ขยายเวลายื่นแบบภาษีเงินได้ทุกชนิดในท้องที่ที่เกิดภัยพิบัติอุทกภัย (น้ำท่วม)

เลขที่ข่าว ปชส. 6/2555
วันที่แถลงข่าว 3 พฤศจิกายน 2554
เรื่อง คำชี้แจงแนวปฏิบัติการเสียภาษีของผู้ได้รับผลกระทบจากภัยพิบัติอุทกภัย
........................................................................................

จากสถานการณ์ภัยพิบัติอุทกภัยในปัจจุบันมีผลกระทบทำให้ผู้เสียภาษีทั้งที่เป็นบุคคลธรรมดาและนิติบุคคลได้รับความเดือดร้อนเป็นจำนวนมากและยังมีการขยายเป็นวงกว้างอย่างต่อเนื่อง กรมสรรพากรได้มีการนำเสนอขออนุมัติจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังให้มีการขยายกำหนดเวลาการยื่นแบบแสดงรายการและชำระภาษีอากรให้แก่ผู้มีหน้าที่เสียภาษีในท้องที่ที่เกิดอุทกภัย เพื่อเป็นการบรรเทาความเดือดร้อนแก่ผู้เสียภาษี โดยมีรายละเอียดดังนี้

1. กรณีการขยายระยะเวลาการยื่นแบบแสดงรายการและชำระภาษีอากร

    1.1 ปัจจุบันกระทรวงการคลังได้อนุมัติให้มีการขยายกำหนดเวลาการยื่นแบบและชำระภาษีอากรให้กับพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบจากอุทกภัยในเขตท้องที่ต่าง ๆ ดังนี้
          - สำนักงานสรรพากรภาค 4 ได้แก่
           (1) สำนักงานสรรพากรพื้นที่สาขา (สส.) ทุกแห่ง ในท้องที่ สำนักงานสรรพากรพื้นที่ (สท.) พระนครศรีอยุธยา 1 สท. พระนครศรีอยุธยา 2 สท. ชัยนาท สท. สิงห์บุรี สท. อ่างทอง สท. อุทัยธานี สท. ลพบุรี สท. ปทุมธานี 1 สท. ปทุมธานี 2 สท. นนทบุรี
           (2) ท้องที่ สส. เมืองสระบุรี สส. แก่งคอย สส. บ้านหมอ สส. เสาไห้ สส. ดอนพุด สส. หนองโดน สส. เฉลิมพระเกียรติ ใน สท. สระบุรี
        - สำนักงานสรรพากรภาค 6 ได้แก่ ท้องที่ สส. บางเลน ใน สท. นครปฐม 1
        - สำนักงานสรรพากรภาค 7 ได้แก่
          (1) ท้องที่ สส. เมืองสุโขทัย สส. สวรรคโลก สส. ศรีสำโรง ใน สท. สุโขทัย
          (2) ท้องที่ สส. เมืองนครสวรรค์ สส. ท่าตะโก สส. โกรกพระ สส. บรรพตพิสัย สส. ชุมแสง สส. ลาดยาว สส. พยุหะคีรี สส. ตาคลี สส. เก้าเลี้ยว ใน สท. นครสวรรค์
          (3) ท้องที่ สส. เมืองพิษณุโลก สส. บางระกำ สส. บางกระทุ่ม สส. เนินมะปราง สส. วังทอง สส. พรหมพิราม ใน สท. พิษณุโลก
          (4) ท้องที่ สส. ทุกแห่งใน สท. พิจิตร
        - สำนักงานสรรพากรภาค 8 ได้แก่
          (1) ท้องที่ สส. เมืองเชียงใหม่ 1 สส. เมืองเชียงใหม่ 2 สส. หางดง สส. สารภี สส. ฮอด สส. แม่แจ่ม ใน สท. เชียงใหม่ 1
          (2) ท้องที่ สส. ฝาง สส. สันทราย ใน สท. เชียงใหม่ 2
        - สำนักงานสรรพากรภาค 9 ได้แก่ ท้องที่ สส. วารินชำราบ ใน สท. อุบลราชธานี
        - สำนักงานสรรพากรภาค 10 ได้แก่ ท้องที่ สส. ด่านซ้าย ใน สท. เลย
ทั้งนี้ได้ขยายระยะเวลาการยื่นแบบแสดงรายการและชำระภาษีในแบบฯ ทุกประเภท ออกไปเป็นภายใน วันที่ 30 ธันวาคม 2554

    1.2 สำหรับเขตพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบในเขตกรุงเทพมหานครหรือจังหวัดอื่นที่ได้รับผลกระทบเพิ่มเติม กรมสรรพากรได้ดำเนินการเสนอกระทรวงการคลัง ให้มีการขยายระยะเวลาการยื่นแบบแสดงรายการและชำระภาษีออกไปจนถึงวันที่ 30 ธันวาคม 2554 เช่นกัน ยกเว้นเฉพาะการชำระภาษีเงินได้นิติบุคคลที่จะครบกำหนดยื่นแบบฯ ภายในเดือน สิงหาคม - ธันวาคม 2554 จะขยายเวลาการยื่นแบบฯ ได้จนถึงวันที่ 29 กุมภาพันธ์ 2555 ดังนี้
        - สำนักงานสรรพากรภาค 1 ได้แก่
          (1) ท้องที่ สส. จตุจักร ใน สท.กทม. 7
          (2) ท้องที่ สส. บางเขน ใน สท.กทม. 8
          (3) ท้องที่ สส. หลักสี่ ใน สท.กทม. 9
        - สำนักงานสรรพากรภาค 2 ได้แก่ ท้องที่ สส. ทุกแห่ง ใน สท.กทม 21
        - สำนักงานสรรพากรภาค 3 ได้แก่
          (1) ท้องที่ สส. ทุกแห่ง ใน สท.กทม. 25
          (2) ท้องที่ สส. ทุกแห่ง ใน สท.กทม. 26
          (3) ท้องที่ สส. บางกอกน้อย ใน สท.กทม. 30
        - สำนักงานสรรพากรภาค 6 ได้แก่ สำนักงานสรรพากรพื้นที่สาขา (สส.) ทุกแห่ง ในท้องที่ สำนักงานสรรพากรพื้นที่ (สท.) นครปฐม 1 สท. นครปฐม 2 สท. สมุทรสาคร 1
สท. สมุทรสาคร 2 และ สท. สุพรรณบุรี

    1.3 กรณีผู้ประกอบการที่มีสาขาซึ่งได้รับผลกระทบในพื้นที่ที่ประสบอุทกภัย และมีการยื่นแบบแสดงรายการภาษีมูลค่าเพิ่มหรือภาษีธุรกิจเฉพาะรวมกัน จะให้ยื่นรายการเฉพาะในส่วนของ
สำนักงานใหญ่หรือสาขาที่ไม่ได้รับผลกระทบไปก่อน สำหรับในส่วนของสาขาซึ่งอยู่ในเขตที่ได้รับผลกระทบ จะขยายเวลาให้ยื่นแบบเพิ่มเติมได้จนถึงวันที่ 30 ธันวาคม 2554 เช่นกัน ทั้งนี้ โดย
ไม่ต้องเสียเบี้ยปรับและเงินเพิ่ม

    1.4 กรณีรายผู้ประกอบการทั่วไปที่ได้รับอนุมัติให้เก็บเอกสารนอกสถานที่ และสถานที่ที่เก็บเอกสารอยู่ในพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบ จนไม่สามารถคำนวณภาษีได้ ให้ขยายระยะเวลาได้ตามนัยข้างต้น
    1.5 สำหรับรายผู้ประกอบการใดที่ไม่เข้าเงื่อนไขหลักเกณฑ์ข้างต้น ให้ทำคำร้องชี้แจงเหตุผลมาเป็นการเฉพาะรายโดยให้เสนอผ่านสำนักงานสรรพากรพื้นที่และสำนักบริหารภาษีธุรกิจขนาดใหญ่
ที่รับผิดชอบ เพื่อส่งให้กรมสรรพากรพิจารณาต่อไป
    1.6 ทั้งนี้กรมสรรพากร ได้สั่งการให้สำนักงานสรรพากรพื้นที่สาขา สามารถรับแบบต่างท้องที่ เพื่อเป็นการอำนวยความสะดวกให้กับผู้ที่ได้รับผลกระทบด้วยแล้ว

2. กรณีหลักฐานเอกสารทางภาษีเสียหายหรือสูญหาย ขอให้ผู้เสียภาษีได้ดำเนินการแจ้งความไว้เป็นหลักฐานต่อทางราชการตำ รวจท้องที่ เกี่ยวกับรายละเอียดบัญชีเอกสารหลักฐานที่เสียหายหรือ
สูญหาย และหากมีปัญหาในทางปฏิบัติขอให้หารือกับสำนักงานสรรพากรพื้นที่หรือสำนักบริหารภาษีธุรกิจขนาดใหญ่ที่รับผิดชอบ

3. กรณีทรัพย์สินเสียหายหรือสูญหาย หากผู้ประกอบการไม่มีการทำประกันไว้จะสามารถตัดเป็นรายจ่ายได้ทันที แต่หากมีการทำประกันภัย และได้รับเงินค่าสินไหมทดแทนที่เกิดจากการชดเชยความเสียหาย เฉพาะส่วนที่เกินมูลค่าต้นทุนของทรัพย์สินที่เหลือจากการหักค่าสึกหรอและค่าเสื่อมจะได้รับการยกเว้นภาษีเงินได้

ที่มา..กรมสรรพากร