มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 51 (ปรับปรุง 2550) P.1

เรื่อง สินทรัพย์ไม่มีตัวตน
คำแถลงการณ์
มาตรฐานการบัญชีฉบับนี้ใช้แทนมาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 14 เรื่อง การบัญชีสำหรับการ
วิจัยและพัฒนา และการตีความมาตรฐานการบัญชี ลำดับที่ 4 เรื่อง การด้อยค่าของสินทรัพย์-รายจ่ายที่
กิจการในขั้นพัฒนาและกิจการที่พัฒนาแล้วบันทึกไว้เป็นสินทรัพย์
มาตรฐานการบัญชีฉบับนี้เป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนดขึ้นโดยมาตรฐานการบัญชีระหว่าง
ประเทศ ฉบับที่ 38 เรื่อง สินทรัพย์ไม่มีตัวตน (IAS NO.38, Intangible asset (December 31,2006))
โดยไม่มีข้อแตกต่าง
2
มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 51 เรื่อง สินทรัพย์ไม่มีตัวตน
ขอบเขต
1. มาตรฐานการบัญชีฉบับนี้ให้ถือปฏิบัติสำหรับการบันทึกบัญชีเกี่ยวกับสินทรัพย์ไม่มีตัวตนยกเว้น
1.1 สินทรัพย์ไม่มีตัวตนที่กำหนดไว้ในขอบเขตของมาตรฐานการบัญชีฉบับอื่น
1.2 สินทรัพย์ทางการเงินตามคำนิยามที่ระบุไว้ในมาตรฐานการบัญชี เรื่อง การรับรู้รายการและ
การวัดมูลค่าเครื่องมือทางการเงิน (เมื่อมีการประกาศใช้)
1.3 การรับรู้รายการและการวัดมูลค่าของการสำรวจและการประเมินค่าสินทรัพย์ (ดูมาตรฐาน
การบัญชี เรื่อง การสำรวจและการประเมินค่าทรัพยากรแร่ (เมื่อมีการประกาศใช้))
1.4 รายจ่ายในการพัฒนา และขุด แร่ น้ำมัน ก๊าซธรรมชาติ และทรัพยากรที่ไม่สามารถสร้างขึ้น
ใหม่ได้
คำนิยาม
2. คำศัพท์ที่ใช้ในมาตรฐานการบัญชีฉบับนี้มีความหมายโดยเฉพาะ ดังนี้
ตลาดซื้อขายคล่อง หมายถึง ตลาดที่มีคุณสมบัติทุกข้อดังต่อไปนี้
1. รายการที่ซื้อขายในตลาดต้องมีลักษณะเหมือนกัน
2. ต้องมีผู้เต็มใจซื้อและขายตลอดเวลาทำการ
3. ต้องเปิดเผยราคาต่อสาธารณชน
วันที่ตกลงรวมกิจการ หมายถึง วันที่ข้อตกลงที่สำ คัญระหว่างกิจการที่รวมธุรกิจกัน
บรรลุผล และมีการประกาศต่อสาธารณชนในกรณีของ
บริษัทจดทะเบียน สำหรับกรณีที่เป็นการครอบงำกิจการ
แบบปรปักษ์ วันแรกที่ข้อตกลงที่สำคัญระหว่างกิจการที่
รวมธุรกิจกันบรรลุผล คือ วันที่จำนวนหุ้นของผู้ถือหุ้นใน
ธุรกิจที่ถูกซื้อ ซึ่งยอมรับคำเสนอซื้อของผู้ซื้อมีจำนวนหุ้น
มากเพียงพอที่จะทำให้ผู้ซื้อสามารถควบคุม ผู้ถูกซื้อ
การตัดจำหน่าย หมายถึง การปันส่วนจำนวนที่คิดค่าตัดจำหน่ายของสินทรัพย์ไม่มี
ตัวตนอย่างมีระบบตลอดอายุการให้ประโยชน์ ของ
สินทรัพย์นั้น
สินทรัพย์ หมายถึง ทรัพยากรที่เป็นไปตามข้อกำหนดทุกข้อต่อไปนี้
1. อยู่ในความควบคุมของกิจการ ซึ่งเป็นผลมาจาก
เหตุการณ์ในอดีต
2. ก่อให้เกิดประโยชน์เชิงเศรษฐกิจในอนาคตแก่
กิจการ
3
มูลค่าตามบัญชี หมายถึง ราคาของสินทรัพย์ที่รับรู้ในงบดุลหลังจากหักค่าตัด
จำหน่ายสะสมและค่าเผื่อการด้อยค่าของสินทรัพย์
ราคาทุน หมายถึง จำนวนเงินสดหรือรายการเทียบเท่าเงินสดที่กิจการจ่ายไป
หรือมูลค่ายุติธรรมของสิ่งตอบแทนอื่นที่กิจการมอบให้
เพื่อให้ได้มาซึ่งสินทรัพย์ ณ เวลาที่ซื้อหรือสร้าง
สินทรัพย์นั้น หรือจำนวนที่กิจการรับรู้เป็นสินทรัพย์ตาม
ข้ อ กํ า ห น ด ใ น ม า ต ร ฐ า น ก า ร บั ญ ชี ฉ บั บ อื่ น เ ช่ น
มาตรฐานการบัญชี เรื่อง ผลประโยชน์ ตอบแทนของ
พนักงานโดยการให้ส่วนได้เสียในกิจการ (เมื่อมีการ
ประกาศใช้)
จำนวนที่คิดค่าตัด
จำหน่าย
หมายถึง ราคาทุนของสินทรัพย์หรือราคาอื่นที่ใช้แทนราคาทุน หัก
ด้วยมูลค่าคงเหลือ
การพัฒนา หมายถึง การนำผลของการวิจัยหรือความรู้อื่นมาใช้ในแผนงาน
หรือ การออกแบบเพื่อผลิตสิ่งใหม่หรือสิ่งที่ดีขึ้นกว่าเดิม
อย่างเป็นนัยสำคัญก่อนที่จะเริ่มผลิตหรือใช้ในเชิงพาณิชย์
ไม่ว่าสิ่งนั้นจะเป็นวัตถุดิบชิ้นส่วนอุปกรณ์ ผลิตภัณฑ์
กระบวนการ ระบบ หรือบริการ
มูลค่าเฉพาะกิจการ หมายถึง มูลค่าปัจจุบันของกระแสเงินสดที่กิจการคาดว่าจะได้รับ
จากการใช้สินทรัพย์อย่างต่อเนื่อง และจากการขาย
สินทรัพย์นั้นเมื่อสิ้นสุดอายุการให้ประโยชน์หรือที่คาดว่า
จะเกิดเมื่อมีการโอนเพื่อชำระหนี้สิน
มูลค่ายุติธรรม หมายถึง จำนวนเงินที่ผู้ซื้อและผู้ขายตกลงแลกเปลี่ยนสินทรัพย์กัน
ในขณะที่ทั้งสองฝ่ายมีความรอบรู้และเต็มใจในการ
แลกเปลี่ยน และสามารถต่อรองราคากันได้อย่างเป็น
อิสระในลักษณะของผู้ที่ไม่มีความเกี่ยวข้องกัน
รายการขาดทุนจาก
การด้อยค่า
หมายถึง จำนวนของมูลค่าตามบัญชีที่สูงกว่ามูลค่าที่คาดว่าจะ
ได้รับคืนของสินทรัพย์
สินทรัพย์ไม่มีตัวตน หมายถึง สินทรัพย์ที่ไม่เป็นตัวเงินที่สามารถระบุได้และไม่มี
กายภาพ
สินทรัพย์ที่เป็นตัวเงิน หมายถึง เงินสดหรือสินทรัพย์ที่กิจการจะได้รับเป็นจำ นวนที่
แน่นอน หรือที่สามารถทราบได้
4
การวิจัย หมายถึง การสำรวจตรวจสอบที่วางแผนและริเริ่มเพื่อให้ได้มาซึ่ง
ความรู้ความเข้าใจใหม่ ๆ ทางด้านวิทยาศาสตร์หรือ
ทางด้านเทคนิค
มูลค่าคงเหลือของ
สินทรัพย์ไม่มีตัวตน
หมายถึง จำนวนเงินที่กิจการคาดว่าจะได้รับ ณ เวลาปัจจุบันสุทธิ
จากต้นทุนที่คาดว่าจะเกิดขึ้นจากการจำหน่ายสินทรัพย์ไม่
มีตัวตน ประหนึ่งว่าสินทรัพย์มีอายุและสภาพที่คาดว่าจะ
เป็น ณ วันสิ้นอายุการให้ประโยชน์
อายุการให้ประโยชน์ หมายถึง กรณีใดกรณีหนึ่งต่อไปนี้
1. ระยะเวลาที่กิจการคาดว่าจะมีสินทรัพย์ไว้ใช้
2. จำ นวนผลผลิตหรือจำ นวนหน่วยในลักษณะอื่นที่
คล้ายคลึงกัน ซึ่งกิจการคาดว่าจะได้รับจากสินทรัพย์
สินทรัพย์ไม่มีตัวตน
3. กิจการมักใช้ทรัพยากรหรือก่อให้เกิดหนี้สินเพื่อซื้อ พัฒนา รักษาระดับ หรือยกระดับทรัพยากรที่ไม่มี
ตัวตนต่าง ๆ เช่น ความรู้ทางวิทยาศาสตร์หรือความรู้ทางด้านเทคนิค การออกแบบ การนำระบบหรือ
กระบวนการใหม่มาปฏิบัติ สิทธิตามใบอนุญาต สินทรัพย์ทางปัญญา ความรู้ทางการตลาด และ
เครื่องหมายการค้า ซึ่งรวมถึงชื่อผลิตภัณฑ์และชื่อสิ่งพิมพ์ ตัวอย่างของรายการที่เกิดจากทรัพยากร
ข้างต้น ได้แก่ โปรแกรมคอมพิวเตอร์ สิทธิบัตร ลิขสิทธิ์ ฟิล์มภาพยนตร์ รายชื่อลูกค้า สิทธิในการ
ให้บริการสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัย ใบอนุญาตทำการประมง โควต้านำเข้าสินค้า สิทธิที่จะใช้ชื่อและ
ดำเนินธุรกิจ ความสัมพันธ์กับลูกค้าหรือกับผู้ขายสินค้า ความจงรักภักดีต่อสินค้า ส่วนแบ่งตลาด และ
สิทธิทางการตลาด
4. รายการที่ระบุอยู่ในย่อหน้าที่ 3 อาจไม่เข้าเงื่อนไขการเป็นสินทรัพย์ไม่มีตัวตนตามคำนิยามที่ระบุไว้ใน
มาตรฐานการบัญชีฉบับนี้ได้ทุกรายการ รายการที่จะถือเป็นสินทรัพย์ไม่มีตัวตนได้ต้องสามารถระบุได้
ต้องอยู่ภายใต้การควบคุมของกิจการ และต้องก่อให้เกิดประโยชน์เชิงเศรษฐกิจในอนาคต หากรายการ
ใดไม่เป็นไปตามคำนิยามของสินทรัพย์ไม่มีตัวตน กิจการต้องรับรู้รายจ่ายที่เกิดขึ้นเพื่อให้ได้มาหรือ
ก่อให้เกิดซึ่งรายการนั้นเป็นค่าใช้จ่ายทันที อย่างไรก็ตาม หากรายการนั้นเกิดจากการรวมธุรกิจ
รายการดังกล่าวถือเป็นส่วนหนึ่งของค่าความนิยมที่ต้องรับรู้ ณ วันที่ซื้อ (ดูย่อหน้าที่ 62)
สินทรัพย์ไม่มีตัวตนสามารถระบุได้
5. คำนิยามของสินทรัพย์ไม่มีตัวตนกำหนดให้สินทรัพย์ไม่มีตัวตนต้องสามารถระบุแยกจากค่าความนิยม
ได้อย่างชัดเจน ค่าความนิยมที่เกิดขึ้นจากการรวมธุรกิจแสดงถึงการจ่ายที่ผู้ซื้อคาดว่าจะได้มาซึ่ง
ประโยชน์เชิงเศรษฐกิจในอนาคตจากสินทรัพย์ ซึ่งไม่สามารถระบุและรับรู้เป็นรายการแยกต่างหากได้
ประโยชน์เชิงเศรษฐกิจในอนาคตดังกล่าวอาจเกิดขึ้นจากการผนวกระหว่างสินทรัพย์ที่สามารถระบุได้
5
หลายๆรายการที่ได้มารวมกัน หรือเกิดจากสินทรัพย์เหล่านั้น ซึ่งแต่ละรายการไม่เข้าเกณฑ์ที่จะรับรู้ใน
งบการเงิน แต่ผู้ซื้อเต็มใจที่จะจ่ายเพื่อให้ได้มาซึ่งสินทรัพย์เหล่านั้นในการรวมธุรกิจ
6. สินทรัพย์จะเข้าเกณฑ์สามารถระบุได้ตามคำนิยามของสินทรัพย์ไม่มีตัวตนก็ต่อเมื่อ
6.1 สามารถแยกเป็นเอกเทศได้ กล่าวคือสามารถแยกหรือแบ่งจากกิจการ และสามารถ
ขาย โอน ให้สิทธิ ให้เช่า หรือแลกเปลี่ยนได้อย่างเอกเทศ หรือโดยรวมกับสัญญา
สินทรัพย์ หรือหนี้สินที่เกี่ยวข้อง หรือ
6.2 ได้มาจากการทำสัญญาหรือสิทธิทางกฎหมายอื่นๆ โดยไม่คำนึงถึงว่าสิทธิเหล่านั้นจะ
สามารถโอนหรือสามารถแบ่งแยกจากกิจการ หรือจากสิทธิและภาระผูกพันอื่น ๆ
การควบคุม
7. สินทรัพย์ไม่มีตัวตนจะถือว่าอยู่ภายใต้การควบคุมของกิจการหากกิจการมีอำนาจที่จะได้รับประโยชน์
เชิงเศรษฐกิจในอนาคตที่เกิดจากสินทรัพย์นั้น และสามารถจำกัดไม่ให้ผู้อื่นเข้าถึงประโยชน์ดังกล่าว
ตามปกติ ความสามารถที่จะควบคุมประโยชน์เชิงเศรษฐกิจในอนาคตของสินทรัพย์ไม่มีตัวตนมักเกิด
จากสิทธิตามกฎหมายที่มีผลบังคับใช้ ดังนั้น การไม่มีสิทธิตามกฎหมาย เป็นการยากที่จะแสดงให้เห็น
ถึงการควบคุม อย่างไรก็ตาม ความสามารถในการบังคับใช้สิทธิตามกฎหมายไม่ใช่เกณฑ์ที่จำเป็นเพียง
อย่างเดียวสำหรับการควบคุม ทั้งนี้เพราะกิจการอาจสามารถควบคุมประโยชน์เชิงเศรษฐกิจในอนาคต
ในลักษณะอื่นได้
8. ความรู้ทางการตลาดและความรู้ทางเทคนิคอาจก่อให้เกิดประโยชน์เชิงเศรษฐกิจในอนาคต กิจการ
สามารถควบคุมประโยชน์เชิงเศรษฐกิจเหล่านั้นได้ ตัวอย่างเช่น ถ้าความรู้นั้นได้รับการคุ้มครองตาม
กฎหมายในรูปของลิขสิทธิ์ ข้อตกลงในการคุ้มครองทางการค้า (หากกฎหมายอนุญาตให้ทำได้) หรือ
โดยหน้าที่ตามกฎหมายของพนักงานที่จะรักษาความลับเกี่ยวกับความรู้นั้น
9. กิจการอาจมีกลุ่มพนักงานที่มีความเชี่ยวชาญและกิจการอาจสามารถระบุได้ว่าความเชี่ยวชาญของ
พนักงานที่เพิ่มขึ้นจากการอบรม จะทำให้กิจการได้รับประโยชน์เชิงเศรษฐกิจในอนาคตและยังอาจ
คาดได้ว่าพนักงานเหล่านั้นจะใช้ความเชี่ยวชาญเพื่อก่อให้เกิดประโยชน์แก่กิจการได้ต่อไป อย่างไรก็
ตาม กิจการโดยปกติมักไม่มีการควบคุมที่เพียงพอกับประโยชน์เชิงเศรษฐกิจในอนาคตที่คาดว่าจะเกิด
จากกลุ่มพนักงานที่มีความเชี่ยวชาญหรือจากการอบรมพนักงานเหล่านี้จนเกิดสินทรัพย์ไม่มีตัวตนตาม
คำนิยามดังกล่าว ในทำนองเดียวกัน ความสามารถในการบริหารหรือความสามารถพิเศษด้านเทคนิค
ไม่อาจเข้าเกณฑ์เป็นสินทรัพย์ไม่มีตัวตนตามคำนิยาม เว้นแต่กิจการจะได้รับความคุ้มครองตาม
กฎหมายที่จะใช้ประโยชน์จากความสามารถของพนักงานและได้รับประโยชน์เชิงเศรษฐกิจในอนาคต
ตามที่คาดหวัง นอกจากนี้ความสามารถนี้ยังต้องเข้าเกณฑ์อื่นของคำนิยามการเป็นสินทรัพย์ไม่มี
ตัวตน
10. กิจการอาจมีส่วนแบ่งตลาดหรือกลุ่มลูกค้าที่คาดว่าจะดำเนินการค้ากับกิจการต่อไปได้ เนื่องจากกิจการ
พยายามสร้างความสัมพันธ์อันดีกับลูกค้าและความจงรักภักดีของลูกค้าที่มีต่อสินค้าหรือบริการของ
กิจการ อย่างไรก็ตาม กิจการไม่มีสิทธิตามกฎหมายในการคุ้มครอง หรือไม่มีวิธีการควบคุมอื่นเพื่อให้
ลูกค้ามีความสัมพันธ์หรือความจงรักภักดีต่อกิจการ กิจการจึงมักไม่มีอำนาจเพียงพอที่จะควบคุม
6
ประโยชน์เชิงเศรษฐกิจที่คาดว่าจะได้รับจากความสัมพันธ์และความจงรักภักดีของลูกค้า ดังนั้น
รายการข้างต้น (กลุ่มลูกค้า ส่วนแบ่งการตลาด ความสัมพันธ์และความจงรักภักดีของลูกค้า) จึงไม่
เข้าเกณฑ์เป็นสินทรัพย์ไม่มีตัวตนตามคำนิยาม อย่างไรก็ดี การไม่มีสิทธิตามกฎหมายในการคุ้มครอง
ความสัมพันธ์กับลูกค้า แต่หากมีรายการแลกเปลี่ยนเพื่อให้ได้มาซึ่งความสัมพันธ์กับลูกค้า (ที่ไม่ใช่มา
จากการรวมกิจการ) แม้จะไม่ได้ทำเป็นสัญญา กรณีนี้มีหลักฐานว่า กิจการสามารถควบคุมประโยชน์
เชิงเศรษฐกิจในอนาคตที่คาดว่าจะได้รับจากความสัมพันธ์กับลูกค้าได้ และมีหลักฐานว่าความสัมพันธ์
กับลูกค้าดังกล่าวสามารถแยกเป็นเอกเทศได้ ดังนั้น ความสัมพันธ์กับลูกค้าดังกล่าวจะเข้าเกณฑ์เป็น
สินทรัพย์ไม่มีตัวตนตามคำนิยาม
ประโยชน์เชิงเศรษฐกิจในอนาคต
11. ประโยชน์เชิงเศรษฐกิจในอนาคตที่กิจการจะได้รับจากสินทรัพย์ไม่มีตัวตน อาจรวมถึงรายได้จากการ
ขายผลิตภัณฑ์หรือการให้บริการ ต้นทุนที่ประหยัดได้ หรือประโยชน์อื่นที่เกิดขึ้นจากการใช้สินทรัพย์
ไม่มีตัวตนนั้นโดยกิจการ เช่น สินทรัพย์ทางปัญญาที่นำมาใช้กับกระบวนการผลิตอาจช่วยลดต้นทุน
การผลิตในอนาคตแทนที่จะทำให้รายได้ในอนาคตเพิ่มขึ้น
การรับรู้และการวัดมูลค่า
12. ในการรับรู้รายการใดรายการหนึ่งเป็นสินทรัพย์ไม่มีตัวตน กิจการต้องสามารถแสดงให้เห็นว่ารายการ
นั้นเป็นไปตามเงื่อนไขทุกข้อต่อไปนี้
12.1 เป็นไปตามคำนิยามของสินทรัพย์ไม่มีตัวตน (ดูย่อหน้าที่ 2 ถึง 11)
12.2 เป็นไปตามเกณฑ์การรับรู้รายการ (ดูย่อหน้าที่ 15 ถึง 17)
ข้อกำหนดนี้ ให้ถือปฏิบัติกับต้นทุนเริ่มแรกที่เกิดขึ้นเมื่อซื้อหรือสร้างสินทรัพย์ไม่มีตัวตนขึ้น
ภายในกิจการเอง และต้นทุนที่เกิดขึ้นในภายหลังเพื่อเพิ่ม หรือเปลี่ยนแทนบางส่วน หรือ
บำรุงรักษาสินทรัพย์นั้น
13. ย่อหน้าที่ 19 ถึง 26 เกี่ยวกับเกณฑ์การรับรู้สินทรัพย์ไม่มีตัวตนที่ได้มาแยกต่างหาก และย่อหน้าที่ 27
ถึง 37 เกี่ยวกับสินทรัพย์ไม่มีตัวตนที่ได้มาจากการรวมธุรกิจ ย่อหน้าที่ 38 เกี่ยวกับการวัดมูลค่า
เริ่มแรกของสินทรัพย์ไม่มีตัวตนที่ได้มาจากการอุดหนุนของรัฐบาล ย่อหน้าที่ 39 ถึง 41 เกี่ยวกับการ
แลกเปลี่ยนสินทรัพย์ไม่มีตัวตน ย่อหน้าที่ 42 ถึง 44 เกี่ยวกับวิธีปฏิบัติกับค่าความนิยมที่เกิดขึ้น
ภายในกิจการ ย่อหน้าที่ 45 ถึง 61 เกี่ยวกับการรับรู้รายการและวัดมูลค่าเริ่มแรกของสินทรัพย์ไม่มี
ตัวตนที่กิจการสร้างขึ้นภายในกิจการเอง
14. สินทรัพย์ไม่มีตัวตนโดยทั่วไปแล้วจะไม่มีการเพิ่มขึ้นในสินทรัพย์นั้น หรือเปลี่ยนแทนส่วนหนึ่งส่วนใด
ของสินทรัพย์ ดังนั้นรายจ่ายที่เกิดขึ้นภายหลังส่วนใหญ่จึงเป็นการจ่ายเพื่อคงรักษาไว้ในประโยชน์เชิง
เศรษฐกิจในอนาคตของสินทรัพย์ไม่มีตัวตนนั้นมากกว่าที่จะเป็นรายจ่ายเพื่อให้เข้าเกณฑ์ของสินทรัพย์
ไม่มีตัวตนตามคำนิยาม และเกณฑ์การรับรู้สินทรัพย์ไม่มีตัวตนตามที่กำหนดในมาตรฐานการบัญชี
ฉบับนี้ นอกจากนี้แล้วมักเป็นการยากที่จะกระจายรายจ่ายที่เกิดขึ้นภายหลังไปยังสินทรัพย์ไม่มีตัวตน
ใดโดยเฉพาะได้โดยตรง แต่จะถือเป็นรายจ่ายของกิจการโดยรวมมากกว่า ดังนั้น จึงแทบจะไม่มีการ
7
รับรู้รายจ่ายที่เกิดขึ้นภายหลังการรับรู้สินทรัพย์ไม่มีตัวตนที่ได้มาในครั้งแรกหรือรายจ่ายที่เกิดขึ้น
ภายหลังจากการสร้างสินทรัพย์ไม่มีตัวตนขึ้นภายในกิจการเสร็จเรียบร้อยแล้วเป็นมูลค่าตามบัญชีของ
สินทรัพย์ และเพื่อให้สอดคล้องกับข้อกำหนดในย่อหน้าที่ 57 รายจ่ายที่เกิดขึ้นภายหลังสำหรับชื่อ
สินค้า ชื่อสิ่งพิมพ์ รายชื่อลูกค้า และรายการอื่นที่โดยเนื้อหาแล้วคล้ายคลึงกัน (ไม่ว่าจะเป็นสินทรัพย์
ไม่มีตัวตนที่ได้มาจากภายนอกกิจการหรือที่กิจการสร้างขึ้นเอง) ให้รับรู้กำไรในงบหรือขาดทุนเมื่อ
เกิดขึ้น ทั้งนี้เนื่องจากรายจ่ายเหล่านี้ไม่สามารถแบ่งแยกได้อย่างชัดเจนจากรายจ่ายที่จ่ายเพื่อการ
พัฒนาธุรกิจโดยรวม
15. กิจการรับรู้สินทรัพย์ไม่มีตัวตนได้ก็ต่อเมื่อเข้าเกณฑ์ทุกข้อต่อไปนี้
15.1 มีความเป็นไปได้ค่อนข้างแน่ที่กิจการจะได้รับประโยชน์เชิงเศรษฐกิจในอนาคตที่จะ
เกิดจากสินทรัพย์นั้น
15.2 ราคาทุนของสินทรัพย์สามารถวัดมูลค่าได้อย่างน่าเชื่อถือ
16. กิจการต้องประเมินความน่าจะเป็นที่กิจการจะได้รับประโยชน์เชิงเศรษฐกิจในอนาคตจาก
สินทรัพย์ไม่มีตัวตน โดยใช้ข้อสมมติที่สมเหตุสมผลและมีหลักฐานสนับสนุน ข้อสมมติดังกล่าว
ต้องแสดงให้เห็นถึงการประมาณที่ดีที่สุดของฝ่ายบริหารต่อสภาวะทางเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นตลอด
ช่วงอายุการให้ประโยชน์ของสินทรัพย์
17. กิจการต้องใช้ดุลยพินิจในการประเมินระดับความแน่นอนที่กิจการจะได้รับประโยชน์เชิงเศรษฐกิจใน
อนาคตจากการใช้สินทรัพย์ไม่มีตัวตนตามหลักฐานที่มีอยู่ขณะที่รับรู้เมื่อเริ่มแรก โดยให้น้ำหนักกับ
หลักฐานจากภายนอกมากกว่า
18. กิจการต้องวัดมูลค่าสินทรัพย์ไม่มีตัวตนเมื่อเริ่มแรกด้วยราคาทุน
สินทรัพย์ไม่มีตัวตนที่ได้มาแยกต่างหาก
19. โดยทั่วไป ราคาที่กิจการจ่ายเพื่อให้ได้สินทรัพย์ไม่มีตัวตนมาแบบแยกต่างหากสะท้อนถึงความ
คาดหวังเกี่ยวกับความน่าจะเป็นที่กิจการจะได้รับประโยชน์เชิงเศรษฐกิจในอนาคตจากสินทรัพย์ หรือ
กล่าวอีกนัยหนึ่ง ผลกระทบของความน่าจะเป็นจะสะท้อนอยู่ในต้นทุนของสินทรัพย์ ดังนั้น จึงถือได้ว่า
สินทรัพย์ไม่มีตัวตนที่ได้มาแยกต่างหากเข้าเกณฑ์การรับรู้ตามย่อหน้าที่ 15.1 เสมอ
20. นอกจากนี้ ราคาทุนของสินทรัพย์ไม่มีตัวตนที่ได้มาแบบแยกต่างหาก ถือว่าสามารถวัดมูลค่าได้อย่าง
น่าเชื่อถือ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในกรณีที่เป็นการจ่ายซื้อในรูปของเงินสดหรือสินทรัพย์ที่เป็นตัวเงินอื่น
21. ราคาทุนของสินทรัพย์ไม่มีตัวตนที่ได้มาแบบแยกต่างหาก ประกอบด้วย
21.1 ราคาซื้อรวมภาษีนำเข้าและภาษีซื้อที่เรียกคืนไม่ได้ หักด้วยส่วนลดการค้าต่างๆ และจำนวนที่
ได้รับคืนจากผู้ขาย
21.2 ต้นทุนทางตรงอื่นๆ ที่เกี่ยวกับการจัดเตรียมสินทรัพย์เพื่อให้พร้อมที่จะใช้ประโยชน์ได้ตาม
ความประสงค์
8
22. ตัวอย่างของต้นทุนทางตรง ประกอบด้วย
22.1 ต้นทุนผลประโยชน์ตอบแทนพนักงาน (ตามที่กำหนดในมาตรฐานการบัญชี เรื่อง ผลประโยชน์
ของพนักงาน (เมื่อมีการประกาศใช้)) ที่เกิดขึ้นโดยตรงจากการทำให้สินทรัพย์อยู่ในสภาพ
พร้อมใช้งาน
22.2 ค่าธรรมเนียมทางวิชาชีพที่เกิดขึ้นโดยตรงจากการทำให้สินทรัพย์อยู่ในสภาพพร้อมใช้งาน
22.3 ต้นทุนการทดสอบสภาพความพร้อมใช้งาน
23. ตัวอย่างของรายจ่ายที่ไม่ถือเป็นส่วนหนึ่งของต้นทุนสินทรัพย์ไม่มีตัวตน ประกอบด้วย
23.1 ต้นทุนในการแนะนำสินค้าหรือบริการใหม่ (รวมถึงต้นทุนในการโฆษณาและการส่งเสริม
การขาย)
23.2 ต้นทุนในการดำเนินธุรกิจในสถานที่ตั้งใหม่หรือกับลูกค้ากลุ่มใหม่ (รวมทั้งต้นทุนในการ
ฝึกอบรมพนักงาน)
23.3 ต้นทุนในการบริหารและค่าใช้จ่ายทั่วไป
24. การรับรู้ต้นทุนที่เกิดขึ้นเป็นส่วนหนึ่งของมูลค่าตามบัญชีของสินทรัพย์ไม่มีตัวตนจะสิ้นสุดเมื่อ
สินทรัพย์นั้นอยู่ในสถานที่และสภาพที่พร้อมจะใช้งานได้ตามความประสงค์ของผู้บริหารกิจการ ดังนั้น
ต้นทุนที่เกิดขึ้นจากการใช้ประโยชน์หรือการปรับปรุงสินทรัพย์ไม่มีตัวตนจึงไม่รวมเป็นส่วนหนึ่งของ
มูลค่าตามบัญชีของสินทรัพย์นั้น ตัวอย่างของต้นทุนที่ไม่ถือเป็นส่วนหนึ่งของมูลค่าตามบัญชีของ
รายการสินทรัพย์ไม่มีตัวตน ได้แก่
24.1 ต้นทุนที่เกิดขึ้นขณะที่สินทรัพย์ซึ่งอยู่ในสภาพที่พร้อมจะใช้ประโยชน์ได้ตามความประสงค์ของ
ผู้บริหารกิจการ แม้ว่าจะยังไม่ถูกนำมาใช้ก็ตาม และ
24.2 ผลขาดทุนจากการดำเนินงานเริ่มแรก เช่น ผลขาดทุนที่เกิดขึ้นในขณะที่ความต้องการผลผลิต
ยังอยู่ในระดับเริ่มต้น
25. การดำเนินงานบางอย่างอาจเกิดขึ้นโดยมีความเกี่ยวข้องกับการพัฒนาสินทรัพย์ไม่มีตัวตน แต่ไม่ถือ
เป็นสถานการณ์ที่จำเป็นเพื่อการจัดหาสินทรัพย์ให้อยู่ในสถานที่และสภาพที่พร้อมจะใช้งานได้ตาม
ความประสงค์ของผู้บริหารกิจการ การดำเนินงานเหล่านี้อาจเกิดขึ้นในช่วงก่อนหรือในระหว่างการ
พัฒนาสินทรัพย์นั้น กิจการต้องรับรู้รายได้และค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นจากการดำเนินงานดังกล่าวในงบ
กำไรหรือขาดทุน โดยจัดประเภทเป็นรายได้และค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้อง
26. หากระยะเวลาการชำระสินทรัพย์ไม่มีตัวตนนานเกินกว่าระยะเวลาที่ผู้ขายให้สินเชื่อตามปกติ กิจการ
ต้องกำหนดราคาทุนของสินทรัพย์นั้นให้เท่ากับราคาขายเงินสด และบันทึกผลต่างระหว่างราคาที่
เทียบเท่ากับการซื้อด้วยเงินสดและจำนวนเงินทั้งหมดที่ต้องชำระจริงเป็นดอกเบี้ยตลอดอายุของการ
ได้สินเชื่อ เว้นแต่ดอกเบี้ยนั้นจะสามารถรับรู้เป็นส่วนหนึ่งของมูลค่าตามบัญชีของสินทรัพย์ภายใต้
เงื่อนไขของแนวทางที่อาจเลือกปฏิบัติตามมาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 33 (ปรับปรุง 2550) เรื่อง
ต้นทุนการกู้ยืม
9
สินทรัพย์ไม่มีตัวตนที่ได้มาจากการรวมธุรกิจ
27. มาตรฐานการบัญชีฉบับที่ 43 (ปรับปรุง 2550) เรื่อง การรวมธุรกิจ กำหนดว่าหากกิจการได้
สินทรัพย์ไม่มีตัวตนมาจากการรวมธุรกิจ ต้นทุนของสินทรัพย์ไม่มีตัวตนก็คือมูลค่ายุติธรรม
ณ วันที่ซื้อ มูลค่ายุติธรรมของสินทรัพย์ไม่มีตัวตนสะท้อนถึงความคาดหวังของตลาดเกี่ยวกับความ
เป็นไปได้ที่กิจการจะได้รับประโยชน์เชิงเศรษฐกิจในอนาคตจากสินทรัพย์นั้น หรือกล่าวอีกนัยหนึ่ง
ผลกระทบของความเป็นไปได้จะสะท้อนอยู่ในการวัดมูลค่ายุติธรรมของสินทรัพย์ไม่มีตัวตน ดังนั้น
จึงถือได้ว่า สินทรัพย์ไม่มีตัวตนที่ได้มาพร้อมกับการรวมธุรกิจเข้าเกณฑ์การรับรู้ตามย่อหน้าที่ 15.1
เสมอ
28. ดังนั้น เพื่อให้เป็นไปตามมาตรฐานการบัญชีฉบับนี้และมาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 43 (ปรับปรุง
2550) เรื่อง การรวมธุรกิจ ผู้ซื้อกิจการสามารถรับรู้สินทรัพย์ไม่มีตัวตนของผู้ขายแยกจากค่าความ
นิยม ณ วันที่ซื้อ หากสามารถวัดมูลค่ายุติธรรมของสินทรัพย์ได้อย่างน่าเชื่อถือ โดยไม่ต้องคำนึงว่า
ผู้ขายได้รับรู้สินทรัพย์ไม่มีตัวตนนั้นก่อนที่จะมีการรวมธุรกิจหรือไม่ นั่นหมายความว่าผู้ซื้อรับรู้
โครงการวิจัยและพัฒนาที่อยู่ระหว่างดำเนินการของผู้ถูกซื้อเป็นสินทรัพย์แยกต่างหากจากค่าความ
นิยมหากโครงการดังกล่าวเข้าเกณฑ์สินทรัพย์ไม่มีตัวตนตามคำนิยาม และสามารถวัดมูลค่ายุติธรรม
ได้อย่างน่าเชื่อถือ โครงการวิจัยและพัฒนาที่อยู่ระหว่างดำเนินการของผู้ขายจะเข้าเกณฑ์สินทรัพย์ไม่มี
ตัวตนตามคำนิยามก็ต่อเมื่อ
28.1 เป็นไปตามคำนิยามของสินทรัพย์ และ
28.2 สามารถระบุได้ กล่าวคือ แยกต่างหากหรือเกิดขึ้นจากสัญญาหรือสิทธิตามกฎหมายอื่น ๆ
การวัดมูลค่ายุติธรรมของสินทรัพย์ไม่มีตัวตนที่ได้มาจากการรวมธุรกิจ
29. โดยทั่วไป มูลค่ายุติธรรมของสินทรัพย์ไม่มีตัวตนซึ่งได้มาจากการรวมธุรกิจสามารถวัดมูลค่าได้อย่าง
น่าเชื่อถือเพียงพอที่จะสามารถรับรู้แยกต่างหากจากค่าความนิยม ในกรณีที่กิจการใช้วิธีการวัดมูลค่า
ยุติธรรมของสินทรัพย์ไม่มีตัวตนโดยใช้มูลค่าต่าง ๆ กัน ซึ่งมีความน่าจะเป็นที่แตกต่างกันไป เป็นการ
แสดงให้เห็นว่าความไม่แน่นอนดังกล่าวได้นำไปรวมในการประเมินมูลค่ายุติธรรมของสินทรัพย์แล้ว
มิใช่จะแสดงถึงการขาดความสามารถที่จะวัดมูลค่ายุติธรรมได้อย่างน่าเชื่อถือ หากสินทรัพย์ไม่มีตัวตน
ที่ได้มาจากการรวมธุรกิจมีอายุการให้ประโยชน์ที่ทราบได้แน่นอน ให้ถือว่ามีข้อสันนิษฐานที่สามารถ
พิสูจน์ได้ว่าสามารถวัดมูลค่ายุติธรรมได้อย่างน่าเชื่อถือ
30. สินทรัพย์ไม่มีตัวตนที่ได้มาจากการรวมธุรกิจอาจสามารถแบ่งแยกได้เฉพาะเมื่อพิจารณาร่วมกับ
สินทรัพย์มีตัวตนหรือสินทรัพย์ไม่มีตัวตนที่เกี่ยวข้องเท่านั้น ตัวอย่างเช่น ชื่อนิตยสารอาจจะไม่
สามารถขายแยกต่างหากจากฐานข้อมูลสมาชิกลูกค้า หรือเครื่องหมายการค้าสำหรับผลิตภัณฑ์น้ำแร่
อาจจะเกี่ยวข้องกับแหล่งน้ำแร่และไม่สามารถแยกต่างหากจากแหล่งน้ำแร่นั้น ในกรณีดังกล่าว ผู้ซื้อ
กิจการจะรับรู้สินทรัพย์เหล่านั้นรวมเป็นสินทรัพย์รายการเดียวแยกต่างหากจากค่าความนิยมหากไม่
สามารถวัดมูลค่ายุติธรรมของสินทรัพย์แต่ละรายการในกลุ่มสินทรัพย์นั้นได้อย่างน่าเชื่อถือ
31. ในทำนองเดียวกัน คำว่า “ตราผลิตภัณฑ์” และ “ชื่อผลิตภัณฑ์” มักใช้แทนเครื่องหมายการค้าและ
เครื่องหมายอื่น ๆ อย่างไรก็ตาม “ตราผลิตภัณฑ์” โดยทั่วไปเป็นคำศัพท์ด้านการตลาด ซึ่งใช้อ้างถึง
กลุ่มของสินทรัพย์ เช่น เครื่องหมายการค้า (หรือเครื่องหมายของสินค้าประเภทบริการ) และ
10
ชื่อการค้า สูตร ส่วนผสม และความชำนาญด้านเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้อง ผู้ซื้อรับรู้สินทรัพย์ไม่มีตัวตน ซึ่ง
ประกอบกันเป็นตราผลิตภัณฑ์ เหล่านี้ เป็นสินทรัพย์รายการเดียวได้ถ้ามูลค่ายุติธรรมของ
สินทรัพย์แต่ละรายการไม่สามารถวัดมูลค่าได้อย่างน่าเชื่อถือ ถ้าผู้ซื้อสามารถวัดมูลค่ายุติธรรม
ของสินทรัพย์แต่ละรายการในกลุ่มสินทรัพย์ได้อย่างน่าเชื่อถือ ผู้ซื้ออาจยังคงรับรู้รายการดังกล่าวเป็น
สินทรัพย์รายการเดียวได้หากสินทรัพย์แต่ละรายการมีอายุการให้ประโยชน์ใกล้เคียงกัน
32. ในสถานการณ์เดียวที่อาจเป็นไปไม่ได้ที่จะวัดมูลค่ายุติธรรมของสินทรัพย์ไม่มีตัวตนจากการรวมธุรกิจ
ได้อย่างน่าเชื่อถือก็คือ เมื่อสินทรัพย์ไม่มีตัวตนนั้นได้มาโดยกฎหมายหรือสิทธิตามสัญญา และเป็นไป
ตามข้อใดข้อหนึ่ง ต่อไปนี้
32.1 ไม่สามารถแบ่งแยกได้
32.2 สามารถแบ่งแยกได้ แต่ไม่มีประวัติหรือหลักฐานของรายการแลกเปลี่ยนสำหรับสินทรัพย์
ที่เหมือนหรือคล้ายคลึงกับสินทรัพย์ไม่มีตัวตนนั้น ซึ่งจะทำให้การประมาณมูลค่ายุติธรรม
ขึ้นอยู่กับปัจจัยผันแปรที่ไม่สามารถวัดค่าได้
33. ราคาตลาดที่กำหนดในตลาดซื้อขายคล่อง ใช้ประมาณมูลค่ายุติธรรมของสินทรัพย์ไม่มีตัวตนได้อย่าง
น่าเชื่อถือมากที่สุด (ดูย่อหน้าที่ 67) โดยทั่วไปแล้วราคาตลาดที่เหมาะสมก็คือ ราคาเสนอซื้อปัจจุบัน
หากราคาเสนอซื้อปัจจุบันหาไม่ได้ กิจการอาจใช้ราคาของรายการที่คล้ายคลึงกันล่าสุดเป็นฐานในการ
ประมาณมูลค่ายุติธรรม โดยมีข้อแม้ว่าไม่มีการเปลี่ยนแปลงสภาพแวดล้อมทางเศรษฐกิจที่สำคัญ
ระหว่างวันที่เกิดรายการนั้นกับวันที่ประมาณมูลค่ายุติธรรมของสินทรัพย์
34. หากไม่มีตลาดซื้อขายคล่องสำหรับสินทรัพย์ไม่มีตัวตน มูลค่ายุติธรรมของสินทรัพย์นั้นก็คือ จำนวน
เงินที่กิจการจะต้องจ่ายเพื่อสินทรัพย์นั้น ณ วันที่ซื้อ โดยที่ทั้งสองฝ่ายมีความรอบรู้และเต็มใจในการ
แลกเปลี่ยน โดยอาศัยข้อมูลที่ดีที่สุดที่มีอยู่ในขณะนั้น ในการกำหนดจำนวนเงินดังกล่าว กิจการต้อง
พิจารณาถึงผลของรายการซื้อขายสินทรัพย์ที่คล้ายคลึงกันที่เกิดขึ้นล่าสุดร่วมด้วย
35. กิจการที่มีการซื้อหรือขายสินทรัพย์ไม่มีตัวตนที่มีลักษณะเฉพาะเป็นประจำอาจพัฒนาเทคนิคในการ
ประมาณมูลค่ายุติธรรมของสินทรัพย์ไม่มีตัวตนโดยทางอ้อม เทคนิคดังกล่าวอาจนำมาใช้ในการวัด
มูลค่าเมื่อเริ่มแรกของสินทรัพย์ไม่มีตัวตนที่ได้มาจากการรวมธุรกิจ หากเทคนิคเหล่านั้นมีวัตถุประสงค์
เพื่อการประมาณมูลค่ายุติธรรมของสินทรัพย์ไม่มีตัวตน และสะท้อนถึงรายการหรือวิธีปฏิบัติใน
ปัจจุบันของอุตสาหกรรมที่นำสินทรัพย์นั้นมาใช้ประโยชน์ เทคนิคดังกล่าวรวมถึงข้อใดข้อหนึ่งต่อไปนี้
ตามความเหมาะสม
35.1 การนำตัวคูณ (ซึ่งสะท้อนถึงรายการซื้อขายในตลาดปัจจุบัน) มาคูณกับตัวแปรที่มีผลต่อ
ความสามารถในการทำกำไรของสินทรัพย์ (เช่น รายได้ ส่วนแบ่งการตลาด และกำไรจากการ
ดำเนินงาน) หรือคูณกับกระแสเงินค่าสิทธิที่จะได้รับจากการให้สิทธิในการใช้สินทรัพย์ที่ไม่มี
ตัวตนนั้นแก่กิจการอื่นภายใต้เงื่อนไขธุรกิจปกติ หรือ
35.2 การคิดลดประมาณการกระแสเงินสดสุทธิที่จะได้รับในอนาคตจากสินทรัพย์นั้น
11
รายจ่ายที่เกิดขึ้นภายหลังการได้มาซึ่งโครงการวิจัยและพัฒนาที่อยู่ระหว่างดำเนินการ
36. รายจ่ายในการวิจัยและพัฒนาซึ่ง
36.1 เกี่ยวข้องกับโครงการวิจัยหรือพัฒนาที่อยู่ระหว่างดำเนินการซึ่งได้มาแยกต่างหากหรือ
ได้มาจากการรวมธุรกิจและรับรู้เป็นสินทรัพย์ไม่มีตัวตน และ
36.2 เกิดขึ้นหลังจากการได้มาซึ่งโครงการ
การบันทึกบัญชีของรายการดังกล่าวให้เป็นไปตามย่อหน้าที่ 48-56
37. ข้อกำหนดในย่อหน้าที่ 48-56 กำหนดว่า รายจ่ายที่เกิดขึ้นภายหลังของโครงการวิจัยหรือพัฒนาที่อยู่
ระหว่างดำเนินการ ไม่ว่าจะได้มาแบบแยกต่างหาก หรือได้มาจากการรวมธุรกิจ ซึ่งได้รับรู้เป็น
สินทรัพย์ไม่มีตัวตนแล้วจะต้อง
37.1 รับรู้เป็นค่าใช้จ่ายทันทีที่เกิด หากเป็นรายจ่ายในการวิจัย
37.2 รับรู้เป็นค่าใช้จ่ายทันทีที่เกิด หากเป็นรายจ่ายในการพัฒนาซึ่งไม่เป็นไปตามเกณฑ์การรับรู้
สินทรัพย์ไม่มีตัวตนตามย่อหน้าที่ 51 และ
37.3 บันทึกเพิ่มในมูลค่าตามบัญชีของโครงการวิจัยหรือพัฒนาที่อยู่ระหว่างดำเนินการที่ได้มา หาก
รายจ่ายในการพัฒนานั้นเป็นไปตามเกณฑ์การรับรู้สินทรัพย์ไม่มีตัวตนตามย่อหน้าที่ 51
สินทรัพย์ไม่มีตัวตนที่ได้จากการอุดหนุนของรัฐบาล
38. ในบางกรณี กิจการอาจได้สินทรัพย์ไม่มีตัวตนมาจากการอุดหนุนของรัฐบาล โดยไม่ต้องจ่าย
สิ่งตอบแทนใดๆ หรือที่เรียกว่าจ่ายแต่ในนาม ในกรณีนี้อาจเกิดขึ้นเมื่อรัฐบาลโอน หรือปันส่วน
สินทรัพย์ไม่มีตัวตนให้กับกิจการ เช่น สิทธิสำหรับเครื่องบินลงจอด สิทธิในการดำเนินการสถานีวิทยุ
หรือโทรทัศน์ ใบอนุญาตหรือโควต้านำเข้า หรือสิทธิที่จะใช้ทรัพยากรที่มีข้อจำกัดอื่น ตามข้อกำหนด
ในมาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 55 (ปรับปรุง 2550) เรื่อง การบัญชีสำหรับเงินอุดหนุนจากรัฐบาลและ
การเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับความช่วยเหลือจากรัฐบาล (เมื่อมีการประกาศใช้)) กิจการอาจเลือกที่จะ
รับรู้ทั้งสินทรัพย์ไม่มีตัวตนและเงินอุดหนุนเมื่อเริ่มแรกด้วยมูลค่ายุติธรรม หากกิจการเลือกที่จะ
ไม่รับรู้สินทรัพย์เมื่อเริ่มแรกด้วยมูลค่ายุติธรรม กิจการต้องรับรู้สินทรัพย์ด้วยจำนวนที่จ่ายแต่ในนาม
(วิธีที่สามารถปฏิบัติได้ตามมาตรฐานการบัญชีฉบับที่ 55 (ปรับปรุง 2550) เรื่อง การบัญชีสำหรับ
เงินอุดหนุนจากรัฐบาลและการเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับความช่วยเหลือจากรัฐบาล (เมื่อมีการ
ประกาศใช้) บวกกับรายจ่ายโดยตรงที่เกิดขึ้นในการจัดเตรียมสินทรัพย์ให้พร้อมที่จะใช้ประโยชน์ได้
ตามประสงค์
สินทรัพย์ไม่มีตัวตนที่ได้จากการแลกเปลี่ยน
39. กิจการอาจได้รับรายการสินทรัพย์ไม่มีตัวตนจากการแลกเปลี่ยนกับสินทรัพย์ที่ไม่เป็นตัวเงินรายการ
อื่น หรือแลกเปลี่ยนกับทั้งรายการสินทรัพย์ที่เป็นตัวเงินและไม่เป็นตัวเงิน ข้อพิจารณาที่จะกล่าว
ต่อไปนี้เป็นข้อพิจารณาสำหรับกรณีการแลกเปลี่ยนสินทรัพย์ที่ไม่เป็นตัวเงินกับสินทรัพย์ที่ไม่เป็นตัว
เงินรายการอื่น อย่างไรก็ตาม กิจการสามารถใช้ข้อพิจารณาดังกล่าวกับการแลกเปลี่ยนทุกกรณีที่กล่าว
ไว้ได้ กิจการต้องวัดมูลค่าของสินทรัพย์ไม่มีตัวตนที่ได้รับจากการแลกเปลี่ยนดังกล่าวด้วยมูลค่า
ยุติธรรม ยกเว้นในกรณีใดกรณีหนึ่งดังต่อไปนี้

 

ยังมีต่อ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น