แนวทางปฏิบัติกรมสรรพากรว่าด้วยการคืนภาษีมูลค่าเพิ่มเป็นเงินสด

5. ระบบงานคืนภาษีมูลค่าเพิ่ม

แนวทางปฏิบัติกรมสรรพากรว่าด้วยการคืนภาษีมูลค่าเพิ่มเป็นเงินสด

ข้อ 1 วัตถุประสงค์
           1. เพื่อให้สอดคล้องกับนโยบายการบริหารจัดเก็บภาษีอากร ซึ่งมีวัตถุประสงค์ให้ผู้ประกอบการยื่น เสียภาษีอากรในปัจจุบันให้ถูกต้องครบถ้วน จึงให้มีการปรับเปลี่ยนระบบการปฏิบัติงานใหม่ เพื่อกำกับดูแล ผู้เสียภาษีโดยใกล้ชิดเป็นรายผู้ประกอบการและเป็นปัจจุบัน
           2. เพื่อให้การคืนภาษีมูลค่าเพิ่มตามแบบแสดงรายการภาษีมูลค่าเพิ่ม (ภ.พ.30) ที่ขอคืนเป็นเงินสด เป็นไปด้วยความรวดเร็ว ถูกต้องและเป็นมาตรฐานเดียวกัน
ข้อ 2 การดำเนินการเกี่ยวกับงานกรรมวิธีและงานคืนภาษี
          2.1 การส่งแบบ ภ.พ.30 และภ.พ.72
ให้ฝ่ายกรรมวิธี สำนักงานภาษีสรรพากรพื้นที่ หรืองานกรรมวิธี ฝ่ายกรรมวิธี สำนักงานสรรพากรจังหวัด และสำนักงานสรรพากรจังหวัด (สาขา) ดำเนินการงานกรรมวิธีข้อมูลและตรวจสอบความครบถ้วนของเอกสารแล้วส่งไปให้ฝ่าย ภาษีหัก ณ ที่จ่ายและคืนภาษี สำนักงานภาษีสรรพากรพื้นที่ หรืองานคืนภาษี สำนักงานสรรพากรจังหวัด และสำนักงานสรรพากรจังหวัด (สาขา) ภายใน 7 วันทำการนับ แต่วันที่ฝ่ายกรรมวิธี หรืองานกรรมวิธีแล้วแต่กรณีได้รับแบบ ภ.พ.30
          2.2 การแบ่งกลุ่มผู้ขอคืน
เมื่อฝ่ายภาษีหัก ณ ที่จ่ายและคืนภาษี หรืองานคืนภาษี ฝ่ายกรรมวิธีแล้วแต่กรณี ได้รับแบบภ.พ.30 และภ.พ.72 จากฝ่ายกรรมวิธี สำนักงานภาษีสรรพากรพื้นที่ หรืองานกรรมวิธี สำนักงานสรรพากรจังหวัด และสำนักงานสรรพากรจังหวัด (สาขา) ให้ดำเนินการแยกแบบภ.พ.30 และภ.พ.72 ตาม กลุ่มผู้ขอคืนดังนี้
                   (1) ผู้ประกอบการส่งออกที่ดี
                   (2) ผู้ประกอบการในทะเบียนผู้ขอคืนที่เป็นผู้ส่งออก
                   (3) ผู้ประกอบการขอคืนผิดปกติ (ตามรายชื่อที่สำนักมาตรฐานกรรมวิธีภาษี ส่งให้)
                   (4) ผู้ประกอบการขอคืนปกติ
          2.3 การดำเนินการแจ้งผู้ประกอบการที่มีสิทธิขอคืนภาษีมูลค่าเพิ่มเป็นเงินสดทุก เดือนหรือเกือบทุกเดือน ให้ฝ่ายภาษีหัก ณ ที่จ่ายและคืนภาษี สำนักงานภาษีสรรพากรพื้นที่ หรืองานคืนภาษี ฝ่ายกรรมวิธี สำนักงานสรรพากรจังหวัด และสำนักงานสรรพากรจังหวัด(สาขา) ดำเนินการทำหนังสือแจ้ง ผู้ประกอบการที่มีสิทธิขอคืนภาษีมูลค่าเพิ่มเป็นเงินสดทุกเดือนหรือเกือบทุก เดือน(ตามแนวทางที่กรมสรรพากรจะได้กำหนดต่อไป) เพื่อให้ทราบว่า หากมีความประสงค์จะได้รับคืนภาษีมูลค่าเพิ่มทุกเดือนหรือเกือบทุกเดือนโดย เร็วให้ยื่นคำร้องตามแบบคำขอที่กรมสรรพากรกำหนด ต่อสรรพากรพื้นที่หรือสรรพากรจังหวัด หรือสรรพากรจังหวัด (สาขา) ณ สำนักงานภาษีสรรพากรพื้นที่ หรือสำนักงานสรรพากรจังหวัด หรือสำนักงานสรรพากรจังหวัด(สาขา)ที่สถานประกอบการตั้งอยู่ และให้หน่วยปฏิบัติดำเนินการตามที่กรมสรรพากรจะได้กำหนดต่อไปก่อนที่การจัด ทำรายชื่อผู้ประกอบการที่ขอคืนภาษีมูลค่าเพิ่มเป็นเงินสดในทะเบียน ผู้ขอคืนที่เป็นผู้ส่งออก จะแล้วเสร็จให้ใช้ทะเบียนผู้ส่งออก (นค.1) ปี 2542 เป็นฐานข้อมูลในการพิจารณาคืนภาษีมูลค่าเพิ่มเป็นเงินสดไปก่อน
         2.4 การดำเนินการคืนภาษีมูลค่าเพิ่ม
ให้ฝ่ายภาษีหัก ณ ที่จ่ายและคืนภาษี หรืองานคืนภาษี ฝ่ายกรรมวิธี แล้วแต่กรณี ดำเนินการ ดังต่อไปนี้
                 2.4.1 ให้สอบทานความถูกต้องของแบบ ภพ.72 ของผู้ประกอบการส่งออกที่ดีที่ขอคืนเงินสด และเสนอผู้บังคับบัญชา เพื่อสั่งคืนเงินภาษีมูลค่าเพิ่มทันที
                 2.4.2 ส่งสำเนาภาพถ่ายแบบ ภ.พ.30 และแบบภ.พ.72 ของผู้ประกอบการ รายดังต่อไปนี้ ให้ทีมกำกับดูแลดำเนินการ
                          (1) รายที่เจ้าหน้าที่ผู้กำกับดูแลได้แจ้งออกตรวจสภาพกิจการล่วงหน้า ทั้งนี้ให้ส่งภายใน 3 วันทำการนับแต่วันที่ได้รับแบบ ภพ.30 และ ภพ.72 จากฝ่ายกรรมวิธี หรืองานกรรมวิธี แล้วแต่กรณี ตามแบบส่งรายชื่อผู้ประกอบการที่ขอคืนเป็นเงินสดที่ถูกคัดเลือกเพื่อตรวจก่อนคืน (คส.1)
                          (2) รายที่ติดเกณฑ์การคัดเลือกรายเพื่อตรวจก่อนคืนภาษีมูลค่าเพิ่มตามข้อ 2.5 ทั้งนี้ให้ส่งภายใน 7 วันทำการนับแต่วันที่ได้รับแบบ ภ.พ.30 และ ภ.พ.72 จากฝ่ายกรรมวิธีหรืองานกรรมวิธี แล้วแต่กรณี ตามแบบส่งรายชื่อผู้ประกอบการที่ขอคืนเป็นเงินสดที่ถูกคัดเลือกเพื่อตรวจ ก่อนคืน (คส.1)
                          (3) รายที่ขอคืนผิดปกติตามทะเบียนรายชื่อผู้ประกอบการขอคืนผิดปกติที่มีอยู่ปัจจุบันทั้งนี้ให้ส่งภายใน 7 วันทำการนับแต่วันที่ได้รับแบบ ภ.พ.30 และ ภ.พ.72 จากฝ่ายกรรมวิธีหรืองานกรรมวิธี แล้วแต่กรณี ตามแบบส่งรายชื่อผู้ประกอบการที่ขอคืนเป็นเงินสดที่ถูกคัดเลือกเพื่อตรวจก่อนคืน(คส.1)
                2.4.3 ให้สอบทานความถูกต้องของแบบ ภพ. 72 ที่ขอคืนเงินสดของ ผู้ประกอบการในทะเบียนผู้ขอคืนที่เป็นผู้ส่งออก และผู้ประกอบการขอคืนปกติ ในเดือนภาษีที่ไม่อยู่ในแผนการออกตรวจสภาพกิจการล่วงหน้าของเจ้าหน้าที่ผู้ กำกับดูแลและไม่ติดเกณฑ์การคัดเลือกรายเพื่อตรวจก่อนคืนภาษีมูลค่าเพิ่มตาม ข้อ 2.5 ให้สอบทานความถูกต้องของแบบ ภพ.72 และเสนอผู้บังคับบัญชา เพื่อสั่งคืนเงินภาษีมูลค่าเพิ่มต่อไป
                2.4.4 ให้ชะลอการคืนภาษีมูลค่าเพิ่มและจัดทำหนังสือแจ้งชะลอการคืน ภาษีมูลค่าเพิ่ม (คส.2) สำหรับเดือนภาษีที่ส่งให้ทีมกำกับดูแลดำเนินการให้ผู้ประกอบการทราบทุกครั้ง
                2.4.5 ในกรณีผู้ประกอบการมีสถานประกอบการหลายแห่ง และแยกยื่นแบบ ภ.พ.30 ให้หน่วยปฏิบัติที่เป็นที่ตั้งของสถานประกอบการแต่ละแห่งพิจารณาคืนภาษี มูลค่าเพิ่มเอง โดยหน่วยปฏิบัติที่เป็นที่ตั้งของสถานประกอบการสาขาต้องขอประวัติการเสีย ภาษีเงินได้จากหน่วยปฏิบัติที่เป็น ที่ตั้งของสถานประกอบการสำนักงานใหญ่มาประกอบการพิจารณาคืนภาษีมูลค่าเพิ่ม ด้วย
                2.4.6 ให้จัดทำทะเบียนคุมการส่งสำเนาภาพถ่ายแบบ ภ.พ.30 และแบบ ภ.พ.72 (คส.3)ให้ทีมกำกับดูแลดำเนินการ
                2.4.7 ให้จัดทำแฟ้มประวัติผู้ขอคืนภาษีเฉพาะผู้ประกอบการส่งออกที่ดี และผู้ประกอบการในทะเบียนผู้ขอคืนที่เป็นผู้ส่งออก เป็นรายผู้ประกอบการ โดยมีชื่อ ที่อยู่ เลขประจำตัวผู้เสียภาษี ประเภทกิจการ ประวัติการตรวจ และประวัติการคืนภาษี
        2.5 หลักเกณฑ์การคัดเลือกรายเพื่อตรวจก่อนคืนภาษีมูลค่าเพิ่ม
                    เมื่อฝ่ายภาษีหัก ณ ที่จ่ายและคืนภาษีหรืองานคืนภาษี ฝ่ายกรรมวิธีแล้วแต่กรณีได้ แยกแบบ ภ.พ.30 และ ภ.พ.72 ตามกลุ่มผู้ขอคืนแล้ว ให้วิเคราะห์แบบ ภ.พ.30 เบื้องต้นของผู้ประกอบการในทะเบียนผู้ขอคืนที่เป็นผู้ส่งออกของเดือนภาษีที่ ไม่อยู่ในแผนการตรวจล่วงหน้าของเจ้าหน้าที่ผู้กำกับดูแล และของ ผู้ประกอบการขอคืนปกติ เพื่อหาความผิดปกติของการเสียภาษี ตามหลักเกณฑ์การคัดเลือกรายเพื่อตรวจก่อนคืนภาษีมูลค่าเพิ่ม ดังนี้
                   (1) มีค่า P/T ปกติหรือไม่
                   (2) มีอัตราส่วนของยอดซื้อต่อยอดขายรวม (P/T) สูงกว่าค่าเฉลี่ย P/T ของประเภทธุรกิจเดียวกัน (ISIC RD) เกินกว่าร้อยละ 20 ขึ้นไป
                   (3) มียอดขายรวมและยอดซื้อสูงผิดปกติ
                   (4) จำนวนเงินภาษีที่ขอคืนสูงผิดปกติข้อ

3 การดำเนินการตรวจ
                ให้ทีมกำกับดูแล ดำเนินการตรวจตามกลุ่มผู้ขอคืน ดังนี้
                   3.1 ผู้ประกอบการส่งออกที่ดี
                             ให้กำกับดูแลการเสียภาษีให้เป็นปัจจุบัน หากพบความผิดปกติของการยื่นชำระภาษีในเดือนภาษีใด ให้ออกตรวจสภาพกิจการภายหลังคืนภาษีมูลค่าเพิ่ม เพื่อดูข้อเท็จจริงของความผิดปกติว่าเกิดจากสาเหตุใด
                   3.2 ผู้ประกอบการในทะเบียนผู้ขอคืนที่เป็นผู้ส่งออก
                           (1) ให้วางแผนการออกตรวจสภาพกิจการของผู้ประกอบการในทะเบียน ผู้ขอคืนที่เป็นผู้ส่งออก ล่วงหน้าเป็นรายไตรมาส โดยให้เรียงลำดับตามความสำคัญและความเสี่ยงในการ ขอคืนภาษีตามข้อ 7 ของแนวทางปฏิบัติกรมสรรพากรว่าด้วยการกำกับดูแลผู้เสียภาษีโดยใกล้ชิดเป็น ราย ผู้ประกอบการและให้เป็นปัจจุบัน ทั้งนี้ให้ระบุรายชื่อผู้ประกอบการและเดือนภาษีที่จะทำการออกตรวจด้วยและส่ง แผนการออกตรวจสภาพกิจการดังกล่าว ให้ฝ่ายภาษีหัก ณ ที่จ่ายและคืนภาษี หรืองานคืนภาษี ฝ่ายกรรมวิธี แล้วแต่กรณีทราบ เพื่อจัดส่งสำเนาภาพถ่ายแบบภพ.30 และแบบ ภพ.72 และดำเนินการชะลอการคืนภาษีมูลค่าเพิ่มผู้ประกอบการรายดังกล่าวในเดือนภาษี ที่ระบุ
                           (2) ในกรณีที่ผู้ประกอบการยื่นแบบ ภ.พ.30 ขอคืนเงินสดและติดเกณฑ์ การคัดเลือกรายเพื่อตรวจก่อนคืนภาษีมูลค่าเพิ่ม ตามข้อ 2.5 ให้ดำเนินการตรวจเฉพาะประเด็นที่เป็นมูลเหตุการขอคืนภาษี ดังนี้
                                (2.1) สุ่มตรวจด้านรายรับจากการส่งออก
                                         ก. มีการส่งออกจริง
                                         ข. มีการนำเข้าเงินตราต่างประเทศจากการส่งออก
                                         ค. นำรายรับจากการส่งออกมาบันทึกบัญชีครบถ้วน และกรณีเป็นผู้ผลิต ให้ทดสอบกระบวนการผลิต สูตรการผลิต และวัตถุดิบหลักที่ใช้สอดคล้องกับผลผลิต ที่ได้ ทั้งนี้เพื่อตรวจสอบให้มีการนำรายรับจากการขายสินค้าภายในประเทศมาบันทึก บัญชีให้ครบถ้วนด้วย
                                  (2.2) สุ่มตรวจด้านซื้อและรายจ่าย
                                          ก. ใบกำกับภาษีซื้อที่มีนัยสำคัญ เช่น
                                                - จำนวนเงินสูง
                                                - ใบกำกับภาษีซื้อซ้ำรายมาก
                                                - ใบกำกับภาษีปลอม
                                                - ใบกำกับภาษีซื้อและ/หรือค่าใช้จ่ายเป็นจำนวนเงินสูงจากบริษัทในเครือเดียวกัน
                                          ข. ตรวจใบกำกับภาษีที่เหลือตามความเหมาะสม
                     3.3 ผู้ประกอบการขอคืนผิดปกติ
                               หมายถึง ผู้ประกอบการตามรายชื่อที่สำนักมาตรฐานกรรมวิธีจัดส่งให้
                                      (1) ในกรณีที่มีข้อมูลจากการออกตรวจสภาพกิจการมาก่อน แล้วพบว่า มิใช่เป็นรายผิดปกติ เช่น มีการขยายกิจการ หรือมีการลงทุนในทรัพย์สินถาวร เป็นต้น หรือกรณีที่พบว่า ฐานข้อมูลผิดพลาด และเจ้าหน้าที่ผู้กำกับดูแลเห็นว่าผู้ประกอบการสมควรได้รับคืนภาษี ให้แจ้งฝ่ายภาษีหัก ณ ที่จ่ายและคืนภาษี หรืองานคืนภาษี ฝ่ายกรรมวิธี แล้วแต่กรณีทราบเพื่อดำเนินการคืนภาษีและปรับปรุงให้ถูกต้อง
                                      (2) ให้ออกตรวจสภาพกิจการรายที่ยื่นแบบ ภ.พ.30 ขอคืนเป็นเงินสดและรายที่จะได้เม็ดเงินมากเป็นลำดับแรก ที่เหลือให้ออกตรวจสภาพกิจการตามอัตรากำลังที่มีอยู่จริงเป็นลำดับต่อมาตาม แนวทางปฏิบัติกรมสรรพากรว่าด้วยการกำกับดูแลผู้เสียภาษีโดยใกล้ชิดเป็นราย ผู้ประกอบการและให้เป็นปัจจุบัน และตรวจให้ได้ข้อเท็จจริงของการขอคืนและความเหมาะสมที่ขอคืน
                                      (3) กำกับดูแลการเสียภาษีทุกรายโดยใกล้ชิดและให้เป็นปัจจุบัน
                    3.4 ผู้ประกอบการขอคืนปกติ
                               หมายถึง ผู้ประกอบการที่ขอคืนเงินสดที่ไม่ใช่ผู้ประกอบการส่งออกที่ดี ผู้ประกอบการในทะเบียนผู้ขอคืนที่เป็นผู้ส่งออก และผู้ประกอบการขอคืนผิดปกติ ซึ่งติดเกณฑ์การคัดเลือกรายเพื่อตรวจก่อนคืนภาษีมูลค่าเพิ่มตามข้อ 2.5
                              ให้ออกตรวจสภาพกิจการตามแนวทางปฏิบัติกรม สรรพากรว่าด้วย การกำกับดูแล ผู้เสียภาษีโดยใกล้ชิดเป็นรายผู้ประกอบการและให้เป็นปัจจุบัน และตรวจให้ได้ข้อเท็จจริงว่า เดือนภาษีที่ขอคืนมีค่า P/T สูงผิดปกติเนื่องจากสาเหตุใด หากเป็นกรณีที่ขอคืนเนื่องจากมีการลงทุนในทรัพย์สินถาวร หรือ มีการซื้อสินค้าไว้เพื่อขายเป็นจำนวนมากให้ตรวจเฉพาะประเด็นที่เป็นมูลเหตุ การขอคืนภาษีมูลค่าเพิ่มนั้น ๆ โดยให้ไปตรวจดู ณ สถานประกอบการของผู้ขอคืนว่า มีการซื้อทรัพย์สินถาวรหรือมีการซื้อสินค้าไว้เพื่อขายจริงหรือไม่ กรณีตรวจแล้วพบว่า
                                  - ถูกต้อง ให้แจ้งฝ่ายภาษีหัก ณ ที่จ่ายและคืนภาษี หรืองานคืนภาษี ฝ่ายกรรมวิธี แล้วแต่กรณีทราบ เพื่อคืนภาษีมูลค่าเพิ่ม
                                  - ไม่ถูกต้อง โดยมีนัยสำคัญ หรืออาจมีผลต่อการคืนภาษีในเดือนภาษีถัดไป ให้ออกไปตรวจสภาพกิจการใหม่อีกครั้ง โดยสุ่มตรวจด้านรายรับ ด้านซื้อ และรายจ่าย ดังนี้
                                       ก. ตรวจด้านรายรับ
                                             - การบันทึกบัญชีรายรับ
                                             - การขายสินค้าหรือให้บริการในราคาที่ต่ำกว่าราคาตลาด โดยมีนัยสำคัญให้แก่บริษัทในเครือเดียวกันหรือบุคคลที่เกี่ยวข้อง
                                       ข. ตรวจด้านซื้อและรายจ่าย
                                             - ใบกำกับภาษีซื้อที่มีนัยสำคัญ เช่น มีจำนวนเงินสูง ใบกำกับภาษีซ้ำรายมาก เป็นต้น
                                             - ใบกำกับภาษีปลอม
                                             - ใบกำกับภาษีซื้อ และ/หรือค่าใช้จ่ายเป็นจำนวนเงินสูงจากบริษัทในเครือเดียวกัน
                                             - ใบกำกับภาษีที่เหลือตามความเหมาะสมข้อ
4 การรายงานผลการตรวจ
                 ให้ทีมกำกับดูแลดำเนินการตรวจผู้ประกอบการในทะเบียนผู้ขอคืนที่เป็นผู้ส่งออก ผู้ประกอบการขอคืนผิดปกติ และผู้ประกอบการขอคืนปกติให้แล้วเสร็จ และสรุปผลการตรวจพร้อมแสดงความเห็นต่อ ผู้บังคับบัญชาโดยเร็ว และรายงานผลการตรวจให้ฝ่ายภาษีหัก ณ ที่จ่ายและคืนภาษี หรืองานคืนภาษี ฝ่ายกรรมวิธี แล้วแต่กรณีทราบเกี่ยวกับ
                      (1) มูลเหตุของการขอคืนภาษีมูลค่าเพิ่ม
                      (2) ผลของการตรวจ
                              - กรณีถูกต้อง แจ้งคืนภาษี
                              - กรณีไม่ถูกต้อง แจ้งผู้เสียภาษีชำระภาษีเพิ่มเติมให้ครบถ้วน หากมีความผิดเกี่ยวเนื่องเดือนภาษีอื่น ให้แจ้งว่าควรชะลอการคืนภาษีมูลค่าเพิ่มถึงเดือนภาษีใด
                      (3) กรณีที่ขอคืนภาษีมูลค่าเพิ่ม เนื่องจากมีการขยายกิจการ หรือมีการลงทุนในทรัพย์สินถาวร หรือมีการซื้อสินค้าจริง ให้แสดงความเห็นโดยประมาณการด้วยว่าผู้ประกอบการอาจจะมีการขอคืนภาษีมูลค่า เพิ่มต่อไปเป็นระยะเวลานานเพียงใด
ข้อ 5 การรายงาน
               5.1 ให้สำนักงานภาษีสรรพากรพื้นที่ สำนักงานสรรพากรจังหวัด และสำนักงานสรรพากรจังหวัด (สาขา) จัดทำรายงานการค้างคืนภาษีมูลค่าเพิ่มเป็นเงินสด(คส.4) และรายละเอียดงานค้างคืนภาษีมูลค่าเพิ่มเป็นเงินสด(คส.5) ส่งถึงสำนักงานสรรพากรภาคเป็นรายเดือนภายในวันที่ 10 ของทุกเดือนโดยทาง E-mail
               5.2 ให้สำนักงานสรรพากรภาค จัดทำรายงานการค้างคืนภาษีมูลค่าเพิ่มเป็นเงินสด(คส.4/1) และรายละเอียดงานค้างคืนภาษีมูลค่าเพิ่มเป็นเงินสด(คส.5/1) ส่งถึงสำนักมาตรฐานกรรมวิธีภาษีเป็นรายเดือนภายในวันที่ 15 ของทุกเดือน โดยทาง E-mail
                5.3 ให้สำนักมาตรฐานกรรมวิธีภาษี จัดทำรายงานการค้างคืนภาษีมูลค่าเพิ่มเป็นเงินสด (คส.4/2) และรายละเอียดงานค้างคืนภาษีมูลค่าเพิ่มเป็นเงินสด(คส.5/2)ของหน่วยงานทั่วประเทศ เสนอ กรมสรรพากรภายในวันที่ 20 ของทุกเดือน
ข้อ 6 หน้าที่ของสำนักงานสรรพากรภาค
                  ให้แต่งตั้งเจ้าหน้าที่ในส่วนวางแผนและประเมินผล สำนักงานสรรพากรภาค ติดตามกำกับดูแลการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ในหน่วยปฏิบัติที่รับผิดชอบเกี่ยวกับ
                         6.1 การดำเนินการงานกรรมวิธีข้อมูลและตรวจสอบความครบถ้วนของแบบภ.พ.30 พร้อมแบบ ภ.พ.72 และรายงานชุดข้อมูล ส่งให้ฝ่ายภาษีหัก ณ ที่จ่ายและคืนภาษี หรือ งานคืนภาษี ฝ่ายกรรมวิธี แล้วแต่กรณีภายในกำหนดเวลา
                         6.2 การดำเนินการของฝ่ายภาษีหัก ณ. ที่จ่ายและคืนภาษีหรืองานคืนภาษี ฝ่ายกรรมวิธีแล้วแต่กรณี ได้ปฏิบัติตามขั้นตอน วิธีการ และแล้วเสร็จภายในเวลาที่กำหนด เช่น มีการดำเนินการกับแบบของผู้ประกอบการแยกตามกลุ่มที่กำหนด มีการจัดทำแฟ้มประวัติผู้ขอคืนภาษีที่เป็นผู้ส่งออกที่ดีและผู้ประกอบการในทะเบียนผู้ขอคืนที่เป็นผู้ส่งออก เป็นต้น
                         6.3 การดำเนินการของทีมกำกับดูแลได้ปฏิบัติตามขั้นตอน วิธีการและแล้วเสร็จภายในเวลาที่กำหนด เช่น มีการวางแผนการออกตรวจสภาพกิจการของผู้ประกอบการในทะเบียนผู้ขอคืนที่เป็นผู้ส่งออก
ล่วงหน้าเป็นรายไตรมาสโดยเรียงลำดับตามความสำคัญและความเสี่ยงในการขอคืน เป็นต้น
                         6.4 การจัดทำรายงานและรายละเอียดงานค้างคืนภาษีมูลค่าเพิ่มเป็นเงินสด ให้เป็นไปตามแบบ และภายในเวลาที่กำหนด รวมทั้งให้ใช้ข้อมูลจากแบบรายงานดังกล่าวเพื่อประโยชน์ในการเร่งรัดติดตามงาน ค้างคืนให้แล้วเสร็จโดยเร็วด้วย
                         6.5 กำกับดูแลการปฏิบัติงานอื่นของเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องให้เป็นไปตามความเหมาะสม นโยบายและเป้าหมายของกรมสรรพากรพร้อมเสนอแนะแนวทางให้การแก้ไขปัญหาและอุปสรรคของ เจ้าหน้าที่

เอกสารแนบ Click ที่นี่

ที่มา..กรมสรรพากร

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น