มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 35 (ปรับปรุง 2550)

เรื่อง การนำเสนองบการเงิน
คำแถลงการณ์
มาตรฐานการบัญชีฉบับนี้เป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนดขึ้นโดยมาตรฐานการบัญชีระหว่างประเทศ ฉบับที่ 1
เรื่อง การนำเสนองบการเงิน (IAS No. 1 “Presentation of Financial Statements” (December 2006))
มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 35 (ปรับปรุง 2550) นี้ใช้แทนมาตรฐานการบัญชีฉบับที่ 35 (ฉบับเดิม)
โดยมีหลักการไม่แตกต่างกัน เว้นแต่การเปลี่ยนแปลงต่อไปนี้
1. กำหนดให้เปิดเผย แหล่งข้อมูลสำคัญเกี่ยวกับความไม่แน่นอนของการประมาณการ
2. ยกเลิกการแสดง รายได้และค่าใช้จ่ายเป็นรายการพิเศษ
3. ยกเลิกการแสดง กำไรหรือขาดทุนจากกิจกรรมตามปกติ
4. ยกเลิกการแสดง จำนวนพนักงาน
5. ยกเลิกหัวข้อ นโยบายการบัญชี และข้อกำหนดเกี่ยวกับการเลือกใช้นโยบายการบัญชี
6. เพิ่มคำนิยาม ความมีสาระสำคัญ
7. เพิ่มคำนิยาม มาตรฐานการบัญชี
8. กำหนดให้เปิดเผยข้อมูลกำไรหรือขาดทุนสำหรับงวดที่แบ่งปันให้แก่บริษัทใหญ่ และส่วนที่แบ่งปัน
ให้แก่ผู้ถือหุ้นส่วนน้อย
9. กำหนดให้กิจการต้องจัดประเภทหนี้สินทางการเงินที่จะครบกำหนดชำระภายใน 12 เดือนนับจาก
วันที่ในงบดุลเป็นหนี้สินหมุนเวียนแม้ว่ามีหลักฐานเป็นสัญญาที่แสดงถึงการชำระหนี้โดยการก่อ
หนี้สินระยะยาวใหม่ หรือมีการต่ออายุหนี้ให้เป็นหนี้ระยะยาว ซึ่งสัญญาดังกล่าวจัดทำเสร็จสมบูรณ์
ภายหลังวันที่ในงบการเงินและก่อนวันที่ได้รับอนุมัติให้ออกงบการเงิน
10. กำหนดให้กิจการต้องเปิดเผยไว้ในหัวข้อสรุปนโยบายการบัญชีที่สำคัญหรือในส่วนอื่นของหมายเหตุ
ประกอบงบการเงินเกี่ยวกับการใช้ดุลยพินิจของฝ่ายบริหารในการกำหนดนโยบายการบัญชี ซึ่ง
นโยบายนั้นมีผลกระทบอย่างมีนัยสำ คัญต่อจำ นวนเงินของรายการที่รับรู้ในงบการเงิน
นอกเหนือจากการใช้ดุลยพินิจเกี่ยวกับประมาณการทางบัญชี
2
มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 35 (ปรับปรุง 2550) เรื่อง การนำเสนองบการเงิน
ขอบเขต
1. มาตรฐานการบัญชีฉบับนี้ให้ถือปฏิบัติกับงบการเงินที่จัดทำขึ้นเพื่อวัตถุประสงค์ทั่วไป ซึ่งกิจการได้จัดทำ
และนำเสนอตามมาตรฐานการบัญชี
ส่วนประกอบของงบการเงิน
2. งบการเงินที่สมบูรณ์ประกอบด้วย
2.1 งบดุล
2.2 งบกำไรขาดทุน
2.3 งบแสดงการเปลี่ยนแปลงส่วนของเจ้าของโดยแสดงในลักษณะใดลักษณะหนึ่ง ดังนี้
2.3.1 การเปลี่ยนแปลงทั้งหมดในส่วนของเจ้าของ
2.3.2 การเปลี่ยนแปลงในส่วนของเจ้าของ ซึ่งไม่รวมการเปลี่ยนแปลงที่เกิดจากรายการกับ
ผู้เป็นเจ้าของซึ่งกระทำการในฐานะของผู้เป็นเจ้าของ
2.4 งบกระแสเงินสด
2.5 หมายเหตุประกอบงบการเงิน ซึ่งประกอบด้วยสรุปนโยบายการบัญชีที่สำคัญ และคำอธิบายอื่น
3. คำนิยาม
คำศัพท์ที่ใช้ในมาตรฐานการบัญชีฉบับนี้มีความหมายโดยเฉพาะ ดังต่อไปนี้
ไม่สามารถทำได้ในทางปฏิบัติ หมายถึง การที่กิจการไม่สามารถปฏิบัติตามข้อกำหนดของ
มาตรฐานการบัญชีแม้ว่ากิจการจะได้พยายามอย่าง
เต็มที่แล้วในทุกกรณี
มาตรฐานการบัญชี หมายถึง หลักการบัญชีและวิธีปฏิบัติทางการบัญชีที่รับรองทั่วไป
หรือมาตรฐานการบัญชีที่กำหนดตามกฎหมายว่าด้วย
การนั้น ทั้งนี้ รวมถึงการตีความมาตรฐานการบัญชี
ด้วย
ความมีสาระสำคัญ หมายถึง การไม่แสดงรายการหรือการแสดงรายการผิดพลาด
ถือว่ามีสาระสำคัญหากรายการแต่ละรายการหรือ
ทุกรายการโดยรวมมีผลกระทบต่อการตัดสินใจ
เชิงเศรษฐกิจของผู้ใช้งบการเงินที่ใช้งบการเงิน ความ
มีสาระสำคัญขึ้นอยู่กับขนาดและลักษณะของการ
ไม่แสดงรายการหรือการแสดงรายการผิดพลาด
ซึ่งพิจารณาภายใต้สถานการณ์แวดล้อมนั้น ทั้งนี้ปัจจัย
ที่ใช้ในการพิจารณาอาจเป็นขนาดหรือลักษณะของ
รายการหรือทั้งสองอย่างก็ได้
3
หมายเหตุประกอบงบการเงิน หมายถึง ข้อมูลที่นำเสนอเพิ่มเติมจากที่แสดงในงบดุล งบกำไร
ขาดทุน งบแสดงการเปลี่ยนแปลงส่วนของเจ้าของ
และงบกระแสเงินสด หมายเหตุประกอบงบการเงินให้
ข้อมูลเกี่ยวกับคำอธิบายรายการ รายละเอียดของ
รายการต่างๆ ที่แสดงในงบการเงินและข้อมูลเกี่ยวกับ
รายการที่ไม่เข้าเกณฑ์การรับรู้รายการในงบการเงินที่
นำเสนอ
ข้อพิจารณาโดยรวม
การนำเสนองบการเงินโดยถูกต้องตามที่ควรและเป็นไปตามมาตรฐานการบัญชี
4. งบการเงินต้องแสดงฐานะการเงิน ผลการดำเนินงาน และกระแสเงินสดของกิจการโดยถูกต้องตามที่ควร
การแสดงข้อมูลโดยถูกต้องตามที่ควรคือการเป็นตัวแทนอันเที่ยงธรรมของผลกระทบของรายการบัญชี
เหตุการณ์ และเงื่อนไขต่างๆ ตามคำนิยามและเกณฑ์การรับรู้รายการสินทรัพย์ หนี้สิน รายได้ และค่าใช้จ่าย
ที่กำหนดไว้ในแม่บทการบัญชี การนำเสนองบการเงินซึ่งได้ถือปฏิบัติตามมาตรฐานการบัญชีและมีการ
เปิดเผยข้อมูลเพิ่มเติมให้เหมาะสมแก่กรณีถือได้ว่างบการเงินนั้นนำเสนอข้อมูลโดยถูกต้องตามที่ควร
5. งบการเงินที่จัดทำขึ้นตามมาตรฐานการบัญชีต้องเปิดเผยถึงการถือปฏิบัติตามมาตรฐานการบัญชีไว้ใน
หมายเหตุประกอบงบการเงินอย่างชัดเจนโดยไม่มีเงื่อนไข งบการเงินที่ไม่ได้จัดทำขึ้นตามมาตรฐาน
การบัญชีต้องไม่พรรณนาว่างบการเงินได้จัดทำขึ้นตามมาตรฐานการบัญชี
6. การเปิดเผยนโยบายการบัญชี การเปิดเผยข้อมูลในหมายเหตุประกอบงบการเงิน หรือการจัดทำ
คำอธิบายเกี่ยวกับนโยบายการบัญชีที่ไม่เหมาะสมที่กิจการใช้ไม่ทำให้นโยบายการบัญชีนั้นเหมาะสม
ขึ้นมาได้ งบการเงินถูกต้องตามที่ควรได้ ไม่ว่าจะโดยการเปิดเผยให้ทราบถึงนโยบายการบัญชีที่
ไม่เหมาะสมนั้น หรือโดยการเปิดเผยข้อมูลในหมายเหตุประกอบงบการเงิน หรือโดยการจัดทำ
คำอธิบายก็ตาม
7. ในสถานการณ์ซึ่งยากที่จะเกิดขึ้น หากฝ่ายบริหารของกิจการมีข้อสรุปว่าการปฏิบัติตามข้อกำหนดใน
มาตรฐานการบัญชีเรื่องใดเรื่องหนึ่งจะทำให้ผู้ใช้งบการเงินเกิดความเข้าใจผิดอย่างมากจนเป็นเหตุให้
งบการเงินไม่เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของงบการเงินตามที่กำหนดในแม่บทการบัญชี กิจการต้องไม่
ปฏิบัติตามข้อกำหนดนั้น และต้องปฏิบัติตามข้อกำหนดที่ระบุในย่อหน้า 8 ในกรณีที่หน่วยงานกำกับดูแล
ที่เกี่ยวข้องมีข้อกำหนด หรือไม่มีข้อห้ามการไม่ปฏิบัติตามดังกล่าว
8. ในกรณีที่กิจการไม่ปฏิบัติตามที่มาตรฐานการบัญชีกำหนดตามที่ระบุไว้ในย่อหน้า 7 กิจการต้องเปิดเผย
ข้อมูลทุกข้อดังต่อไปนี้
8.1 ข้อสรุปของฝ่ายบริหารที่ว่างบการเงินได้แสดงฐานะการเงิน ผลการดำเนินงาน และกระแสเงินสด
โดยถูกต้องตามที่ควร
8.2 ข้อความที่แสดงว่ากิจการได้ถือปฏิบัติตามมาตรฐานการบัญชี ยกเว้นเรื่องที่กิจการจำต้องไม่
ปฏิบัติตามข้อกำหนดในมาตรฐานการบัญชี เพื่อให้งบการเงินแสดงข้อมูลถูกต้องตามที่ควร
4
8.3 มาตรฐานการบัญชีฉบับที่กิจการไม่ปฏิบัติตาม ลักษณะของการไม่ถือปฏิบัติ ข้อกำหนดของ
มาตรฐานการบัญชีที่กิจการไม่ปฏิบัติตาม เหตุผลที่หากปฏิบัติตามมาตรฐานการบัญชีดังกล่าว
แล้วจะทำให้เกิดความเข้าใจผิดอย่างมากในสถานการณ์ต่างๆ จนเป็นเหตุให้งบการเงินไม่เป็นไป
ตามวัตถุประสงค์ที่กำหนดในแม่บทการบัญชี และวิธีปฏิบัติทางบัญชีที่กิจการเลือกใช้
8.4 ผลกระทบทางการเงินของการไม่ปฏิบัติตามมาตรฐานการบัญชีที่มีต่อรายการแต่ละรายการใน
งบการเงินของกิจการสำหรับทุกงวดบัญชีที่แสดง หากกิจการไม่ถือปฏิบัติตามข้อกำหนดของ
มาตรฐานการบัญชีสำหรับแต่ละงวดบัญชีที่มีการนำเสนอนั้น
9. กรณีที่กิจการไม่ปฏิบัติตามข้อกำหนดของมาตรฐานการบัญชีเรื่องใดในงวดบัญชีก่อนแล้วส่งผลต่อ
จำนวนเงินที่รับรู้ในงบการเงินงวดบัญชีปัจจุบัน กิจการต้องเปิดเผยข้อมูลตามที่กำหนดในย่อหน้า 8.3
และ 8.4
10. ในสถานการณ์ซึ่งยากที่จะเกิดขึ้น หากฝ่ายบริหารของกิจการมีความเห็นว่าการปฏิบัติตามข้อกำหนดใน
มาตรฐานการบัญชีเรื่องใดเรื่องหนึ่งจะทำให้ผู้ใช้งบการเงินเกิดความเข้าใจผิดอย่างมากจนเป็นเหตุให้
งบการเงินไม่เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของแม่บทการบัญชี แต่ข้อกำหนดที่เกี่ยวข้องไม่อนุญาตให้มีการ
ไม่ถือปฏิบัติตามมาตรฐานการบัญชีดังกล่าว ถ้าเป็นเช่นนั้น กิจการต้องใช้ความพยายามอย่างดีที่สุด
เพื่อลดความเข้าใจผิดซึ่งเกิดจากการปฏิบัติตามมาตรฐานการบัญชีนั้นโดยการเปิดเผยข้อมูลทุกข้อ
ต่อไปนี้
10.1 ชื่อของมาตรฐานการบัญชีฉบับที่มีปัญหา ลักษณะของข้อกำหนดในมาตรฐานการบัญชี และ
เหตุผลที่ฝ่ายบริหารของกิจการเห็นว่าการปฏิบัติตามข้อกำหนดในมาตรฐานการบัญชีจะทำให้
งบการเงินบิดเบือนและเป็นเหตุให้งบการเงินไม่เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของแม่บทการบัญชี
10.2 การปรับปรุงแต่ละรายการในงบการเงินสำหรับแต่ละงวดบัญชีที่มีการนำเสนอ ซึ่งฝ่ายบริหาร
ของกิจการเห็นว่าจำเป็นเพื่อให้งบการเงินนำเสนอข้อมูลถูกต้องตามที่ควร
การดำเนินงานต่อเนื่อง
11. ในการจัดทำงบการเงิน ฝ่ายบริหารต้องประเมินความสามารถในการดำเนินงานอย่างต่อเนื่องของ
กิจการ งบการเงินต้องจัดทำขึ้นตามหลักการดำเนินงานต่อเนื่อง เว้นแต่กิจการมีความตั้งใจที่จะชำระ
บัญชี เลิกกิจการ หรือไม่มีทางเลือกอื่นใด นอกเหนือจากการชำระบัญชีหรือเลิกกิจการจากการประเมิน
ความสามารถในการดำเนินงานอย่างต่อเนื่อง หากฝ่ายบริหารพบว่ามีความไม่แน่นอนที่มีสาระสำคัญ
เกี่ยวกับเหตุการณ์ หรือสภาพการณ์ใดที่อาจทำให้เกิดความสงสัยอย่างมีนัยสำคัญเกี่ยวกับ
ความสามารถในการดำเนินงานอย่างต่อเนื่องของกิจการ กิจการต้องเปิดเผยให้ทราบถึงความไม่
แน่นอน เหล่านั้น ในกรณีที่งบการเงินมิได้จัดทำขึ้นตามหลักการดำเนินงานต่อเนื่อง กิจการจะต้อง
เปิดเผยถึง ข้อเท็จจริงนี้ พร้อมทั้งเกณฑ์ที่ใช้ในการจัดทำงบการเงินนั้น และเหตุผลที่กิจการไม่อาจ
ดำเนินงาน อย่างต่อเนื่องได้
5
เกณฑ์คงค้าง
12. กิจการต้องจัดทำงบการเงินตามเกณฑ์คงค้าง ยกเว้นข้อมูลเกี่ยวกับกระแสเงินสด
ความสม่ำเสมอในการนำเสนอ
13. กิจการต้องนำเสนอและจัดประเภทรายการในงบการเงินในลักษณะเดียวกันในทุกงวดบัญชี ยกเว้นกรณี
ใดกรณีหนึ่งดังต่อไปนี้
13.1 ภายหลังการเปลี่ยนแปลงลักษณะการดำเนินงานอย่างต่อเนื่องของกิจการอย่างมีนัยสำคัญหรือ
การทบทวนงบการเงินแล้วเป็นที่ชัดเจนว่าการนำเสนอและการจัดประเภทรายการในงบการเงิน
แบบใหม่จะทำให้การนำเสนองบการเงินมีความเหมาะสมยิ่งขึ้น โดยคำนึงถึงเกณฑ์การเลือกใช้
และการปฏิบัติตามนโยบายการบัญชีที่กำหนดในมาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 39 (ปรับปรุง
2550) เรื่อง นโยบายการบัญชี การเปลี่ยนแปลงประมาณการทางบัญชี และข้อผิดพลาด
13.2 มาตรฐานการบัญชีกำหนดให้มีการเปลี่ยนแปลงการนำเสนองบการเงิน
ความมีสาระสำคัญและการนำเสนอด้วยยอดรวม
14. รายการที่มีลักษณะคล้ายคลึงกันแต่ละประเภทที่มีสาระสำคัญต้องแยกแสดงในงบการเงิน รายการที่มี
ลักษณะหรือหน้าที่ไม่คล้ายคลึงกันแต่ละรายการต้องแยกแสดงในงบการเงิน เว้นแต่รายการเหล่านั้น
ไม่มีสาระสำคัญ
การหักกลบ
15. สินทรัพย์และหนี้สิน รายได้และค่าใช้จ่าย ต้องไม่นำมาหักกลบกัน นอกจากมาตรฐานการบัญชีมี
ข้อกำหนดหรืออนุญาตให้หักกลบได้
ข้อมูลเปรียบเทียบ
16. กิจการต้องแสดงข้อมูลของงวดก่อนเปรียบเทียบกับทุกรายการที่แสดงในงบการเงินงวดปัจจุบัน
หากมาตรฐานการบัญชีมิได้อนุญาตหรือกำหนดเป็นอย่างอื่น ข้อมูลเชิงบรรยายและพรรณนาต้องแสดง
เปรียบเทียบกันหากข้อมูลนั้นช่วยให้ผู้ใช้งบการเงินสามารถเข้าใจงบการเงินของงวดบัญชีปัจจุบัน
ได้ดีขึ้น
17. เมื่อต้องมีการแก้ไขการนำเสนอหรือจัดประเภทรายการในงบการเงิน กิจการต้องจัดประเภทรายการที่
นำมาเปรียบเทียบใหม่ด้วย เว้นแต่การจัดประเภทใหม่ไม่สามารถทำได้ในทางปฏิบัติ เมื่อมีการ
จัดประเภทใหม่ กิจการต้องเปิดเผยทุกข้อดังต่อไปนี้
17.1 ลักษณะของการจัดประเภทใหม่
17.2 จำนวนเงินของแต่ละรายการหรือแต่ละประเภทที่ถูกจัดประเภทใหม่
17.3 เหตุผลในการจัดประเภทใหม่
6
18. หากกิจการไม่สามารถจัดประเภทรายการที่นำมาเปรียบเทียบใหม่ได้ กิจการต้องเปิดเผยข้อมูลทุกข้อ
ดังต่อไปนี้
18.1 เหตุผลที่ไม่สามารถจัดประเภทรายการใหม่ได้
18.2 ลักษณะของรายการปรับปรุงหากมีการจัดประเภทรายการใหม่
โครงสร้างและเนื้อหา
การระบุชื่องบการเงิน
19. งบการเงินต้องมีการระบุชื่อไว้อย่างชัดเจนและแยกออกจากข้อมูลอื่นที่นำเสนออยู่ในเอกสารเผยแพร่
ชุดเดียวกัน
20. กิจการต้องระบุชื่อส่วนประกอบของงบการเงินแต่ละส่วนอย่างชัดเจน และยังต้องแสดงข้อมูลทุกข้อ
ต่อไปนี้อย่างเด่นชัด ซึ่งจะแสดงซ้ำกันได้ถ้าการแสดงซ้ำนั้นทำให้เกิดความเข้าใจที่ถูกต้อง
20.1 ชื่อของกิจการที่เสนอรายงานหรือวิธีการอื่นที่เป็นการแสดงชื่อและการเปลี่ยนแปลงในข้อมูล
ดังกล่าวที่เกิดขึ้นก่อนวันที่ในงบดุล
20.2 การระบุว่างบการเงินนั้นเป็นงบการเงินเฉพาะกิจการหรือเป็นงบการเงินของกลุ่มกิจการ
20.3 วันที่ในงบดุลหรือรอบระยะเวลาของงบการเงิน แล้วแต่จะเหมาะสมกับส่วนประกอบของ
งบการ เงินนั้นๆ
20.4 สกุลเงินที่ใช้รายงานตามที่กำหนดในมาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 30 (ปรับปรุง 2550) เรื่อง
ผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงของอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ (เมื่อมีการประกาศใช้)
20.5 จำนวนหลักที่ใช้ในการแสดงจำนวนเงินในงบการเงิน
รอบระยะเวลาที่รายงาน
21. กิจการต้องนำเสนองบการเงินอย่างน้อยปีละครั้ง ในกรณีที่มีการเปลี่ยนแปลงวันที่ในงบดุลและเป็นเหตุ
ให้กิจการต้องนำเสนองบการเงินซึ่งมีรอบระยะเวลาบัญชียาวกว่าหรือสั้นกว่าหนึ่งปี กิจการต้องเปิดเผย
ข้อมูลเพิ่มเติมทุกข้อดังต่อไปนี้
21.1 เหตุผลในการใช้งวดบัญชีที่ยาวกว่าหรือสั้นกว่าหนึ่งปี
21.2 ข้อเท็จจริงที่ว่าจำนวนเงินเปรียบเทียบที่แสดงในงบกำไรขาดทุน งบแสดงการเปลี่ยนแปลง ส่วน
ของเจ้าของ งบกระแสเงินสด และหมายเหตุประกอบงบการเงินของงวดก่อนไม่สามารถ นำมา
เปรียบเทียบกับงวดปัจจุบันได้ทั้งหมด
งบดุล
ความแตกต่างระหว่างรายการหมุนเวียนกับรายการไม่หมุนเวียน
22. กิจการต้องแยกแสดงสินทรัพย์และหนี้สินเป็นรายการหมุนเวียนและไม่หมุนเวียนในงบดุลตาม
ข้อกำหนดของย่อหน้า 24 ถึง 34 เว้นแต่การแสดงรายการตามสภาพคล่องจะมีความน่าเชื่อถือและ
มีความเกี่ยวข้องมากขึ้นกับการตัดสินใจ หากกิจการปฏิบัติตามข้อยกเว้นนี้ สินทรัพย์และหนี้สินทั้งหมด
จะต้องแสดงตามลำดับของสภาพคล่อง
7
23. ไม่ว่าสินทรัพย์และหนี้สินจะนำเสนอไว้ด้วยวิธีใดก็ตาม สินทรัพย์และหนี้สินแต่ละรายการที่ได้รวมยอด
คงเหลือส่วนที่คาดว่าจะได้รับประโยชน์หรือชำระคืนภายใน 12 เดือนหลังจากวันที่ในงบดุลไว้กับยอด
คงเหลือส่วนที่คาดว่าจะได้รับประโยชน์หรือชำระคืนนานเกินกว่า 12 เดือนหลังจากวันที่ในงบดุล
กิจการต้องเปิดเผยจำนวนเงินของยอดคงเหลือส่วนที่คาดว่าจะได้รับประโยชน์หรือชำระคืนนานเกินกว่า
12 เดือนนับจากวันที่ในงบดุล
สินทรัพย์หมุนเวียน
24. สินทรัพย์จะจัดประเภทเป็นสินทรัพย์หมุนเวียนเมื่อสินทรัพย์นั้นเป็นไปตามเงื่อนไขข้อใดข้อหนึ่งต่อไปนี้
24.1 คาดว่าจะได้รับประโยชน์ หรือตั้งใจจะขายหรือใช้ภายในรอบระยะเวลาดำเนินงานตามปกติของ
กิจการ
24.2 มีวัตถุประสงค์หลักไว้เพื่อค้า
24.3 คาดว่าจะได้รับประโยชน์ภายในระยะเวลา 12 เดือนนับจากวันที่ในงบดุล
24.4 เป็นเงินสดหรือรายการเทียบเท่าเงินสด (ตามที่ได้นิยามไว้ในมาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 25
(ปรับปรุง 2550) เรื่อง งบกระแสเงินสด) และไม่มีข้อจำกัดในการแลกเปลี่ยนหรือการใช้
ชำระหนี้สินภายในระยะเวลาอย่างน้อย 12 เดือนนับจากวันที่ในงบดุล
สินทรัพย์ที่ไม่เป็นไปตามเงื่อนไขข้างต้นให้จัดประเภทเป็นสินทรัพย์ไม่หมุนเวียน
25. มาตรฐานการบัญชีฉบับนี้ใช้คำว่า ไม่หมุนเวียน ให้หมายรวมถึง สินทรัพย์มีตัวตน สินทรัพย์ไม่มีตัวตน และ
สินทรัพย์ทางการเงินซึ่งมีลักษณะที่เป็นระยะยาว และมิได้มีข้อห้ามในการใช้คำอื่นหากคำที่เลือกใช้แทนนั้น
ยังคงมีความหมายชัดเจนและทดแทนกันได้
26. วงจรการดำเนินงาน หมายถึง ระยะเวลาที่เริ่มตั้งแต่ได้สินทรัพย์มาเพื่อใช้ในการดำเนินงาน จนกระทั่งได้รับ
เงินสดหรือรายการเทียบเท่าเงินสด หากไม่สามารถระบุวงจรการดำเนินงานได้อย่างชัดเจนให้ถือว่าวงจรการ
ดำเนินงานมีระยะเวลา 12 เดือน สินทรัพย์หมุนเวียนหมายรวมถึง สินทรัพย์ต่างๆ (เช่น สินค้าคงเหลือ และ
ลูกหนี้การค้า) ที่ขาย ใช้ไป หรือให้ประโยชน์ภายในรอบระยะเวลาการดำเนินงานตามปกติ ถึงแม้กิจการไม่
คาดว่าจะได้รับประโยชน์จากสินทรัพย์เหล่านั้นภายใน 12 เดือนนับจากวันที่ในงบดุลก็ตาม สินทรัพย์
หมุนเวียนยังรวมถึงสินทรัพย์ที่ถือไว้เพื่อค้า (สินทรัพย์ทางการเงินที่ถือไว้เพื่อค้าจัดเป็นสินทรัพย์หมุนเวียน
ตามข้อกำหนดของมาตรฐานการบัญชี เรื่อง การรับรู้และการวัดมูลค่าตราสารการเงิน (เมื่อมีการ
ประกาศใช้)) และส่วนที่จัดเป็นสินทรัพย์หมุนเวียนของสินทรัพย์ทางการเงินที่ไม่หมุนเวียน
หนี้สินหมุนเวียน
27. หนี้สินจะจัดประเภทเป็นหนี้สินหมุนเวียนเมื่อหนี้สินนั้นเป็นไปตามเงื่อนไขข้อใดข้อหนึ่งต่อไปนี้
27.1 คาดว่าจะมีการชำระภายในรอบระยะเวลาดำเนินงานตามปกติของกิจการ
27.2 มีวัตถุประสงค์หลักไว้เพื่อค้า
27.3 ถึงกำหนดชำระภายใน 12 เดือนนับจากวันที่ในงบดุล
27.4 กิจการไม่มีสิทธิอันปราศจากเงื่อนไขให้เลื่อนการชำระหนี้ออกไปอีกเป็นเวลาไม่น้อยกว่า
12 เดือน นับจากวันที่ในงบดุล
หนี้สินที่ไม่เป็นไปตามเงื่อนไขข้างต้นให้จัดประเภทเป็นหนี้สินไม่หมุนเวียน
8
28. หนี้สินบางประเภทที่เป็นส่วนหนึ่งของเงินทุนหมุนเวียนที่ใช้ในวงจรการดำเนินงานตามปกติของกิจการให้จัด
ประเภทเป็นหนี้สินหมุนเวียน แม้ว่าจะครบกำหนดชำระเกินกว่า 12 เดือนนับจากวันที่ในงบดุล เช่น เจ้าหนี้
การค้า ค่าใช้จ่ายค้างจ่ายบางรายการที่เกี่ยวกับพนักงาน และค่าใช้จ่ายดำเนินงานอื่น วงจรการดำเนินงาน
ตามปกตินี้ให้ใช้กับการจัดประเภทสินทรัพย์และหนี้สินของกิจการได้ สำหรับกรณีที่กิจการไม่สามารถระบุ
วงจรการดำเนินงานได้อย่างชัดเจนให้ถือว่าวงจรการดำเนินงานมีระยะเวลา 12 เดือน
29. หนี้สินหมุนเวียนอื่น เป็นหนี้สินที่มีกำหนดชำระคืนภายใน 12 เดือนนับจากวันที่ในงบดุล หรือมีไว้เพื่อ
วัตถุประสงค์หลักเพื่อค้า แต่การชำระคืนไม่ได้เป็นส่วนหนึ่งของวงจรการดำเนินงานตามปกติ ตัวอย่างเช่น
หนี้สินทางการเงินที่จัดประเภทมีไว้เพื่อค้าตามข้อกำหนดของมาตรฐานการบัญชี เรื่อง การรับรู้และการวัด
มูลค่าตราสารการเงิน (เมื่อมีการประกาศใช้) เงินเบิกเกินบัญชีธนาคาร ส่วนของหนี้สินทางการเงินไม่
หมุนเวียนระยะยาวที่ถึงกำหนดชำระในหนึ่งปี เงินปันผลค้างจ่าย ภาษีเงินได้ค้างจ่าย และเจ้าหนี้อื่นๆ สำหรับ
หนี้สินทางการเงินซึ่งกิจการใช้เป็นแหล่งเงินทุนระยะยาว (นั่นคือมิได้เป็นส่วนหนึ่งของเงินทุนหมุนเวียนที่ใช้
ในวงจรการดำเนินงานตามปกติของกิจการ) และยังไม่ครบกำหนดชำระภายใน 12 เดือนนับจากวันที่ในงบ
ดุลให้ถือเป็นหนี้สินไม่หมุนเวียนที่ต้องปฏิบัติตามย่อหน้า 32 และ 33
30. กิจการต้องจัดประเภทหนี้สินทางการเงินที่จะครบกำหนดชำระภายใน 12 เดือนนับจากวันที่ในงบดุลเป็น
หนี้สินหมุนเวียนถึงแม้ว่าหนี้สินนั้นเป็นไปตามข้อใดข้อหนึ่งดังต่อไปนี้
30.1 เงื่อนไขเดิมในการชำระหนี้สินจะมีระยะเวลาเกินกว่า 12 เดือน
30.2 มีข้อตกลงที่จะชำระหนี้โดยการก่อหนี้สินระยะยาวใหม่หรือต่ออายุหนี้ให้เป็นหนี้สินระยะยาว ซึ่ง
ข้อตกลงดังกล่าวจัดทำเสร็จสมบูรณ์ภายหลังวันที่ในงบการเงินและก่อนวันที่ได้รับอนุมัติให้ออกงบ
การเงิน
31. ภายใต้เงื่อนไขการกู้ยืมในปัจจุบัน หากกิจการคาดหวังและมีอำนาจที่จะชำระภาระผูกพันเดิมโดยการก่อ
หนี้สินใหม่ที่มีอายุอย่างน้อย 12 เดือน หรือต่ออายุภาระผูกพันเดิมออกไปเป็นระยะเวลาอย่างน้อย 12
เดือนนับจากวันที่ในงบดุล ภาระผูกพันนั้นต้องจัดประเภทเป็นหนี้สินไม่หมุนเวียนแม้ว่าภาระผูกพันเดิมนั้น
มีกำหนดชำระภายในระยะเวลาสั้นกว่า 12 เดือน อย่างไรก็ตาม หากกิจการไม่มีอำนาจในการชำระภาระ
ผูกพันเดิมโดยการก่อหนี้สินใหม่หรือการต่ออายุภาระผูกพันเดิม (เช่น ไม่มีข้อตกลงในการชำระภาระผูกพัน
เดิมโดยการก่อหนี้สินใหม่) ภาระผูกพันนั้นต้องจัดประเภทเป็นหนี้สินหมุนเวียน ทั้งนี้โดยไม่พิจารณา
ความสามารถของกิจการใน ชำระภาระผูกพันเดิมโดยการก่อหนี้สินใหม่
32. หากก่อนหรือ ณ วันที่ในงบดุล กิจการละเมิดเงื่อนไขสัญญาเงินกู้ยืมระยะยาวเป็นผลให้หนี้สินนั้นกลายเป็น
หนี้สินที่ต้องจ่ายคืนเมื่อทวงถาม กิจการต้องจัดประเภทหนี้สินนั้นเป็นหนี้สินหมุนเวียน แม้ว่าภายหลังวันที่ใน
งบดุลและวันที่ได้รับอนุมัติให้ออกงบการเงิน เจ้าหนี้มีข้อตกลงไม่เรียกคืนหนี้นั้นทั้งที่ได้มีการละเมิดเงื่อนไข
สัญญากู้ กิจการต้องจัดประเภทหนี้สินนี้เป็นหนี้สินหมุนเวียน เนื่องจาก ณ วันที่ในงบดุล กิจการไม่มีสิทธิ
อันปราศจากเงื่อนไขที่จะเลื่อนการชำระหนี้ออกไปเป็นระยะเวลาอย่างน้อย 12 เดือนนับจากวันที่ในงบดุล
33. อย่างไรก็ตาม หากภายในวันที่ในงบดุลผู้ให้กู้ยืม ยินยอมที่จะให้ระยะเวลาปลอดหนี้อย่างน้อย 12 เดือนนับ
จากวันที่ในงบดุลเพื่อให้กิจการดำเนินการแก้ไขการละเมิดเงื่อนไขเพื่อให้ตรงตามสัญญาเงินกู้ยืม ซึ่งภายในช่วง
ระยะเวลาดังกล่าวผู้ให้กู้ยืมจะไม่สามารถเรียกหนี้คืนได้ในทันที กิจการต้องจัดประเภทหนี้สินนี้เป็นหนี้สิน
ไม่หมุนเวียน
9
34. ในส่วนของเงินกู้ยืมที่จัดประเภทเป็นหนี้สินหมุนเวียน หากมีเหตุการณ์ใดเหตุการณ์หนึ่งดังต่อไปนี้เกิดขึ้น
ระหว่างวันที่ในงบดุลและวันที่ได้รับอนุมัติให้ออกงบการเงิน เหตุการณ์ดังกล่าวถือว่าเข้าเงื่อนไขที่ไม่ต้อง
ปรับปรุงงบการเงินแต่ต้องเปิดเผยข้อมูลตามข้อกำหนดของมาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 52 (ปรับปรุง 2549)
เรื่อง เหตุการณ์ภายหลังวันที่ในงบดุล
34.1 มีการชำระเงินกู้ยืมเดิมโดยการก่อหนี้สินระยะยาวใหม่
34.2 มีการแก้ไขการละเมิดเงื่อนไขของสัญญาเงินกู้ยืมระยะยาวเพื่อให้เป็นไปตามเงื่อนไขของสัญญา
34.3 เจ้าหนี้ให้ระยะเวลาอย่างน้อย 12 เดือนนับจากวันที่ในงบดุลเพื่อให้กิจการดำเนินการแก้ไขการละเมิด
เงื่อนไขของสัญญาเงินกู้ยืมระยะยาวเพื่อให้เป็นไปตามสัญญา
ข้อมูลที่ต้องนำเสนอในงบดุล
35. งบดุลต้องมีรายการที่แสดงจำนวนเงินทุกข้อดังต่อไปนี้ หากกิจการไม่ได้นำเสนอจำนวนเงินดังกล่าว
ตามที่กำหนดไว้ตามย่อหน้า 35ก
35.1 ที่ดิน อาคารและอุปกรณ์
35.2 อสังหาริมทรัพย์เพื่อการลงทุน
35.3 สินทรัพย์ไม่มีตัวตน
35.4 สินทรัพย์ทางการเงิน (ไม่รวมจำนวนเงินที่แสดงในข้อ 35.5 35.8 และ 35.9)
35.5 เงินลงทุนซึ่งบันทึกตามข้อกำหนดของมาตรฐานการบัญชีฉบับอื่น
35.6 สินทรัพย์ชีวภาพ
35.7 สินค้าคงเหลือ
35.8 ลูกหนี้การค้าและลูกหนี้อื่น
35.9 เงินสดและรายการเทียบเท่าเงินสด
35.10 เจ้าหนี้การค้าและเจ้าหนี้อื่น
35.11 ประมาณการหนี้สิน
35.12 หนี้สินทางการเงิน (ไม่รวมจำนวนเงินที่แสดงในข้อ 35.10 และ 35.11)
35.13 หนี้สินและสินทรัพย์ภาษีเงินได้สำหรับงวดปัจจุบันตามที่กำหนดในมาตรฐานการบัญชี ฉบับที่
56 เรื่อง ภาษีเงินได้ (เมื่อมีการประกาศใช้)
35.14 หนี้สินภาษีเงินได้รอการตัดบัญชีและสินทรัพย์ภาษีเงินได้รอการตัดบัญชีตามที่กำหนดใน
มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 56 เรื่อง ภาษีเงินได้ (เมื่อมีการประกาศใช้)
35.15 ส่วนได้เสียของผู้ถือหุ้นส่วนน้อยที่แสดงในส่วนของเจ้าของ
35.16 ทุนที่ออกจำหน่าย และสำรองต่างๆ ที่จัดสรรให้แก่ผู้ถือหุ้นของบริษัทใหญ่
35 ก งบดุลต้องมีรายการที่แสดงจำนวนเงินทุกข้อดังต่อไปนี้
(1) ยอดรวมของสินทรัพย์ที่จัดประเภทเป็นสินทรัพย์ถือไว้รอการขายและสินทรัพย์ที่รวมในกลุ่ม
สินทรัพย์รอการจำหน่ายซึ่งจัดประเภทเป็นสินทรัพย์ถือไว้รอการขายตามมาตรฐานการบัญชี
เรื่อง สินทรัพย์ไม่หมุนเวียนที่ถือไว้เพื่อขายและการดำเนินงานที่ยกเลิก (เมื่อมีการประกาศใช้)
(2) หนี้สินที่รวมในกลุ่มหนี้สินรอการจำหน่ายที่จัดประเภทเป็นหนี้สินถือไว้รอการขายตามมาตรฐาน
การบัญชี เรื่อง สินทรัพย์ไม่หมุนเวียนที่ถือไว้เพื่อขายและการดำเนินงานที่ยกเลิก (เมื่อมีการ
ประกาศใช้)
10
36. กิจการจะต้องแสดงรายการแต่ละรายการ หัวข้อเรื่อง และยอดรวมย่อยในงบดุลเพิ่มเติม ถ้าหากการ
แสดงรายการในลักษณะดังกล่าวช่วยให้เกิดความเข้าใจในฐานะการเงินของกิจการ
37. ถ้ากิจการแยกการจัดประเภทสินทรัพย์และหนี้สินในงบดุลเป็นรายการหมุนเวียนและไม่หมุนเวียน
กิจการต้องไม่จัดประเภทรายการสินทรัพย์ (หนี้สิน) ภาษีเงินได้รอการตัดบัญชีเป็นสินทรัพย์ (หนี้สิน)
หมุนเวียน
ข้อมูลที่ต้องนำเสนอในงบดุลหรือในหมายเหตุประกอบงบการเงิน
38. กิจการต้องเปิดเผยการจัดประเภทรายการย่อยในงบดุลหรือในหมายเหตุประกอบงบการเงินโดย
จัดประเภทให้เหมาะสมกับการดำเนินงานของกิจการ
39. กิจการต้องเปิดเผยข้อมูลต่อไปนี้ในงบดุลหรือในหมายเหตุประกอบงบการเงิน
39.1 สำหรับหุ้นทุนแต่ละประเภท
39.1.1 จำนวนหุ้นที่จดทะเบียน
39.1.2 จำนวนหุ้นที่ออกจำหน่ายและชำระเต็มมูลค่า และจำนวนหุ้นที่ออกจำหน่ายแต่ยังชำระ
ไม่เต็มมูลค่า
39.1.3 ราคาที่ตราไว้ต่อหุ้น หรือเปิดเผยว่าหุ้นไม่มีราคาตราไว้
39.1.4 รายการกระทบยอดของจำนวนหุ้นที่ถือโดยบุคคลภายนอก ณ วันเริ่มรอบระยะเวลา
และวันสิ้นรอบระยะเวลา
39.1.5 สิทธิ บุริมสิทธิ และข้อจำกัดของหุ้นทุนแต่ละประเภท ซึ่งรวมถึงข้อจำกัดในการจ่าย
ปันผลและการจ่ายคืนทุน
39.1.6 จำนวนหุ้นของกิจการที่ถือโดยกิจการหรือบริษัทย่อย หรือบริษัทร่วมของกิจการ
39.1.7 จำนวนหุ้นที่สำรองไว้เพื่อออกให้ตามสิทธิหรือตามสัญญาการขายหุ้น พร้อมเงื่อนไข
และจำนวนเงินที่เกี่ยวข้อง
39.2 คำอธิบายถึงลักษณะและวัตถุประสงค์ของสำรองแต่ละประเภทในส่วนของเจ้าของ
40. กิจการที่ไม่มีหุ้นทุน เช่น ห้างหุ้นส่วน หรือทรัสต์ ต้องเปิดเผยข้อมูลซึ่งเทียบเท่ากับข้อมูลที่กำหนดใน
ย่อหน้า 39.1 โดยให้แสดงการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในระหว่างงวดสำหรับแต่ละรายการในส่วนของ
เจ้าของ ตลอดจนสิทธิ บุริมสิทธิ และข้อจำกัด ของส่วนได้เสียของเจ้าของแต่ละประเภท
งบกำไรขาดทุน
กำไรหรือขาดทุนสำหรับงวด
41. รายได้และค่าใช้จ่ายทุกรายการที่รับรู้ในงวดต้องนำมารวมเป็นกำไรหรือขาดทุน เว้นแต่มาตรฐานการ
บัญชีจะกำหนดไว้เป็นอย่างอื่น
11
ข้อมูลที่ต้องนำเสนอในงบกำไรขาดทุน
42. งบกำไรขาดทุนสำหรับงวดต้องแสดงรายการแต่ละบรรทัดพร้อมจำนวนเงิน ดังต่อไปนี้เป็นอย่างน้อย
42.1 รายได้
42.2 ต้นทุนทางการเงิน
42.3 ส่วนแบ่งกำไรหรือขาดทุนในเงินลงทุนซึ่งบันทึกตามข้อกำหนดของมาตรฐานการบัญชีฉบับอื่น
42.4 ค่าใช้จ่ายภาษี
42.5 ยอดรวมของ (ก) กำไรหรือขาดทุนหลังภาษีเงินได้จากการดำเนินงานที่ยกเลิก และ (ข) ผล
กำไรหรือผลขาดทุนหลังภาษีเงินได้ที่รับรู้จากการวัดมูลค่ายุติธรรมสุทธิจากต้นทุนในการขาย
หรือจากการจำหน่ายสินทรัพย์หรือรอจำหน่ายที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินงานที่ยกเลิก
42.6 กำไรหรือขาดทุน
43. งบกำไรขาดทุนต้องเปิดเผยรายการเกี่ยวกับการจัดสรรกำไรหรือขาดทุนสำหรับงวด ดังนี้
43.1 กำไรหรือขาดทุนส่วนที่เป็นของผู้ถือหุ้นส่วนน้อย
43.2 กำไรหรือขาดทุนส่วนที่เป็นของผู้ถือหุ้นบริษัทใหญ่
44. กิจการจะต้องแสดงรายการแต่ละรายการ หัวข้อเรื่อง และยอดรวมย่อยในงบกำไรขาดทุนเพิ่มเติม
ถ้าหากการแสดงรายการในลักษณะดังกล่าวช่วยให้เกิดความเข้าใจในผลการดำเนินงานของกิจการ
45. กิจการต้องไม่แสดงรายการรายได้และค่าใช้จ่ายเป็นรายการพิเศษไม่ว่าจะแสดงในงบกำไรขาดทุนหรือ
ในหมายเหตุประกอบงบการเงิน
ข้อมูลที่ต้องนำเสนอในงบกำไรขาดทุนหรือในหมายเหตุประกอบงบการเงิน
46. สำหรับรายการรายได้และค่าใช้จ่ายที่ถือว่ามีสาระสำคัญ กิจการต้องเปิดเผยลักษณะและจำนวนแยก
สำหรับแต่ละรายการ
47. กิจการต้องนำเสนอการวิเคราะห์ค่าใช้จ่ายโดยการจัดประเภทตามลักษณะหรือตามหน้าที่ของค่าใช้จ่าย
ภายในกิจการที่ให้ข้อมูลที่เชื่อถือได้และมีประโยชน์ต่อการตัดสินใจได้ดีกว่า
48. กิจการที่แสดงค่าใช้จ่ายตามหน้าที่ต้องเปิดเผยข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับค่าใช้จ่ายตามลักษณะของ
ค่าใช้จ่าย ซึ่งรวมถึงค่าเสื่อมราคา และค่าตัดจำหน่าย และค่าใช้จ่ายผลประโยชน์ตอบแทนพนักงาน
49. กิจการต้องเปิดเผยจำนวนเงินของการจ่ายปันผลที่รับรู้เป็นการจัดสรรแก่ผู้ถือหุ้นระหว่างรอบระยะเวลา
และจำนวนเงินที่เกี่ยวข้องต่อหุ้นไว้ในงบกำไรขาดทุน หรือในงบแสดงการเปลี่ยนแปลงส่วนของเจ้าของ
หรือในหมายเหตุประกอบงบการเงิน
12
งบแสดงการเปลี่ยนแปลงส่วนของเจ้าของ
50. กิจการต้องนำเสนองบแสดงการเปลี่ยนแปลงส่วนของเจ้าของ ซึ่งประกอบด้วยรายการดังต่อไปนี้
50.1 กำไรหรือขาดทุนสำหรับงวด
50.2 รายได้และค่าใช้จ่ายสำหรับแต่ละรายการของงวดที่รับรู้โดยตรงไว้ในส่วนของเจ้าของตาม
ข้อกำหนดของมาตรฐานการบัญชีฉบับอื่น โดยให้แสดงยอดรวมของรายการเหล่านั้นด้วย
50.3 ยอดรวมของรายได้และค่าใช้จ่ายสำหรับงวดซึ่งเป็นผลรวมของรายการตามย่อหน้า 50.1 และ
50.2 พร้อมทั้งแสดงจำนวนที่จัดสรรให้กับผู้ถือหุ้นบริษัทใหญ่และผู้ถือหุ้นส่วนน้อยแยกจากกัน
50.4 ผลสะสมของการเปลี่ยนแปลงนโยบายการบัญชีและการแก้ไขข้อผิดพลาดที่มีต่อแต่ละรายการ
ในส่วนของเจ้าของตามข้อกำหนดของมาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 39 (ปรับปรุง 2550) เรื่อง
นโยบายการบัญชี การเปลี่ยนแปลงประมาณการทางบัญชี และข้อผิดพลาด
งบแสดงการเปลี่ยนแปลงส่วนของเจ้าของที่มีเพียงรายการในข้อ 50.1 ถึง 50.4 ให้เรียกว่างบแสดง
การรับรู้รายได้และค่าใช้จ่าย
51. นอกจากนี้ กิจการต้องแสดงรายการต่อไปนี้เพิ่มเติมไว้ในงบแสดงการเปลี่ยนแปลงส่วนของเจ้าของหรือ
ในหมายเหตุประกอบงบการเงิน
51.1 จำนวนเงินของรายการบัญชีที่เกิดกับผู้ถือหุ้นในฐานะผู้เป็นเจ้าของ โดยแยกแสดงจากส่วนแบ่งที่
ให้กับผู้ถือหุ้น
51.2 ยอดคงเหลือในบัญชีกำไรสะสม (กำไรหรือขาดทุนสะสม) ณ วันเริ่มรอบระยะเวลาบัญชี การ
เปลี่ยนแปลงระหว่างงวด และยอดคงเหลือ ณ วันที่ในงบดุล
51.3 การกระทบยอดคงเหลือของสำรองและรายการต่างๆ แต่ละรายการที่แสดงในส่วนของเจ้าของ
ณ วันเริ่มรอบระยะเวลาบัญชี และวันสิ้นรอบระยะเวลาบัญชี โดยเปิดเผยถึงการเปลี่ยนแปลง
ของแต่ละรายการแยกจากกัน
หมายเหตุประกอบงบการเงิน
โครงสร้าง
52. หมายเหตุประกอบงบการเงินจะต้อง
52.1 นำเสนอข้อมูลเกี่ยวกับเกณฑ์การจัดทำงบการเงินและนโยบายการบัญชีที่กิจการใช้ตามที่ระบุใน
ย่อหน้า 54 ถึง 61
52.2 เปิดเผยข้อมูลที่ไม่ได้นำเสนอในงบดุล งบกำไรขาดทุน งบแสดงการเปลี่ยนแปลงส่วนของ
เจ้าของหรืองบกระแสเงินสดตามข้อกำหนดของมาตรฐานการบัญชี
52.3 ให้ข้อมูลอื่นเพิ่มเติมที่ไม่ได้นำเสนออยู่ในงบดุล งบกำไรขาดทุน งบแสดงการเปลี่ยนแปลง
ส่วนของเจ้าของ หรืองบกระแสเงินสด แต่เป็นข้อมูลที่เกี่ยวข้องต่อการทำความเข้าใจงบการเงิน
เหล่านั้น
53. กิจการต้องนำเสนอหมายเหตุประกอบงบการเงินในลักษณะที่เป็นระบบให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้
ในทางปฏิบัติ โดยแต่ละรายการที่ปรากฏในงบดุล งบกำไรขาดทุน งบแสดงการเปลี่ยนแปลงส่วนของ
13
เจ้าของ หรืองบกระแสเงินสด กิจการต้องมีการอ้างอิงถึงข้อมูลที่เกี่ยวข้องซึ่งได้เปิดเผยไว้ในหมายเหตุ
ประกอบงบการเงิน
การเปิดเผยนโยบายการบัญชี
54. กิจการต้องเปิดเผยทุกเรื่องต่อไปนี้ในหัวข้อสรุปนโยบายการบัญชีที่สำคัญ
54.1 เกณฑ์การวัดมูลค่าที่ใช้จัดทำงบการเงิน
54.2 นโยบายการบัญชีอื่นๆ ที่กิจการเลือกใช้ซึ่งเกี่ยวข้องต่อความเข้าใจในงบการเงินของกิจการ
55. เกณฑ์การวัดมูลค่าที่ใช้จัดทำงบการเงิน (ตัวอย่างเช่น การวัดมูลค่าด้วยราคาทุนเดิม ราคาทุนปัจจุบัน มูลค่า
สุทธิที่จะได้รับ มูลค่ายุติธรรม หรือมูลค่าที่คาดว่าจะได้รับคืน) มีผลต่อการวิเคราะห์ข้อมูลของผู้ใช้งบการเงิน
ดังนั้น การที่ผู้ใช้งบการเงินได้ทราบถึงเกณฑ์การวัดมูลค่าจึงเป็นสิ่งสำคัญ ถ้าเกณฑ์การวัดมูลค่าที่ใช้ในงบ
การเงินมีมากกว่าหนึ่งเกณฑ์ ตัวอย่างเช่น กรณีที่สินทรัพย์บางประเภทมีการตีราคาใหม่ กิจการต้องเปิดเผย
ให้เห็นว่าสินทรัพย์และหนี้สินประเภทใดใช้เกณฑ์การวัดแบบใด
56. ในการตัดสินใจว่ากิจการต้องเปิดเผยนโยบายการบัญชีเรื่องใดบ้างนั้น ฝ่ายบริหารของกิจการ ต้องพิจารณาว่า
การเปิดเผยนั้นจะช่วยให้ผู้ใช้งบการเงินเข้าใจว่ารายการบัญชี เหตุการณ์ และสภาพการณ์ ได้ถูกสะท้อนให้
เห็นไว้ในผลการดำเนินงานและฐานะการเงินที่รายงานหรือไม่ ถ้านโยบายการบัญชีที่เลือกใช้นั้นเป็นหนึ่งใน
หลายทางเลือกที่มาตรฐานการบัญชีอนุญาตให้ใช้ การเปิดเผยให้ทราบถึงนโยบายการบัญชีที่ฝ่ายบริหาร
เลือกใช้จะมีประโยชน์มากต่อผู้ใช้งบการเงิน ตัวอย่างเช่น ผู้ร่วมค้าเลือกจัดทำงบการเงินรวมโดยรับรู้ส่วนได้
เสียในกิจการร่วมค้าที่มีการควบคุมร่วมกันด้วยวิธีรวมตามสัดส่วนหรือด้วยวิธีส่วนได้เสีย (ดูมาตรฐานการ
บัญชี ฉบับที่ 46 (ปรับปรุง 2550) เรื่อง ส่วนได้เสียในการร่วมค้า) มาตรฐานการบัญชีบางฉบับมีข้อกำหนด
พิเศษที่กำหนดให้กิจการเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับนโยบายการบัญชีโดยเฉพาะ รวมถึง นโยบายการบัญชีที่ฝ่าย
บริหารเลือกใช้จากนโยบายการบัญชีที่มาตฐานการบัญชีอนุญาต ตัวอย่างเช่น มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 32
(ปรับปรุง 2550) เรื่อง ที่ดิน อาคารและอุปกรณ์ (เมื่อมีการประกาศใช้) กำหนดการเปิดเผยเกณฑ์ที่ใช้ใน
การวัดมูลค่าที่ดิน อาคารและอุปกรณ์แต่ละประเภท มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 33 (ปรับปรุง 2550) เรื่อง
ต้นทุนการกู้ยืม กำหนดการเปิดเผยข้อมูลว่ากิจการเลือกบันทึกต้นทุนกู้ยืมเป็นค่าใช้จ่ายสำหรับงวดหรือถือ
เป็นส่วนหนึ่งของต้นทุนสินทรัพย์ที่เข้าเงื่อนไข
57. กิจการต้องพิจารณาลักษณะการดำเนินงานและนโยบายการบัญชีที่ใช้ ซึ่งผู้ใช้งบการเงินคาดหวังว่าจะได้ทราบ
ตามลักษณะของธุรกิจนั้น ตัวอย่างเช่น กิจการซึ่งต้องเสียภาษีเงินได้ ผู้ใช้งบการเงินคาดหวังจะได้ทราบ
นโยบายการบัญชีเรื่องภาษีเงินได้รวมทั้งนโยบายเกี่ยวกับสินทรัพย์และหนี้สินภาษีเงินได้รอการตัดบัญชีที่
เกี่ยวข้อง หรือกิจการที่มีการดำเนินงานในต่างประเทศหรือมีรายการบัญชีเป็นเงินตราต่างประเทศที่มี
นัยสำคัญ ผู้ใช้งบการเงินย่อมคาดหวังจะได้ทราบนโยบายการบัญชีเกี่ยวกับการรับรู้ผลกำไรและขาดทุนจาก
อัตราแลกเปลี่ยน หรือเมื่อมีการรวมธุรกิจเกิดขึ้น กิจการต้องเปิดเผยนโยบายการบัญชีเกี่ยวกับการวัดมูลค่า
ค่าความนิยม และส่วนของผู้ถือหุ้นส่วนน้อย เป็นต้น
58. นโยบายการบัญชีอาจมีความสำคัญเนื่องจากลักษณะการดำเนินงานของกิจการแม้ว่าจำนวนเงินของรายการที่
แสดงในงวดปัจจุบันและงวดก่อนๆ จะไม่มีสาระสำคัญก็ตาม การเปิดเผยนโยบายการบัญชีเป็นการ
เหมาะสมหากกิจการมีเรื่องที่สำคัญที่ยังไม่มีมาตรฐานการบัญชีกำหนดไว้แต่กิจการได้กำหนดนโยบายการ
14
บัญชีขึ้นเพื่อใช้ซึ่งเป็นวิธีปฏิบัติตามข้อกำหนดในมาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 39 (ปรับปรุง 2550) เรื่อง โยบายการ
บัญชี การเปลี่ยนแปลงประมาณการทางบัญชี และข้อผิดพลาด
59. กิจการต้องเปิดเผยไว้ในหัวข้อสรุปนโยบายการบัญชีที่สำคัญหรือในส่วนอื่นของหมายเหตุประกอบงบ
การเงินเกี่ยวกับการใช้ดุลยพินิจของฝ่ายบริหารซึ่งมีผลกระทบอย่างมีนัยสำคัญต่อจำนวนเงินของ
รายการที่รับรู้ในงบการเงินในการกำหนดนโยบายการบัญชี นอกเหนือจากการใช้ดุลยพินิจเกี่ยวกับ
ประมาณการทางบัญชี (ดูย่อหน้า 62)
60. ในการปฏิบัติตามนโยบายการบัญชี ฝ่ายบริหารของกิจการต้องใช้ดุลยพินิจซึ่งอาจมีผลกระทบอย่างมี
นัยสำคัญต่อจำนวนเงินที่รับรู้ในงบการเงิน เพื่อตัดสินใจในเรื่องต่างๆ (นอกเหนือจากการใช้ดุลยพินิจ
เกี่ยวกับประมาณการทางบัญชี) ตัวอย่างของการใช้ดุลยพินิจของฝ่ายบริหารได้แก่
60.1 สินทรัพย์ทางการเงินเป็นเงินลงทุนที่จะถือจนครบกำหนดหรือไม่
60.2 ความเสี่ยงและผลตอบแทนที่มีนัยสำคัญทั้งหมดหรือเกือบทั้งหมดของสินทรัพย์ทางการเงินหรือ
สินทรัพย์ภายใต้สัญญาเช่าได้โอนไปให้แก่กิจการอื่นแล้วเมื่อใด
60.3 โดยเนื้อหาของรายการแล้ว การขายสินค้าบางรายการถือเป็นข้อตกลงทางการเงินซึ่งไม่ก่อให้เกิด
รายได้จากการขายหรือไม่
60.4 ลักษณะความสัมพันธ์ระหว่างกิจการกับกิจการเฉพาะกิจที่ทำให้กิจการสามารถควบคุมกิจการเฉพาะ
กิจนั้นได้หรือไม่
61. มาตรฐานการบัญชีบางฉบับกำหนดแนวทางการเปิดเผยข้อมูลสำหรับข้อมูลที่สอดคล้องกับย่อหน้า 59
ตัวอย่างเช่น มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 44 (ปรับปรุง 2550) เรื่อง งบการเงินรวมและงบการเงินเฉพาะ
กิจการ กำหนดให้กิจการเปิดเผยเหตุผลที่ไม่มีอำนาจควบคุมบริษัทย่อยทั้งที่มีสิทธิออกเสียงทั้งทางตรงและ
ทางอ้อมรวมกันมากกว่ากึ่งหนึ่ง ในกรณีที่การจัดประเภทอสังหาริมทรัพย์จัดประเภทได้ยาก มาตรฐานการ
บัญชี เรื่อง อสังหาริมทรัพย์เพื่อการลงทุน (เมื่อมีการประกาศใช้) กำหนดให้กิจการเปิดเผยเกณฑ์ที่กิจการ
กำหนดขึ้นเองที่ใช้ในการจัดประเภทอสังหาริมทรัพย์เป็นเพื่อการลงทุน เพื่อถือไว้ใช้เอง หรือเพื่อขาย
ตามปกติธุรกิจ
แหล่งข้อมูลสำคัญเกี่ยวกับความไม่แน่นอนของการประมาณการ
62. กิจการต้องเปิดเผยในหมายเหตุประกอบงบการเงินถึงข้อสมมติที่ใช้เกี่ยวกับอนาคตและที่มาของความ
ไม่แน่นอนในการประมาณการที่มีอยู่ ณ วันที่ในงบดุล ซึ่งมีความเสี่ยงอย่างมีนัยสำคัญเป็นเหตุให้ต้องมี
การปรับปรุงมูลค่าตามบัญชีของสินทรัพย์และหนี้สินด้วยจำนวนที่มีสาระสำคัญในปีบัญชีถัดไป ซึ่งใน
กรณีดังกล่าวนี้กิจการต้องเปิดเผยข้อมูลในหมายเหตุประกอบงบการเงินซึ่งรวมถึงรายละเอียด
ทุกข้อดังนี้
62.1 ลักษณะของสินทรัพย์และหนี้สินที่ต้องมีการปรับปรุงมูลค่า
62.2 มูลค่าตามบัญชีของสินทรัพย์และหนี้สิน ณ วันที่ในงบดุล
การเปิดเผยเรื่องส่วนทุน
63. กิจการต้องเปิดเผยข้อมูลเพื่อให้ผู้ใช้งบการเงินสามารถประเมินวัตถุประสงค์ของกิจการ นโยบาย และ
กระบวนการจัดการส่วนทุน
15
การเปิดเผยเรื่องอื่นๆ
64. กิจการต้องเปิดเผยข้อมูลต่อไปนี้ในหมายเหตุประกอบงบการเงิน
64.1 จำนวนเงินปันผลที่กิจการเสนอหรือประกาศจ่ายก่อนวันอนุมัติให้ออกงบการเงิน ซึ่งในงวดนี้
กิจการยังไม่ได้รับรู้เป็นรายการจัดสรรส่วนทุนให้แก่ผู้ถือหุ้นทุน พร้อมทั้งจำนวนเงินปันผลต่อหุ้น
64.2 จำนวนเงินปันผลของหุ้นบุริมสิทธิชนิดสะสมซึ่งไม่ได้รับรู้ในงบการเงิน
65. กิจการต้องเปิดเผยเรื่องต่อไปนี้หากยังมิได้เปิดเผยไว้ในข้อมูลเผยแพร่พร้อมกับงบการเงิน
65.1 ภูมิลำเนาและรูปแบบตามกฎหมายของกิจการ ประเทศที่ได้จดทะเบียนจัดตั้งกิจการ และที่อยู่
ตามที่จดทะเบียน (หรือสถานที่หลักในการประกอบธุรกิจหากแตกต่างไปจากที่อยู่จดทะเบียน)
65.2 คำอธิบายลักษณะการดำเนินงานและกิจกรรมหลักของกิจการ
65.3 ชื่อของบริษัทใหญ่ และชื่อของบริษัทใหญ่ในลำดับสูงสุดของกลุ่มบริษัท
วันถือปฏิบัติ
66. มาตรฐานการบัญชีฉบับนี้ให้ถือปฏิบัติกับงบการเงินสำหรับรอบระยะเวลาบัญชีที่เริ่มในหรือหลังวันที่
1 มกราคม 2551 เป็นต้นไป อย่างไรก็ตาม กิจการสามารถปฏิบัติตามข้อกำหนดในมาตรฐานการบัญชี
ฉบับนี้ก่อนวันถือปฏิบัติได้แต่ต้องเปิดเผยข้อเท็จจริงดังกล่าวในงบการเงิน

คลิ๊กเพื่อดูไฟล์ฉบับเต็ม

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น