อนุมัติปรับปรุงโครงสร้างภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ปี 2556

ครม.เห็นชอบปรับปรุงโครงสร้างภาษีรายได้บุคคลธรรมดาให้เกิดความเป็นธรรม ปรับขั้นอัตราภาษีถี่ขึ้นเป็น 7 ขั้นจากเดิม 5 ขั้น ลดอัตราภาษีต่ำสุดจาก 10% เหลือ 5% และอัตราสูงสุด 37% เหลือ 35%...

เมื่อวันที่ 18 ธ.ค.2555 นพ.ทศพร เสรีรักษ์ โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี เห็นชอบการปรับปรุงโครงสร้างภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา เพื่อให้เกิดความเป็นธรรม และสอดคล้องกับภาวะเศรษฐกิจ โดยปรับขั้นอัตราภาษีให้ถี่ขึ้นเป็น 7 ขั้น จากเดิม 5 ขั้น และลดอัตราภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาอัตราสูงสุดเหลือ 35% จากเดิม 37%

นอกจากนี้ ยังปรับปรุงการยื่นเสียภาษีบุคคลธรรมดา ให้แยกระหว่างสามี และภรรยาได้ รวมไปถึงมีการอนุมัติการปรับลดอัตราภาษีสรรพสามิตรถยนต์ โดยจะคิดตามปริมาณคาร์บอนไดออกไซด์ที่ปล่อยออกไป

สำหรับลำดับขั้นเงินได้สุทธิ และอัตราภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาที่ ครม.อนุมัติในครั้งนี้แบ่งเป็น 7 ขั้น เริ่มจาก

เงินได้สุทธิ 0-300,000 บาท อัตราภาษี 5%,

เงินได้สุทธิ 300,001 ถึง 500,000 บาท อัตราภาษี 10%,

เงินได้สุทธิ 500,001 ถึง 750,000 บาท อัตราภาษี 15%,

เงินได้สุทธิ 750,001 ถึง 1,000,000 บาท อัตราภาษี 20%

ขณะที่ เงินได้สุทธิ 1,000,001 ถึง 2,000,000 บาท อัตราภาษี 25%, เงินได้สุทธิ 2,000,001 ถึง 4,000,000 บาท อัตราภาษี 30% และ

เงินได้สุทธิ 4,000,001 บาทขึ้นไป อัตราภาษี 35% ส่วนผู้มีเงินได้สุทธิไม่เกิน 150,000 บาท กระทรวงการคลังจะออกพระราชกฤษฎีกายกเว้นภาษีไว้เช่นเดิม

ด้านนายสาธิต รังคสิริ อธิบดีกรมสรรพากร เปิดเผยว่า การแก้ไขกฎหมายเรื่องการแยกยื่นภาษีระหว่างสามีภรรยาจะมีการออกเป็นพระราช กำหนด เพื่อเร่งดำเนินการให้ทันการยื่นแบบเสียภาษีในต้นปี 2556 สำหรับปีภาษีปัจจุบัน แต่การปรับโครงสร้างภาษีบุคคลธรรมดา จะมีการออกเป็นพระราชบัญญัติ เพื่อให้ทันใช้บังคับกับเงินได้พึงประเมินในปีภาษี 2556 ที่จะต้องยื่นเสียภาษีในปี 2557.

ที่มา หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ

ไม่มีใบกำกับภาษี ขอคืนภาษีซื้อได้หรือไม่

ใบกำกับภาษีเป็นเอกสารสำคัญอย่างยิ่งในการใช้เป็นหลักฐานประกอบการขอคืนภาษีซื้อ (ในการนำภาษีซื้อมาหักออกจากภาษีขาย) แต่มีปัญหาว่า ถ้าผู้ประกอบการไม่มีใบกำกับภาษีซื้อมาลง จะมีวิธีใดบ้างที่จะนำใบกำกับภาษีมาขอคืนหรือขอเครดิตภาษีได้ ในกรณีนี้ผู้ประกอบการต้องย้อนกลับไปหาสาเหตุก่อนว่า ทำไมจึงไม่มีใบกำกับภาษีซื้อ แล้วจึงค่อยหาทางแก้ไขเพื่อที่จะให้ได้เอกสารที่จะนำมาแทนใบกำกับภาษีซื้อได้ ทั้งนี้ใบกำกับภาษีซื้อที่จะนำมาหักออกจากภาษีขายได้ต้องเป็นใบกำกับภาษีแบบเต็มรูป

1.กรณีใบกำกับภาษีซื้อสูญหาย

วิธีการแก้ไข ให้จัดหาใบแทนใบกำกับภาษีเพื่อนำมาเป็นหลักฐานในการขอคือหรือขอเครดิตภาษี ซึ่งในเรื่องเกี่ยวกับการขอใบแทนใบกำกับภาษี มีหลักเกณฑ์ที่กำหนดไว้ตามประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 36) ลงวันที่ 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2535 ให้การขอใบแทนใบ กำกับภาษีจากผู้ออกใบกำกับภาษี ทำได้ดังนี้

(1) ให้ผู้ออกใบกำกับภาษีถ่ายสำเนาใบกำกับภาษี

(2) ให้ผู้ออกใบกำกับภาษีบันทึกรายการ ดังต่อไปนี้ ลงในภาพถ่ายหรือด้านหลังภาพถ่าย

  • (ก) ใบแทนออกให้ครั้งที่
  • (ข) วัน เดือน ปี ที่ออกใบแทน
  • (ค) คำอธิบายย่อๆ ถึงสาเหตุที่ออกใบแทน
  • (ง) ลงลายมือขื่อของผู้ออกใบแทน ทั้งนี้ ให้ผู้ออกใบแทนใบกำกับภาษีบันทึก รายการตาม (ก) - (ง) ลงในหลังสำเนาใบกำกับ ภาษีที่อยู่กับตนเอง และไปบันทึกรายการออกใบ แทนในรายงานภาษีขายด้วย

2. กรณีไม่มีใบกำกับภาษีซื้อเพราะผู้ออกใบกำกับภาษี ระบุชื่อผิดไป

กรณีนี้เกิดขึ้นจากการที่ผู้ออกใบกำกับภาษีระบุชื่อผู้ซื้อสินค้าหรือผู้รับบริการในใบกำกับภาษี ผิดไปโดยระบุเป็นชื่อบุคคลอื่น ทำให้ผู้ซื้อสินค้าหรือผู้รับบริการไม่มีใบกำกับภาษีซื้อที่เป็นชื่อของตนเอง มาแสดง

วิธีการแก้ไข ผู้ที่ได้รับใบกำกับภาษีดังกล่าว จะต้องไปร้องขอต่อผู้ออกใบกำกับภาษีให้ยกเลิก ใบกำกับภาษีฉบับดังกล่าว และให้ออกใบกำกับภาษี ฉบับใหม่แทนฉบับเดิมที่ยกเลิกนั้น ระบุรายการของใบกำกับภาษี และชื่อของผู้ซื้อสินค้าหรือผู้รับบริการให้ถูกต้องครบถ้วน ซึ่งวิธีการดังกล่าวได้กำหนดเป็นแนวทางปฏิบัติไว้ตามคำสั่งกรมสรรพากร ที่ ป.86/25421 ข้อ 25 ดังนี้

(1) ผู้ออกใบกำกับภาษีดำเนินการเรืยกคืนใบกำกับภาษีฉบับเดิม และนำมาประทับตราว่า "ยกเลิก" หรือ ขีดฆ่า แล้วเก็บรวมไว้กับสำเนาใบกำกับภาษีฉบับเดิม

(2) จัดทำใบกำกับภาษีฉบับใหม่ซึ่งเป็นเลขที่ใหม่ แต่จะต้องลงวัน เดือน ปี ให้ตรงกับวัน เดือน ปี ตามใบกำกับภาษีฉบับเดิม และ

(3) หมายเหตุไว้ในใบกำกับภาษีฉบับใหม่ว่า "เป็นการยกเลิกและออกใบกำกับภาษีฉบับใหม่แทน ฉบับเดิม เล่มที่…. ,เลขที่…." และหมายเหตุการยกเลิกใบกำกับภาษีไว้ในรายงานภาษีขายของเดือน ภาษีที่จัดทำใบกำกับภาษีฉบับใหม่ด้วย

มีปัญหาอยู่ว่า ก้าผู้ออกใบกำกับภาษีไม่ยอมยกเลิก ใบกำกับภาษีฉบับเดิมและออกใบกำกับภาษีฉบับใหม่ ผู้ขื้อสินค้าหรือผู้รับบริการจะต้องทำอย่างไร?

ตามกฎหมายแล้วยังไม่มีการกำหนดบังคับให้ผู้ออกใบกำกับภาษีต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ข้างต้น ผู้ซื้อสินค้าหรือผู้รับบริการจึงควรร้องขอให้ผู้ออกใบกำกับภาษีดำเนินการยกเลิก และออกใบกำกับภาษีฉบับใหม่ โดยอาจใช้เหตุผลทางความสัมพันธ์ทางธุรกิจ เพราะถ้าไม่มีใบกำกับภาษีฉบับใหม่ที่ระบุชื่อผู้ซื้อสินค้าหรือผู้รับบริการแล้ว ก็ไม่มีทางที่ผู้ซื้อสินค้าหรือผู้รับบริการจะนำภาษีซื้อตามใบกำกับภาษีมาใช้ได้

3. กรณีผู้ขายสินค้าหรือผู้ให้บริการไม่ออกใบกำกับภาษีให้

ทำให้ผู้ซื้อสินค้าหรือผู้รับบริการไม่มีใบกำกับภาษี ผู้ซื้อสามารถแจ้งให้ผู้ขายสินค้าออกใบกำกับภาษีตามกฎหมาย เพราะการไม่ออกใบกำกับภาษีมีความผิดตามกฎหมายทั้งทางอาญาและต้องรับผิด เสียเบี้ยปรับเงินเพิ่ม อีกด้วย

ที่มา..สรรพากรสาส์น

บริการขอหนังสือรับรองบริษัทผ่านธนาคารพาณิชย์

กระทรวงพาณิชย์ จับมือ 6 ธนาคารชั้นนำ ให้บริการออกหนังสือรับรองนิติบุคคลทางอิเล็กทรอนิกส์ e-Certificate

กระทรวงพาณิชย์ โดยกรมพัฒนาธุรกิจการค้า  ร่วมมือกับ 6 ธนาคารชั้นนำของประเทศ  สร้างมิติใหม่ของนวัตกรรมการให้บริการอย่างมืออาชีพ  ภายใต้โครงการ  “บริการหนังสือรับรองนิติบุคคลทางอิเล็กทรอนิกส์   (e-Certificate) ผ่านธนาคาร” 

นายศิริวัฒน์  ขจรประศาสน์  รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่า กรมพัฒนาธุรกิจการค้า ซึ่งเป็นหน่วยงานในกำกับดูแลที่มีหน้าที่ให้บริการออกหนังสือรับรองนิติบุคคล  รับรองสำเนาเอกสารทะเบียนนิติบุคคล  บัญชีรายชื่อ  ผู้ถือหุ้น   และงบการเงิน ตลอดจนการบริการตรวจค้นข้อมูลทะเบียนนิติบุคคล  ซึ่งเดิมผู้รับบริการต้องเดินทางไปติดต่อด้วยตนเองที่หน่วยงานของกรมฯ  ทั้ง  86 แห่ง ทั่วประเทศ ได้พัฒนาโดยนำเทคโนโลยีสมัยใหม่มาใช้สนับสนุนและพัฒนาช่องทางการให้บริการ เพื่ออำนวยความสะดวก  ช่วยประหยัดเวลาและค่าใช้จ่ายให้กับผู้ใช้บริการ มาอย่างต่อเนื่อง

ในปี 2555 ได้ผลักดันเพิ่มช่องทางการให้บริการภาคธุรกิจ ที่ทันสมัยมากยิ่งขึ้น โดยได้เล็งเห็นประโยชน์ของการทำธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์  จึงจัดทำโครงการให้บริการออกหนังสือรับรองนิติบุคคลทางอิเล็กทรอนิกส์  หรือ  e-Certificate  ผ่านธนาคารขึ้น เพื่อเป็นการเพิ่มช่องทางการให้บริการแก่ผู้ประกอบธุรกิจ  ซึ่งโครงการดังกล่าวเกิดจากความร่วมมือระหว่างกรมพัฒนาธุรกิจการค้ากับธนาคารพาณิชย์  6  ธนาคารประกอบด้วย  ธนาคารกรุงเทพ  ธนาคารกรุงไทย  ธนาคารออมสิน  ธนาคารกสิกรไทย  ธนาคารไทยพาณิชย์  และธนาคารธนชาต  โดยใช้สาขาของธนาคารเป็นจุดให้บริการทั่วประเทศ  เพื่อยกระดับการให้บริการทางอิเล็กทรอนิกส์ในการออกหนังสือรับรองนิติบุคคล เพื่อเตรียมรองรับจำนวนนิติบุคคลที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นในทุกปี 

โดยผู้รับบริการสามารถทำรายการผ่านเว็บไซต์กรมพัฒนาธุรกิจการค้า   www.dbd.go.th    จากนั้นเลือกช่องทางการชำระเงินและขอรับเอกสารได้ที่ธนาคารพันธมิตรใกล้บ้านได้ภายใน  15 นาที  ซึ่งจะช่วยให้ภาคธุรกิจมีความสะดวก  คล่องตัว  ประหยัดเวลา  และค่าใช้จ่ายในการเดินทาง  อันจะส่งผลให้การดำเนินธุรกิจมีประสิทธิภาพ  ทันต่อสถานการณ์และสอดคล้องกับความต้องการในการดำเนินธุรกรรมมากยิ่งขึ้น รวมทั้งเป็นประโยชน์ต่อภาครัฐในการประหยัดงบประมาณค่าใช้จ่าย  และทรัพยากรบุคคลในการให้บริการ ซึ่งพร้อมเปิดให้บริการอย่างเป็นทางการ

โดยได้รับเกียรติจากท่านรองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ (นายกิตติรัตน์  ณ ระนอง) เป็นประธาน พิธีเปิดการให้บริการ ณ กรมพัฒนาธุรกิจการค้า สนามบินน้ำ ในวันที่  20  มกราคม 2555 โดยในระยะแรกนี้ ผู้รับบริการสามารถใช้บริการได้ที่ธนาคารกรุงเทพ เฉพาะสาขาในกรุงเทพฯ  34  สาขา ธนาคารกรุงไทย  120  สาขา ธนาคารออมสิน  190  สาขา และแต่ละธนาคารจะทยอยเปิดให้บริการให้ครบทุกสาขาทั่วประเทศต่อไป

ที่มา..กระทรวงพาณิชย์

ประกันสังคม ลดอัตราเงินสมทบปี 2555

คณะกรรมการประกันสังคมเห็นชอบลดอัตราเงินสมทบปี 2555 ช่วยเหลือนายจ้าง ลูกจ้าง ประสบอุทกภัย          
          สำนักงานประกันสังคม  เผยมติคณะกรรมการประกันสังคมเห็นชอบมาตรการช่วยเหลือนายจ้าง และผู้ประกันตน ม.33 และม.39 ที่ได้รับผลกระทบทางเศรษฐกิจจากสถานการณ์อุทกภัยในวงกว้าง โดยลดอัตราเงิน สมทบกองทุนประกันสังคมปี 2555 เตรียมเร่งยื่นเสนอคณะรัฐมนตรีเห็นชอบ เพื่อออกกฎกระทรวงบังคับใช้ต่อไป
          นายจีรศักดิ์ สุคนธชาติ เลขาธิการสำนักงานประกันสังคม เปิดเผยว่า จากเหตุการณ์อุทกภัยที่เกิดขึ้นในหลายจังหวัดทั่วประเทศ ก่อให้เกิดความเสียหายทั้งทรัพย์สินต่อบ้านเรือน บริษัทห้างร้านสถานประกอบการต่างๆ และส่งผลกระทบต่อนายจ้าง ลูกจ้าง ผู้ประกันตนในระบบประกันสังคมได้รับความเดือดร้อนโดยทั่วกัน ดังนั้น สำนักงานประกันสังคมจึงได้มีมาตรการให้ความช่วยเหลือและบรรเทาความเดือดร้อน แก่ นายจ้าง ลูกจ้าง ผู้ประกันสังคม โดยคณะกรรมการประกันสังคมได้มีมติในการประชุมเมื่อวันที่ 29 พฤศจิกายน 2554 เห็นชอบให้ลดอัตราเงินสมทบกองทุนประกันสังคมแก่นายจ้าง ลูกจ้าง ผู้ประกันตน เป็นระยะเวลา 1 ปี ในปี 2555 โดยลดจากอัตราเงินสมทบที่จ่ายในปัจจุบันฝ่ายละร้อยละ 5 ของค่าจ้างผู้ประกันตน ดังนี้         
ครึ่งปีแรก (1 มกราคม -  30 มิถุนายน 2555) จ่ายในอัตราฝ่ายละร้อยละ 3 ลดลงจากเดิม ฝ่ายละร้อยละ 2 
ครึ่งปีหลัง (1 กรกฎาคม - 31 ธันวาคม 2555) จ่ายในอัตราฝ่ายละร้อยละ 4 ลดลงจากเดิม ฝ่ายละร้อยละ 1
          ทั้งนี้ รัฐบาลยังคงจ่ายสมทบในอัตราเดิม คือ 2.75 การลดอัตราเงินสมทบในครั้งนี้ จะช่วยแบ่งเบาภาระนายจ้างและผู้ประกันตน ฝ่ายละประมาณ 16,700 ล้านบาท ในส่วนของผู้ประกันตนแบ่งเบาภาระ ได้เฉลี่ยคนละประมาณ 1,700 บาท/ปี (คำนวณจากค่าจ้างเฉลี่ยของผู้ประกันตนมาตรา 33 และ 39)
           การลดอัตราเงินสมทบดังกล่าวผู้ประกันตนจะได้รับสิทธิประโยชน์เหมือนเดิมทุกกรณี โดยเฉพาะการรับประโยชน์ทดแทนกรณีชราภาพ

           ทั้งนี้ มีข้อสงสัยสอบถามข้อมูลได้ที่ สำนักงานประกันสังคมเขตพื้นที่/จังหวัด/สาขา ที่ท่านสะดวก หรือโทร.1506 (เจ้าหน้าที่ให้บริการตลอด 24 ชั่วโมง)

ที่มาข่าว…ประกันสังคม

แบบฟอร์มภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ปี 2554

แบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ปี 2554
 
2554
ลำดับ ชื่อย่อ ชื่อเต็ม ดาวน์โหลด
1. ภ.ง.ด. 90 
ปีภาษี 2554
แบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ภ.ง.ด. 90 
ปีภาษี 2554
สำหรับผู้มีเงินได้กรณีทั่วไป
Click เพื่อดาวน์โหลด pdf file แบบ ภ.ง.ด.90  Click เพื่อดาวน์โหลด zip file แบบ ภ.ง.ด.90
2. วิธีกรอก ภ.ง.ด. 90 
ปีภาษี 2554
วิธีกรอกแบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ภ.ง.ด. 90
ปีภาษี 2554 สำหรับผู้มีเงินได้กรณีทั่วไป
Click เพื่อดาวน์โหลด pdf file คำแนะนำแบบ ภ.ง.ด.90  Click เพื่อดาวน์โหลด zip file วิธีกรอกแบบ ภ.ง.ด.90
3. ภ.ง.ด. 91
ปีภาษี 2554
แบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ภ.ง.ด. 91 
ปีภาษี 2554
สำหรับผู้มีเงินได้จากการจ้างแรงงาน
ตามมาตรา 40(1) แห่งประมวลรัษฎากร ประเภทเดียว
Click เพื่อดาวน์โหลด pdf file แบบ ภ.ง.ด.91  Click เพื่อดาวน์โหลด zip file แบบ ภ.ง.ด.91
4. วิธีกรอก
ภ.ง.ด. 91
ปีภาษี 2554
วิธีการกรอกแบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ภ.ง.ด. 91 
ปีภาษี 2553
สำหรับผู้มีเงินได้จากการจ้างแรงงาน
Click เพื่อดาวน์โหลด pdf file คำแนะนำแบบ ภ.ง.ด.91  Click เพื่อดาวน์โหลด zip file วิธีกรอกแบบ ภ.ง.ด.91
5. ใบแนบ 
ภ.ง.ด. 90
ภ.ง.ด. 91
ปีภาษี 2554
ใบแนบแบบแสดงรายการ ภ.ง.ด.90 ภ.ง.ด.91
ปีภาษี 2553
(กรณีคำนวณเงินได้ที่นายจ้างจ่ายให้ครั้งเดียวเพราะเหตุออกจากงานเฉพาะที่เลือก เสียภาษีโดยไม่นำไปรวมคำนวณภาษีกับเงินได้อื่น ๆ )
Click เพื่อดาวน์โหลด pdf file ใบแนบ  Click เพื่อดาวน์โหลด zip file ใบแนบแบบ ภ.ง.ด.90 ,91
6. หักลดหย่อน
ภ.ง.ด. 90 
ภ.ง.ด. 91
ปีภาษี 2554
การหักลดหย่อนเงินบริจาค และรายชื่อสถานพยาบาล สถานศึกษา และสถานสาธารณกุศล ที่ผู้มีเงินได้มีสิทธิขอหักลดหย่อนเงินบริจาค ภ.ง.ด. 90/91
ปีภาษี 2553
Click เพื่อดาวน์โหลด pdf file คำแนะนำแบบ ภ.ง.ด.90/91  Click เพื่อดาวน์โหลด zip file การหักลดหย่อน ภ.ง.ด.90 ,91
7. ภ.ง.ด. 94
ปีภาษี 2554
แบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาครึ่งปีสำหรับผู้มีเงินได้ตามมาตรา 40 (5) (6) (7) (8) แห่งประมวลรัษฎากร Click เพื่อดาวน์โหลด pdf file แบบ ภ.ง.ด.94  Click เพื่อดาวน์โหลด zip file การหักลดหย่อน ภ.ง.ด.90 ,91
8. วิธีการกรอก
ภ.ง.ด. 94
ปีภาษี 2554
วิธีการกรอกแบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
ครึ่งปี
สำหรับผู้มีเงินได้ตามมาตรา 40 (5) (6) (7) (8) แห่งประมวลรัษฎากร
Click เพื่อดาวน์โหลด pdf file คำแนะนำการกรอกแบบ ภ.ง.ด.94  Click เพื่อดาวน์โหลด zip file การหักลดหย่อน ภ.ง.ด.90 ,91
9. ภ.ง.ด. 95
ปีภาษี 2554
แบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา สำหรับคนต่างด้าวผู้มีเงินได้จากการจ้างแรงงาน Click เพื่อดาวน์โหลด pdf file แบบ ภ.ง.ด.95  Click เพื่อดาวน์โหลด zip file การหักลดหย่อน ภ.ง.ด.90 ,91
       

เอกสารประกอบการยื่นแบบ
ลำดับ ชื่อย่อ ชื่อเต็ม ดาวน์โหลด
1. -
ใบแสดงสิทธิการได้รับยกเว้นเงินได้ฯ ใช้สำหรับยื่นแบบ ภ.ง.ด.90 ปัภาษี ...
สำหรับคนพิการที่มีอายุไม่เกิน 65 ปีบริบูรณ์และผู้มีเงินได้ (รวมถึงคนพิการ) ที่มีอายุตั้งแต่ 65 ปีขึ้นไป
Click เพื่อดาวน์โหลด pdf file  Click เพื่อดาวน์โหลด zip file แบบ ล.ย.01
2. -
ใบแสดงเงินได้ฯ ในเขตพัฒนาพิเศษเฉพาะกิจ ใช้สำหรับยื่นแบบ ภ.ง.ด.90 .ในปี....
Click เพื่อดาวน์โหลด pdf file  Click เพื่อดาวน์โหลด zip file คำแนะนำการกรอกแบบ ภ.ง.ด.94
3. -
ใบแสดงสิทธิการได้รับยกเว้นเงินได้ฯ ใช้สำหรับยื่นแบบ ภ.ง.ด.94 สำหรับคนพิการที่มีอายุไม่เกิน 65 ปีบริบูรณ์และผู้มีเงินได้ (รวมถึงคนพิการ) ที่มีอายุตั้งแต่ 65 ปีขึ้นไป
Click เพื่อดาวน์โหลด pdf file  Click เพื่อดาวน์โหลด zip file แบบ ล.ย.01
4. -
ใบแสดงเงินได้ฯ ในเขตพัฒนาพิเศษเฉพาะกิจ ใช้สำหรับยื่นแบบ ภ.ง.ด.94
Click เพื่อดาวน์โหลด pdf file  Click เพื่อดาวน์โหลด zip file คำแนะนำการกรอกแบบ ภ.ง.ด.94

อัตราค่าแรงขั้นต่ำ มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน 2555

ประกาศคณะกรรมการค่าจ้าง
เรื่อง อัตราค่าจ้างขั้นต่ำ (ฉบับที่ ๖)

ด้วยคณะกรรมการค่าจ้างได้มีการประชุมศึกษาและพิจารณาข้อเท็จจริงเกี่ยวกับอัตราค่าจ้างที่ลูกจ้างได้รับอยู่ ประกอบกับข้อเท็จจริงอื่นตามที่กฎหมายกำหนด เมื่อวันที่ ๑๗ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๔
และมีมติเห็นชอบให้กำหนดอัตราค่าจ้างขั้นต่ำ เพื่อใช้บังคับแก่นายจ้างและลูกจ้างทุกคน

อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๗๙ (๓) และมาตรา ๘๘ แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. ๒๕๔๑ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๕๑
คณะกรรมการค่าจ้างจึงออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้

  • ข้อ ๑ ให้ยกเลิกประกาศคณะกรรมการค่าจ้าง เรื่อง อัตราค่าจ้างขั้นต่ำ (ฉบับที่ ๕) ลงวันที่ ๑๓ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๓
  • ข้อ ๒ ให้กำหนดอัตราค่าจ้างขั้นต่ำเป็นเงินวันละสามร้อยบาท ในท้องที่กรุงเทพมหานคร จังหวัดนครปฐม นนทบุรี ปทุมธานี ภูเก็ต สมุทรปราการ และสมุทรสาคร
  • ข้อ ๓ ให้กำหนดอัตราค่าจ้างขั้นต่ำเป็นเงินวันละสองร้อยเจ็ดสิบสามบาท ในท้องที่จังหวัดชลบุรี
  • ข้อ ๔ ให้กำหนดอัตราค่าจ้างขั้นต่ำ เป็นเงินวันละสองร้อยหกสิบเก้าบาท ในท้องที่จังหวัดฉะเชิงเทรา และสระบุรี
  • ข้อ ๕ ให้กำหนดอัตราค่าจ้างขั้นต่ำ เป็นเงินวันละสองร้อยหกสิบห้าบาท ในท้องที่จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
  • ข้อ ๖ ให้กำหนดอัตราค่าจ้างขั้นต่ำ เป็นเงินวันละสองร้อยหกสิบสี่บาท ในท้องที่จังหวัดระยอง
  • ข้อ ๗ ให้กำหนดอัตราค่าจ้างขั้นต่ำ เป็นเงินวันละสองร้อยห้าสิบเก้าบาท ในท้องที่จังหวัดพังงา
  • ข้อ ๘ ให้กำหนดอัตราค่าจ้างขั้นต่ำเป็นเงินวันละสองร้อยห้าสิบแปดบาท ในท้องที่จังหวัดระนอง
  • ข้อ ๙ ให้กำหนดอัตราค่าจ้างขั้นต่ำ เป็นเงินวันละสองร้อยห้าสิบเจ็ดบาท ในท้องที่จังหวัดกระบี่
  • ข้อ ๑๐ ให้กำหนดอัตราค่าจ้างขั้นต่ำ เป็นเงินวันละสองร้อยห้าสิบห้าบาท ในท้องที่จังหวัดนครราชสีมา และปราจีนบุรี
  • ข้อ ๑๑ ให้กำหนดอัตราค่าจ้างขั้นต่ำ เป็นเงินวันละสองร้อยห้าสิบสี่บาท ในท้องที่จังหวัดลพบุรี
  • ข้อ ๑๒ ให้กำหนดอัตราค่าจ้างขั้นต่ำเป็นเงินวันละสองร้อยห้าสิบสองบาท ในท้องที่จังหวัดกาญจนบุรี
  • ข้อ ๑๓ ให้กำหนดอัตราค่าจ้างขั้นต่ำ เป็นเงินวันละสองร้อยห้าสิบเอ็ดบาท ในท้องที่จังหวัดเชียงใหม่ และราชบุรี
  • ข้อ ๑๔ ให้กำหนดอัตราค่าจ้างขั้นต่ำ เป็นเงินวันละสองร้อยห้าสิบบาท ในท้องที่จังหวัดจันทบุรี และเพชรบุรี
  • ข้อ ๑๕ ให้กำหนดอัตราค่าจ้างขั้นต่ำ เป็นเงินวันละสองร้อยสี่สิบหกบาท ในท้องที่จังหวัดสงขลา และสิงห์บุรี
  • ข้อ ๑๖ ให้กำหนดอัตราค่าจ้างขั้นต่ำเป็นเงินวันละสองร้อยสี่สิบสี่บาท ในท้องที่จังหวัดตรัง
  • ข้อ ๑๗ ให้กำหนดอัตราค่าจ้างขั้นต่ำ เป็นเงินวันละสองร้อยสี่สิบสามบาท ในท้องที่จังหวัดนครศรีธรรมราช และอ่างทอง
  • ข้อ ๑๘ ให้กำหนดอัตราค่าจ้างขั้นต่ำ เป็นเงินวันละสองร้อยสี่สิบเอ็ดบาท ในท้องที่จังหวัดชุมพร พัทลุง เลย สตูล และสระแก้ว
  • ข้อ ๑๙ ให้กำหนดอัตราค่าจ้างขั้นต่ำ เป็นเงินวันละสองร้อยสี่สิบบาท ในท้องที่จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ยะลา สมุทรสงคราม และสุราษฎร์ธานี
  • ข้อ ๒๐ ให้กำหนดอัตราค่าจ้างขั้นต่ำเป็นเงินวันละสองร้อยสามสิบเก้าบาท ในท้องที่จังหวัดนราธิวาส อุดรธานี และอุบลราชธานี
  • ข้อ ๒๑ ให้กำหนดอัตราค่าจ้างขั้นต่ำเป็นเงินวันละสองร้อยสามสิบเจ็ดบาท ในท้องที่จังหวัดนครนายก และปัตตานี
  • ข้อ ๒๒ ให้กำหนดอัตราค่าจ้างขั้นต่ำเป็นเงินวันละสองร้อยสามสิบหกบาท ในท้องที่จังหวัดตราด บึงกาฬ ลำพูน และหนองคาย
  • ข้อ ๒๓ ให้กำหนดอัตราค่าจ้างขั้นต่ำ เป็นเงินวันละสองร้อยสามสิบสี่บาท ในท้องที่จังหวัดกำแพงเพชร และอุทัยธานี
  • ข้อ ๒๔ ให้กำหนดอัตราค่าจ้างขั้นต่ำเป็นเงินวันละสองร้อยสามสิบสามบาท ในท้องที่จังหวัดกาฬสินธุ์ ขอนแก่น ชัยนาท และสุพรรณบุรี
  • ข้อ ๒๕ ให้กำหนดอัตราค่าจ้างขั้นต่ำเป็นเงินวันละสองร้อยสามสิบสองบาท ในท้องที่จังหวัดเชียงราย นครสวรรค์ บุรีรัมย์ เพชรบูรณ์ ยโสธร ร้อยเอ็ด และสกลนคร
  • ข้อ ๒๖ ให้กำหนดอัตราค่าจ้างขั้นต่ำเป็นเงินวันละสองร้อยสามสิบบาท ในท้องที่จังหวัดชัยภูมิ มุกดาหาร ลำปาง สุโขทัย และหนองบัวลำภู
  • ข้อ ๒๗ ให้กำหนดอัตราค่าจ้างขั้นต่ำ เป็นเงินวันละสองร้อยยี่สิบเก้าบาท ในท้องที่จังหวัดนครพนม
  • ข้อ ๒๘ ให้กำหนดอัตราค่าจ้างขั้นต่ำ เป็นเงินวันละสองร้อยยี่สิบเจ็ดบาท ในท้องที่จังหวัดพิจิตร พิษณุโลก แพร่ มหาสารคาม แม่ฮ่องสอน อำนาจเจริญ และอุตรดิตถ์
  • ข้อ ๒๙ ให้กำหนดอัตราค่าจ้างขั้นต่ำเป็นเงินวันละสองร้อยยี่สิบหกบาท ในท้องที่จังหวัดตาก และสุรินทร์
  • ข้อ ๓๐ ให้กำหนดอัตราค่าจ้างขั้นต่ำเป็นเงินวันละสองร้อยยี่สิบห้าบาท ในท้องที่จังหวัดน่าน
  • ข้อ ๓๑ ให้กำหนดอัตราค่าจ้างขั้นต่ำ เป็นเงินวันละสองร้อยยี่สิบสามบาท ในท้องที่จังหวัดศรีสะเกษ
  • ข้อ ๓๒ ให้กำหนดอัตราค่าจ้างขั้นต่ำ เป็นเงินวันละสองร้อยยี่สิบสองบาท ในท้องที่จังหวัดพะเยา
  • ข้อ ๓๓ เพื่อประโยชน์ตามข้อ ๒ ถึงข้อ ๓๒ คำว่า “วัน” หมายถึง เวลาทำงานปกติของลูกจ้าง ซึ่งไม่เกินชั่วโมงทำงานดังต่อไปนี้ แม้นายจ้างจะให้ลูกจ้างทำงานน้อยกว่าเวลาทำงานปกติเพียงใดก็ตาม
    (๑) เจ็ดชั่วโมง สำหรับงานที่อาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพและความปลอดภัยของลูกจ้างตามกฎกระทรวง ฉบับที่ ๒ (พ.ศ. ๒๕๔๑) ออกตามความในพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. ๒๕๔๑
    (๒) แปดชั่วโมง สำหรับงานอื่นซึ่งไม่ใช่งานตาม (๑)
  • ข้อ ๓๔ ห้ามมิให้นายจ้างจ่ายค่าจ้างเป็นเงินแก่ลูกจ้างน้อยกว่าอัตราค่าจ้างขั้นต่ำ
  • ข้อ ๓๕ ประกาศคณะกรรมการค่าจ้างฉบับนี้ ให้มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ ๑ เมษายน พ.ศ. ๒๕๕๕ เป็นต้นไป

ประกาศ ณ วันที่ ๒ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๕๔
สมเกียรติ ฉายะศรีวงศ์
ปลัดกระทรวงแรงงาน
ประธานกรรมการค่าจ้าง

คลิ๊กเพื่อดูประกาศค่าแรงขั้นต่ำปี 2555