การเสียภาษีในนามคณะบุคคล

เลขที่หนังสือ : กค 0706/5637

วันที่ : 11 กรกฎาคม 2548

เรื่อง : ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา กรณีการเสียภาษีในนามของคณะบุคคล

ประเด็นปัญหา : มาตรา 56 แห่งประมวลรัษฎากร

นาย ว. ได้จัดตั้งคณะบุคคลชื่อ “คณะบุคคลโดยนาย ว.หรือ ด.ช.จ” และได้ขอมีเลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากร ประกอบกิจการรับทำบัญชี คณะบุคคลฯ ได้ยื่นแบบ ภ.ง.ด.90 สำหรับปีภาษี 2547 ขอคืนภาษี สำนักงานสรรพากรพื้นที่กรุงเทพมหานคร แจ้งว่า คณะบุคคลฯ ไม่สามารถรับทำบัญชีได้ และให้นำเงินได้จากการรับทำบัญชีดังกล่าวมารวมคำนวณภาษีกับเงินได้ประเภท เงินเดือนของ

นาย ว. นาย ว. จึงขอความเป็นธรรมในการเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาในกรณีดังกล่าว โดยให้เหตุผลว่า กฎหมายมิได้กำหนดว่าผู้ร่วมในคณะบุคคลต้องมีความรู้ความสามารถในด้านเดียว กันหรือเท่าเทียมกัน แม้ ด.ช.จ. จะมีอายุย่างเข้า 12 ปี และเรียนอยู่ชั้นประถมปีที่ 6 แต่ก็มีความรู้ความสามารถในการใช้เครื่องคอมพิวเตอร์เป็นอย่างดี โดยลักษณะงานที่ได้มอบหมายให้ ด.ช.จ. ช่วยปฏิบัติสนับสนุนการดำเนินกิจการของคณะบุคคลฯ ได้แก่ จัดเตรียมและพิมพ์ใบเสร็จรับเงินให้กับลูกค้า และเป็นผู้ลงนาม

ในฐานะเป็นผู้รับเงินของสำนักงานบัญชี ค้นหาและสั่งพิมพ์ประกาศ และคำสั่งของกรมพัฒนาธุรกิจการค้า และกรมสรรพากรที่ได้แจ้งทาง Internet นำเอกสารของลูกค้าไปถ่ายเอกสาร และทำหน้าที่รับและส่ง

E-mail จัดเก็บเอกสารเข้าแฟ้ม และอื่น ๆ เป็นต้น

          นาย ว. ขอทราบแนวปฏิบัติในการเสียภาษีที่ถูกต้องของคณะบุคคลฯ ดังนี้

          (1) คณะบุคคลโดยนาย ว.หรือ ด.ช.จ. เป็นคณะบุคคลถูกต้องหรือไม่

          (2) คณะบุคคลฯ สามารถประกอบกิจการรับทำบัญชีได้หรือไม่ ถ้าทำได้ต้องยื่นแบบแสดงรายการและชำระภาษีอย่างไร

          (3) คณะบุคคลฯ สามารถประกอบกิจการมีเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 แห่งประมวลรัษฎากร ประเภทใดบ้าง

แนววินิจฉัย

          1. กรณีตาม (1) การประกอบกิจการร่วมกันในฐานะของคณะบุคคลตามประมวลรัษฎากรจะต้องเป็นกรณีที่ บุคคลตั้งแต่สองคนขึ้นไปตกลงเข้ากันเพื่อกระทำกิจการร่วมกัน โดยในการประกอบกิจการในฐานะคณะบุคคลนั้นจะต้องร่วมกันประกอบกิจการตามความ เป็นจริงและร่วมกันรับผิดชอบในกิจการของคณะบุคคลนั้น และเงินได้ที่ได้รับจากการประกอบกิจการจะต้องเป็นของคณะบุคคลด้วย

          2. กรณีตาม (2) และ (3) คณะบุคคลมีสิทธิประกอบกิจการใดก็ได้ เว้นแต่โดยสภาพของหน้าที่งานหรือกิจการที่ทำนั้นคณะบุคคลไม่อาจกระทำได้ เช่น การรับจ้างแรงงานตามมาตรา 40(1) แห่งประมวลรัษฎากร เป็นต้น และในการยื่นแบบแสดงรายการเพื่อเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาให้

ผู้อำนวยการหรือผู้จัดการยื่นรายการเกี่ยวกับเงินได้พึงประเมินในชื่อของคณะบุคคลนั้นตามมาตรา 56 วรรคสอง แห่งประมวลรัษฎากร

เลขตู้ : 68/33480

ความเห็นเพิ่มเติม  คณะบุคคลสามารถจัดทำบัญชีได้ครับ ยกเว้นทำงานในฐานลูกจ้างรับเงินเดือนไม่ได้

ที่มา.. http://www.rd.go.th/publish/29015.0.html

เงินได้ตามมาตรา 40 (1) ไม่มีภาษีหัก ณ ที่จ่ายต้องนำส่ง ภงด.1 หรือไม่

กรณีผู้ถูกหัก ณ ที่จ่ายรายใดไม่มีภาษีต้องหักนำส่งไม่ต้องกรอกรายการของรายนั้นในแบบ ภ.ง.ด.1 แต่ต้องยื่นแบบ ภ.ง.ด.1ก สรุปทั้งปี โดยกรอก รายชื่อของพนักงานทุกคน แม้จะไม่ได้ถูกหักภาษี ณ ที่จ่ายไว้ก็ตาม (อันนี้เป็นคำตอบที่สรรพากรเคยตอบไว้)

แต่จะยื่นก็ได้นะครับ เพราะผมก็เคยยื่น ภงด.1 แบบไม่มียอดต้องเสียภาษีมาแล้วหลายครั้งแล้วเหมือนกัน เพราะด้านหลังแบบ ภงด.1 ดันมีข้อความแจ้งไว้ว่า “ให้ผู้มีหน้าที่หักภาษี ณ ที่จ่าย ยื่นแบบ ภงด.1 แสดงรายการหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย พร้อมกับนำเงินภาษีส่งต่อเจ้าพนักงานภายใน 7 วัน นับแต่วันสิ้นเดือนของเดือนที่จ่าย ไม่ว่าจะหักภาษีไว้หรือไม่ก็ตาม

มีคนแนะนำไว้เหมือนกันว่า ให้คำนวณแบบมีภาษีหัก ณ ที่จ่ายไว้สัก 5 บาทก็ได้ เวลาไปยื่นจะได้มีเงินเสียภาษีบ้าง เพราะบางครั้งเจ้าหน้าที่อาจไม่รับก็ได้เนื่องจากไม่มียอดภาษีชำระ

ทุกวันนี้ถ้าไม่มีภาษีต้องเสีย ผมก็ไม่ได้ยื่นแบบนะครับ หรือถ้าบริษัทไหนยื่นแบบ ก็จะยื่นให้เฉพาะรายที่มีภาษีต้องเสียเท่านั้น อย่างเช่นพนักงานอาจจะมีสัก 50 คน แต่จะมีเสียภาษีสัก 10 คน ก็จะยื่นเฉพาะพนักงานที่มีภาษีต้องนำส่งเท่านั้น