาษี ประเภทกิจการ ประวัติการตรวจ และประวัติการคืนภาษี
        2.5 หลักเกณฑ์การคัดเลือกรายเพื่อตรวจก่อนคืนภาษีมูลค่าเพิ่ม
                    เมื่อฝ่ายภาษีหัก ณ ที่จ่ายและคืนภาษีหรืองานคืนภาษี ฝ่ายกรรมวิธีแล้วแต่กรณีได้ แยกแบบ ภ.พ.30 และ ภ.พ.72 ตามกลุ่มผู้ขอคืนแล้ว ให้วิเคราะห์แบบ ภ.พ.30 เบื้องต้นของผู้ประกอบการในทะเบียนผู้ขอคืนที่เป็นผู้ส่งออกของเดือนภาษีที่ ไม่อยู่ในแผนการตรวจล่วงหน้าของเจ้าหน้าที่ผู้กำกับดูแล และของ ผู้ประกอบการขอคืนปกติ เพื่อหาความผิดปกติของการเสียภาษี ตามหลักเกณฑ์การคัดเลือกรายเพื่อตรวจก่อนคืนภาษีมูลค่าเพิ่ม ดังนี้
                   (1) มีค่า P/T ปกติหรือไม่
                   (2) มีอัตราส่วนของยอดซื้อต่อยอดขายรวม (P/T) สูงกว่าค่าเฉลี่ย P/T ของประเภทธุรกิจเดียวกัน (ISIC RD) เกินกว่าร้อยละ 20 ขึ้นไป
                   (3) มียอดขายรวมและยอดซื้อสูงผิดปกติ
                   (4) จำนวนเงินภาษีที่ขอคืนสูงผิดปกติข้อ

3 การดำเนินการตรวจ
                ให้ทีมกำกับดูแล ดำเนินการตรวจตามกลุ่มผู้ขอคืน ดังนี้
                   3.1 ผู้ประกอบการส่งออกที่ดี
                             ให้กำกับดูแลการเสียภาษีให้เป็นปัจจุบัน หากพบความผิดปกติของการยื่นชำระภาษีในเดือนภาษีใด ให้ออกตรวจสภาพกิจการภายหลังคืนภาษีมูลค่าเพิ่ม เพื่อดูข้อเท็จจริงของความผิดปกติว่าเกิดจากสาเหตุใด
                   3.2 ผู้ประกอบการในทะเบียนผู้ขอคืนที่เป็นผู้ส่งออก
                           (1) ให้วางแผนการออกตรวจสภาพกิจการของผู้ประกอบการในทะเบียน ผู้ขอคืนที่เป็นผู้ส่งออก ล่วงหน้าเป็นรายไตรมาส โดยให้เรียงลำดับตามความสำคัญและความเสี่ยงในการ ขอคืนภาษีตามข้อ 7 ของแนวทางปฏิบัติกรมสรรพากรว่าด้วยการกำกับดูแลผู้เสียภาษีโดยใกล้ชิดเป็น ราย ผู้ประกอบการและให้เป็นปัจจุบัน ทั้งนี้ให้ระบุรายชื่อผู้ประกอบการและเดือนภาษีที่จะทำการออกตรวจด้วยและส่ง แผนการออกตรวจสภาพกิจการดังกล่าว ให้ฝ่ายภาษีหัก ณ ที่จ่ายและคืนภาษี หรืองานคืนภาษี ฝ่ายกรรมวิธี แล้วแต่กรณีทราบ เพื่อจัดส่งสำเนาภาพถ่ายแบบภพ.30 และแบบ ภพ.72 และดำเนินการชะลอการคืนภาษีมูลค่าเพิ่มผู้ประกอบการรายดังกล่าวในเดือนภาษี ที่ระบุ
                           (2) ในกรณีที่ผู้ประกอบการยื่นแบบ ภ.พ.30 ขอคืนเงินสดและติดเกณฑ์ การคัดเลือกรายเพื่อตรวจก่อนคืนภาษีมูลค่าเพิ่ม ตามข้อ 2.5 ให้ดำเนินการตรวจเฉพาะประเด็นที่เป็นมูลเหตุการขอคืนภาษี ดังนี้
                                (2.1) สุ่มตรวจด้านรายรับจากการส่งออก
                                         ก. มีการส่งออกจริง
                                         ข. มีการนำเข้าเงินตราต่างประเทศจากการส่งออก
                                         ค. นำรายรับจากการส่งออกมาบันทึกบัญชีครบถ้วน และกรณีเป็นผู้ผลิต ให้ทดสอบกระบวนการผลิต สูตรการผลิต และวัตถุดิบหลักที่ใช้สอดคล้องกับผลผลิต ที่ได้ ทั้งนี้เพื่อตรวจสอบให้มีการนำรายรับจากการขายสินค้าภายในประเทศมาบันทึก บัญชีให้ครบถ้วนด้วย
                                  (2.2) สุ่มตรวจด้านซื้อและรายจ่าย
                                          ก. ใบกำกับภาษีซื้อที่มีนัยสำคัญ เช่น
                                                - จำนวนเงินสูง
                                                - ใบกำกับภาษีซื้อซ้ำรายมาก
                                                - ใบกำกับภาษีปลอม
                                                - ใบกำกับภาษีซื้อและ/หรือค่าใช้จ่ายเป็นจำนวนเงินสูงจากบริษัทในเครือเดียวกัน
                                          ข. ตรวจใบกำกับภาษีที่เหลือตามความเหมาะสม
                     3.3 ผู้ประกอบการขอคืนผิดปกติ
                               หมายถึง ผู้ประกอบการตามรายชื่อที่สำนักมาตรฐานกรรมวิธีจัดส่งให้
                                      (1) ในกรณีที่มีข้อมูลจากการออกตรวจสภาพกิจการมาก่อน แล้วพบว่า มิใช่เป็นรายผิดปกติ เช่น มีการขยายกิจการ หรือมีการลงทุนในทรัพย์สินถาวร เป็นต้น หรือกรณีที่พบว่า ฐานข้อมูลผิดพลาด และเจ้าหน้าที่ผู้กำกับดูแลเห็นว่าผู้ประกอบการสมควรได้รับคืนภาษี ให้แจ้งฝ่ายภาษีหัก ณ ที่จ่ายและคืนภาษี หรืองานคืนภาษี ฝ่ายกรรมวิธี แล้วแต่กรณีทราบเพื่อดำเนินการคืนภาษีและปรับปรุงให้ถูกต้อง
                                      (2) ให้ออกตรวจสภาพกิจการรายที่ยื่นแบบ ภ.พ.30 ขอคืนเป็นเงินสดและรายที่จะได้เม็ดเงินมากเป็นลำดับแรก ที่เหลือให้ออกตรวจสภาพกิจการตามอัตรากำลังที่มีอยู่จริงเป็นลำดับต่อมาตาม แนวทางปฏิบัติกรมสรรพากรว่าด้วยการกำกับดูแลผู้เสียภาษีโดยใกล้ชิดเป็นราย ผู้ประกอบการและให้เป็นปัจจุบัน และตรวจให้ได้ข้อเท็จจริงของการขอคืนและความเหมาะสมที่ขอคืน
                                      (3) กำกับดูแลการเสียภาษีทุกรายโดยใกล้ชิดและให้เป็นปัจจุบัน
                    3.4 ผู้ประกอบการขอคืนปกติ
                               หมายถึง ผู้ประกอบการที่ขอคืนเงินสดที่ไม่ใช่ผู้ประกอบการส่งออกที่ดี ผู้ประกอบการในทะเบียนผู้ขอคืนที่เป็นผู้ส่งออก และผู้ประกอบการขอคืนผิดปกติ ซึ่งติดเกณฑ์การคัดเลือกรายเพื่อตรวจก่อนคืนภาษีมูลค่าเพิ่มตามข้อ 2.5
                              ให้ออกตรวจสภาพกิจการตามแนวทางปฏิบัติกรม สรรพากรว่าด้วย การกำกับดูแล ผู้เสียภาษีโดยใกล้ชิดเป็นรายผู้ประกอบการและให้เป็นปัจจุบัน และตรวจให้ได้ข้อเท็จจริงว่า เดือนภาษีที่ขอคืนมีค่า P/T สูงผิดปกติเนื่องจากสาเหตุใด หากเป็นกรณีที่ขอคืนเนื่องจากมีการลงทุนในทรัพย์สินถาวร หรือ มีการซื้อสินค้าไว้เพื่อขายเป็นจำนวนมากให้ตรวจเฉพาะประเด็นที่เป็นมูลเหตุ การขอคืนภาษีมูลค่าเพิ่มนั้น ๆ โดยให้ไปตรวจดู ณ สถานประกอบการของผู้ขอคืนว่า มีการซื้อทรัพย์สินถาวรหรือมีการซื้อสินค้าไว้เพื่อขายจริงหรือไม่ กรณีตรวจแล้วพบว่า
                                  - ถูกต้อง ให้แจ้งฝ่ายภาษีหัก ณ ที่จ่ายและคืนภาษี หรืองานคืนภาษี ฝ่ายกรรมวิธี แล้วแต่กรณีทราบ เพื่อคืนภาษีมูลค่าเพิ่ม
                                  - ไม่ถูกต้อง โดยมีนัยสำคัญ หรืออาจมีผลต่อการคืนภาษีในเดือนภาษีถัดไป ให้ออกไปตรวจสภาพกิจการใหม่อีกครั้ง โดยสุ่มตรวจด้านรายรับ ด้านซื้อ และรายจ่าย ดังนี้
                                       ก. ตรวจด้านรายรับ
                                             - การบันทึกบัญชีรายรับ
                                             - การขายสินค้าหรือให้บริการในราคาที่ต่ำกว่าราคาตลาด โดยมีนัยสำคัญให้แก่บริษัทในเครือเดียวกันหรือบุคคลที่เกี่ยวข้อง
                                       ข. ตรวจด้านซื้อและรายจ่าย
                                             - ใบกำกับภาษีซื้อที่มีนัยสำคัญ เช่น มีจำนวนเงินสูง ใบกำกับภาษีซ้ำรายมาก เป็นต้น
                                             - ใบกำกับภาษีปลอม
                                             - ใบกำกับภาษีซื้อ และ/หรือค่าใช้จ่ายเป็นจำนวนเงินสูงจากบริษัทในเครือเดียวกัน
                                             - ใบกำกับภาษีที่เหลือตามความเหมาะสมข้อ
4 การรายงานผลการตรวจ
                 ให้ทีมกำกับดูแลดำเนินการตรวจผู้ประกอบการในทะเบียนผู้ขอคืนที่เป็นผู้ส่งออก ผู้ประกอบการขอคืนผิดปกติ และผู้ประกอบการขอคืนปกติให้แล้วเสร็จ และสรุปผลการตรวจพร้อมแสดงความเห็นต่อ ผู้บังคับบัญชาโดยเร็ว และรายงานผลการตรวจให้ฝ่ายภาษีหัก ณ ที่จ่ายและคืนภาษี หรืองานคืนภาษี ฝ่ายกรรมวิธี แล้วแต่กรณีทราบเกี่ยวกับ
                      (1) มูลเหตุของการขอคืนภาษีมูลค่าเพิ่ม
                      (2) ผลของการตรวจ
                              - กรณีถูกต้อง แจ้งคืนภาษี
                              - กรณีไม่ถูกต้อง แจ้งผู้เสียภาษีชำระภาษีเพิ่มเติมให้ครบถ้วน หากมีความผิดเกี่ยวเนื่องเดือนภาษีอื่น ให้แจ้งว่าควรชะลอการคืนภาษีมูลค่าเพิ่มถึงเดือนภาษีใด
                      (3) กรณีที่ขอคืนภาษีมูลค่าเพิ่ม เนื่องจากมีการขยายกิจการ หรือมีการลงทุนในทรัพย์สินถาวร หรือมีการซื้อสินค้าจริง ให้แสดงความเห็นโดยประมาณการด้วยว่าผู้ประกอบการอาจจะมีการขอคืนภาษีมูลค่า เพิ่มต่อไปเป็นระยะเวลานานเพียงใด
ข้อ 5 การรายงาน
               5.1 ให้สำนักงานภาษีสรรพากรพื้นที่ สำนักงานสรรพากรจังหวัด และสำนักงานสรรพากรจังหวัด (สาขา) จัดทำรายงานการค้างคืนภาษีมูลค่าเพิ่มเป็นเงินสด(คส.4) และรายละเอียดงานค้างคืนภาษีมูลค่าเพิ่มเป็นเงินสด(คส.5) ส่งถึงสำนักงานสรรพากรภาคเป็นรายเดือนภายในวันที่ 10 ของทุกเดือนโดยทาง E-mail
               5.2 ให้สำนักงานสรรพากรภาค จัดทำรายงานการค้างคืนภาษีมูลค่าเพิ่มเป็นเงินสด(คส.4/1) และรายละเอียดงานค้างคืนภาษีมูลค่าเพิ่มเป็นเงินสด(คส.5/1) ส่งถึงสำนักมาตรฐานกรรมวิธีภาษีเป็นรายเดือนภายในวันที่ 15 ของทุกเดือน โดยทาง E-mail
                5.3 ให้สำนักมาตรฐานกรรมวิธีภาษี จัดทำรายงานการค้างคืนภาษีมูลค่าเพิ่มเป็นเงินสด (คส.4/2) และรายละเอียดงานค้างคืนภาษีมูลค่าเพิ่มเป็นเงินสด(คส.5/2)ของหน่วยงานทั่วประเทศ เสนอ กรมสรรพากรภายในวันที่ 20 ของทุกเดือน
ข้อ 6 หน้าที่ของสำนักงานสรรพากรภาค
                  ให้แต่งตั้งเจ้าหน้าที่ในส่วนวางแผนและประเมินผล สำนักงานสรรพากรภาค ติดตามกำกับดูแลการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ในหน่วยปฏิบัติที่รับผิดชอบเกี่ยวกับ
                         6.1 การดำเนินการงานกรรมวิธีข้อมูลและตรวจสอบความครบถ้วนของแบบภ.พ.30 พร้อมแบบ ภ.พ.72 และรายงานชุดข้อมูล ส่งให้ฝ่ายภาษีหัก ณ ที่จ่ายและคืนภาษี หรือ งานคืนภาษี ฝ่ายกรรมวิธี แล้วแต่กรณีภายในกำหนดเวลา
                         6.2 การดำเนินการของฝ่ายภาษีหัก ณ. ที่จ่ายและคืนภาษีหรืองานคืนภาษี ฝ่ายกรรมวิธีแล้วแต่กรณี ได้ปฏิบัติตามขั้นตอน วิธีการ และแล้วเสร็จภายในเวลาที่กำหนด เช่น มีการดำเนินการกับแบบของผู้ประกอบการแยกตามกลุ่มที่กำหนด มีการจัดทำแฟ้มประวัติผู้ขอคืนภาษีที่เป็นผู้ส่งออกที่ดีและผู้ประกอบการในทะเบียนผู้ขอคืนที่เป็นผู้ส่งออก เป็นต้น
                         6.3 การดำเนินการของทีมกำกับดูแลได้ปฏิบัติตามขั้นตอน วิธีการและแล้วเสร็จภายในเวลาที่กำหนด เช่น มีการวางแผนการออกตรวจสภาพกิจการของผู้ประกอบการในทะเบียนผู้ขอคืนที่เป็นผู้ส่งออก
ล่วงหน้าเป็นรายไตรมาสโดยเรียงลำดับตามความสำคัญและความเสี่ยงในการขอคืน เป็นต้น
                         6.4 การจัดทำรายงานและรายละเอียดงานค้างคืนภาษีมูลค่าเพิ่มเป็นเงินสด ให้เป็นไปตามแบบ และภายในเวลาที่กำหนด รวมทั้งให้ใช้ข้อมูลจากแบบรายงานดังกล่าวเพื่อประโยชน์ในการเร่งรัดติดตามงาน ค้างคืนให้แล้วเสร็จโดยเร็วด้วย
                         6.5 กำกับดูแลการปฏิบัติงานอื่นของเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องให้เป็นไปตามความเหมาะสม นโยบายและเป้าหมายของกรมสรรพากรพร้อมเสนอแนะแนวทางให้การแก้ไขปัญหาและอุปสรรคของ เจ้าหน้าที่

เอกสารแนบ Click ที่นี่

ที่มา..กรมสรรพากร

รายจ่ายส่วนตัว (รายจ่ายต้องห้ามในการคำนวณภาษี)

คำพิพากษาฎีกาที่7124/2545

บริษัท นิตาอินเตอร์เทรด จำกัด โจทก์

กรมสรรพากร  จำเลย

เรื่อง ภาษีเงินได้นิติบุคคล ภาษีมูลค่าเพิ่ม

กฎหมายที่เกี่ยวข้อง ประมวลรัษฎากร มาตรา 65 ตรี (3) (4) (18) มาตรา 88/6

                   เจ้าพนักงานประเมินฯ ได้ออกหมายเรียกตรวจสอบภาษีเงินได้นิติบุคคลของบริษัทฯ โจทก์ สำหรับรอบระยะเวลาบัญชีปี 2536 และได้มีหนังสือแจ้งการประเมินภาษีมูลค่าเพิ่มสำหรับเดือนธันวาคม 2536 ตามหนังสือเลขที่ 1001010/5/100399 ลงวันที่ 15 มกราคม 2542 หนังสือแจ้งการประเมินภาษีเงินได้นิติบุคคลสำหรับรอบระยะเวลาบัญชีปี 2536 ตามหนังสือเลขที่ 1001010/2/100029 ลงวันที่ 29 มกราคม 2542 ไปยังบริษัทฯ โจทก์ บริษัทฯ โจทก์ ได้รับหนังสือ แจ้งการประเมินทั้งสองฉบับเมื่อวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2542 บริษัทฯ โจทก์ ได้อุทธรณ์การประเมิน ต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ ต่อมาคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ได้มีคำวินิจฉัยให้เรียกเก็บ ภาษีเงินได้นิติบุคคลปี 2536 รวมเบี้ยปรับเงินเพิ่มเป็นเงิน 69,562.07 บาท โดยเรียกเก็บเบี้ยปรับเพียงร้อยละ 50 ของเบี้ยปรับตามกฎหมาย และเรียกเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มเดือนธันวาคม 2536 รวมเบี้ยปรับเงินเพิ่มเป็นเงิน 20,854.67 บาท โดยเรียกเก็บเบี้ยปรับเพียงร้อยละ 50 ของเบี้ยปรับตามกฎหมาย บริษัทฯ โจทก์ไม่เห็นด้วยกับคำวินิจฉัยอุทธรณ์ของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ จึงได้ยื่นฟ้องคดีต่อศาลภาษีอากรกลางเพื่อขอให้ศาลมีคำพิพากษาให้เพิกถอนการ ประเมินและคำวินิจฉัยอุทธรณ์ของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์

คำพิพากษา

ศาลภาษีอากรกลาง พิจารณาแล้วพิพากษายกฟ้องโจทก์ ให้โจทก์ใช้ค่าฤชาธรรมเนียมแทนจำเลย โดยกำหนดค่าทนายความ 3,000.- บาท

ศาลฎีกา

ประเด็นแรก การประเมินภาษีมูลค่าเพิ่มสำหรับเดือนธันวาคม 2536 ของเจ้าพนักงานประเมินตามฟ้องเกินกำหนดเวลาสองปีนับแต่วันสุดท้ายแห่งกำหนด เวลายื่นแบบแสดงรายการภาษี .และเกินห้าปีและเกินห้าปีนับแต่วันสุดท้ายแห่งกำหนดเวลายื่นแบบแสดงรายการ ภาษี กรณีประเมินโดยอนุมัติ อธิบดีเห็นว่า ข้อเท็จจริงรับฟังได้ตามที่คู่ความแถลงรับกันว่า ภายในระยะเวลา 2 ปี นับแต่วันสุดท้ายแห่งกำหนดเวลายื่นแบบภาษีมูลค่าเพิ่ม สำหรับเดือนธันวาคม 2536 อธิบดีกรมสรรพากรไม่เคยอนุมัติให้เจ้าพนักงานประเมินประเมินภาษีมูลค่าเพิ่ม สำหรับเดือนธันวาคม 2536 นอกจากนี้ได้ความว่า กำหนดเวลา 5 ปี นับแต่วันสุดท้ายแห่งกำหนดเวลายื่นแบบ คือวันที่ 15 มกราคม 2542 ปรากฏว่า เจ้าพนักงานของจำเลยได้ขออนุมัติใช้อำนาจประเมินต่ออธิบดีกรมสรรพากรเมื่อ วันที่ 18 กันยายน 2541 อธิบดีกรมสรรพากรได้มีคำสั่งอนุมัติเมื่อวันที่ 22 กันยายน 2541 และส่งเรื่องกลับไปยังเจ้าพนักงานประเมินเมื่อวันที่ 14 มกราคม 2542 เจ้าพนักงานจึงออกหนังสือแจ้งการประเมินภาษีมูลค่าเพิ่มลงวันที่ 15 มกราคม 2542 แก่โจทก์ โดยเจ้าพนักงานประเมินส่งหนังสือแจ้งการประเมิน  ดังกล่าวเมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2542 และโจทก์ได้รับหนังสือแจ้งการประเมินภาษีมูลค่าเพิ่มเมื่อวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2542 ซึ่งพ้นกำหนดเวลา 5 ปี ตามกฎหมายแล้ว ดังนั้นการประเมินภาษีมูลค่าเพิ่มตามฟ้องจึงไม่ชอบ

ประเด็นที่สอง เกี่ยวกับค่าใช้จ่ายว่าเป็นรายจ่ายต้องห้ามในการคำนวณภาษีเงินได้ นิติบุคคลหรือไม่ ศาลฎีกาเห็นว่า

                     ค่าใช้จ่ายประเภทค่าใช้จ่ายเดินทางทั้งในประเทศและต่างประเทศ พยานหลักฐานโจทก์รับฟังไม่ได้ว่า         ค่าใช้จ่ายดังกล่าวเป็นรายจ่ายเพื่อกิจการของโจทก์โดยเฉพาะ จึงต้องห้ามมิให้ถือเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิ

                     ค่าใช้จ่ายในการซื้อของส่วนใหญ่ระบุเพียงว่า "เบ็ดเตล็ด" ไม่อาจพิจารณาได้ว่าเป็นรายจ่ายเพื่อกิจการของโจทก์โดยเฉพาะหรือไม่ และใบเสร็จรับเงินออกโดยห้างสรรพสินค้าระบุว่า ซื้อจากแผนกซุปเปอร์มาร์เก็ต บางฉบับระบุว่าเป็นการซื้ออาหาร ผัก ผลไม้ หลอดไฟ ฟิล์ม ไม้ถูพื้น อัลบั้ม กรอบรูป ถ่านไฟฉาย ซึ่งได้ความว่าโจทก์ไม่มีสถานประกอบการที่มีพนักงานนั่งประจำทำงานพยานหลัก ฐานโจทก์เท่าที่นำสืบมาจึงรับฟังไม่ได้ว่ารายจ่ายเบ็ดเตล็ดดังกล่าวข้างต้น เป็น      รายจ่ายเพื่อกิจการโดยเฉพาะของโจทก์

                     ค่าช่วยงานศพ และค่าช่วยงานแต่งงานนั้นเป็นรายจ่ายที่มีลักษณะเป็นการให้โดยเสน่หาเป็นการ ส่วนตัวของ  ผู้มีอำนาจจ่ายเงินของโจทก์ยิ่งกว่าประโยชน์ทางการค้าของโจทก์โดยตรง จึงมิใช่รายจ่ายเพื่อกิจการโจทก์โดยเฉพาะ

                     ค่าวีดีโอบูเช็คเทียน เป็นรายจ่ายที่มิใช่รายจ่ายเพื่อกิจการโจทก์โดยเฉพาะ เพราะโจทก์ก็ไม่มีสถาน      ประกอบการ จึงไม่มีสถานที่ไว้เพื่อให้ความบันเทิงแก่ลูกค้า

                     ค่าหนังสือเตรียมสอบปริญญาโท ไม่ปรากฏว่ากิจการของโจทก์เกี่ยวข้องกับการศึกษาระดับปริญญาโท      อย่างไรจึงรับฟังไม่ได้ว่าเป็นรายจ่ายเพื่อกิจการโจทก์โดยเฉพาะ ค่ารับรอง ใบเสร็จรับเงินของร้านอาหาร ระบุในช่องผู้ซื้อว่า "สด" และใบเสร็จรับเงินบางฉบับไม่ระบุชื่อผู้รับบริการ จึงไม่มีหลักฐานแสดงว่าโจทก์จ่ายเงินดังกล่าว

                     ค่ารับรองค่ารับรองจำนวนที่ 2 ใบเสร็จรับเงินระบุว่าจ่ายค่าอาหาร เครื่องดื่ม ห้องพัก ค่าซื้อของเกี่ยวกับ      เด็กอ่อน ดอกไม้ ค่าจ้างอัดรูป ค่าขนมเค้ก ขนมไหว้พระจันทร์ ใบเสร็จรับเงินบางฉบับไม่ปรากฏชื่อผู้ซื้อ บางฉบับระบุผู้ซื้อคือนายมานะชัย แม้จะได้ความว่าเป็นกรรมการผู้มีอำนาจของโจทก์ แต่โจทก์ก็เป็นนิติบุคคลแยกต่างหาก จึงไม่อาจถือเป็น   ค่ารับรองของโจทก์ได้ ค่ารับรองจำนวนที่ 3 ใบเสร็จรับเงิน ระบุว่า จ่ายค่าวีดีโอเรื่องมหัศจรรย์แผ่นดินจีน ค่าปลอกหมอน ผ้าปูที่นอน หนังสือโลกของคนตัวเล็ก เป็นรายจ่ายลักษณะเป็นส่วนตัวไม่เกี่ยวกับกิจการโจทก์ สำหรับค่ารับรองจำนวน      สุดท้ายใบเสร็จรับเงินระบุว่าจ่ายเป็นค่าอาหาร เครื่องดื่ม ขนม และขนมเค้ก ไม่ระบุชื่อผู้จ่ายเงิน จึงไม่ถือเป็นรายจ่ายของโจทก์ ค่ารับรองทั้ง 4 จำนวนจึงไม่เป็นรายจ่ายเกี่ยวกับกิจการหรือเพื่อกิจการโจทก์

                     ค่าซ่อมรถยนต์ สมุดบัญชีระบุวันโอนรถยนต์เป็นชื่อโจทก์ และวันที่โจทก์จ่ายเงินค่าซื้อรถยนต์คันดังกล่าว      วันเดียวกัน คือวันที่ 3 กันยายน 2536 และมีการลงบัญชีรถยนต์ เป็นทรัพย์สินของโจทก์ในวันเดียวกัน จึงต้องฟังว่าโจทก์ครอบครองรถยนต์คันดังกล่าวตั้งแต่วันที่ 3 กันยายน 2536 ข้อที่โจทก์อ้างว่าได้รับรถยนต์ดังกล่าวมาครอบครองใช้งานก่อนวันรับโอนขัด กับเอกสารทางทะเบียนของโจทก์เอง และโจทก์มีเพียงพยานบุคคลมาเบิกความลอย ๆ ไม่มีเอกสารอื่น      มายืนยันอีก พยานโจทก์จึงไม่น่ารับฟัง ดังนั้นค่าซ่อมรถยนต์ที่เกิดก่อนวันที่โจทก์ซื้อรถยนต์ คันดังกล่าวมา จึงรับฟังไม่ได้ว่าเป็นรายจ่ายของโจทก์

                     ค่าใช้จ่ายเดินทางจำนวน 73,616.64 บาท ศาลภาษีอากรกลางวินิจฉัยว่าค่าใช้จ่ายดังกล่าวเป็นรายจ่ายที่โจทก์ได้จ่ายไป ในธุรกิจของโจทก์ ถือเป็นรายจ่ายที่มีลักษณะเป็น การส่วนตัว ต้องห้ามมิให้ถือเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิตามมาตรา 65 ตรี (3) แห่งประมวลรัษฎากร จึงเป็นการวินิจฉัยนอกเหนือจากคำให้การจำเลยและนอกประเด็น   ไม่ชอบ เมื่อได้ความตามคำเบิกความของพยานโจทก์ว่า ค่าใช้จ่ายเดินทางดังกล่าวโจทก์จ่ายให้แก่ บริษัท ลีเบนน์แทรเวลเซอร์วิส จำกัด ตามสำเนาเช็คและมีการเรียกเก็บเงินธนาคารแล้ว โดยมีใบเสร็จรับเงินกับใบสั่งจ่ายมาแสดง จึงเป็นรายจ่ายซึ่งโจทก์สามารถพิสูจน์ผู้รับได้ ไม่ต้องห้ามตามมาตรา 65 ตรี (18) อุทธรณ์โจทก์ฟังขึ้น

ประเด็นสุดท้าย เกี่ยวกับเบี้ยปรับภาษีเงินได้นิติบุคคล ศาลฎีกาเห็นว่าคณะกรรมการพิจาณาอุทธรณ์ได้พิจารณาลดเบี้ยปรับภาษีเงินได้ นิติบุคคลให้โจทก์แล้วโดยให้เรียกเก็บเบี้ยปรับโจทก์เพียงร้อยละห้าสิบของ เบี้ยปรับตามกฎหมาย เพราะเห็นว่าโจทก์ให้ความร่วมมือในการตรวจสอบด้วย ซึ่งนับว่าเป็นผลดีแก่โจทก์และเหมาะสมดีแล้ว ไม่มีเหตุที่ศาลฎีกาจะพิจารณางดหรือลดเบี้ยปรับให้โจทก์อีก พิพากษาแก้เป็นว่า ให้เพิกถอนการประเมินภาษีมูลค่าเพิ่มตามหนังสือแจ้งการประเมินภาษีมูลค่า เพิ่มที่ 1001010/5/100399 ลงวันที่ 15 มกราคม 2542 และคำวินิจฉัยอุทธรณ์ ของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ตามฟ้องกับให้เพิกถอนการประเมินภาษีเงินได้ นิติบุคคลตามหนังสือแจ้งการประเมินภาษีเงินได้นิติบุคคลที่ 1001010/2/100029 ลงวันที่ 29 มกราคม 2542 และคำวินิจฉัยอุทธรณ์ของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ตามฟ้องเฉพาะส่วนค่าใช้ จ่ายเดินทางจำนวน 73,616.64 บาท ให้ถือเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิได้       นอกจากที่แก้คงให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลภาษีอากรกลาง ค่าฤชาธรรมเนียมชั้นอุทธรณ์ให้เป็นพับ

ค่าขนส่ง การหักภาษี ณ จ่ายและภาษีมูลค่าเพิ่ม รวมคำถามคำตอบ

คำถาม: หาก กิจการประกอบกิจการขายสินค้า ไม่ได้ประกอบกิจการขนส่งเป็นปกติธุระ แต่มีการเรียกเก็บค่าขนส่งเพิ่มจากค่าสินค้า ต้องหักภาษี ณ ที่จ่ายค่าขนส่งที่เรียกเก็บหรือไม่ (401164)

คำตอบ: ค่าขนส่งที่เรียกเก็บเพิ่มจากค่าขายสินค้า ไม่ว่าจะเรียกเก็บค่าขนส่งรวมกับราคาสินค้า หรือ แยกออกจากราคาสินค้า ค่าสินค้าที่รวมกับค่าขนส่ง ถือเป็นเงินได้จากการขายสินค้า ไม่อยู่ในบังคับที่ต้องหักภาษี ณ ที่จ่าย แต่อย่างใด

คำถาม: การจ่ายค่าขนส่ง ต้องหักภาษี ณ ที่จ่ายอย่างไร (401281)

คำตอบ: การจ่ายค่าขนส่ง แต่ไม่รวมถึงการจ่ายค่าโดยสารสำหรับการขนส่งสาธารณะ 
             1. ผู้จ่ายเงินเป็นบุคคลธรรมดา ไม่ต้องหักภาษี ณ ที่จ่าย เพราะไม่อยู่ในบังคับต้องหักภาษี ณ ที่จ่าย
             2. ผู้จ่ายเงินเป็นนิติบุคคล และจ่ายให้แก่ผู้รับซึ่งเป็นบุคคลธรรมดา หรือนิติบุคคลในประเทศ แต่ไม่รวมถึงมูลนิธิ หรือสมาคม ให้หักภาษี ณ ที่จ่ายในอัตราร้อยละ 1 ตามข้อ 12/4 ของคำสั่งกรมสรรพากรที่ ท.ป.4/2528ฯ

คำถาม: บริษัทว่าจ้างให้ห้างหุ้นส่วนจำกัด ขนส่งคนจากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่งจะต้องหักภาษี ณ ที่จ่ายในอัตราใด (401284)

คำตอบ: หักภาษี ณ ที่จ่ายในอัตราร้อยละ 1 ตามข้อ 12/4 ของคำสั่งกรมสรรพากรที่ ท.ป.4/2528ฯ (จะถือเป็นค่าขนส่ง คือต้องไม่มีการส่งมอบการครอบครองรถ และมีจุดรับส่งแน่นอน)

คำถาม: กรณี บริษัทขนส่งจดทะเบียนเป็นธุรกิจประเภทขนส่ง รับจ้างขนส่งให้บริษัทผู้ว่าจ้าง จะหักภาษี ณ ที่จ่ายอย่างไร (มีทั้งค่าเที่ยวและค่าแรงในใบแจ้งหนี้ใบเดียวกัน) และหากเป็นบุคคลธรรมดามารับจ้างขนส่งสินค้าให้บริษัทในกรณีเดียวกันจะหัก ภาษี ณ ที่จ่ายอย่างไร (401617)

คำตอบ: ถือเป็นการจ่ายค่าขนส่งทั้งจำนวน ไม่ว่าจะจ่ายให้กับบุคคลธรรมดา หรือนิติบุคคล หักภาษี ณ ที่จ่ายในอัตราร้อยละ 1 ตามข้อ 12/4 ของคำสั่งกรมสรรพากรที่ ท.ป.4/2528ฯ

คำถาม: กรณีบริษัทจ้างรถขนของจากที่หนึ่งไปอีกที่หนึ่ง ต้องหักภาษี ณ ที่จ่ายหรือไม่ (401637)

คำตอบ: ไม่ว่าจะจ่ายให้กับบุคคลธรรมดา หรือนิติบุคคล แต่ไม่รวมถึงมูลนิธิหรือสมาคม หักภาษี ณ ที่จ่ายในอัตราร้อยละ 1 ตามข้อ 12/4 ของคำสั่งกรมสรรพากรที่ ท.ป.4/2528ฯ (จะถือเป็นค่าขนส่ง คือต้องไม่มีการส่งมอบการครอบครองรถ และมีจุดรับส่งแน่นอน)

คำถาม: บริษัทในประเทศได้ว่าจ้าง บริษัท Forwarding เพื่อขนส่งสินค้าให้ในต่างประเทศ ค่าขนส่งสินค้าจะต้องมีภาษีมูลค่าเพิ่มหรือไม่ (401682)

คำตอบ: การให้บริการขนส่งสินค้าในต่างประเทศดังกล่าวถือเป็นการให้บริการที่กระทำ นอกราชอาณาจักรและได้มีการใช้บริการนั้นนอกราชอาณาจักร จึงไม่อยู่ในบังคับต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม ตามมาตรา 77/2 แห่งประมวลรัษฎากร ประกอบกับ ข้อ 6 ของคำสั่งกรมสรรพากรที่ ป.104/2544ฯ

คำถาม: บริษัท ว่าจ้างรถยกมายกสินค้า จะต้องหักภาษี ณ ที่จ่ายอย่างไร (401707)

คำตอบ: กรณีจ้างรถยกมายกสินค้า หากไม่มีการให้บริการอย่างอื่นด้วย ถือเป็นการจ่ายเงินได้ค่าขนส่ง ไม่ว่าบริษัทจะจ่ายให้กับบุคคลธรรมดา หรือนิติบุคคล แต่ไม่รวมถึงมูลนิธิหรือสมาคม หักภาษี ณ ที่จ่ายในอัตราร้อยละ 1 ตามข้อ 12/4 ของคำสั่งกรมสรรพากรที่ ท.ป.4/2528ฯ

คำถาม: บริษัทจ่ายค่าขนส่งสินค้าระหว่างประเทศให้กับบริษัทสายการบินไทย โดยการขนส่งสินค้าออกทางท่าอากาศยาน ต้องหักภาษี ณ ที่จ่ายอย่างไร (401735)

คำตอบ: ต้องหักภาษี ณ ที่จ่ายในอัตราร้อยละ 1 ของค่าขนส่งตามที่ระบุไว้ในใบตราส่งสินค้า (แอร์เวย์บิล)  ตามคำสั่งกรมสรรพากรที่ ป.126/2546ฯ

คำถาม: ผู้ประกอบการจดทะเบียนขายสินค้าพร้อมค่าขนส่ง จะต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มอย่างไร (401749)

คำตอบ: ผู้ประกอบการจดทะเบียนประกอบกิจการขายสินค้า ไม่ได้ประกอบกิจการขนส่งเป็นปกติธุระ ขายสินค้าให้แก่ลูกค้า โดยขนส่งสินค้าให้และเรียกเก็บค่าขนส่งเพิ่มจากค่าสินค้า ไม่ว่าจะเรียกเก็บ ค่าขนส่งรวมกับราคาสินค้าหรือแยกออกจากราคาสินค้า  ค่าสินค้ารวมกับค่าขนส่ง ถือเป็นเงินได้จากการขายสินค้า ต้องนำมูลค่าของสินค้าและค่าขนส่งมารวมคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่ม

คำถาม: จ่ายค่าขนส่งให้กับรถตู้ Container และค่าแรงงาน คนละบริษัทกัน ต้องหักภาษี ณ ที่จ่ายอย่างไร (401950)

คำตอบ: ต้องหักภาษี ณ ที่จ่ายในอัตราร้อยละ 1 สำหรับเงินได้ที่จ่ายให้รถตู้ Container และหักภาษี ณ ที่จ่ายในอัตราร้อยละ 3 สำหรับการจ่ายค่าแรง แต่หากเป็นการจ่ายให้กับบริษัทเดียวกัน ถือเป็นการจ่ายค่าขนส่งทั้งจำนวน ต้องหักภาษี ณ ที่จ่ายในอัตราร้อยละ 1 ของจำนวนทั้งหมด (ค่ารถตู้และค่าแรง)

คำถาม: บริษัทเป็นผู้จ่ายค่าขนส่งสินค้า เมื่อขายสินค้าให้กับลูกค้า บริษัทจะต้องเรียกเก็บค่าขนส่งจากลูกค้าและเสียภาษีมูลค่าเพิ่มอย่างไร (402264)

คำตอบ: กรณีผู้ประกอบการจดทะเบียนประกอบกิจการขายสินค้า ไม่ได้ประกอบกิจการขนส่งเป็นปกติธุระ เมื่อขายสินค้าให้แก่ลูกค้า โดยขนส่งสินค้าให้และเรียกเก็บค่าขนส่งเพิ่มจากค่าสินค้า ไม่ว่าจะเรียกเก็บ ค่าขนส่งรวมกับราคาสินค้าหรือแยกออกจากราคาสินค้า ค่าสินค้ารวมกับค่าขนส่ง ถือเป็นเงินได้จากการขายสินค้า ตามมาตรา 77/1(8) แห่งประมวลรัษฎากร ต้องนำมูลค่าของสินค้าและค่าขนส่งมารวมคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่ม

คำถาม: ห้าง ประกอบกิจการรับเหมาก่อสร้าง ได้ว่าจ้างบุคคลธรรมดาที่มีรถบรรทุก ขนวัสดุก่อสร้างไปยังหน้างาน โดยตกลงว่าจ้างกันเป็นรายเที่ยว จะต้องหักภาษี ณ ที่จ่ายอย่างไร (402667)

คำตอบ: บุคคลธรรมดา ได้รับเงินได้พึงประเมินที่เป็นค่าขนส่งซึ่งมิใช่การขนส่งสาธารณะ จากบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล หรือนิติบุคคลอื่น ตามสัญญารายหนึ่ง ๆ มีจำนวนตั้งแต่ 1,000 บาทขึ้นไป แม้การจ่ายนั้นจะแบ่งจ่ายครั้งหนึ่ง ๆ ไม่ถึง 1,000 บาท บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล หรือนิติบุคคลอื่น ที่เป็นผู้จ่ายเงินได้พึงประเมินมีหน้าที่ต้องหักภาษี ณ ที่จ่าย ในอัตราร้อยละ 1 ตามข้อ 12/4 และ 12/5 ของคำสั่งกรมสรรพากรที่ ท.ป.4/2528ฯ

คำถาม: บริษัทขายสินค้าพร้อมขนส่ง คำนวณภาษีขายอย่างไร (403608)

คำตอบ: กรณีบริษัทขายสินค้าพร้อมให้บริการขนส่งสินค้าให้แก่ลูกค้าด้วย โดยบริษัทไม่ได้เป็นผู้ประกอบการขนส่งเป็นปกติ แม้บริษัทจะออกใบกำกับภาษีโดยระบุราคาสินค้าและค่าขนส่งแยกออกจากกัน บริษัทต้องนำมูลค่าของสินค้าซึ่งรวมค่าขนส่งมารวมคำนวณเป็นฐานภาษีสำหรับการ ขายสินค้าเพื่อเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม ตามมาตรา 79 แห่งประมวลรัษฎากร

คำถาม: จ่ายค่าขนส่งสินค้าโดยทางเรือ (ทางทะเล) กรณีนำเข้าสินค้าจากต่างประเทศ ต้องหักภาษี ณ ที่จ่ายหรือไม่ (404046)

คำตอบ: จ่ายค่าขนส่งสินค้าขาเข้าทางทะเล  ต้องหักภาษี ณ ที่จ่าย ดังนี้
              1. กรณีผู้ใช้บริการ (Consignee หรือ Forwarder) จ่ายค่าระวางให้กับสายการเดินเรือ โดยสายการเดินเรือออกใบเสร็จรับเงินในนามของผู้ใช้บริการ (Consignee หรือ Forwarder)  กรณีสายการเดินเรือเป็น
               (1) สายการเดินเรือไทยที่เข้าลักษณะ ตามมาตรา 3 แห่งพระราชกฤษฎีกาฯ (ฉบับที่ 314) พ.ศ.2540 ผู้ใช้บริการซึ่งเป็นผู้จ่ายเงินได้ไม่มีหน้าที่ต้องหักภาษี ณ ที่จ่าย 
               (2) สายการเดินเรือต่างประเทศ เนื่องจากเป็นการจ่ายค่าขนส่งสินค้าขาเข้า ซึ่งไม่เป็นฐานภาษีในการเสียภาษีเงินได้นิติบุคคล ตามมาตรา 67 แห่งประมวลรัษฎากร ผู้ใช้บริการซึ่งเป็นผู้จ่ายเงินได้ จึงไม่มีหน้าที่ต้องหักภาษี ณ ที่จ่าย 
              2. กรณีผู้ใช้บริการ (Consignee หรือ Forwarder B) จ่ายค่าระวางให้กับ Forwarder A โดย Forwarder A กระทำการในฐานะเป็นตัวแทนของ Forwarder ในต่างประเทศ และได้ออกใบเสร็จรับเงินในนามของผู้ใช้บริการ ถือว่าผู้ใช้บริการจ่ายค่าขนส่งสินค้าขาเข้าซึ่งไม่เป็นฐานภาษีในการเสีย ภาษีเงินได้นิติบุคคล ตามมาตรา 67 แห่งประมวลรัษฎากร ผู้ใช้บริการซึ่งเป็นผู้จ่ายเงินได้จึงไม่มีหน้าที่ต้องหักภาษี ณ ที่จ่าย ในส่วนที่กระทำการแทนนั้น แต่ผู้ใช้บริการยังคงมีหน้าที่ต้องหักภาษี ณ ที่จ่าย ในอัตราร้อยละ 3 ของค่าบริการที่ Forwarder A ได้รับจากการดำเนินการแทน(Handling Charge)

คำถาม: บริษัท ซื้อสินค้าจากบริษัทในสวิตเซอร์แลนด์ ไม่มีสถานประกอบการในไทย และให้ส่งสินค้าให้ด้วย บริษัทต้องหักภาษี ณ ที่จ่ายอย่างไร เมื่อจ่ายค่าสินค้า เนื่องจากในใบเสร็จรับเงิน แสดงยอดค่าซื้อสินค้า และค่าขนส่ง (404088)

คำตอบ: ค่าขนส่ง เป็นเงินได้ ตามมาตรา 40(8) แห่งประมวลรัษฎากร ดังนั้น ค่าซื้อสินค้าและค่าขนส่ง ไม่ต้องหักภาษี ณ ที่จ่ายและนำส่ง ตามมาตรา 70 แห่งประมวลรัษฎากร แต่อย่างใด

คำถาม: บริษัท จ่ายค่าขนส่งเอกสาร พัสดุภัณฑ์ สินค้า และสิ่งของ ให้กับบริษัทที่ประกอบกิจการรับขนส่งเอกสารด้วยรถจักรยานยนต์ ตามคำสั่งของผู้ว่าจ้าง ซึ่งผู้ว่าจ้างอาจเรียกใช้เป็นครั้งคราว หรือเป็นประจำทุกสัปดาห์หรือทุกเดือน เรียกเก็บค่าขนส่งจากระยะทางใกล้หรือไกล และหรือไม่ (404634)

คำตอบ: การให้บริการข้างต้นเข้าลักษณะเป็นการให้บริการขนส่งในราชอาณาจักร เป็นเงินได้พึงประเมิน ตามมาตรา 40(8) แห่งประมวลรัษฎากร  ผู้จ่ายเงินได้ซึ่งเป็นบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลหรือนิติบุคคลอื่น มีหน้าที่ต้องหักภาษี ณ ที่จ่าย ในอัตราร้อยละ  1 ตามข้อ 12/4(2) ของคำสั่งกรมสรรพากรที่ ท.ป.4/2528ฯ และได้รับยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม ตามมาตรา 81(1)(ณ) แห่งประมวลรัษฎากร

คำถาม: กิจการซื้อขายสินค้า มีค่าขนส่งหรือค่าบริการที่เกิดจากการขายสินค้า จะต้องหัก ณ ที่จ่ายสำหรับค่าขนส่งหรือค่าบริการนั้นหรือไม่ (404653)

คำตอบ: กรณีขายสินค้าโดยผู้ขายได้เรียกเก็บค่าขนส่งจากผู้ซื้อสินค้าโดยจะแยกราคา ค่าสินค้าและค่าขนส่งออกจากกันหรือไม่ ถือเป็นการขายสินค้า ไม่ต้องหักภาษี ณ ที่จ่าย  เว้นแต่ผู้ขายสินค้าได้ประกอบกิจการรับขนส่งเป็นปกติอยู่แล้ว และได้มีการขายสินค้าโดยได้ใช้รถยนต์ที่รับขนส่งมาขนส่งสินค้าให้บริษัท ลูกค้าที่ซื้อสินค้าจากตนเอง และเรียกเก็บค่าขนส่งแยกต่างหากจากกัน กรณีนี้บริษัทลูกค้าจะต้องหักภาษี ณ ที่จ่าย สำหรับค่าขนส่ง ในอัตราร้อยละ 1 ตามข้อ 12/4 ของคำสั่งกรมสรรพากรที่ ท.ป.4/2528ฯ

คำถาม: กรณี จ้างรถเครนยกหรือย้ายเสาปูน ถือเป็นค่าเช่าหรือค่าขนส่ง และในกรณีรถขนปูนผงมาส่งให้บริษัท โดยคิดค่าขนส่งรวมกับราคาสินค้า แต่แยกรายการสินค้าและค่าขนส่ง ต้องหัก ณ ที่จ่ายหรือไม่ (404683)

คำตอบ:  หากรับจ้างขนยกอย่างเดียวและการครอบครองรถไม่ได้อยู่ที่ผู้ว่าจ้าง การขนยกดังกล่าวเป็นการขนส่งหักภาษี ณ ที่จ่าย ในอัตราร้อยละ 1 ตามข้อ 12/4 ของคำสั่งกรมสรรพากรที่ ท.ป.4/2528ฯ หาก ผู้ขายเรียกเก็บเป็นค่าสินค้าและค่าขนส่ง โดยผู้ขายไม่ได้ประกอบธุรกิจรับขนส่ง เป็นค่าสินค้ารวมค่าขนส่งถือเป็นค่าตอบแทนจากการซื้อขายสินค้า ไม่ต้องหักภาษี ณ ที่จ่าย แม้จะแยกรายการเรียกเก็บเงิน

คำถาม: ผู้ ใช้บริการ ใช้บริการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศโดยอากาศยาน (ส่งออกสินค้าไปต่างประเทศ) เมื่อจ่ายค่าขนส่งสินค้าระหว่างประเทศให้กับสายการบินต่างๆ เช่น Fedex ต้องหักภาษี ณ ที่จ่าย หรือไม่ (404699)

คำตอบ: 1. กรณีจ่ายให้กับสายการบินไทย ผู้จ่ายเงินมีหน้าที่ต้องหักภาษีหัก ณ ที่จ่าย ในอัตราร้อยละ 3 ของยอดรวมทั้งหมด และออกหนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่ายให้กับสายการบิน
             2. กรณีจ่ายให้กับสายการบินต่างประเทศ ซึ่งมีถิ่นที่อยู่ในประเทศที่ไม่มีอนุสัญญาเพื่อการเว้นการเก็บภาษีซ้อนกับ ไทย ผู้จ่ายเงินมีหน้าที่ต้องหักภาษีหัก ณ ที่จ่าย ในอัตราร้อยละ 3 ของยอดรวมทั้งหมด และออกหนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่ายให้กับสายการบิน
             3. กรณีจ่ายให้กับสายการบินต่างประเทศ ซึ่งมีถิ่นที่อยู่ในประเทศที่มีอนุสัญญาภาษีซ้อนกับไทย หากอนุสัญญาดังกล่าวมีข้อกำหนดให้เก็บภาษีได้เฉพาะในรัฐผู้ทำสัญญารัฐนั้น เท่านั้น ผู้จ่ายเงินไม่มีหน้าที่ต้องหักภาษีหัก ณ ที่จ่าย แต่หากอนุสัญญาดังกล่าวมีข้อกำหนดให้เก็บภาษีได้ ในอัตราร้อยละ 1.5 ของรายได้ทั้งหมดที่ได้รับ ผู้จ่ายเงินมีหน้าที่ต้องหักภาษีหัก ณ ที่จ่าย ในอัตราร้อยละ 1.5 ของยอดรวมทั้งหมด และออกหนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย ให้กับสายการบิน อนึ่งคณะรัฐมนตรีได้ให้ความเห็นชอบในการปรับลดอัตราภาษีหัก ณ ที่จ่าย สำหรับการจ่ายเงินค่าขนส่ง จากอัตราร้อยละ 3 เป็นอัตราร้อยละ 1 โดยให้มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 15 กันยายน พ.ศ.2544 เป็นต้นไป ตามข้อ 12/4 ของคำสั่งกรมสรรพากรที่ ท.ป.4/2528ฯ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยคำสั่งกรมสรรพากรที่ ท.ป.104/2544ฯ ประกอบกับข้อ 2 ของคำสั่งกรมสรรพากรที่ ป.126/2546ฯ

คำถาม: บริษัทจ้างบริษัทชิปปิ้งเดินพิธีการออกของให้ ทางบริษัทชิปปิ้งจะคิดค่าบริการ หักภาษี ณ ที่จ่ายอย่างไร (404726)

คำตอบ: กรณีบริษัทชิปปิ้งเป็นผู้ประกอบการให้บริการดำเนินการออกของจากการท่าเรือ และให้บริการขนส่งสินค้าแก่ลูกค้าด้วย หากบริษัทชิปปิ้งมิได้เป็นผู้ประกอบการให้บริการขนส่งเป็นปกติธุระ แม้บริษัทชิปปิ้งจะได้ให้บริการขนส่งสินค้าแก่ลูกค้าด้วยไม่ว่าจะใช้ยาน พาหนะของตนเองหรือผู้อื่น และไม่ว่าจะแยกค่าขนส่งออกจากราคาค่าบริการออกของได้หรือไม่ เข้าลักษณะเป็นการให้บริการ  ต้องหักภาษี ณ ที่จ่ายในอัตราร้อยละ 3 ตามข้อ 8 ของคำสั่งกรมสรรพากรที่ ท.ป.4/2528ฯ

คำถาม: บริษัท นำเข้าสินค้าจากสิงคโปร์ บริษัทผู้ขายได้ส่งบิลมาเรียกเก็บค่าขนส่งจากบริษัท เมื่อบริษัทจ่ายค่าขนส่งดังกล่าวจะต้องหักภาษี ณ ที่จ่ายหรือไม่ (405617)

คำตอบ: ค่าขนส่งเป็นเงินได้ ตามมาตรา 40(8) แห่งประมวลรัษฎากร ดังนั้นค่าซื้อสินค้าและค่าขนส่ง ไม่ต้องหักภาษี ณ ที่จ่ายและนำส่ง ตามมาตรา 70 แห่งประมวลรัษฎากร แต่อย่างใด

คำถาม: บริษัท จ่ายค่าขนส่งสินค้าโดยระบบคอนเทนเนอร์ จำนวน 1,600 บาท และค่าบริการ Handling Charge จำนวน 500 บาท ซึ่งออกใบแจ้งหนี้ 2 ฉบับ บริษัทต้องหักภาษี ณ ที่จ่าย หรือไม่ (408279)

คำตอบ: :บริษัทต้องหักภาษี ณ ที่จ่าย ค่าขนส่งและค่าบริการ เนื่องจากเป็นการจ่ายเงินที่มีจำนวนตามสัญญารายหนึ่งๆ จำนวนตั้งแต่ 1,000 บาทขึ้นไป โดยหักภาษี ณ ที่จ่าย ดังนี้
          ค่าขนส่งสินค้าโดยระบบ คอนเทนเนอร์ ที่ระบุไว้ใน Freight Invoice ถือเป็นค่าขนส่ง อยู่ในบังคับต้องหักภาษี ณ ที่จ่าย ในอัตราร้อยละ 1 ตามข้อ 12/5 ของคำสั่งกรมสรรพากรที่ ท.ป.4/2528ฯ ประกอบกับข้อ 4 ของคำสั่งกรมสรรพากรที่ ป.110/2545ฯ
          ค่าบริการ (Handling Charge)  ในอัตราร้อยละ 3 ตามข้อ 12/1 ของคำสั่งกรมสรรพากรที่ ท.ป.4/2528ฯ ประกอบกับข้อ 4 ของคำสั่งกรมสรรพากรที่ ป.110/2545ฯ

คำถาม: การ ให้บริการเช่ารถแม็คโครและขนรถแม็คโครไปยังสถานที่ที่ผู้ว่าจ้างกำหนด ถือเป็นค่าบริการทั้งหมดหรือไม่ สามารถแยกเป็นค่าขนส่งและค่าเช่าได้หรือไม่ (409227)

คำตอบ: การให้บริการเช่ารถแม็คโครและขนรถแม็คโครไปยังสถานที่ที่ผู้ว่าจ้างกำหนด ค่าเช่ารวมกับค่าขนส่งดังกล่าว ถือเป็นเงินหรือประโยชน์อย่างอื่นที่ได้เนื่องจากการให้เช่าทรัพย์สิน ตามมาตรา 40(5)(ก) แห่งประมวลรัษฎากร บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลหรือนิติบุคคลอื่นผู้จ่ายค่าเช่ามีหน้าที่ต้องหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่ายในอัตราร้อยละ 5 ตามข้อ 6(1) ของคำสั่งกรมสรรพากรที่ ท.ป.4/2528ฯ

คำถาม: บริษัท รับจ้างขนส่งหน้าดินและจะต้องมีการเกลี่ยปรับให้เรียบร้อยตามที่ผู้ว่าจ้าง กำหนด ได้เรียกเก็บค่าขนส่งแยกต่างหาก เมื่อบริษัทผู้ว่าจ้างจ่ายเงินต้องหักภาษี ณ ที่จ่าย หรือไม่ (409601)

คำตอบ: เป็นการมุ่งจะปฏิบัติตามสัญญาเพื่อผลสำเร็จของงาน เข้าลักษณะสัญญาจ้างทำของ ต้องหักภาษี ณ ที่จ่าย ในอัตราร้อยละ 3 ตามข้อ 8 ของคำสั่งกรมสรรพากรที่ ท.ป.4/2528ฯ

คำถาม: บริษัท เป็นสาขาของบริษัทในสหรัฐอเมริกา มีรายได้จากการขนส่งพัสดุทางอากาศเร่งด่วนระหว่างประเทศ (International Priority) ทั้งขาเข้า และขาออกตามสัญญารับขนที่ทำกับลูกค้า ในการให้บริการขนส่งพัสดุแบบเร่งด่วนต้องดำเนินการด้านพิธีการศุลกากรสำหรับ พัสดุที่นำเข้าหรือส (409739)

คำตอบ:
          1. ภาษีเงินได้นิติบุคคล และภาษีหัก ณ ที่จ่าย
              (1) ค่าขนส่งพัสดุระหว่างประเทศ เนื่องจากค่าบริการรับขนพัสดุระหว่างประเทศเข้าลักษณะเป็นเงินได้จากการ ดำเนินการเดินอากาศยานในการจราจรระหว่างประเทศ ดังนั้น หากบริษัทมีถิ่นที่อยู่ในทางภาษีอากรในสหรัฐอเมริกา และไม่ถูกจำกัดสิทธิประโยชน์ในการใช้อนุสัญญา ตามข้อ 18 แห่งอนุสัญญาภาษีซ้อนระหว่างไทยกับสหรัฐอเมริกา ค่าบริการรับขนดังกล่าวจะได้รับยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลในไทย ตามข้อ 8 วรรคหนึ่ง (ก) แห่งอนุสัญญาดังกล่าว และ มาตรา 3 แห่งพระราชกฤษฎีกาฯ (ฉบับที่ 18) พ.ศ.2505 และเมื่อลูกค้าจ่ายค่าขนส่งดังกล่าวจึงไม่มีหน้าที่หักภาษี ณ ที่จ่าย  
              (2) ค่าภาษีศุลกากรที่สำรองจ่ายไป และเรียกเก็บคืนตามจำนวนที่จ่ายจริง เนื่องจากค่าภาษีศุลกากรจากการนำเข้าหรือส่งออกพัสดุเป็นภาระของลูกค้า จึงไม่เข้าลักษณะเป็นเงินได้ที่ต้องเสียภาษีเงินได้นิติบุคคล และเมื่อลูกค้าจ่ายค่าภาษีศุลกากรดังกล่าวจึงไม่มีหน้าที่หักภาษี ณ ที่จ่าย  
              (3) ค่าธรรมเนียมการดำเนินการด้านพิธีการศุลกากร ไม่เข้าลักษณะเป็นเงินได้จากกิจการที่มีความสัมพันธ์อย่างใกล้ชิดกับการขน ส่ง ดังนั้นเงินได้ดังกล่าวจึงไม่ใช่ส่วนหนึ่งของเงินได้จากการขนส่งทางอากาศ ระหว่างประเทศ แต่ถือเป็นกำไรจากธุรกิจ ฉะนั้น เมื่อบริษัทให้บริการกับลูกค้าถือเป็นให้บริการผ่านสถานประกอบการถาวรในไทย ตามข้อ 5 วรรคสอง แห่งอนุสัญญาฉบับดังกล่าว บริษัทต้องนำค่าธรรมเนียมดังกล่าวมารวมคำนวณกำไรสุทธิเพื่อเสียภาษีเงินได้ นิติบุคคล ตามมาตรา 66 วรรคสอง แห่งประมวลรัษฎากร และข้อ 7 วรรคหนึ่งแห่งอนุสัญญาดังกล่าว และเมื่อลูกค้าจ่ายค่าธรรมเนียมดังกล่าวมีหน้าที่หักภาษี ณ ที่จ่าย ในอัตราร้อยละ 3 ตามข้อ 12/1 ของคำสั่งกรมสรรพากรที่ ท.ป.4/2528ฯ
          2. ภาษีมูลค่าเพิ่ม  
             (1) ค่าขนส่งพัสดุระหว่างประเทศ เข้าลักษณะเป็นการให้บริการขนส่งระหว่างประเทศโดยอากาศยานที่กระทำโดยผู้ ประกอบการที่เป็นนิติบุคคล ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม ในอัตราร้อยละ 0 ตามมาตรา 80/1(3) แห่งประมวลรัษฎากร
             (2) ค่าภาษีศุลกากรที่สำรองจ่ายไป และเรียกเก็บคืนตามจำนวนที่จ่ายจริง เนื่องจากค่าภาษีศุลกากรจากการนำเข้าหรือส่งออกพัสดุเป็นภาระของลูกค้า จึงไม่เข้าลักษณะเป็นรายรับที่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม
             (3) ค่าธรรมเนียมการดำเนินการด้านพิธีการศุลกากร เข้าลักษณะเป็นการให้บริการโดยผู้ประกอบการ ตามมาตรา 77/2 แห่งประมวลรัษฎากร และอยู่ในข่ายต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มในอัตราร้อยละ 7 ตามมาตรา 80 แห่งประมวลรัษฎากร

 

ผู้เรียบเรียง : เกียรติชัย