การนับระยะเวลาเพื่อคำนวณเบี้ยปรับหรือเงินเพิ่ม

ข่าวเก่านะครับ แต่เห็นว่ามีประโยชน์เผื่อใครยังไม่ได้อ่าน

กรมสรรพากร​ได้​วางแนวทางปฏิบัติ​เกี่ยว​กับ​การนับระยะ​เวลา​เพื่อคำ​นวณเบี้ยปรับ​หรือ​เงินเพิ่ม​ ​ภาษี​เงิน​ได้​ ​ภาษีมูลค่า​เพิ่ม​ ​และ​ภาษีธุรกิจเฉพาะ​ ​ตามมาตรา​ 27 ​มาตรา​ 67 ​ตรี​ ​มาตรา​ 89 ​มาตรา​ 89/1 ​และ​มาตรา​ 91/21(6) ​แห่งประมวลรัษฎากร
กรุงเทพธุรกิจออนไลน์​ : ​กรณีกำ​หนดเวลา​ใน​การยื่นแบบแสดงรายการภาษี​ ​แบบแสดงรายการหักภาษี​และ​นำ​เงินภาษีส่ง​หรือ​แบบนำ​ส่งภาษี​ ​วันสุดท้ายตรง​กับ​วันหยุดทำ​การของทางราชการ​ ​ตามคำ​สั่งกรมสรรพากร​ ​ที่​ ​ป​. 117/2545 ​ลงวันที่​ 28 ​ต​.​ค​. 2545 ​จึง​ขอนำ​มา​เป็น​ประ​เด็นปุจฉา​ - ​วิสัชนา​ ​ดังนี้​
ปุจฉา​ ​มี​แนวทางปฏิบัติ​ทั่ว​ไปเกี่ยว​กับ​กรณีกำ​หนดเวลา​ใน​การยื่นแบบแสดงรายการภาษี​ ​แบบแสดงรายการหักภาษี​และ​นำ​เงินภาษีส่ง​หรือ​แบบนำ​ส่งภาษี​ ​วันสุดท้ายตรง​กับ​วันหยุดทำ​การของทางราชการอย่างไร​
วิสัชนา​ ​กรณีกำ​หนดเวลา​ใน​การยื่นแบบแสดงรายการภาษี​ ​แบบแสดงรายการหักภาษี​และ​นำ​เงินภาษีส่ง​หรือ​แบบนำ​ส่งภาษี​ ​วันสุดท้ายตรง​กับ​วันหยุดทำ​การของทางราชการ​ ​ให้​นับวันที่​เริ่มทำ​การ​ใหม่​ต่อ​จาก​วันที่หยุดทำ​การ​นั้น​เป็น​วันสุดท้ายของระยะ​เวลา​ ​ทั้ง​นี้​เป็น​ไปตามมาตรา​ 193/8 ​แห่งประมวลกฎหมายแพ่ง​และ​พาณิชย์​ ​โดย​ไม่​ต้อง​เสียเบี้ยปรับ​และ​เงินเพิ่มแต่อย่าง​ใด​
ปุจฉา​ ​กรณี​ได้​รับอนุมัติ​ให้​ขยายกำ​หนดเวลาตามที่บัญญัติ​ไว้​ใน​ประมวลรัษฎากร​ ​หากวันสุดท้ายแห่งระยะ​เวลาที่ขยายออกไปดังกล่าวตรง​กับ​วันหยุดทำ​การของทางราชการ​ ​จะ​ถือปฏิบัติอย่างไร
วิสัชนา​ ​กรณีดังกล่าว​ ​ให้​ถือปฏิบัติดังนี้​
1. ​กรณี​ได้​รับอนุมัติ​จาก​อธิบดีกรมสรรพากร​ ​ให้​ขยายกำ​หนดเวลาการยื่นแบบแสดงรายการตามที่บัญญัติ​ไว้​ใน​ประมวลรัษฎากร​ ​ตามมาตรา​ 3 ​อัฏฐ​ ​วรรคหนึ่ง​ ​แห่งประมวลรัษฎากร​ ​ให้​นับวันที่​เริ่ม​ ​ทำ​การ​ใหม่​ต่อ​จาก​วันที่หยุดทำ​การ​นั้น​เป็น​วันสุดท้ายของระยะ​เวลา​ ​โดย​ไม่​ต้อง​เสียเบี้ยปรับ​ ​แต่​ต้อง​เสียเงินเพิ่ม​ใน​อัตราร้อยละ​ 0.75 ​ต่อเดือน​หรือ​เศษ​ ​ของเดือนของเงินภาษีที่​ต้อง​ชำ​ระ​หรือ​นำ​ส่ง​ ​โดย​ให้​เริ่มนับเมื่อพ้นกำ​หนดเวลาการยื่นแบบแสดงรายการภาษี​หรือ​แบบแสดงรายการหักภาษี​และ​นำ​เงินภาษีส่ง​ ​หรือ​แบบนำ​ส่งภาษีจน​ถึง​วันชำ​ระภาษี​หรือ​นำ​ส่งภาษี​ ​ตามมาตรา​ 27 ​หรือ​มาตรา​ 89/1 ​แห่งประมวลรัษฎากร​
2. ​กรณี​ได้​รับอนุมัติ​จาก​รัฐมนตรี​ ​ให้​ขยายกำ​หนดเวลาตามที่บัญญัติ​ไว้​ใน​ประมวลรัษฎากร​ ​ตามมาตรา​ 3 ​อัฏฐ​ ​วรรคสอง​ ​แห่งประมวลรัษฎากร​ ​และ​วันสุดท้ายแห่งระยะ​เวลาที่ขยายออกไปดังกล่าวตรง​กับ​วันหยุดทำ​การของทางราชการ​ ​ให้​นับวันที่​เริ่มทำ​การ​ใหม่​ต่อ​จาก​วันที่หยุดทำ​การ​นั้น​เป็น​วันสุดท้ายของระยะ​เวลา​ ​โดย​ไม่​ต้อง​เสียเบี้ยปรับ​และ​เงินเพิ่มแต่อย่าง​ใด​
ปุจฉา​ ​กรณี​ผู้​ต้อง​เสียภาษี​ใช้​สิทธิผ่อนชำ​ระภาษี​เป็น​รายงวด​ ​หากวันสุดท้ายแห่งกำ​หนดเวลา​ ​ซึ่ง​ต้อง​ชำ​ระภาษี​ใน​แต่ละงวดตรง​กับ​วันหยุดทำ​การของทางราชการ​ ​จะ​ถือปฏิบัติอย่างไร
วิสัชนา​ ​กรณีดังกล่าว​ ​ให้​ถือปฏิบัติดังนี้​
1. ​สำ​หรับกรณีผ่อนชำ​ระภาษีตามมาตรา​ 64 (1) ​แห่งประมวลรัษฎากร​ ​หากวันสุดท้ายที่​ต้อง​ผ่อนชำ​ระงวดที่สอง​หรือ​งวดที่สามตรง​กับ​วันหยุดทำ​การของทางราชการ​ ​ให้​นับวันที่​เริ่ม​ ​ทำ​การ​ใหม่​ต่อ​จาก​วันที่หยุดทำ​การ​นั้น​เป็น​วันสุดท้ายของระยะ​เวลา​
2. ​สำ​หรับการผ่อนชำ​ระภาษีตามมาตรา​ 64 (2) ​แห่งประมวลรัษฎากร​ ​หากวันสุดท้าย​ ​ที่​ต้อง​ผ่อนชำ​ระงวดที่สอง​หรือ​งวดที่สามตรง​กับ​วันหยุดทำ​การของทางราชการ​ ​ให้​นับวันที่​เริ่มทำ​การ​ใหม่​ต่อ​จาก​วันที่หยุดทำ​การ​นั้น​เป็น​วันสุดท้ายของระยะ​เวลา​
3. ​กรณี​ได้​รับอนุมัติ​ให้​ผ่อนชำ​ระภาษี​เป็น​รายงวด​ ​ตามระ​เบียบกรมสรรพากร​ ​ว่า​ด้วย​การผ่อนชำ​ระภาษีอากร​ ​หากวันสุดท้ายที่​ต้อง​ผ่อนชำ​ระของงวด​ใด​งวดหนึ่งตรง​กับ​วันหยุดทำ​การของทางราชการ​ ​ให้​นับวันที่​เริ่มทำ​การ​ใหม่​ต่อ​จาก​วันที่หยุดทำ​การ​นั้น​เป็น​วันสุดท้ายของระยะ​เวลา​
ปุจฉา​ ​มี​แนวทางปฏิบัติ​เกี่ยว​กับ​การนับระยะ​เวลาการยื่นแบบแสดงรายการภาษีมูลค่า​เพิ่ม​ ​แบบนำ​ส่งภาษีมูลค่า​เพิ่ม​ ​หรือ​แบบแสดงรายการภาษีธุรกิจเฉพาะ​ ​ล่าช้า​เกินเวลาที่กฎหมายกำ​หนด​ ​สำ​หรับกรณี​ผู้​ประกอบการ​หรือ​ผู้​ประกอบกิจการที่มีหน้าที่​ต้อง​เสียภาษีมูลค่า​เพิ่ม​ ​และ​ภาษีธุกิจเฉพาะ​ ​ที่​จะ​ได้​รับสิทธิขอลดเบี้ยปรับตามคำ​สั่งกรมสรรพากรเกี่ยว​กับ​หลักเกณฑ์การงด​หรือ​ลดเบี้ยปรับภาษีมูลค่า​เพิ่ม​ ​และ​ภาษีธุรกิจเฉพาะ​ ​ตามมาตรา​ 89 ​และ​มาตรา​ 91/21 (6) ​แห่งประมวลรัษฎากร​ ​หากวันสุดท้ายแห่งกำ​หนดเวลาตรง​กับ​วันหยุดทำ​การของทางราชการอย่างไร
วิสัชนา​ ​กรณีบุคคล​ผู้​ต้อง​เสียเบี้ยปรับขอลดเบี้ยปรับตามคำ​สั่งกรมสรรพากรเกี่ยว​กับ​หลักเกณฑ์การงด​หรือ​ลดเบี้ยปรับภาษีมูลค่า​เพิ่ม​ ​และ​ภาษีธุรกิจเฉพาะ​ ​ตามมาตรา​ 89 ​และ​มาตรา​ 91/21 (6) ​แห่งประมวลรัษฎากร​ ​การนับระยะ​เวลาการยื่นแบบแสดงรายการภาษีมูลค่า​เพิ่ม​ ​แบบนำ​ส่งภาษีมูลค่า​เพิ่ม​ ​หรือ​แบบแสดงรายการภาษีธุรกิจเฉพาะที่​จะ​ได้​รับสิทธิลดเบี้ยปรับ​ ​หากวันสุดท้ายแห่งกำ​หนดเวลาตรง​กับ​วันหยุดทำ​การของทางราชการ​ ​ให้​นับวันที่​เริ่มทำ​การ​ใหม่​ต่อ​จาก​วันที่หยุดทำ​การ​นั้น​เป็น​วันสุดท้ายของระยะ​เวลา​ ​ตามมาตรา​ 193/8 ​แห่งประมวลกฎหมายแพ่ง​และ​พาณิชย์​ ​ส่วน​เงินเพิ่ม​ให้​คำ​นวณ​ใน​อัตรา​ ​ร้อยละ​ 1.5 ​ต่อเดือน​หรือ​เศษของเดือนของเงินภาษีที่​ต้อง​ชำ​ระ​หรือ​นำ​ส่ง​ ​โดย​ให้​เริ่มนับเมื่อพ้นกำ​หนดเวลาการยื่นแบบแสดงรายการภาษี​หรือ​แบบนำ​ส่งภาษีจน​ถึง​วันชำ​ระภาษี​หรือ​นำ​ส่งภาษี​ ​ตามมาตรา​ 89/1 ​หรือ​มาตรา​ 91/21 (6) ​แห่งประมวลรัษฎากร

ปุจฉา​ ​กรณีนาย​ ​ก​. ​ได้​ยื่นแบบแสดงรายการภาษี​เงิน​ได้​บุคคลธรรมดา​ (ภ​.​ง​.​ด​.91) ​มีภาษีที่​ต้อง​ชำ​ระ​ 6,000 ​บาท​ ​และ​ได้​ใช้​สิทธิผ่อนชำ​ระภาษี​เงิน​ได้​บุคคลธรรมดาตามมาตรา​ 64(1) ​แห่งประมวลรัษฎากร​ ​โดย​งวดที่หนึ่ง​ได้​ชำ​ระภาษีพร้อม​กับ​การยื่นแบบแสดงรายการภาษี​ ​จำ​นวน​ 2,000 ​บาท​ ​เมื่อวันที่​ 31 ​มีนาคม​ ​งวดที่สอง​ ​ต้อง​ชำ​ระจำ​นวน​ 2,000 ​บาท​ ​ภาย​ใน​เดือนเมษายน​ ​และ​งวดที่สาม​ต้อง​ชำ​ระ​ ​จำ​นวน​ 2,000 ​บาท​ ​ภาย​ใน​เดือนพฤษภาคม​ ​เช่นนี้​ ​หากปรากฏว่า​ ​วันที่​ 30 ​เมษายน​ ​ซึ่ง​เป็น​วันสุดท้ายของกำ​หนดเวลา​ใน​การผ่อนชำ​ระงวดที่สองตรง​กับ​วันอาทิตย์​ ​ซึ่ง​เป็น​วันหยุดทำ​การ​ ​จะ​มี​แนวทางปฏิบัติสำ​หรับกรณีดังกล่าวอย่างไร​
วิสัชนา​ ​ต่อกรณีดังกล่าว​ให้​นาย​ ​ก​. ​มีสิทธินำ​เงินงวดที่สองไปชำ​ระ​ ​ใน​วันที่​ 1 ​พฤษภาคม​ ​โดย​ไม่​หมดสิทธิที่​จะ​ชำ​ระ​เป็น​รายงวดต่อไป​ ​และ​ไม่​ต้อง​เสียเงินเพิ่มตามมาตรา​ 27 ​แห่งประมวลรัษฎากร​ ​แต่อย่าง​ใด​
ปุจฉา​ ​กรณีนาย​ ​ข​. ​ถูกประ​เมินภาษี​เงิน​ได้​บุคคลธรรมดา​ ​พร้อมเงินเพิ่มตามมาตรา​ 27 ​แห่งประมวลรัษฎากร​ ​เป็น​จำ​นวนเงินมากกว่า​ 3,000 ​บาท​ ​ได้​รับหนังสือแจ้งการประ​เมิน​ ​เมื่อวันที่​ 1 ​มีนาคม​ 2543 ​นาย​ ​ข​. ​ได้​ใช้​สิทธิผ่อนชำ​ระภาษี​เงิน​ได้​บุคคลธรรมดาตามมาตรา​ 64(2) ​แห่งประมวลรัษฎากร​ ​โดย​งวดที่หนึ่ง​ได้​ชำ​ระ​ ​เมื่อวันที่​ 31 ​มีนาคม​ ​งวดที่สอง​จะ​ต้อง​ชำ​ระภาย​ใน​เดือนเมษายน​ ​และ​งวดที่สาม​จะ​ต้อง​ชำ​ระภาย​ใน​เดือนพฤษภาคม​ ​เช่นนี้​ ​หากปรากฏว่า​ ​วันที่​ 30 ​เมษายน​ ​ตรง​กับ​วันอาทิตย์​ ​ซึ่ง​เป็น​วันหยุดทำ​การ​ ​จะ​มี​แนวทางปฏิบัติสำ​หรับกรณีดังกล่าวอย่างไร​
วิสัชนา​ ​ต่อกรณีดังกล่าว​ให้​นาย​ ​ข​. ​มีสิทธินำ​เงินงวดที่สองไปชำ​ระ​ใน​วันที่​ 1 ​พฤษภาคม​ 2543 ​โดย​ไม่​หมดสิทธิที่​จะ​ชำ​ระ​เป็น​รายงวดต่อไป​ ​และ​ไม่​ต้อง​เสียเงินเพิ่มตามมาตรา​ 27 ​แห่งประมวลรัษฎากร​ ​เพิ่มเติม​ ​แต่อย่าง​ใด​
ปุจฉา​ ​กรณีบริษัท​ ​ค​. ​จำ​กัด​ ​ถูกประ​เมินภาษี​เงิน​ได้​นิติบุคคลพร้อมเบี้ยปรับ​และ​เงินเพิ่ม​ ​ตามหนังสือแจ้งการประ​เมิน​ ​เป็น​เงินจำ​นวน​ 120,000 ​บาท​ ​บริษัท​ ​ค​. ​จำ​กัด​ ​ได้​รับอนุมัติ​ให้​ผ่อนชำ​ระภาษีตามระ​เบียบกรมสรรพากร​ ​ว่า​ด้วย​การผ่อนชำ​ระภาษีอากร​ ​เป็น​งวดรายเดือน​ ​รวม​ 6 ​งวด​ ​แต่ละงวด​ต้อง​ชำ​ระภาย​ใน​วันที่​ 7 ​ของทุกเดือน​ ​งวดที่หนึ่ง​ได้​ชำ​ระ​เมื่อวันที่​ 7 ​กรกฎาคม​ ​งวด​ ​ที่สองชำ​ระ​เมื่อวันที่​ 7 ​สิงหาคม​ 2543 ​งวดที่สามชำ​ระ​เมื่อวันที่​ 7 ​กัน​ยายน​ ​เช่นนี้​ ​หากปรากฏว่า​ ​งวดที่​ 4 ​วันที่​ 7 ​ตุลาคม​ ​ตรง​กับ​วันเสาร์​ ​ซึ่ง​เป็น​วันหยุดทำ​การ​ ​จะ​มี​แนวทางปฏิบัติสำ​หรับกรณีดังกล่าวอย่างไร​
วิสัชนา​ ​ต่อกรณีดังกล่าว​ให้​บริษัท​ ​ค​. ​จำ​กัด​ ​มีสิทธินำ​เงินงวดที่​ 4 ​ไปชำ​ระ​ใน​วันที่​ 9 ​ตุลาคม​ ​ได้​ ​โดย​ไม่​หมดสิทธิที่​จะ​ชำ​ระ​เป็น​รายงวดต่อไป​ ​และ​ไม่​ต้อง​เสียเงินเพิ่มตามมาตรา​ 27 ​แห่งประมวลรัษฎากร​ ​เพิ่มเติม​
แต่อย่าง​ใด​
ปุจฉา​ ​กรณีบริษัท​ ​ง​. ​จำ​กัด​ ​ยื่นแบบแสดงรายการภาษีมูลค่า​เพิ่ม​ (ภ​.​พ​.30) ​และ​ชำ​ระภาษีมูลค่า​เพิ่มสำ​หรับเดือนกรกฎาคม​ ​เมื่อวันจันทร์ที่​ 16 ​กัน​ยายน​ ​ของปี​เดียว​กัน​ ​โดย​บริษัท​ ​ได้​ขอลดเบี้ยปรับตามมาตรา​ 89(2) ​แห่งประมวลรัษฎากร​ ​ตามข้อ​ 5 (1) (ข) ​ของคำ​สั่ง​ ​กรมสรรพากร​ ​ที่​ ​ท​.​ป​. 81/2542 ​เรื่อง​ ​หลักเกณฑ์การงด​หรือ​ลดเบี้ยปรับ​หรือ​เงินเพิ่มภาษี​เงิน​ได้​ ​ภาษี​ ​มูลค่า​เพิ่ม​ ​และ​ภาษีธุรกิจเฉพาะ​ ​ตามมาตรา​ 22 ​มาตรา​ 26 ​มาตรา​ 67 ​ตรี​ ​มาตรา​ 89 ​และ​มาตรา​ 91/21(6) ​แห่งประมวลรัษฎากร​ ​ลงวันที่​ 9 ​กรกฎาคม​ 2542 ​สำ​หรับกรณีชำ​ระภาษีมูลค่า​เพิ่มภายหลัง​ 15 ​วัน​ ​แต่​ไม่​เกิน​ 30 ​วัน​ ​นับแต่วันพ้นกำ​หนดเวลาชำ​ระภาษีมูลค่า​เพิ่ม​ ​จะ​มี​แนวทางปฏิบัติสำ​หรับกรณีดังกล่าวอย่างไร​
วิสัชนา​ ​ต่อกรณีดังกล่าว​ให้​บริษัท​ ​ง​. ​เสียเบี้ยปรับร้อยละ​ 5 ​ของเบี้ยปรับ​ได้​ ​หากวันที่​ 15 ​กัน​ยายน​ ​ตรง​กับ​วันอาทิตย์​ ​ซึ่ง​เป็น​วันหยุดทำ​การของทางราชการ​ ​ส่วน​เงินเพิ่มตามมาตรา​ 89/1 ​แห่งประมวลรัษฎากร​ ​ให้​คำ​นวณร้อยละ​ 1.5 ​ต่อเดือน​ ​เป็น​เวลา​ 1 ​เดือน​
ปุจฉา​ ​กรณีบริษัท​ ​จ​. ​จำ​กัด​ ​ยื่นแบบแสดงรายการภาษีมูลค่า​เพิ่ม​ (ภ​.​พ​.30) ​และ​ชำ​ระภาษีมูลค่า​เพิ่ม​ ​สำ​หรับเดือนกรกฎาคม​ 2543 ​เมื่อวันที่​ 15 ​กัน​ยายน​ ​ต่อมา​ได้​ยื่นแบบแสดงรายการภาษีมูลค่า​เพิ่ม​ (ภ​.​พ​.30) ​ของเดือนกรกฎาคม​ ​เพิ่มเติม​ ​เมื่อวันที่​ 16 ​ตุลาคม​ ​โดย​บริษัท​ ​ได้​ขอลดเบี้ยปรับตามมาตรา​ 89(3) ​แห่งประมวลรัษฎากร​ ​ตามข้อ​ 5 (1) (ค) ​ของคำ​สั่งกรมสรรพากร​ ​ที่​ ​ท​.​ป​. 81/2542 ​ลงวันที่​ 9 ​กรกฎาคม​ 2542 ​จะ​มี​แนวทางปฏิบัติสำ​หรับการนับระยะ​เวลา​เพื่อคำ​นวณเบี้ยปรับสำ​หรับการยื่นแบบแสดงรายการภาษี​เพิ่มเติม​ใน​กรณีนี้อย่างไร​
วิสัชนา​ ​ต่อกรณีดังกล่าว​ให้​นับระยะ​เวลา​เพื่อคำ​นวณเบี้ยปรับสำ​หรับการยื่นแบบแสดงรายการภาษี​เพิ่มเติมตั้งแต่วันพ้นกำ​หนดเวลาชำ​ระภาษีมูลค่า​เพิ่ม​ ​คือ​ ​วันที่​ 16 ​สิงหาคม​ ​จน​ถึง​วันที่ยื่นแบบแสดงรายการภาษี​เพิ่มเติม​ ​คือวันที่​ 16 ​ตุลาคม​ ​ซึ่ง​นับ​ได้​เป็น​เวลา​ 62 ​วัน​ ​แต่หากวันที่​ 14 ​และ​วันที่​ 15 ​ตุลาคม​ ​ตรง​กับ​วันเสาร์​และ​วันอาทิตย์​ ​ซึ่ง​เป็น​วันหยุดทำ​การของทางราชการ​ ​กรณีนี้​จึง​ถือว่าบริษัท​ ​ชำ​ระภาษีภายหลัง​ 30 ​วัน​ ​แต่​ไม่​เกิน​ 60 ​วัน​ ​นับแต่วันพ้นกำ​หนดเวลาชำ​ระภาษีมูลค่า​เพิ่ม​ ​ให้​เสียร้อยละ​ 10 ​ของเบี้ยปรับ​ ​ส่วน​เงินเพิ่มตามมาตรา​ 89/1 ​แห่งประมวลรัษฎากร​ ​ให้​คำ​นวณร้อยละ​ 1.5 ​ต่อเดือน​ ​เป็น​เวลา​ 2 ​เดือน


ที่มา.. กรุงเทพธุรกิจออนไลน์
http://www.bangkokbiznews.com/2007/07/18/WW13_1307_news.php?newsid=84591
http://www.bangkokbiznews.com/2007/07/25/WW13_1307_news.php?newsid=85951



















ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น