รถรับส่งพนักงานที่นายจ้างจัดให้

ในการทำงานของพนักงานบาง กิจการจะมีรถรับส่งพนักงานที่ทางนายจ้างจัดบริการให้ คือ ช่วงตอนเช้าก็รับมาทำงานและช่วงเลิกงานก็ส่งกลับไป ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นบริษัทนายจ้างที่มีพนักงานเป็นจำนวนมาก ประเด็นการให้ “บริการรถรับส่ง” พนักงานกรณีเช่นนี้ก่อให้เกิดปัญหาด้านภาษีเงินได้นิติบุคคล สำหรับนายจ้างที่เป็นบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลในเรื่องรายจ่ายเพื่อ คำนวณภาษีตามประมวลรัษฎากร และปัญหาด้านภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาสำหรับพนักงาน/ลูกจ้างในเรื่องของการถือ เป็นเงินได้พึงประเมิน จากประโยชน์ที่ได้รับจากนายจ้างนอกเหนือจากเงินเดือน/ค่าจ้าง ซึ่งในการตรวจสอบของเจ้าพนักงานสรรพากรกับประเด็นปัญหานี้ทำให้เกิดการถก เถียงในคำว่า “สวัสดิการ” ตามประมวลกฎหมายรัษฎากร กับทางฝ่ายนายจ้างและพนักงาน/ลูกจ้างอยู่เสมอ
หนังสือตอบข้อหารือกรมสรรพากร ที่ กค 0811 (กท.02)/912 ลงวันที่ 7 สิงหาคม 2544 : กรณี รถรับส่งพนักงานตามเส้นทางที่กำหนดให้พนักงาน/ลูกจ้าง โดยให้บริการแก่พนักงานทุกคนนั้น เป็นเพียงให้ความสะดวกแก่พนักงานเป็นการทั่วไปและเพื่อประโยชน์ของบริษัทฯ จึงไม่ถือเป็นประโยชน์ที่พนักงานได้รับ
ประเด็นพิจารณา : ในการให้ สวัสดิการแก่พนักงานของนายจ้าง เป้าหมายหลักต้องเป็นไปเพื่อกิจการหรือเกี่ยวเนื่องกับกิจการของนายจ้าง ก็คือ ทำให้กิจการของนายจ้างดีขึ้น ซึ่งค่าใช้จ่ายส่วนนี้นายจ้างสามารถถือเป็นรายจ่ายในการคำนวณภาษีเงินได้ นิติบุคคลได้และต้องให้พนักงานทุกคนจะได้มีมีปัญหาว่า เลือกปฏิบัติและเป็นการให้ส่วนตัว แต่สวัสดิการที่ให้แก่พนักงานนั้นอาจต้องถือเป็นเงินได้พึงประเมินของ พนักงาน/ลูกจ้างที่ต้องนำมาคิดรวมเพื่อเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ถ้าไม่มีกฎหมายยกเว้นภาษีเงินได้ให้ในประมวลรัษฎากรหรือกฎหมายอื่น แต่การให้บริการของนายจ้างบางกรณีซึ่งอาจเป็นนโยบายของบริษัทฯอาจไม่ได้ เรียกว่าเป็น “สวัสดิการ” ของพนักงาน แต่นายจ้างได้จัดให้มีเพื่ออำนวยความสะดวกในการทำงาน เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของผลผลิตโดยตรง ก็อาจมีการจัดสถานที่ภายในที่ทำงานเป็นที่ออกกำลังกายของพนักงาน สวนหย่อมเพื่อการพักผ่อนของพนักงานสถานที่เพื่อปฏิบัติภารกิจด้านศาสนา ลิฟท์ขึ้นละระหว่างชั้น บันไดหนีไฟ ห้องน้ำชาย/หญิง โรงอาหาร ตู้น้ำดื่ม เพลงที่เปิดในช่วงพักงาน เครื่องปรับอากาศ โต๊ะ/เก้าอี้ ตามความเหมาะสมของตำแหน่งงานหรือแม้กระทั่งรถรับ – ส่งพนักงาน เป็นต้น ทั้งนี้ทั้งนั้นเป็นเรื่องที่นายจ้างไม่ได้มุ่งเน้นไปเพื่อประโยชน์ของ ลูกจ้างโดยเฉพาะ แต่เป็นบริการที่ให้เป็นการทั่วๆไป ผู้ใดจะใช้หรือไม่ใช้ประโยชน์ส่วนตัวนี้ก็ได้
ประเด็นวิเคราะห์  : จาก หนังสือตอบข้อหารืออกรมสรรพากรที่ กค 0811(กม.02)/916 ลงวันที่  7 สิงหาคม 2544 ดังกล่าว กรณีรถรับ-ส่ง พนักงานไม่ถือเป็นประโยชน์เพิ่มที่พนักงานได้รับซึ่งจะต้องนำมารวมคำนวณกับ เงินเดือน/ค่าจ้าง เพื่อเสียภาษีเงินได้ มีประเด็นที่ควรพิจารณาจากการตอบข้อหารือ คือ
(1)  คำว่า “ตามเส้นทางที่กำหนด”  กรณีที่ทางบริษัทเป็นผู้กำหนดแผนที่การเดินทาง โดยมีการกำหนดเส้นทางรถที่รับ – ส่ง จะวิ่งไปและกำหนด จุดขึ้น – ลง ตามเวลาที่ระบุไว้ชัดเจน พนักงาน/ลูกจ้างคนใดมาไม่ถึงจุดนัดพบไม่ทัน ก็ถือว่าเที่ยวนั้นตกรถรับ-ส่งพนักงาน ซึ่งต้องเดินทางมาทำงานเองหรือกลับเอง
ข้อสังเกต : ถ้าพนักงาน /ลูกจ้าง เป็นผู้กำหนดแผนที่เพื่อให้รถมารับส่งตามที่พนักงานกำหนด ก็จะกลายเป็นว่ารถรับส่งนั้นเป็นไปเพื่อประโยชน์ของพนักงานโดยตรง เปรียบเสมือนรถโรงเรียนที่รับ – ส่งนักเรียน ประโยชน์ที่พนักงานได้รับตามข้อเท็จจริงนี้ถือเป็นประโยชน์เพิ่มที่ต้องนำมา คำนวณเป็นเงินได้ของพนักงาน
(2)  คำว่า “ให้ความสะดวกเป็นการทั่วไป” หมายถึงพนักงาน/ลูกจ้าง ของบริษัทนายจ้างทุกคนสามารถใช้บริการนี้ได้และไม่เป็นการบังคับ (จะใช้ก็ได้/ไม่ใช้ก็ได้) อีกทั้งไม่เลือกปฏิบัติบางคนหรือบางตำแหน่ง มิฉะนั้น จะถือว่าเป็นค่าใช้จ่ายที่ให้เป็นการส่วนตัว ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อการคำนวณภาษีเงินได้ของบริษัทนายจ้าง
(3)  คำว่า “เพื่อประโยชน์ของบริษัทฯ” กรณีรถรับ – ส่ง พนักงานตามแผนที่เส้นทางที่บริษัทนายจ้างกำหนด ทำให้พิจารณาได้ว่าเป็นการบริการเพื่อการทำงานที่มีประสิทธิภาพของบริษัทนาย จ้างให้เกิดประโยชน์สูงสุด ไม่ได้กระทำเพื่อเป็นสวัสดิการให้แก่พนักงาน/ลูกจ้าง แต่ วัตถุประสงค์ก็เพื่อประโยชน์ของบริษัทโดยตรงนั่นเอง
หมายเหตุ : อย่าลืม พิจารณาข้อแตกต่างในประเด็นรถรับ – ส่งพนักงานตามแผนที่เส้นทางที่นายจ้างเป็นผู้กำหนดรถรับ – ส่งนักเรียนที่ผู้ปกครองนักเรียนเป็นผู้กำหนดแผนที่จุดรับ – ส่ง
มุมวางแผนสวัสดิการ : เรื่อง รถรับ – ส่ง พนักงาน/ลูกจ้าง ของบริษัทที่นายจ้างจัดบริการให้นี้เป็นประเด็นที่ต้องถกเถียง ชี้แจงกับเจ้าหน้าที่ตรวจสอบของสรรพากรอยู่เสมอ ซึ่งแนวโน้มในการพิจารณาของเจ้าหน้าที่ฯ จะมองให้รูปลักษณะเป็น “สวัสดิการ” ที่นายจ้างจัดให้แก่พนักงาน ดังนั้นเมื่อนายจ้างถือเป็น “รายจ่าย” ในการคำนวณภาษี เงินได้ของตน ในทางกลับกันรายจ่ายตัวนี้ก็ต้องถือเป็นเงินได้พึงประเมินของพนักงาน /ลูกจ้างที่ได้รับ ด้วยเหตุนี้ ความชัดเจนในระเบียบหรือกฎเกณฑ์การให้บริการรถรับ – ส่งพนักงานที่ฝ่ายนายจ้างจัดทำขึ้น รวมทั้งการกำหนดแผนที่เส้นทางและระยะเวลาการเดินรถเพื่อประโยชน์ของบริษัทมี ความแตกต่างจากสวัสดิการเพื่อประโยชน์ของพนักงาน/ลูกจ้างในประเด็นใด ที่จะไม่ถือเป็นประโยชน์เพิ่มของพนักงาน คงต้องชี้แจงให้เห็นภาพตามหนังสือข้อหารือฯ ตามที่กล่าว
ข้อมูลอ้างอิง  : หนังสือกลยุทธ์การบริการทรัพยากรมนุษย์
โดย : รศ.เพิ่มบุญ  แก้วเขียว

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น