ประกาศสภาวิชาชีพบัญชี
ฉบับที่ ๓๘/๒๕๕๐
เรื่อง มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ ๓๕ (ปรับปรุง ๒๕๕๐) ฉบับที่ ๓๙ (ปรับปรุง ๒๕๕๐)
และฉบับที่ ๔๑ (ปรับปรุง ๒๕๕๐)
อาศัยอำนาจตามมาตรา ๗ (๓) และมาตรา ๓๔ แห่งพระราชบัญญัติวิชาชีพบัญชี พ.ศ. ๒๕๔๗
ที่กำหนดให้สภาวิชาชีพบัญชีมีอำนาจหน้าที่ในการกำหนดและปรับปรุงมาตรฐานการบัญชีเพื่อใช้เป็น
มาตรฐานในการจัดทำบัญชีตามกฎหมายว่าด้วยการบัญชี และกฎหมายอื่น ทั้งนี้มาตรฐานการบัญชีนั้น
ต้องได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการกำกับดูแลการประกอบวิชาชีพบัญชี และประกาศใน
ราชกิจจานุเบกษาแล้ว จึงจะใช้บังคับได้
สภาวิชาชีพบัญชี โดยความเห็นชอบในการกำหนดมาตรฐานการบัญชีของคณะกรรมการ
กำกับดูแลการประกอบวิชาชีพในการประชุมครั้งที่ ๗ (๒/๒๕๕๐) เมื่อวันที่ ๓๐ สิงหาคม ๒๕๕๐
จึงออกประกาศ ดังนี้
๑. ให้ยกเลิกมาตรฐานการบัญชี ตามประกาศ ก.บช. ฉบับที่ ๔๒ (พ.ศ. ๒๕๔๓)
เรื่อง มาตรฐานการบัญชี รวม ๓ ฉบับ ดังนี้
๑.๑ มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ ๓๕ เรื่อง การนำเสนองบการเงิน
๑.๒ มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ ๓๙ เรื่อง กำไรหรือขาดทุนสุทธิสำหรับงวด
ข้อผิดพลาดที่สำคัญ และการเปลี่ยนแปลงทางบัญชี
๑.๓ มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ ๔๑ เรื่อง งบการเงินระหว่างกาล
๒. ให้ใช้มาตรฐานการบัญชีตามบัญชีแนบท้ายประกาศนี้แทน
๒.๑ มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ ๓๕ (ปรับปรุง ๒๕๕๐) เรื่อง การนำเสนองบการเงิน
๒.๒ มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ ๓๙ (ปรับปรุง ๒๕๕๐) เรื่อง นโยบายการบัญชี
การเปลี่ยนแปลงประมาณการทางบัญชี และข้อผิดพลาด
๒.๓ มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ ๔๑ (ปรับปรุง ๒๕๕๐) เรื่อง งบการเงินระหว่างกาล
ประกาศ ณ วันที่ ๒๑ กันยายน พ.ศ. ๒๕๕๐
เกษรี ณรงค์เดช
นายกสภาวิชาชีพบัญชี
ประกาศสภาวิชาชีพบัญชี ฉบับที่ 38/2550 ลงวันที่ 21 กันยายน 2550
มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 49 (ปรับปรุง 2550)
คำแถลงการณ์
มาตรฐานการบัญชีฉบับนี้ได้ปรับปรุงถ้อยคำให้เป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนดขึ้นโดย มาตรฐานการบัญชี
ระหว่างประเทศเรื่อง สัญญาก่อสร้าง พ.ศ. 2549 (IAS No. 11 Construction Contracts (2006))
มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 49 (ปรับปรุง 2550) เรื่อง สัญญาก่อสร้าง
ขอบเขต
1. มาตรฐานการบัญชีฉบับนี้ให้ถือปฏิบัติกับการบัญชีสำหรับสัญญาก่อสร้างในงบการเงินของกิจการที่รับ
งานก่อสร้าง
คำนิยาม
2. คำศัพท์ที่ใช้ในมาตรฐานการบัญชีฉบับนี้มีความหมายโดยเฉพาะ ดังนี้
สัญญาก่อสร้าง หมายถึง สัญญาที่ทำขึ้นโดยเฉพาะเพื่อก่อสร้างสินทรัพย์รายการเดียว
หรือก่อสร้างสินทรัพย์หลายรายการซึ่งสัมพันธ์กันอย่าง
ใกล้ชิด หรือต้องพึ่งพากันในด้านการออกแบบ เทคโนโลยี
และหน้าที่ หรือวัตถุประสงค์ในการใช้ประโยชน์ขั้นสุดท้าย
สัญญาราคาคงที่ หมายถึง สัญญาก่อสร้างซึ่งมีการตกลงด้วยราคาคงที่หรือด้วยอัตรา
คงที่ต่อหน่วยของผลผลิตซึ่งระบุไว้ในสัญญาในบางกรณี
ราคาหรืออัตราที่ตกลงกันขึ้นอยู่กับการ เปลี่ยนแปลงของ
ต้นทุนตามเงื่อนไขที่ระบุไว้ในสัญญา
สัญญาต้นทุนบวกส่วนเพิ่ม หมายถึง สัญญาก่อสร้างซึ่งกิจการจะได้รับคืนต้นทุนตามที่ตกลงกัน
บวกส่วนเพิ่มซึ่งส่วนเพิ่มนั้นกำหนดเป็นอัตราร้อยละของ
ต้นทุนดังกล่าวหรือเป็นจำนวนคงที่
การรวมและการแยกสัญญาก่อสร้าง
3. เมื่อกิจการทำสัญญาเพื่อก่อสร้างสินทรัพย์หลายรายการ การก่อสร้างสินทรัพย์แต่ละรายการให้
ถือเสมือนว่าได้มีการทำสัญญาก่อสร้างแยกจากกัน หากเป็นไปตามเงื่อนไขทุกข้อต่อไปนี้
3.1 สินทรัพย์แต่ละรายการมีข้อเสนอที่แยกจากกัน
3.2 สินทรัพย์แต่ละรายการมีการต่อรองแยกจากกัน นอกจากนั้น กิจการและผู้จ้างสามารถยอมรับ
หรือปฏิเสธสัญญาส่วนที่เกี่ยวข้องกับสินทรัพย์แต่ละรายการได้
3.3 ต้นทุนและรายได้ของสินทรัพย์แต่ละรายการสามารถระบุได้
4. กิจการต้องปฏิบัติต่อกลุ่มสัญญาก่อสร้างเสมือนว่าเป็นสัญญาเดียว ไม่ว่ากลุ่มสัญญานั้นจะทำกับผู้จ้าง
เพียงรายเดียวหรือหลายราย หากเป็นไปตามเงื่อนไขทุกข้อต่อไปนี้
4.1 สัญญาหลายสัญญามีการต่อรองร่วมกันในลักษณะของสัญญาชุดเดียวกัน
4.2 สัญญาทุกสัญญามีความสัมพันธ์กันอย่างมากจนทำให้สัญญาแต่ละสัญญาเป็นส่วนหนึ่งของ
โครงการเดียวซึ่งมีอัตรากำไรร่วมกัน
4.3 การปฏิบัติตามสัญญาทุกสัญญาเกิดขึ้นในเวลาเดียวกัน หรือเกิดขึ้นเป็นลำดับต่อเนื่องกัน
5. สัญญาก่อสร้างอาจให้สิทธิแก่ผู้จ้างหรืออาจมีการแก้ไขเพื่อให้ผู้จ้างว่าจ้างกิจการให้ก่อสร้างสินทรัพย์
เพิ่มเติมได้ สินทรัพย์ที่สร้างเพิ่มเติมนี้ กิจการต้องปฏิบัติเสมือนว่าเป็นสัญญาก่อสร้างแยกต่างหาก
เมื่อเป็นไปตามเงื่อนไขข้อใดข้อหนึ่งต่อไปนี้
5.1 สินทรัพย์ที่ก่อสร้างเพิ่มเติมแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญจากสินทรัพย์ที่ระบุในสัญญาเดิมไม่ว่าจะ
เป็นในด้านการออกแบบ เทคโนโลยี หรือการใช้ประโยชน์
5.2 การต่อรองราคาของสินทรัพย์ที่ก่อสร้างเพิ่มเติมไม่ได้คำนึงถึงราคาตามสัญญาเดิม
รายได้ค่าก่อสร้าง
6. รายได้ค่าก่อสร้างประกอบด้วย
6.1 จำนวนรายได้เมื่อเริ่มแรกตามที่ตกลงไว้ในสัญญา และ
6.2 จำนวนเงินที่เกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลงสัญญาอันเกิดจากการดัดแปลงงาน การเรียกร้อง
ค่าเสียหาย หรือการจ่ายเงินเพื่อจูงใจ หากเป็นไปตามเงื่อนไขทุกข้อต่อไปนี้
6.2.1.มีความเป็นไปได้ค่อนข้างแน่ที่จะก่อให้เกิดรายได้
6.2.2 สามารถวัดมูลค่าได้อย่างน่าเชื่อถือ
ต้นทุนการก่อสร้าง
7. ต้นทุนการก่อสร้างประกอบด้วยรายการทุกข้อต่อไปนี้
7.1 ต้นทุนที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับงานก่อสร้างตามสัญญา
7.2 ต้นทุนที่เกี่ยวข้องกับการก่อสร้างโดยทั่วไปซึ่งสามารถปันส่วนให้กับงานก่อสร้างตามสัญญา
7.3 ต้นทุนอื่นที่สามารถเรียกเก็บจากผู้จ้างได้ภายใต้เงื่อนไขของสัญญาก่อสร้าง
การรับรู้รายได้ค่าก่อสร้างและต้นทุนค่าก่อสร้าง
8. เมื่อกิจการสามารถประมาณผลของงานก่อสร้างตามสัญญาได้อย่างน่าเชื่อถือ กิจการต้องรับรู้รายได้
ค่าก่อสร้างและต้นทุนการก่อสร้างที่เกี่ยวข้องกับสัญญาก่อสร้างเป็นรายได้และค่าใช้จ่ายตามลำดับ
โดยอ้างอิงกับขั้นความสำเร็จของงานก่อสร้าง ณ วันที่ในงบดุล กิจการต้องรับรู้ผลขาดทุนที่คาดว่าจะ
เกิดขึ้นจากงานก่อสร้างตามสัญญาเป็นค่าใช้จ่ายทันทีตามที่ระบุไว้ในย่อหน้าที่ 13
9. ในกรณีที่สัญญาก่อสร้างเป็นสัญญาราคาคงที่ กิจการสามารถประมาณผลของงานก่อสร้างตามสัญญาได้
อย่างน่าเชื่อถือก็ต่อเมื่อเป็นไปตามเงื่อนไขทุกข้อต่อไปนี้
9.1 รายได้ค่าก่อสร้างทั้งสิ้นสามารถวัดมูลค่าได้อย่างน่าเชื่อถือ
9.2 มีความเป็นไปได้ค่อนข้างแน่ที่กิจการจะได้รับประโยชน์เชิงเศรษฐกิจที่เกี่ยวข้องกับงานก่อสร้าง
9.3 ต้นทุนการก่อสร้างที่จะต้องจ่ายจนกระทั่งงานก่อสร้างแล้วเสร็จตามสัญญาสามารถวัดมูลค่า
ได้อย่างน่าเชื่อถือ และขั้นความสำเร็จของงานก่อสร้าง ณ วันที่ในงบดุล สามารถประมาณ
ได้อย่างน่าเชื่อถือ
9.4 ต้นทุนที่เกี่ยวข้องกับงานก่อสร้างสามารถระบุได้อย่างชัดเจนและวัดมูลค่าได้อย่างน่าเชื่อถือ
ซึ่งทำให้กิจการสามารถเปรียบเทียบต้นทุนการก่อสร้างที่เกิดขึ้นจริงกับต้นทุนที่ได้ประมาณไว้
10. ในกรณีที่สัญญาก่อสร้างเป็นสัญญาต้นทุนบวกส่วนเพิ่ม กิจการจะสามารถประมาณผลของงานก่อสร้าง
ตามสัญญาได้อย่างน่าเชื่อถือก็ต่อเมื่อเป็นไปตามเงื่อนไขทุกข้อต่อไปนี้
10.1 มีความเป็นไปได้ค่อนข้างแน่ที่กิจการจะได้รับประโยชน์เชิงเศรษฐกิจที่เกี่ยวข้องกับงานก่อสร้าง
10.2 ต้นทุนที่เกี่ยวข้องกับงานก่อสร้างสามารถระบุได้อย่างชัดเจนและวัดมูลค่าได้อย่างน่าเชื่อถือ
ไม่ว่ากิจการจะสามารถเรียกต้นทุนนั้นคืนจากผู้จ้างได้หรือไม่
11. เมื่อกิจการไม่สามารถประมาณผลของงานก่อสร้างได้อย่างน่าเชื่อถือ กิจการต้องปฏิบัติตามข้อกำหนด
ทุกข้อต่อไปนี้
11.1 กิจการต้องรับรู้รายได้ไม่เกินกว่าต้นทุนการก่อสร้างที่เกิดขึ้น และมีความเป็นไปได้ค่อนข้างแน่
ที่จะได้รับต้นทุนนั้นคืน
11.2 กิจการต้องรับรู้ต้นทุนการก่อสร้างที่เกิดขึ้นในระหว่างงวดเป็นค่าใช้จ่าย
กิจการต้องรับรู้ผลขาดทุนที่คาดว่าจะเกิดขึ้นจากงานก่อสร้างเป็นค่าใช้จ่ายทันทีตามที่ระบุไว้ใน
ย่อหน้าที่ 13
12. เมื่อความไม่แน่นอนซึ่งทำให้กิจการไม่สามารถประมาณผลของงานก่อสร้างตามสัญญาได้อย่าง
น่าเชื่อถือได้หมดไป กิจการต้องรับรู้รายได้และต้นทุนที่เกี่ยวข้องกับงานก่อสร้างตามข้อกำหนดที่ระบุไว้
ในย่อหน้าที่ 8 แทนการปฏิบัติตามข้อกำหนดที่ระบุไว้ในย่อหน้าที่ 11
การรับรู้ขาดทุนที่คาดว่าจะเกิดขึ้น
13. เมื่อมีความเป็นไปได้ค่อนข้างแน่ที่ต้นทุนการก่อสร้างทั้งสิ้นจะสูงกว่ารายได้ค่าก่อสร้างทั้งสิ้น กิจการ
ต้องรับรู้ขาดทุนที่คาดว่าจะเกิดขึ้นเป็นค่าใช้จ่ายทันที
การเปิดเผยข้อมูล
14. กิจการต้องเปิดเผยข้อมูลทุกข้อต่อไปนี้
14.1 จำนวนรายได้ค่าก่อสร้างที่รับรู้เป็นรายได้ในระหว่างงวด
14.2 วิธีที่ใช้ในการกำหนดรายได้ค่าก่อสร้างที่รับรู้เป็นรายได้ในระหว่างงวด
14.3 วิธีที่ใช้ในการกำหนดขั้นความสำเร็จของงานระหว่างก่อสร้าง
15. กิจการต้องเปิดเผยข้อมูลทุกข้อต่อไปนี้เกี่ยวกับสัญญางานก่อสร้างระหว่างทำที่มีอยู่ ณ วันที่ในงบดุล
15.1 จำนวนรวมของต้นทุนที่เกิดขึ้นและกำไรที่รับรู้ (หักด้วยขาดทุนที่รับรู้) จนถึงปัจจุบัน
15.2 จำนวนเงินรับล่วงหน้า
15.3 จำนวนเงินประกันผลงาน
16. กิจการต้องแสดงรายการทุกข้อต่อไปนี้
16.1 จำนวนเงินทั้งสิ้นที่กิจการมีสิทธิเรียกร้องจากผู้จ้างสำหรับงานก่อสร้างทุกสัญญา เป็นสินทรัพย์
ของกิจการ
16.2 จำนวนเงินทั้งสิ้นที่ผู้จ้างมีสิทธิเรียกร้องจากกิจการสำหรับงานก่อสร้างทุกสัญญา เป็นหนี้สินของ
กิจการ
วันถือปฏิบัติ
17.มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 49 (ปรับปรุง 2550) ให้ถือปฏิบัติกับงบการเงินสำหรับรอบระยะเวลาบัญชี
ที่เริ่มในหรือหลังวันที่ 1 มกราคม 2551 เป็นต้นไป
คลิ๊กเพื่อดูไฟล์ฉบับเต็ม
มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 46 (ปรับปรุง 2550)
คำแถลงการณ์
มาตรฐานการบัญชีฉบับนี้ได้ปรับปรุงให้เป็นไปตามมาตรฐานการบัญชีระหว่างประเทศ ฉบับที่ 31 เรื่อง
ส่วนได้เสียในการร่วมค้า พ.ศ. 2549 (IAS 31 “Interests in Joint Ventures” (revised 2006))
มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 46 (ปรับปรุง 2550) เรื่อง ส่วนได้เสียในการร่วมค้า
ขอบเขต
1. มาตรฐานการบัญชีฉบับนี้ให้ถือปฏิบัติกับการบัญชีสำหรับส่วนได้เสียในการร่วมค้าและการรายงาน
เกี่ยวกับสินทรัพย์ หนี้สิน รายได้และค่าใช้จ่ายของการร่วมค้าในงบการเงินของผู้ร่วมค้าและงบการเงิน
ของผู้ลงทุนในการร่วมค้า โดยไม่คำนึงถึงโครงสร้างหรือรูปแบบการดำเนินงานของการร่วมค้านั้น
อย่างไรก็ตาม มาตรฐานการบัญชีฉบับนี้ ไม่ให้ถือปฏิบัติกับส่วนได้เสียของผู้ร่วมค้าในกิจการที่ควบคุม
ร่วมกันซึ่งถือโดยข้อใดข้อหนึ่งต่อไปนี้
1.1 กิจการร่วมลงทุน (Venture Capital Organisations)
1.2 กองทุนรวม หน่วยลงทุน และกิจการที่มีลักษณะคล้ายคลึงกัน รวมถึงกองทุนประกันภัยซึ่งมี
ลักษณะของเงินลงทุน (Investment-Linked Insurance Funds)
ซึ่งผู้ลงทุนจัดประเภทเริ่มแรกของเงินลงทุนตามข้อ 1.1 และ 1.2 ข้างต้นเป็นหลักทรัพย์เพื่อค้าและ
บันทึกบัญชี ผู้ลงทุนต้องรับรู้รายการเงินลงทุนดังกล่าวด้วยมูลค่ายุติธรรมตามที่กำหนดในมาตรฐาน
การบัญชี เรื่อง การรับรู้และการวัดมูลค่าตราสารการเงิน (เมื่อมีการประกาศใช้) และรับรู้การ
เปลี่ยนแปลงในมูลค่ายุติธรรมเป็นกำไรหรือขาดทุนทันทีในงวดบัญชีที่มีการเปลี่ยนแปลง
2. ผู้ร่วมค้าซึ่งมีส่วนได้เสียในกิจการที่ควบคุมร่วมกันได้รับการยกเว้นไม่ต้องปฏิบัติตามย่อหน้าที่ 6
(วิธีรวมตามสัดส่วน) และย่อหน้าที่ 8 (วิธีส่วนได้เสีย) เมื่อเป็นไปตามเงื่อนไขข้อใดข้อหนึ่งดังต่อไปนี้
2.1 ส่วนได้เสียดังกล่าวได้มาและถือไว้เพื่อขายตามมาตรฐานการบัญชี เรื่อง สินทรัพย์ไม่หมุนเวียน
ที่ถือไว้เพื่อขายและการดำเนินงานที่ยกเลิก (เมื่อมีการประกาศใช้)
2.2 ข้อยกเว้นในย่อหน้าที่ 5 ของมาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 44 (ปรับปรุง 2550) เรื่อง งบการเงิน
รวมและงบการเงินเฉพาะกิจการ อนุญาตให้บริษัทใหญ่ซึ่งมีส่วนได้เสียในกิจการที่ควบคุมร่วมกัน
ไม่ต้องนำเสนองบการเงินรวม
2.3 มีลักษณะตามข้อกำหนดทุกข้อต่อไปนี้
2.3.1 ผู้ร่วมค้ามีฐานะเป็นบริษัทย่อยซึ่งถูกกิจการอื่นควบคุมอยู่ทั้งหมด หรือเป็นบริษัทย่อยซึ่ง
ถูกกิจการอื่นควบคุมบางส่วน โดยที่ผู้ถือหุ้นกิจการอื่นนั้นรวมทั้งผู้ถือหุ้นที่ไม่มีสิทธิ
ออกเสียงได้รับทราบและไม่คัดค้านในการที่ผู้ร่วมค้าไม่ใช้วิธีรวมตามสัดส่วนหรือ
วิธีส่วนได้เสีย
2.3.2 ตราสารทุนหรือตราสารหนี้ของผู้ร่วมค้าไม่มีการซื้อขายในตลาดสาธารณะ (ไม่ว่าจะเป็น
ตลาดหลักทรัพย์ในประเทศหรือต่างประเทศ หรือการซื้อขายนอกตลาดหลักทรัพย์
รวมทั้งตลาดในท้องถิ่นและในภูมิภาค)
2.3.3 ผู้ร่วมค้าไม่ได้นำส่งหรืออยู่ในกระบวนการของการนำส่งงบการเงินของกิจการให้แก่
สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์หรือหน่วยงานกำกับดูแลอื่นเพื่อวัตถุประสงค์
ในการเสนอออกขายหลักทรัพย์ใดๆ ในตลาดสาธารณะ
2.3.4. บริษัทใหญ่ในลำดับสูงสุดหรือบริษัทใหญ่ในระหว่างกลางของผู้ร่วมค้านั้นได้จัดทำ
งบการเงินรวมเผยแพร่เพื่อประโยชน์ต่อสาธารณชนซึ่งเป็นไปตามมาตรฐานการบัญชีที่
รับรองทั่วไปแล้ว
คำนิยาม
3. คำศัพท์ที่ใช้ในมาตรฐานการบัญชีฉบับนี้มีความหมายโดยเฉพาะ ดังนี้
การควบคุม หมายถึง อำนาจในการกำหนดนโยบายทางการเงินและการดำเนินงานของ
กิจกรรมเชิงเศรษฐกิจเพื่อให้ได้รับประโยชน์จากกิจกรรมนั้น
วิธีส่วนได้เสีย หมายถึง วิธีการบัญชีสำหรับผู้ร่วมค้าในกิจการที่ควบคุมร่วมกันโดยบันทึก
ส่วนได้เสียในการร่วมค้าเริ่มแรกด้วยราคาทุน และปรับปรุงด้วยการ
เปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นภายหลังในสินทรัพย์สุทธิของกิจการที่ควบคุม
ร่วมกันตามสัดส่วนของผู้ร่วมค้า กำไรหรือขาดทุนของผู้ร่วมค้ารวม
ส่วนแบ่งในผลการดำเนินงานของกิจการที่ควบคุมร่วมกันตาม
สัดส่วนของผู้ร่วมค้า
ผู้ลงทุนในการ
ร่วมค้า
หมายถึง บุคคลหรือกิจการที่เข้าร่วมในการร่วมค้าและไม่มีอำนาจควบคุมร่วม
ในการร่วมค้านั้น
การควบคุมร่วม หมายถึง การมีส่วนร่วมในการควบคุมกิจกรรมเชิงเศรษฐกิจตามที่ตกลงไว้ใน
สัญญา และการควบคุมร่วมดำรงอยู่ต่อเมื่อการตัดสินใจเชิงกลยุทธ์
ทางการเงินและการดำเนินงานในกิจกรรมเชิงเศรษฐกิจต้องได้รับ
ความเห็นชอบเป็นเอกฉันท์จากผู้ร่วมค้าซึ่งมีส่วนร่วมในการควบคุม
การร่วมค้า หมายถึง การประกอบกิจกรรมเชิงเศรษฐกิจของบุคคลหรือกิจการตั้งแต่สอง
รายขึ้นไปโดยให้มีการควบคุมร่วมกันตามที่ตกลงไว้ในสัญญา
วิธีรวมตามสัดส่วน หมายถึง วิธีการบัญชีของผู้ร่วมค้าโดยนำ สินทรัพย์ หนี้สิน รายได้และ
ค่าใช้จ่ายในการร่วมค้าเฉพาะส่วนที่เป็นของผู้ร่วมค้ามารวมกับ
รายการที่เหมือนกันตามเกณฑ์แต่ละบรรทัดหรือนำ เสนอโดย
แสดงรายการดังกล่าวเป็นแต่ละบรรทัดแยกต่างหากจากรายการ
ชนิดเดียวกันในงบการเงินของผู้ร่วมค้า
งบการเงินเฉพาะ
กิจการ
หมายถึง งบการเงินซึ่งนำเสนอโดยบริษัทใหญ่ หรือโดยผู้ลงทุนในบริษัทร่วม
หรือโดยผู้ร่วมค้าในกิจการที่ควบคุมร่วมกัน ซึ่งมีการบันทึกบัญชี
เงินลงทุนตามเกณฑ์ของส่วนได้เสียในส่วนของเจ้าของโดยตรง ไม่ใช่
ตามเกณฑ์ผลการดำเนินงานที่เกิดขึ้นและสินทรัพย์สุทธิของกิจการ
ที่ถูกลงทุน
อิ ท ธิ พ ล อ ย่ า ง มี
นัยสำคัญ
หมายถึง อำนาจในการเข้าไปมีส่วนร่วมในการตัดสินใจเกี่ยวกับนโยบายทาง
การเงินและการดำเนินงานของกิจกรรมเชิงเศรษฐกิจแต่ไม่ถึงระดับ
ที่จะควบคุมหรือควบคุมร่วมในนโยบายดังกล่าว
ผู้ร่วมค้า หมายถึง บุคคลหรือกิจการที่เข้าร่วมในการร่วมค้าและมีอำนาจควบคุมร่วม
ในการร่วมค้านั้น
การดำเนินงานที่ควบคุมร่วมกัน
4. ผู้ร่วมค้าต้องรับรู้ส่วนได้เสียในการดำเนินงานที่ควบคุมร่วมกันในงบการเงินของผู้ร่วมค้าทุกข้อต่อไปนี้
4.1 สินทรัพย์ที่ผู้ร่วมค้าควบคุมอยู่ และหนี้สินที่ผู้ร่วมค้านั้นเป็นผู้ก่อขึ้น
4.2 ค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นกับผู้ร่วมค้าและส่วนแบ่งของรายได้จากการขายสินค้าหรือการให้บริการที่
ผู้ร่วมค้าได้รับ
สินทรัพย์ที่ควบคุมร่วมกัน
5. ผู้ร่วมค้าต้องรับรู้ส่วนได้เสียในสินทรัพย์ที่ควบคุมร่วมกันในงบการเงินของผู้ร่วมค้าทุกข้อดังต่อไปนี้
5.1 ส่วนแบ่งในสินทรัพย์ที่ควบคุมร่วมกันโดยแยกประเภทตามลักษณะของสินทรัพย์นั้น
5.2 หนี้สินของผู้ร่วมค้าที่เกิดขึ้นเนื่องจากการร่วมค้า
5.3 ส่วนแบ่งในหนี้สินที่เกิดขึ้นร่วมกันจากการร่วมค้า
5.4 รายได้จากการขายหรือการใช้ผลผลิตที่เกิดขึ้นร่วมกัน รวมทั้งส่วนแบ่งค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นร่วมกัน
จากการร่วมค้า
5.5 ค่าใช้จ่ายของผู้ร่วมค้าที่เกิดขึ้นเนื่องจากการร่วมค้า
งบการเงินของผู้ร่วมค้า
วิธีรวมตามสัดส่วน
6. ผู้ร่วมค้าต้องใช้วิธีรวมตามสัดส่วนหรือใช้แนววิธีปฏิบัติที่เป็นทางเลือกตามย่อหน้าที่ 8 เพื่อรับรู้ส่วนได้
เสียในกิจการที่ควบคุมร่วมกัน กรณีที่ใช้วิธีรวมตามสัดส่วนให้ใช้รูปแบบการรายงานแบบใดแบบหนึ่ง
ในสองแบบ
7. ผู้ร่วมค้าต้องเลิกใช้วิธีรวมตามสัดส่วนนับตั้งแต่วันที่ผู้ร่วมค้าหมดอำนาจควบคุมร่วมในกิจการที่ควบคุม
ร่วมกัน
วิธีส่วนได้เสีย
8. ผู้ร่วมค้าอาจเลือกใช้วิธีส่วนได้เสียสำหรับกิจการที่ควบคุมร่วมกัน ซึ่งเป็นทางเลือกจากวิธีรวมตาม
สัดส่วนตามที่กล่าวในย่อหน้าที่ 6
9. ผู้ร่วมค้าต้องเลิกใช้วิธีส่วนได้เสียนับตั้งแต่วันที่ผู้ร่วมค้าหมดอำนาจควบคุมร่วม หรือไม่มีอิทธิพลอย่าง
มีนัยสำคัญในกิจการที่ควบคุมร่วมกัน
ข้อยกเว้นการไม่ใช้วิธีรวมตามสัดส่วนและวิธีส่วนได้เสีย
10. ส่วนได้เสียในกิจการที่ควบคุมร่วมกันซึ่งจัดประเภทเป็นเงินลงทุนถือไว้เพื่อขาย ตามมาตรฐานการบัญชี
เรื่อง สินทรัพย์ไม่หมุนเวียนถือไว้เพื่อขายและการดำเนินงานที่ยกเลิก (เมื่อมีการประกาศใช้) ให้ปฏิบัติ
ตามมาตรฐานการบัญชีดังกล่าว
11. นับตั้งแต่วันที่กิจการที่ควบคุมร่วมกันเปลี่ยนสภาพเป็นบริษัทย่อยของผู้ร่วมค้าให้บันทึกบัญชีตาม
มาตรฐานการบัญชีฉบับที่ 44 (ปรับปรุง 2550) เรื่อง งบการเงินรวมและงบการเงินเฉพาะกิจการ นับตั้งแต่วันที่กิจการที่ควบคุมร่วมกันเปลี่ยนสภาพเป็นบริษัทร่วมของผู้ร่วมค้า ผู้ร่วมค้าต้องบันทึกบัญชี
ตามมาตรฐานการบัญชีฉบับที่ 45 (ปรับปรุง 2550) เรื่อง เงินลงทุนในบริษัทร่วม
งบการเงินเฉพาะกิจการของผู้ร่วมค้า
12. ส่วนได้เสียในกิจการที่ควบคุมร่วมกันในงบการเงินเฉพาะกิจการของผู้ร่วมค้าให้ใช้วิธีตามที่ระบุใน
ย่อหน้าที่ 16-19 ของมาตรฐานการบัญชีฉบับที่ 44 (ปรับปรุง 2550) เรื่อง งบการเงินรวมและ
งบการเงินเฉพาะกิจการ
รายการค้าระหว่างผู้ร่วมค้ากับการร่วมค้า
13. ผู้ร่วมค้าต้องรับรู้ส่วนของกำไรหรือขาดทุนที่เกิดจากการโอนหรือขายสินทรัพย์ให้แก่การร่วมค้าตาม
เนื้อหาของรายการค้าที่เกิดขึ้น หากผู้ร่วมค้าโอนสินทรัพย์พร้อมกับความเสี่ยงและผลตอบแทนที่มี
นัยสำคัญของความเป็นเจ้าของให้แก่การร่วมค้าและหากการร่วมค้ายังคงครอบครองสินทรัพย์นั้นอยู่
ผู้ร่วมค้าต้องรับรู้กำไรหรือขาดทุนในงบการเงินของผู้ร่วมค้าเฉพาะส่วนที่เป็นส่วนได้เสียของผู้ร่วมค้า
อื่น อย่างไรก็ตามผู้ร่วมค้าต้องรับรู้ผลขาดทุนทั้งจำนวนเมื่อมีหลักฐานสนับสนุนว่าสินทรัพย์ที่โอนหรือ
ขายให้แก่กิจการร่วมค้ามีมูลค่าสุทธิที่จะได้รับลดลงในกรณีของสินทรัพย์หมุนเวียนหรือมีผลขาดทุนจาก
การด้อยค่าเกิดขึ้น
14. เมื่อผู้ร่วมค้าซื้อสินทรัพย์จากการร่วมค้า ผู้ร่วมค้าต้องไม่รับรู้ส่วนแบ่งของตนในกำไรที่การร่วมค้าได้รับ
จากการขายสินทรัพย์นั้นจนกว่าผู้ร่วมค้าได้ขายสินทรัพย์ดังกล่าวให้กับบุคคลที่สามที่มีความเป็นอิสระ
จากผู้ร่วมค้าและการร่วมค้า ผู้ร่วมค้าต้องรับรู้ส่วนแบ่งของตนในขาดทุนที่เกิดขึ้นกับการร่วมค้าจากการ
ขายสินทรัพย์นั้นให้กับตนในลักษณะเดียวกับการรับรู้รายการกำไร เว้นแต่ในกรณีที่สินทรัพย์หมุนเวียน
ที่ซื้อมามีมูลค่าสุทธิที่จะได้รับลดลง หรือมีการด้อยค่าเกิดขึ้นให้ผู้ร่วมค้าต้องรับรู้ผลขาดทุนเฉพาะที่เป็น
ส่วนแบ่งของตนทันที
การแสดงส่วนได้เสียในการร่วมค้าในงบการเงินของผู้ลงทุน
15. ผู้ลงทุนซึ่งไม่มีอำนาจควบคุมร่วมในการร่วมค้า ต้องบันทึกเงินลงทุนตามข้อกำหนดที่ระบุไว้ใน
มาตรฐานการบัญชี เรื่อง การรับรู้และการวัดมูลค่าตราสารการเงิน (เมื่อมีการประกาศใช้) หรือหาก
ผู้ลงทุนมีอิทธิพลอย่างมีนัยสำคัญในการร่วมค้า ผู้ลงทุนต้องปฏิบัติตามข้อกำหนดที่ระบุไว้ในมาตรฐาน
การบัญชี ฉบับที่ 45 (ปรับปรุง 2550) เรื่อง การบัญชีเงินลงทุนในบริษัทร่วม
ผู้ดำเนินการของการร่วมค้า
16. ผู้ดำเนินการหรือผู้จัดการของการร่วมค้าต้องบันทึกค่าธรรมเนียมที่เกิดขึ้นตามข้อกำหนดที่ระบุไว้ใน
มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 37 (ปรับปรุง 2550) เรื่อง รายได้
การเปิดเผยข้อมูล
17. ผู้ร่วมค้าต้องเปิดเผยจำนวนรวมของรายการหนี้สินที่อาจเกิดขึ้นต่อไปนี้แยกต่างหากจากรายการหนี้สิน
ที่อาจจะเกิดขึ้นอื่น ยกเว้นกรณีที่ผลขาดทุนจากรายการดังกล่าวไม่น่าที่จะเกิดขึ้น
17.1 หนี้สินที่อาจเกิดขึ้นซึ่งผู้ร่วมค้าเป็นผู้ก่อให้เกิดขึ้นอันเนื่องมาจากการมีส่วนได้เสียในกิจการ
ร่วมค้าและหนี้สินที่อาจเกิดขึ้นซึ่งเกิดขึ้นร่วมกับผู้ร่วมค้าอื่น
17.2 หนี้สินที่อาจเกิดขึ้นของการร่วมค้า เฉพาะส่วนที่ผู้ร่วมค้าอาจต้องรับผิดชอบ
17.3 รายการหนี้สินที่อาจเกิดขึ้นจากการที่ผู้ร่วมค้าอาจต้องรับภาระหนี้สินของผู้ร่วมค้าอื่นในการร่วมค้า
18. ผู้ร่วมค้าต้องเปิดเผยจำนวนรวมของภาระผูกพันของตนที่เกิดจากการมีส่วนได้เสียในการร่วมค้าทุกข้อ
ดังต่อไปนี้แยกต่างหากจากภาระผูกพันอื่น
18.1 ภาระผูกพันเกี่ยวกับการลงทุนของผู้ร่วมค้าที่เกิดจากการมีส่วนได้เสียในกิจการร่วมค้าและภาระ
ผูกพันด้านเงินทุนที่เกิดขึ้นร่วมกับผู้ร่วมค้าอื่น
18.2 ส่วนแบ่งในภาระผูกพันด้านเงินทุนในการร่วมค้า
19. ผู้ร่วมค้าต้องเปิดเผยรายการและคำอธิบายเกี่ยวกับส่วนได้เสียในการร่วมค้าที่มีนัยสำคัญและสัดส่วน
ของส่วนได้เสียในส่วนของเจ้าของที่มีในกิจการที่ควบคุมร่วมกัน ผู้ร่วมค้าที่รับรู้ส่วนได้เสียของตนใน
กิจการที่ควบคุมร่วมกันโดยนำรายการต่าง ๆ ของกิจการที่ควบคุมร่วมกันมารวมกับรายการที่
คล้ายคลึงกันในงบการเงินของตนตามเกณฑ์รวมแต่ละบรรทัดสำหรับวิธีรวมตามสัดส่วน หรือวิธี
ส่วนได้เสียให้เปิดเผยจำนวนรวมของส่วนได้เสียแต่ละรายการที่ตนมีในการร่วมค้าโดยแยกเป็น
สินทรัพย์หมุนเวียน สินทรัพย์ไม่หมุนเวียน หนี้สินหมุนเวียน หนี้สินระยะยาว รายได้และค่าใช้จ่ายที่
เกี่ยวข้องกับการร่วมค้า
20. ผู้ร่วมค้าต้องเปิดเผยวิธีการที่ใช้ในการรับรู้ส่วนได้เสียในกิจการที่ควบคุมร่วมกัน
วันถือปฏิบัติ
21. มาตรฐานการบัญชีฉบับนี้ให้ถือปฏิบัติ กับงบการเงินสำหรับรอบระยะเวลาบัญชีที่เริ่มในหรือหลังวันที่
1 มกราคม 2550 เป็นต้นไป อย่างไรก็ตามกิจการสามารถปฏิบัติตามมาตรฐานการบัญชีฉบับนี้ก่อนวัน
ถือปฏิบัติ และหากกิจการปฏิบัติตามมาตรฐานการบัญชีฉบับนี้ก่อนวันถือปฏิบัติ กิจการต้องเปิดเผย
ข้อเท็จจริงดังกล่าว
คลิ๊กเพื่อดูไฟล์ฉบับเต็ม
มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 45 (ปรับปรุง 2550)
คำแถลงการณ์
มาตรฐานการบัญชีฉบับนี้ได้ปรับปรุงให้เป็นไปตามมาตรฐานการบัญชีระหว่างประเทศ ฉบับที่ 28 เรื่อง
เงินลงทุนในบริษัทร่วม พ.ศ. 2549 (IAS No. 28,“ Investments in Associates”(revised 2006))
มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 45 (ปรับปรุง 2550) เรื่อง เงินลงทุนในบริษัทร่วม
ขอบเขต
1. มาตรฐานการบัญชีฉบับนี้ให้ถือปฏิบัติกับการบัญชีสำหรับเงินลงทุนในบริษัทร่วม ยกเว้นเงินลงทุนในบริษัท
ร่วมซึ่งถือโดย
1.1 กิจการร่วมลงทุน (venture capital organisations)
1.2 กองทุนรวม (mutual funds) หน่วยลงทุน (unit trusts) และกิจการอื่นที่มีลักษณะคล้ายคลึงกันรวมทั้ง
กองทุนประกันภัยซึ่งมีลักษณะของเงินลงทุน (investment-linked insurance funds)
ซึ่งผู้ลงทุนรับรู้เริ่มแรกโดยจัดประเภทเงินลงทุนเป็นหลักทรัพย์เพื่อค้าและบันทึกบัญชีตามมาตรฐาน
การบัญชี เรื่องการรับรู้และการวัดมูลค่าตราสารการเงิน (เมื่อมีการประกาศใช้) ผู้ลงทุนต้องรับรู้รายการ
เงินลงทุนดังกล่าวด้วยมูลค่ายุติธรรมตามที่กำหนด และรับรู้การเปลี่ยนแปลงในมูลค่ายุติธรรมในกำไรหรือ
ขาดทุนในงวดบัญชีที่มีการเปลี่ยนแปลง ตามมาตรฐานการบัญชี เรื่อง การรับรู้และการวัดมูลค่าตราสาร
การเงิน (เมื่อมีการประกาศใช้)
คำนิยาม
2. คำศัพท์ที่ใช้ในมาตรฐานการบัญชีฉบับนี้มีความหมายโดยเฉพาะ ดังนี้
บริษัทร่วม หมายถึง กิจการซึ่งรวมถึงกิจการที่ไม่ได้ก่อตั้งในรูปบริษัท เช่น ห้างหุ้นส่วน
ที่อยู่ภายใต้อิทธิพลอย่างมีนัยสำคัญของผู้ลงทุนและไม่ถือเป็น
บริษัทย่อยหรือส่วนได้เสียในการร่วมค้า
งบการเงินรวม หมายถึง งบการเงินของกลุ่มกิจการที่นำเสนอเสมือนว่าเป็นงบการเงินของ
หน่วยงานทางเศรษฐกิจหน่วยงานเดียว (A single economic entity)
การควบคุม หมายถึง อำนาจในการกำหนดนโยบายทางการเงินและการดำเนินงานของ
กิจการ เพื่อให้ได้มาซึ่งประโยชน์จากกิจกรรมต่างๆ ของกิจการนั้น
วิธีส่วนได้เสีย หมายถึง วิธีการบัญชีซึ่งบันทึกเงินลงทุนเมื่อเริ่มแรกด้วยราคาทุนและ
ปรับปรุงด้วยการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นภายหลังการลงทุนตาม
สัดส่วนที่ผู้ลงทุนมีสิทธิในสินทรัพย์สุทธิของกิจการที่ถูกลงทุน
กำไรหรือขาดทุนของผู้ลงทุนรวมถึงส่วนแบ่งของผู้ลงทุนในกำไร
หรือขาดทุนของกิจการที่ถูกลงทุน
การควบคุมร่วม หมายถึง การมีส่วนร่วมในการควบคุมกิจกรรมเชิงเศรษฐกิจตามที่ตกลงไว้
ในสัญญาและเกิดขึ้นต่อเมื่อการตัดสินใจเชิงกลยุทธ์ด้านการเงิน
และการดำเนินงานของกิจกรรมทางเศรษฐกิจต้องได้รับความ
เห็นชอบเป็นเอกฉันท์จากผู้ร่วมค้าซึ่งมีส่วนร่วมในการควบคุม
งบการเงินเฉพาะ
กิจการ
หมายถึง งบการเงินที่นำเสนอโดยบริษัทใหญ่ หรือโดยผู้ลงทุนในบริษัทร่วม
หรือโดยผู้ร่วมค้าในกิจการที่ควบคุมร่วมกัน ซึ่งการบันทึกบัญชี
เงินลงทุนเป็นไปตามเกณฑ์ส่วนได้เสียในส่วนของเจ้าของโดยตรง
มิใช่ตามเกณฑ์ของผลการดำเนินงานที่เกิดขึ้นและสินทรัพย์สุทธิ
ของกิจการที่ถูกลงทุน
อิทธิพลอย่างมี
นัยสำคัญ
หมายถึง อำนาจในการเข้าไปมีส่วนร่วมในการตัดสินใจเกี่ยวกับนโยบายทาง
การเงินและการดำเนินงานของกิจการที่ถูกลงทุน แต่ไม่ถึงระดับ
ที่จะควบคุมหรือควบคุมร่วมในนโยบายดังกล่าว
บริษัทย่อย หมายถึง กิจการซึ่งรวมถึงกิจการที่ไม่ได้ก่อตั้งในรูปบริษัท เช่น ห้างหุ้นส่วน
ซึ่งอยู่ภายใต้การควบคุมของกิจการอื่น (บริษัทใหญ่)
การนำวิธีส่วนได้เสียมาปฏิบัติ
3. ผู้ลงทุนต้องบันทึกบัญชีเงินลงทุนในบริษัทร่วมโดยใช้วิธีส่วนได้เสียในทุกกรณี ยกเว้นเมื่อมีเหตุการณ์ใด
เหตุการณ์หนึ่งต่อไปนี้เกิดขึ้น
3.1 เงินลงทุนที่จัดประเภทเป็นเงินลงทุนที่ถือไว้เพื่อขาย ตามมาตรฐานการบัญชี เรื่อง สินทรัพย์ไม่
หมุนเวียน ที่ถือไว้เพื่อขาย และการดำเนินงานที่ยกเลิก (เมื่อมีการประกาศใช้)
3.2 มีการนำข้อยกเว้นตามที่กำหนดในย่อหน้าที่ 5 ของมาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 44 (ปรับปรุง 2550)
เรื่อง งบการเงินรวมและงบการเงินเฉพาะกิจการมาปฏิบัติซึ่งอนุญาตให้บริษัทใหญ่ที่มีเงินลงทุนใน
บริษัทร่วมไม่ต้องนำเสนองบการเงินรวม หรือ
3.3 เมื่อมีลักษณะตามข้อกำหนดทุกข้อต่อไปนี้
3.3.1 ผู้ลงทุนมีฐานะเป็นบริษัทย่อยซึ่งถูกกิจการอื่นควบคุมอยู่ทั้งหมด หรือเป็นบริษัทย่อยซึ่ง
ถูกกิจการอื่นควบคุมในบางส่วน โดยที่ผู้ถือหุ้นอื่นของกิจการ รวมทั้งผู้ถือหุ้นที่ไม่มีสิทธิ
ออกเสียง ได้รับทราบและไม่คัดค้านในการที่ผู้ลงทุนจะไม่นำวิธีส่วนได้เสียมาปฏิบัติ
3.3.2 ตราสารทุนหรือตราสารหนี้ของผู้ลงทุนไม่มีการซื้อขายในตลาดสาธารณะ (ไม่ว่าจะเป็น
ตลาดหลักทรัพย์ในประเทศหรือต่างประเทศหรือการซื้อขายนอกตลาดหลักทรัพย์ รวมทั้ง
ตลาดในท้องถิ่นและในภูมิภาค)
3.3.3 ผู้ลงทุนไม่ได้นำส่งหรืออยู่ในกระบวนการของการนำส่งงบการเงินให้แก่สำนักงาน
คณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์หรือหน่วยงานกำกับดูแลอื่นเพื่อวัตถุประสงค์ในการ
ออกขายตราสารใดๆ ในตลาดสาธารณะ
3.3.4 บริษัทใหญ่ในลำดับสูงสุดหรือบริษัทในระหว่างกลางของผู้ลงทุนได้จัดทำงบการเงินรวม
เผยแพร่เพื่อประโยชน์ของสาธารณชนซึ่งเป็นไปตามมาตรฐานการบัญชีที่รับรองทั่วไปแล้ว
4. เงินลงทุนที่ถือไว้เพื่อขายตามข้อ 3.1 ให้วัดมูลค่าด้วยจำนวนที่ต่ำกว่าระหว่างมูลค่าตามบัญชีกับมูลค่า
ยุติธรรมสุทธิจากต้นทุนในการขาย ตามมาตรฐานการบัญชี เรื่อง สินทรัพย์ไม่หมุนเวียนที่ถือไว้เพื่อขายและ
การดำเนินงานที่ยกเลิก (เมื่อมีการประกาศใช้)
5. ผู้ลงทุนต้องเลิกใช้วิธีส่วนได้เสียนับจากวันที่ผู้ลงทุนไม่มีอิทธิพลอย่างมีนัยสำคัญต่อบริษัทร่วม และ
บริษัทร่วมนั้นไม่ได้กลายเป็นบริษัทย่อยหรือกิจการร่วมค้าตามคำนิยามที่กำหนดในมาตรฐานการบัญชี
ฉบับที่ 46 (ปรับปรุง 2550) เรื่อง ส่วนได้เสียในการร่วมค้า ผู้ลงทุนจะต้องบันทึกบัญชีเงินลงทุนดังกล่าว
ในเวลาต่อมาตามข้อกำหนดของมาตรฐานการบัญชี เรื่อง การรับรู้และการวัดมูลค่าตราสารการเงิน
(เมื่อมีการประกาศใช้)
6. ผู้ลงทุนต้องถือมูลค่าตามบัญชีของเงินลงทุน ณ วันที่ผู้ลงทุนไม่ถือว่าเงินลงทุนดังกล่าวเป็นบริษัทร่วมของ
ผู้ลงทุนแล้ว เป็นราคาทุนสำหรับการวัดมูลค่าเริ่มแรกของสินทรัพย์ทางการเงินตามที่กำหนดในมาตรฐาน
การบัญชี เรื่อง การรับรู้และการวัดมูลค่าตราสารการเงิน (เมื่อมีการประกาศใช้)
7. ในการนำวิธีส่วนได้เสียมาปฏิบัติ ผู้ลงทุนต้องใช้งบการเงินล่าสุดของบริษัทร่วม หากวันที่ในงบการเงินของ
ผู้ลงทุนและบริษัทร่วมแตกต่างกัน ให้บริษัทร่วมจัดทำงบการเงินให้มีวันที่เดียวกับวันที่ในงบการเงินของ
ผู้ลงทุนเพื่อการใช้ประโยชน์ของผู้ลงทุน เว้นแต่จะไม่สามารถทำได้ในทางปฏิบัติ
8. เพื่อให้เป็นไปตามข้อกำหนดในย่อหน้าที่ 7 หากงบการเงินของบริษัทร่วมที่จะนำมาใช้ในการนำวิธี
ส่วนได้เสียมาปฏิบัติมีวันที่แตกต่างจากวันที่ในงบการเงินของผู้ลงทุน ผู้ลงทุนต้องปรับปรุงผลกระทบของ
รายการหรือเหตุการณ์ทางบัญชีที่สำคัญที่เกิดขึ้นในระหว่างวันที่ในงบการเงินของบริษัทร่วมกับวันที่ใน
งบการเงินของผู้ลงทุน อย่างไรก็ตาม งบการเงินของบริษัทร่วมและผู้ลงทุนอาจมีวันที่ในงบการเงินแตกต่าง
กันได้ไม่เกินกว่า 3 เดือน ทั้งนี้ ช่วงระยะเวลาของงวดบัญชีและความแตกต่างของวันที่ในงบการเงินจะต้อง
เหมือนกันในทุกๆ งวดบัญชี
9. ผู้ลงทุนต้องจัดทำงบการเงินโดยใช้นโยบายการบัญชีเดียวกันสำหรับรายการบัญชีที่เหมือนกันและเหตุการณ์
ทางบัญชีที่คล้ายคลึงกัน
งบการเงินเฉพาะกิจการ
10. ผู้ลงทุนต้องบันทึกบัญชีเงินลงทุนในบริษัทร่วมในงบการเงินเฉพาะกิจการของผู้ลงทุนตามข้อกำหนดใน
ย่อหน้าที่ 16–19 ของมาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 44 (ปรับปรุง 2550) เรื่อง งบการเงินรวมและ
งบการเงินเฉพาะกิจการ
การเปิดเผยข้อมูล
11. ผู้ลงทุนต้องเปิดเผยข้อมูลดังต่อไปนี้
11.1 มูลค่ายุติธรรมของเงินลงทุนในบริษัทร่วมซึ่งมูลค่าดังกล่าวเป็นราคาที่เปิดเผยต่อสาธารณชน
11.2 ข้อมูลทางการเงินโดยสรุปของบริษัทร่วม รวมทั้งมูลค่ารวมของสินทรัพย์ หนี้สิน รายได้ และ
ผลกำไรหรือขาดทุน
11.3 เหตุผลที่ผู้ลงทุนมีอิทธิพลอย่างมีนัยสำคัญ ทั้งที่ผู้ลงทุนมีอำนาจในการออกเสียงหรืออำนาจใน
การออกเสียงที่อาจเกิดขึ้น ทั้งทางตรงหรือทางอ้อมโดยผ่านบริษัทย่อยอื่นในกิจการที่ถูกลงทุน
น้อยกว่าร้อยละ 20
11.4 เหตุผลที่ผู้ลงทุนไม่มีอิทธิพลอย่างมีนัยสำคัญ ทั้งที่ผู้ลงทุนมีอำนาจในการออกเสียงหรืออำนาจใน
การออกเสียงที่อาจเกิดขึ้น ทั้งทางตรงหรือทางอ้อมโดยผ่านบริษัทย่อยอื่นในกิจการที่ถูกลงทุน
เท่ากับหรือมากกว่าร้อยละ 20
11.5 วันที่ในงบการเงินของบริษัทร่วม เมื่อผู้ลงทุนใช้งบการเงินของบริษัทร่วมนั้นในการนำวิธีส่วนได้เสีย
มาปฏิบัติซึ่งมีวันที่ในงบการเงินหรืองวดบัญชีแตกต่างจากวันที่ในงบการเงินของผู้ลงทุน รวมทั้ง
เหตุผลในการใช้วันที่ในงบการเงินหรืองวดบัญชีที่แตกต่างกัน
11.6 ลักษณะและขอบเขตของข้อจำกัดใดๆ ที่มีสาระสำคัญ (เช่น ผลจากภาระผูกพันในการกู้ยืมหรือ
เงื่อนไขทางกฎหมาย) ต่อความสามารถของบริษัทร่วมในการโอนเงินทุนให้แก่ผู้ลงทุนไม่ว่าจะเป็นใน
รูปของเงินปันผล หรือการจ่ายคืนเงินกู้ยืมหรือเงินทดรองจ่ายล่วงหน้า
11.7 ส่วนแบ่งในผลขาดทุนของบริษัทร่วมซึ่งยังไม่ได้รับรู้ ทั้งยอดที่เกิดขึ้นสำหรับงวดบัญชีและยอดสะสม
ในกรณีที่ผู้ลงทุนหยุดรับรู้ผลขาดทุนของบริษัทร่วมในส่วนที่เป็นของผู้ลงทุน
11.8 ข้อเท็จจริงที่บริษัทร่วมไม่นำวิธีส่วนได้เสียมาปฏิบัติตามข้อกำหนดในย่อหน้าที่ 3 และ
11.9 ข้อมูลทางการเงินโดยสรุปของบริษัทร่วม ไม่ว่าจะเป็นข้อมูลรายบริษัทหรือข้อมูลของทั้งกลุ่มบริษัท
ที่ผู้ลงทุนไม่นำวิธีส่วนได้เสียมาปฏิบัติ รวมทั้งมูลค่าของสินทรัพย์รวม หนี้สินรวม รายได้ และ
ผลกำไรหรือขาดทุน
12. ผู้ลงทุนต้องจัดประเภทรายการเงินลงทุนในบริษัทร่วมซึ่งบันทึกบัญชีโดยใช้วิธีส่วนได้เสียเป็นสินทรัพย์
ไม่หมุนเวียน นอกจากนี้ ผู้ลงทุนต้องเปิดเผยส่วนแบ่งของผู้ลงทุนในผลกำไรหรือขาดทุนของบริษัทร่วม
มูลค่าตามบัญชีของเงินลงทุนในบริษัทร่วม และส่วนของการดำเนินงานที่ยกเลิกของบริษัทร่วมเป็นรายการ
แยกต่างหาก
13. ผู้ลงทุนต้องรับรู้มูลค่าของการเปลี่ยนแปลงใดๆ ซึ่งรับรู้โดยตรงในส่วนของเจ้าของของบริษัทร่วมตามที่
ผู้ลงทุนมีส่วนได้เสียเป็นรายการหนึ่งในส่วนของเจ้าของของผู้ลงทุนและจะต้องเปิดเผยรายการดังกล่าวใน
งบแสดงการเปลี่ยนแปลงในส่วนของเจ้าของตามที่กำหนดในมาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 35 (ปรับปรุง
2550) เรื่อง การนำเสนองบการเงิน
6
14. ตามที่กำหนดในมาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 53 เรื่อง ประมาณการหนี้สิน หนี้สินที่อาจเกิดขึ้น และสินทรัพย์
ที่อาจเกิดขึ้น ผู้ลงทุนต้องเปิดเผยข้อมูลต่อไปนี้
14.1 หนี้สินที่อาจเกิดขึ้นของบริษัทร่วมในส่วนที่เป็นของผู้ลงทุน ซึ่งเกิดขึ้นร่วมกันกับผู้ลงทุนอื่น และ
14.2 หนี้สินที่อาจเกิดขึ้นซึ่งเกิดขึ้นเนื่องจากผู้ลงทุนมีภาระต่อหนี้สินใดๆ ไม่ว่าจะทั้งหมดหรือในบางส่วน
ของบริษัทร่วม
วันถือปฏิบัติ
15. มาตรฐานการบัญชีฉบับนี้ให้ถือปฏิบัติกับงบการเงินสำหรับรอบระยะเวลาบัญชีที่เริ่มในหรือหลังวันที่
1 มกราคม 2550 เป็นต้นไป อย่างไรก็ตาม กิจการสามารถปฏิบัติตามมาตรฐานการบัญชีฉบับนี้
ก่อนวันถือปฏิบัติ และหากกิจการต้องการปฏิบัติตามมาตรฐานการบัญชีฉบับนี้ก่อนวันที่ 1 มกราคม 2550
กิจการต้องเปิดเผยข้อเท็จจริงดังกล่าวในงบการเงิน
คลิ๊กเพื่อดูไฟล์ฉบับเต็ม
มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 44 (ปรับปรุง 2550)
คำแถลงการณ์
มาตรฐานการบัญชีฉบับนี้ได้ปรับปรุงให้เป็นไปตามมาตรฐานการบัญชีระหว่างประเทศ ฉบับที่ 27 เรื่อง
งบการเงินรวมและงบการเงินเฉพาะกิจการ พ.ศ. 2549 (IAS No. 27, Consolidated and Separate Financial
Statements (revised 2006))
มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 44 (ปรับปรุง 2550) เรื่อง งบการเงินรวมและงบการเงิน
เฉพาะกิจการ
ขอบเขต
1. มาตรฐานการบัญชีฉบับนี้ให้ถือปฏิบัติกับการจัดทำและนำเสนองบการเงินรวมสำหรับกลุ่มกิจการที่อยู่
ภายใต้การควบคุมของบริษัทใหญ่
2. มาตรฐานการบัญชีฉบับนี้ให้ถือปฏิบัติกับวิธีการบัญชีสำหรับเงินลงทุนในบริษัทย่อย เงินลงทุนในกิจการ
ที่ควบคุมร่วมกัน และเงินลงทุนในบริษัทร่วมในงบการเงินเฉพาะกิจการ
คำนิยาม
3. คำศัพท์ที่ใช้ในมาตรฐานการบัญชีฉบับนี้มีความหมายโดยเฉพาะ ดังนี้
งบการเงินรวม หมายถึง งบการเงินของกลุ่มกิจการที่นำเสนอเสมือนว่าเป็นงบการเงินของ
หน่วยงานทางเศรษฐกิจหน่วยงานเดียว
การควบคุม หมายถึง อำนาจในการกำหนดนโยบายทางการเงินและการดำเนินงานของ
กิจการเพื่อให้ได้รับประโยชน์จากกิจกรรมต่างๆ ของกิจการนั้น
วิธีราคาทุน หมายถึง วิธีการบัญชีสำหรับเงินลงทุนซึ่งรับรู้รายการด้วยราคาทุน โดย
ผู้ลงทุนจะรับรู้รายได้จากเงินลงทุนเมื่อผู้ลงทุนได้รับการปันส่วน
รายได้จากกำไรสะสมของกิจการที่ถูกลงทุนหลังจากวันที่ได้ลงทุน
ในกิจการนั้น ทั้งนี้ การปันส่วนรายได้ที่ได้รับในส่วนที่เกินกว่า
กำไรดังกล่าวให้ถือว่าเป็นการคืนเงินลงทุน ซึ่งจะรับรู้รายการโดย
การลดราคาทุนของเงินลงทุนนั้น
กลุ่มกิจการ หมายถึง บริษัทใหญ่และบริษัทย่อยทุกบริษัทของบริษัทใหญ่
ส่วนได้เสียของ
ผู้ถือหุ้นส่วนน้อย
หมายถึง ส่วนของกำไรหรือขาดทุน และสินทรัพย์สุทธิของบริษัทย่อย เฉพาะ
ส่วนที่เป็นส่วนได้เสียในส่วนของเจ้าของที่ไม่ได้เป็นของบริษัทใหญ่
ทั้งโดยทางตรงหรือโดยทางอ้อมผ่านทางบริษัทย่อยของบริษัทใหญ่
บริษัทใหญ่ หมายถึง กิจการซึ่งมีบริษัทย่อยอย่างน้อยหนึ่งแห่ง
งบการเงินเฉพาะ
กิจการ
หมายถึง งบการเงินที่นำเสนอโดยบริษัทใหญ่ หรือโดยผู้ลงทุนในบริษัทร่วม
หรือโดยผู้ร่วมค้าในกิจการที่ควบคุมร่วมกัน ซึ่งการบันทึกบัญชี
เงินลงทุนเป็นไปตามเกณฑ์ส่วนได้เสียในส่วนของเจ้าของโดยตรง
มิใช่ตามเกณฑ์ของผลการดำเนินงานที่เกิดขึ้นและสินทรัพย์สุทธิ
ของกิจการที่ถูกลงทุน
บริษัทย่อย หมายถึง กิจการซึ่งรวมถึงกิจการที่ไม่ได้ก่อตั้งในรูปบริษัท เช่น ห้างหุ้นส่วน
ซึ่งอยู่ภายใต้การควบคุมของกิจการอื่น (บริษัทใหญ่) การนำเสนองบการเงินรวม
4. บริษัทใหญ่ต้องนำเสนองบการเงินรวมซึ่งรวมเงินลงทุนในบริษัทย่อยทั้งหมดตามมาตรฐานการบัญชี
ฉบับนี้ เว้นแต่บริษัทใหญ่จะมีลักษณะตามข้อกำหนดที่ระบุไว้ในย่อหน้าที่ 5
5. บริษัทใหญ่ไม่จำเป็นต้องนำเสนองบการเงินรวม หากเป็นไปตามลักษณะที่กำหนดทุกข้อดังนี้
5.1 บริษัทใหญ่มีฐานะเป็นบริษัทย่อยซึ่งถูกกิจการอื่นควบคุมอยู่ทั้งหมด หรือบางส่วน โดยที่ผู้ถือหุ้นอื่น
ของกิจการ รวมทั้งผู้ถือหุ้นที่ไม่มีสิทธิออกเสียงได้รับทราบและไม่คัดค้านในการที่บริษัทใหญ่จะ
ไม่นำเสนองบการเงินรวม
5.2 ตราสารทุนหรือตราสารหนี้ของบริษัทใหญ่ไม่มีการซื้อขายในตลาดสาธารณะ (ไม่ว่าจะเป็นตลาด
หลักทรัพย์ในประเทศหรือต่างประเทศหรือการซื้อขายนอกตลาดหลักทรัพย์ รวมทั้งตลาดใน
ท้องถิ่นและในภูมิภาค)
5.3 บริษัทใหญ่ไม่ได้นำส่งหรืออยู่ในกระบวนการของการนำส่งงบการเงินของบริษัทให้แก่สำนักงาน
คณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์หรือหน่วยงานกำกับดูแลอื่น เพื่อวัตถุประสงค์ในการออกขาย
หลักทรัพย์ใดๆ ในตลาดสาธารณะ
5.4 บริษัทใหญ่ในลำดับสูงสุดหรือบริษัทใหญ่ในระหว่างกลางได้จัดทำงบการเงินรวมเผยแพร่เพื่อ
ประโยชน์ของสาธารณชนซึ่งเป็นไปตามมาตรฐานการบัญชีที่รับรองทั่วไปแล้ว
ขอบเขตของงบการเงินรวม
6. ในการนำเสนองบการเงินรวม บริษัทใหญ่ต้องรวมงบการเงินของบริษัทย่อยทั้งหมดไว้ในงบการเงินรวม
ขั้นตอนในการจัดทำงบการเงินรวม
7. กิจการต้องตัดยอดคงเหลือ รายการบัญชี รวมถึงรายได้และค่าใช้จ่ายระหว่างกันของกิจการที่อยู่ในกลุ่ม
ทั้งจำนวน
8. งบการเงินของบริษัทใหญ่และบริษัทย่อยที่นำมาจัดทำงบการเงินรวมนั้นต้องมีวันที่ในงบการเงิน
วันเดียวกัน หากวันที่ในงบการเงินของบริษัทใหญ่และบริษัทย่อยแตกต่างกัน บริษัทย่อยจะต้องจัดทำ
งบการเงินเพิ่มเติมเพื่อให้งบการเงินนั้นมีวันที่เดียวกันกับงบการเงินของบริษัทใหญ่เพื่อประโยชน์
ในการจัดทำงบการเงินรวม เว้นแต่จะไม่สามารถกระทำได้ในทางปฏิบัติ
9. เพื่อให้เป็นไปตามข้อกำหนดในย่อหน้าที่ 8 หากงบการเงินของบริษัทย่อยที่นำมาจัดทำงบการเงินรวมมี
วันที่ในงบการเงินแตกต่างจากวันที่ในงบการเงินของบริษัทใหญ่ กิจการต้องปรับปรุงผลกระทบ
ของรายการบัญชีหรือเหตุการณ์ที่มีนัยสำคัญที่เกิดขึ้นระหว่างวันที่ในงบการเงินของบริษัทย่อยกับวันที่
ในงบการเงินของบริษัทใหญ่ อย่างไรก็ตาม งบการเงินของบริษัทย่อยและบริษัทใหญ่ที่นำมาจัดทำ
งบการเงินรวมอาจมีวันที่ในงบการเงินแตกต่างกันได้ไม่เกินกว่า 3 เดือน ทั้งนี้ ช่วงระยะเวลางวดบัญชี
ของงบการเงินและความแตกต่างของวันที่ในงบการเงินจะต้องเหมือนกันในทุกๆ งวดบัญชี
10. งบการเงินรวมต้องจัดทำโดยใช้นโยบายการบัญชีเดียวกันสำหรับรายการบัญชีที่เหมือนกันและ
เหตุการณ์อื่นในสถานการณ์ที่คล้ายคลึงกัน
11. กิจการต้องบันทึกบัญชีเงินลงทุนในกิจการอื่นตามข้อกำหนดที่ระบุไว้ในมาตรฐานการบัญชี เรื่อง การ
รับรู้และการวัดมูลค่าตราสารการเงิน (เมื่อมีการประกาศใช้) นับจากวันที่กิจการนั้นสิ้นสุดการเป็น
บริษัทย่อย โดยที่บริษัทย่อยนั้นไม่ได้เปลี่ยนสถานะเป็นบริษัทร่วมตามคำนิยามที่กำหนดไว้ในมาตรฐาน
การบัญชี ฉบับที่ 45 (ปรับปรุง 2550) เรื่อง เงินลงทุนในบริษัทร่วม หรือเป็นกิจการที่ควบคุมร่วมกัน
ตามที่กำหนดไว้ในมาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 46 (ปรับปรุง 2550) เรื่อง ส่วนได้เสียในการร่วมค้า
12. มูลค่าตามบัญชีของเงินลงทุนในบริษัทย่อย นับจากวันที่กิจการสิ้นสุดการเป็นบริษัทย่อย ให้ถือเป็น
ราคาทุนเริ่มแรกของสินทรัพย์ทางการเงิน ตามมาตรฐานการบัญชี เรื่อง การรับรู้และการวัดมูลค่า
ตราสารการเงิน (เมื่อมีการประกาศใช้)
13. ส่วนได้เสียของผู้ถือหุ้นส่วนน้อยต้องแสดงในงบดุลรวมเป็นรายการแยกต่างหากจากส่วนของผู้ถือหุ้น
ที่เป็นของบริษัทใหญ่ภายใต้ส่วนของเจ้าของ กำไรหรือขาดทุนที่เป็นส่วนของผู้ถือหุ้นส่วนน้อยต้อง
แสดงเป็นรายการแยกต่างหากเช่นเดียวกัน
การบัญชีสำหรับเงินลงทุนในบริษัทย่อย เงินลงทุนในกิจการที่ควบคุมร่วมกัน และเงิน
ลงทุนในบริษัทร่วมในงบการเงินเฉพาะกิจการ
14. เมื่อจัดทำงบการเงินเฉพาะกิจการ เงินลงทุนในบริษัทย่อย หรือเงินลงทุนในกิจการที่ควบคุมร่วมกัน
หรือเงินลงทุนในบริษัทร่วมที่ไม่ได้จัดประเภทเป็นเงินลงทุนถือไว้เพื่อขายหรือรวมอยู่ในกลุ่มกิจการ
รอจำหน่ายตามมาตรฐานการบัญชี เรื่อง สินทรัพย์ไม่หมุนเวียนที่ถือไว้เพื่อขายและการดำเนินงานที่
ยกเลิก (เมื่อมีการประกาศใช้) ให้บันทึกบัญชีด้วยวิธีใดวิธีหนึ่งดังนี้
14.1 ราคาทุน
14.2 วิธีการบัญชีตามที่กำหนดในมาตรฐานการบัญชี เรื่อง การรับรู้และการวัดมูลค่าตราสารการเงิน
(เมื่อมีการประกาศใช้)
ให้ใช้วิธีปฏิบัติทางบัญชีเดียวกันสำหรับเงินลงทุนแต่ละประเภท สำหรับเงินลงทุนในบริษัทย่อย หรือ
เงินลงทุนในกิจการที่ควบคุมร่วมกัน หรือเงินลงทุนในบริษัทร่วมที่จัดประเภทเป็นเงินลงทุนถือไว้
เพื่อขายหรือรวมอยู่ในกลุ่มกิจการรอจำหน่ายให้ปฏิบัติตามมาตรฐานการบัญชี เรื่อง สินทรัพย์
ไม่หมุนเวียนที่ถือไว้เพื่อขายและการดำเนินงานที่ยกเลิก (เมื่อมีการประกาศใช้)
15. มาตรฐานการบัญชีฉบับนี้กำหนดให้กิจการต้องนำเสนองบการเงินเฉพาะกิจการเพื่อประโยชน์ต่อ
สาธารณะ ซึ่งกิจการที่มีการนำเสนองบการเงินเฉพาะกิจการต้องปฏิบัติตามข้อกำหนดในย่อหน้าที่ 14
และย่อหน้าที่ 16 - 19 เพื่อให้เป็นไปตามแนวปฏิบัติของมาตรฐานการบัญชีที่รับรองทั่วไป ทั้งนี้
กิจการต้องนำเสนองบการเงินรวมตามที่กำหนดในย่อหน้าที่ 4 โดยในกรณีที่กิจการมีเฉพาะเงินลงทุนใน
บริษัทร่วมหรือเงินลงทุนในกิจการที่ควบคุมร่วมกัน ก็ให้เสนองบการเงินแบบงบการเงินที่แสดง
เงินลงทุนในบริษัทร่วมหรือเงินลงทุนในกิจการที่ควบคุมร่วมกันตามวิธีส่วนได้เสีย เว้นแต่จะเป็นไปตาม
ข้อยกเว้นที่กำหนดในย่อหน้าที่ 5
16. เงินลงทุนในกิจการที่ควบคุมร่วมกัน และเงินลงทุนในบริษัทร่วม ซึ่งกิจการได้บันทึกบัญชีตามข้อกำหนด
ของมาตรฐานการบัญชี เรื่อง การรับรู้และการวัดมูลค่าตราสารการเงิน (เมื่อมีการประกาศใช้) ใน
งบการเงินรวม กิจการต้องใช้วิธีการบัญชีเดียวกันนั้นในการบันทึกบัญชีเงินลงทุนดังกล่าวในงบการเงิน
เฉพาะกิจการของผู้ลงทุนด้วย
การเปิดเผยข้อมูล
17. กิจการต้องเปิดเผยข้อมูลต่อไปนี้ในงบการเงินรวม
17.1 ลักษณะของความสัมพันธ์ระหว่างบริษัทใหญ่และบริษัทย่อยในกรณีที่บริษัทใหญ่ไม่มีอำนาจ
ในการออกเสียงในบริษัทย่อยนั้นเกินกว่ากึ่งหนึ่ง ไม่ว่าจะเป็นทางตรงหรือทางอ้อมโดยผ่านกิจการ
หรือบริษัทย่อยอื่น
17.2 เหตุผลที่กิจการไม่มีอำนาจในการควบคุมกิจการอื่นทั้งที่กิจการมีอำนาจในการออกเสียงหรือ
อำนาจในการออกเสียงที่อาจเกิดขึ้นในกิจการนั้นไม่ว่าจะเป็นทางตรงหรือทางอ้อมโดยผ่านกิจการ
หรือบริษัทย่อยอื่นเกินกว่ากึ่งหนึ่ง
17.3 วันที่ในงบการเงินของบริษัทย่อย เมื่องบการเงินของบริษัทย่อยซึ่งรวมอยู่ในงบการเงินรวมมีวันที่
ในงบการเงินแตกต่างจากวันที่ในงบการเงินของบริษัทใหญ่ รวมทั้งเหตุผลในการใช้วันที่
ในงบการเงินหรืองวดบัญชีที่แตกต่างกัน
17.4 ลักษณะและขอบเขตของข้อจำกัดใดๆ ที่มีสาระสำคัญ (เช่น ผลจากภาระผูกพันในการกู้ยืมหรือ
เงื่อนไขทางกฎหมาย) ต่อความสามารถของบริษัทย่อยในการโอนเงินทุนให้แก่บริษัทใหญ่ ไม่ว่า
จะเป็นในรูปของเงินปันผลหรือการจ่ายคืนเงินกู้ยืมหรือเงินทดรองจ่ายล่วงหน้า
18. หากบริษัทใหญ่เลือกที่จะไม่นำเสนองบการเงินรวมตามเงื่อนไขที่กำหนดในย่อหน้าที่ 5 บริษัทใหญ่ต้อง
เปิดเผยข้อมูลทุกข้อดังต่อไปนี้ในงบการเงินเฉพาะกิจการของบริษัทใหญ่
18.1 ข้อเท็จจริงที่บริษัทใหญ่นำเสนองบการเงินเฉพาะกิจการ ข้อเท็จจริงที่บริษัทใหญ่เลือกที่จะไม่
จัดทำงบการเงินรวมเนื่องจากเข้าเงื่อนไขข้อยกเว้นที่กำหนด ชื่อบริษัทและประเทศที่จดทะเบียน
จัดตั้งบริษัทหรือสถานประกอบการของบริษัทที่มีการจัดทำงบการเงินรวมตามมาตรฐานการบัญชี
ที่รับรองทั่วไปเพื่อเปิดเผยต่อสาธารณชน รวมทั้งที่อยู่ที่บุคคลภายนอกสามารถติดต่อของบ
การเงินรวมดังกล่าวได้
18.2 รายละเอียดของเงินลงทุนในบริษัทย่อย เงินลงทุนในกิจการที่ควบคุมร่วมกัน และเงินลงทุนใน
บริษัทร่วมที่สำคัญ รวมทั้งรายชื่อของกิจการที่ถูกลงทุนดังกล่าว ประเทศที่จดทะเบียนจัดตั้งบริษัท
หรือสถานที่ประกอบการ สัดส่วนของความเป็นเจ้าของ และสัดส่วนของอำนาจในการออกเสียงใน
กรณีที่ต่างจากสัดส่วนของความเป็นเจ้าของ
18.3 คำอธิบายวิธีการทางบัญชีที่ใช้ในการบันทึกบัญชีเงินลงทุนที่แสดงรายละเอียดตามย่อหน้าที่ 18.2
19. หากบริษัทใหญ่ (นอกเหนือจากบริษัทใหญ่ตามย่อหน้าที่ 18) ผู้ร่วมค้าที่มีส่วนได้เสียในกิจการที่
ควบคุมร่วมกัน หรือผู้ลงทุนในบริษัทร่วม ได้จัดทำงบการเงินเฉพาะกิจการเพิ่มเติมจากงบการเงินรวม
งบการเงินเฉพาะกิจการดังกล่าวต้องเปิดเผยข้อมูลทุกข้อต่อไปนี้
19.1 ข้อเท็จจริงที่งบการเงินที่นำเสนอนั้นเป็นงบการเงินเฉพาะกิจการ รวมทั้งเหตุผลในการจัดทำ
งบการเงินเฉพาะกิจการดังกล่าว
19.2 รายละเอียดของเงินลงทุนในบริษัทย่อย เงินลงทุนในกิจการที่ควบคุมร่วมกัน และเงินลงทุนใน
บริษัทร่วมที่มีนัยสำคัญ รวมทั้งรายชื่อของกิจการที่ถูกลงทุนและประเทศที่จดทะเบียนจัดตั้งบริษัท
หรือสถานที่ประกอบการนั้นๆ สัดส่วนของความเป็นเจ้าของ และสัดส่วนของอำนาจในการ
ออกเสียงในกรณีที่ต่างจากสัดส่วนของความเป็นเจ้าของ
19.3 คำอธิบายวิธีการทางบัญชีที่ใช้ในการบันทึกบัญชีเงินลงทุนที่แสดงรายละเอียดตามย่อหน้าที่
19.2
นอกจากนี้ กิจการต้องระบุถึงงบการเงินที่นำมาจัดทำงบการเงินรวมตามที่กำหนดในย่อหน้าที่ 4 ของ
มาตรฐานการบัญชีฉบับนี้ รวมทั้งมาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 45 (ปรับปรุง 2550) เรื่อง เงินลงทุน
ในบริษัทร่วม และ มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 46 (ปรับปรุง 2550) เรื่อง ส่วนได้เสียในการร่วมค้า
วันถือปฏิบัติ
20. มาตรฐานการบัญชีฉบับนี้ให้ถือปฏิบัติกับงบการเงินสำหรับรอบระยะเวลาบัญชีที่เริ่มในหรือหลังวันที่
1 มกราคม 2550 เป็นต้นไป อย่างไรก็ตาม กิจการสามารถปฏิบัติตามมาตรฐานการบัญชีฉบับนี้ก่อน
วันถือปฏิบัติ และหากกิจการต้องการปฏิบัติตามมาตรฐานการบัญชีฉบับนี้ก่อนวันที่ 1 มกราคม 2550
กิจการต้องเปิดเผยข้อเท็จจริงดังกล่าวในงบการเงิน
คลิ๊กเพื่อดูไฟล์ฉบับเต็ม
มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 33 (ปรับปรุง 2550)
คำแถลงการณ์
มาตรฐานการบัญชีฉบับนี้ได้ปรับปรุงให้เป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนดขึ้นโดยมาตรฐานการบัญชี
ระหว่างประเทศ ฉบับที่ 23 เรื่อง ต้นทุนการกู้ยืม พ.ศ. 2549 (IAS 23 Borrowing Costs (2006)) ซึ่งมีข้อ
แตกต่างจากมาตรฐานการบัญชีฉบับเดิม ดังนี้
1. ยกเลิกข้อกำหนดเดิมที่กำหนดให้กิจการที่มีการกู้ยืมเงินต่างประเทศสามารถนำต้นทุนดอกเบี้ย
ในแต่ละงวด (ที่รวมผลต่างจากอัตราแลกเปลี่ยนแล้ว) มารวมเป็นราคาทุนของสินทรัพย์ได้
ไม่เกินจำนวนต้นทุนดอกเบี้ยที่ผู้กู้พึงต้องจ่าย หากสมมติว่ากู้ยืมเป็นเงินบาทที่มีเงื่อนไข
คล้ายคลึงกัน
2. ยกเลิกข้อกำหนดเดิมที่กำหนดให้กิจการที่มีการกู้ยืมเงินเพื่อพัฒนาที่ดิน เพื่อใช้ก่อสร้างอาคาร
ให้นำต้นทุนการกู้ยืมที่เกิดขึ้นไปรวมเป็นต้นทุนของอาคาร
มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 33 (ปรับปรุง 2550) เรื่อง ต้นทุนการกู้ยืม
ขอบเขต
1. มาตรฐานการบัญชีฉบับนี้ให้ถือปฏิบัติกับการบัญชีสำหรับต้นทุนการกู้ยืม
คำนิยาม
2. คำศัพท์ที่ใช้ในมาตรฐานการบัญชีฉบับนี้มีความหมายโดยเฉพาะ ดังนี้
ต้นทุนการกู้ยืม หมายถึง ดอกเบี้ยและต้นทุนอื่นที่เกิดขึ้นจากการกู้ยืมของกิจการ
สินทรัพย์ที่เข้าเงื่อนไข หมายถึง สินทรัพย์ที่จำเป็นต้องใช้ระยะเวลานานในการเตรียมพร้อม
เพื่อให้สามารถนำสินทรัพย์นั้นมาใช้ได้ตามประสงค์หรือนำไป
ขาย
ต้นทุนการกู้ยืม - แนวทางที่กำหนดให้ถือปฏิบัติ
การรับรู้รายการ
3. ต้นทุนการกู้ยืมต้องถือเป็นค่าใช้จ่ายในงวดบัญชีที่ค่าใช้จ่ายนั้นเกิดขึ้น
การเปิดเผยข้อมูล
4. กิจการต้องเปิดเผยนโยบายการบัญชีที่ถือปฏิบัติเกี่ยวกับต้นทุนการกู้ยืม
ต้นทุนการกู้ยืม - แนวทางที่อาจเลือกปฏิบัติ
การรับรู้รายการ
5. ต้นทุนการกู้ยืมต้องถือเป็นค่าใช้จ่ายในงวดบัญชีที่ค่าใช้จ่ายนั้นเกิดขึ้น ยกเว้นต้นทุนการกู้ยืมที่สามารถ
รวมเป็นราคาทุนของสินทรัพย์ได้ตามที่ระบุไว้ในย่อหน้าที่ 11
6. ต้นทุนการกู้ยืมที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับการได้มา การก่อสร้าง หรือการผลิตสินทรัพย์ที่เข้าเงื่อนไข
ต้องรวมเป็นส่วนหนึ่งของราคาทุนของสินทรัพย์นั้น จำนวนต้นทุนการกู้ยืมที่อนุญาตให้รวมเป็นราคาทุน
ของสินทรัพย์ต้องคำนวณตามที่มาตรฐานการบัญชีฉบับนี้ระบุไว้
ต้นทุนการกู้ยืมที่อนุญาตให้รวมเป็นราคาทุนของสินทรัพย์
7. สำหรับเงินที่กู้มาโดยเฉพาะเพื่อการจัดหาสินทรัพย์ที่เข้าเงื่อนไข จำนวนต้นทุนการกู้ยืมที่อนุญาตให้
รวมเป็นราคาทุนของสินทรัพย์ต้องเป็นต้นทุนการกู้ยืมที่เกิดขึ้นจริงระหว่างงวดของเงินกู้นั้นหักด้วย
รายได้ที่เกิดจากการนำเงินกู้ดังกล่าวไปลงทุนเป็นการชั่วคราว
8. สำหรับเงินที่กู้มาเพื่อวัตถุประสงค์ทั่วไปและได้นำมาใช้จัดหาสินทรัพย์ที่เข้าเงื่อนไข จำนวนต้นทุนการ
กู้ยืมที่อนุญาตให้รวมเป็นราคาทุนของสินทรัพย์ต้องคำนวณโดยการคูณรายจ่ายของสินทรัพย์นั้นด้วย
อัตราการตั้งขึ้นเป็นราคาทุนของสินทรัพย์ คือ อัตราถัวเฉลี่ยถ่วงน้ำหนักของต้นทุนการกู้ยืมในระหว่างงวดที่ไม่รวมต้นทุนการกู้ยืมของเงินที่กู้มาโดยเฉพาะ จำนวนต้นทุนการกู้ยืมที่รวมเป็นราคาทุนของ
สินทรัพย์ในงวดนั้นต้องไม่เกินจำนวนต้นทุนการกู้ยืมทั้งสิ้นที่เกิดขึ้นในงวดเดียวกัน
การเริ่มต้นการรวมต้นทุนการกู้ยืมเป็นราคาทุนของสินทรัพย์
9. ต้นทุนการกู้ยืมอาจรวมเป็นส่วนหนึ่งของราคาทุนของสินทรัพย์ที่เข้าเงื่อนไขเมื่อเข้าเกณฑ์ทุกข้อ
ดังต่อไปนี้
9.1 รายจ่ายเกี่ยวกับสินทรัพย์ได้เกิดขึ้น
9.2 ต้นทุนการกู้ยืมได้เกิดขึ้น
9.3 สินทรัพย์อยู่ระหว่างการดำเนินการที่จำเป็นในการเตรียมสินทรัพย์ให้อยู่ในสภาพพร้อมที่จะใช้ได้
ตามประสงค์หรือพร้อมที่จะขาย
การหยุดพักการรวมต้นทุนการกู้ยืมเป็นราคาทุนของสินทรัพย์
10. การรวมต้นทุนการกู้ยืมเป็นราคาทุนของสินทรัพย์ต้องหยุดพักในระหว่างที่การดำเนินการพัฒนา
สินทรัพย์หยุดชะงักลงเป็นเวลาต่อเนื่อง
การสิ้นสุดการรวมต้นทุนการกู้ยืมเป็นราคาทุนของสินทรัพย์
11. การรวมต้นทุนการกู้ยืมเป็นราคาทุนของสินทรัพย์ต้องสิ้นสุดลงเมื่อการดำเนินการส่วนใหญ่ที่จำเป็น
ในการเตรียมสินทรัพย์ให้อยู่ในสภาพพร้อมที่จะใช้ได้ตามประสงค์หรือพร้อมที่จะขายได้เสร็จสิ้นลง
12. สำหรับสินทรัพย์ที่สร้างเสร็จเป็นบางส่วนและสามารถใช้งานได้ขณะที่สินทรัพย์ส่วนอื่นยังอยู่ในระหว่าง
การก่อสร้าง ให้หยุดรวมต้นทุนการกู้ยืมเป็นราคาทุนของสินทรัพย์ส่วนที่สร้างเสร็จ หากการดำเนินการ
ส่วนใหญ่ที่จำเป็นในการเตรียมสินทรัพย์บางส่วนให้พร้อมที่จะใช้ได้ตามประสงค์หรือพร้อมที่จะขาย
ของสินทรัพย์ส่วนนั้นเสร็จสิ้นลง
การเปิดเผยข้อมูล
13. งบการเงินต้องเปิดเผยข้อมูลทุกข้อดังต่อไปนี้
13.1 นโยบายการบัญชีที่ใช้สำหรับต้นทุนการกู้ยืม
13.2 จำนวนต้นทุนการกู้ยืมที่รวมเป็นราคาทุนของสินทรัพย์ในระหว่างงวด
13.3 อัตราการตั้งขึ้นเป็นราคาทุนของสินทรัพย์ที่ใช้คำนวณต้นทุนการกู้ยืมที่อนุญาตให้รวมเป็นราคา
ทุนของสินทรัพย์
การปฏิบัติในช่วงเปลี่ยนแปลง
14. หากการปฏิบัติตามมาตรฐานการบัญชีฉบับนี้ทำให้กิจการต้องเปลี่ยนแปลงนโยบายบัญชี มาตรฐาน
การบัญชีฉบับนี้สนับสนุนให้กิจการปฏิบัติตามมาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 39 (ปรับปรุง 2550) เรื่อง
นโยบายบัญชี การเปลี่ยนแปลงประมาณการทางบัญชี และข้อผิดพลาด หรือกิจการอาจรวมต้นทุน
การกู้ยืมที่เกิดขึ้นภายหลังวันที่มาตรฐานการบัญชีฉบับนี้ให้ถือปฏิบัติเป็นราคาทุนของสินทรัพย์
วันถือปฏิบัติ
15. มาตรฐานการบัญชีฉบับที่ 33 (ปรับปรุง 2550) นี้ให้ถือปฏิบัติกับงบการเงินสำหรับรอบ
ระยะเวลาบัญชีที่เริ่มในหรือหลังวันที่ 1 มกราคม 2551 เป็นต้นไป
คลิ๊กเพื่อดูไฟล์ฉบับเต็ม
มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 25 (ปรับปรุง 2550)
คำแถลงการณ์
มาตรฐานการบัญชีฉบับนี้ได้ปรับปรุงถ้อยคำและแก้ไขรูปแบบใหม่ให้เป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนดขึ้นโดย
มาตรฐานการบัญชีระหว่างประเทศ ฉบับที่ 7 เรื่อง งบกระแสเงินสด พ.ศ. 2549 (IAS 7 Cash Flows Statements
(2006)) ซึ่งมีข้อแตกต่างจากฉบับเดิมคือ มาตรฐานการบัญชีฉบับนี้ยกเลิกการแสดงกระแสเงินสดที่เกี่ยวข้องกับรายการพิเศษ
มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 25 (ปรับปรุง 2550) เรื่อง งบกระแสเงินสด
ขอบเขต
1. กิจการต้องจัดทำงบกระแสเงินสดโดยให้ปฏิบัติตามที่กำหนดในมาตรฐานการบัญชีฉบับนี้และถือเป็น
งบหนึ่งของงบการเงินที่เสนอในแต่ละรอบระยะเวลาบัญชี
คำนิยาม
2. คำศัพท์ที่ใช้ในมาตรฐานฉบับนี้มีความหมายโดยเฉพาะดังต่อไปนี้
เงินสด หมายถึง เงินสดในมือและเงินฝากธนาคารที่ต้องจ่ายคืนเมื่อทวงถาม
รายการเทียบเท่าเงินสด หมายถึง เงินลงทุนระยะสั้นที่มีสภาพคล่องสูง ซึ่งพร้อมที่จะ
เปลี่ยนเป็นเงินสดในจำนวนที่ทราบได้ และมีความเสี่ยงต่อ
การเปลี่ยนแปลงในมูลค่าน้อย หรือไม่มีนัยสำคัญ
กระแสเงินสด หมายถึง การได้มาและใช้ไปของเงินสดและรายการเทียบเท่าเงินสด
กิจกรรมดำเนินงาน หมายถึง กิจกรรมหลักที่ก่อให้เกิดรายได้ของกิจการ และกิจกรรมอื่น
ที่มิใช่กิจกรรมลงทุนหรือกิจกรรมจัดหาเงิน
กิจกรรมลงทุน หมายถึง การได้มาและจำหน่ายสินทรัพย์ระยะยาวและเงินลงทุนอื่น
ซึ่งไม่รวมอยู่ในรายการเทียบเท่าเงินสด
กิจกรรมจัดหาเงิน หมายถึง กิจกรรมที่มีผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในขนาดและ
องค์ประกอบของส่วนของเจ้าของและส่วนของการกู้ยืมของ
กิจการ
การนำเสนองบกระแสเงินสด
3. งบกระแสเงินสดต้องแสดงกระแสเงินสดที่เกิดขึ้นในระหว่างรอบระยะเวลาบัญชี โดยจำแนกเป็น
กระแสเงินสดจากกิจกรรมดำเนินงาน จากกิจกรรมลงทุน และจากกิจกรรมจัดหาเงิน
การแสดงกระแสเงินสดจากกิจกรรมดำเนินงาน
4. กิจการต้องแสดงกระแสเงินสดจากกิจกรรมดำเนินงาน โดย
4.1 วิธีทางตรงซึ่งแสดงเงินสดรับและเงินสดจ่ายตามลักษณะของรายการหลักที่สำคัญ หรือ
4.2 วิธีทางอ้อม ซึ่งแสดงด้วยยอดกำไรหรือขาดทุนสุทธิปรับปรุงด้วยผลกระทบของรายการที่ไม่
เกี่ยวกับเงินสด และรายการค้างรับ ค้างจ่ายของเงินสดรับและเงินสดจ่ายที่เกี่ยวข้องกับการ
ดำเนินงานในอดีตหรือในอนาคต และรายการของรายได้หรือค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวกับกระแสเงินสด
จากการลงทุนหรือการจัดหาเงินการแสดงกระแสเงินสดจากกิจกรรมลงทุนและกิจกรรมจัดหาเงิน
5. กิจการต้องแสดงเงินสดรับและเงินสดจ่ายแยกตามลักษณะรายการที่สำคัญต่างๆ ที่เกิดจากกิจกรรม
ลงทุนและกิจกรรมจัดหาเงิน ยกเว้นกระแสเงินสดตามที่ระบุในย่อหน้า 6 และ 7 ให้แสดงด้วยยอดสุทธิ
การแสดงกระแสเงินสดเป็นยอดสุทธิ
6. กระแสเงินสดที่เกิดจากกิจกรรมดำเนินงาน กิจกรรมลงทุน หรือกิจกรรมจัดหาเงินต่อไปนี้ อาจจะแสดง
ด้วยยอดสุทธิได้ คือ
6.1 เงินสดรับและจ่ายแทนลูกค้าถ้ากระแสเงินสดสะท้อนถึงกิจกรรมของลูกค้ามากกว่ากิจกรรมของ
กิจการ และ
6.2 เงินสดรับและจ่ายของรายการที่หมุนเร็ว จำนวนเงินมาก และอายุถึงกำหนดสั้น
7. กระแสเงินสดที่เกิดจากแต่ละกิจกรรมของสถาบันการเงินต่อไปนี้ อาจแสดงด้วยยอดสุทธิ คือ
7.1 เงินสดรับและจ่ายสำหรับรายการรับฝากเงินและรายการจ่ายคืนเงินฝากที่ระบุวันถึงกำหนด
ไว้แน่นอน
7.2 การนำเงินไปฝากและการถอนเงินฝากจากสถาบันการเงินอื่น และ
7.3 เงินสดที่จ่ายล่วงหน้าเพื่อลูกค้าและเงินให้กู้แก่ลูกค้า การจ่ายคืนเงินล่วงหน้าเพื่อลูกค้าและ
เงินกู้ยืมดังกล่าวนั้น
กระแสเงินสดที่เป็นเงินตราต่างประเทศ
8. กระแสเงินสดจากรายการที่เป็นเงินตราต่างประเทศต้องบันทึกเป็นสกุลเงินหลักที่ใช้ในการดำเนินงาน
ของกิจการที่เสนองบการเงินโดยใช้อัตราแลกเปลี่ยนระหว่างสกุลเงินหลักที่ใช้ในการดำเนินงานและ
สกุลเงินตราต่างประเทศ ณ วันที่เกิดรายการของกระแสเงินสด
9. กระแสเงินสดของบริษัทย่อยในต่างประเทศต้องแปลงค่าเงินตราตามอัตราแลกเปลี่ยนระหว่างสกุลเงิน
หลักที่ใช้ในการดำเนินงานและสกุลเงินตราต่างประเทศ ณ วันที่เกิดรายการของกระแสเงินสด
ดอกเบี้ยและเงินปันผล
10. กิจการต้องเปิดเผยกระแสเงินสดรับ และกระแสเงินสดจ่ายสำหรับดอกเบี้ยและเงินปันผล แยกเป็น
รายการต่างหากและควรจัดประเภทแต่ละรายการเข้าเป็นกิจกรรมดำเนินงาน กิจกรรมลงทุน หรือ
กิจกรรมจัดหาเงินในแต่ละรอบระยะเวลาบัญชีโดยสม่ำเสมอ
ภาษีเงินได้
11. กิจการต้องเปิดเผยกระแสเงินสดจากภาษีเงินได้เป็นรายการแยกต่างหากและต้องจัดประเภทไว้เป็น
กระแสเงินสดจากกิจกรรมดำเนินงาน ยกเว้นในกรณีที่ระบุโดยเจาะจงได้ว่าเป็นของกิจกรรมจัดหาเงิน
และกิจกรรมลงทุนการซื้อและจำหน่ายบริษัทย่อยและหน่วยธุรกิจอื่น
12. ยอดรวมของกระแสเงินสดที่เกิดจากการซื้อและจากการจำหน่ายบริษัทย่อยหรือหน่วยธุรกิจอื่นต้อง
แสดงเป็นรายการแยกต่างหากและจัดเป็นกิจกรรมลงทุน
13. กิจการต้องเปิดเผยรายการเกี่ยวกับการซื้อและการจำหน่ายบริษัทย่อยหรือหน่วยธุรกิจอื่นที่เกิดขึ้น
ในแต่ละรอบระยะเวลาบัญชีด้วยจำนวนรวม ดังนี้
13.1 ยอดซื้อทั้งหมดหรือสิ่งตอบแทนทั้งหมดที่ได้รับจากการจำหน่าย
13.2 สัดส่วนของการซื้อหรือสิ่งตอบแทนที่ได้รับจากการจำหน่ายที่ได้มีการจ่ายชำระกันเป็นเงินสดและ
รายการเทียบเท่าเงินสด
13.3 จำนวนเงินสดและรายการเทียบเท่าเงินสดในบริษัทย่อยหรือหน่วยธุรกิจที่ซื้อ หรือจำหน่าย และ
13.4 มูลค่าของสินทรัพย์และหนี้สินนอกเหนือจากรายการเงินสดหรือรายการเทียบเท่าเงินสดในบริษัท
ย่อยหรือหน่วยธุรกิจที่ซื้อหรือขายโดยสรุปแยกตามประเภทหลัก
รายการที่มิใช่เงินสด
14. รายการลงทุนและรายการจัดหาเงินที่มิได้มีการใช้เงินสดหรือรายการเทียบเท่าเงินสดต้องไม่นำมารวม
ในงบกระแสเงินสด รายการดังกล่าวต้องเปิดเผยให้ทราบไว้ในส่วนอื่นของงบการเงินเพื่อเป็นการให้
ข้อมูลที่เกี่ยวข้องทั้งหมดที่เกี่ยวกับกิจกรรมลงทุน และกิจกรรมจัดหาเงิน
องค์ประกอบของเงินสดและรายการเทียบเท่าเงินสด
15. กิจการต้องแสดงองค์ประกอบของเงินสดและรายการเทียบเท่าเงินสดและแสดงการกระทบยอดของ
จำนวนเงินสดและรายการเทียบเท่าเงินสดที่แสดงในงบกระแสเงินสดกับรายการที่เทียบเท่าตามที่แสดง
ในงบดุล
การเปิดเผยอื่น
16. กิจการต้องเปิดเผยจำนวนเงินของเงินสดและรายการเทียบเท่าเงินสดที่มีนัยสำคัญที่กิจการถือไว้แต่ไม่
อาจจะนำไปใช้โดยบริษัทในกลุ่ม โดยให้มีคำชี้แจงของฝ่ายบริหารประกอบด้วย
วันถือปฏิบัติ
17. มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 25 (ปรับปรุง 2550) ให้ถือปฏิบัติกับงบการเงินสำหรับรอบระยะเวลา
บัญชีที่เริ่มในหรือหลังวันที่ 1 มกราคม 2551 เป็นต้นไป
คลิ๊กเพื่อดูไฟล์ฉบับเต็ม
มาตรฐานการบัญชีฉบับปรับปรุงใหม่ รวม 6 ฉบับ
ประกาศสภาวิชาชีพบัญชี
ฉบับที่ ๙/๒๕๕๐
เรื่อง มาตรฐานการบัญชี
อาศัยอำนาจตามมาตรา ๗ (๓) และมาตรา ๓๔ แห่งพระราชบัญญัติวิชาชีพบัญชี พ.ศ. ๒๕๔๗
ที่กำหนดให้สภาวิชาชีพบัญชีมีอำนาจหน้าที่ในการกำหนดและปรับปรุงมาตรฐานการบัญชีเพื่อใช้เป็น
มาตรฐานในการจัดทำบัญชีตามกฎหมายว่าด้วยการบัญชี และกฎหมายอื่น ทั้งนี้ มาตรฐานการบัญชีนั้น
ต้องได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการกำกับดูแลการประกอบวิชาชีพบัญชี และประกาศใน
ราชกิจจานุเบกษาแล้ว จึงจะใช้บังคับได้
สภาวิชาชีพบัญชี ในพระบรมราชูปถัมภ์ โดยความเห็นชอบในการกำหนดมาตรฐานการบัญชี
ของคณะกรรมการกำกับดูแลการประกอบวิชาชีพในการประชุมครั้งที่ ๖/(๑/๒๕๕๐) เมื่อวันที่ ๒๕
เมษายน ๒๕๕๐ จึงออกประกาศ ดังนี้
๑. ให้ยกเลิกมาตรฐานการบัญชี ตามประกาศ ก.บช. ฉบับที่ ๔๒ (พ.ศ. ๒๕๔๓) เรื่อง
มาตรฐานการบัญชี รวม ๕ ฉบับ ดังนี้
๑.๑ มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ ๒๕ เรื่อง งบกระแสเงินสด
๑.๒ มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ ๓๓ เรื่อง ต้นทุนการกู้ยืม
๑.๓ มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ ๔๔ เรื่อง งบการเงินรวมและการบัญชีสำหรับเงินลงทุนย่อย
๑.๔ มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ ๔๕ เรื่อง การบัญชีสำหรับเงินลงทุนในบริษัทร่วม
๑.๕ มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ ๔๖ เรื่อง รายงานทางการเงินเกี่ยวกับส่วนได้เสียใน
การร่วมค้า
๒. ให้ยกเลิกมาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ ๔๙ เรื่อง สัญญาก่อสร้าง ตามประกาศ ก.บช.
ฉบับที่ ๔๘ (พ.ศ. ๒๕๔๕) เรื่อง มาตรฐานการบัญชี
๓. ให้ใช้มาตรฐานการบัญชีตามบัญชีแนบท้ายประกาศนี้แทน
๓.๑ มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ ๒๕ (ปรับปรุง ๒๕๕๐) เรื่อง งบกระแสเงินสด
๓.๒ มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ ๓๓ (ปรับปรุง ๒๕๕๐) เรื่อง ต้นทุนการกู้ยืม
๓.๓ มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ ๔๔ (ปรับปรุง ๒๕๕๐) เรื่อง งบการเงินรวมและ
งบการเงินเฉพาะกิจการ
๓.๔ มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ ๔๕ (ปรับปรุง ๒๕๕๐) เรื่อง เงินลงทุนในบริษัทร่วม
๓.๕ มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ ๔๖ (ปรับปรุง ๒๕๕๐) เรื่อง ส่วนได้เสียในการร่วมค้า
๓.๖ มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ ๔๙ (ปรับปรุง ๒๕๕๐) เรื่อง สัญญาก่อสร้าง
ประกาศ ณ วันที่ ๒ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๕๐
เกษรี ณรงค์เดช
นายกสภาวิชาชีพบัญชี
ข้อแตกต่างการจดทะเบียนแบบเก่ากับแบบใหม่
มาดูข้อแตกต่างของระเบียบการจดทะเบียนห้างหุ้นส่วนและบริษัท ปี 2538 และปี 2549 ว่ามีอะไรแตกต่างกันบ้าง คลิ๊ก