ค่ารับรองที่ถือเป็นรายจ่ายได้

อ้างอิง ::ฉบับที่ 143::

สรุปค่ารับรอง
1. รายรับรวมหรือทุนจดทะเบียนที่ชำระแล้ว (แล้วแต่ว่าอันไหนจะสูงกว่า) x 0.3%  (ไม่เกิน 10 ล้านบาท)
2. ค่ารับรองที่ให้เป็นสิ่งของต้องไม่เกิน 2,000 บาทต่อคน

กฎกระทรวง​
ฉบับ​ที่​ 143 (พ​.​ศ​. 2522)
ออกตาม​ความ​ใน​ประมวลรัษฎากร​
ว่า​ด้วย​ภาษี​เงิน​ได้
---------------------------------------------

อาศัยอำ​นาจตาม​ความ​ใน​มาตรา​ 4 ​แห่งประมวลรัษฎากร​ ​ซึ่ง​แก้​ไขเพิ่มเติม​โดย​พระราชบัญญัติ​แก้​ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร​ ​(​ฉบับ​ที่​ 20) ​พ​.​ศ​. 2513 ​และ​มาตรา​ 65 ​ตรี​ (4) ​แห่งประมวลรัษฎากร​ ​ซึ่ง​แก้​ไขเพิ่มเติม​โดย​พระราชกำ​หนดแก้​ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร​ ​(​ฉบับ​ที่​ 5) ​พ​.​ศ​. 2512 ​รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังออกกฎกระทรวง​ไว้​ ​ดังต่อไปนี้​

ข้อ​ 1 ​ค่ารับรอง​หรือ​ค่าบริการที่​จะ​ถือ​เป็น​รายจ่าย​ใน​การคำ​นวณกำ​ไรสุทธิ​ได้​ต้อง​เป็น​ไปตามหลักเกณฑ์ที่กำ​หนด​ใน​ข้อ​ 2 ​ข้อ​ 3 ​ข้อ​ 4 ​และ​ข้อ​ 5

ข้อ​ 2 ​ค่ารับรอง​หรือ​ค่าบริการ​นั้น​ ​ต้อง​เป็น​ค่ารับรอง​หรือ​ค่าบริการอันจำ​เป็น​ตามธรรมเนียมประ​เพณีทางธุรกิจ​ทั่ว​ไป​ ​และ​บุคคล​ซึ่ง​ได้​รับการรับรอง​หรือ​รับบริการ​ต้อง​มิ​ใช่​ลูกจ้างของบริษัท​หรือ​ห้างหุ้น​ส่วน​นิติบุคคลเว้นแต่ลูกจ้างดังกล่าว​จะ​มีหน้าที่​เข้า​ร่วม​ใน​การรับรอง​หรือ​การบริการ​นั้น​ด้วย​

ข้อ​ 3 ​ค่ารับรอง​หรือ​ค่าบริการ​ ​ต้อง​

(1) ​เป็น​ค่า​ใช้​จ่ายอันเกี่ยว​เนื่อง​โดย​ตรง​กับ​การรับรอง​หรือ​การบริการที่​จะ​อำ​นวยประ​โยชน์​แก่กิจการ​ ​เช่น​ ​ค่าที่พัก​ ​ค่าอาหาร​ ​ค่า​เครื่องดื่ม​ ​ค่าดูมหรสพ​ ​ค่า​ใช้​จ่ายเกี่ยว​กับ​การกีฬา​ ​เป็น​ต้น​ ​หรือ​

“(2) ​เป็น​ค่าสิ่งของที่​ให้​แก่บุคคล​ซึ่ง​ได้​รับการรับรอง​หรือ​รับบริการ​ไม่​เกินคนละ​ 2,000 ​บาท​ ​ใน​แต่ละคราวที่มีการรับรอง​หรือ​การบริการ​”

ข้อ​ 4 ​จำ​นวนเงินค่ารับรอง​และ​ค่าบริการ​ให้​นำ​มาหัก​เป็น​รายจ่าย​ได้​เท่า​กับ​จำ​นวนที่​ต้อง​จ่าย​ ​แต่รวม​กัน​ต้อง​ไม่​เกินร้อยละ​ 0.3 ​ของจำ​นวนเงินยอดราย​ได้​หรือ​ยอดขายที่​ต้อง​นำ​มารวมคำ​นวณกำ​ไรสุทธิก่อนหักรายจ่าย​ใด​ ​ใน​รอบระยะ​เวลาบัญชี​หรือ​ของจำ​นวนเงินทุนที่​ได้​รับชำ​ระ​แล้ว​ถึง​วันสุดท้ายของรอบระยะ​เวลาบัญชี​ ​แล้ว​แต่จำ​นวน​ใด​จะ​มากกว่า​ ​ทั้ง​นี้รายจ่ายที่​จะ​นำ​มาหัก​ได้​จะ​ต้อง​มีจำ​นวนสูงสุด​ไม่​เกิน​ 10 ​ล้านบาท​

(แก้​ไขเพิ่มเติม​โดย​กฎกระทรวง​ ​ฉบับ​ที่​ 222 (พ​.​ศ​. 2542) ​ใช้​บังคับสำ​หรับรอบระยะ​เวลาบัญชีที่​เริ่ม​ใน​หรือ​หลังวันที่​ 1 ​มกราคม​ 2542 ​เป็น​ต้นไป)

ข้อ​ 5 ​ค่ารับรอง​หรือ​ค่าบริการ​นั้น​ ​ต้อง​มีกรรมการ​หรือ​ผู้​เป็น​หุ้น​ส่วน​หรือ​ผู้​จัดการ​ ​หรือ​ผู้​ได้​รับมอบหมาย​จาก​บุคคลดังกล่าว​เป็น​ผู้​อนุมัติ​หรือ​สั่งจ่ายค่ารับรอง​ ​หรือ​ค่าบริการ​นั้น​ด้วย​ ​และ​ต้อง​มี​ใบรับ​หรือ​หลักฐานของ​ผู้​รับสำ​หรับเงินที่จ่าย​เป็น​ค่ารับรอง​หรือ​เป็น​ค่าบริการเว้นแต่​ใน​กรณีที่​ผู้​รับเงิน​ไม่​มีหน้าที่​ต้อง​ออกใบรับตามประมวลรัษฎากร​

ข้อ​ 6 ​กฎกระทรวง​ฉบับ​นี้​ให้​ใช้​บังคับสำ​หรับรอบระยะ​เวลาบัญชี​เริ่ม​ใน​หรือ​หลังวันที่​ 1 ​มกราคม​ ​พ​.​ศ​. 2522 ​เป็น​ต้นไป​

ให้​ไว้​ ​ณ​ ​วันที่​ 5 ​กัน​ยายน​ ​พ​.​ศ​. 2522

ชาญชัย​ ​ลี้ถาวร
รัฐมนตรี​ช่วย​ว่าการฯ​ ​รักษาราชการแทน
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
____________________________________________________________________
หมายเหตุ​ :- เหตุผล​ใน​การประกาศ​ใช้​กฎกระทรวง​ฉบับ​นี้​ ​คือ​ ​เพื่อกำ​หนดหลักเกณฑ์​ใน​การนำ​ค่ารับรอง​หรือ​ค่าบริการมาหัก​เป็น​รายจ่าย​ใน​การคำ​นวณกำ​ไรสุทธิ​เพื่อเสียภาษี​เงิน​ได้​นิติบุคคลตามมาตรา​ 65 ​ตรี​ (5) ​แห่งประมวลรัษฎากร​ ​ซึ่ง​แก้​ไขเพิ่มเติม​โดย​พระราชกำ​หนดแก้​ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร​ ​(​ฉบับ​ที่​ 5) ​พ​.​ศ​. 2521 ​จึง​จำ​เป็น​ต้อง​ออกกฎกระทรวงนี้​
(ร​.​จ​. ​เล่ม​ 96 ​ตอนที่​ 156 ​วันที่​ 13 ​กัน​ยายน​ 2522)

1 ความคิดเห็น:

  1. ไม่ระบุชื่อ9 มีนาคม 2552 เวลา 04:48

    ขอบคุณมาก ๆ นะค่ะสำหรับบทความดีๆ

    ตอบลบ