การให้บริการเริ่มต้นธุรกิจ ณ จุดเดียว (Single Point)

วันที่ 19 สิงหาคม 2553

เรื่อง การให้บริการเริ่มต้นธุรกิจ ณ จุดเดียวกัน (Single Point)ในโครงการพัฒนาระบบเชื่อมโยงข้อมูลการเริ่มต้นธุรกิจ (e- Starting Business

การให้บริการเริ่มต้นธุรกิจ ณ จุดเดียวกัน (Single Point)

โครงการพัฒนาระบบเชื่อมโยงข้อมูลการเริ่มต้นธุรกิจ (e- Starting Business)

---------------------------------------------------------------------------------------------

1. ที่มา และแนวทางความร่วมมือดำเนินการพัฒนาระบบเชื่อมโยงข้อมูลการเริ่มต้นธุรกิจ (e- Starting Business)

1.1 ตามที่รัฐบาลมีนโยบายด้านเศรษฐกิจในการเพิ่มศักยภาพด้านการแข่งขันและการสร้างความ เชื่อมั่นด้านการลงทุน ประกอบกับมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 3 พฤศจิกายน 2552 ได้เห็นชอบให้หน่วยงานภาครัฐดำเนินการปรับปรุงกระบวนการให้บริการเพื่อเพิ่ม ขีดความสามารถในการแข่งขันให้แก่ผู้ประกอบธุรกิจภายในประเทศ และสร้างความเชื่อมั่นให้แก่นักลงทุนต่างประเทศที่จะเข้ามาประกอบธุรกิจในประเทศไทย ซึ่งตามรายงานผลการประกอบธุรกิจ (Doing Business) ของธนาคารโลก (World Bank) ในปี 2553 ประเทศไทยได้รับการจัดอันดับให้อยู่ในลำดับที่ 12 จากจำนวน 183 ประเทศ รัฐบาลจึงมีนโยบายที่ต้องการให้ประเทศไทย เป็นประเทศที่ง่ายต่อการทำธุรกิจ (Ease of Doing Business) อันจะส่งผลต่อการจัดอันดับของประเทศไทยให้สูงขึ้นจากเดิมในลำดับที่ 12 เป็นลำดับที่ 9 ของโลก

1.2 รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ (นายอลงกรณ์ พลบุตร) จึงได้มอบหมายให้กรมพัฒนาธุรกิจการค้า ประสานความร่วมมือกับกรมสรรพากร และสำนักงานประกันสังคม ซึ่งเป็น 3 หน่วยงานหลักที่เกี่ยวข้องกับการเริ่มต้นธุรกิจ โดยได้จัดทำบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ(MOU) เมื่อวันที่ 23 มีนาคม 2553 เพื่อพัฒนาระบบออกเลขทะเบียนของทั้ง 3 หน่วยงาน ได้แก่ เลขทะเบียนนิติบุคคล (กรมพัฒนาธุรกิจการค้า) เลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากร (กรมสรรพากร) และเลขที่บัญชีนายจ้าง (สำนักงานประกันสังคม)

1.3 โครงการดังกล่าวได้กำหนดแนวทางดำเนินการเป็น 2 ระยะ คือ

ระยะที่ 1 การให้บริการ ณ จุดเดียวกัน (Single Point) การใช้แบบฟอร์มร่วมกัน (Single Form) การใช้เอกสารประกอบชุดเดียวกัน(Single Document) โดยให้กรมพัฒนาธุรกิจการค้าให้บริการจดทะเบียนนิติบุคคล ขอเลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากร และเลขที่บัญชีนายจ้าง

ระยะที่ 2 การใช้ระบบเลขทะเบียนเดียวกัน (Single Number) ทั้ง 3 หน่วยงาน กำหนดแล้วเสร็จปี 2554

ขณะนี้ระยะที่ 1 ได้ดำเนินการแล้วเสร็จ และได้จัดให้มีมีพิธีเปิดบริการเริ่มต้นธุรกิจ ณ จุดเดียวกัน (Single Point) เมื่อวันที่ 6 กรกฎาคม 2553 โดย ฯพณฯ นายกรัฐมนตรี (นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ) ได้กรุณาให้เกียรติเป็นประธาน

2.การให้บริการ Single Point

  1. สามารถเปิดให้บริการ ณ จุดเดียวกัน(Single Point) ณ ส่วนจดทะเบียนธุรกิจกลาง(สนามบินน้ำ) ในวันที่ 6 กรกฎาคม 2553
  2. สามารถเปิดให้บริการ ณ จุดเดียวกัน (Single Point) ในเขตกรุงเทพมหานคร ณ สำนักงานพัฒนาธุรกิจการค้าเขต 1-5 (ปิ่นเกล้า, พระราม 6, รัชดาภิเษก, สีลม, สุรวงศ์) และสำนักงานสาขา (หอการค้าไทย, ศูนย์ส่งออกเบ็ดเสร็จ และศูนย์ OSOS) ในวันที่ 22 กรกฎาคม 2553
  3. กำหนดเปิดให้บริการ ณ จุดเดียวกัน (Single Point) ในส่วนภูมิภาค ณ สำนักพัฒนาธุรกิจการค้าจังหวัดทั้ง 75 จังหวัด ในวันที่ 1 ตุลาคม 2553

3.ประโยชน์ที่ได้รับจากโครงการฯ

  1. ประโยชน์ที่ประชาชนได้รับ
    1. ลดขั้นตอนการเริ่มต้นธุรกิจจาก 7 ขั้นตอน เหลือ 5 ขั้นตอน
    2. ลดระยะเวลาการจดทะเบียนเริ่มต้นธุรกิจจาก 4 วัน เหลือ 90 นาที
    3. ประหยัดเวลาของประชาชนที่ต้องติดต่อ 3 หน่วยงาน เหลือ 1 หน่วยงาน
    4. ผู้ประกอบการที่ขอจดจัดตั้งนิติบุคคลจะได้รับเลขทะเบียนนิติบุคคลพร้อมเลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากร และเลขที่บัญชีนายจ้าง ทั้งนี้เลขทะเบียนนิติบุคคลจะเป็นเลขเดียวกัน กับเลขที่บัญชีนายจ้าง ซึ่งมีผลทางกฎหมายเมื่อผู้ประกอบการมีลูกจ้างเท่านั้น
  2. ประโยชน์ที่ประเทศชาติได้รับ
    1. เป็นประเทศที่ง่ายต่อการเริ่มต้นธุรกิจ
    2. เป็นจุดเริ่มต้นการบูรณาการของภาครัฐในการให้บริการแบบ Single Point อย่างแท้จริง
    3. เป็นจุดเริ่มต้นของการแลกเปลี่ยนข้อมูลของหน่วยงานภาครัฐ
    4. ใช้ทรัพยากรของรัฐอย่างคุ้มค่า เช่น บุคลากร เทคโนโลยี
    5. ลดการใช้กระดาษ (Less Paper)
    6. นำไปสู่ e-Government

สำนักทะเบียนธุรกิจ
ศูนย์ให้คำปรึกษาด้านทะเบียนธุรกิจ

DBD E-Newsletter

ภาษีเงินได้และภาษีการค้า สำหรับสำนักงานผู้แทน นิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายของต่างประเทศที่กระทำกิจการในประเทศไทย

               ด้วยสำนักงานผู้แทนของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมาย ของต่างประเทศ ที่เข้ามากระทำกิจการในประเทศไทยบางรายยังไม่ทราบเกี่ยวกับการเสียภาษีเงิน ได้และภาษีการค้าตามประมวลรัษฎากร กรมสรรพากรจึงขอชี้แจงเกี่ยวกับภาระและหน้าที่ในการเสียภาษีอากรของสำนักงาน ผู้แทนดังกล่าว ดังต่อไปนี้

                ข้อ 1 การประกอบกิจการจัด ซื้อสินค้าและส่งออกไปต่างประเทศให้แก่หรือตามคำสั่งของสำนักงานใหญ่ของ สำนักงานผู้แทนที่กระทำกิจการในประเทศไทย ให้ถือว่าการส่งสินค้าออกไปนั้นเป็นการขายในประเทศไทยและให้ถือราคาสินค้า ตามราคาตลาดในวันที่ส่งออกไปเป็นรายได้ที่จะต้องนำมารวมคำนวณเพื่อเสียภาษี เงินได้นิติบุคคลในรอบระยะเวลาบัญชีที่ส่งออกไปนั้นเว้นแต่กรณีตามข้อ 2 ทั้งนี้ ตามมาตรา 70 ตรี แห่งประมวลรัษฎากร

                “ข้อ 2 การประกอบกิจการ จัดซื้อสินค้าและส่งออกไปต่างประเทศให้แก่สำนักงานใหญ่ของสำนักงานผู้แทนที่ กระทำกิจการในประเทศไทย ถ้าสำนักงานใหญ่ของสำนักงานผู้แทนที่กระทำกิจการในประเทศไทยมีถิ่นที่อยู่ใน ประเทศที่มีความตกลงว่าด้วยการเว้นการเก็บภาษีซ้อนฯ กับประเทศไทยก็ไม่ถือว่าสำนักงานผู้แทนที่กระทำกิจการในประเทศไทยเป็นสถาน ประกอบการถาวรของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล ที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายของต่างประเทศในประเทศไทย สำนักงานผู้แทนที่กระทำกิจการในประเทศไทยจึงไม่มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้ นิติบุคคลตามประมวลรัษฎากร ทั้งนี้โดยนัยความตกลงว่าด้วยการเว้นการเก็บภาษีซ้อนฯ ระหว่างประเทศไทยกับต่างประเทศ ”

(แก้ โดยประกาศลงวันที่ 24 ตุลาคม 2531)

                ข้อ 3 การที่สำนักงานผู้ แทนที่กระทำกิจการในประเทศไทย ให้บริการต่าง ๆ แก่สำนักงานใหญ่ ไม่ว่าจะเป็นการตรวจสอบควบคุมคุณภาพและปริมาณของสินค้าที่สำนักงานใหญ่สั่ง ซื้อหรือจ้างผลิตในประเทศไทย การเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารต่าง ๆเกี่ยวกับสินค้าหรือบริการใหม่ของสำนักงานใหญ่รวมทั้งการรายงานความเคลื่อน ไหวทางธุรกิจในประเทศไทยให้แก่สำนักงานใหญ่ โดยมิได้ให้บริการแก่ผู้อื่นเลย และสำนักงานผู้แทนดังกล่าวได้รับเงินอุดหนุนจากสำนักงานใหญ่เฉพาะเพื่อเป็น ค่าใช้จ่ายของสำนักงานผู้แทนที่กระทำกิจการในประเทศไทยเท่านั้น รายรับหรือเงินได้ที่สำนักงานผู้แทนดังกล่าวที่กระทำกิจการในประเทศไทยได้ รับจากสำนักงานใหญ่ไม่ถือเป็นรายได้ที่จะต้องนำมารวมคำนวณเพื่อเสียภาษีเงิน ได้นิติบุคคลหรือรายรับที่ต้องเสียภาษีการค้าแต่ประการใด

                ข้อ 4 ถ้าสำนักงานผู้แทน ที่กระทำกิจการในประเทศไทยตามข้อ 3 ได้ให้บริการแก่ผู้อื่น ไม่ว่าการให้บริการนั้นจะมีค่าตอบแทนหรือไม่ก็ตาม ถือว่าสำนักงานผู้แทนดังกล่าวประกอบกิจการในประเทศไทย และมีหน้าที่ต้องนำรายได้หรือรายรับที่ได้รับจากการให้บริการทุกประเภทมารวม คำนวณกำไรสุทธิ เพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลตามประมวลรัษฎากร

                ข้อ 5 การประกอบกิจการของ สำนักงานผู้แทนที่กระทำกิจการในประเทศไทยตามข้อ 4 จะต้องยื่นคำขอจดทะเบียนการค้า ณ อำเภอท้องที่หรือสำนักงานสรรพากร ที่สำนักงานผู้แทนที่กระทำกิจการในประเทศไทยมีสถานการค้าตั้งอยู่ ภายใน 30 วัน นับแต่วันเริ่มประกอบกิจการตามข้อ 4 หากไม่จดทะเบียนการค้าภายในกำหนดเวลาดังกล่าว จะต้องเสียภาษีการค้าและเบี้ยปรับอีก 2 เท่าของเงินค่าภาษีการค้าตลอดระยะเวลาที่ไม่จดทะเบียนการค้าหรือ 200 บาทต่อเดือนแล้วแต่อย่างใดจะมากกว่า ทั้งจะต้องเสียเงินเพิ่มอีกร้อยละ 1.5 ต่อเดือนหรือเศษของเดือนของเงินภาษีการค้าที่ต้องชำระ และอาจจะต้องถูกดำเนินคดีอาญาอีกส่วนหนึ่งด้วย

                ข้อ 6 การประกอบกิจการตาม ข้อ 1 และข้อ 2 ของสำนักงานผู้แทนที่กระทำกิจการในประเทศไทย หากสินค้าที่ส่งออกอยู่ในข่ายต้องเสียภาษีการค้า สำนักงานผู้แทนดังกล่าวซึ่งเป็นผู้ส่งออกมีหน้าที่ต้องเสียภาษีการค้าตาม ประเภทการค้า 1. การขายของแห่งบัญชีอัตราภาษีการค้ากับจะต้องเสียภาษีส่วนท้องถิ่นอีกร้อยละ 10 ของภาษีการค้าที่ต้องชำระด้วย

                ข้อ 7 คนต่างด้าวที่ทำงาน ในสำนักงานผู้แทนที่กระทำกิจการในประเทศไทย โดยได้รับเงินเดือนหรือค่าจ้างไม่ว่าเงินนั้นจะจ่ายในหรือนอกประเทศไทย คนต่างด้าวผู้นั้นมีหน้าที่ต้องเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาในประเทศไทย ตามมาตรา 41 วรรคหนึ่ง แห่งประมวลรัษฎากร ตามระยะเวลาที่ทำงานในประเทศไทย และสำนักงานผู้แทนที่กระทำกิจการในประเทศไทยผู้จ่ายเงินได้มีหน้าที่ต้องหัก ภาษีเงินได้ ณ ที่จ่ายและนำส่งภาษีใน 7 วัน นับแต่วันที่จ่ายเงินได้ ตามนัยมาตรา 50 (1) แห่งประมวลรัษฎากร

                จึงประกาศมาเพื่อทราบทั่วกัน

ประกาศ ณ วันที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2529

วิโรจน์ เลาหะพันธุ์

อธิบดีกรมสรรพากร