- ป้ายชื่อ ดวงตรา และเอกสารของห้างฯ จะต้องมีคำว่า “ห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคล” หรือ “ห้างหุ้นส่วนจำกัด” ตามประเภทของห้างฯ
- การลงหุ้นของผู้เป็นหุ้นส่วนต้องถูกต้องตามความเป็นจริงและตรงกับรายการที่ขอจดทะเบียน
- หลักเกณฑ์และวิธีการจัดทำบัญชี งบการเงิน และการนำส่งงบการเงินตามที่กฎหมายกำหนด ดังนี้
- การจัดทำบัญชีของห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคล และห้างหุ้นส่วนจำกัดที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายไทย
- จัดให้มีผู้ทำบัญชีที่มีคุณสมบัติตามที่อธิบดีกรมพัฒนาธุรกิจการค้าประกาศ กล่าวคือ ผู้ทำบัญขีของห้างหุ้นส่วนจดทะเบียนที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายไทย ซึ่ง ณ วันปิดบัญชีในรอบปีบัญชีที่ผ่านมามีทุนจดทะเบียนไม่เกิน 5 ล้านบาท สินทรัพย์รวมไม่เกิน 30 ล้านบาท และรายได้รวมไม่เกิน 30 ล้านบาท ต้องมีคุณวุฒิไม่ต่ำกว่าอนุปริญญาหรือประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) ทางการบัญชีหรือเทียบเท่าจากสถานการศึกษา ซึ่งทบวงมหาวิทยาลับหรือคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน (กพ.) หรือ กระทรวงศึกษาธิการเทียบว่าไม่ต่ำกว่าอนุปรญญาหรือประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวส.) ทางการบัญชี แต่ถ้าห้างฯ มีทุนจดทะเบียนหรือสินทรัพย์รวมหรือรายได้รวมรายการใดรายหนึ่งเกินกว่าที่กำหนดข้างต้น ผู้ทำบัญชีต้องมีคุณวุฒิไม่ต่ำกว่าปริญญาตรีทางการบัญชีหรือเทียบเท่าจากสถาบันการศึกษาซึ่งทบวงมหาวิทยาลัยหรือคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน (กพ.) หรือกระทรวงศึกษาธิการเทียบว่าไม่ต่ำกว่าปริญญาตรีทางการบัญชี
- จัดทำและรวบรวมเอกสารที่ต้องใช้ประกอบการลงบัญชีเพื่อเป็นหลักฐานในการบันทึกบัญชีและส่งมอบให้ผู้ทำบัญชีให้ถูกต้องครบถ้วน
- ควบคุมดูแลผู้ทำบัญชีให้จัดบัญชีให้ตรงต่อความเป็นจริงและถูกต้องตามกฎหมาย เพื่อให้บัญชีที่จัดทำขึ้นแสดงผลการดำเนินงาน ฐานะการเงิน หรือการเปลี่ยนแปลงฐานะการเงิน ตามความเป็นจริงและตามมาตรฐานการบัญชี
- เริ่มทำบัญชีนับแต่วันที่ได้รับการจดทะเบียนเป็นนิติบุคคลตามกฎหมาย โดยจะต้องจัดทำบัญชีตามที่กำหนดในประกาศกรมทะเบียนการค้า เรื่องกำหนดชนิดของบัญชีที่ต้องจัดทำ ข้อความและรายการที่ต้องมีในบัญชี ระยะเวลาที่ต้องลงรายการในบัญชีและเอกสารที่ต้องใช้ประกอบการลงบัญชี พ.ศ.2544
- ปิดบัญชีครั้งแรกภายใน 12 เดือนนับแต่วันที่มีหน้าที่จัดทำบัญชี คือนับแต่วันที่ได้รับการจดทะเบียนเป็นนิติบุคคลตามกฎหมาย และปิดบัญชีครั้งต่อไปทุกรอบ 12 เดือนนับแต่วันปิดบัญชีครั้งก่อน
- จัดทำงบการเงิน โดยมีรายการย่อตามที่กำหนดในแบบ 1 ตามประกาศกรมทะเบียนการค้า เรื่องกำหนดรายการย่อที่ต้องมีในงบการเงิน พ.ศ.2544 และจัดให้มีผุ้สอบบัญชีอนุญาตตรวจสอบ และแสดงความเห็นต่องบการเงินด้วย เว้นแต่กรณีที่งบการเงินของห้างฯ ที่มีทุนจดทะเบียนไม่เกิน 5 ล้านบาท สินทรัพย์รวมไม่เกิน 30 ล้านบาท และรายได้รวมไม่เกิน 30 ล้านบาท ไม่ต้องจัดให้มีผู้สอบบัญชีรับอนุญาตตรวจสอบและการแสดงความเห็นต่องบการเงินที่มีรอบปีบัญชีสิ้นสุดในหรือหลังวันที่ 31 ธันวาคม 2545 เป็นต้นไป
- นำส่งงบการเงินภายใน 5 เดือนนับแต่วันที่ปิดบัญชี โดยดำเนินการดังนี้
- กรณีสำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ในเขตกรุงเทพมหานคร ให้ยื่นที่สำนักบริการข้อมูลธุรกิจ กรมพัฒนาธุรกิจการค้า อาคาร 3 ชั้น 3 ห้อง 30303
- กรณีสำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ในเขตท้องที่จังหวัดอื่น ให้ยื่นที่สำนักงานพัฒนาธุรกิจจังหวัดที่ธุรกิจตั้งอยู่ หรือยื่นที่สำนักบริการข้อมูลธุรกิจ กรมพัฒนาธุรกิจการค้า อาคาร 3 ชั้น 3 ห้อง 30303 (การยื่นงบการเงิน อาจยื่นโดยตรงต่อเจ้าหน้าที่หรือส่งทางไปรษณีย์ลงทะเบียนตอบรับไปยังสถานที่ดังกล่าวข้างต้นพร้อมแนบซองที่จ่าหน้ากลับคืนถึงตัวผู้รับพร้อมผนึกดวงตราไปรษณียากรให้ครบถ้วน)
- เก็บรักษาบัญชีและเอกสารประกอบการลงบัญชีไว้ ณ สถานที่ทำการ หรือสถานที่ที่ใช้เป็นที่ทำการผลิตหรือเก็บสินค้าเป็นประจำ หรือสถานที่ที่ใช้เป็นที่ทำงานเป็นประจำ เป็นเวลาไม่น้อยกว่า 5 ปี นับแต่วันปิดบัญชี กรณีที่จำเป็นในการตรวจสอบบัญชีของกิจการประเภทใดประเภทหนึ่ง อธิบดีโดยความเห็นชอบของรัฐมนตรีอาจกำหนดให้เก็บรักษาบัญชีและเอกสารประกอบการลงบัญชีไว้เกิน 5 ปี แต่ไม่เกิน 7 ปีก็ได้
- การจัดทำบัญชีของห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคล และห้างหุ้นส่วนจำกัดที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายไทย
- การดำเนินการเกี่ยวกับบัญชีและเอกสารประกอบการลงบัญชี ที่มีผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชีจะต้องขออนุญาตต่อสารวัตรใหญ่บัญชีหรือสารวัตรบัญชีประจำสำนักงานบัญชีประจำท้องที่ตามกฎหมายกำหนด มีดังนี้
- การขออนุญาตเปลี่ยนรอบปีบัญชี จะต้องยื่นคำขอตามแบบ ส.บช.4 พร้อมด้วยเอกสารหลักฐานตามที่ได้ระบุไว้ในแบบดังกล่าว เมื่อได้รับอนุญาตแล้วจึงจะเปลี่ยนรอบปีบัญชีได้
- การขออนุญาตเก็บรักษาบัญชีและเอกสารประกอบการลงบัญชีไว้ ณ สถานที่อื่น จะต้องยื่นคำขอตามแบบ ส.บช.1 พร้อมด้วยเอกสารหลักฐานตามที่ได้ระบุไว้ในแบบดังกล่าว โดยในระหว่างรอการอนุญาตให้ผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชีเก็บรักษาบัญชีและเอกสารประกอบการลงบัญชีไว้ ณ สถานที่ที่ยื่นขออนุญาตไปพลางก่อนได้ หากต่อมาได้นำบัญชีหรือเอกสารประกอบการลงบัญชีนั้นทั้งหมด หรือส่วนใดส่วนหนึ่งไปเก็บรักษาไว้ ณ สถานที่ตามข้อ 3.6 ให้แจ้งการเปลี่ยนแปลงนั้นภายใน 15 วัน นับแต่วันที่มีการเปลี่ยนแปลง
- การแจ้งบัญชีหรือเอกสารประกอบการลงบัญชีสูญหายหรือเสียหาย จะต้องยื่นแบบ ส.บช.2 พร้อมด้วยเอกสารหลักฐานตามที่ได้ระบุไว้ในแบบดังกล่าวภายใน 15 วัน นับแต่วันที่ทราบหรือควรทราบถึงการสูญหายหรือเสียหายนั้น
- การเปลี่ยนแปลงที่ห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคล/ห้างหุ้นส่วนจำกัดต้องไปจดทะเบียน แก้ไขเพิ่มเติมต่อนายทะเบียน ได้แก่
- การควบห้างหุ้นส่วน
- การเปลี่ยนแปลงห้างหุ้นส่วน (เพิ่มทุน/ลดทุน)
- การเปลี่ยนแปลงวัตถุประสงค์ของห้างหุ้นส่วน
- การเปลี่ยนแปลงดวงตราของห้างหุ้นส่วน
- การเปลี่ยนแปลงผู้เป็นหุ้นส่วน
- การเปลี่ยนแปลงหุ้นส่วนผู้จัดการ/ข้อจำกัดอำนาจหุ้นส่วนผู้จัดการ
- การเปลี่ยนแปลงที่ตั้งสำนักงานแห่งใหญ่ และ/หรือสำนักงานสาขา
- การเปลี่ยนแปลงรายการอื่นๆ ที่เห็นสมควรให้ประชาชนทราบ
- การเลิกห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคล/ห้างหุ้นส่วนจำกัด ต้องไปจดทะเบียนต่อนายทะเบียนเช่นกันโดยดำเนินการตามขั้นตอน หลักเกณฑ์และวิธีการตามที่กฎหมายกำหนด จนเสร็จสิ้นการชำระบัญชี และห้างฯ ต้องไปจดทะเบียนเสร็จการชำระบัญชีต่อนายทะเบียนด้วย จึงจะถือว่าห้างฯ นั้นเลิกกิจการตามผลของกฎหมายโดยสมบูรณ์
คำแนะนำการปฏิบัติให้ถูกต้องตามกฎหมายของห้างหุ้นส่วนจำกัด
คำแนะนำการปฏิบัติให้ถูกต้องตามกฎหมายของบริษัทจำกัด
-
ป้ายชื่อ ดวงตรา และเอกสารของบริษัทฯ จะต้องมีคำว่า “บริษัท” ไว้หน้าชื่อและคำว่า “จำกัด” ไว้ท้ายชื่อ และให้มีป้ายชื่อไว้ ณ สถานที่ตั้งสำนักงานแห่งใหญ่ และหากเป็นที่ตั้งสำนักงานสาขาก็ต้องจัดให้มีป้ายชื่อไว้เช่นเดียวกัน โดยระบุว่าเป็น “สาขา” ไว้เช่นเดียวกัน
-
แสดงใบสำคัญการจดทะเบียน ไว้ ณ สำนักงานแห่งใหญ่ ในลักษณะที่เห็นได้ง่ายและชัดเจน
-
จัดทำใบหุ้นมอบให้แก่ผู้ถือหุ้น มีข้อความที่ถูกต้องตามที่กฎหมายกำหนด
-
จัดทำสมุดทะเบียนผู้ถือหุ้นเก็บไว้ ณ สำนักงานแห่งใหญ่ ตามที่จดทะเบียนไว้ และลงรายการในสมุดทะเบียนผู้ถือหุ้นตามที่กฎหมายกำหนด
-
จัดให้มีการประชุมผู้ถือ หุ้นภายใน 6 เดือน นับแต่ได้จดทะเบียนจัดตั้งบริษัท ฯ และต่อไปให้มีการประชุมอย่างน้อย 1 ครั้งในทุกระยะ 12 เดือน
-
จดบันทึกรายงานการประชุม และข้อมติทั้งหมดของที่ประชุมผู้ถือหุ้น และของที่ประชุมกรรมการให้ถูกต้อง และเก็บไว้ ณ สำนักงานของบริษัทที่ได้จดทะเบียนไว้
-
จัดทำสำเนาบัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้น ณ วันประชุมผู้ถือหุ้น (อนุมัติงบดุล) ส่งต่อนายทะเบียนภายใน 14 วัน นับแต่วันประชุม
- จัดให้มีการทำบัญชีตามประเภทของการประกอบธุรกิจ โดยมีรายละเอียดหลักเกณฑ์ และวิธีการตามที่กฎหมายกำหนด ดังนี้
- การจัดทำบัญชี บริษัทต้องจัดให้มีผู้ทำบัญชีที่มีคุณสมบัติตามที่กฎหมายกำหนด ทั้งนี้ บริษัทต้องควบคุมดูแลผู้ทำบัญชีให้จัดทำบัญชีให้ตรงต่อความเป็นจริง และถูกต้องตาม กฎหมายโดยบัญชีของบริษัทต้องแสดงผลการดำเนินงาน ฐานะการเงิน หรือการ เปลี่ยนแปลงฐานะการเงินตามความเป็นจริง และตามมาตรฐานการบัญชี
- เริ่มทำบัญชีนับแต่วันที่ได้รับการจด ทะเบียนเป็นนิติบุคคลตามกฎหมาย โดยมีชนิดของ บัญชีข้อความและรายการในบัญชี ระยะเวลาในการลงรายการในบัญชี และเอกสาร ประกอบการลงบัญชีตามที่กฎหมายกำหนด
- ปิดบัญชีครั้งแรกภายใน 12 เดือน นับแต่วันที่มีหน้าที่จัดทำบัญชี และปิดบัญชีครั้งต่อไป ทุกรอบ 12 เดือนนับแต่วันปิดบัญชีครั้งก่อน และในกรณีบริษัทมีข้อบังคับระบุรอบปีบัญชีไว้ บริษัทจะต้องปิดบัญชีตามข้อบังคับนั้น
- จัดทำงบการเงิน โดยมีรายการย่อตามที่อธิบดีประกาศกำหนดโดยความเห็นชอบของ รัฐมนตรีและจัดให้มีผู้สอบบัญชีรับอนุญาตตรวจสอบและแสดงความเห็น
- นำส่งงบการเงินภายใน 1 เดือนนับแต่วันที่งบการเงินได้รับอนุมัติจากที่ประชุมใหญ่ผู้ถือหุ้นของ บริษัท การนำส่งงบการเงินของบริษัท ให้ดำเนินการดังนี้
(5.1) กรณีสำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ในเขตกรุงเทพมหานคร ให้ส่งต่อสำนักบริการข้อมูลธุรกิจ กรมทะเบียนการค้า
(5.2) กรณีสำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ในเขตท้องที่จังหวัดอื่น ให้ส่งต่อสำนักงานทะเบียน การค้าจังหวัดนั้น หรือส่งต่อสำนักบริการข้อมูลธุรกิจ กรมทะเบียนการค้า - เก็บรักษาบัญชีและเอกสารประกอบการลง บัญชีไว้ ณ สถานที่ทำการ หรือสถานที่ที่ใช้เป็นที่ทำการผลิตหรือเก็บสินค้าเป็นประจำ หรือสถานที่ที่ใช้เป็นที่ทำงานเป็นประจำ เป็นเวลาไม่น้อยกว่า 5 ปีนับแต่วันปิดบัญชี กรณีที่จำเป็นในการตรวจสอบบัญชี อธิบดีโดยความเห็นชอบของรัฐมนตรีอาจกำหนดให้เก็บรักษาบัญชีไว้เกิน 5 ปีแต่ไม่เกิน 7 ปีก็ได้
-
การดำเนินการเกี่ยวกับบัญชีและเอกสารประกอบการลงบัญชีที่ต้องขออนุญาตตามกฎหมายก่อน มีดังนี้
(1) ขออนุญาตเปลี่ยนรอบปีบัญชี
(2) ขออนุญาตเก็บรักษาบัญชีและเอกสารประกอบการลงบัญชีไว้นอกสถานที่ประกอบธุรกิจ
(3) แจ้งบัญชีหรือเอกสารประกอบการลงบัญชีสูญหายหรือเสียหาย -
การเปลี่ยนแปลงที่บริษัทมหาชนจำกัดต้องไปจดทะเบียนแก้ไขเพิ่มเติมต่อนายทะเบียน ได้แก่
(1) การเปลี่ยนแปลงทุนชำระแล้ว (เพิ่มทุน/ลดทุน)
(2) การเปลี่ยนแปลงข้อบังคับของบริษัท
(3) การเปลี่ยนแปลงดวงตราของบริษัท
(4) การเปลี่ยนแปลงกรรมการเข้า/ออก
(5) การเปลี่ยนแปลงชื่อและจำนวนกรรมการ ซึ่งมีอำนาจลงลายมือชื่อแทนบริษัทและ ข้อจำกัดอำนาจกรรมการ
(6) การเปลี่ยนแปลงที่ตั้งสำนักงานแห่งใหญ่ และ/หรือสำนักงานสาขา
(7) การเปลี่ยนแปลงรายการอื่นๆ ที่เห็นสมควรให้ประชาชนทราบ -
การเลิกบริษัทมหาชนจำกัด ต้องไปจดทะเบียนต่อนายทะเบียนเช่นกัน โดยดำเนินการตามขั้นตอน หลักเกณฑ์ และวิธีการตามที่กฎหมายกำหนด จนเสร็จสิ้นการชำระบัญชี และบริษัทมหาชนจำกัด ต้องไปจดทะเบียนเสร็จการชำระบัญชีต่อนายทะเบียนด้วย จึงจะถือว่าบริษัทมหาชนจำกัด นั้นเลิกกิจการตามผลของกฎหมายโดยสมบูรณ์
ที่มา..เอกสารกระทรวงพาณิชย์