การวางแผนในเรื่องค่ารับรอง


การวางแผนเกี่ยว​กับ​ค่ารับรอง​ ตอน 1

26 ​ธันวาคม​ ​พ​.​ศ​. 2550 05:00:00

ใน​ช่วง​ใกล้​ปี​ใหม่​ ​เลยเรื่อยไปจน​ถึง​ตรุษจีน​ ​บริษัท​หรือ​ห้างหุ้น​ส่วน​นิติบุคคล​จะ​มีรายจ่ายค่ารับรองเกิดขึ้น​เป็น​จำ​นวนมากกว่าช่วงเวลาปกติ​ ​จึง​ขอนำ​มา​เป็น​ประ​เด็นปุจฉา​ - ​วิสัชนา​ ​ดังนี้​

กรุงเทพธุรกิจออนไลน์​ : ​ปุจฉา​ ​มีหลักเกณฑ์​และ​เงื่อนไขเกี่ยว​กับ​ค่ารับรอง​หรือ​ค่าบริการอย่างไร​

วิสัชนา​ ​ค่ารับรอง​หรือ​ค่าบริการที่​จะ​นำ​ไปถือ​เป็น​รายจ่าย​ใน​การคำ​นวณกำ​ไร​หรือ​ขาดทุนสุทธิ​เพื่อเสียภาษี​เงิน​ได้​นิติบุคคล​ได้​นั้น​ ​มีข้อกำ​หนด​ให้​ต้อง​เป็น​ไปตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้​

1. ​เงื่อนไข​ใน​การรับรอง​หรือ​บริการ​

1.1 ​ต้อง​เป็น​ค่ารับรอง​หรือ​ค่าบริการอันจำ​เป็น​ตามธรรมเนียมประ​เพณีทางธุรกิจ​ทั่ว​ไป​ ​ซึ่ง​เป็น​เงื่อนไขอัตโนมัติที่​ไม่​ต้อง​พิจารณา​ ​เพราะ​การรับรองตามปกติประ​เพณี​ ​อันถือ​เป็น​ธรรมเนียมที่นิยมถือปฏิบัติ​กัน​โดย​ทั่ว​ไป​ ​แต่อย่างไรก็ตาม​ ​หากการรับรอง​หรือ​บริการ​นั้น​ ​ผิดไป​จาก​เงื่อนไขดังกล่าว​ ​เช่น​ ​รับรองเพื่อ​ให้​เกิดสิทธิ​หรือ​ประ​โยชน์ต่อ​ผู้​เลี้ยงรับรอง​หรือ​ผู้​ให้​บริการที่มากกว่าสิทธิ​หรือ​ประ​โยชน์​ทั่ว​ไปที่พึง​ได้​ ​ก็ย่อมถือ​เป็น​รายจ่าย​ใน​การคำ​นวณกำ​ไรสุทธิตามเงื่อนไขข้อนี้​ไม่​ได้​

1.2 ​บุคคลที่ทำ​การรับรอง​ต้อง​ไม่​ใช่​ลูกจ้าง​ ​เว้นแต่ลูกจ้าง​จะ​มีหน้าที่​หรือ​มี​ส่วน​เข้า​ร่วม​ใน​การรับรอง​หรือ​บริการ​นั้น​ด้วย​ ​มีการกำ​หนดเงื่อนไขตัวบุคคลที่​จะ​ได้​รับการเลี้ยงรับรอง​หรือ​รับบริการว่า​ ​ต้อง​เป็น​บุคคลภายนอกที่มิ​ใช่​พนักงาน​หรือ​ลูกจ้างของบริษัท​หรือ​ห้างหุ้น​ส่วน​นิติบุคคลที่มีการรับรอง​หรือ​บริการ​ ​แต่ก็​ยัง​เปิดช่อง​ไว้​ให้​พนักงาน​หรือ​ลูกจ้างที่มีหน้าที่​หรือ​มี​ส่วน​โดย​ตรงต่อการรับรอง​หรือ​บริการก็​ให้​มี​ส่วน​เข้า​ร่วม​ใน​งานเลี้ยงรับรอง​หรือ​บริการ​นั้น​ได้​

2. ​ลักษณะของค่ารับรอง​หรือ​ค่าบริการ​

2.1 ​ต้อง​เป็น​ค่า​ใช้​จ่ายดังต่อไปนี้​

(1) ​ค่า​ใช้​จ่ายอันเกี่ยว​เนื่อง​โดย​ตรง​กับ​การรับรอง​หรือ​การบริการเช่น​ ​ค่าที่พัก​ ​ค่าอาหาร​ ​ค่า​เครื่องดื่ม​ ​ค่าดูมหรสพ​ ​ค่า​ใช้​จ่ายเกี่ยว​กับ​การกีฬา​ ​เป็น​ต้น​

(2) ​ค่า​ใช้​จ่าย​ใน​การรับรอง​หรือ​บริการดังกล่าวมี​โอกาสที่​จะ​อำ​นวยประ​โยชน์​แก่กิจการ​ ​ซึ่ง​ไม่​ผูกพันว่าจ่ายค่ารับรอง​หรือ​บริการ​นั้น​แล้ว​กิจการ​ต้อง​ได้​รับประ​โยชน์​โดย​ตรง​ ​เช่น​ ​การรับรอง​หรือ​บริการเพื่อมิตรภาพ​ ​ไมตรีจิตอันดีงาม​ ​การรับรอง​เนื่อง​ใน​ธุรกิจการค้า​ ​การรับรองเพื่อแสดง​ความ​ยินดี​ใน​ความ​สำ​เร็จ​ใน​การทำ​สัญญาทางธุรกิจ​ ​เป็น​ต้น​

ดัง​นั้น​ ​ค่าอาหาร​และ​เครื่องดื่มตามหลักฐานที่ปรากฏอาจ​ไม่​ใช่​ค่ารับรอง​หรือ​ค่าบริการ​ ​หากมิ​ได้​มีการรับรอง​หรือ​บริการแก่บุคคลภายนอกอย่างแท้จริง​ ​เช่น​ ​รายจ่ายเพื่อประ​โยชน์​ส่วน​ตน​และ​ครอบครัวของกรรมการ​หรือ​พนักงาน​หรือ​ที่ปรึกษาของบริษัท​หรือ​ห้างหุ้น​ส่วน​นิติบุคคล​ ​ซึ่ง​ถือ​เป็น​รายจ่ายอันมีลักษณะ​เป็น​การ​ส่วน​ตัว​หรือ​ให้​โดย​เสน่หา​

2.2 ​ใน​กรณีที่​เป็น​ค่าสิ่งของที่​ให้​แก่บุคคล​ซึ่ง​ได้​รับการรับรอง​หรือ​รับบริการ​ ​ต้อง​มีจำ​นวน​ไม่​เกิน​ 2,000 ​บาท​ ​ใน​แต่ละคราวที่มีการรับรอง​หรือ​การบริการ​

2.3 ​กรณีที่ค่ารับรอง​หรือ​ค่าบริการ​ ​ตลอดจนค่าสิ่งของที่​ให้​แก่​ผู้​ที่​ได้​รับการรับรองดังกล่าวมีภาษีมูลค่า​เพิ่ม​หรือ​ภาษีซื้อ​ ​ให้​นำ​ค่าภาษีซื้อมารวม​เป็น​รายจ่ายค่ารับรอง​หรือ​ค่าบริการ​ด้วย​ ​เนื่อง​จาก​ภาษีซื้อสำ​หรับค่ารับรอง​หรือ​ค่าบริการ​เป็น​ภาษีซื้อ​ต้อง​ห้ามมิ​ให้​นำ​ไปเครดิตหักออก​จาก​ภาษีขาย​ใน​การคำ​นวณภาษีมูลค่า​เพิ่ม​ ​แต่ยอม​ให้​นำ​ไปถือ​เป็น​รายจ่าย​ใน​การคำ​นวณกำ​ไรสุทธิ​เพื่อเสียภาษี​เงิน​ได้​นิติบุคคล​ได้​ ​ตามมาตรา​ 65 ​ตรี​ (6 ​ทวิ) ​แห่งประมวลรัษฎากร​

3. ​หลักฐาน​และ​การอนุมัติ​

3.1 ​ค่ารับรอง​หรือ​ค่าบริการ​ต้อง​มี​ใบรับ​ ​หรือ​หลักฐานของ​ผู้​รับ​ ​หรือ​หลักฐาน​อื่น​ใน​กรณีที่​ไม่​มี​ใบรับ​ ​เช่น​ ​รายงานการเดินทาง​ ​ประกอบการบันทึกรายจ่าย​

3.2 ​ค่ารับรอง​หรือ​บริการ​ ​ต้อง​มีการอนุมัติ​หรือ​สั่งจ่าย​ ​โดย​กรรมการ​หรือ​ผู้​เป็น​หุ้น​ส่วน​ผู้​จัดการ​หรือ​ผู้​ที่​ได้​รับมอบหมาย​จาก​บุคคลดังกล่าว​

ดัง​นั้น​ ​นอก​จาก​การมีหลักฐานประกอบการถือ​เป็น​รายจ่าย​ใน​การรับรอง​หรือ​บริการ​แล้ว​ ​ใน​การอนุมัติสั่งจ่าย​โดย​กรรมการ​ ​หรือ​ผู้​เป็น​หุ้น​ส่วน​ผู้​จัดการ​หรือ​ผู้​ที่​ได้​รับมอบหมาย​จาก​บุคคลดังกล่าว​ ​จึง​ควรอย่างยิ่งที่​จะ​ระบุ​ผู้​ที่​ได้​รับการรับรอง​ไว้​ด้วย​ ​เพื่อพิสูจน์​แสดงว่ามิ​ใช่​รายจ่ายอันมีลักษณะ​เป็น​การ​ส่วน​ตัว​หรือ​การ​ให้​โดย​เสน่หา​ ​ซึ่ง​ถือ​เป็น​รายจ่าย​ต้อง​ห้าม​

4. ​จำ​นวนเงินค่ารับรอง​หรือ​ค่าบริการตามหลักเกณฑ์ข้างต้น​ ​ให้​ถือ​เป็น​รายจ่าย​ใน​การคำ​นวณกำ​ไร​หรือ​ขาดทุนสุทธิทางภาษีอากร​ได้​ตามจำ​นวนที่จ่ายจริง​ ​แต่​ไม่​เกินร้อยละ​ 0.3 ​ของยอดราย​ได้​หรือ​ยอดขายที่​ต้อง​นำ​มาคำ​นวณกำ​ไรสุทธิก่อนหักรายจ่าย​ใดๆ​ ​ใน​รอบระยะ​เวลาบัญชี​หรือ​ของเงินทุนชำ​ระ​แล้ว​เพียง​ ​ณ​ ​วันสุดท้ายของรอบระยะ​เวลาบัญชี​แล้ว​แต่อย่างไร​จะ​มากกว่า​ ​ทั้ง​นี้​ ​รายจ่ายที่​จะ​นำ​มาหัก​ได้​จะ​ต้อง​มีจำ​นวนสูงสุด​ไม่​เกิน​ 10 ​ล้านบาท

การวางแผนเกี่ยว​กับ​ค่ารับรอง​ ตอน 2
2 ​มกราคม​ ​พ​.​ศ​. 2551 05:00:00

ขอนำ​ประ​เด็นการวางแผนเกี่ยว​กับ​รายจ่ายค่ารับรอง​หรือ​ค่าบริการ​เป็น​ประ​เด็นปุจฉา​ - ​วิสัชนา​ ​ต่อ​จาก​สัปดาห์ก่อน​ ​เนื่อง​จาก​ใน​ช่วง​ใกล้​ปี​ใหม่​ ​เลยเรื่อยไปจน​ถึง​ตรุษจีน​ ​บริษัท​หรือ​ห้างหุ้น​ส่วน​นิติบุคคล​จะ​มีรายจ่ายค่ารับรองเกิดขึ้น​เป็น​จำ​นวนมาก​

กรุงเทพธุรกิจออนไลน์​ : ​ปุจฉา​ ​มี​แนวทาง​ใน​การวางแผนภาษี​เกี่ยว​กับ​ค่ารับรอง​หรือ​ค่าบริการอย่างไร​

วิสัชนา​ ​มี​แนวทาง​ใน​การวางแผนภาษีอากร​ ​โดย​เฉพาะภาษี​เงิน​ได้​นิติบุคคล​ ​สำ​หรับรายจ่ายค่ารับรอง​หรือ​ค่าบริการที่​จะ​นำ​ไปถือ​เป็น​รายจ่าย​ใน​การคำ​นวณกำ​ไร​หรือ​ขาดทุนสุทธิ​เพื่อเสียภาษี​เงิน​ได้​นิติบุคคล​ ​พอสังเขปต่อไปนี้​

1. ​ศึกษา​เงื่อนไขเกี่ยว​กับ​ค่ารับรอง​หรือ​ค่าบริการตามที่กฎหมายกำ​หนด​ ​ให้​ชัดเจน​ ​ซึ่ง​ประกอบ​ด้วย​

(1) ​ต้อง​เป็น​ค่ารับรอง​หรือ​ค่าบริการอันจำ​เป็น​ตามธรรมเนียมประ​เพณีทางธุรกิจ​ทั่ว​ไป​

(2) ​ต้อง​รับรองบุคคลที่​ไม่​ใช่​ลูกจ้าง​ ​เว้นแต่ลูกจ้าง​จะ​มี​ส่วน​เข้า​ร่วม​ใน​การรับรอง​หรือ​บริการ​นั้น​ด้วย​

(3) ​ค่ารับรอง​หรือ​ค่าบริการที่​จะ​อำ​นวยประ​โยชน์​แก่กิจการ​

(4) ​กรณีที่​เป็น​ค่าสิ่งของที่​ให้​แก่บุคคล​ซึ่ง​ได้​รับการรับรอง​หรือ​รับบริการ​ ​ต้อง​มีจำ​นวน​ไม่​เกิน​ 2,000 ​บาท​ ​ใน​แต่ละคราวที่มีการรับรอง​หรือ​การบริการ​

(5) ​ต้อง​มีหลักฐานประกอบรายจ่ายค่ารับรอง​หรือ​บริการ​ ​และ​มีการอนุมัติ​หรือ​สั่งจ่าย​โดย​กรรมการ​หรือ​ผู้​เป็น​หุ้น​ส่วน​ผู้​จัดการ​หรือ​ผู้​ที่​ได้​รับมอบหมาย​จาก​บุคคลดังกล่าว​

(6) ​รายการค่ารับรอง​ใด​ที่มีภาษีมูลค่า​เพิ่ม​ให้​นำ​มาถือรวม​เป็น​รายจ่ายค่ารับรอง​ด้วย​

2. ​กำ​หนดจำ​นวนค่ารับรอง​หรือ​ค่าบริการ​ไม่​ให้​มีจำ​นวนสูงเกินกว่าหลักเกณฑ์ที่กฎหมายกำ​หนด​ได้​โดย​นำ​ประมาณการราย​ได้​ ​มาคำ​นวณตามอัตราค่ารับรอง​หรือ​ค่าบริการ​ ​ตามที่กฎหมายกำ​หนด​ ​ตามข้อ​ 1.4 ​แล้ว​จัดสรรแจกจ่ายจำ​นวนค่ารับรองไป​ยัง​แผนก​หรือ​ฝ่ายที่​เกี่ยวข้อง​ ​ก็​จะ​สามารถ​ควบคุมจำ​นวนค่ารับรอง​หรือ​ค่าบริการ​ให้​จำ​กัด​ใน​วงเงิน​ไม่​เกินกว่าจำ​นวนค่ารับรอง​หรือ​ค่าบริการตามที่กำ​หมายกำ​หนดอัน​จะ​เป็น​ผลดีต่อ​ทั้ง​การดำ​เนินกิจการ​ ​และ​การวางแผนภาษีอากร​ ​เพื่อ​ความ​สะดวก​ใน​การคำ​นวณจำ​นวนค่ารับรองตามเกณฑ์ที่กฎหมายกำ​หนด​

สำ​หรับบริษัท​หรือ​ห้างหุ้น​ส่วน​นิติบุคคลที่มียอดราย​ได้​หรือ​ยอดขายที่นำ​มาคำ​นวณกำ​ไรสุทธิก่อนหักรายจ่าย​ใดๆ​ ​หรือ​เงินทุนชำ​ระ​แล้ว​เพียง​ ​ณ​ ​วันสุดท้ายของรอบระยะ​เวลาบัญชี​ ​เกินกว่า​ 3,333,333,333.33 ​บาทขึ้นไป​ ​ซึ่ง​สามารถ​คำ​นวณจำ​นวนค่ารับรอง​หรือ​ค่าบริการ​ได้​เพียง​ 10 ​ล้านบาท​เท่า​นั้น​

ใน​กรณีที่มียอดราย​ได้​หรือ​ยอดขายที่นำ​มาคำ​นวณกำ​ไรสุทธิก่อนหักรายจ่าย​ใดๆ​ ​หรือ​เงินทุนชำ​ระ​แล้ว​เพียง​ ​ณ​ ​วันสุดท้ายของรอบระยะ​เวลาบัญชีมีจำ​นวนต่ำ​กว่า​ 3,333,333,333.33 ​บาท​ ​จึง​จะ​คำ​นวณค่ารับรองทางภาษีอากร​ใน​อัตราร้อยละ​ 0.3 ​ของยอดราย​ได้​หรือ​ยอดขายที่นำ​มาคำ​นวณกำ​ไรสุทธิก่อนหักรายจ่าย​ใดๆ​ ​หรือ​เงินทุนชำ​ระ​แล้ว​เพียง​ ​ณ​ ​วันสุดท้ายของรอบระยะ​เวลาบัญชี​ ​แต่​ถ้า​ยอดราย​ได้​หรือ​ยอดขายที่นำ​มาคำ​นวณกำ​ไรสุทธิก่อนหักรายจ่าย​ใดๆ​ ​หรือ​เงินทุนชำ​ระ​แล้ว​เพียง​ ​ณ​ ​วันสุดท้ายของรอบระยะ​เวลาบัญชีมีจำ​นวนตั้งแต่​ 3,333,333,333.33 ​บาทขึ้นไป​ ​ให้​ใช้​จำ​นวน​ 10,000,000 ​บาท​เป็น​จำ​นวนค่ารับรองสูงสุดที่บริษัท​หรือ​ห้างหุ้น​ส่วน​นิติบุคคล​นั้น​จะ​สามารถ​ถือ​เป็น​รายจ่าย​ใน​การคำ​นวณกำ​ไร​หรือ​ขาดทุนสุทธิทางภาษีอากร​ได้​

3. ​หลีกเลี่ยงการ​ให้​การรับรอง​หรือ​การบริการ​เป็น​สิ่งของ​ ​เพราะ​มีข้อกำ​หนดจำ​นวนค่ารับรอง​หรือ​ค่าบริการ​ไว้​ค่อนข้างจำ​กัด​ไม่​เกิน​ 2,000 ​บาท​ใน​แต่ละคราวที่มีการรับรอง​หรือ​การบริการ​ ​ใน​ขณะที่จำ​นวนค่ารับรอง​หรือ​บริการที่​เป็น​ค่าที่พัก​ ​ค่าอาหาร​ ​ค่า​เครื่องดื่ม​ ​ค่าดูมหรสพ​ ​ค่า​ใช้​จ่ายเกี่ยว​กับ​การกีฬา​เป็น​ต้น​นั้น​ ​มิ​ได้​มีการจำ​กัดจำ​นวน​ไว้​ ​นอก​จาก​นี้การ​ให้​สิ่งของ​เป็น​ค่ารับรอง​หรือ​การบริการอาจ​ต้อง​เสียภาษีมูลค่า​เพิ่ม​ ​โดย​ถือ​เป็น​การขายสินค้าตามมาตรา​ 77/1 (8) ​แห่งประมวลรัษฎากร​

4. ​แม้​โดย​ข้อกำ​หนดของกฎหมาย​จะ​มิ​ได้​ให้​ระบุชื่อของ​ผู้​ถูกรับรอง​ไว้​ใน​เอกสารหลักฐานประกอบรายจ่ายค่ารับรอง​หรือ​บริการ​ ​แต่การกำ​หนดว่า​ต้อง​รับรองบุคคล​อื่น​ที่มิ​ใช่​ลูกจ้าง​ ​เว้นแต่ลูกจ้าง​จะ​มี​ส่วน​เข้า​ร่วม​ใน​การรับรอง​หรือ​บริการ​นั้น​ด้วย​ ​จึง​จำ​เป็น​ที่​จะ​ต้อง​ระบุชื่อ​ผู้​ถูกรับรอง​หรือ​บริการ​ไว้​ใน​หลักฐานการจ่ายเสมอ​ ​เช่น​ ​ใน​ใบสำ​คัญการลงบัญชี​ (SLIP) ​หรือ​รายงานการขออนุมัติรายจ่ายค่ารับรอง​

5. ​ใน​ปีที่​แล้ว​ไม่​มีราย​ได้​หรือ​ยอดขาย​ ​ก็​สามารถ​มีค่า​ใช้​จ่าย​ได้​ ​โดย​คำ​นวณค่ารับรอง​หรือ​บริการ​จาก​ฐานเงินทุนจดทะ​เบียนที่​เรียกชำ​ระ​แล้ว​จน​ถึง​วันสุดท้ายของรอบระยะ​เวลาบัญชี​

6. ​ใน​กรณีที่รอบระยะ​เวลาบัญชี​ใด​มียอดราย​ได้​หรือ​ยอดขายสูงกว่า​เงินทุนชำ​ระ​แล้ว​จน​ถึง​วันสุดท้ายของรอบระยะ​เวลาบัญชี​ ​ฐานที่​จะ​นำ​มาคำ​นวณจำ​นวนค่ารับรอง​หรือ​บริการ​ต้อง​เป็น​ ​ยอดราย​ได้​หรือ​ยอดขายก่อนหักรายจ่าย​ใดๆ​ ​ที่​ต้อง​นำ​มาคำ​นวณกำ​ไรสุทธิ​ ​ดัง​นั้น​ ​จึง​ไม่​นำ​ราย​ได้​ที่​ได้​รับยกเว้นมารวม​เป็น​ฐาน​ใน​การคิดค่ารับรอง​หรือ​บริการ​ ​แต่​ต้อง​นำ​ราย​ได้​ก่อนหักต้นทุน​หรือ​ค่า​ใช้​จ่าย​ทั้ง​สิ้น​ ​เช่น​ ​ยอดขายทรัพย์สินเก่าก่อนหักต้นทุน​ ​กำ​ไร​จาก​อัตรา​แลกเปลี่ยนก่อนหักผลขาดทุน​จาก​อัตรา​แลกเปลี่ยน​ ​ดอกเบี้ยเงินฝาก​ ​ดอกเบี้ยเงิน​ให้​กู้ยืม​ ​ราย​ได้​เบ็ดเตล็ด​ใน​ส่วน​ที่หักกลบ​กับ​รายจ่าย​ ​ฯลฯ​ ​มารวม​เป็น​ฐาน​ใน​การคิดค่ารับรอง​หรือ​บริการ​ด้วย​

ที่มา http://www.bangkokbiznews.com/

1 ความคิดเห็น:

  1. ไม่ระบุชื่อ9 มีนาคม 2552 เวลา 04:50

    ขอบคุณมาก ๆ นะค่ะสำหรับบทความดีๆ

    ตอบลบ