รายจ่ายที่พิสูจน์ไม่ได้ว่าใครเป็นผู้รับ

ข่าวเก่านะครับ แต่เห็นว่ามีประโยชนเลยเอามาลง เป็นปัญหาที่เรามักจะเจอกันบ่อยๆ

หลักเกณฑ์​ ​วิธีการ​ ​และ​เงื่อนไขเกี่ยว​กับ​รายจ่าย​ทั่ว​ไป​ใน​การดำ​เนินกิจการ​ใน​ทางบัญชี​ ​และ​หลักเกณฑ์​ ​วิธีการ​


กรุงเทพธุรกิจออนไลน์​ :

และ​เงื่อนไขเกี่ยว​กับ​รายจ่าย​ทั่ว​ไป​ใน​การดำ​เนินกิจการ​ใน​ทางภาษีอากรมี​ความ​แตกต่าง​กัน​โดย​ชัดแจ้ง​อยู่​หลายประการอาทิ​ ​รายจ่าย​ทั่ว​ไป​ใน​การดำ​เนินกิจการ​ใน​ทางบัญชี​แม้​ไม่​มี​เอกสารหลักฐานประกอบการลงบัญชีก็อาจนำ​มาถือ​เป็น​รายจ่าย​ใน​การคำ​นวณกำ​ไรสุทธิ​ ​และ​ขาดทุนสุทธิ​ได้​ ​จึง​ขอนำ​ประ​เด็นรายจ่ายที่พิสูจน์​ไม่​ได้​ว่า​ใคร​เป็น​ผู้​รับตามมาตรา​ 65 ​ตรี​ (18) ​แห่งประมวลรัษฎากร​ ​มาปุจฉา​ - ​วิสัชนา​ ​ดังนี้​

ปุจฉา​ ​มีหลักเกณฑ์​เกี่ยว​กับ​รายจ่ายหลักฐานการจ่ายเงิน​ ​ใน​อันที่​จะ​พิสูจน์​ผู้​รับ​ให้​ได้​ว่า​เป็น​บุคคล​ใด​ ​อย่างไร​

วิสัชนา​ ​หลักฐานการจ่ายที่พิสูจน์​ผู้​รับ​ได้​ ​มีดังต่อไปนี้​

1. ​กรณี​ผู้​รับ​เป็น​ผู้​ประกอบธุรกิจที่มีกิจการ​เป็น​หลักแหล่งมั่นคง​ ​เช่น​ ​ใบเสร็จรับเงิน​ ​ใบส่งของ​/​ใบกำ​กับ​ภาษี​ ​ซึ่ง​มีข้อ​ความ​ถูก​ต้อง​ครบถ้วนตามที่กฎหมายกำ​หนด​ ​โดย​อาจ​ใช้​ประกอบ​กับ​สัญญาทางธุรกิจที่​เป็น​ลายลักษณ์อักษร​

อย่างไรก็ตาม​ ​หลักฐานประกอบการลงบัญชี​เพื่อหัก​เป็น​รายจ่ายของบริษัท​หรือ​ห้างหุ้น​ส่วน​นิติบุคคล​ไม่​มีกฎหมาย​ใด​บังคับว่า​จะ​ต้อง​ใช้​ต้น​ฉบับ​ ​หากสำ​เนา​ใบเสร็จรับเงิน​นั้น​เป็น​หลักฐานที่​สามารถ​พิสูจน์​ได้​ว่า​ใคร​เป็น​ผู้​รับ​ ​ก็​ไม่​ต้อง​ห้ามหัก​เป็น​รายจ่าย​ใน​การคำ​นวณกำ​ไรสุทธิตามมาตรา​ 65 ​ตรี​ (18) ​แห่งประมวลรัษฎากร​ (หนังสือกรมสรรพากรที่​ ​กค​ 0804/17874 ​ลงวันที่​ 29 ​กัน​ยายน​ 2521) ​นอก​จาก​นี้​ ​ใบรับเงินที่มีข้อ​ความ​ไม่​ครบถ้วน​ ​หาก​สามารถ​พิสูจน์​ได้​ว่า​ใคร​เป็น​ผู้​รับเงิน​ได้​ ​ก็​สามารถ​ลง​เป็น​รายจ่าย​ใน​การคำ​นวณกำ​ไรสุทธิ​ได้​ ​ไม่​ต้อง​ห้ามตามมาตรา​ 65 ​ตรี​ (18) ​แห่งประมวลรัษฎากร​ (หนังสือกรมสรรพากรที่​ ​กค​ 0804/10150 ​ลงวันที่​ 28 ​พฤษภาคม​ 2528)

2. ​กรณี​ผู้​รับมิ​ได้​เป็น​ผู้​ประกอบธุรกิจที่มีกิจการ​เป็น​หลักแหล่งมั่นคง​ ​อาจ​ใช้​หลักฐานการรับเงินที่​ผู้​รับจัดทำ​ขึ้น​ ​แทนใบเสร็จรับเงิน​หรือ​หลักฐาน​อื่น​เพื่อการพิสูจน์​ผู้​รับ​

(1) ​กรณี​ผู้​รับ​เป็น​บุคคลธรรมดา​ ​ให้​ลงลายมือชื่อรับเงิน​หรือ​ทรัพย์สินตามหลักฐานที่จัดทำ​ขึ้น​โดย​ระบุชื่อ​ ​ที่​อยู่​ ​และ​เลขประจำ​ตัวของ​ผู้​รับเงิน​ ​พร้อม​ทั้ง​ถ่ายเอกสารบัตรประจำ​ตัวประชาชน​ ​บัตรประจำ​ตัวข้าราชการ​ ​หรือ​บัตรประจำ​ตัว​ผู้​เสียภาษีอากร​ ​เช่น​ ​กรณีชาวไร่ข้าวโพดขายข้าวโพด​ให้​บริษัท​ ​โดย​ไม่​ออกใบรับ​ให้​ ​หากบริษัท​ ​ทำ​หลักฐานการจ่ายเงินที่มีรายละ​เอียดระบุชื่อ​ ​ที่​อยู่​ ​วันเดือนปี​ ​จำ​นวนเงิน​ ​และ​รายการจ่าย​แล้ว​ให้​ผู้​รับเงินลงชื่อรับ​ไว้​ซึ่ง​สามารถ​พิสูจน์​ได้​ว่า​ใคร​เป็น​ผู้​รับ​แล้ว​ ​บริษัท​ ​ย่อมนำ​มาลง​เป็น​รายจ่าย​ได้​ไม่​ต้อง​ห้ามตามมาตรา​ 65 ​ตรี​ (18) ​แห่งประมวลรัษฎากร​ (หนังสือกรมสรรพากรที่​ ​กค​ 0802/12043 ​ลงวันที่​ 8 ​กัน​ยายน​ 2529)

(2) ​กรณี​ผู้​รับ​ไม่​ว่า​จะ​เป็น​บุคคลธรรมดา​ ​หรือ​นิติบุคคลที่​ไม่​ออกหลักฐานการรับเงิน​ใดๆ​ ​ให้​จ่ายเช็คขีดคร่อมระบุชื่อ​ผู้​รับเงิน​ไว้​ใน​เช็ค​ (A/C Payee Only) ​และ​ถ่ายเอกสารเช็คดังกล่าวพร้อมขอหลักฐานการโอนเงินตามเช็คดังกล่าว​จาก​ธนาคารมาประกอบการจ่ายเงิน​ ​ใน​กรณีจำ​เป็น​อาจจัดซื้อสินค้า​หรือ​รับบริการ​จาก​ตัวแทน​หรือ​เอเย่นต์​ ​ใน​อันที่​จะ​ให้​ได้​มา​ซึ่ง​หลักฐานการจ่ายค่า​ใช้​จ่าย​ ​เช่น​ ​ค่า​ใช้​จ่าย​ใน​การออกของผ่านชิปปิง​ ​การซื้อสินค้าพืชผักผลไม้อาหารสดของกิจการโรงแรม​ ​ภัตตาคาร​ ​เป็น​ต้น​

อนึ่ง​ ​ใบรับเงินค่าซื้อสินค้า​จาก​ผู้​ขายที่​ไม่​ได้​จดทะ​เบียนการค้า​ซึ่ง​ผู้​ซื้อทำ​ขึ้น​และ​ให้​ผู้​ขายลงนามมีรายการ​ ​ชื่อ​ ​ที่​อยู่​ของ​ผู้​รับเงินแน่นอน​ ​ผู้​ซื้อ​จะ​นำ​ใบรับเงินดังกล่าวมาลง​เป็น​รายจ่าย​ใน​การคำ​นวณกำ​ไรสุทธิ​ได้​ ​แต่​ถ้า​ไม่​มีชื่อ​ ​ที่​อยู่​ของ​ผู้​รับเงิน​ ​หรือ​ไม่​สามารถ​พิสูจน์​ได้​ว่า​ใคร​เป็น​ผู้​รับ​ ​ก็อาจ​ต้อง​ห้ามมิ​ให้​ถือ​เป็น​รายจ่าย​ใน​การคำ​นวณกำ​ไรสุทธิตามมาตรา​ 65 ​ตรี​ (18) ​แห่งประมวลรัษฎากร​ (หนังสือกรมสรรพากรที่​ ​กค​ 0804/24055 ​ลงวันที่​ 30 ​ธันวาคม​ 2520) ​และ​ใน​การตรวจสอบหากเจ้าพนักงานประ​เมิน​ไม่​เชื่อ​ ​บริษัท​ ​จะ​ต้อง​พิสูจน์​ให้​ปราศ​จาก​ข้อสงสัย​ (คำ​พิพากษาฎีกาที่​ 1678/2532)

ปุจฉา​ ​กรณีบริษัท​ ​รับเหมาก่อสร้าง​ ​มี​เพียงหลักฐานการโอนเงินทางธนาคาร​ให้​เจ้าหน้าที่ของบริษัท​ ​เพื่อจัดซื้อวัสดุก่อสร้าง​ ​และ​มี​ใบสำ​คัญรายงานแจ้งจำ​นวนเงินที่​ได้​จัดซื้อวัสดุก่อสร้างของเจ้าหน้าที่ของบริษัท​ ​ถือ​เป็น​หลักฐานเพียงพอที่​จะ​รับฟัง​ ​และ​ให้​บริษัท​ ​ถือ​เป็น​รายจ่าย​ใน​การคำ​นวณกำ​ไรสุทธิ​ได้​หรือ​ไม่​

วิสัชนา​ ​กรณีดังกล่าว​ยัง​ไม่​อาจรับฟังพอที่​จะ​ให้​บริษัท​ ​ถือ​เป็น​รายจ่าย​ใน​การคำ​นวณกำ​ไรสุทธิ​ได้​ ​เพราะ​เอกสารดังกล่าวมิ​ได้​แสดง​ให้​เห็นว่า​เป็น​รายจ่ายค่าซื้อวัสดุก่อสร้าง​จาก​ผู้​ใด​ ​เป็น​จำ​นวน​เท่า​ใด​ ​คง​เป็น​เพียงหลักฐาน​หรือ​เอกสารระหว่างลูกจ้าง​กับ​บริษัทนายจ้าง​เท่า​นั้น​ ​จะ​ถือ​เป็น​รายจ่าย​ไม่​ได้​ ​ต้อง​ห้ามตามมาตรา​ 65 ​ตรี​ (18) ​แห่งประมวลรัษฎากร​ (หนังสือกรมสรรพากรที่​ 3.6/2513 ​ลงวันที่​ 24 ​กุมภาพันธ์​ 2513)

ปุจฉา​ ​เงินค่ารับรองพิ​เศษที่บริษัท​ ​จ่ายไปเพื่อประ​โยชน์​ใน​ด้านการค้าของบริษัท​ ​แต่​ไม่​สามารถ​แจ้งรายละ​เอียด​ได้​เพราะ​เป็น​ความ​ลับ​ ​คงมี​แต่​ใบขอเบิกเงิน​ ​และ​ใบอนุมัติจ่าย​ ​โดย​ไม่​มี​เอกสารประกอบการลงบัญชี​ ​แต่ก็​เป็น​รายจ่ายที่​ได้​รับอนุมัติ​จาก​ที่ประชุม​ผู้​ถือหุ้นทุกปี​ ​บริษัท​ ​สามารถ​นำ​มาหัก​เป็น​รายจ่าย​ใน​การคำ​นวณกำ​ไรสุทธิ​ได้​หรือ​ไม่​

วิสัชนา​ ​กรณีดังกล่าวแม้​จะ​เชื่อ​ได้​ว่า​เงินรับรองพิ​เศษ​เป็น​รายจ่ายของบริษัทจริง​ ​แต่​โดย​ที่บริษัท​ ​ไม่​สามารถ​ชี้​แจงรายละ​เอียด​ ​และ​พิสูจน์ตัว​ผู้​รับเงิน​ได้​ ​ต้อง​ห้ามตามมาตรา​ 65 ​ตรี​ (18) ​แห่งประมวลรัษฎากร​ ​การที่​ผู้​จัดการรับไปก็​เพื่อจ่าย​ใน​กิจการค้าของบริษัท​ ​มิ​ใช่​รับไป​เป็น​เงิน​ได้​ของตน​ ​จึง​ไม่​ถือ​เป็น​เงิน​ได้​ของ​ผู้​จัดการบริษัท​ ​ที่​จะ​ต้อง​นำ​มารวมคำ​นวณ​เป็น​เงิน​ได้​ของ​ผู้​จัดการ​ (หนังสือกรมสรรพากรที่​ ​กค​ 0804/4786 ​ลงวันที่​ 20 ​มีนาคม​ 2523)


ที่มา กรุงเทพธุรกิจ เมื่อวันที่ 5 ​กรกฎาคม​ 2549 06:53 ​น.
http://www.bangkokbiznews.com/2006/07/05/f006_117425.php?news_id=117425

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น