กำหนดยื่นแบบเสียภาษีเดือนพฤษภาคม 2551

คลิ๊กดูเดือนปัจจุบัน
space


​พฤษภาคม​ 2551
อาทิตย์
จันทร์
อังคาร
พุธ
พฤหัส
ศุกร์
เสาร์
1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30
31
กำหนดยื่นแบบ ภายในวันที่ 7 พฤษภาคม
ยื่นแบบ ภงด.1,​ภงด.2, ภงด.3,​ภงด.53

กำหนดยื่นแบบ ภายในวันที่ 15 พฤษภาคม
ยื่นแบบ​ภพ.30, ภธ.40

กำหนดยื่นแบบ ภายในวันที่ 29 พฤษภาคม​
(150​วันนับแต่วันสุดท้ายของรอบระยะเวลาบัญชี)
ยื่นแบบ​ภงด.50,​ภงด.52, ภงด.55
(สำหรับนิติบุคคลที่มีรอบระยะเวลาบัญชีเริ่มต้นและสิ้นสุด 1​ม.ค.-31​ธ.ค.)
ที่มา.. กรมสรรพากร

กรณีสัญญาเช่าทางการเงิน ลงบัญชีอย่างไร

ตารางสรุปเปรียบเทียบวิธีทางบัญชีและวิธีทางภาษี​การเช่าซื้อทรัพย์สิน ในแบบสัญญาเช่าทางการเงิน
เนื่องจากไฟล์นี้จัดทำขึ้นด้วยโปรแกรม excel เป็นแบบตาราง เวลา post ลงใน blog แล้ว ดูค่อนข้างลำบากก็เลยขอใช้วิธีทำ link แทน  คลิ๊กดูตาราง

UP-DATE กฏหมายใหม่

UP-DATE กฏหมายใหม่

1.กฏหมายที่ออกแล้ว

1.ดอกเบี้ยเงินกู้ ซื้อบ้าน บุคคลธรรมดา หักลดหย่อนได้ 100,000 (เดิม 50,000)
กฏหมายที่เกี่ยวข้อง "ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร ฉบับที่ 167/2551 ลงวันที่ 2/1/2551
2.บริษัทฯส่งออกให้ขอรับการจัดอันดับเป็นผู้ส่งออกที่ดี / ผู้ส่งออกขึ้นทะเบียน ยื่นแบบทาง internet จะได้
เงินภาษี VAT คืนภายใน 15 วัน หรือไม่ยื่นผ่าน internet จะได้เงินคืนภายใน 45 วัน
3.ผู้สอบภาษีอากร(CPT) เมื่อสอบปี 2551 หมายถึงผู้สอบบัญชีรับอนุญาต (CPA) และ ผู้สอบภาษี (TA) ที่ได้สอบ
ผ่านการเป็น "ผู้สอบภาษีอากร-CPT ผู้ที่จะทำหน้าที่เสมือนเจ้าหน้าที่สรรพากร ดูแลความผิดทางภาษีตั้งแต่แรกของการตรวจสอบ จะเสนอ รายงานการตรวจสอบต่อสาธารณะ 2 ชุด คือชุดแรกเช่นเดียวกับการับรองทั่วไป อีกชุดเพิ่มขึ้นมาเป็นการับรองงบการเงินด้านภาษี
หากพบข้อผิดต้องแจ้งต่อกรมสรรพากรด้วย

บริษัทฯหรือนิติบุคคลใด จ้าง CPT เป็นผู้สอบบัญชีรับรองงบการเงิน จะไม่ถูกสรรพากรตรวจสอบสภาพ = 2 ปี ได้รับเงินภาษี VAT คืนภายใน 90 วัน และได้รับการปฏิบัติที่ดีจากกรมสรรพากร CPT ต่ออายุทุก 3 ปี (ต้องสอบใหม่ทุก 3 ปี)
4.สำนักงานบัญชี ขึ้นทะเบียน หมายถึงสำนักงานบัญชี ที่ได้รับการรับรองคุณภาพ จากกรมพัฒนาธุรกิจการค้า
กระทรวงพาณิชย์ การรับรองนี้ผู้ขอการรับรอง จะต้องมีคุณสมบัติตามที่กรมพัฒนาฯกำหนด คือ
4.1 เจ้าของสำนักงานต้องจบปริญญาตรีด้านบัญชีเท่านั้น
4.2 ต้องมีประสบการณ์ มากกว่า 5 ปี และเป็น CPD(ผู้ทำบัญชี)
4.3 มีผู้ช่วยอย่างน้อย 1 ท่านทำงานเต็มและจบบัญชีบัณฑิต
4.4 ต้องทำ ISO / 5 ส
5.ลดอัตราภาษีเมื่อขอจดทะเบียนเข้าตลาดหลักทรัพย์ และตลาดหลักทรัพย์ใหม่
5.1 ตลาดเดิม SET ลดเหลือ 25 %
5.2 ตลาดใหม่ MAI ลดเหลือ 20 %
เพื่อให้บริษัทที่จะเข้าจดทะเบียนในแต่ละตลาด ซึ่งหมดอายุไปแล้วให้มีผลใช้ต่อไปได้ต่อในปัจจุบัน
กฏหมายที่เกี่ยวข้อง "พระราชกฤษฏีกา ฉบับที่ 467 ลงวันที่ 29/1/2551"

2. ยังไม่ออกเป็นกฏหมาย เป็น "มติครม.วันที่ 4/3/51 " เรื่องมาตรการภาษีเพื่อกระตุ้นและพื้นฟูเศรษฐกิจ
ต้องใช้เวลาอีกประมาณ 4-5 เดือนจึงจะออกเป็นกฏหมายได้ แต่นำไปใช้หักภาษีบุคคลธรรมดาปี 2551 ได้แล้ว(ถ้ารัฐบาลนี้ยังอยู่)
1. บุคคลธรรมดา รายได้ 150,000 แรกได้รับการยกเว้น(เดิม 100,000 บาทแรก)
2.ประกันชีวิต ชนิดสะสมทรัพย์ หักลดหย่อนได้ 100,000(เดิม 50,000 บาท)
3.หน่วยลงทุน LTF/RMF เป็นกองละ 500,000 (เดิม กองละ 300,000)
4.ลดหย่อนการอุปการะเลี้ยงดู คนพิการ(ต้องมีบัตรคนพิการ) =30,000 ต่อคนเฉพาะบุคคลต่อไปนี้
4.1 คุ่สมรส
4.2 บุตร
4.3 บิดามารดาตนเอง
4.3 บิดามารดาคู่สมรส
5.SMEs หมายถึง บริษัทที่มีทุนชำระแล้วไม่เกิน 5 ล้าน จะเสียภาษีเงินได้นิติบุคคล ลดลง =150,000 บาท
รายได้ (หลังหักค่าใช้จ่าย) =กำไร=150,000 แรกได้รับการยกเว้น
กำไร 150,001-1,000,0000 =15%
กำไร 1,000,001-3,000,0000 =25%
กำไร 3,000,01 ขึ้นไป =30%
6.เพื่อกระตุ้นการลงทุน และการประหยัดพลังงาน ได้ตัดค่าใช้จ่ายเพิ่มเป็น 1.25 เท่า ของเงินลงทุน
ในเครื่องจักร ที่ลงทุนใหม่ในปี 2551 -2553 (เฉพาะที่จ่ายเงินสด- หลัก cash- basic เท่านั้น) และสามารถหักค่าเสื่อมจากรายการนี้
ได้ทันที (ปีที่ได้มา) 40 % ส่วนที่เหลือหักค่าเสื่อมได้ตามปกติ 20 %
7. software (โปรแกรมคอมฯ) กฏหมายเดิมถือว่าเป็น สินทรัพย์ทางปัญญา หักค่าเสื่อม ตาม rate สินทรัพย์อื่น
10 ปี ตามมติครม. ใหม่ฉบับนี้ ให้หักได้เช่นเดียวกับเครื่องcomputer ( hardware )
SMEs สามารถหักได้ 40 %ในปีที่ได้มา และหัก ต่อไป 20 % ได้ตามเครื่องคอมพิวเตอร์
8.เพื่อกระตุ้นธุรกิจอสังหริมทรัพย์
อัตราเดิม อัตราใหม่
ภาษีธุรกิจเฉพาะ 3.30% 0.1%
ค่าธรรมเนียมโอน 2.00% 0.01%

 

บทความโดย พี่เกด (KR)

พรบ.ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ฉบับที่ 18/2551

พระราชบัญญัติ
แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ฉบับที่ ๑๘)
พ.ศ. ๒๕๕๑
ภูมิพลอดุลยเดช ป.ร.
ให้ไว้ ณ วันที่ ๒๓ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๑
เป็นปีที่ ๖๓ ในรัชกาลปัจจุบัน
พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้า ฯ
ให้ประกาศว่าโดยที่เป็นการสมควรแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
พระราชบัญญัตินี้มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจำกัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล
ซึ่งมาตรา ๒๙ ประกอบกับมาตรา ๔๑ และมาตรา ๔๓ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยบัญญัติให้กระทำได้โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย
จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ให้ตราพระราชบัญญัติขึ้นไว้โดยคำแนะนำและยินยอมของสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ดังต่อไปนี้
มาตรา ๑ พระราชบัญญัตินี้เรียกว่า “พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่ง
และพาณิชย์ (ฉบับที่ ๑๘) พ.ศ. ๒๕๕๑”
มาตรา ๒ พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนดหนึ่งร้อยยี่สิบวันนับแต่วันประกาศ
ในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
มาตรา ๓ ให้ยกเลิกความในมาตรา ๑๐๒๐ แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“มาตรา ๑๐๒๐ บุคคลทุกคนเมื่อได้เสียค่าธรรมเนียมตามที่กำหนดในกฎกระทรวงแล้ว
ชอบที่จะตรวจเอกสารซึ่งนายทะเบียนเก็บรักษาไว้ได้ หรือจะขอให้คัดสำเนาหรือเนื้อความในเอกสาร
ฉบับใด ๆ พร้อมด้วยคำรับรองว่าถูกต้องมอบให้ก็ได้
ผู้มีส่วนได้เสียของห้างหุ้นส่วนหรือบริษัทใด ๆ เมื่อได้เสียค่าธรรมเนียมตามที่กำหนดใน
กฎกระทรวงแล้ว ชอบที่จะขอให้นายทะเบียนทำใบสำคัญแสดงการจดทะเบียนห้างหุ้นส่วนหรือบริษัทนั้นให้ก็ได้”
มาตรา ๔ ให้ยกเลิกความในมาตรา ๑๐๒๓ แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“มาตรา ๑๐๒๓ ผู้เป็นหุ้นส่วนก็ดี ห้างหุ้นส่วนก็ดี หรือบริษัทก็ดื จะถือเอาประโยชน์แก่
บุคคลภายนอกเพราะเหตุที่มีสัญญาหรือเอกสาร หรือข้อความอันบังคับให้จดทะเบียนตามลักษณะนี้ยังไม่ได้ จนกว่าจะได้จดทะเบียนแล้ว แต่ฝ่ายบุคคลภายนอกจะถือเอาประโยชน์เช่นว่านั้นได้แต่ถึงกระนั้นก็ดี ผู้เป็นหุ้นส่วน ผู้ถือหุ้น ห้างหุ้นส่วน หรือบริษัทซึ่งได้รับชำระหนี้ก่อนจดทะเบียนนั้นย่อมไม่จำต้องคืน”
มาตรา ๕ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นมาตรา ๑๐๒๓/๑ แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
“มาตรา ๑๐๒๓/๑ ห้างหุ้นส่วนหรือบริษัทจะยกมาตรา ๑๐๒๓ ขึ้นต่อสู้บุคคลภายนอก
ผู้สุจริตเพื่อไม่ให้ต้องรับผิดโดยอ้างว่าผู้เป็นหุ้นส่วน ห้างหุ้นส่วน บริษัทหรือกรรมการไม่มีอำนาจกระทำการมิได้”
มาตรา ๖ ให้ยกเลิกความในมาตรา ๑๐๙๗ แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“มาตรา ๑๐๙๗ บุคคลใด ๆ ตั้งแต่สามคนขึ้นไปจะเริ่มก่อการและตั้งเป็นบริษัทจำกัดก็ได้โดยเข้าชื่อกันทำหนังสือบริคณห์สนธิ และกระทำการอย่างอื่นตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายนี้”
มาตรา ๗ ให้ยกเลิกวรรคห้าของมาตรา ๑๑๑๑ แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
มาตรา ๘ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นมาตรา ๑๑๑๑/๑ แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและ
พาณิชย์
“มาตรา ๑๑๑๑/๑ ในการจัดตั้งบริษัท ถ้าได้ดำเนินการครบทุกขั้นตอนดังต่อไปนี้ภายใน
วันเดียวกับวันที่ผู้เริ่มก่อการจัดทำหนังสือบริคณห์สนธิ กรรมการจะขอจดทะเบียนหนังสือบริคณห์สนธิ
และจดทะเบียนบริษัทไปพร้อมกันภายในวันเดียวกันก็ได้
(๑) จัดให้มีผู้เข้าชื่อซื้อหุ้นครบตามจำนวนหุ้นทั้งหมดที่บริษัทจะจดทะเบียน
(๒) ประชุมจัดตั้งบริษัทเพื่อพิจารณากิจการต่าง ๆ ตามมาตรา ๑๑๐๘ โดยมีผู้เริ่มก่อการและผู้เข้าชื่อซื้อหุ้นทุกคนเข้าร่วมประชุม และผู้เริ่มก่อการและผู้เข้าชื่อซื้อหุ้นทุกคนให้ความเห็นชอบในกิจการที่ได้ประชุมกันนั้น
(๓) ผู้เริ่มก่อการได้มอบกิจการทั้งปวงให้แก่กรรมการ
(๔) กรรมการได้เรียกให้ผู้เข้าชื่อซื้อหุ้นใช้เงินค่าหุ้นตามมาตรา ๑๑๑๐ วรรคสอง และเงินค่าหุ้นดังกล่าวได้ใช้เสร็จแล้ว”
มาตรา ๙ ให้ยกเลิกมาตรา ๑๑๔๗ แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
มาตรา ๑๐ ให้ยกเลิกความในมาตรา ๑๑๗๕ แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“มาตรา ๑๑๗๕ คำบอกกล่าวเรียกประชุมใหญ่ให้ลงพิมพ์โฆษณาในหนังสือพิมพ์แห่งท้องที่อย่างน้อยหนึ่งคราวก่อนวันนัดประชุมไม่น้อยกว่าเจ็ดวัน และส่งทางไปรษณีย์ตอบรับไปยังผู้ถือหุ้นทุกคนที่มีชื่อในทะเบียนของบริษัทก่อนวันนัดประชุมไม่น้อยกว่าเจ็ดวัน เว้นแต่เป็นคำบอกกล่าวเรียกประชุมใหญ่เพื่อลงมติพิเศษ ให้กระทำการดังว่านั้นก่อนวันนัดประชุมไม่น้อยกว่าสิบสี่วัน คำบอกกล่าวเรียกประชุมใหญ่นั้น ให้ระบุสถานที่ วัน เวลา และสภาพแห่งกิจการที่จะได้ประชุมปรึกษากัน และในกรณีที่เป็นคำบอกกล่าวเรียกประชุมใหญ่เพื่อลงมติพิเศษให้ระบุข้อความที่จะนำเสนอให้ลงมติด้วย”
มาตรา ๑๑ ให้ยกเลิกความในมาตรา ๑๑๙๔ แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“มาตรา ๑๑๙๔ การใดที่กฎหมายกำหนดให้ต้องทำโดยมติพิเศษ ที่ประชุมใหญ่ต้องลงมติในเรื่องนั้นโดยคะแนนเสียงข้างมากไม่ต่ำกว่าสามในสี่ของจำนวนเสียงทั้งหมดของผู้ถือหุ้นที่มาประชุมและมีสิทธิออกเสียงลงคะแนน”
มาตรา ๑๒ ให้ยกเลิกความในมาตรา ๑๒๐๔ แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“มาตรา ๑๒๐๔ การบอกกล่าวว่าจะปันผลอย่างใด ๆ อันได้อนุญาตให้จ่ายนั้น ให้บริษัทมี
จดหมายบอกกล่าวไปยังตัวผู้ถือหุ้นที่ปรากฏชื่ออยู่ในทะเบียนผู้ถือหุ้นทุกคน แต่ในกรณีที่บริษัทมีหุ้น
ชนิดที่มีใบหุ้นออกให้แก่ผู้ถือ ให้โฆษณาในหนังสือพิมพ์แห่งท้องที่อย่างน้อยหนึ่งคราวด้วย”
มาตรา ๑๓ ให้ยกเลิกความในมาตรา ๑๒๒๖ แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“มาตรา ๑๒๒๖ เมื่อบริษัทประสงค์จะลดทุน ต้องโฆษณาความประสงค์นั้นในหนังสือพิมพ์
แห่งท้องที่อย่างน้อยหนึ่งคราว และต้องมีหนังสือบอกกล่าวไปยังบรรดาผู้ซึ่งบริษัทรู้ว่าเป็นเจ้าหนี้ของ
บริษัท บอกให้ทราบรายการซึ่งประสงค์จะลดทุนลงและขอให้เจ้าหนี้ผู้มีข้อคัดค้านอย่างหนึ่งอย่างใด
ในการลดทุนนั้น ส่งคำคัดค้านไปภายในสามสิบวันนับแต่วันที่บอกกล่าวนั้น
ถ้าไม่มีผู้ใดคัดค้านภายในกำหนดเวลาสามสิบวัน ก็ให้พึงถือว่าไม่มีการคัดค้าน
ถ้าหากมีเจ้าหนี้คัดค้าน บริษัทจะจัดการลดทุนลงไม่ได้ จนกว่าจะได้ใช้หนี้หรือให้ประกันเพื่อ
หนี้รายนั้นแล้ว”
มาตรา ๑๔ ให้ยกเลิกความใน (๔) ของมาตรา ๑๒๓๗ แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“(๔) ถ้าจำนวนผู้ถือหุ้นลดน้อยลงจนเหลือไม่ถึงสามคน”
มาตรา ๑๕ ให้ยกเลิกความในวรรคหนึ่งของมาตรา ๑๒๔๐ แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและ
พาณิชย์ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“มาตรา ๑๒๔๐ บริษัทต้องโฆษณาในหนังสือพิมพ์แห่งท้องที่อย่างน้อยหนึ่งคราว และส่ง
คำบอกกล่าวไปยังบรรดาผู้ซึ่งบริษัทรู้ว่าเป็นเจ้าหนี้ของบริษัท บอกให้ทราบรายการที่ประสงค์จะควบ
บริษัทเข้ากัน และขอให้เจ้าหนี้ผู้มีข้อคัดค้านอย่างหนึ่งอย่างใดในการควบบริษัทเข้ากันนั้นส่งคำคัดค้าน
ไปภายในหกสิบวันนับแต่วันที่บอกกล่าว”
มาตรา ๑๖ ให้ยกเลิกส่วนที่ ๑๑ การถอนทะเบียนบริษัทร้าง มาตรา ๑๒๔๖ ของหมวด ๔
ในลักษณะ ๒๒ แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
มาตรา ๑๗ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นส่วนที่ ๑๒ การแปรสภาพห้างหุ้นส่วนจดทะเบียนและ
ห้างหุ้นส่วนจำกัดเป็นบริษัทจำกัด มาตรา ๑๒๔๖/๑ มาตรา ๑๒๔๖/๒ มาตรา ๑๒๔๖/๓
มาตรา ๑๒๔๖/๔ มาตรา ๑๒๔๖/๕ มาตรา ๑๒๔๖/๖ และมาตรา ๑๒๔๖/๗ ของหมวด ๔
ในลักษณะ ๒๒ แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
“ส่วนที่ ๑๒
การแปรสภาพห้างหุ้นส่วนจดทะเบียนและห้างหุ้นส่วนจำกัด
เป็นบริษัทจำกัด
มาตรา ๑๒๔๖/๑ ห้างหุ้นส่วนจดทะเบียนหรือห้างหุ้นส่วนจำกัดที่มีผู้เป็นหุ้นส่วนตั้งแต่
สามคนขึ้นไปอาจแปรสภาพเป็นบริษัทจำกัดได้ โดยความยินยอมของผู้เป็นหุ้นส่วนทุกคนและดำเนินการ
ดังต่อไปนี้
(๑) แจ้งความยินยอมของผู้เป็นหุ้นส่วนที่จะให้แปรสภาพห้างหุ้นส่วนเป็นบริษัทจำกัด
เป็นหนังสือต่อนายทะเบียนภายในสิบสี่วันนับแต่วันที่ผู้เป็นหุ้นส่วนทุกคนให้ความยินยอม
(๒) ประกาศโฆษณาในหนังสือพิมพ์แห่งท้องที่อย่างน้อยหนึ่งคราว และมีหนังสือบอกกล่าว
ไปยังบรรดาผู้ซึ่งรู้ว่าเป็นเจ้าหนี้ของห้างหุ้นส่วนบอกให้ทราบรายการที่ประสงค์จะแปรสภาพ
ห้างหุ้นส่วนเป็นบริษัท และขอให้เจ้าหนี้ผู้มีข้อคัดค้านอย่างหนึ่งอย่างใดในการแปรสภาพเป็นบริษัท
จำกัดนั้น ส่งคำคัดค้านไปภายในสามสิบวันนับแต่วันที่บอกกล่าวนั้น
ถ้ามีการคัดค้าน ห้างหุ้นส่วนนั้นจะแปรสภาพมิได้จนกว่าจะได้ชำระหนี้หรือให้ประกันเพื่อ
หนี้นั้นแล้ว
มาตรา ๑๒๔๖/๒ ในกรณีไม่มีการคัดค้านหรือมีการคัดค้านแต่ห้างหุ้นส่วนได้ชำระหนี้หรือ
ให้ประกันเพื่อหนี้นั้นแล้ว ผู้เป็นหุ้นส่วนทุกคนต้องประชุมเพื่อให้ความยินยอมและดำเนินการในเรื่อง
ดังต่อไปนี้
(๑) จัดทำหนังสือบริคณห์สนธิและข้อบังคับของบริษัท (ถ้ามี)
(๒) กำหนดจำนวนทุนเรือนหุ้นของบริษัท ซึ่งต้องเท่ากับส่วนลงหุ้นของผู้เป็นหุ้นส่วนทุกคน
ในห้างหุ้นส่วน และกำหนดจำนวนหุ้นของบริษัทที่จะตกได้แก่หุ้นส่วนแต่ละคน
(๓) กำหนดจำนวนเงินที่ได้ใช้แล้วในแต่ละหุ้น ซึ่งต้องไม่น้อยกว่าร้อยละยี่สิบห้าแห่งมูลค่า
ของหุ้นแต่ละหุ้นที่ตั้งไว้
(๔) กำหนดจำนวนหุ้นสามัญหรือหุ้นบุริมสิทธิ รวมทั้งกำหนดสภาพและบุริมสิทธิของหุ้น
ซึ่งจะออกและจัดสรรหุ้นให้แก่ผู้เป็นหุ้นส่วน
(๕) แต่งตั้งกรรมการและกำหนดอำนาจของกรรมการ
(๖) แต่งตั้งผู้สอบบัญชี
(๗) ดำเนินการในเรื่องอื่น ๆ ที่จำเป็นในการแปรสภาพ
ในการดำเนินการตามวรรคหนึ่ง ให้นำบทบัญญัติเกี่ยวกับบริษัทจำกัดว่าด้วยการนั้น ๆ มาใช้
บังคับโดยอนุโลม
มาตรา ๑๒๔๖/๓ หุ้นส่วนผู้จัดการเดิมต้องส่งมอบกิจการ ทรัพย์สิน บัญชีเอกสารและ
หลักฐานต่าง ๆ ของห้างหุ้นส่วนให้แก่คณะกรรมการบริษัท ภายในสิบสี่วันนับแต่วันที่ผู้เป็นหุ้นส่วน
ได้ให้ความยินยอมและดำเนินการในเรื่องต่าง ๆ ตามมาตรา ๑๒๔๖/๒ เสร็จสิ้นแล้ว
ในกรณีที่ผู้เป็นหุ้นส่วนยังไม่ได้ชำระเงินค่าหุ้นหรือชำระเงินค่าหุ้นไม่ครบร้อยละยี่สิบห้า
ของมูลค่าหุ้น หรือยังไม่ได้โอนกรรมสิทธิ์ทรัพย์สิน หรือทำเอกสารหลักฐานการใช้สิทธิต่าง ๆ
ให้แก่คณะกรรมการ ให้คณะกรรมการบริษัทมีหนังสือแจ้งให้ผู้เป็นหุ้นส่วนชำระเงินค่าหุ้น โอนกรรมสิทธิ์
หรือทำเอกสารหลักฐานการใช้สิทธิต่าง ๆ แล้วแต่กรณี ให้แก่คณะกรรมการภายในสามสิบวันนับแต่
วันที่ได้รับหนังสือแจ้ง
มาตรา ๑๒๔๖/๔ คณะกรรมการบริษัทต้องขอจดทะเบียนการแปรสภาพเป็นบริษัทจำกัดต่อ
นายทะเบียน ภายในสิบสี่วันนับแต่วันที่ได้ดำเนินการตามมาตรา ๑๒๔๖/๓ ครบถ้วนแล้ว
ในการขอจดทะเบียนแปรสภาพเป็นบริษัทจำกัด คณะกรรมการต้องยื่นรายงานการประชุม
ที่ผู้เป็นหุ้นส่วนได้ร่วมกันพิจารณาให้ความยินยอมและดำเนินการแปรสภาพห้างหุ้นส่วนเป็น
บริษัทจำกัดตามมาตรา ๑๒๔๖/๒ หนังสือบริคณห์สนธิ ข้อบังคับ และบัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้น พร้อมกับ
การขอจดทะเบียนด้วย
มาตรา ๑๒๔๖/๕ เมื่อนายทะเบียนได้รับจดทะเบียนการแปรสภาพห้างหุ้นส่วนจดทะเบียนหรือห้างหุ้นส่วนจำกัดเป็นบริษัทจำกัดแล้ว ให้ห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน หรือห้างหุ้นส่วนจำกัดเดิมหมดสภาพการเป็นห้างหุ้นส่วนจดทะเบียนหรือห้างหุ้นส่วนจำกัดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
และให้นายทะเบียนหมายเหตุไว้ในทะเบียน
มาตรา ๑๒๔๖/๖ เมื่อห้างหุ้นส่วนจดทะเบียนหรือห้างหุ้นส่วนจำกัดได้จดทะเบียนแปรสภาพ
เป็นบริษัทจำกัดแล้ว บริษัทย่อมได้ไปทั้งทรัพย์สิน หนี้ สิทธิ และความรับผิดของห้างหุ้นส่วน
จดทะเบียนหรือห้างหุ้นส่วนจำกัดเดิมทั้งหมด
มาตรา ๑๒๔๖/๗ เมื่อจดทะเบียนแปรสภาพเป็นบริษัทจำกัดแล้ว หากบริษัทไม่สาม ารถ
ชำระหนี้ที่รับมาจากห้างหุ้นส่วนที่แปรสภาพได้ ให้เจ้าหนี้บังคับชำระหนี้เอาจากผู้เป็นหุ้นส่วน
ในห้างหุ้นส่วนที่แปรสภาพได้ตามที่ผู้เป็นหุ้นส่วนจะต้องรับผิดในหนี้ของห้างหุ้นส่วน”
มาตรา ๑๘ ให้ยกเลิกความใน (๑) ของมาตรา ๑๒๕๓ แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและ
พาณิชย์ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“(๑) บอกกล่าวแก่ประชาชนโดยประกาศโฆษณาในหนังสือพิมพ์แห่งท้องที่อย่างน้อย
หนึ่งคราวว่าห้างหุ้นส่วนหรือบริษัทนั้นได้เลิกกันแล้วและให้ผู้เป็นเจ้าหนี้ทั้งหลายยื่นคำทวงหนี้แก่
ผู้ชำระบัญชี”
มาตรา ๑๙ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นหมวด ๖ การถอนทะเบียนห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน
ห้างหุ้นส่วนจำกัด และบริษัทจำกัดร้าง มาตรา ๑๒๗๓/๑ มาตรา ๑๒๗๓/๒ มาตรา ๑๒๗๓/๓
และมาตรา ๑๒๗๓/๔ ในลักษณะ ๒๒ หุ้นส่วนและบริษัท แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
“หมวด ๖
การถอนทะเบียนห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน
ห้างหุ้นส่วนจำกัด และบริษัทจำกัดร้าง
มาตรา ๑๒๗๓/๑ เมื่อใดนายทะเบียนมีมูลเหตุอันควรเชื่อว่าห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน
ห้างหุ้นส่วนจำกัด หรือบริษัทจำกัดใด มิได้ทำการค้าขายหรือประกอบการงานแล้ว ให้นายทะเบียน
มีหนังสือส่งทางไปรษณีย์ตอบรับไปยังห้างหุ้นส่วนหรือบริษัท เพื่อสอบถามว่ายังทำการค้าขายหรือ
ประกอบการงานอยู่หรือไม่ และแจ้งว่าหากมิได้รับคำตอบภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ส่งหนังสือ
จะได้โฆษณาในหนังสือพิมพ์เพื่อขีดชื่อห้างหุ้นส่วนหรือบริษัทนั้นออกเสียจากทะเบียน
ถ้านายทะเบียนได้รับคำตอบจากห้างหุ้นส่วนหรือบริษัทนั้นว่า ห้างหุ้นส่วนหรือบริษัทมิได้ทำ
การค้าขายหรือประกอบการงานแล้วหรือมิได้รับคำตอบภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ส่งหนังสือ
ให้นายทะเบียนโฆษณาในหนังสือพิมพ์แห่งท้องที่อย่างน้อยหนึ่งคราวและส่งหนังสือบอกกล่าวทาง
ไปรษณีย์ตอบรับไปยังห้างหุ้นส่วนหรือบริษัทว่า เมื่อพ้นเวลาเก้าสิบวันนับแต่วันที่ส่งหนังสือบอกกล่าว
ห้างหุ้นส่วนหรือบริษัทนั้นจะถูกขีดชื่อออกจากทะเบียน เว้นแต่จะแสดงเหตุให้เห็นเป็นอย่างอื่น
มาตรา ๑๒๗๓/๒ ในกรณีที่ห้างหุ้นส่วนหรือบริษัทเลิกกันแล้วและอยู่ระหว่างการชำระบัญชี
หากนายทะเบียนมีมูลเหตุอันควรเชื่อว่าไม่มีตัวผู้ชำระบัญชีทำการอยู่ หรือการงานของห้างหุ้นส่วนหรือ
บริษัทได้ชำระสะสางตลอดแล้ว แต่ผู้ชำระบัญชีมิได้ทำรายงานการชำระบัญชี หรือมิได้ยื่นจดทะเบียน
เสร็จการชำระบัญชีต่อนายทะเบียน ให้นายทะเบียนมีหนังสือส่งทางไปรษณีย์ตอบรับไปยังห้างหุ้นส่วน
หรือบริษัท และผู้ชำระบัญชี ณ สถานที่อันปรากฏเป็นสำนักงานสุดท้าย แจ้งให้ดำเนินการเพื่อให้มี
ตัวผู้ชำระบัญชี หรือยื่นรายงานการชำระบัญชี หรือจดทะเบียนเสร็จการชำระบัญชี แล้วแต่กรณี และ
แจ้งว่าหากมิได้ดำเนินการดังกล่าวภายในระยะเวลาหนึ่งร้อยแปดสิบวันนับแต่วันที่ส่งหนังสือนั้นแล้ว
จะได้โฆษณาในหนังสือพิมพ์เพื่อขีดชื่อห้างหุ้นส่วนหรือบริษัทนั้นออกเสียจากทะเบียน
ถ้าห้างหุ้นส่วนหรือบริษัท หรือผู้ชำระบัญชีมิได้ดำเนินการภายในกำหนดเวลาตามวรรคหนึ่ง
ให้นายทะเบียนโฆษณาในหนังสือพิมพ์แห่งท้องที่อย่างน้อยหนึ่งคราว และส่งหนังสือบอกกล่าวทาง
ไปรษณีย์ตอบรับไปยังห้างหุ้นส่วนหรือบริษัทและผู้ชำระบัญชีว่าเมื่อพ้นกำหนดเวลาเก้าสิบวันนับแต่
วันที่ส่งหนังสือบอกกล่าว ห้างหุ้นส่วนหรือบริษัทนั้นจะถูกขีดชื่อออกจากทะเบียน เว้นแต่จะแสดงเหตุ
ให้เห็นเป็นอย่างอื่น
มาตรา ๑๒๗๓/๓ เมื่อสิ้นกำหนดเวลาตามที่แจ้งในหนังสือบอกกล่าวตามมาตรา ๑๒๗๓/๑
หรือมาตรา ๑๒๗๓/๒ แล้ว และห้างหุ้นส่วนหรือบริษัท หรือผู้ชำระบัญชีมิได้แสดงเหตุให้เห็นเป็น
อย่างอื่น นายทะเบียนจะขีดชื่อห้างหุ้นส่วนหรือบริษัทนั้นออกเสียจากทะเบียนก็ได้ ในการนี้
ให้ห้างหุ้นส่วนหรือบริษัทนั้นสิ้นสภาพนิติบุคคลตั้งแต่เมื่อนายทะเบียนขีดชื่อห้างหุ้นส่วนหรือบริษัทออก
เสียจากทะเบียน แต่ความรับผิดของหุ้นส่วนผู้จัดการ ผู้เป็นหุ้นส่วน กรรมการ ผู้จัดการ และผู้ถือหุ้น
มีอยู่เท่าไรก็ให้คงมีอยู่อย่างนั้นและพึงเรียกบังคับได้เสมือนห้างหุ้นส่วนหรือบริษัทนั้นยังมิได้สิ้นสภาพ
นิติบุคคล
มาตรา ๑๒๗๓/๔ ถ้าห้างหุ้นส่วน ผู้เป็นหุ้นส่วน บริษัท ผู้ถือหุ้น หรือเจ้าหนี้ใด ๆ ของ
ห้างหุ้นส่วนหรือบริษัทนั้นรู้สึกว่าต้องเสียหายโดยไม่เป็นธรรมเพราะการที่ห้างหุ้นส่วนหรือบริษัทถูก
ขีดชื่อออกจากทะเบียน เมื่อห้างหุ้นส่วน ผู้เป็นหุ้นส่วน บริษัท ผู้ถือหุ้นหรือเจ้าหนี้ยื่นคำร้องต่อศาล
และศาลพิจารณาได้ความเป็นที่พอใจว่าในขณะที่ขีดชื่อห้างหุ้นส่วนหรือบริษัทออกจากทะเบียน
ห้างหุ้นส่วนหรือบริษัทยังทำการค้าขายหรือยังประกอบการงานอยู่ หรือเห็นเป็นการยุติธรรมในการที่
จะให้ห้างหุ้นส่วนหรือบริษัทได้กลับคืนสู่ทะเบียนก็ดี ศาลจะสั่งให้จดชื่อห้างหุ้นส่วนหรือบริษัทกลับคืน
เข้าสู่ทะเบียนก็ได้ และให้ถือว่าห้างหุ้นส่วนหรือบริษัทนั้นยังคงอยู่ตลอดมาเสมือนมิได้มีการขีดชื่อ
ออกเลย โดยศาลจะสั่งและวางข้อกำหนดไว้เป็นประการใด ๆ ตามที่เห็นเป็นการยุติธรรมด้วยก็ได้
เพื่อให้ห้างหุ้นส่วนหรือบริษัทและบรรดาบุคคลอื่น ๆ กลับคืนสู่ฐานะอันใกล้ที่สุดกับฐานะเดิมเสมือน
ห้างหุ้นส่วนหรือบริษัทนั้นมิได้ถูกขีดชื่อออกจากทะเบียนเลย
การร้องขอให้ห้างหุ้นส่วนหรือบริษัทกลับคืนสู่ทะเบียน ห้ามมิให้ร้องขอเมื่อพ้นกำหนดสิบปี
นับแต่วันที่นายทะเบียนขีดชื่อห้างหุ้นส่วนหรือบริษัทออกจากทะเบียน”

ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ
พลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์
นายกรัฐมนตรี

หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ โดยที่ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
บรรพ ๓ ลักษณะ ๒๒ ว่าด้วยหุ้นส่วนและบริษัทใช้บังคับมาเป็นเวลานาน บทบัญญัติบางมาตราสร้างภาระ
โดยไม่จำเป็นแก่ประชาชนและก่อให้เกิดความยุ่งยาก ซ้ำซ้อน และความล่าช้าต่อการปฏิบัติหน้าที่ของ
ส่วนราชการ นอกจากนี้ ยังเป็นอุปสรรคต่อการเสริมสร้างศักยภาพในการแข่งขันของประเทศอีกด้วย
ดังนั้น เพื่อขจัดปัญหาและอุปสรรคดังกล่าวและเพื่อให้การดำเนินกิจการค้าในรูปแบบของห้างหุ้นส่วนและบริษัท
มีความคล่องตัวมากยิ่งขึ้น จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้

ดูกฎหมายฉบับทางการ http://excelwb.files.wordpress.com/2008/04/18-2551.pdf

รับทำบัญชี ปิดงบรายเดือน รายปี รับทำบัญชีเงินเดือนค่าแรง



รายละเอียดบริการของสำนักงานบัญชี

  • รับจดทะเบียนพาณิชย์ รับจดทะเบียนบริษัท ห้างฯ รับจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ขอเลขประจำตัวผู้เสียภาษี
  • รับทำบัญชี ด้วยโปรแกรมบัญชีสำเร็จรูป ปิดงบรายเดือน รายปี นำส่งงบต่อกระทรวงพาณิชย์ ยื่นแบบส่งกรมสรรพากร ได้แก่ แบบนำส่งภาษีหัก ณ ที่จ่าย (ภงด.1, 3, 53) รายงานภาษีมูลค่าเพิ่ม-ภาษีธุรกิจเฉพาะ (ภพ.30, 36), แบบนำส่งภาษีเงินได้นิติบุคคลครึ่งปี และทั้งปี (ภงด.50, 51)
  • รับทำบัญชีเงินเดือน-ค่าแรง (เต็มรูป) (Payroll Outsource Service) ได้แก่ คำนวณเงินเดือน-ค่าแรง ค่าล่วงเวลา เบี้ยขยัน ค่ากะ ค่าพาหนะ รายได้อื่น รายการหักอื่นๆ, พิมพ์ Slip, ส่งแผ่น Disk ให้ธนาคาร, ส่งแผ่นให้กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ (ถ้า​มี), ส่งแผ่นประกันสังคม, นำส่งเงินภาษีตาม ภงด.1 ยื่นแบบส่งเงินสมทบประกันสังคม สปส.1-10 แบบ สปส.1-03, 1-03/1 และสิ้นปียื่นแบบ ภงด.1ก และแบบ 90,91
  • รับวางระบบบัญชีสำหรับโปรแกรม Express จัดทำรายงานพิเศษอื่นๆ ตามต้องการ จัดทำระบบเอกสาร ขั้นตอนการทำงาน
  • ให้คำปรึกษางานด้านบัญชี ระบบบัญชี ภาษีอากร และประกันสังคม ฟรี



สำนักงานบัญชี เอ็คเซล
Tel.089-890-2929, 02-914-7860 
Fax.02-914-7861
email: kiatchai@hotmail.co.th

ดูแผนที่ คลิ๊กที่นี่


สำนักงานบัญชี รามอินทรา รามคำแหง เสรีไทย สุวินทวงศ์

แนะนำสำนักงานบัญชี รับทำบัญชี รับทำเงินเดือน รับจดทะเบียนบริษัท

บริการรับทำบัญชี รับทำเงินเดือน ราคาพิเศษสำหรับลูกค้าที่อยู่ในเขต ลาดกระบัง สะพานสูง คันนายาว คลองสามวา หนองจอก ลำลูกกา หรือถนน ร่มเกล้า สุวินทวงศ์ รามอินทรา เสรีไทย รามคำแหง

การรับรองคุณภาพสำนักงานบัญชี

ประกาศกรมพัฒนาธุรกิจการค้า
เรื่อง หลักเกณฑ์และเงื่อนไขในการรับรองคุณภาพสำนักงานบัญชี
พ.ศ. 2550
---------------------------------------
เพื่อส่งเสริมให้ผู้ประกอบธุรกิจสำนักงานบัญชีมีการปฏิบัติงานที่มีคุณภาพและเป็นที่น่าเชื่อถือ กรมพัฒนาธุรกิจการค้า จึงได้กำหนดให้มีการออกหนังสือรับรองคุณภาพให้แก่สำนักงานบัญชี ที่ผ่านการตรวจประเมินการปฏิบัติตามข้อกำหนดการรับรองคุณภาพสำนักงานบัญชี และกำหนดหลักเกณฑ์และเงื่อนไขในการรับรองคุณภาพสำนักงานบัญชีไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ 1 ในประกาศนี้
"สำนักงานบัญชี" หมายถึง สำนักงานที่มีการให้บริการด้านการทำบัญชี ไม่ว่าจะจัดตั้งในรูปของนิติบุคคล คณะบุคคล หรือบุคคลธรรมดา
"ผู้ทำบัญชี" หมายถึง ผู้ทำบัญชีตามพระราชบัญญัติการบัญชี พ.ศ. 2543 ที่สังกัดในสำนักงานบัญชี
"ผู้ช่วยผู้ทำบัญชี" หมายถึง ผู้ช่วยของผู้ทำบัญชีที่สังกัดในสำนักงานบัญชี
"ข้อกำหนดการรับรองคุณภาพสำนักงานบัญชี" หมายถึง ข้อกำหนดการรับรองคุณภาพสำนักงานบัญชีที่แนบท้ายประกาศนี้และที่จะมีการแก้ไขเพิ่มเติมต่อไป
"หนังสือรับรอง" หมายถึง หนังสือรับรองคุณภาพสำนักงานบัญชีที่กรมพัฒนาธุรกิจการค้าออกให้แก่สำนักงานบัญชีที่ผ่านการตรวจประเมินตามข้อกำหนดการรับรองคุณภาพสำนักงานบัญชี
"กรม" หมายถึง กรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์
"อธิบดี" หมายถึง อธิบดีกรมพัฒนาธุรกิจการค้า

ข้อ 2 สำนักงานบัญชีที่จะยื่นคำขอรับหนังสือรับรองต้องมีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้ามดังต่อไปนี้
(1) รับทำบัญชีของผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชี ตามมาตรา 8 วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติการบัญชี พ.ศ. 2543 ไม่น้อยกว่า 30 ราย
(2) หัวหน้าสำนักงานต้องมีคุณวุฒิไม่ต่ำกว่าปริญญาตรีทางการบัญชี ปฏิบัติงานเต็มเวลา มีประสบการณ์ด้านการทำบัญชีมาแล้วไม่น้อยกว่า 5 ปี และต้องแจ้งการเป็นผู้ทำบัญชีต่อกรมไว้แล้ว - 2 -
(3) มีผู้ช่วยผู้ทำบัญชีที่มีคุณวุฒิไม่ต่ำกว่าปริญญาตรีทางการบัญชีและปฏิบัติงานเต็มเวลาอย่างน้อย 1 คน
(4) มีเลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากร
(5) ประกอบธุรกิจสำนักงานบัญชีมาแล้วเป็นเวลาไม่น้อยกว่า 1 ปี
(6) ไม่เคยถูกเพิกถอนหนังสือรับรอง เว้นแต่พ้นมาแล้วไม่น้อยกว่า 2 ปี
(7) ไม่เคยฝ่าฝืนเงื่อนไขที่กำหนดใน ข้อ 8 (6) และ (7) เว้นแต่พ้นมาแล้วไม่น้อยกว่า 1 ปี
(8) หัวหน้าสำนักงานต้องไม่เป็นบุคคลล้มละลาย
(9) ในกรณีที่สำนักงานบัญชีจัดตั้งในรูปคณะบุคคลหรือนิติบุคคล ผู้เป็นหุ้นส่วนหรือกรรมการ แล้วแต่กรณี ซึ่งเป็นผู้รับผิดชอบงานด้านการให้บริการรับทำบัญชีต้องมีคุณสมบัติตาม (2) และ(8) ด้วย
ข้อ 3 การยื่นคำขอรับหนังสือรับรองให้ใช้แบบ ร.สบ.1 ที่แนบท้ายประกาศฉบับนี้พร้อมกับแนบเอกสารหลักฐานตามที่กำหนดไว้ในแบบ ร.สบ.1 และยื่นต่อสำนักกำกับดูแลธุรกิจ กรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์
ข้อ 4 ในกรณีสำนักงานบัญชีมีสำนักงานหลายแห่งแยกต่างหากจากกันให้แยกคำขอของแต่ละสำนักงานที่ประสงค์จะขอหนังสือรับรอง โดยสำนักงานแต่ละแห่งที่ยื่นคำขอจะต้องมีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้ามตามที่กำหนดใน ข้อ 2 (1) (2) (3) (5) (6) (7) และ (8)
ข้อ 5 สำนักงานบัญชีที่ยื่นคำขอรับหนังสือรับรองต้องรับการตรวจประเมินคุณภาพจากหน่วยงานที่กรมกำหนด ดังนี้
(1) สถาบันรับรองมาตรฐานไอเอสโอ (สรอ.) หรือ
(2) สถาบันหรือหน่วยงานอื่นที่อธิบดีให้ความเห็นชอบ
ทั้งนี้ สำนักงานบัญชีเป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่ายในการตรวจประเมินทุกครั้งตามอัตราที่หน่วยงานผู้ตรวจประเมินเรียกเก็บ
ข้อ 6 สำนักงานบัญชีที่ผ่านการตรวจประเมินตามข้อกำหนดการรับรองคุณภาพสำนักงานบัญชีแล้วจะได้รับหนังสือรับรอง และกรมจะเผยแพร่ชื่อและที่ตั้งของสำนักงานบัญชีดังกล่าวให้สาธารณชนทราบ
ข้อ 7 หนังสือรับรองมีกำหนดอายุ 3 ปี นับแต่วันที่ออกหนังสือรับรอง
สำนักงานบัญชีที่จะขอต่ออายุหนังสือรับรองต้องมีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้ามตามที่กำหนดใน ข้อ 2 (2) (3) (4) (5) (6) (7) (8) และ (9)
การยื่นคำขอต่ออายุหนังสือรับรองให้ใช้แบบ ร.สบ.2 ที่แนบท้ายประกาศฉบับนี้พร้อมกับแนบเอกสารหลักฐานตามที่กำหนดไว้ในแบบ ร.สบ.2 และยื่นต่อสำนักกำกับดูแลธุรกิจ กรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์ ภายใน 90 วัน ก่อนวันที่หนังสือรับรองสิ้นอายุ - 3 -
ข้อ 8 สำนักงานบัญชีที่ได้รับหนังสือรับรอง มีหน้าที่ต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขดังต่อไปนี้
(1) ต้องปฏิบัติตามข้อกำหนดการรับรองคุณภาพสำนักงานบัญชีตลอดระยะเวลาที่ได้รับการรับรอง ซึ่งรวมถึงในกรณีที่มีการแก้ไขเปลี่ยนแปลงข้อกำหนดในภายหลังด้วย
(2) ต้องรับการตรวจประเมินคุณภาพปีละ 1 ครั้ง ซึ่งอาจเป็นการตรวจประเมินใหม่ทั้งหมดหรือเพียงบางส่วนตามความเหมาะสม
(3) ต้องไม่นำหนังสือรับรองไปใช้ในทางที่ทำให้เกิดความเสื่อมเสียต่อกรม หรือนำไปใช้อ้างอิงต่อบุคคลอื่นในลักษณะที่ก่อให้เกิดความเข้าใจผิด
(4) ให้ความร่วมมือกับผู้ตรวจประเมินทุกครั้ง และยินยอมให้หน่วยงานอื่นที่กรมเห็นสมควรให้เข้าร่วมสังเกตการณ์การตรวจประเมนได้ รวมทั้งต้องส่งมอบเอกสารหลักฐานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการรับรองคุณภาพที่เป็นปัจจุบันให้แก่กรมและผู้ตรวจประเมิน เมื่อได้รับการร้องขอ
(5) ในกรณีที่ประสงค์จะยกเลิกการรับรองคุณภาพสำนักงานบัญชีหรือเลิกประกอบกิจการด้านการทำบัญชี ต้องแจ้งเป็นหนังสือให้กรมทราบล่วงหน้าไม่น้อยกว่า 90 วัน โดยใช้แบบ ร.สบ.3 ที่แนบท้ายประกาศฉบับนี้พร้อมกับแนบเอกสารหลักฐานตามที่กำหนดไว้ในแบบ ร.สบ.3
(6) ในกรณีที่ถูกเพิกถอนหนังสือรับรองหรือมีการแจ้งขอยกเลิกการรับรอง หรือเลิกประกอบกิจการด้านการทำบัญชีจะต้องส่งคืนหนังสือรับรองให้แก่กรมภายใน 15 วัน นับแต่วันที่ทราบคำสั่งหรือวันยกเลิกการรับรองหรือวันเลิกประกอบกิจการ แล้วแต่กรณี
(7) ในกรณีที่ถูกพักใช้ หรือเพิกถอนหนังสือรับรอง หรือมีการแจ้งขอยกเลิกการรับรองหรือเลิกประกอบกิจการด้านการทำบัญชี ต้องยุติการใช้สิ่งพิมพ์ สื่อโฆษณา ที่มีการอ้างอิงถึงการได้รับการรับรองคุณภาพสำนักงานบัญชี
(8) ต้องจัดทำและเก็บรักษารายการบันทึกข้อร้องเรียนที่เกี่ยวข้องกับข้อกำหนดการรับรองคุณภาพสำนักงานบัญชีรวมทั้งผลการดำเนินการกับข้อร้องเรียนทั้งหมด และต้องส่งมอบเอกสารดังกล่าวให้แก่กรมหรือผู้ตรวจประเมิน เมื่อได้รับการร้องขอ
ข้อ 9 ในกรณีที่มีการย้ายที่ตั้งสำนักงานหรือมีการเปลี่ยนแปลงในสำนักงานที่เป็นสาระสำคัญ เช่น การโอนกิจการ การเปลี่ยนแปลงผู้บริหารระดับสูง เป็นต้น สำนักงานบัญชีที่ได้รับหนังสือรับรองจะต้องแจ้งการย้ายหรือการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวต่อกรมภายใน 30 วันนับแต่วันที่ย้ายหรือวันที่มีการเปลี่ยนแปลงแล้วแต่กรณี โดยใช้แบบ ร.สบ.3 ที่แนบท้ายประกาศฉบับนี้พร้อมกับแนบเอกสารหลักฐานตามที่กำหนดไว้ในแบบ ร.สบ.3 และในกรณีดังกล่าวสำนักงานบัญชีจะต้องรับการตรวจประเมินคุณภาพใหม่ซึ่งอาจตรวจประเมินเพียงบางส่วนตามความเหมาะสมซึ่งเมื่อผ่านการตรวจประเมินแล้ว กรมจะออกหนังสือรับรองฉบับใหม่ให้โดยหนังสือรับรองฉบับใหม่มีอายุเท่ากับหนังสือรับรองฉบับเดิม
ข้อ 10 กรมอาจกำหนดให้มีการตรวจประเมินเพิ่มเติมหรือตรวจประเมินใหม่ทั้งหมดโดยไม่แจ้งให้สำนักงานบัญชีที่ได้รับหนังสือรับรองทราบล่วงหน้าได้ เมื่อมีเหตุดังต่อไปนี้ - 4 -
(1) มีเหตุที่น่าเชื่อว่าคุณภาพของสำนักงานบัญชีลดลง ไม่เป็นไปตามข้อกำหนดการรับรองคุณภาพสำนักงานบัญชี
(2) มีการเปลี่ยนแปลงในสำนักงานที่เป็นสาระสำคัญและมีผลต่อการดำเนินงานของสำนักงานบัญชีที่ได้รับหนังสือรับรอง
(3) มีการร้องเรียนว่า สำนักงานบัญชีที่ได้รับหนังสือรับรองปฏิบัติไม่เป็นไปตามข้อกำหนดการรับรองคุณภาพสำนักงานบัญชีและกรมพิจารณาเห็นว่าข้อร้องเรียนนั้นมีมูล
ข้อ 11 กรมอาจมีคำสั่งให้พักใช้หรือเพิกถอนหนังสือรับรองได้ ในกรณีดังต่อไปนี้
(1) หัวหน้าสำนักงานหรือผู้เป็นหุ้นส่วนหรือกรรมการ แล้วแต่กรณี เป็นบุคคลล้มละลายถูกห้ามประกอบวิชาชีพบัญชีหรือถูกเพิกถอนสมาชิกภาพจากสภาวิชาชีพบัญชี
(2) ไม่ปฏิบัติหรือปฏิบัติผิดเงื่อนไขที่กำหนดใน ข้อ 8 (1) (2) (3) (4) และ (8)
(3) กรณีอื่น ๆ ที่กรมพิจารณาแล้วเห็นว่าสำนักงานบัญชีอาจกระทำให้เกิดความเสียหายหรือมีผลกระทบต่อการรับรองคุณภาพสำนักงานบัญชี
ข้อ 12 การพักใช้หนังสือรับรองครั้งหนึ่งให้มีกำหนดระยะเวลาไม่น้อยกว่า 90 วัน และไม่เกิน 180 วัน
ข้อ 13 สำนักงานบัญชีที่ได้รับหนังสือรับรองรายใดถูกสั่งพักใช้หนังสือรับรองแล้ว หากมีเหตุที่กรมอาจสั่งพักหรือเพิกถอนหนังสือรับรองตาม ข้อ 11 ซ้ำอีก ภายในกำหนดระยะเวลา 3 ปี นับแต่วันถูกสั่งพักใช้หนังสือรับรองครั้งแรก กรมจะเพิกถอนหนังสือรับรอง
ข้อ 14 ในกรณีที่หนังสือรับรองชำรุด หรือสูญหาย หรือมีการเปลี่ยนชื่อสำนักงานบัญชี สำนักงานบัญชีอาจยื่นคำขอให้กรมออกใบแทนหนังสือรับรองให้ได้
ประกาศ ณ วันที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2550
คณิสสร นาวานุเคราะห์
(นายคณิสสร นาวานุเคราะห์)นายคณิสสร นาวานุเคราะห์าวานุเคราะห์
อธิบดีกรมพัฒนาธุรกิจการค้า
(เอกสารแนบท้าย ประกาศกรมพัฒนาธุรกิจการค้า เรื่อง หลักเกณฑ์และเงื่อนไขในการรับรองคุณภาพสำนักงานบัญชี พ.ศ. 2550)
ข้อกำหนดการรับรองคุณภาพสำนักงานบัญชี
สารบัญ
หน้าที่
บทนำ 1
1. คำนิยาม 1
2. องค์ประกอบของระบบคุณภาพสำนักงานบัญชี 2
3. ความรับผิดชอบของผู้บริหารของสำนักงานบัญชี 3
4. ข้อกำหนดทางด้านจรรยาบรรณของสำนักงานบัญชี 4
5. กระบวนการที่เกี่ยวข้องกับลูกค้าของสำนักงานบัญชี 8
6. การจัดการทรัพยากรของสำนักงานบัญชี 8
7. การปฏิบัติงานของสำนักงานบัญชี 9
8. การติดตาม ตรวจสอบ ของสำนักงานบัญชี 9
9. การจัดการเอกสารของสำนักงานบัญชี 9
ภาคผนวก 10
บทนำ
1. วัตถุประสงค์ของข้อกำหนดการรับรองคุณภาพสำนักงานบัญชีนี้เพื่อใช้เป็นหลักเกณฑ์ในการกำกับและพัฒนาสำนักงานบัญชีให้มีการจัดทำบัญชีให้แก่ผู้ประกอบธุรกิจและของตนเองเป็นไปตามกฎหมายและมาตรฐานการบัญชี และเพื่อพัฒนาและยกระดับสำนักงานบัญชีให้มีมาตรฐานเดียวกันและเป็นที่ยอมรับ
2. มาตรฐานที่ใช้เพิ่มเติมในข้อกำหนดการรับรองคุณภาพสำนักงานบัญชี เป็นแนวทางที่ใช้ในการควบคุมคุณภาพเฉพาะสำนักงานบัญชีที่ประสงค์จะรับการรับรองคุณภาพ ซึ่งประยุกต์มาจากการควบคุมคุณภาพมาตรฐานสากล 1 (International Standard on Quality Control (ISQC) 1) และมาตรฐาน มอก. 9001 ระบบบริหารงานคุณภาพ
3. สำนักงานบัญชีควรกำหนดรูปแบบระบบการควบคุมคุณภาพที่เหมาะสมแก่สำนักงานบัญชีเพื่อแสดงว่าสำนักงานบัญชีดำเนินการตามข้อกำหนดการรับรองคุณภาพสำนักงานบัญชี
4. ข้อกำหนดการรับรองคุณภาพสำนักงานบัญชีสามารถนำไปใช้ได้กับทุกสำนักงานบัญชี
1. คำนิยาม
ระบบคุณภาพสำนักงานบัญชี หมายถึง ระบบที่มีการกำหนดนโยบายและวัตถุประสงค์ และการดำเนินการให้บรรลุวัตถุประสงค์ เพื่อกำหนดทิศทางและควบคุมองค์กรในเรื่องคุณภาพด้านการจัดทำบัญชีให้เป็นไปตามกฎหมายและ
มาตรฐานการบัญชี - 2 -
สำนักงานบัญชี หมายถึง สำนักงานที่ให้บริการด้านการทำบัญชี ซึ่งสำนักงานบัญชีอาจจัดตั้งในรูปแบบบุคคลธรรมดา คณะบุคคล หรือนิติบุคคลก็ได้ โดยหัวหน้าสำนักงาน หรือผู้เป็นหุ้นส่วน หรือเป็นกรรมการแล้วแต่กรณี ซึ่งเป็นผู้รับผิดชอบงานด้านการให้บริการรับทำบัญชีในสำนักงานอย่างน้อย 1 คน ต้องมีคุณวุฒิไม่ต่ำกว่าปริญญาตรีทางการบัญชี ปฏิบัติงานเต็มเวลาและแจ้งการเป็นผู้ทำบัญชีต่อกรมไว้แล้ว และมีผู้ช่วยผู้ทำบัญชีที่มีคุณวุฒิไม่ต่ำกว่าปริญญาตรีทางการบัญชี
อย่างน้อย 1 คนปฏิบัติงานเต็มเวลาสังกัดอยู่
ผู้ทำบัญชี หมายถึง ผู้ทำบัญชีตามพระราชบัญญัติการบัญชี พ.ศ. 2543 ที่สังกัดในสำนักงานบัญชี
ผู้ช่วยผู้ทำบัญชี หมายถึง ผู้ช่วยของผู้ทำบัญชีตามพระราชบัญญัติการบัญชี พ.ศ. 2543 ที่สังกัดในสำนักงานบัญชี
ผู้ที่เกี่ยวข้องกับผู้ทำบัญชี หมายถึง
- ผู้ช่วยผู้ทำบัญชีที่มีส่วนสำคัญต่อการใช้ดุลยพินิจในการปฏิบัติงาน
- ผู้ถือหุ้นหรือหุ้นส่วนในสำนักงานบัญชี
- คู่สมรสและบุตรที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะของผู้ทำบัญชี
- คู่สมรสและบุตรที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะของผู้ช่วยผู้ทำบัญชีที่มีส่วนสำคัญต่อการใช้ดุลยพินิจในการปฏิบัติงาน
- คู่สมรสและบุตรที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะของผู้ถือหุ้นหรือหุ้นส่วนในสำนักงานบัญชี
- สำนักงานบัญชี
- บริษัทใหญ่ บริษัทย่อย บริษัทร่วม ของสำนักงานบัญชี
ผู้บริหารระดับสูง หมายถึง ผู้ที่มีอำนาจสูงสุดในหน่วยงานที่ให้บริการด้านการจัดทำบัญชี
2. องค์ประกอบของระบบคุณภาพสำนักงานบัญชี
2.1 ระบบคุณภาพของสำนักงานบัญชีประกอบด้วยนโยบายและกระบวนการของแต่ละปัจจัยสำคัญซึ่งประกอบด้วย
2.1.1 ความรับผิดชอบของผู้บริหารของสำนักงานบัญชี
2.1.2 ข้อกำหนดทางด้านจรรยาบรรณของสำนักงานบัญชี
2.1.3 กระบวนการที่เกี่ยวข้องกับลูกค้าของสำนักงานบัญชี
2.1.4 การจัดการทรัพยากรของสำนักงานบัญชี
2.1.5 การปฏิบัติงานของสำนักงานบัญชี
2.1.6 การติดตาม ตรวจสอบ ของสำนักงานบัญชี
2.1.7 การจัดการเอกสารของสำนักงานบัญชี
2.2 นโยบายคุณภาพและกระบวนการต้องจัดทำเป็นลายลักษณ์อักษรและให้เหมาะสมกับสำนักงานบัญชี และ
สื่อสารให้แก่เจ้าหน้าที่ภายในสำนักงานบัญชีอย่างทั่วถึง - 3 -
3. ความรับผิดชอบของผู้บริหารของสำนักงานบัญชี
3.1 ความมุ่งมั่นของผู้บริหาร
ผู้บริหารระดับสูงต้องแสดงหลักฐานความมุ่งมั่น ในการพัฒนาและการนำระบบคุณภาพสำนักงานบัญชีไปปฏิบัติ
รวมทั้งการปรับปรุงประสิทธิผลอย่างต่อเนื่องโดย
- สื่อสารภายในสำนักงานบัญชีถึงความสำคัญในการดำเนินการตามมาตรฐานการบัญชีในด้านการจัดทำบัญชี และจรรยาบรรณ ความต้องการของลูกค้า กฎระเบียบ และกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับวิชาชีพบัญชี
- กำหนดนโยบายคุณภาพ
- จัดทำแผนธุรกิจ
- ติดตาม ตรวจสอบ
- จัดสรรทรัพยากรให้เพียงพอ
3.2 การให้ความสำคัญแก่ลูกค้า
ผู้บริหารระดับสูงต้องทำให้มั่นใจว่าความต้องการของลูกค้าได้ถูกนำมาพิจารณาและกระทำให้บรรลุผลโดยมุ่งหวัง
ในอันที่จะส่งเสริมความพึงพอใจของลูกค้าและต้องเป็นไปตามข้อกำหนดของกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับวิชาชีพบัญชี มาตรฐานการบัญชี และจรรยาบรรณ
3.3 นโยบายคุณภาพ
ผู้บริหารระดับสูงต้องทำให้มั่นใจว่านโยบายคุณภาพ
- เหมาะสมกับจุดประสงค์ของสำนักงานบัญชี
- มีความมุ่งมั่นที่จะดำเนินการให้เป็นไปตามข้อกำหนดของกฎหมาย มาตรฐานการบัญชี และจรรยาบรรณ และปรับปรุงประสิทธิผลของระบบคุณภาพอย่างต่อเนื่อง
- เป็นกรอบในการจัดทำแผนธุรกิจ
- ได้มีการสื่อสารและเป็นที่เข้าใจภายในสำนักงานบัญชี
- ได้มีการทบทวนให้เหมาะสมตลอดเวลา
3.4 การวางแผนธุรกิจ
สำนักงานบัญชีต้องกำหนดและจัดทำแผนธุรกิจ และแผนการเงินประจำปีเป็นลายลักษณ์อักษร
3.5 ความรับผิดชอบ อานาจหน้าที่ และการสื่อสาร
3.5.1 ความรับผิดชอบและอำนาจหน้าที่
ผู้บริหารระดับสูงต้องมั่นใจว่าได้มีการกำหนดหน้าที่และความรับผิดชอบของพนักงานเป็นลายลักษณ์อักษรและได้ สื่อสารให้ทราบโดยทั่วถึงทั้งสำนักงานบัญชี - 4 -
3.5.2 การสื่อสารภายใน
ผู้บริหารระดับสูงต้องมั่นใจว่ามีการสื่อสารในสำนักงานบัญชีด้วยวิธีการที่เหมาะสม และคำนึงถึงประสิทธิผลของระบบคุณภาพสำนักงานบัญชี
3.5.3 การทบทวนการบริหาร
ผู้บริหารระดับสูงต้องมีการทบทวนการบริหารงานของสำนักงานบัญชีอย่างสม่ำเสมอ และต้องมีการเก็บบันทึกผลการทบทวน
3.6 การให้ความร่วมมือกับภาครัฐ
สำนักงานบัญชีต้องร่วมมือกับภาครัฐในด้านการกำกับดูแลและการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารที่เป็นประโยชน์จากภาครัฐ
สู่ลูกค้า
4. ข้อกำหนดทางด้านจรรยาบรรณของสำนักงานบัญชี
4.1 ความโปร่งใส ความเป็นอิสระ ความเที่ยงธรรม และความซื่อสัตย์สุจริต
ความโปร่งใส หมายถึง การเปิดเผยข้อมูลที่ถูกต้อง ครบถ้วน เพียงพอ เป็นปัจจุบัน สะท้อนภาพที่แท้จริง ภายในเวลา
ที่เหมาะสม ไม่ปกปิดข้อเท็จจริงหรือบิดเบือนความจริงอันเป็นสาระสำคัญ
ความเป็นอิสระ หมายถึง การปฏิบัติงานด้วยความเป็นอิสระ สามารถตัดสินใจโดยไม่อยู่ภายใต้อิทธิพลใด ๆ หรือ
ปัจจัยภายนอกและภายในซึ่งอยู่ภายใต้กรอบวิชาชีพในด้านการจัดทำบัญชีและความเป็นอิสระนั้นต้องเป็นที่ประจักษ์
แก่บุคคลทั่วไป เพื่อให้ผลงานของผู้ประกอบวิชาชีพในด้านการจัดทำบัญชีเป็นที่เชื่อถือได้
ความเที่ยงธรรม หมายถึง ความเป็นกลางในการใช้ดุลยพินิจในการปฏิบัติงาน โดยปราศจากความมีอคติ ความลำเอียง
ความซื่อสัตย์สุจริต หมายถึง การประพฤติตรง จริงใจ ไม่คดโกง ไม่หลอกลวง ปฏิบัติงานตรงตามความเป็นจริง
ไม่แสดงตนว่าได้ปฏิบัติงานถ้าไม่ได้ปฏิบัติจริง ความซื่อตรงต่อวิชาชีพในด้านการจัดทำบัญชี
4.1.1 หลักการพื้นฐาน
ในการปฏิบัติงาน สำนักงานบัญชีต้องรักษาไว้ซึ่งความโปร่งใส ความเป็นอิสระ ความเที่ยงธรรม และความซื่อสัตย์สุจริต เพื่อให้ผลงานเป็นที่เชื่อถือ
4.1.2 ข้อกำหนด
(1) สำนักงานบัญชีต้องปฏิบัติงานด้วยความโปร่งใส ไม่ปกปิดข้อเท็จจริง หรือบิดเบือนความจริงอันเป็นสาระสำคัญ
ในการปฏิบัติงาน ผู้ทำบัญชีต้องมั่นใจว่าข้อมูลที่นำมาใช้ถูกต้อง ครบถ้วน เพียงพอ เป็นปัจจุบัน สะท้อนภาพ ที่แท้จริง เพื่อให้มั่นใจว่างานบริการที่ให้แก่ลูกค้ามีความถูกต้อง
(2) สำนักงานบัญชีต้องไม่รับงานที่ตนขาดความอิสระ
ผู้ทำบัญชีต้องใช้ดุลยพินิจในการรับงาน และต้องถอนตัวจากการให้บริการ หรือหยุดการให้บริการชั่วคราวจนกว่าความสัมพันธ์หรือสถานการณ์ที่กระทบความเป็นอิสระได้ยุติลง (ศึกษากรณีตัวอย่างที่ 1 ประกอบ) - 5 -
(3) สำนักงานบัญชีต้องปฏิบัติงานด้วยความเที่ยงธรรม ตรงไปตรงมา ปราศจากความลำเอียงและอคติ คงไว้ซึ่งความเป็นกลางในการใช้ดุลยพินิจในการปฏิบัติงาน
สำนักงานบัญชีจะสามารถปฏิบัติงานด้วยความเที่ยงธรรม ตรงไปตรงมา ปราศจากความลำเอียงและอคติ
คงไว้ซึ่งความเป็นกลางในการใช้ดุลยพินิจในการปฏิบัติงานได้ ก็ต่อเมื่อสำนักงานบัญชีดำเนินการดังต่อไปนี้
(1) สำนักงานบัญชีมีข้อมูลที่น่าเชื่อถือ จากระบบการจัดเก็บข้อมูลที่น่าเชื่อถือ
(2) สำนักงานบัญชีสามารถควบคุมการให้บริการให้อยู่ในกรอบของจรรยาบรรณของวิชาชีพในด้านการจัดทำบัญชี
สำนักงานบัญชีต้องหลีกเลี่ยงความสัมพันธ์หรือสถานการณ์ใดๆ ที่อาจกดดันให้ผู้ทำบัญชีไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ด้วยความเป็นกลางในการใช้ดุลยพินิจ
(4) สำนักงานบัญชีต้องปฏิบัติงานด้วยความซื่อสัตย์สุจริต ซื่อตรงต่อวิชาชีพในด้านการจัดทำบัญชี
สำนักงานบัญชีต้องปฏิบัติงานด้วยความซื่อสัตย์สุจริต ซื่อตรงต่อวิชาชีพในด้านการจัดทำบัญชี (ศึกษากรณีตัวอย่างที่ 2 ประกอบ)
4.2 ความรู้ความสามารถและมาตรฐานในการปฏิบัติงาน
4.2.1 หลักการพื้นฐาน
ในการปฏิบัติงาน ผู้ทำบัญชีต้องใช้ความรู้ความสามารถและความชำนาญในวิชาชีพในด้านการจัดทำบัญชีด้วยความใส่ใจ เต็มความสามารถ เพื่อที่จะปฏิบัติหน้าที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล และมั่นใจว่าลูกค้าจะได้รับบริการทางวิชาชีพในด้านการจัดทำบัญชี ที่อยู่บนพื้นฐานของกฎเกณฑ์ และเทคนิคที่เกี่ยวข้อง
การที่จะสามารถปฏิบัติงานด้วยความระมัดระวังรอบคอบ ผู้ทำบัญชีต้องวางแผนและควบคุมงานจนสามารถรวบรวมข้อมูลและหลักฐานให้เพียงพอในการปฏิบัติงาน
ผู้ทำบัญชีต้องศึกษาหาความรู้เพิ่มเติมอย่างต่อเนื่องตลอดเวลาที่ประกอบวิชาชีพในด้านการจัดทำบัญชี เพื่อให้มั่นใจได้ว่าลูกค้าจะได้รับประโยชน์จากงานบริการวิชาชีพในด้านการจัดทำบัญชี บนพื้นฐานของการพัฒนากฎเกณฑ์ มาตรฐานในการปฏิบัติงาน และเทคนิคที่เป็นปัจจุบัน
4.2.2 ข้อกำหนด
(1) ผู้ทำบัญชีต้องไม่รับงานที่เกินความรู้ความสามารถของตนที่จะปฏิบัติงานได้
ในการพิจารณารับงาน ผู้ทำบัญชีต้องมีความรู้และประสบการณ์ในธุรกิจของลูกค้า ลักษณะงานบริการที่ลูกค้าต้องการ และมีความสามารถเพียงพอที่จะปฏิบัติงานให้สำเร็จลุล่วงไปได้ด้วยดีและมีประสิทธิภาพตามมาตรฐานการบัญชีที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งสำนักงานบัญชีต้องไม่รับงานในปริมาณมากจนไม่สามารถควบคุมการปฏิบัติงานได้ - 6 -
การที่ผู้ทำบัญชีจะมีความรู้ความสามารถในงานที่รับว่าจะให้บริการ ผู้ทำบัญชีจะต้องมีประสบการณ์และ
การฝึกฝนในการใช้วิจารณญาณการประยุกต์ใช้ความรู้นั้นกับงานที่รับว่าจะให้บริการ หรือผู้ทำบัญชีต้องผ่านการศึกษาการอบรมอย่างต่อเนื่องตลอดเวลาที่ผ่านมา กรณีที่ผู้ทำบัญชีไม่มีความรู้ความสามารถในงานที่จะให้บริการอย่างเพียงพอ ผู้ทำบัญชีต้องศึกษาค้นคว้าสอบถามจากผู้รู้หรือผู้มีประสบการณ์ หรือหาทีมงานที่มีความรู้ความสามารถเพียงพอที่จะปฏิบัติงานได้
ผู้ทำบัญชีต้องไม่แสดงตนว่าเป็นผู้เชี่ยวชาญหรือผู้ที่มีประสบการณ์ในเรื่องที่ตนเองไม่มีความรู้และความสามารถ ในกรณีนี้ผู้ทำบัญชีควรพิจารณาที่จะรับคำแนะนำหรือใช้ผลงานจากผู้เชี่ยวชาญที่มีความถนัดในงานดังกล่าว
(2) ผู้ทำบัญชีต้องปฏิบัติงานด้วยความระมัดระวังรอบคอบ
ผู้ทำบัญชีต้องใช้ความรู้ตามมาตรฐานการบัญชี วิธีปฏิบัติ กฎหมายที่เกี่ยวข้อง ความชำนาญและประสบการณ์ทางวิชาชีพในด้านการจัดทำบัญชี ด้วยความระมัดระวังรอบคอบ
(3) สำนักงานบัญชีต้องควบคุมคุณภาพงานให้ได้มาตรฐานอย่างสม่ำเสมอ
สำนักงานบัญชีควรมีการอบรมและควบคุมคุณภาพงานของผู้ทำบัญชีและผู้ช่วยผู้ทำบัญชีอย่างเหมาะสม สม่ำเสมอ เพื่อให้มั่นใจว่าผลงานการบริการทางวิชาชีพในด้านการจัดทำบัญชีได้มาตรฐาน
(4) ไม่ยินยอมให้ผู้อื่นอ้างว่าตนเป็นผู้ปฏิบัติงาน โดยตนมิได้ปฏิบัติงานหรือควบคุมการปฏิบัติงานนั้น
สำนักงานบัญชีต้องไม่ยินยอมให้ผู้อื่นอ้างชื่อว่าตนเป็นผู้ปฏิบัติหรือควบคุมงานให้บริการทางวิชาชีพในด้านการจัดทำบัญชี โดยที่ตนเองมิได้เป็นผู้ปฏิบัติหรือควบคุมงานให้บริการอย่างแท้จริง
4.3 ความรับผิดชอบต่อผู้รับบริการและการรักษาความลับ
4.3.1 หลักการพื้นฐาน
สำนักงานบัญชีต้องรับผิดชอบต่องานที่ปฏิบัติโดยต้องไม่ละทิ้งงานที่ให้บริการโดยไม่มีเหตุผลอันสมควร
ในการปฏิบัติงาน ผู้ทำบัญชีอาจล่วงรู้หรือได้มาซึ่งข้อมูลใดๆ ที่ต้องถือเป็นความลับของกิจการที่ตนให้บริการ ผู้ทำบัญชีจะต้องไม่นำข้อมูลนั้นไปเปิดเผย ทั้งนี้ รวมถึงการที่ผู้ทำบัญชี ผู้ช่วยผู้ทำบัญชี หรือผู้ร่วมสำนักงานบัญชี
จะต้องไม่นำข้อมูลที่ได้มาในระหว่างการปฏิบัติงานไปใช้หรือเป็นที่ประจักษ์ชัดว่าได้ใช้เพื่อประโยชน์ของตนเอง
หรือเพื่อประโยชน์ของบุคคลภายนอก เว้นแต่กรณีที่ได้รับความยินยอมจากลูกค้าหรือกรณีที่ต้องให้ถ้อยคำตามกฎหมาย รวมทั้งกรณีที่เป็นการเรียกตรวจสอบโดยหน่วยงานกำกับดูแลเพื่อประโยชน์ในการกำกับดูแลและส่งเสริมการประกอบวิชาชีพในด้านการจัดทำบัญชีจึงจะเปิดเผยได้ - 7 -
4.3.2 ข้อกำหนด
(1) สำนักงานบัญชีต้องไม่เปิดเผยความลับของกิจการที่ตนเองได้รู้มาในหน้าที่จากการให้บริการเว้นแต่ได้รับความยินยอมจากลูกค้า ต้องให้ถ้อยคำในฐานะพยานตามกฎหมาย หรือเปิดเผยต่อหน่วยงานที่กำกับดูแล
หน้าที่ในการรักษาความลับนั้นยังคงมีอยู่ถึงแม้ว่าความสัมพันธ์ระหว่างสำนักงานบัญชีและลูกค้าจะสิ้นสุดแล้ว ก็ตามสำนักงานบัญชีต้องควบคุมดูแลผู้ที่เกี่ยวข้องกับผู้ทำบัญชี ไม่ให้นำข้อมูลที่ได้มาในระหว่างการปฏิบัติงานไปใช้หรือเป็นที่ประจักษ์ชัดว่าได้ใช้เพื่อประโยชน์ของตนเอง หรือเพื่อประโยชน์ของบุคคลภายนอก (ศึกษากรณีตัวอย่างที่ 3 ประกอบ)
(2) ไม่ละทิ้งการปฏิบัติงานของสำนักงานบัญชีที่รับไว้แล้วโดยไม่มีเหตุผลอันสมควร
ในกรณีที่สำนักงานบัญชีได้ตกลงรับงานไว้แล้ว ต่อมาไม่ปฏิบัติงานให้สำเร็จตามที่ตกลงไว้และได้ละทิ้งงานไปโดยไม่มีเหตุผลสมควร และไม่ได้แจ้งให้ลูกค้าทราบในเวลาอันสมควร เช่น การแจ้งกระชั้นชิด ถือว่าสำนักงานบัญชี
ขาดความรับผิดชอบต่อลูกค้า และอาจก่อให้เกิดความเสียหายแก่ลูกค้า
4.4 ความรับผิดชอบต่อผู้ถือหุ้น ผู้เป็นหุ้นส่วน หรือบุคคลหรือนิติบุคคลที่สำนักงานบัญชีปฏิบัติหน้าที่
4.4.1 หลักการพื้นฐาน
สำนักงานบัญชีต้องมีความรับผิดชอบต่อผู้ถือหุ้น ผู้เป็นหุ้นส่วน บุคคลหรือนิติบุคคลที่สำนักงานบัญชีปฏิบัติหน้าที่ให้
4.4.2 ข้อกำหนด
สำนักงานบัญชีต้องรับผิดชอบต่อผู้ถือหุ้น ผู้เป็นหุ้นส่วน บุคคลหรือนิติบุคคลที่ผู้ทำบัญชีปฏิบัติหน้าที่
โดยมีพฤติกรรมที่ดีเพื่อชื่อเสียงแห่งวิชาชีพในด้านการจัดทำบัญชีเสมอ และไม่ปฏิบัติตนในลักษณะที่ทำให้เกิด
ความเสื่อมเสียแก่วิชาชีพในด้านการจัดทำบัญชี
4.5 สำนักงานบัญชีต้องไม่ปฏิบัติให้เสื่อมเสียเกียรติศักดิ์แห่งวิชาชีพในด้านการจัดทำบัญชี
4.5.1 หลักการพื้นฐาน
สำนักงานบัญชีต้องปฏิบัติตามกฎหมาย ระเบียบ เพื่อรักษาชื่อเสียงแห่งวิชาชีพ และงดเว้นการกระทำ
ที่จะนำมาสู่การเสื่อมเสียเกียรติศักดิ์แห่งวิชาชีพ
4.5.2 ข้อกำหนด
สำนักงานบัญชีต้องไม่กระทำการในลักษณะที่ทำให้เกิดความเสื่อมเสียแก่วิชาชีพในด้านการทำบัญชี
(ศึกษากรณีตัวอย่างที่ 4 ประกอบ)
4.6 สำนักงานบัญชีต้องปฏิบัติตามจรรยาบรรณที่กำหนดในข้อ 4.1-4.5 และไม่ขัดกับข้อกำหนดแห่งจรรยาบรรณวิชาชีพบัญชี รวมทั้งต้องปฏิบัติเพิ่มเติมตามข้อกำหนดแห่งจรรยาบรรณวิชาชีพบัญชีตามที่สภาวิชาชีพบัญชีกำหนด - 8 -
5. กระบวนการที่เกี่ยวข้องกับลูกค้าของสำนักงานบัญชี
5.1 สำนักงานบัญชีต้องมีการกำหนดหลักเกณฑ์ในการคิดค่าธรรมเนียม
5.2 สำนักงานบัญชีต้องมีการจัดทำสัญญาที่ชัดเจนและได้รับการยอมรับจากลูกค้า
5.3 สำนักงานบัญชีต้องกำหนดระยะเวลาจัดเก็บค่าธรรมเนียมที่ชัดเจน
5.4 สำนักงานบัญชีต้องออกหลักฐานการรับเงินให้กับลูกค้าทุกครั้ง
5.5 ในกรณีที่ลูกค้ามอบหมายให้สำนักงานบัญชีเป็นผู้กระทำการใด ๆ แทน เช่น การนำส่งภาษีของลูกค้า การนำส่งเงินสมทบกองทุนประกันสังคม เป็นต้น สำนักงานบัญชีต้องนำส่งและดำเนินการให้ครบถ้วนตามที่ลูกค้ามอบหมาย
5.6 การดูแลทรัพย์สินของลูกค้า สำนักงานบัญชีต้องมีการจัดทำหลักฐานการส่งมอบและรับมอบทรัพย์สิน รวมถึง
การดูแลรักษา การจัดเก็บทรัพย์สินของลูกค้า ทั้งนี้ต้องไม่นำทรัพย์สินของลูกค้ามาต่อรองเพื่อผลประโยชน์ของสำนักงานบัญชี เช่น การยึดบัญชีและเอกสารของลูกค้าไว้โดยไม่ส่งคืน
6. การจัดการทรัพยากรของสำนักงานบัญชี
6.1 เครื่องมืออุปกรณ์
สำนักงานบัญชีต้องจัดหา และบำรุงรักษาเครื่องมืออุปกรณ์ที่จำเป็นในการทำบัญชีเพื่อให้สามารถปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ และมีการจัดระเบียบเรียบร้อยในสถานที่ทำงาน เพื่อก่อให้เกิดสภาพการทำงานที่ดี ปลอดภัย มีระเบียบเรียบร้อย อันจะนำไปสู่การเพิ่มผลผลิตที่สูงขึ้น เช่น การทำ 5 ส เป็นต้น
6.2 ทรัพยากรบุคคล
6.2.1 บุคลากรในสำนักงานบัญชีต้องมีความรู้ ความสามารถตามตำแหน่งหน้าที่งาน ทั้งนี้ รวมถึงบุคลากรจากภายนอกสำนักงานบัญชีที่เข้ามาปฏิบัติงานกับสำนักงานบัญชีด้วย
6.2.2 ผู้ทำบัญชีต้องมีคุณสมบัติตามพระราชบัญญัติการบัญชี พ.ศ. 2543 และพระราชบัญญัติวิชาชีพบัญชี พ.ศ. 2547
6.2.3 บุคลากรที่บรรจุใหม่หรือโยกย้ายตำแหน่งงานต้องได้รับการชี้แจงหรืออบรมการปฏิบัติงานของตำแหน่งนั้น ๆ ก่อนเริ่มปฏิบัติงาน รวมทั้งสำนักงานบัญชีต้องจัดให้มีการดูแลการปฏิบัติงานอย่างใกล้ชิด เพื่อติดตามการทำงานของบุคลากรในความรับผิดชอบให้มีความเข้าใจในงานที่ปฏิบัติ
6.2.4 บุคลากรในสำนักงานบัญชีต้องได้รับการฝึกอบรมเพิ่มเติมตามสมควรและเป็นไปตามข้อกำหนดของกฎหมาย
6.2.5 บุคลากรในสำนักงานบัญชีต้องได้รับการสื่อสารจากสำนักงานบัญชีในส่วนที่เกี่ยวข้องกับความต้องการ
ของลูกค้า/กฎหมายและกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง
6.2.6 ในกรณีที่ใช้ผู้ทำบัญชีภายนอกสำนักงานบัญชี สำนักงานบัญชีต้องมีมาตรการในการควบคุมผู้ทำบัญชีนั้นให้ปฏิบัติตามข้อกำหนดของกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับวิชาชีพบัญชี มาตรฐานการบัญชี และจรรยาบรรณ - 9 -
7. การปฏิบัติงานของสำนักงานบัญชี
7.1 สำนักงานบัญชีต้องมีการจัดทำบัญชีให้ถูกต้องและเป็นไปตามที่กฎหมายกำหนด
7.2 สำนักงานบัญชีต้องมีคู่มือการปฏิบัติงานของผู้ทำบัญชีและปฏิบัติตามคู่มือนั้น
7.3 สำนักงานบัญชีต้องมีการชี้แจงบุคลากรให้เข้าใจชัดเจนถึงวัตถุประสงค์ของงาน และมีการฝึกอบรมเพิ่มเติมตามความจำเป็น เพื่อให้สามารถปฏิบัติงานได้ตามวัตถุประสงค์
7.4 สำนักงานบัญชีต้องจัดให้มีการกำกับดูแลความคืบหน้าของงาน และคอยแก้ไขปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้นกับงานนั้น
7.5 สำนักงานบัญชีต้องมีการแต่งตั้งและมอบหมายให้มีผู้ทำการทบทวนผลงานรวมทั้งนำไปปรับปรุงแก้ไข ก่อน
ส่งมอบให้กับลูกค้า
8. การติดตาม ตรวจสอบ ของสำนักงานบัญชี
8.1 สำนักงานบัญชีต้องมีกระบวนการในการตรวจสอบการปฏิบัติงานของตนเองตามช่วงเวลาที่เหมาะสม เพื่อให้ทราบถึงผลการปฏิบัติงานว่าเป็นไปตามแผนธุรกิจและข้อกำหนดของกฎหมาย โดยการตรวจสอบนี้จะกระทำโดยตนเองหรือบุคคลภายนอกก็ได้
8.2 หากพบปัญหาจากการติดตาม ตรวจสอบ สำนักงานบัญชีต้องดำเนินการวิเคราะห์หาสาเหตุและกำหนดแนวทาง
แก้ไข เพื่อให้มั่นใจว่าปัญหาดังกล่าวจะไม่เกิดซ้ำ
8.3 สำนักงานบัญชีต้องมีกระบวนการรับเรื่องร้องเรียนของลูกค้า ซึ่งรวมถึงการวิเคราะห์หาสาเหตุ การปฏิบัติการแก้ไขและแจ้งกลับไปยังลูกค้า
8.4 สำนักงานบัญชีต้องบันทึกผลการดำเนินการตามข้อ 8.1-8.3 และต้องเก็บรักษาไว้ตามระยะเวลาที่เหมาะสม
9. การจัดการเอกสารของสำนักงานบัญชี
9.1 สำนักงานบัญชีต้องมีวิธีการในการติดตามกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับวิชาชีพบัญชีให้เป็นปัจจุบัน
9.2 สำนักงานบัญชีต้องจัดเก็บข้อมูลของลูกค้าและของตนเองในลักษณะที่ป้องกันความเสียหาย สูญหาย หรือเสื่อมสภาพ และกำหนดระยะเวลาจัดเก็บตามกฎหมายที่เกี่ยวข้อง
9.3 ในกรณีที่มีการเก็บข้อมูลในรูปของสื่ออิเล็กทรอนิกส์ ต้องมีการสำรองข้อมูลตามรอบระยะเวลาและสถานที่ที่เหมาะสม - 10 -
ภาคผนวก
กรณีตัวอย่างที่ 1
กรณีตัวอย่างที่ถือว่าผู้ทำบัญชีขาดความเป็นอิสระจนทำให้ความเป็นกลางหรือความสงสัยเยี่ยงผู้ประกอบวิชาชีพในด้านการจัดทำบัญชีลดลง เช่น
- ผู้ทำบัญชีและผู้ช่วยผู้ทำบัญชีตกอยู่ภายใต้อิทธิพลของกรรมการ ผู้บริหาร หรือพนักงานของลูกค้า ไม่ว่าด้วยความคุ้นเคยหรือความเกรงใจ หรือด้วยเหตุผลใดก็ตาม และผู้ทำบัญชียอมโอนอ่อนผ่อนตามความต้องการของบุคคลเหล่านั้น ทำให้การปฏิบัติงานไม่เป็นไปตามข้อกำหนด กฎหมาย มาตรฐานการบัญชี และจรรยาบรรณ
- มีการรับของขวัญหรือการรับรอง ในจำนวนที่ทำให้เชื่อได้ว่าจะมีผลต่อการใช้ดุลยพินิจเยี่ยงผู้ทำบัญชี
ที่จะพึงกระทำตามความต้องการของลูกค้า ทั้งนี้ไม่รวมถึงการรับค่าตอบแทนจากการให้บริการทางวิชาชีพในด้านการจัดทำบัญชีนั้น
- การกู้เงินหรือการค้ำประกันโดยลูกค้าที่ให้บริการที่ไม่ใช่ธนาคารหรือสถาบันการเงินในจำนวนที่มีสาระสำคัญ
- ในกรณีที่สำนักงานบัญชีให้บริการด้านการสอบบัญชี ผู้สอบบัญชีต้องมีความเป็นอิสระจากการจัดทำบัญชีรายนั้นๆ
กรณีตัวอย่างที่ 2
กรณีตัวอย่างที่ถือว่าสำนักงานบัญชีไม่ปฏิบัติงานด้วยความซื่อสัตย์สุจริต ซื่อตรงต่อวิชาชีพในด้านการจัดทำบัญชี เช่น
- กระทำการหรือสนับสนุนให้ผู้อื่นกระทำการโดยทุจริต ซ่อนเร้น ปลอมแปลง แก้ไข หรือทำลายเอกสารหลักฐานที่เกี่ยวข้องให้ผิดจากความเป็นจริง
- มีส่วนเข้าไปเกี่ยวข้องกับการจัดทำบัญชีและงบการเงิน หรือการสื่อสารข้อมูลที่เชื่อได้ว่าเป็นข้อมูลที่ผิดพลาด ข้อมูลที่อาจทำให้ผู้อื่นเข้าใจผิด ข้อมูลที่ไม่ชัดเจน ซึ่งอาจทำให้เกิดความเข้าใจผิดได้
- การจงใจให้บริการทางวิชาชีพในด้านการจัดทำบัญชีแก่ลูกค้าที่ดำเนินธุรกรรมผิดกฎหมาย
- 11 -
กรณีตัวอย่างที่ 3
กรณีตัวอย่างดังต่อไปนี้แสดงถึงกรณีที่ผู้ทำบัญชีต้องเปิดเผยข้อมูลที่เป็นความลับตามข้อกำหนดของกฎหมาย เช่น
- การจัดทำเอกสารหรือเตรียมหลักฐานให้แก่กระบวนการทางกฎหมาย
- การเปิดเผยต่อหน่วยงานกำกับดูแลถึงการฝ่าฝืนกฎหมาย
- การเปิดเผยการปฏิบัติงานตามมาตรฐานการบัญชีและข้อกำหนดทางจรรยาบรรณ เพื่อปกป้องวิชาชีพ
ในด้านการจัดทำบัญชีในกระบวนการทางกฎหมาย หรือเพื่อตอบคำถามหรือการสอบสวนของหน่วยงานกำกับดูแล
- การเปิดเผยตามมาตรฐานการบัญชีและข้อกำหนดจรรยาบรรณในการตัดสินใจเปิดเผยข้อมูลที่เป็นความลับนั้น ผู้ทำบัญชีควรพิจารณาประเด็นดังต่อไปนี้
• ส่วนได้เสียของทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง ซึ่งรวมถึงบุคคลที่สาม เนื่องจากส่วนได้เสียของบุคคลเหล่านั้นอาจได้รับผลกระทบ หากมีการเปิดเผยข้อมูลดังกล่าว
• ขอบเขตของข้อเท็จจริงที่ควรเปิดเผย ผู้ทำบัญชีต้องใช้ดุลยพินิจวิชาชีพในด้านการจัดทำบัญชีเพื่อพิจารณาว่าข้อมูลที่เปิดเผยควรมีขอบเขตเพียงใด เช่น ข้อเท็จจริงที่เป็นสาระสำคัญ ข้อมูลที่ไม่สมบูรณ์ หรือการสรุปผล
• ประเภทของการสื่อสารที่เหมาะสมเพื่อให้ไปถึงผู้รับที่ต้องการ
กรณีตัวอย่างที่ 4
กรณีดังต่อไปนี้อาจนำมาซึ่งความเสื่อมเสียแก่วิชาชีพในด้านการจัดทำบัญชี
- การกล่าวเกินจริงเกี่ยวกับบริการที่ตนสามารถให้ได้ คุณสมบัติของตนเอง หรือประสบการณ์ที่มี
- การใส่ร้ายป้ายสี ดูถูกเหยียดหยามงานของผู้ทำบัญชีอื่น
- แสดงข้อความหรือพยานหลักฐานอันเป็นเท็จต่อหน่วยงานกำกับดูแล หรือพนักงานเจ้าหน้าที่ในการชี้แจงการปฏิบัติงาน
- ถูกศาลพิพากษาให้ล้มละลาย หรือตัดสินให้มีความผิดทางอาญาอย่างร้ายแรง ซึ่งมีโทษจำคุก
- ให้หรือรับว่าจะให้ทรัพย์สินหรือประโยชน์ใดๆ เพื่อเป็นการจูงใจให้บุคคลอื่นแนะนำหรือจัดหางานทางวิชาชีพในด้านการจัดทำบัญชีให้ตนทำ
- เรียกหรือรับทรัพย์สินหรือประโยชน์จากบุคคลใดในเมื่อบุคคลนั้นได้รับงานเพราะการแนะนำหรือการจัดหางานของตนในฐานะที่เป็นผู้ทำบัญชีของกิจการนั้น
- จงใจแนะนำให้ลูกค้าเสียภาษีไม่ถูกต้องตามกฎหมาย
อนึ่ง ในทางปฏิบัติอาจมีบางกรณีที่นอกเหนือจากตัวอย่างที่ให้ไว้ และอาจจำเป็นต้องพิจารณาเพิ่มเติมโดยไม่จำกัดขอบเขตเพียงตัวอย่างที่ให้ไว้ในที่นี้เท่านั้น

 

กรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์

ที่มา..http://www.dbd.go.th/thai/law/pdf/prakad_fail_safe.pdf

ค่าธรรมเนียมจดทะเบียนพาณิชย์

 



บาท
1. ​การจดทะเบียนพาณิชย์ใหม่​
 
50.-
2. ​การจดทะเบียนเปลี่ยนแปลงรายการ​
ครั้งละ
20.-
3. ​การจดทะเบียนเลิกประกอบพาณิชย์กิจ​
 
20.-
4. ​ขอให้ออกใบแทนใบทะเบียนพาณิชย์ ฉบับ​ละ
30.-
5. ​ขอตรวจเอกสารของผู้ประกอบพาณิชย์กิจรายหนึ่ง​
ครั้งละ
20.-
6. ​ขอให้เจ้าหน้าที่คัดสำเนาและรับรองสำเนาเอกสาร​
ฉบับ​ละ
50.-

ค่าธรรมเนียมจดทะเบียนห้างหุ้นส่วน



บาท

1. จดทะเบียนห้างหุ้นส่วนทุกจำนวนเงินไม่เกิน 100,000 บาท แห่งทุนที่กำหนดไว้ 100 บาท เศษของ 100,000 บาท ให้คิดเป็น100,000 บาท
ทั้งนี้รวมกันไม่ให้ต่ำกว่า
และไม่ให้เกิน


1,000.-


5,000.-

2. จดทะเบียนควบห้างหุ้นส่วน


2,000.-

3. จดทะเบียนแก้ไขชื่อห้างหุ้นส่วน


400.-

4. จดทะเบียนแก้ไขเพิ่มเติมวัตถุประสงค์


400.-

5. จดทะเบียนแก้ไขที่ตั้งสำนักงานแห่งใหญ่ และ/หรือสำนักงานสาขา


400.-

6. จดทะเบียนหุ้นส่วนเข้าใหม่

คนละ

300.-

7. จดทะเบียนหุ้นส่วนออก (ไม่หนดจำนวนคน)


400.-

8. จดทะเบียนแก้ไขทุน



8.1 จดทะเบียนลดทุนของผู้เป็นหุ้นส่วน
8.2
จดทะเบียนเพิ่มทุนของผู้เป็นหุ้นส่วนทุกจำนวนไม่เกิน 100,000 บาท แห่งทุนที่กำหนดเพิ่มขึ้น (เศษของ 100,000 บาท ให้คิดเป็น 100,000 บาท)
ทั้งนี้รวมกันไม่ให้เกิน

คนละ



300.-

100.-

 

5,000.-

9. จดทะเบียนเปลี่ยนสิ่งที่นำมาลงหุ้นตามจำนวนหุ้นส่วนที่เปลี่ยนแปลงทุน



คนละ

300.-

10. จดทะเบียนเปลี่ยนจำพวกหุ้นส่วน

คนละ

300.-

11. จดทะเบียนแก้ไขหุ้นส่วนผู้จัดการ


400.-

12. จดทะเบียนข้อจำกัดอำนาจหุ้นส่วนผู้จัดการ


400.-

13. จดทะเบียนแก้ไขตรา


400.-

14. จดทะเบียนรายการอื่นซึ่งเห็นสมควรจะให้ประชาชนทราบ


400.-

15. จดทะเบียนเลิกห้างหุ้นส่วน


400.-

16. จดทะเบียนเปลี่ยนตัวผู้ชำระบัญชี


400.-

17. จดทะเบียนแก้ไขอำนาจผู้ชำระบัญชี


400.-

18. จดทะเบียนแก้ไขสำนักงานชำระบัญชี


400.-

19. จดทะเบียนเสร็จการชำระบัญชี


400.-

หมายเหตุ   กรณีเพิ่มผู้เป็นหุ้นส่วนให้คิดค่าธรรมเนียมตามจำนวนผู้เป็นหุ้นส่วนที่เพิ่ม โดยไม่ต้องคำนึงถึงจำนวนทุน