การนับระยะเวลาเพื่อคำนวณเบี้ยปรับหรือเงินเพิ่ม

ข่าวเก่านะครับ แต่เห็นว่ามีประโยชน์เผื่อใครยังไม่ได้อ่าน

กรมสรรพากร​ได้​วางแนวทางปฏิบัติ​เกี่ยว​กับ​การนับระยะ​เวลา​เพื่อคำ​นวณเบี้ยปรับ​หรือ​เงินเพิ่ม​ ​ภาษี​เงิน​ได้​ ​ภาษีมูลค่า​เพิ่ม​ ​และ​ภาษีธุรกิจเฉพาะ​ ​ตามมาตรา​ 27 ​มาตรา​ 67 ​ตรี​ ​มาตรา​ 89 ​มาตรา​ 89/1 ​และ​มาตรา​ 91/21(6) ​แห่งประมวลรัษฎากร
กรุงเทพธุรกิจออนไลน์​ : ​กรณีกำ​หนดเวลา​ใน​การยื่นแบบแสดงรายการภาษี​ ​แบบแสดงรายการหักภาษี​และ​นำ​เงินภาษีส่ง​หรือ​แบบนำ​ส่งภาษี​ ​วันสุดท้ายตรง​กับ​วันหยุดทำ​การของทางราชการ​ ​ตามคำ​สั่งกรมสรรพากร​ ​ที่​ ​ป​. 117/2545 ​ลงวันที่​ 28 ​ต​.​ค​. 2545 ​จึง​ขอนำ​มา​เป็น​ประ​เด็นปุจฉา​ - ​วิสัชนา​ ​ดังนี้​
ปุจฉา​ ​มี​แนวทางปฏิบัติ​ทั่ว​ไปเกี่ยว​กับ​กรณีกำ​หนดเวลา​ใน​การยื่นแบบแสดงรายการภาษี​ ​แบบแสดงรายการหักภาษี​และ​นำ​เงินภาษีส่ง​หรือ​แบบนำ​ส่งภาษี​ ​วันสุดท้ายตรง​กับ​วันหยุดทำ​การของทางราชการอย่างไร​
วิสัชนา​ ​กรณีกำ​หนดเวลา​ใน​การยื่นแบบแสดงรายการภาษี​ ​แบบแสดงรายการหักภาษี​และ​นำ​เงินภาษีส่ง​หรือ​แบบนำ​ส่งภาษี​ ​วันสุดท้ายตรง​กับ​วันหยุดทำ​การของทางราชการ​ ​ให้​นับวันที่​เริ่มทำ​การ​ใหม่​ต่อ​จาก​วันที่หยุดทำ​การ​นั้น​เป็น​วันสุดท้ายของระยะ​เวลา​ ​ทั้ง​นี้​เป็น​ไปตามมาตรา​ 193/8 ​แห่งประมวลกฎหมายแพ่ง​และ​พาณิชย์​ ​โดย​ไม่​ต้อง​เสียเบี้ยปรับ​และ​เงินเพิ่มแต่อย่าง​ใด​
ปุจฉา​ ​กรณี​ได้​รับอนุมัติ​ให้​ขยายกำ​หนดเวลาตามที่บัญญัติ​ไว้​ใน​ประมวลรัษฎากร​ ​หากวันสุดท้ายแห่งระยะ​เวลาที่ขยายออกไปดังกล่าวตรง​กับ​วันหยุดทำ​การของทางราชการ​ ​จะ​ถือปฏิบัติอย่างไร
วิสัชนา​ ​กรณีดังกล่าว​ ​ให้​ถือปฏิบัติดังนี้​
1. ​กรณี​ได้​รับอนุมัติ​จาก​อธิบดีกรมสรรพากร​ ​ให้​ขยายกำ​หนดเวลาการยื่นแบบแสดงรายการตามที่บัญญัติ​ไว้​ใน​ประมวลรัษฎากร​ ​ตามมาตรา​ 3 ​อัฏฐ​ ​วรรคหนึ่ง​ ​แห่งประมวลรัษฎากร​ ​ให้​นับวันที่​เริ่ม​ ​ทำ​การ​ใหม่​ต่อ​จาก​วันที่หยุดทำ​การ​นั้น​เป็น​วันสุดท้ายของระยะ​เวลา​ ​โดย​ไม่​ต้อง​เสียเบี้ยปรับ​ ​แต่​ต้อง​เสียเงินเพิ่ม​ใน​อัตราร้อยละ​ 0.75 ​ต่อเดือน​หรือ​เศษ​ ​ของเดือนของเงินภาษีที่​ต้อง​ชำ​ระ​หรือ​นำ​ส่ง​ ​โดย​ให้​เริ่มนับเมื่อพ้นกำ​หนดเวลาการยื่นแบบแสดงรายการภาษี​หรือ​แบบแสดงรายการหักภาษี​และ​นำ​เงินภาษีส่ง​ ​หรือ​แบบนำ​ส่งภาษีจน​ถึง​วันชำ​ระภาษี​หรือ​นำ​ส่งภาษี​ ​ตามมาตรา​ 27 ​หรือ​มาตรา​ 89/1 ​แห่งประมวลรัษฎากร​
2. ​กรณี​ได้​รับอนุมัติ​จาก​รัฐมนตรี​ ​ให้​ขยายกำ​หนดเวลาตามที่บัญญัติ​ไว้​ใน​ประมวลรัษฎากร​ ​ตามมาตรา​ 3 ​อัฏฐ​ ​วรรคสอง​ ​แห่งประมวลรัษฎากร​ ​และ​วันสุดท้ายแห่งระยะ​เวลาที่ขยายออกไปดังกล่าวตรง​กับ​วันหยุดทำ​การของทางราชการ​ ​ให้​นับวันที่​เริ่มทำ​การ​ใหม่​ต่อ​จาก​วันที่หยุดทำ​การ​นั้น​เป็น​วันสุดท้ายของระยะ​เวลา​ ​โดย​ไม่​ต้อง​เสียเบี้ยปรับ​และ​เงินเพิ่มแต่อย่าง​ใด​
ปุจฉา​ ​กรณี​ผู้​ต้อง​เสียภาษี​ใช้​สิทธิผ่อนชำ​ระภาษี​เป็น​รายงวด​ ​หากวันสุดท้ายแห่งกำ​หนดเวลา​ ​ซึ่ง​ต้อง​ชำ​ระภาษี​ใน​แต่ละงวดตรง​กับ​วันหยุดทำ​การของทางราชการ​ ​จะ​ถือปฏิบัติอย่างไร
วิสัชนา​ ​กรณีดังกล่าว​ ​ให้​ถือปฏิบัติดังนี้​
1. ​สำ​หรับกรณีผ่อนชำ​ระภาษีตามมาตรา​ 64 (1) ​แห่งประมวลรัษฎากร​ ​หากวันสุดท้ายที่​ต้อง​ผ่อนชำ​ระงวดที่สอง​หรือ​งวดที่สามตรง​กับ​วันหยุดทำ​การของทางราชการ​ ​ให้​นับวันที่​เริ่ม​ ​ทำ​การ​ใหม่​ต่อ​จาก​วันที่หยุดทำ​การ​นั้น​เป็น​วันสุดท้ายของระยะ​เวลา​
2. ​สำ​หรับการผ่อนชำ​ระภาษีตามมาตรา​ 64 (2) ​แห่งประมวลรัษฎากร​ ​หากวันสุดท้าย​ ​ที่​ต้อง​ผ่อนชำ​ระงวดที่สอง​หรือ​งวดที่สามตรง​กับ​วันหยุดทำ​การของทางราชการ​ ​ให้​นับวันที่​เริ่มทำ​การ​ใหม่​ต่อ​จาก​วันที่หยุดทำ​การ​นั้น​เป็น​วันสุดท้ายของระยะ​เวลา​
3. ​กรณี​ได้​รับอนุมัติ​ให้​ผ่อนชำ​ระภาษี​เป็น​รายงวด​ ​ตามระ​เบียบกรมสรรพากร​ ​ว่า​ด้วย​การผ่อนชำ​ระภาษีอากร​ ​หากวันสุดท้ายที่​ต้อง​ผ่อนชำ​ระของงวด​ใด​งวดหนึ่งตรง​กับ​วันหยุดทำ​การของทางราชการ​ ​ให้​นับวันที่​เริ่มทำ​การ​ใหม่​ต่อ​จาก​วันที่หยุดทำ​การ​นั้น​เป็น​วันสุดท้ายของระยะ​เวลา​
ปุจฉา​ ​มี​แนวทางปฏิบัติ​เกี่ยว​กับ​การนับระยะ​เวลาการยื่นแบบแสดงรายการภาษีมูลค่า​เพิ่ม​ ​แบบนำ​ส่งภาษีมูลค่า​เพิ่ม​ ​หรือ​แบบแสดงรายการภาษีธุรกิจเฉพาะ​ ​ล่าช้า​เกินเวลาที่กฎหมายกำ​หนด​ ​สำ​หรับกรณี​ผู้​ประกอบการ​หรือ​ผู้​ประกอบกิจการที่มีหน้าที่​ต้อง​เสียภาษีมูลค่า​เพิ่ม​ ​และ​ภาษีธุกิจเฉพาะ​ ​ที่​จะ​ได้​รับสิทธิขอลดเบี้ยปรับตามคำ​สั่งกรมสรรพากรเกี่ยว​กับ​หลักเกณฑ์การงด​หรือ​ลดเบี้ยปรับภาษีมูลค่า​เพิ่ม​ ​และ​ภาษีธุรกิจเฉพาะ​ ​ตามมาตรา​ 89 ​และ​มาตรา​ 91/21 (6) ​แห่งประมวลรัษฎากร​ ​หากวันสุดท้ายแห่งกำ​หนดเวลาตรง​กับ​วันหยุดทำ​การของทางราชการอย่างไร
วิสัชนา​ ​กรณีบุคคล​ผู้​ต้อง​เสียเบี้ยปรับขอลดเบี้ยปรับตามคำ​สั่งกรมสรรพากรเกี่ยว​กับ​หลักเกณฑ์การงด​หรือ​ลดเบี้ยปรับภาษีมูลค่า​เพิ่ม​ ​และ​ภาษีธุรกิจเฉพาะ​ ​ตามมาตรา​ 89 ​และ​มาตรา​ 91/21 (6) ​แห่งประมวลรัษฎากร​ ​การนับระยะ​เวลาการยื่นแบบแสดงรายการภาษีมูลค่า​เพิ่ม​ ​แบบนำ​ส่งภาษีมูลค่า​เพิ่ม​ ​หรือ​แบบแสดงรายการภาษีธุรกิจเฉพาะที่​จะ​ได้​รับสิทธิลดเบี้ยปรับ​ ​หากวันสุดท้ายแห่งกำ​หนดเวลาตรง​กับ​วันหยุดทำ​การของทางราชการ​ ​ให้​นับวันที่​เริ่มทำ​การ​ใหม่​ต่อ​จาก​วันที่หยุดทำ​การ​นั้น​เป็น​วันสุดท้ายของระยะ​เวลา​ ​ตามมาตรา​ 193/8 ​แห่งประมวลกฎหมายแพ่ง​และ​พาณิชย์​ ​ส่วน​เงินเพิ่ม​ให้​คำ​นวณ​ใน​อัตรา​ ​ร้อยละ​ 1.5 ​ต่อเดือน​หรือ​เศษของเดือนของเงินภาษีที่​ต้อง​ชำ​ระ​หรือ​นำ​ส่ง​ ​โดย​ให้​เริ่มนับเมื่อพ้นกำ​หนดเวลาการยื่นแบบแสดงรายการภาษี​หรือ​แบบนำ​ส่งภาษีจน​ถึง​วันชำ​ระภาษี​หรือ​นำ​ส่งภาษี​ ​ตามมาตรา​ 89/1 ​หรือ​มาตรา​ 91/21 (6) ​แห่งประมวลรัษฎากร

ปุจฉา​ ​กรณีนาย​ ​ก​. ​ได้​ยื่นแบบแสดงรายการภาษี​เงิน​ได้​บุคคลธรรมดา​ (ภ​.​ง​.​ด​.91) ​มีภาษีที่​ต้อง​ชำ​ระ​ 6,000 ​บาท​ ​และ​ได้​ใช้​สิทธิผ่อนชำ​ระภาษี​เงิน​ได้​บุคคลธรรมดาตามมาตรา​ 64(1) ​แห่งประมวลรัษฎากร​ ​โดย​งวดที่หนึ่ง​ได้​ชำ​ระภาษีพร้อม​กับ​การยื่นแบบแสดงรายการภาษี​ ​จำ​นวน​ 2,000 ​บาท​ ​เมื่อวันที่​ 31 ​มีนาคม​ ​งวดที่สอง​ ​ต้อง​ชำ​ระจำ​นวน​ 2,000 ​บาท​ ​ภาย​ใน​เดือนเมษายน​ ​และ​งวดที่สาม​ต้อง​ชำ​ระ​ ​จำ​นวน​ 2,000 ​บาท​ ​ภาย​ใน​เดือนพฤษภาคม​ ​เช่นนี้​ ​หากปรากฏว่า​ ​วันที่​ 30 ​เมษายน​ ​ซึ่ง​เป็น​วันสุดท้ายของกำ​หนดเวลา​ใน​การผ่อนชำ​ระงวดที่สองตรง​กับ​วันอาทิตย์​ ​ซึ่ง​เป็น​วันหยุดทำ​การ​ ​จะ​มี​แนวทางปฏิบัติสำ​หรับกรณีดังกล่าวอย่างไร​
วิสัชนา​ ​ต่อกรณีดังกล่าว​ให้​นาย​ ​ก​. ​มีสิทธินำ​เงินงวดที่สองไปชำ​ระ​ ​ใน​วันที่​ 1 ​พฤษภาคม​ ​โดย​ไม่​หมดสิทธิที่​จะ​ชำ​ระ​เป็น​รายงวดต่อไป​ ​และ​ไม่​ต้อง​เสียเงินเพิ่มตามมาตรา​ 27 ​แห่งประมวลรัษฎากร​ ​แต่อย่าง​ใด​
ปุจฉา​ ​กรณีนาย​ ​ข​. ​ถูกประ​เมินภาษี​เงิน​ได้​บุคคลธรรมดา​ ​พร้อมเงินเพิ่มตามมาตรา​ 27 ​แห่งประมวลรัษฎากร​ ​เป็น​จำ​นวนเงินมากกว่า​ 3,000 ​บาท​ ​ได้​รับหนังสือแจ้งการประ​เมิน​ ​เมื่อวันที่​ 1 ​มีนาคม​ 2543 ​นาย​ ​ข​. ​ได้​ใช้​สิทธิผ่อนชำ​ระภาษี​เงิน​ได้​บุคคลธรรมดาตามมาตรา​ 64(2) ​แห่งประมวลรัษฎากร​ ​โดย​งวดที่หนึ่ง​ได้​ชำ​ระ​ ​เมื่อวันที่​ 31 ​มีนาคม​ ​งวดที่สอง​จะ​ต้อง​ชำ​ระภาย​ใน​เดือนเมษายน​ ​และ​งวดที่สาม​จะ​ต้อง​ชำ​ระภาย​ใน​เดือนพฤษภาคม​ ​เช่นนี้​ ​หากปรากฏว่า​ ​วันที่​ 30 ​เมษายน​ ​ตรง​กับ​วันอาทิตย์​ ​ซึ่ง​เป็น​วันหยุดทำ​การ​ ​จะ​มี​แนวทางปฏิบัติสำ​หรับกรณีดังกล่าวอย่างไร​
วิสัชนา​ ​ต่อกรณีดังกล่าว​ให้​นาย​ ​ข​. ​มีสิทธินำ​เงินงวดที่สองไปชำ​ระ​ใน​วันที่​ 1 ​พฤษภาคม​ 2543 ​โดย​ไม่​หมดสิทธิที่​จะ​ชำ​ระ​เป็น​รายงวดต่อไป​ ​และ​ไม่​ต้อง​เสียเงินเพิ่มตามมาตรา​ 27 ​แห่งประมวลรัษฎากร​ ​เพิ่มเติม​ ​แต่อย่าง​ใด​
ปุจฉา​ ​กรณีบริษัท​ ​ค​. ​จำ​กัด​ ​ถูกประ​เมินภาษี​เงิน​ได้​นิติบุคคลพร้อมเบี้ยปรับ​และ​เงินเพิ่ม​ ​ตามหนังสือแจ้งการประ​เมิน​ ​เป็น​เงินจำ​นวน​ 120,000 ​บาท​ ​บริษัท​ ​ค​. ​จำ​กัด​ ​ได้​รับอนุมัติ​ให้​ผ่อนชำ​ระภาษีตามระ​เบียบกรมสรรพากร​ ​ว่า​ด้วย​การผ่อนชำ​ระภาษีอากร​ ​เป็น​งวดรายเดือน​ ​รวม​ 6 ​งวด​ ​แต่ละงวด​ต้อง​ชำ​ระภาย​ใน​วันที่​ 7 ​ของทุกเดือน​ ​งวดที่หนึ่ง​ได้​ชำ​ระ​เมื่อวันที่​ 7 ​กรกฎาคม​ ​งวด​ ​ที่สองชำ​ระ​เมื่อวันที่​ 7 ​สิงหาคม​ 2543 ​งวดที่สามชำ​ระ​เมื่อวันที่​ 7 ​กัน​ยายน​ ​เช่นนี้​ ​หากปรากฏว่า​ ​งวดที่​ 4 ​วันที่​ 7 ​ตุลาคม​ ​ตรง​กับ​วันเสาร์​ ​ซึ่ง​เป็น​วันหยุดทำ​การ​ ​จะ​มี​แนวทางปฏิบัติสำ​หรับกรณีดังกล่าวอย่างไร​
วิสัชนา​ ​ต่อกรณีดังกล่าว​ให้​บริษัท​ ​ค​. ​จำ​กัด​ ​มีสิทธินำ​เงินงวดที่​ 4 ​ไปชำ​ระ​ใน​วันที่​ 9 ​ตุลาคม​ ​ได้​ ​โดย​ไม่​หมดสิทธิที่​จะ​ชำ​ระ​เป็น​รายงวดต่อไป​ ​และ​ไม่​ต้อง​เสียเงินเพิ่มตามมาตรา​ 27 ​แห่งประมวลรัษฎากร​ ​เพิ่มเติม​
แต่อย่าง​ใด​
ปุจฉา​ ​กรณีบริษัท​ ​ง​. ​จำ​กัด​ ​ยื่นแบบแสดงรายการภาษีมูลค่า​เพิ่ม​ (ภ​.​พ​.30) ​และ​ชำ​ระภาษีมูลค่า​เพิ่มสำ​หรับเดือนกรกฎาคม​ ​เมื่อวันจันทร์ที่​ 16 ​กัน​ยายน​ ​ของปี​เดียว​กัน​ ​โดย​บริษัท​ ​ได้​ขอลดเบี้ยปรับตามมาตรา​ 89(2) ​แห่งประมวลรัษฎากร​ ​ตามข้อ​ 5 (1) (ข) ​ของคำ​สั่ง​ ​กรมสรรพากร​ ​ที่​ ​ท​.​ป​. 81/2542 ​เรื่อง​ ​หลักเกณฑ์การงด​หรือ​ลดเบี้ยปรับ​หรือ​เงินเพิ่มภาษี​เงิน​ได้​ ​ภาษี​ ​มูลค่า​เพิ่ม​ ​และ​ภาษีธุรกิจเฉพาะ​ ​ตามมาตรา​ 22 ​มาตรา​ 26 ​มาตรา​ 67 ​ตรี​ ​มาตรา​ 89 ​และ​มาตรา​ 91/21(6) ​แห่งประมวลรัษฎากร​ ​ลงวันที่​ 9 ​กรกฎาคม​ 2542 ​สำ​หรับกรณีชำ​ระภาษีมูลค่า​เพิ่มภายหลัง​ 15 ​วัน​ ​แต่​ไม่​เกิน​ 30 ​วัน​ ​นับแต่วันพ้นกำ​หนดเวลาชำ​ระภาษีมูลค่า​เพิ่ม​ ​จะ​มี​แนวทางปฏิบัติสำ​หรับกรณีดังกล่าวอย่างไร​
วิสัชนา​ ​ต่อกรณีดังกล่าว​ให้​บริษัท​ ​ง​. ​เสียเบี้ยปรับร้อยละ​ 5 ​ของเบี้ยปรับ​ได้​ ​หากวันที่​ 15 ​กัน​ยายน​ ​ตรง​กับ​วันอาทิตย์​ ​ซึ่ง​เป็น​วันหยุดทำ​การของทางราชการ​ ​ส่วน​เงินเพิ่มตามมาตรา​ 89/1 ​แห่งประมวลรัษฎากร​ ​ให้​คำ​นวณร้อยละ​ 1.5 ​ต่อเดือน​ ​เป็น​เวลา​ 1 ​เดือน​
ปุจฉา​ ​กรณีบริษัท​ ​จ​. ​จำ​กัด​ ​ยื่นแบบแสดงรายการภาษีมูลค่า​เพิ่ม​ (ภ​.​พ​.30) ​และ​ชำ​ระภาษีมูลค่า​เพิ่ม​ ​สำ​หรับเดือนกรกฎาคม​ 2543 ​เมื่อวันที่​ 15 ​กัน​ยายน​ ​ต่อมา​ได้​ยื่นแบบแสดงรายการภาษีมูลค่า​เพิ่ม​ (ภ​.​พ​.30) ​ของเดือนกรกฎาคม​ ​เพิ่มเติม​ ​เมื่อวันที่​ 16 ​ตุลาคม​ ​โดย​บริษัท​ ​ได้​ขอลดเบี้ยปรับตามมาตรา​ 89(3) ​แห่งประมวลรัษฎากร​ ​ตามข้อ​ 5 (1) (ค) ​ของคำ​สั่งกรมสรรพากร​ ​ที่​ ​ท​.​ป​. 81/2542 ​ลงวันที่​ 9 ​กรกฎาคม​ 2542 ​จะ​มี​แนวทางปฏิบัติสำ​หรับการนับระยะ​เวลา​เพื่อคำ​นวณเบี้ยปรับสำ​หรับการยื่นแบบแสดงรายการภาษี​เพิ่มเติม​ใน​กรณีนี้อย่างไร​
วิสัชนา​ ​ต่อกรณีดังกล่าว​ให้​นับระยะ​เวลา​เพื่อคำ​นวณเบี้ยปรับสำ​หรับการยื่นแบบแสดงรายการภาษี​เพิ่มเติมตั้งแต่วันพ้นกำ​หนดเวลาชำ​ระภาษีมูลค่า​เพิ่ม​ ​คือ​ ​วันที่​ 16 ​สิงหาคม​ ​จน​ถึง​วันที่ยื่นแบบแสดงรายการภาษี​เพิ่มเติม​ ​คือวันที่​ 16 ​ตุลาคม​ ​ซึ่ง​นับ​ได้​เป็น​เวลา​ 62 ​วัน​ ​แต่หากวันที่​ 14 ​และ​วันที่​ 15 ​ตุลาคม​ ​ตรง​กับ​วันเสาร์​และ​วันอาทิตย์​ ​ซึ่ง​เป็น​วันหยุดทำ​การของทางราชการ​ ​กรณีนี้​จึง​ถือว่าบริษัท​ ​ชำ​ระภาษีภายหลัง​ 30 ​วัน​ ​แต่​ไม่​เกิน​ 60 ​วัน​ ​นับแต่วันพ้นกำ​หนดเวลาชำ​ระภาษีมูลค่า​เพิ่ม​ ​ให้​เสียร้อยละ​ 10 ​ของเบี้ยปรับ​ ​ส่วน​เงินเพิ่มตามมาตรา​ 89/1 ​แห่งประมวลรัษฎากร​ ​ให้​คำ​นวณร้อยละ​ 1.5 ​ต่อเดือน​ ​เป็น​เวลา​ 2 ​เดือน


ที่มา.. กรุงเทพธุรกิจออนไลน์
http://www.bangkokbiznews.com/2007/07/18/WW13_1307_news.php?newsid=84591
http://www.bangkokbiznews.com/2007/07/25/WW13_1307_news.php?newsid=85951



















การยกเว้นเงินได้ให้ผู้สูงอายุ ไม่ต่ำกว่า 65 ปี


มีคำพูดที่มักเคยได้ยินกันอยู่บ่อย ๆ ก็คือ ชีวิตหลังเกษียณอายุ

โดย​ปกติ​แล้ว​การทำ​งาน​ใน​ภาครัฐ​หรือ​เอกชนมัก​จะ​มีการกำ​หนด​ให้​พนักงานมีอายุการทำ​งาน​ไม่​เกิน 60 ปี​ ​ยกเว้นบุคคล​นั้น​มี​ความ​รู้​ความ​สามารถ​ก็อาจ​จะ​มีการต่ออายุ​ให้​ทำ​งานเกิน​ 60 ปีก็​ได้​

หลายครั้งเรามัก ​จะ​พบว่าคนสูงอายุ​เหล่านี้หลัง​จาก​ออก​จาก​งาน​แล้ว​ยัง​มีขีด​ความ​ สามารถ​ใน​การทำ​งาน​หรือ​ทำ​ธุรกิจ​ ​บางคน​ยัง​รักการทำ​งานอาจ​จะ​เปิดธุรกิจของตนเอง​หรือ​นำ​เงินบำ​เหน็จบำ​ นาญของตนเองไปฝากธนาคารเพื่อกินดอกเบี้ย​ ​แล้ว​นำ​ดอกเบี้ยมา​ใช้​จ่าย​ใน​ชีวิตประจำ​วัน​ ​กลุ่มคนเหล่านี้ก็​จะ​มีราย​ได้​เกิดขึ้น​ซึ่ง​ต้อง​นำ​ราย​ได้​ที่​ได้​ รับ​ใน​แต่ละปี​ไปคำ​นวณภาษี​เงิน​ได้​บุคคลธรรมดา​ใน​อัตราก้าวหน้า (10 - 37%) ตามประ​เภทของเงิน​ได้​พึงประ​เมิน

เงิน​ได้​พึงประ​เมินที่​ผู้​สูงอายุ​ได้​รับ​จะ​ต้อง​แยกประ​เภทของเงิน​ได้​เพื่อนำ​ไปคำ​นวณภาษี​เงิน​ได้​บุคคลธรรมดา​แบ่งออก​เป็น 8 ประ​เภท​ด้วย​กัน​ ​คือ

- เงิน​ได้​พึงประ​เมินตามมาตรา​ 40(1) เงินเดือน​ ​ค่าจ้าง
- เงิน​ได้​พึงประ​เมินตามมาตรา​ 40(2) รับจ้างทำ​งาน​ให้
- เงิน​ได้​พึงประ​เมินตามมาตรา​ 40(3) ค่าสิทธิ
- เงิน​ได้​พึงประ​เมินตามมาตรา​ 40(4)​(ก) ​ดอกเบี้ย
- เงิน​ได้​พึงประ​เมินตามมาตรา​ 40(4)​(ข)​เงินปันผล
- เงิน​ได้​พึงประ​เมินตามมาตรา​ 40(5) ให้​เช่าทรัพย์สิน
- เงิน​ได้​พึงประ​เมินตามมาตรา​ 40(6) วิชาชีพอิสระ
- เงิน​ได้​พึงประ​เมินตามมาตรา​ 40(7) รับเหมาก่อสร้าง
เงิน​ได้​พึงประ​เมินตามมาตรา​ 40(8) เงิน​ได้​ที่นอกเหนือ​จาก​มาตรา​ 40(1) - (7)

เนื่อง ​จาก​ประมวลรัษฎากร​ได้​กำ​หนด​ให้​ผู้​มี​เงิน​ได้​ซึ่ง​เป็น​ บุคคลธรรมดามีหน้าที่​ต้อง​เสียภาษี​เงิน​ได้​บุคคลธรรมดา​ ​ดัง​นั้น​ ​เพื่อ​เป็น​การบรรเทาภาระภาษี​ให้​แก่​ผู้​สูงอายุ​ ​อัน​จะ​ทำ​ให้​มี​เงินเพื่อ​ใช้​ใน​การดำ​รงชีพเพิ่มขึ้น​ ​กรมสรรพากร​จึง​ได้​ยกเว้นภาษี​เงิน​ได้​บุคคลธรรมดาสำ​หรับเงิน​ได้​ พึงประ​เมินที่​ผู้​มี​เงิน​ได้​ซึ่ง​เป็น​ผู้​อยู่​ใน​ประ​เทศไทย​และ​ มีอายุ​ไม่​ต่ำ​กว่า 65 ปีบริบูรณ์​ใน​ปีภาษี​ได้​รับ​ ​เฉพาะ​ส่วน​ที่​ไม่​เกิน​ 190,000 บาท​ใน​ปีภาษี​นั้น​ ​ตามกฎกระทรวง​ฉบับ​ที่​ 257 (พ​.​ศ​. 2549) ออกตาม​ความ​ใน​ประมวลรัษฎากร​ ​ว่า​ด้วย​การยกเว้นรัษฎากร​ ​ดังต่อไปนี้

"เงิน ​ได้​ที่​ผู้​มี​เงิน​ได้​ซึ่ง​เป็น​ผู้​อยู่​ใน​ประ​เทศไทย​และ​มีอายุ​ไม่ ​ต่ำ​กว่าหกสิบห้าปีบริบูรณ์​ใน​ปีภาษี​ได้​รับเฉพาะ​ส่วน​ที่​ไม่​ เกินหนึ่งแสนเก้าหมื่นบาท​ใน​ปีภาษี​นั้น​ ​ทั้ง​นี้​ ​สำ​หรับเงิน​ได้​ที่​ได้​รับตั้งแต่วันที่​ 1 มกราคม​ ​พ​.​ศ​. 2548 เป็น​ต้นไป​ ​โดย​เป็น​ไปตามหลักเกณฑ์​ ​วิธีการ​ ​และ​เงื่อนไขที่อธิบดีกรมสรรพากรประกาศกำ​หนด"

หลักเกณฑ์ ​ ​วิธีการ​ ​และ​เงื่อนไขเพื่อการยกเว้นภาษี​เงิน​ได้​สำ​หรับเงิน​ได้​ที่​ผู้​มี​เงิน ​ได้​ซึ่ง​เป็น​ผู้​อยู่​ใน​ประ​เทศไทย​และ​มีอายุ​ไม่​ต่ำ​กว่า 65 ปีบริบูรณ์​ใน​ปีภาษี​ได้​รับ​ ​ดังต่อไปนี้

1. เงิน​ได้​ที่​ผู้​มี​เงิน​ได้​ซึ่ง​มีอายุ​ไม่​ต่ำ​กว่า​ 65 ปีบริบูรณ์ ​ได้​รับ​ ​โดย​ได้​รับยกเว้น​ไม่​ต้อง​รวมคำ​นวณเพื่อเสียภาษี​เงิน​ได้​บุคคลธรรมดา​ ​ต้อง​เป็น​เงิน​ได้​ที่​ผู้​มี​เงิน​ได้​ได้​รับ​ใน​ปีภาษีที่​ผู้​มี​เงิน ​ได้​มีอายุ​ไม่​ต่ำ​กว่า​ 65 ปีบริบูรณ์​ ​และ​ผู้​มี​เงิน​ได้​เป็น​ผู้​อยู่​ใน​ประ​เทศไทย​ ​เฉพาะ​เงิน​ได้​ที่​ได้​รับ​ส่วน​ที่​ไม่​เกิน​ 190,000 บาท​ใน​ปีภาษี​นั้น

2. ผู้​มี​เงิน​ได้​ซึ่ง​ได้​รับยกเว้นภาษี​เงิน​ได้​ตามข้อ​ 1 ต้อง ​เป็น​ผู้​มี​เงิน​ได้​ซึ่ง​มีหน้าที่​เสียภาษี​เงิน​ได้​บุคคลธรรมดา​ ​แต่​ไม่​รวม​ถึง​ห้างหุ้น​ส่วน​สามัญ​ ​หรือ​คณะบุคคลที่มิ​ใช่​นิติบุคคล​ ​และ​กองมรดกที่​ยัง​ไม่​ได้​แบ่ง
กรณีสามีภริยามี ​เงิน​ได้​ร่วม​กัน​ ​โดย​ความ​เป็น​สามีภริยามิ​ได้​มี​อยู่​ตลอดปีภาษี​ ​ให้​ถือว่า​เงิน​ได้​ดังกล่าว​เป็น​เงิน​ได้​ของคณะบุคคลที่มิ​ใช่​ นิติบุคคล

3. กรณี​ผู้​มี​เงิน​ได้​ซึ่ง​ได้​รับยกเว้นภาษี​เงิน​ได้​ตามข้อ​ 1 ได้​รับเงิน​ได้​ตามมาตรา​ 40 แห่งประมวลรัษฎากร ​ ​ใน​ปีภาษี​ใด​หลายประ​เภท​ ​ผู้​มี​เงิน​ได้​จะ​เลือก​ใช้​สิทธิยกเว้นภาษี​เงิน​ได้​จาก​เงิน​ได้​ที่​ ได้​รับประ​เภท​ใด​ประ​เภทหนึ่ง​ ​หรือ​จะ​เลือก​ใช้​สิทธิยกเว้นภาษี​เงิน​ได้​จาก​เงิน​ได้​หลายประ​เภท​ ​และ​แต่ละประ​เภท​จะ​ยกเว้นภาษี​เงิน​ได้​จำ​นวน​เท่า​ใด​ก็​ได้​ ​แต่​เมื่อรวมจำ​นวนเงิน​ได้​ที่​ใช้​สิทธิยกเว้นภาษี​เงิน​ได้​ดังกล่าว​ ทั้ง​หมด​แล้ว​ ​ต้อง​ไม่​เกิน​ 190,000 บาท​ใน​ปีภาษี​นั้น

4. ผู้​มี​เงิน​ได้​ซึ่ง​ได้​รับยกเว้นภาษี​เงิน​ได้​ตามข้อ​ 1 ให้​ถือตามหลักเกณฑ์ดังนี้
(1) กรณีสามีภริยามี ​เงิน​ได้​ร่วม​กัน​ ​โดย​ความ​เป็น​สามีภริยา​ได้​มี​อยู่​ตลอดปีภาษี​ ​ให้​ถือว่า​เงิน​ได้​ดังกล่าว​เป็น​เงิน​ได้​ของสามี​ ​ให้​สามี​เป็น​ผู้​ได้​รับยกเว้นภาษี​เงิน​ได้​สำ​หรับเงิน​ได้​ที่​ได้​ รับร่วม​กัน
(2) กรณีสามีภริยาต่างฝ่ายต่างมี ​เงิน​ได้​ ​ไม่​ว่า​ความ​เป็น​สามีภริยา​ได้​มี​อยู่​ตลอดปีภาษี​หรือ​ไม่​ ​ให้​สามีภริยาต่างฝ่ายต่าง​ได้​รับยกเว้นภาษี​เงิน​ได้​ใน​ส่วน​ที่ตน​ได้​ รับ

5. ผู้​มี​เงิน​ได้​ที่​จะ​ได้​รับยกเว้นภาษี​เงิน​ได้​ตามข้อ​ 1 ต้อง ​แสดงรายการเงิน​ได้​และ​จำ​นวนเงิน​ได้​ที่​ได้​รับยกเว้นภาษี​เงิน​ได้​ นั้น​ ​พร้อม​กับ​การยื่นแบบแสดงรายการภาษี​เงิน​ได้​บุคคลธรรมดา

ข้อสังเกตอย่างหนึ่งก็คือ​ ​ถึง​แม้ว่ากรมสรรพากร​จะ​ยกเว้นภาษี​เงิน​ได้​ให้​กับ​ผู้​สูงอายุที่มีอายุตั้งแต่​ 65 ปีขึ้นไป​และ​มี​เงิน​ได้​ไม่​เกิน​ 190,000 บาท​ใน​ปีภาษี​นั้น​หรือ​เฉลี่ยต่อเดือน​ 15,833.33 บาท​ ​ไม่​ต้อง​เสียภาษีอากรแต่​ยัง​คง​ต้อง​ยื่นแบบแสดงรายการภาษี​เงิน​ได้​บุคคลธรรมดาทุกปี

ที่มา ผู้จัดการรายสัปดาห์
อ้างอิง กฎกระทรวง ฉบับที่ 257 http://www.rd.go.th/publish/30226.0.html

รายจ่ายที่พิสูจน์ไม่ได้ว่าใครเป็นผู้รับ

ข่าวเก่านะครับ แต่เห็นว่ามีประโยชนเลยเอามาลง เป็นปัญหาที่เรามักจะเจอกันบ่อยๆ

หลักเกณฑ์​ ​วิธีการ​ ​และ​เงื่อนไขเกี่ยว​กับ​รายจ่าย​ทั่ว​ไป​ใน​การดำ​เนินกิจการ​ใน​ทางบัญชี​ ​และ​หลักเกณฑ์​ ​วิธีการ​


กรุงเทพธุรกิจออนไลน์​ :

และ​เงื่อนไขเกี่ยว​กับ​รายจ่าย​ทั่ว​ไป​ใน​การดำ​เนินกิจการ​ใน​ทางภาษีอากรมี​ความ​แตกต่าง​กัน​โดย​ชัดแจ้ง​อยู่​หลายประการอาทิ​ ​รายจ่าย​ทั่ว​ไป​ใน​การดำ​เนินกิจการ​ใน​ทางบัญชี​แม้​ไม่​มี​เอกสารหลักฐานประกอบการลงบัญชีก็อาจนำ​มาถือ​เป็น​รายจ่าย​ใน​การคำ​นวณกำ​ไรสุทธิ​ ​และ​ขาดทุนสุทธิ​ได้​ ​จึง​ขอนำ​ประ​เด็นรายจ่ายที่พิสูจน์​ไม่​ได้​ว่า​ใคร​เป็น​ผู้​รับตามมาตรา​ 65 ​ตรี​ (18) ​แห่งประมวลรัษฎากร​ ​มาปุจฉา​ - ​วิสัชนา​ ​ดังนี้​

ปุจฉา​ ​มีหลักเกณฑ์​เกี่ยว​กับ​รายจ่ายหลักฐานการจ่ายเงิน​ ​ใน​อันที่​จะ​พิสูจน์​ผู้​รับ​ให้​ได้​ว่า​เป็น​บุคคล​ใด​ ​อย่างไร​

วิสัชนา​ ​หลักฐานการจ่ายที่พิสูจน์​ผู้​รับ​ได้​ ​มีดังต่อไปนี้​

1. ​กรณี​ผู้​รับ​เป็น​ผู้​ประกอบธุรกิจที่มีกิจการ​เป็น​หลักแหล่งมั่นคง​ ​เช่น​ ​ใบเสร็จรับเงิน​ ​ใบส่งของ​/​ใบกำ​กับ​ภาษี​ ​ซึ่ง​มีข้อ​ความ​ถูก​ต้อง​ครบถ้วนตามที่กฎหมายกำ​หนด​ ​โดย​อาจ​ใช้​ประกอบ​กับ​สัญญาทางธุรกิจที่​เป็น​ลายลักษณ์อักษร​

อย่างไรก็ตาม​ ​หลักฐานประกอบการลงบัญชี​เพื่อหัก​เป็น​รายจ่ายของบริษัท​หรือ​ห้างหุ้น​ส่วน​นิติบุคคล​ไม่​มีกฎหมาย​ใด​บังคับว่า​จะ​ต้อง​ใช้​ต้น​ฉบับ​ ​หากสำ​เนา​ใบเสร็จรับเงิน​นั้น​เป็น​หลักฐานที่​สามารถ​พิสูจน์​ได้​ว่า​ใคร​เป็น​ผู้​รับ​ ​ก็​ไม่​ต้อง​ห้ามหัก​เป็น​รายจ่าย​ใน​การคำ​นวณกำ​ไรสุทธิตามมาตรา​ 65 ​ตรี​ (18) ​แห่งประมวลรัษฎากร​ (หนังสือกรมสรรพากรที่​ ​กค​ 0804/17874 ​ลงวันที่​ 29 ​กัน​ยายน​ 2521) ​นอก​จาก​นี้​ ​ใบรับเงินที่มีข้อ​ความ​ไม่​ครบถ้วน​ ​หาก​สามารถ​พิสูจน์​ได้​ว่า​ใคร​เป็น​ผู้​รับเงิน​ได้​ ​ก็​สามารถ​ลง​เป็น​รายจ่าย​ใน​การคำ​นวณกำ​ไรสุทธิ​ได้​ ​ไม่​ต้อง​ห้ามตามมาตรา​ 65 ​ตรี​ (18) ​แห่งประมวลรัษฎากร​ (หนังสือกรมสรรพากรที่​ ​กค​ 0804/10150 ​ลงวันที่​ 28 ​พฤษภาคม​ 2528)

2. ​กรณี​ผู้​รับมิ​ได้​เป็น​ผู้​ประกอบธุรกิจที่มีกิจการ​เป็น​หลักแหล่งมั่นคง​ ​อาจ​ใช้​หลักฐานการรับเงินที่​ผู้​รับจัดทำ​ขึ้น​ ​แทนใบเสร็จรับเงิน​หรือ​หลักฐาน​อื่น​เพื่อการพิสูจน์​ผู้​รับ​

(1) ​กรณี​ผู้​รับ​เป็น​บุคคลธรรมดา​ ​ให้​ลงลายมือชื่อรับเงิน​หรือ​ทรัพย์สินตามหลักฐานที่จัดทำ​ขึ้น​โดย​ระบุชื่อ​ ​ที่​อยู่​ ​และ​เลขประจำ​ตัวของ​ผู้​รับเงิน​ ​พร้อม​ทั้ง​ถ่ายเอกสารบัตรประจำ​ตัวประชาชน​ ​บัตรประจำ​ตัวข้าราชการ​ ​หรือ​บัตรประจำ​ตัว​ผู้​เสียภาษีอากร​ ​เช่น​ ​กรณีชาวไร่ข้าวโพดขายข้าวโพด​ให้​บริษัท​ ​โดย​ไม่​ออกใบรับ​ให้​ ​หากบริษัท​ ​ทำ​หลักฐานการจ่ายเงินที่มีรายละ​เอียดระบุชื่อ​ ​ที่​อยู่​ ​วันเดือนปี​ ​จำ​นวนเงิน​ ​และ​รายการจ่าย​แล้ว​ให้​ผู้​รับเงินลงชื่อรับ​ไว้​ซึ่ง​สามารถ​พิสูจน์​ได้​ว่า​ใคร​เป็น​ผู้​รับ​แล้ว​ ​บริษัท​ ​ย่อมนำ​มาลง​เป็น​รายจ่าย​ได้​ไม่​ต้อง​ห้ามตามมาตรา​ 65 ​ตรี​ (18) ​แห่งประมวลรัษฎากร​ (หนังสือกรมสรรพากรที่​ ​กค​ 0802/12043 ​ลงวันที่​ 8 ​กัน​ยายน​ 2529)

(2) ​กรณี​ผู้​รับ​ไม่​ว่า​จะ​เป็น​บุคคลธรรมดา​ ​หรือ​นิติบุคคลที่​ไม่​ออกหลักฐานการรับเงิน​ใดๆ​ ​ให้​จ่ายเช็คขีดคร่อมระบุชื่อ​ผู้​รับเงิน​ไว้​ใน​เช็ค​ (A/C Payee Only) ​และ​ถ่ายเอกสารเช็คดังกล่าวพร้อมขอหลักฐานการโอนเงินตามเช็คดังกล่าว​จาก​ธนาคารมาประกอบการจ่ายเงิน​ ​ใน​กรณีจำ​เป็น​อาจจัดซื้อสินค้า​หรือ​รับบริการ​จาก​ตัวแทน​หรือ​เอเย่นต์​ ​ใน​อันที่​จะ​ให้​ได้​มา​ซึ่ง​หลักฐานการจ่ายค่า​ใช้​จ่าย​ ​เช่น​ ​ค่า​ใช้​จ่าย​ใน​การออกของผ่านชิปปิง​ ​การซื้อสินค้าพืชผักผลไม้อาหารสดของกิจการโรงแรม​ ​ภัตตาคาร​ ​เป็น​ต้น​

อนึ่ง​ ​ใบรับเงินค่าซื้อสินค้า​จาก​ผู้​ขายที่​ไม่​ได้​จดทะ​เบียนการค้า​ซึ่ง​ผู้​ซื้อทำ​ขึ้น​และ​ให้​ผู้​ขายลงนามมีรายการ​ ​ชื่อ​ ​ที่​อยู่​ของ​ผู้​รับเงินแน่นอน​ ​ผู้​ซื้อ​จะ​นำ​ใบรับเงินดังกล่าวมาลง​เป็น​รายจ่าย​ใน​การคำ​นวณกำ​ไรสุทธิ​ได้​ ​แต่​ถ้า​ไม่​มีชื่อ​ ​ที่​อยู่​ของ​ผู้​รับเงิน​ ​หรือ​ไม่​สามารถ​พิสูจน์​ได้​ว่า​ใคร​เป็น​ผู้​รับ​ ​ก็อาจ​ต้อง​ห้ามมิ​ให้​ถือ​เป็น​รายจ่าย​ใน​การคำ​นวณกำ​ไรสุทธิตามมาตรา​ 65 ​ตรี​ (18) ​แห่งประมวลรัษฎากร​ (หนังสือกรมสรรพากรที่​ ​กค​ 0804/24055 ​ลงวันที่​ 30 ​ธันวาคม​ 2520) ​และ​ใน​การตรวจสอบหากเจ้าพนักงานประ​เมิน​ไม่​เชื่อ​ ​บริษัท​ ​จะ​ต้อง​พิสูจน์​ให้​ปราศ​จาก​ข้อสงสัย​ (คำ​พิพากษาฎีกาที่​ 1678/2532)

ปุจฉา​ ​กรณีบริษัท​ ​รับเหมาก่อสร้าง​ ​มี​เพียงหลักฐานการโอนเงินทางธนาคาร​ให้​เจ้าหน้าที่ของบริษัท​ ​เพื่อจัดซื้อวัสดุก่อสร้าง​ ​และ​มี​ใบสำ​คัญรายงานแจ้งจำ​นวนเงินที่​ได้​จัดซื้อวัสดุก่อสร้างของเจ้าหน้าที่ของบริษัท​ ​ถือ​เป็น​หลักฐานเพียงพอที่​จะ​รับฟัง​ ​และ​ให้​บริษัท​ ​ถือ​เป็น​รายจ่าย​ใน​การคำ​นวณกำ​ไรสุทธิ​ได้​หรือ​ไม่​

วิสัชนา​ ​กรณีดังกล่าว​ยัง​ไม่​อาจรับฟังพอที่​จะ​ให้​บริษัท​ ​ถือ​เป็น​รายจ่าย​ใน​การคำ​นวณกำ​ไรสุทธิ​ได้​ ​เพราะ​เอกสารดังกล่าวมิ​ได้​แสดง​ให้​เห็นว่า​เป็น​รายจ่ายค่าซื้อวัสดุก่อสร้าง​จาก​ผู้​ใด​ ​เป็น​จำ​นวน​เท่า​ใด​ ​คง​เป็น​เพียงหลักฐาน​หรือ​เอกสารระหว่างลูกจ้าง​กับ​บริษัทนายจ้าง​เท่า​นั้น​ ​จะ​ถือ​เป็น​รายจ่าย​ไม่​ได้​ ​ต้อง​ห้ามตามมาตรา​ 65 ​ตรี​ (18) ​แห่งประมวลรัษฎากร​ (หนังสือกรมสรรพากรที่​ 3.6/2513 ​ลงวันที่​ 24 ​กุมภาพันธ์​ 2513)

ปุจฉา​ ​เงินค่ารับรองพิ​เศษที่บริษัท​ ​จ่ายไปเพื่อประ​โยชน์​ใน​ด้านการค้าของบริษัท​ ​แต่​ไม่​สามารถ​แจ้งรายละ​เอียด​ได้​เพราะ​เป็น​ความ​ลับ​ ​คงมี​แต่​ใบขอเบิกเงิน​ ​และ​ใบอนุมัติจ่าย​ ​โดย​ไม่​มี​เอกสารประกอบการลงบัญชี​ ​แต่ก็​เป็น​รายจ่ายที่​ได้​รับอนุมัติ​จาก​ที่ประชุม​ผู้​ถือหุ้นทุกปี​ ​บริษัท​ ​สามารถ​นำ​มาหัก​เป็น​รายจ่าย​ใน​การคำ​นวณกำ​ไรสุทธิ​ได้​หรือ​ไม่​

วิสัชนา​ ​กรณีดังกล่าวแม้​จะ​เชื่อ​ได้​ว่า​เงินรับรองพิ​เศษ​เป็น​รายจ่ายของบริษัทจริง​ ​แต่​โดย​ที่บริษัท​ ​ไม่​สามารถ​ชี้​แจงรายละ​เอียด​ ​และ​พิสูจน์ตัว​ผู้​รับเงิน​ได้​ ​ต้อง​ห้ามตามมาตรา​ 65 ​ตรี​ (18) ​แห่งประมวลรัษฎากร​ ​การที่​ผู้​จัดการรับไปก็​เพื่อจ่าย​ใน​กิจการค้าของบริษัท​ ​มิ​ใช่​รับไป​เป็น​เงิน​ได้​ของตน​ ​จึง​ไม่​ถือ​เป็น​เงิน​ได้​ของ​ผู้​จัดการบริษัท​ ​ที่​จะ​ต้อง​นำ​มารวมคำ​นวณ​เป็น​เงิน​ได้​ของ​ผู้​จัดการ​ (หนังสือกรมสรรพากรที่​ ​กค​ 0804/4786 ​ลงวันที่​ 20 ​มีนาคม​ 2523)


ที่มา กรุงเทพธุรกิจ เมื่อวันที่ 5 ​กรกฎาคม​ 2549 06:53 ​น.
http://www.bangkokbiznews.com/2006/07/05/f006_117425.php?news_id=117425

อัตราภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาใหม่ ปี 2551

อัตราภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา แก้ไขตามกฎหมายใหม่ ฉบับที่ 470/2551 ทั้งนี้เมื่อได้ยอดเงินได้สุทธิแล้ว นำไปคำนวณภาษีตามอัตราภาษี ดังนี้

 

เงินได้สุทธิ

ช่วงเงินได้​สุทธิแต่

ละขั้น

อัตรา

ภาษี

ร้อยละ

ภาษีแต่ละขั้นเงิน

ได้สุทธิ

ภาษีสะสม

สูงสุดของขั้น

1 - 100,000

100,000

ได้รับยกเว้น

-

-

100,001 - 150,000
150,001 - 500,000
50,000
350,000
ได้รับยกเว้น

10

-
35,000
-
35,000

500,001 - 1,000,000

500,000

20

100,000

135,000

1,000,001 - 4,000,000

3,000,000

30

900,000

1,035,000

4,000,001 ​บาทขึ้นไป

 

37

 

 

มาตรการภาษีใหม่ตามโครงการ “ คืนเงินกลับกระเป๋า เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ

กรมสรรพากร ได้แจ้งเรื่องเรื่อง มาตรการภาษีใหม่ตามโครงการ “ คืนเงินกลับกระเป๋า เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ” บางส่วน ซึ่งมีผลบังคับใช้อย่างเป็นทางการแล้ว ได้แก่

1. รายได้สุทธิสำหรับบุคคลธรรมดา 150,000 บาทแรก ไม่ต้องเสียภาษี (ตั้งแต่ปีภาษี 2551 เป็นต้นไป)

2. ยกเว้นกำไรสุทธิ 150,000 บาทแรก ไม่ต้องเสียภาษีสำหรับผู้ประกอบการ SMEs

ที่มีทุนจดทะเบียนชำระแล้วในวันสุดท้ายของรอบระยะเวลาบัญชี ไม่เกิน 5 ล้านบาท

3. ลดอัตราภาษีธุรกิจเฉพาะจาก 3% เป็น 0.1 % กรณีขายอสังหาริมทรัพย์เพื่อทางการค้าหรือหากำไร เป็นเวลา 1 ปี

4. ลดค่าธรรมเนียมจดทะเบียนการโอนอสังหาริมทรัพย์จาก 2% และจำนองจาก 1 % เหลือเป็น 0.01 % ให้แก่อาคารสำนักงานพร้อมที่ดิน ห้องชุดในอาคารชุดตามกฎหมาย การจัดสรรที่ดินโดยทางราชการหรือองค์การของรัฐบาล บ้านแฝด บ้านเดี่ยว บ้านแถว และอาคารพาณิชย์ ตามประกาศกระทรวงมหาดไทย ลงวันที่ 24 มีนาคม 2551 จำนวน 3 ฉบับ

นายสาธิต รังคสิริ รองอธิบดีกรมสรรพากร ในฐานะโฆษกกรมสรรพากร กล่าวว่า

“ กรมสรรพากรได้หารือกับกรมที่ดิน เพื่อให้การโอนหรือการจำนองอสังหาริมทรัพย์ ประเภทบ้าน

มือสอง ได้รับสิทธิเช่นเดียวกับมาตรการที่มีผลบังคับใช้ ( ตามข้อ 4 ) ด้วย แต่ขณะนี้ยังอยู่ในระหว่าง

เสนอร่างกฎหมายเพื่อให้มีผลใช้บังคับต่อไป

ทั้งนี้ รายละเอียดเพิ่มเติมสามารถศึกษาได้จากพระราชกฤษฎีกาฯ ฉบับที่ 470 (ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา) ฉบับที่ 471 (วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม) ฉบับที่ 472 (ภาษีธุรกิจเฉพาะ) พ.ศ.2551 และประกาศกระทรวงมหาดไทย ลงวันที่ 24 มีนาคม พ.ศ.2551 จำนวน 3 ฉบับ ได้ที่ www. ratchakitcha. soc.go.th หรือ www.rd.go.th ได้นับแต่บัดนี้เป็นต้นไป

พระราชกฤษฎีกาฯ ฉบับที่ 472/2551

พระราชกฤษฎีกา
ออกตามความในประมวลรัษฎากร
ว่าด้วยการลดอัตรารัษฎากร (ฉบับที่ ๔๗๒)
พ.ศ. ๒๕๕๑
ภูมิพลอดุลยเดช ป.ร.
ให้ไว้ ณ วันที่ ๒๘ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๕๑
เป็นปีที่ ๖๓ ในรัชกาลปัจจุบัน
พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้า ฯ
ให้ประกาศว่า
โดยที่เป็นการสมควรลดอัตราภาษีธุรกิจเฉพาะสำหรับการขายอสังหาริมทรัพย์เป็นทางค้า
หรือหากำไร
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๘๗ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย และมาตรา ๓ (๑)
แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ ๑๐)
พ.ศ. ๒๔๙๖ อันเป็นกฎหมายที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจำกัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล
ซึ่งมาตรา ๒๙ ประกอบกับมาตรา ๓๓ และมาตรา ๔๑ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
บัญญัติให้กระทำได้โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ
ให้ตราพระราชกฤษฎีกาขึ้นไว้ ดังต่อไปนี้

มาตรา ๑ พระราชกฤษฎีกานี้เรียกว่า "พระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวล
รัษฎากร ว่าด้วยการลดอัตรารัษฎากร (ฉบับที่ ๔๗๒) พ.ศ. ๒๕๕๑"
มาตรา ๒ พระราชกฤษฎีกานี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษา
เป็นต้นไป
มาตรา ๓ ให้ลดอัตราภาษีธุรกิจเฉพาะตามมาตรา ๙๑/๖ (๓) แห่งประมวลรัษฎากร
และคงจัดเก็บในอัตราร้อยละศูนย์จุดหนึ่งสำหรับรายรับก่อนหักรายจ่ายใด ๆ จากกิจการขายอสังหาริมทรัพย์
เป็นทางค้าหรือหากำไรตามมาตรา ๙๑/๕ (๖) แห่งประมวลรัษฎากร ทั้งนี้ เฉพาะการจดทะเบียนสิทธิ
และนิติกรรมเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์ที่ได้กระทำภายในหนึ่งปีนับแต่วันที่พระราชกฤษฎีกานี้มีผลใช้บังคับ
มาตรา ๔ ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังรักษาการตามพระราชกฤษฎีกานี้
ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ
สมัคร สุนทรเวช
นายกรัฐมนตรี

หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชกฤษฎีกานี้ คือ เนื่องจากรัฐบาลมีนโยบายในการกระตุ้นและ
ฟื้นฟูเศรษฐกิจของประเทศ สมควรลดอัตราภาษีธุรกิจเฉพาะ และคงจัดเก็บในอัตราร้อยละศูนย์จุดหนึ่ง
สำหรับรายรับก่อนหักรายจ่ายใด ๆ จากการขายอสังหาริมทรัพย์เป็นทางค้าหรือหากำไร ทั้งนี้ เฉพาะการจดทะเบียน
สิทธิและนิติกรรมเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์ที่ได้กระทำภายในหนึ่งปีนับแต่วันที่พระราชกฤษฎีกานี้มีผลใช้บังคับ
เพื่อบรรเทาภาระภาษีให้แก่ผู้ประกอบธุรกิจด้านอสังหาริมทรัพย์อันจะทำให้ธุรกิจดังกล่าวสามารถขยายตัวต่อไป
รวมทั้งเป็นการสนับสนุนการขยายตัวทางเศรษฐกิจ จึงจำเป็นต้องตราพระราชกฤษฎีกานี้

ดูไฟล์ฉบับทางการที่นี่

พระราชกฤษฎีกาฯ ฉบับที่ 471/2551

พระราชกฤษฎีกา
ออกตามความในประมวลรัษฎากร
ว่าด้วยการลดอัตราและยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ ๔๗๑)
พ.ศ. ๒๕๕๑
ภูมิพลอดุลยเดช ป.ร.
ให้ไว้ ณ วันที่ ๒๘ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๕๑
เป็นปีที่ ๖๓ ในรัชกาลปัจจุบัน
พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้า ฯ
ให้ประกาศว่า
โดยที่เป็นการสมควรปรับปรุงการลดอัตราภาษีเงินได้และยกเว้นภาษีเงินได้ สำหรับกำไรสุทธิ
ของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลซึ่งมีทุนที่ชำระแล้วในวันสุดท้ายของรอบระยะเวลาบัญชีไม่เกิน
ห้าล้านบาท
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๘๗ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย และมาตรา ๓ (๑)
แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ ๑๐)
พ.ศ. ๒๔๙๖ อันเป็นกฎหมายที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจำกัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล
ซึ่งมาตรา ๒๙ ประกอบกับมาตรา ๓๓ และมาตรา ๔๑ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
บัญญัติให้กระทำได้โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ
ให้ตราพระราชกฤษฎีกาขึ้นไว้ ดังต่อไปนี้

มาตรา ๑ พระราชกฤษฎีกานี้เรียกว่า "พระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร
ว่าด้วยการลดอัตราและยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ ๔๗๑) พ.ศ. ๒๕๕๑"
มาตรา ๒ พระราชกฤษฎีกานี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษา
เป็นต้นไป
มาตรา ๓ ให้ยกเลิกพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการลดอัตรา
รัษฎากร (ฉบับที่ ๔๓๑) พ.ศ. ๒๕๔๘
มาตรา ๔ ให้ลดอัตราภาษีเงินได้ตาม (ก) ของ (๒) สำหรับบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล
แห่งบัญชีอัตราภาษีเงินได้ท้ายหมวด ๓ ในลักษณะ ๒ แห่งประมวลรัษฎากร และคงจัดเก็บในอัตรา
ดังต่อไปนี้ ทั้งนี้ เฉพาะบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลซึ่งมีทุนที่ชำระแล้วในวันสุดท้ายของ
รอบระยะเวลาบัญชีไม่เกินห้าล้านบาท
(๑) ร้อยละสิบห้าของกำไรสุทธิ เฉพาะส่วนที่เกินหนึ่งแสนห้าหมื่นบาท แต่ไม่เกินหนึ่งล้านบาท
(๒) ร้อยละยี่สิบห้าของกำไรสุทธิ เฉพาะส่วนที่เกินหนึ่งล้านบาท แต่ไม่เกินสามล้านบาท
มาตรา ๕ ให้ยกเว้นภาษีเงินได้ตามส่วน ๓ หมวด ๓ ในลักษณะ ๒ แห่งประมวล
รัษฎากร ให้แก่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลซึ่งมีทุนที่ชำระแล้วในวันสุดท้ายของรอบระยะเวลาบัญชี
ไม่เกินห้าล้านบาท สำหรับกำไรสุทธิของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลดังกล่าว เฉพาะส่วนที่ไม่เกิน
หนึ่งแสนห้าหมื่นบาท
มาตรา ๖ การลดอัตราภาษีเงินได้ตามมาตรา ๔ และการยกเว้นภาษีเงินได้ตามมาตรา ๕
ให้ใช้บังคับแก่กำไรสุทธิของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่เกิดขึ้นในรอบระยะเวลาบัญชีซึ่งเริ่มใน
หรือหลังวันที่ ๑ มกราคม พ.ศ. ๒๕๕๑ เป็นต้นไป
มาตรา ๗ บทบัญญัติในพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการลด
อัตรารัษฎากร (ฉบับที่ ๔๓๑) พ.ศ. ๒๕๔๘ ให้ยังคงใช้บังคับต่อไปเฉพาะการลดอัตราภาษีเงินได้
ให้แก่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล สำหรับรอบระยะเวลาบัญชีซึ่งเริ่มก่อนวันที่ ๑ มกราคม
พ.ศ. ๒๕๕๑

มาตรา ๘ ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังรักษาการตามพระราชกฤษฎีกานี้
ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ
สมัคร สุนทรเวช
นายกรัฐมนตรี

หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชกฤษฎีกานี้ คือ เนื่องจากรัฐบาลมีนโยบายในการกระตุ้นและฟื้นฟู
เศรษฐกิจของประเทศ สมควรปรับปรุงการลดอัตราภาษีเงินได้และยกเว้นภาษีเงินได้ สำหรับกำไรสุทธิของบริษัท
หรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลซึ่งมีทุนที่ชำระแล้วในวันสุดท้ายของรอบระยะเวลาบัญชีไม่เกินห้าล้านบาท
โดยลดอัตราภาษีเงินได้สำหรับกำไรสุทธิ เฉพาะส่วนที่เกินหนึ่งแสนห้าหมื่นบาท แต่ไม่เกินสามล้านบาท
และยกเว้นภาษีเงินได้สำหรับกำไรสุทธิ เฉพาะส่วนที่ไม่เกินหนึ่งแสนห้าหมื่นบาท เพื่อสนับสนุนการประกอบ
วิสาหกิจขนาดย่อมและกระตุ้นให้มีการลงทุนในวิสาหกิจดังกล่าวอันจะทำให้เศรษฐกิจขยายตัวเพิ่มขึ้น
จึงจำเป็นต้องตราพระราชกฤษฎีกานี้

ดูไฟล์ฉบับทางการที่นี่

พระราชกฤษฎีกาฯ ฉบับที่ 470/2551

พระราชกฤษฎีกา
ออกตามความในประมวลรัษฎากร
ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ ๔๗๐)
พ.ศ. ๒๕๕๑
ภูมิพลอดุลยเดช ป.ร.
ให้ไว้ ณ วันที่ ๒๘ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๕๑
เป็นปีที่ ๖๓ ในรัชกาลปัจจุบัน
พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้า ฯ
ให้ประกาศว่า
โดยที่เป็นการสมควรปรับปรุงการยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา สำหรับเงินได้สุทธิจากการ
คำนวณภาษีเงินได้ตามมาตรา ๔๘ (๑) แห่งประมวลรัษฎากร
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๘๗ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย และมาตรา ๓ (๑)
แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ ๑๐)
พ.ศ. ๒๔๙๖ อันเป็นกฎหมายที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจำกัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล
ซึ่งมาตรา ๒๙ ประกอบกับมาตรา ๓๓ และมาตรา ๔๑ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
บัญญัติให้กระทำได้โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ
ให้ตราพระราชกฤษฎีกาขึ้นไว้ ดังต่อไปนี้

มาตรา ๑ พระราชกฤษฎีกานี้เรียกว่า "พระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร
ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ ๔๗๐) พ.ศ. ๒๕๕๑"
มาตรา ๒ พระราชกฤษฎีกานี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษา
เป็นต้นไป
มาตรา ๓ ให้ยกเลิกพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้น
รัษฎากร (ฉบับที่ ๔๓๐) พ.ศ. ๒๕๔๘
มาตรา ๔ ให้ยกเว้นภาษีเงินได้ตามส่วน ๒ หมวด ๓ ในลักษณะ ๒ แห่งประมวลรัษฎากร
สำหรับเงินได้สุทธิจากการคำนวณภาษีเงินได้ตามมาตรา ๔๘ (๑) แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติม
โดยประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ ๑๐ ลงวันที่ ๗ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๒๐ เฉพาะส่วนที่ไม่เกิน
หนึ่งแสนห้าหมื่นบาทแรก ในปีภาษีนั้น ทั้งนี้ สำหรับเงินได้สุทธิที่เกิดขึ้นในปี พ.ศ. ๒๕๕๑ เป็นต้นไป
มาตรา ๕ ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังรักษาการตามพระราชกฤษฎีกานี้
ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ
สมัคร สุนทรเวช
นายกรัฐมนตรี

หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชกฤษฎีกานี้ คือ เนื่องจากรัฐบาลมีนโยบายในการกระตุ้นและ
ฟื้นฟูเศรษฐกิจของประเทศ สมควรปรับปรุงการยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา สำหรับเงินได้สุทธิจากการ
คำนวณภาษีเงินได้ตามมาตรา ๔๘ (๑) แห่งประมวลรัษฎากร โดยกำหนดให้เงินได้สุทธิเฉพาะส่วนที่ไม่เกิน
หนึ่งแสนห้าหมื่นบาทแรก สำหรับปีภาษี ได้รับการยกเว้นภาษีเงินได้ เพื่อบรรเทาภาระภาษีให้แก่ผู้มีเงินได้
และสนับสนุนการขยายตัวของเศรษฐกิจ จึงจำเป็นต้องตราพระราชกฤษฎีกานี้

ดูไฟล์ฉบับทางการที่นี่