ภาษีหัก ณ ที่จ่าย กรณีรับจ้างพิมพ์แบบฟอร์ม

รับจ้างพิมพ์แบบฟอร์มเอกสาร ถือเป็นการรับจ้างทำของ ซึ่งผู้จ่ายเงินได้มีหน้าที่ต้องหักภาษี ณ ที่จ่าย ในอัตราร้อยละ 3 ตาม ท.ป.4/2528

เลขที่หนังสือ : กค 0702/3687
วันที่ : 1 มิถุนายน 2553
เรื่อง : ภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย กรณีรับจ้างพิมพ์แบบฟอร์มสำนักงาน
ข้อกฎหมาย : คำสั่งกรมสรรพากร ที่ ท.ป.4/2528ฯ
ข้อหารือ
          บริษัทฯ ประกอบกิจการขายส่ง ขายปลีก และรับจ้างพิมพ์เอกสารต่างๆ ตามคำสั่งของลูกค้า บริษัทฯ จึงขอทราบว่า
          1. กรณีบริษัทฯ รับจ้างพิมพ์แบบฟอร์มสำนักงาน (design form) โดยจะพิมพ์งานตามคำสั่งของลูกค้า ซึ่งแบบพิมพ์ จะแตกต่างกันตามที่ลูกค้าสั่ง โดยลูกค้าจะมีตัวอย่างมาให้ บริษัทฯ จะถูกหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่ายหรือไม่
          2. กรณีแบบพิมพ์ (design form) บางงานของลูกค้าที่มาว่าจ้างบริษัทฯ พิมพ์ แต่ทางบริษัทฯ ไม่สามารถพิมพ์ได้ตาม ตัวอย่างงานที่ลูกค้าสั่ง บริษัทฯ จึงไปว่าจ้างบริษัทอื่นพิมพ์ให้ แล้วนำไปให้ลูกค้าที่มาสั่งพิมพ์ บริษัทฯ จะถูกหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย หรือไม่
          3. กรณีลูกค้าสั่งกระดาษต่อเนื่องที่ไม่มีการพิมพ์ (stock form) โดยบริษัทฯ เป็นผู้ผลิตกระดาษต่อเนื่องนั้น บริษัทฯ จะถูกหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย หรือไม่
แนววินิจฉัย
          1. กรณีบริษัทฯ รับจ้างพิมพ์แบบฟอร์มสำนักงาน (design form) ซึ่งแบบพิมพ์จะแตกต่างกันตามที่ลูกค้าสั่ง กรณีจึงเป็น การมุ่งหวังผลสำเร็จของงานเป็นสำคัญ เข้าลักษณะเป็นการรับจ้างทำของตามมาตรา 587 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ หากลูกค้าเป็นบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลหรือนิติบุคคลอื่น จ่ายเงินค่าจ้างทำของให้แก่บริษัทฯ ลูกค้ามีหน้าที่หักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย ในอัตราร้อยละ 3.0 ตามข้อ 8 ของคำสั่งกรมสรรพากรที่ ท.ป.4/2528 เรื่อง สั่งให้ผู้จ่ายเงินได้พึงประเมิน ตามมาตรา 40 แห่งประมวลรัษฎากร มีหน้าที่หักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย ลงวันที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2528
          2. กรณีบริษัทฯ ไม่สามารถพิมพ์งานได้ บริษัทฯ จึงไปว่าจ้างบริษัทอื่นพิมพ์ให้ แล้วนำผลงานดังกล่าวไปให้ลูกค้า ถือว่า ลูกค้าได้ว่าจ้างบริษัทฯ ให้พิมพ์งาน โดยเป็นการมุ่งหวังผลสำเร็จของงานเป็นสำคัญ เข้าลักษณะเป็นการรับจ้างทำของ ตามมาตรา 587 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ หากลูกค้าเป็นบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลหรือนิติบุคคลอื่น จ่ายเงินค่าจ้างทำของ ให้แก่บริษัทฯ ลูกค้ามีหน้าที่หักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย ในอัตราร้อยละ 3.0 ตามข้อ 8 ของคำสั่งกรมสรรพากรฉบับดังกล่าว
          3. กรณีลูกค้าสั่งซื้อกระดาษต่อเนื่องที่ไม่ต้องมีการพิมพ์ (stock form) โดยบริษัทฯ เป็นผู้ผลิตกระดาษต่อเนื่องนั้นขายเป็นปกติอยู่แล้ว เข้าลักษณะเป็นการขายสินค้า จึงไม่อยู่ในบังคับต้องถูกหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย ตามคำสั่งกรมสรรพากรฉบับดังกล่าว
เลขตู้ : 73/37314

รับจ้างผลิตเครื่องจับยึดชุดโลหะ ต้องหักภาษี ณ ที่จ่าย

ภาษีหัก ณ ที่จ่าย กรณีรับจ้างทำ ผู้จ่ายมีหน้าที่หักในอัตราร้อยละ  3% ในบางครั้งการพิจารณาว่าสินค้า(ชิ้นส่วน) ที่ซื้อว่าเป็นการรับจ้างทำของ หรือเป็นการขาย เป็นเรื่องยุ่งยากพอสมควร ถ้าดูจากที่สรรพากรตอบไว้จะเห็นว่าการขายสินค้าที่ผู้ซื้อเป็นผู้กำหนดแบบให้ เป็นการรับจ้างทำของ แม้ว่าผู้ขายจะเป็นผู้จัดหาวัตถุดิบเองก็ตาม

เลขที่หนังสือ กค 0702/5561 

วันที่ : 22 กรกฎาคม 2553

เรื่อง : ภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย กรณีการผลิตเครื่องจับยึดชุดโลหะ

ข้อกฎหมาย : มาตรา 587 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

ข้อหารือ
          บริษัทฯ ประกอบกิจการผลิตชิ้นส่วนรถยนต์ ปั๊มชิ้นส่วนรถยนต์ และรับจ้างจุ่มสีชิ้นส่วนรถยนต์ บริษัทฯ ได้จ่ายค่าจ้างผลิตอุปกรณ์ที่ใช้จับยึดชิ้นงานให้กับบริษัท ว. แต่ไม่ได้หักภาษี ณ ที่จ่าย โดยชี้แจงว่าบริษัท ว. จะผลิตตามคำสั่งและแบบของลูกค้า ลูกค้าให้ผลิตอุปกรณ์จับยึดชุดโลหะตามแบบที่ลูกค้ากำหนด หรือแบบที่ผู้ผลิตเป็นผู้ออกแบบให้ โดยในการผลิตจะใช้วัตถุดิบของ ผู้ผลิต กรณีดังกล่าวอยู่ในบังคับต้องถูกหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย ตามข้อ 8 ของคำสั่งกรมสรรพากรที่ ท.ป. 4/2528 เรื่อง สั่งให้ ผู้จ่ายเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 แห่งประมวลรัษฎากร มีหน้าที่หักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย ลงวันที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2528 หรือไม่

แนววินิจฉัย
          การพิจารณาข้อตกลงทางการค้าว่า เข้าลักษณะเป็นการขายสินค้าหรือการจ้างทำของจะต้องพิจารณาตามเจตนาที่แท้ จริงของคู่สัญญาว่าคู่สัญญามุ่งที่จะโอนกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินหรือมุ่งถึง การทำงานและผลสำเร็จของงานเป็นสำคัญกรณีปรากฏข้อเท็จจริงว่า การประกอบกิจการของบริษัท ว. จะผลิตสินค้าตามคำสั่งของลูกค้าเท่านั้นโดยไม่มีการวางจำหน่ายเป็นการทั่วไป ไม่ว่าจะใช้วัตถุดิบของบริษัท ว. หรือของผู้ว่าจ้างก็ตามและไม่สามารถผลิตแม่พิมพ์ที่จับยึดชิ้นงานตามแบบของ ลูกค้ารายหนึ่งไปจำหน่ายให้กับลูกค้าอีกรายหนึ่งได้ เนื่องจากเป็นความลับทางการค้าของลูกค้ารายนั้นๆ จึงเป็นการมุ่งถึงผลสำเร็จของงานที่ทำ ถือเป็นการรับจ้างทำของตามมาตรา 587 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ เมื่อบริษัทฯ จ่ายค่าจ้างให้แก่บริษัท ว. ผู้จ่ายเงินมีหน้าที่หักภาษี ณ ที่จ่าย ในอัตราร้อยละ 3.0 ตามข้อ 8 (2) ของคำสั่งกรมสรรพากรที่ ท.ป. 4/2528ฯ ลงวันที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2528

เลขตู้  : 73/3742

มาตรการกระตุ้นการท่องเที่ยวไทย

ตามที่รัฐบาลออก นโยบายการส่งเสริมการท่องเที่ยว โดยมีมาตรการช่วยเหลือผู้ประกอบการและธุรกิจท่องเที่ยวนั้น

บัดนี้ได้ทยอยออกกฎหมายที่เกี่ยวข้องจนครบถ้วนแล้ว จึงขอนำมาเป็นประเด็นปุจฉา-วิสัชนา ดังนี้

ปุจฉา ขอให้ทบทวนนโยบายการส่งเสริมการท่องเที่ยว โดยมีมาตรการช่วยเหลือผู้ประกอบการและธุรกิจท่องเที่ยว ที่รัฐบาลได้เคยแถลงไว้ตามมติ ครม.

วิสัชนา เกี่ยวกับเรื่องดังกล่าวที่ประชุม ครม. ได้มีมติดังนี้

1. ให้ลดหย่อนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาที่ซื้อแพ็คเกจทัวร์จากบริษัททัวร์เพียง กรณีเดียวเท่านั้น โดยนำค่าใช้จ่ายดังกล่าวมาหักภาษีได้ไม่เกิน 15,000 บาทต่อปี โดยมาตรการนี้มีผลระหว่างวันที่ 9 มิถุนายน 2553 จนถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2553

2. กรณีบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลจัดแสดงสินค้า นิทรรศการ และออกบูธที่เกี่ยวกับท่องเที่ยวไทยในต่างประเทศ สามารถนำรายจ่ายส่วนนั้นมาหักภาษีได้ 2 เท่า โดยกำหนดให้มีผลบังคับใช้จนถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2554 นอกจากนี้ ยังกำหนดให้บริษัท หรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลดังกล่าวสามารถนำรายจ่ายจากการจัดอบรมสัมมนา ลูกจ้างที่เป็นการจัดสัมมนาภายใน มาหักรายจ่ายได้ 2 เท่า โดยเป็นรายจ่ายของส่วนห้องพัก ห้องสัมมนา ค่าจัดการ ค่าขนส่ง ที่ได้จ่ายให้แก่ธุรกิจนำเที่ยวตามกฎหมายว่าด้วยธุรกิจนำเที่ยวและ มัคคุเทศก์เป็นเวลา 2 รอบระยะเวลาบัญชี นับแต่รอบระยะเวลาบัญชีที่เริ่มในหรือหลังวันที่ 1 มกราคม 2553

3. กำหนดให้บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล ที่เป็นผู้ประกอบอุตสาหกรรมท่องเที่ยว ที่ได้ซื้อทรัพย์สิน ที่ใช้ในการประกอบอุตสาหกรรมท่องเที่ยว เช่น อุปกรณ์ เครื่องมือ เครื่องใช้ เครื่องตกแต่ง และเฟอร์นิเจอร์ แต่ไม่รวมถึงยานพาหนะ โดยให้มีสิทธิหักค่าเสื่อมได้ 60% ของมูลค่าต้นทุน ในวันที่ได้มาซึ่งทรัพย์สิน โดยให้มีผลถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2554

4. สิทธิประโยชน์ในการหักค่าเสื่อมราคาของรถยนต์นั่งหรือรถยนต์โดยสารที่มีที่ นั่งไม่เกิน 10 คน ซึ่งได้ซื้อมาเพื่อประกอบกิจการให้เช่ารถยนต์ ซึ่งเดิมหักค่าเสื่อมราคาได้จากต้นทุนที่ไม่เกิน 1 ล้านบาท โดยจะปรับมูลค่าต้นทุนให้หักค่าเสื่อมราคาได้เต็มมูลค่าต้นทุนทั้งหมดของ ราคารถยนต์ดังกล่าวที่ได้ซื้อมา และในกรณีที่ผู้ประกอบกิจการดังกล่าวได้เช่ารถยนต์ดังกล่าวมาเพื่อให้เช่า ต่อไปก็จะให้สิทธิประโยชน์เพิ่มขึ้น โดยแต่เดิมหักรายจ่ายได้ไม่เกินประมาณ 36,000 บาทต่อเดือนต่อการเช่ารถยนต์ โดยจะปรับให้หักค่าเช่าได้ทั้งจำนวน

5. มาตรการภาษีเกี่ยวกับการประกันภัย โดยกำหนดให้บริษัทประกันภัยสามารถนำค่าใช้จ่ายจากการจ่ายเงินทดแทน ที่จ่ายให้กับผู้ที่ได้รับความเดือดร้อนจากเหตุการณ์ชุมนุมมาหักเป็นรายจ่าย ในการคำนวณกำไรสุทธิในการเสียภาษี รวมทั้งให้ยกเว้นภาษี จากค่าสินไหม หรือเงินที่ได้รับจากบริษัทประกันภัยในส่วนที่เกินจากมูลค่าทรัพย์สินที่ เสียหายด้วย

ปุจฉา มีหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการลดหย่อนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาสำหรับรายจ่ายค่าซื้อ แพ็คเกจทัวร์จากบริษัททัวร์ อย่างไร

วิสัชนา กำหนดให้มีผลตั้งแต่วันที่ เป็นไป ดังนี้ กำหนดให้ผู้มีเงินได้บุคคลธรรมดาได้รับยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาเท่ากับ จำนวนเงินที่ได้จ่ายเป็นค่าบริการให้แก่ผู้ประกอบธุรกิจนำเที่ยวตามกฎหมาย ว่าด้วยธุรกิจนำเที่ยวและมัคคุเทศก์ หรือที่ได้จ่ายเป็นค่าที่พักในโรงแรมให้แก่ผู้ประกอบธุรกิจโรงแรม ตามกฎหมายว่าด้วยโรงแรม สำหรับการเดินทางท่องเที่ยวภายในประเทศ ตามจำนวนที่จ่ายจริง แต่รวมกันทั้งหมดแล้วไม่เกิน 15,000 บาท ทั้งนี้ เฉพาะค่าบริการหรือค่าที่พักที่ได้จ่ายไปตั้งแต่วันที่ 8 มิถุนายน 2553 จนถึง 31 ธันวาคม 2553 และให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่อธิบดีประกาศกำหนดตาม กฎกระทรวงฉบับที่ 278 (พ.ศ. 2553) ลงวันที่ 30 กันยายน 2553

ทั้งนี้ ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขตามประกาศอธิบดีกรมสรรพากรเกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 187) ดังนี้

1. เป็นผู้มีเงินได้ซึ่งมีหน้าที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา แต่ไม่รวมถึงห้างหุ้นส่วนสามัญ หรือคณะบุคคลที่มิใช่นิติบุคคล

2. กรณีผู้มีเงินได้ซึ่งมีสิทธิได้รับยกเว้นภาษีมีคู่สมรส

(1) กรณีสามีหรือภริยามีเงินได้ฝ่ายเดียว ให้ยกเว้นภาษีให้แก่สามีหรือภริยาซึ่งเป็นผู้มีเงินได้ตามจำนวนที่ผู้มีเงิน ได้ได้จ่ายจริงแต่ไม่เกิน 15,000 บาท

(2) กรณีสามีภริยาต่างฝ่ายต่างมีเงินได้ โดยความเป็นสามีภริยาได้มีอยู่ตลอดปีภาษี และภริยาจะใช้สิทธิแยกยื่นรายการและเสียภาษีต่างหากจากสามีตามมาตรา 57 เบญจ แห่งประมวลรัษฎากร หรือไม่ก็ตาม ให้สามีหรือภริยาซึ่งเป็นผู้มีเงินได้ต่างฝ่ายต่างได้รับยกเว้นภาษีตามจำนวน ที่จ่ายจริงแต่ไม่เกินคนละ 15,000 บาท ถ้าความเป็นสามีภริยามิได้มีอยู่ตลอดปีภาษีที่ได้รับยกเว้นภาษี ให้สามีและภริยาซึ่งเป็นผู้มีเงินได้ต่างฝ่ายต่างได้รับยกเว้นภาษีตามจำนวน ที่จ่ายจริงแต่ไม่เกินคนละ 15,000 บาท

3. ผู้มีเงินได้ต้องมีหลักฐานการรับเงินจากผู้ประกอบธุรกิจนำเที่ยว หรือผู้ประกอบธุรกิจโรงแรมโดยระบุชื่อผู้มีเงินได้ จำนวนเงิน วัน เดือน ปี ที่จ่ายเงิน

ที่มา..กรุงเทพธุรกิจออนไลน์

ผลิตสินค้าตามคำสั่งลูกค้า ไม่ต้องหักภาษี ณ ที่จ่าย

เนื่องจากผมเคยทำงานโรงงานอุตสาหกรรมมาก่อน ตอนแผนกจัดซื้อสั่งซื้อสินค้า (ชิ้นส่วน) ซึ่งเกิดจากการออกแบบของเราเอง ส่งให้ Supplier ผลิตตามแบบที่เราต้องการ ตอนจ่ายเงินผมจะหักภาษี ณ ที่จ่าย 3 % เคยถามสรรพากรก็ได้คำตอบแบบนี้ ถ้าไม่ใช่สินค้าที่อยู่ใน Catalogue ของผู้ขาย ถือเป็นการรับจ้างทำของ ต้องหักภาษี ณ ที่จ่าย แม้กระทั้งรุ่นพี่(ที่เก่งเรื่องภาษี) ก็บอกต้องหักภาษี ณ ที่จ่าย เหมือนกัน

แต่ที่จริงแล้ว ไม่ต้องหักภาษี ณ ที่จ่าย ลองมาดูที่สรรพากรตอบไว้นะครับ

เลขที่หนังสือ : กค 0702/5546

วันที่ : 22 กรกฎาคม 2553

เรื่อง : ภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย กรณีการผลิตสินค้าเพื่อขาย และการผลิตสินค้าตามคำสั่งลูกค้า

ข้อกฎหมาย : มาตรา 40 แห่งประมวลรัษฎากร

ข้อหารือ
          ห้างฯ ประกอบกิจการผลิตและจำหน่ายเสื้อผ้าสำเร็จรูป เช่น เสื้อโปโล เสื้อแจ๊คเก็ต เสื้อเชิ้ต และกางเกง โดยใช้วัสดุในการผลิตแตกต่างกัน รวมทั้งมีการผลิตและจำหน่ายให้แก่ลูกค้าตามคำสั่งมีลักษณะดังนี้
          1. ลูกค้าสั่งซื้อตามรูปแบบตามที่ห้างฯ รับผลิต หรือตามตัวอย่างที่ห้างฯ จัดเตรียมไว้และลูกค้าขอเลือกวัสดุ เช่น สีผ้า ชนิดผ้า กระดุม และแบบกระดุม ที่ห้างฯ จัดเตรียมและมีไว้ให้เลือก ซึ่งบางครั้งคำสั่งซื้อจะมีการติดเครื่องหมายของ บริษัทลูกค้า โลโก้ หรือเครื่องหมายอื่นที่ลูกค้าต้องการบนเสื้อตามจุดที่ลูกค้าต้องการ
          2. ลูกค้าสั่งผลิตสินค้าโดยลูกค้าเป็นผู้ออกแบบเอง แต่ใช้วัตถุดิบในการผลิตตามตัวอย่างที่ห้างฯ จัดเตรียมและมีไว้ให้เลือก และอาจมีการติดเครื่องหมายของบริษัทลูกค้า โลโก้ หรือเครื่องหมายอื่นที่ลูกค้าต้องการบนเสื้อตามจุดที่ลูกค้าต้องการ
          ห้างฯ จึงขอทราบว่า การกระทำลักษณะดังกล่าวของห้างฯ เป็นการขายสินค้า มิใช่เป็นการรับจ้างผลิต ห้างฯ จึงไม่อยู่ในบังคับต้องถูกหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย ความเข้าใจของห้างฯ ถูกต้องหรือไม่

แนววินิจฉัย
          กรณีห้างฯ ได้ผลิตสินค้าเพื่อจำหน่ายเป็นปกติอยู่แล้ว ไม่ว่าลูกค้าจะสั่งซื้อสินค้าตามรูปแบบที่ห้างฯ จัดเตรียมไว้หรือลูกค้าเป็นผู้ออกแบบเอง แต่ใช้วัตถุดิบในการผลิตของห้างฯ ที่จัดเตรียมและมีไว้ให้เลือก การรับทำสินค้าดังกล่าวเข้าลักษณะเป็นการขายสินค้า ไม่อยู่ในบังคับต้องถูกหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย ตามคำสั่งกรมสรรพากรที่ ท.ป.4/2528 เรื่อง สั่งให้ผู้จ่ายเงินได้พึงประเมิน ตามมาตรา 40 แห่งประมวลรัษฎากร มีหน้าที่หักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย ลงวันที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2528

เลขตู้ : 73/37422

แท็กของ Technorati: {กลุ่มแท็ก}

เงินช่วยเหลือการศึกษาบุตร ต้องนำมารวมคำนวณภาษีเงินได้

หลายบริษัทมักจะมีทุนการศึกษาแจกให้บุตรของพนักงานบริษัท ที่ทำงานเก่าผมก็เคยมีลักษณะนี้ มีทั้งทุนเรียนดี กับ ทุนการศึกษาสำหรับพนักงานรายได้น้อย

ผมเองก็ได้รับคำถามนี้อยู่บ่อยๆ ว่าทุนการศึกษาที่แจกให้พนักงานได้รับการยกเว้นภาษีหรือไม่ คำตอบที่สรรพากรตอบไว้ก็คือ ถือเป็นประโยชน์เพิ่มต้องนำมารวมคำนวณเพื่อภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาครับ ลองมาดูที่สรรพากรตอบไว้นะครับ

เลขที่หนังสือ : กค 0702/5526

วันที่ : 22 กรกฎาคม 2553

เรื่อง  : ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา กรณีเงินช่วยเหลือการศึกษาบุตรของพนักงาน

ข้อกฎหมาย : มาตรา 39 และมาตรา 40(1) แห่งประมวลรัษฎากร

ข้อหารือ
          บริษัทฯ ได้มีระเบียบสวัสดิการเรื่องเงินช่วยเหลือการศึกษาบุตรที่มอบให้พนักงานทุก คนเป็นการทั่วไปโดยมิได้เลือกปฏิบัติ เพื่อ เป็นการบรรเทาความเดือดร้อนทุกข์ยาก เป็นการยกระดับความเป็นอยู่ที่ดี เป็นการส่งเสริมคุณภาพการศึกษาบุตรของพนักงาน โดยบริษัทฯ จะจ่ายให้ตามรายจ่ายที่ได้จ่ายจริงหรือน้อยกว่า โดยพิจารณาจากข้อกำหนดของการจ่ายเงินช่วยเหลือ บริษัทฯ จึงขอ ทราบว่า เงิน สวัสดิการดังกล่าวถือเป็นรายได้ของพนักงานหรือไม่

แนววินิจฉัย
          กรณีสวัสดิการหรือประโยชน์ที่ พนักงานได้รับจากนายจ้างข้างต้น ถือเป็นประโยชน์เพิ่มอันเข้าลักษณะเป็นเงินได้พึงประเมิน ตามมาตรา 39 แห่งประมวลรัษฎากร และถือเป็นเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40(1) แห่งประมวลรัษฎากร พนักงานต้องนำมารวมคำนวณ เพื่อเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา

เลขตู้ : 73/37415

 

แท็กของ Technorati: {กลุ่มแท็ก}