การติดตั้ง wordpress ที่ appservhosting

ต้องบอกก่อนว่า ผมใช้ wordpress ทำบล๊อคเอาไว้อีกทีหนึ่งด้วย โดยส่วนใหญ่เอาไว้เก็บไฟล์ pdf หรือ zip ไฟล์ เพราะที่ blogspot ไม่รองรับไฟล์เหล่านี้ และอยากลองใช้งาน wordpress ดู ไม่แน่ ในอนาคตอาจจะใช้เป็น blog หลักก็ได้

 

ถ้าใครเคยใช้ฟรี host หรือ host บางที่ จะมี menu ใน cpanel ซึ่งจะให้เราติดตั้ง wordpress ผ่านระบบขั้นตอนอัตโนมัติได้ ซึ่งการติดตั้งก็จะง่ายมาก แต่ที่นี่ต้องติดตั้งเองนะครับ

 

ผมเอาวิธีการติดตั้งมาลงไว้ว่า เผื่อไว้คราวหน้าถ้าต้องติดตั้งใหม่จะได้จำได้ เพราะครั้งที่แล้วกว่าจะลงได้ใช้เวลา 2 วัน อีกอย่างเผื่อให้คนอื่นๆ เอาไปใช้ได้ด้วย โดยผมติดตั้ง wordpress ไว้ที่ root แรกเลย (ไม่คิดจะลงอะไรเพิ่มแล้ว)

 

วิธีการติดตั้ง

- ให้ download โปรแกรม wordpress เวอร์ชั่นล่าสุดมาเก็บไว้ในคอมของเราก่อน ที่นี่ http://wordpress.org/ ซึ่งจะได้ zip ไฟล์มา ให้เรา unzip ไฟล์ให้เรียบร้อย

 

- เข้าไปที่ Control Panel ของ Host ที่หัวข้อ FTP Account ให้เพิ่ม User เข้าไป เพื่อที่เราจะได้ใช้ User นี้ ในการ upload ไฟล์ผ่าน FileZilla ได้

 

- ดำเนินการ upload ไฟล์ที่ unzip แล้วไปเก็บไว้ที่ host ที่ folder แรกชื่อ htdoc (ใช้ FileZilla ก็ได้เป็นฟรีแวร์ ที่นี่ http://filezilla-project.org/)

                                                                      .

- ให้เปลี่ยนชื่อไฟล์ index.html ไปเป็นชื่ออื่น ไม่อย่างนั้นจะเข้าหน้าเว็บเราเองไม่ได้ มันจะไปขึ้นหน้าเว็บ control ของระบบเดิม

 

- กำหนดค่า folder ชื่อ htdoc โดยคลิ๊กขวา เลือก สิทธิ์การเข้าแฟ้ม ให้ติ๊กถูกทุกช่อง และใส่ค่า Number Value เป็น 777

 

- เข้าไปสร้างฐานข้อมูลใน control system ของ Host ในหัวข้อย่อย add SQL database

      1.ตั้งชื่อฐานข้อมูล (ตัวอย่าง) : wordpress

      2.กำหนดชื่อ user (ตัวอย่าง) : root 

      3.กำหนดรหัสผ่าน (ตัวอย่าง) : 1234

 

- เปลี่ยนชื่อไฟล์ wp-config-sample.php ไปเป็น wp-config.php (ไฟล์นี้จะอยู่ใน folder หลักของ wordpress) แล้วให้ทำการ edit ไฟล์ โดยแก้ไขข้อมูลให้เป็นไปตามที่กำหนดไว้ข้างบน แล้วให้ upload เฉพาะไฟล์นี้ไปที่ host แก้ตามนี้

 

define('DB_NAME','wordpres') แก้เป็น define('DB_NAME','wordpres')

define('DB_USER','root') แก้เป็น  define('DB_USER','root')

define ('DB_PASSWORD','12345') แก้เป็น define ('DB_PASSWORD','12345')

 

- สั่ง install โดยเข้าไปที่ http://ชื่อโดเมนเรา.com/wp-admin/install.php (กำหนดชื่อบล๊อค ชื่อผู้ใช้ ใน wordpress)

 

- ถึงตอนนี้ เราก็สามารถใช้ wordpress ได้แล้ว

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น